🇨🇦 แคนาดา ถูกจัดให้เป็นอันดับหนึ่ง ในผลสำรวจประเทศที่ดีที่สุดในโลก
☘️ US News & World Report 2021 เผยผลสำรวจ ประเทศที่ดีที่สุดในโลก โดยประเทศที่ครองแชมป์ ได้แก่ แคนาดา ติดโผอันดับ 1 จาก 78 ประเทศ ที่ถูกคัดเลือกจากข้อมูลธุรกิจและเศรษฐกิจภายในประเทศ รวมทั้งคุณภาพชีวิตของประชาชน ค่า GDP อยู่ที่ 1.74 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยอันดับ 2 และ 3 ได้แก่ ญี่ปุ่น และเยอรมัน ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม แคนาดาได้รับคะแนนความพึงพอใจในภาพรวม 100 คะแนนเต็ม ชนะขาดลอย! ในขณะที่ประเทศไทย อยู่ที่อันดับ 28 ตกลงมา 2 อันดับ
.
🙏🏻 ขอบคุณที่มา https://bit.ly/3xJ04s0, https://bit.ly/2VK3mh2
#อันดับประเทศที่ดีที่สุดในโลก #จัดอันดับ #จัดอันดับประเทศ #TIDPRO #ติดโปร
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
gdp แคนาดา 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
รู้จัก G7 ขั้วมหาอำนาจโลก ที่กำลัง แลกหมัดกับจีน /โดย ลงทุนแมน
1,228 ล้านล้านบาท คือ GDP ในปีที่ผ่านมา ของ 7 ประเทศ ในกลุ่ม G7 รวมกัน
2,620 ล้านล้านบาท คือ GDP ในปีที่ผ่านมา ของทุกประเทศในโลกรวมกัน
เท่ากับว่าขนาดเศรษฐกิจของเพียงแค่ 7 ประเทศในกลุ่มนี้
คิดเป็น “เกือบครึ่ง” ของขนาดเศรษฐกิจโลกในปีที่ผ่านมา
ทั้ง ๆ ที่มีประชากรรวมกันแค่ประมาณ 773 ล้านคน หรือประมาณ 10% ของประชากรโลกเท่านั้น
กลุ่ม G7 มีประเทศอะไรบ้าง เกิดขึ้นมาอย่างไร
แล้วทำไมถึงบอกว่ากำลังแลกหมัดกับจีน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
แคนาดา
ฝรั่งเศส
เยอรมนี
อิตาลี
ญี่ปุ่น
สหราชอาณาจักร
สหรัฐอเมริกา
นี่คือรายชื่อ 7 ประเทศ ที่รวมตัวกันเป็น “Group of Seven” หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า กลุ่ม G7
ซึ่งถ้าเราลองไปเปิดดูตัวเลข GDP ของแต่ละประเทศ ทั้ง 7 รายชื่อนี้ จะอยู่ใน Top 10 ของประเทศที่ GDP มากสุดในโลก
และถ้าเอา GDP ของ 7 ประเทศมาบวกรวมกัน
ก็จะคิดเป็น 47% ของขนาดเศรษฐกิจโลก
นอกจากจะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กันทุกประเทศแล้ว
รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรในประเทศเหล่านี้
ก็ล้วนแล้วแต่อยู่แนวหน้าของโลกทั้งสิ้น
พูดง่าย ๆ ว่า นี่คือสมาคมประเทศร่ำรวย อย่างแท้จริง..
แล้วประเทศเหล่านี้ มารวมตัวกันได้อย่างไร ?
จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งกลุ่มนี้อย่างเป็นทางการ ต้องย้อนกลับไปในช่วงปี 1973
ช่วงนั้นมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น นั่นคือ วิกฤติการณ์น้ำมัน หรือ “Oil Shock”
สรุปเหตุการณ์แบบคร่าว ๆ ก็คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น ไปมีปัญหากับกลุ่ม OPEC ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก
ปัญหาที่ว่าก็คือ 4 ประเทศนี้ ไปสนับสนุนอิสราเอล ที่กำลังทำสงครามกับกลุ่มชาติอาหรับ ที่ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นสมาชิกกลุ่ม OPEC
พอเรื่องเป็นแบบนี้ กลุ่ม OPEC จึงระงับการส่งออกน้ำมันไปยังประเทศที่สนับสนุนอิสราเอล ทำให้ประเทศเหล่านี้เจอวิกฤติขาดแคลนน้ำมัน และราคาน้ำมันพุ่งสูงหลายเท่าตัวในช่วงเวลาไม่นาน ซึ่งทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศ ไปจนถึงระดับทวีป และระดับโลก เป็นปัญหาลูกโซ่ตามมา
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่เริ่มลุกลามเป็นวงกว้างไปในระดับโลก
ทำให้ 6 ประเทศมหาอำนาจในตอนนั้น
ซึ่งประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, เยอรมนี (สมัยนั้นยังเป็น เยอรมนีตะวันตก), ฝรั่งเศส, ญี่ปุ่น และอิตาลี
จัดการประชุมร่วมกันอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในปี 1975
เพื่อหาทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกไปข้างหน้า
และตกลงกันว่า “เราจะมาร่วมหารือกันแบบนี้ทุก ๆ ปีต่อจากนี้”
อีกหนึ่งปีต่อมา มีอีกชาติมหาอำนาจเข้าร่วมกลุ่ม นั่นก็คือ แคนาดา
เป็นอันสรุปว่า Group of Seven หรือ G7 ครบองค์ประชุมตั้งแต่ปี 1976 เป็นต้นมา..
ในช่วงแรก ตัวแทนของแต่ละประเทศที่เข้าร่วมประชุม ยังเป็นเพียงแค่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
แต่หลัง ๆ มาเรื่องที่ประชุมกันแต่ละปี ไม่ได้จำกัดอยู่ที่เรื่องเศรษฐกิจเท่านั้น
ยังรวมไปถึงเรื่องความมั่นคงทางการทหาร, โรคระบาด, สุขอนามัย, การศึกษา ไปจนถึงปัญหาความยากจน และเรื่องที่กำลังเป็นประเด็นระดับโลกในแต่ละปี
ทำให้ต่อมา ประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้นำประเทศ จะเป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุม
โดยในแต่ละปี กลุ่ม G7 ก็มักจะเชิญหลายประเทศนอกกลุ่ม และตัวแทนจากองค์กรระหว่างประเทศอย่าง EU, World Bank และ IMF ให้มาเข้าร่วมการประชุม ตามวาระที่สำคัญของช่วงเวลานั้น
เช่น ในปี 2008 มีการเชิญตัวแทนประเทศในเอเชียอย่าง เกาหลีใต้และอินโดนีเซีย ให้เข้าร่วม เพื่อแลกเปลี่ยนสถานการณ์เศรษฐกิจในเอเชีย
หรือในปี 2011 ที่มีการเชิญหลายประเทศในทวีปแอฟริกาอย่าง กินี, ไนเจอร์, โกตดิวัวร์ และตูนิเซีย ให้มาร่วมพูดคุยเรื่องปัญหาความยากจนในแอฟริกา
และล่าสุด การประชุม G7 ในปีนี้ ก็เพิ่งจัดขึ้นเมื่อ 11 มิถุนายน ที่ผ่านมาที่สหราชอาณาจักร
โดยสมาชิกในกลุ่มก็มีข้อตกลงร่วมกันในหลายเรื่อง อย่างเช่น
- ตกลงจะร่วมกันมอบวัคซีนอย่างน้อย 1,000 ล้านโดส ให้ประเทศรายได้ต่ำที่ต้องการวัคซีนเร่งด่วน
- เริ่มต้นผลักดันประเทศในกลุ่มและนอกกลุ่ม ให้มีการเก็บภาษีขั้นต่ำ 15% กับบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ เพื่อยุติปัญหาการหลบเลี่ยงภาษีผ่านการนำบริษัทไปจดทะเบียนในประเทศที่เก็บภาษีอัตราต่ำ
แต่เรื่องที่เป็นไฮไลต์สุดของการประชุมครั้งนี้
