ดิวตี้ฟรี เดียวในโลก ที่ยังกำไรในปีโรคระบาด /โดย ลงทุนแมน
การแพร่ระบาดของโควิด 19 ได้นำไปสู่การปิดประเทศทั่วโลก
ส่งผลให้การท่องเที่ยว รวมถึงการไปซื้อสินค้าแบรนด์เนมในดิวตี้ฟรีต้องหยุดชะงัก
ทั้งที่ความต้องการเหล่านั้น จริง ๆ แล้วยังคงมีอยู่
พอเรื่องเป็นแบบนี้ รัฐบาลจีนจึงมองเห็นถึงโอกาส และก็ได้นำไปสร้างเป็นนโยบายกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ ซึ่งผลลัพธ์ก็ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมากเสียด้วย
แล้วนโยบายที่ว่านั้นเป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
หลังจากที่ประเทศจีนผ่านพ้นช่วงที่ต้องรับมือกับโควิด 19 ไปได้แล้ว
ขั้นต่อไปคือการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากความเสียหายในช่วงก่อน
ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด และในเมื่อจีนคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดได้ก่อน
ในขณะที่ทั่วโลกยังคงต้องต่อสู้อยู่ การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการจับจ่ายใช้สอยของคนในประเทศเอง ก็เป็นหนึ่งในทางเลือกที่มีประสิทธิภาพ
มาถึงคำถามที่ว่า จะเลือกกระตุ้นด้วยวิธีไหนดี ?
เมื่อนึกถึงคนจีน แน่นอนว่าต้องมีคำว่า นักท่องเที่ยวและสินค้าแบรนด์เนมตามมา
นั่นก็เพราะคนจีน คิดเป็นสัดส่วนของนักท่องเที่ยวที่มากที่สุดในโลก
ในขณะเดียวกัน คนจีนก็ยังจับจ่ายใช้สอยในการท่องเที่ยวสูงที่สุดในโลกอีกด้วย
โดยกว่า 60% ของการใช้จ่ายนั้น เกิดขึ้นที่ดิวตี้ฟรีในประเทศปลายทาง
เรื่องนี้ก็สอดคล้องกับข้อมูลที่ว่า คนจีนซื้อสินค้าแบรนด์เนมโดยเฉพาะระดับไฮเอนด์มากที่สุดในโลก ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของยอดการใช้จ่ายสำหรับสินค้าแบรนด์เนมทั้งโลกเลยทีเดียว
และคิดเป็นสัดส่วนที่ซื้อจากต่างประเทศกว่า 80%
นั่นหมายความว่า คนจีนชอบซื้อสินค้าแบรนด์หรูที่ต่างประเทศ ในราคาปลอดภาษี
และแน่นอนว่าการปิดประเทศ ได้ทำให้พฤติกรรมดังกล่าวต้องหยุดลง
แต่ความต้องการซื้อสินค้าแบรนด์เนมจากต่างประเทศที่ดิวตี้ฟรี ไม่ได้หยุดตามไปด้วย
นี่จึงเป็นโอกาสครั้งสำคัญ ที่จะดึงเม็ดเงินเหล่านั้น ให้กลับเข้ามาเป็นรายได้ภายในประเทศแทน รัฐบาลจีนจึงคว้าโอกาสนี้ไว้ ด้วยการออก “นโยบายดิวตี้ฟรี”
แล้วนโยบายดิวตี้ฟรีนี้ เป็นมาอย่างไร ?