คือการเปิดตัวโครงการ “Build Back Better World” หรือ B3W
โครงการที่สหรัฐอเมริกาและพันธมิตรในกลุ่ม G7 ใช้เป็นคำประกาศกร้าวว่า
จะไม่ยอมให้คู่แข่งคนสำคัญอย่าง “จีน”
ก้าวขึ้นมามีอิทธิพล หรือก้าวมาเป็นอีกขั้วมหาอำนาจโลกได้ง่าย ๆ
ก่อนหน้านี้เราได้ยินกันมาตลอด ว่าจีนมีโครงการ “Belt and Road Initiative” หรือ BRI
ซึ่งเป็นเหมือนการขยายอิทธิพลและสร้างพันธมิตรผ่านการไปร่วมลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศต่าง ๆ ตามเส้นทางสายไหมที่เคยรุ่งเรืองในอดีต จากตะวันออกของโลกคือจีน ไปสู่ฟากโลกตะวันตก
ส่วนโครงการ B3W ของสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร G7 ก็จะเน้นเข้าไปมีส่วนร่วมและสนับสนุนการสร้างโครงสร้างพื้นฐานในกลุ่มประเทศรายได้น้อยถึงรายได้ปานกลาง ตั้งแต่ตะวันตก ลากยาวไปตะวันออก
และ G7 เคลมว่า B3W ของพวกเขา พิเศษกว่า BRI ของจีน
เพราะของที่สร้างโดยการสนับสนุนของ G7 จะมีคุณภาพกว่า
มีกระบวนการสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกว่า
ไม่มีทุจริตคอร์รัปชัน สนับสนุนภาคเอกชนให้มีส่วนร่วม
ไม่มีเรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชน สนับสนุนความเท่าเทียม และที่สำคัญคือสนับสนุนโดยกลุ่มนิยมประชาธิปไตย อย่าง G7..
ขณะที่โฆษกสถานทูตจีนประจำกรุงลอนดอน
ก็โต้กลับมติประชุมของกลุ่ม G7 ทันทีว่า
ให้เลิกกล่าวอ้าง กล่าวหาจีนในเรื่องต่าง ๆ เสียที
และยังโต้กลับในทำนองที่ว่า “มันหมดยุคที่โลกถูกนำโดยบางกลุ่มประเทศไปแล้ว”
จะเห็นว่า 2 ขั้วอำนาจโลกในตอนนี้ กำลังปล่อยหมัดหนักแลกใส่กันไปมา อย่างไม่มีใครยอมใคร
เพื่อไม่ให้อีกฝ่ายครองอำนาจโลกแต่เพียงผู้เดียวได้โดยง่าย
ฝ่ายหนึ่งคือกลุ่มมหาอำนาจโลกเดิมอย่าง G7
ที่ยังคงมีความสำคัญมากกับทั้งโลก ไม่ว่าจะเรื่องเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และขนบธรรมเนียมโลกแบบเดิมที่ทั่วโลกคุ้นชินมาหลายทศวรรษ
ส่วนอีกฝ่ายคือจีน ที่เป็นประเทศคู่ค้าของหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศในกลุ่ม G7 เอง และขนาดเศรษฐกิจของจีนกำลังจะขึ้นแท่นเบอร์ 1 ของโลกแซงหน้าสหรัฐอเมริกาในเร็ว ๆ นี้
ในขณะเดียวกันจีนก็กำลังเดินหน้าท้าชิงความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม
และเดินหน้าสร้างพันธมิตร สร้างอิทธิพลตามแผนที่วางไว้
ปิดท้ายด้วยเรื่องที่น่าสนใจ
ในอดีต G7 เคยขยายเป็น G8 โดยอีกประเทศที่เพิ่มเข้ามาคือ รัสเซีย ที่เข้าร่วมตั้งแต่ปี 1997
แต่หลังจากที่รัสเซียทำการผนวกไครเมียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ในปี 2014
ก็ทำให้ประเทศสมาชิกที่เหลือไม่พอใจ และไม่เชิญรัสเซียเข้าร่วมการประชุมอีกเลย..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://statisticstimes.com/economy/projected-world-gdp-ranking.php
-https://www.g7uk.org/what-is-the-g7/
-https://en.wikipedia.org/wiki/1973_oil_crisis
-https://www.blockdit.com/posts/60c89d166ea44e0c5adf9455
-https://thestandard.co/g7-summit-summary/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Group_of_Seven
-https://www.whitehouse.gov/briefing-room/statements-releases/2021/06/12/fact-sheet-president-biden-and-g7-leaders-launch-build-back-better-world-b3w-partnership/
-https://www.ndtv.com/world-news/small-groups-dont-rule-the-world-china-cautions-g7-2462751
gdp แคนาดา 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
สรุปเรื่อง จักรวรรดิอังกฤษ เครือจักรภพ ฉบับสมบูรณ์ /โดย ลงทุนแมน
ภาษาอังกฤษก้าวขึ้นมาเป็นภาษาสากลของโลก
ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่ภาษาที่มีคนใช้เป็นภาษาแม่มากที่สุด
โดยหนึ่งในเบื้องหลังที่สำคัญที่สุด ก็คือ “จักรวรรดิอังกฤษ”
จากประเทศเกาะเล็ก ๆ สุดขอบทวีปยุโรป เติบโตขึ้นจนสามารถครอบครองดินแดน
และสร้างอาณานิคมไว้ทั่วทุกมุมโลก จนได้ฉายาว่า จักรวรรดิที่พระอาทิตย์ไม่เคยตกดิน
ในยุครุ่งเรืองที่สุด จักรวรรดิอังกฤษครอบครองพื้นที่มหาศาลถึง 1 ใน 4 ของโลก
ซึ่งนับเป็นอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ..
แล้วถ้าอำนาจของจักรวรรดิอังกฤษยังคงหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน ตอนนี้จะใหญ่ขนาดไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่น มาฟังความเป็นมาของจักรวรรดิแห่งนี้กันสักนิด..
ดินแดนอังกฤษตั้งอยู่ในหมู่เกาะที่อยู่ริมสุดด้านตะวันตกของทวีปยุโรป
โดยมีช่องแคบกั้นระหว่างหมู่เกาะแห่งนี้กับผืนแผ่นดินใหญ่
การเป็นเกาะโดดเดี่ยวที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับใคร ถึงแม้จะมีข้อเสียในเรื่องการเดินทางค้าขาย
แต่กลับมีข้อดีอย่างมาก เพราะในระหว่างที่ดินแดนอื่น ๆ ในยุโรปที่มีพรมแดนติดต่อกัน
เกิดความขัดแย้งจนกลายเป็นสงครามนับครั้งไม่ถ้วน
ความเป็นเกาะ ที่เป็นเหมือนป้อมปราการตามธรรมชาติ ทำให้อังกฤษมีความได้เปรียบในการตั้งรับเมื่อมีศึกสงคราม และเมื่อมีความสูญเสียน้อย ก็มีทรัพยากรที่จะพัฒนาองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะ “การเดินเรือ”
ด้วยทำเลที่ตั้งที่อยู่กลางทะเลเหนือ และมหาสมุทรแอตแลนติกที่มีลมแรง ทำให้ชาวอังกฤษค่อย ๆ พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเดินเรือ ทั้งเพื่อการประมง การติดต่อค้าขายกับประเทศต่าง ๆ และเพื่อการป้องกันประเทศ
สิ่งเหล่านี้กลายมาเป็นรากฐานสำคัญ ที่ทำให้อังกฤษสามารถพัฒนากองเรือรบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และก้าวขึ้นมาเป็นชาติมหาอำนาจทางกองทัพเรือของยุโรป
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 15 สเปนกับโปรตุเกสได้นำหน้าอังกฤษในเรื่องของการสำรวจดินแดนนอกทวีปยุโรป เป็นช่วงที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นักเดินเรือรับจ้างของจักรวรรดิสเปน
ได้เดินทางมาถึงทวีปใหม่ แต่คิดว่าดินแดนตรงนี้คือทวีปเอเชีย
พอเรื่องเป็นแบบนี้จึงทำให้พระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ ได้แต่งตั้ง จอห์น แคบอต
นักสำรวจชาวอิตาลี ให้เดินทางออกสำรวจเส้นทางไปยังเอเชียเช่นเดียวกันกับสเปน
โดยเดินเรือไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก
จอห์น แคบอต ได้เดินทางถึงทวีปใหม่ ซึ่งก็คือแคนาดาในปัจจุบัน
แต่เขาเข้าใจผิดว่าดินแดนแคนาดานี้คือทวีปเอเชียเช่นเดียวกันกับคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส
แต่พออเมริโก เวสปุชชี นักสำรวจชาวอิตาลี ได้เดินทางตามเส้นทางเดินเรือของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส มายังทวีปเอเชียอีกครั้ง เขาก็ได้พบกับความจริงว่า แผ่นดินตรงนี้ไม่ใช่ทวีปเอเชียแต่อย่างใด แต่เป็นดินแดนแห่งใหม่ จึงทำให้เขาตั้งชื่อทวีปนี้ว่า “อเมริกา” ตามชื่อของเขา..