ในเมื่อดิวตี้ฟรี เป็นสิ่งที่มาคู่กับการท่องเที่ยวที่ต้องขึ้นเครื่องบินไป
รัฐบาลจีนจึงต้องจำลองบรรยากาศการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นได้ภายในประเทศ
แลนด์มาร์กที่ถูกเลือกจึงเป็น “เกาะไห่หนาน” ที่เป็นเกาะขนาดใหญ่
ใหญ่กว่าภูเก็ตถึง 65 เท่า ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจีน ใกล้ ๆ กับประเทศเวียดนาม
มีโรงแรมและรีสอร์ตระดับหรูมากมาย เปรียบได้กับฮาวายของประเทศจีน
ซึ่งจริง ๆ แล้ว รัฐบาลจีนเคยพยายามปลุกปั้นเกาะไห่หนานนี้
ให้เป็นเกาะแห่งสินค้าปลอดภาษีตั้งแต่ปี 2011 หรือเมื่อ 10 ปีก่อน
เพื่อดึงดูดให้คนจีนมาซื้อสินค้าปลอดภาษีในประเทศแทน
การไปซื้อสินค้าปลอดภาษีจากต่างประเทศ เช่นที่โซล ฮ่องกง ปารีส หรือลอนดอน
แต่ก็ยังถือว่าไม่ค่อยประสบความสำเร็จ
เพราะคนจีนส่วนใหญ่ยังซื้อสินค้าปลอดภาษีจากฮ่องกงและเกาหลีใต้เป็นหลัก
ถึงขนาดที่ว่าสนามบินนานาชาติอินชอนของเกาหลีใต้ ได้ครองตำแหน่งสนามบิน
ที่มีรายได้จากดิวตี้ฟรีมากที่สุดในโลกมาหลายปี เพราะแรงซื้อจากนักท่องเที่ยวจีนนี่เอง
โดยในปี 2018 คนจีนยังคงซื้อสินค้าผ่านดิวตี้ฟรีที่ต่างประเทศมากกว่าในประเทศถึง 4.6 เท่า
อย่างไรก็ตาม เมื่อการเดินทางทั่วโลกหยุดชะงักลง
รัฐบาลจึงใช้โอกาสตอนปิดประเทศนี้มาสานต่อโครงการบนเกาะไห่หนาน
โดยผลักดันให้ผู้ประกอบการดิวตี้ฟรี ที่ต่างก็บริหารงานโดยรัฐบาลเอง
ไปเปิดศูนย์การค้ามากขึ้น จนกลายเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่
ที่ขายสินค้าแบรนด์เนมในราคาปลอดภาษีจริง ๆ ซึ่งเป็นราคาที่ถูกกว่าปกติ
มากถึง 30% และจนถึงตอนนี้ มีดิวตี้ฟรีบนเกาะมากถึง 9 แห่งแล้ว
ส่วนในฝั่งของผู้บริโภค เมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว
รัฐบาลได้ยกเลิกเพดานการเว้นภาษีเฉพาะสินค้าที่ราคาไม่เกิน 8,000 หยวน
และเพิ่มโควตาสินค้าปลอดภาษีต่อปี จากคนละ 30,000 หยวน
เป็น 100,000 หยวน หรือเพิ่มมากกว่า 3 เท่า
รวมถึงยังเพิ่มจำนวนหมวดหมู่สินค้า ให้ครอบคลุมแม้กระทั่งสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต
และสำหรับคนที่ไปเที่ยวไห่หนานแล้ว แต่ยังซื้อของไปไม่ครบโควตา
ก็สามารถใช้โควตาที่เหลือมาซื้อผ่านทางออนไลน์หลังจากนั้นต่อได้ เช่นกัน
ซึ่งนโยบายเหล่านี้ ก็ถือว่าได้ผลดีมาก เพราะหลังจากที่เปิดดิวตี้ฟรีบนเกาะไห่หนานมาได้ 5 ปีแรก ยอดขายสินค้าแบรนด์เนมหรูในจีนยังทรงตัวอยู่ที่ประมาณ 531,300 ล้านบาท
แต่มาเริ่มขยับเพิ่มขึ้นได้ในปี 2017 และหลังจากนั้นมา
ยอดขายสินค้าแบรนด์เนมหรู ก็เริ่มเติบโตขึ้น
ปี 2016 ยอดขาย 565,110 ล้านบาท
ปี 2017 ยอดขาย 685,860 ล้านบาท
ปี 2018 ยอดขาย 821,100 ล้านบาท
ปี 2019 ยอดขาย 1,130,220 ล้านบาท
ปี 2020 ยอดขาย 1,671,180 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่าในปี 2020 ยอดขายสินค้าแบรนด์เนมหรูได้เติบโตขึ้นเกือบ 50% และเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าเมื่อเทียบกับช่วง 5 ปีที่แล้ว ซึ่งสาเหตุสำคัญก็มาจากการผลักดันนโยบายดิวตี้ฟรี
โดยการเติบโตนี้ยังสอดคล้องกับยอดค้าปลีกรายเดือนในจีน ที่พลิกกลับมาเป็นการเติบโตได้ครั้งแรกของปี 2020 ในเดือนสิงหาคม หรือเพียงเดือนเดียว หลังจากประกาศใช้นโยบายนี้
นอกจากนี้ นโยบายดิวตี้ฟรี ยังทำให้สัดส่วนของการซื้อสินค้าแบรนด์เนมจากในประเทศพุ่งจาก 20% มาที่ 70% และที่น่าสนใจก็คือ มีการคาดการณ์ว่า หลังจากนี้จะยังคงระดับไว้ได้ที่ 60%
สะท้อนให้เห็นว่านโยบายดังกล่าว อาจทำให้พฤติกรรมการซื้อสินค้าปลอดภาษีในประเทศจีนมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปในระยะยาว
ซึ่งหากดูจากความสำเร็จแล้ว มีโอกาสที่รัฐบาลจะสนับสนุนนโยบายในด้านนี้ต่อ แต่อาจลดสิทธิพิเศษที่เพิ่มไปในช่วงนี้ลง เพราะรัฐบาลเองก็ตั้งใจจะดึงรายได้ตรงนี้กลับเข้าประเทศนานแล้ว และในด้านของผู้ซื้อ ก็ได้มีประสบการณ์ซื้อสินค้าราคาปลอดภาษีในประเทศได้ ไม่ต่างจากตอนไปเมืองนอกแล้ว
ในเมื่อกลุ่มลูกค้าแบรนด์หรูที่ใหญ่ที่สุดในโลก มารวมกันอยู่ในจุดเดียว
จึงเป็นการดึงดูดให้บริษัทแบรนด์หรูทั่วโลก อย่างเช่นกลุ่ม LVMH รุมเข้าไปคว้าโอกาสนี้ไว้ทั้งนั้น ซึ่ง LVMH ก็ได้เร่งเปิดสาขาเพิ่มเติม ทั้งบนเกาะไห่หนานเอง รวมถึงเมืองอื่น ๆ ในประเทศจีนด้วย
ยังรวมไปถึงดิวตี้ฟรีเจ้าใหญ่อย่าง
Dufry ดิวตี้ฟรีที่ใหญ่ที่สุดในโลกจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์
DFS Group ดิวตี้ฟรีที่ใหญ่ที่สุดของฮ่องกงและมีผู้ถือหุ้นใหญ่คือ LVMH
และ Lagardère Travel Retail ดิวตี้ฟรีรายใหญ่สุดของฝรั่งเศส
ต่างก็เข้ามาเจรจา เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโอกาสการเติบโตเพียงจุดเดียวบนโลกในตอนนี้
นอกจากผู้บริโภคและเจ้าของแบรนด์ที่ได้ประโยชน์ ดิวตี้ฟรีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีนอย่าง China Duty Free Group ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดกว่า 90% และบริหารงานโดยรัฐบาลเอง ก็ได้ประโยชน์แบบเต็ม ๆ
เพราะบริษัทแห่งนี้ถือเป็นดิวตี้ฟรีเพียงหนึ่งเดียวบนโลกที่ทำกำไรได้ และเติบโตถึง 32% ในปีโควิดและสามารถขึ้นมาเป็นดิวตี้ฟรีที่มียอดขายสูงที่สุดในโลกได้เป็นครั้งแรก สวนทางกับดิวตี้ฟรีทั่วโลก ที่แน่นอนว่ายังขาดทุน
แต่เป็นธรรมดาของทุกนโยบาย ที่เมื่อมีผู้ได้ประโยชน์ ก็ย่อมมีผู้เสียประโยชน์ อย่างผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรูนอกดิวตี้ฟรี ต้องเผชิญยอดขายสินค้าหรูตามห้างร้านต่าง ๆ ที่ลดลงกว่า 30% เพราะคนเลือกไปซื้อที่ดิวตี้ฟรีแทน
และยังรวมไปถึงอีกหลายประเทศ ที่พึ่งพาการจับจ่ายใช้สอยของนักท่องเที่ยวจีน
ก็อาจต้องกังวลว่า คนจีนจะเปลี่ยนพฤติกรรมไปซื้อสินค้าในต่างประเทศน้อยลงหรือไม่
โดยประเทศที่พึ่งพานักท่องเที่ยวจีนมากที่สุดในโลก ก็คือประเทศไทยเรานั่นเอง ด้วยความที่ประเทศไทยพึ่งพาการท่องเที่ยวกว่า 12% ของ GDP ซึ่งถือว่าสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
โดยนักท่องเที่ยวในไทยอันดับ 1 ก็คือคนจีน