หลังจากนั้น ชาติมหาอำนาจจากตะวันตกต่างก็ยกกองเรือมายังทวีปอเมริกา
และเริ่มที่จะตั้งอาณานิคมของตัวเองในทวีปใหม่แห่งนี้
จักรวรรดิอังกฤษภายใต้การปกครองของพระเจ้าจอร์จที่ 3 ก็ได้ตั้งอาณานิคมของตน
ในฝั่งตะวันออกของทวีปอเมริกาตอนเหนือ ตั้งแต่ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17
ด้วยความที่ดินแดนใหม่ในทวีปอเมริกา มีหลายประเทศในยุโรปพยายามจะเข้าไปยึดครอง
จึงทำให้เกิดการสู้รบกันบ่อยครั้งเพื่อที่จะแย่งชิงดินแดนและทรัพยากรธรรมชาติ
แต่เหตุการณ์ครั้งสำคัญที่สุด กลับกลายเป็นการสู้รบระหว่างประชาชนในอาณานิคม กับเจ้าอาณานิคมเอง
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อปลายศตวรรษที่ 18 ระหว่างจักรวรรดิอังกฤษ กับดินแดนในอาณานิคมบริติชอเมริกาที่ต้องการประกาศเอกราช
ผลของสงครามทำให้จักรวรรดิอังกฤษเป็นฝ่ายแพ้ และทำให้บริติชอเมริกาได้รับเอกราชในปี 1776 เกิดเป็นประเทศใหม่ที่ชื่อว่า “สหรัฐอเมริกา”
ถ้าเราคิดว่าจักรวรรดิอังกฤษต้องอ่อนแอลงเพราะสูญเสียดินแดนในอเมริกา เรื่องราวทั้งหมดจะไม่ใช่แบบนั้น
จากการที่ต้องสูญเสียบริติชอเมริกา จุดนี้เองได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการล่าอาณานิคมในดินแดนอื่นของจักรวรรดิอังกฤษอย่างเต็มตัว
ด้วยความที่จักรวรรดิอังกฤษมีกองเรือที่สามารถเดินทางรอบโลกได้แล้ว จึงทำให้พวกเขาออกเดินทางเพื่อล่าอาณานิคมแห่งใหม่เรื่อยมา
ไม่ว่าจะเป็นออสเตรเลีย, แอฟริกา, อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จนถึงในช่วงปี 1920 ซึ่งเป็นช่วงที่จักรวรรดิอังกฤษมีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด
มากถึงขนาดที่ในสมัยนั้นจักรวรรดิอังกฤษสามารถครอบครองพื้นที่ได้มากกว่า 30 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งคิดเป็นพื้นที่เกือบ 1 ใน 4 ของพื้นที่ทั่วโลก
มากกว่าพื้นที่ของสหภาพโซเวียตที่เพิ่งก่อตั้งในปี 1917 ที่มีพื้นที่ประมาณ 22 ล้านตารางกิโลเมตร จึงทำให้จักรวรรดิอังกฤษในช่วงนั้นมีพื้นที่ในการปกครองมากที่สุดในโลก..