นักท่องเที่ยวจีนจึงไม่ต่างอะไรไปจากเส้นเลือดใหญ่ในการฟื้นตัวทางอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของประเทศไทย
จากผลสำรวจล่าสุด ที่มีการสอบถามคนจีนว่าถ้าเปิดประเทศแล้วอยากไปเที่ยวประเทศไหนมากที่สุด คำตอบยังพอทำให้โล่งใจได้ว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งเลือกประเทศไทย
แต่ขอรอให้มีการฉีดวัคซีนไปแล้วถึง 70% ก่อนจึงจะกล้ามา
นั่นทำให้สิ่งที่ประเทศไทยต้องจับตาต่อจากนี้
นอกจากจะเป็นจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่จะกลับมาแล้ว
ก็ต้องลุ้นว่าเม็ดเงินที่นำมาจับจ่ายใช้สอย
จะกลับมาเทียบเท่าช่วงก่อนมีนโยบายดิวตี้ฟรีนี้ได้หรือไม่..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-02-03/china-tax-free-shopping-opens-up-to-domestic-tourists
-https://www.ft.com/content/12c7b3cc-b757-4088-b49c-064c290b4ad5
-https://asia.nikkei.com/Spotlight/Caixin/Why-China-is-expanding-access-to-duty-free-shopping
-https://www.bain.cn/pdfs/202012160134321779.pdf
-https://daxueconsulting.com/chinese-duty-free-consumption/
-https://www.scmp.com/economy/china-economy/article/3101544/china-economys-broad-recovery-coronavirus-continues-retail
-https://www.tcic.info/tcic1
-http://www.koreaherald.com/view.php?ud=20210201000442
dfs group 在 早安財經 Facebook 的精選貼文
❝我不需要很多錢,因為我不打算過那種需要很多錢的生活。❞
──查克.菲尼(Chuck Feeney,DFS免稅購物客創辦人,畢生推廣「生前捐獻」Giving While Living,迄今已捐出近75億美元,比爾蓋茲與巴菲特都是他的追隨者)
📖《天堂裡用不到錢》
❝「夠了」。簡單的兩個字,讓我震撼不已。我之所以震撼,有兩個理由:首先,我發現自己這一生,的確活得非常、非常足「夠」;其次,對社會上很具關鍵性的一群人來說(包括那些最有錢、最有權勢的人),似乎永遠沒有「夠了」的一天。❞
──約翰.伯格(John Bogle,Vanguard Group先鋒集團創辦人)
📖《夠了》
--
⎚ 早安財經 https://www.goodmorningnet.com
dfs group 在 M i n 理財生活札記 Facebook 的最佳貼文
#記得按讚並多回覆才容易看到文章更新唷
.
最近富邦J卡活動很多,優惠狂撒❗
這張J卡變的更好用了👍
近期要去日本的朋友,J卡必辦、必刷的啦😀
✅活動詳情:https://bit.ly/2UZUqz4
✅J卡線上辦:https://bit.ly/2JzCObe
.
至108年9月30日前
持富邦J卡於活動期間符合下列消費條件可享回饋
活動期間無須登錄,回饋無上限
📌優惠1:日本指定25大通路,5%回饋
📌優惠2:海外/指定旅行社,3%回饋
📌優惠3:LINE Pay支付,3%回饋(LINE POINTS回饋卡別適用)
.
其中優惠1的部分,25大指定通路
有很多可以狂刷免稅品、電器的商店,5%回饋很可以😃
✅日本地區指定通活動指定品牌實體特約商店如下:
新特麗亞名古屋中部國際機場、福岡國際機場(限免稅店)、函館機場、羽田機場、關西國際機場、那霸機場(限機場內之DFS・T GALLERIA)、成田國際機場、新千歲機場、BIC CAMERA、BIC CAMERA GROUP Sofmap、BIC CAMERA GROUP Kojima、EDION(EDION電器)、Joshin(上新電機)、YAMADA(山田電機)、BEST(BEST電器)、松本清、札幌藥粧、鶴羽藥妝、BIC DRUG、驚安殿堂・唐吉訶德、GAP(限直營店)、丸井百貨、OTS RENT-A-CAR(限直營店)、高島屋百貨店、多慶屋
.
再來是海外消費回饋也從2%升級到3%💯
若你是申辦LINE POINTS回饋卡別的話
LINE Pay支付也有3%回饋
雖然還是小輸@gogo卡3.5%
不過還是可以加減刷啦
.
✅訂閱Min的Youtube:https://bit.ly/31QZs4B
🈶小額抖內贊助Min:https://bit.ly/2RjGFKz
🈸辦卡贊助支持Min:https://bit.ly/2JkjewT
.
🆗信用卡優惠比較:https://bit.ly/2Yt9fvT
🉐加Line@聊聊天:https://bit.ly/2PT3KRY
🉑按讚Min的粉絲團:https://bit.ly/2KqCdpe
🈸Follow我的Blog:https://bit.ly/2PpjGeB