ยิ่งไปกว่านั้นในช่วงปี 1920 ดินแดนที่อยู่ภายใต้จักรวรรดิอังกฤษทั้งหมดรวมกันแล้ว
จะมีจำนวนประชากรมากถึง 440 ล้านคน ซึ่งมากกว่าสหรัฐอเมริกาในขณะนั้น
ที่มีประชากร 110 ล้านคน ถึง 4 เท่า
อังกฤษในฐานะประเทศเจ้าอาณานิคมจะเข้าไปวางรากฐานให้ประเทศอาณานิคมมากมาย
ไม่ว่าจะเป็นการเมือง, การศึกษา, โครงสร้างพื้นฐาน, ศาสนา และเศรษฐกิจ
จึงทำให้ประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษบางส่วนสามารถนำสิ่งเหล่านี้มาต่อยอด จนพัฒนาเศรษฐกิจของตัวเองจนเจริญก้าวหน้าได้ เช่น ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, แคนาดา หรือสิงคโปร์
เรื่องราวก็ดำเนินเรื่อยมาจนกระทั่งการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2
ที่แต่ละประเทศต่างได้รับความเสียหายมากมายในช่วงสงคราม
ด้วยความที่อังกฤษเป็นคู่ขัดแย้งหลักในมหาสงครามทั้ง 2 ครั้ง
จึงทำให้ประเทศในอาณานิคมต้องมีความเกี่ยวข้องกับสงครามในที่สุด
โดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งประเทศในอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษในภูมิภาคเอเชีย ได้ถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นเข้าครอบครอง ไม่ว่าจะเป็นอาณานิคมช่องแคบ, บริติชมาลายา, ฮ่องกง หรือพม่า ส่งผลให้จักรวรรดิอังกฤษเริ่มเสียอำนาจในการปกครองประเทศอาณานิคมดังกล่าว
ถึงแม้ว่าผลสรุปจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 จักรวรรดิอังกฤษจะเป็นผู้ชนะสงคราม
แต่มหาสงครามทั้ง 2 ครั้ง ก็ทำให้จักรวรรดิอังกฤษได้รับความเสียหายมากมายนับไม่ถ้วน
จุดจบของสงครามโลกครั้งที่ 2 นี้เอง ที่ทำให้ศูนย์กลางของชาติมหาอำนาจได้ถูกเปลี่ยนมือจากจักรวรรดิอังกฤษไปสู่สหรัฐอเมริกา
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง ได้มีการเคลื่อนไหวของประชาชนในชาติอาณานิคมมากมายทั่วโลกเพื่อที่จะเรียกร้องเอกราชจากประเทศเจ้าอาณานิคมอย่างอังกฤษ, เบลเยียม, ฝรั่งเศส, สเปน, โปรตุเกส และเนเธอร์แลนด์
ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้จักรวรรดิอังกฤษเริ่มกระบวนการการปลดปล่อยอาณานิคมและได้ก่อตั้ง The Commonwealth of Nations หรือ เครือจักรภพแห่งประชาชาติ โดยไม่ได้บังคับอดีตประเทศในอาณานิคมว่าต้องเข้าเป็นสมาชิกของเครือจักรภพแห่งประชาชาติแต่อย่างใด
ประเทศที่เป็นสมาชิกของเครือจักรภพแห่งประชาชาติจะไม่มีข้อผูกพันใด ๆ กับสหราชอาณาจักร
โดยจุดมุ่งหมายของการก่อตั้งเครือจักรภพแห่งประชาชาตินี้คือ การให้ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องของการค้าระหว่างประเทศ, หลักประชาธิปไตย, สิทธิมนุษยชน, การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ, ความเท่าเทียมทางเพศ และอื่น ๆ อีกมากมาย
ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกเครือจักรภพแห่งประชาชาติอยู่ 54 ประเทศทั่วโลกในทุกทวีป
เช่น มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินเดีย, ปากีสถาน, แอฟริกาใต้ และอีก 49 ประเทศทั่วโลก
และในประเทศสมาชิก 54 ประเทศนี้ มี 16 ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวกันกับสหราชอาณาจักร ซึ่งก็คือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ได้แก่ ออสเตรเลีย, แคนาดา, นิวซีแลนด์, ปาปัวนิวกินี, จาเมกา และอีก 10 ประเทศ ซึ่งไม่รวมสหราชอาณาจักร
คำถามที่น่าสนใจก็คือ
สมมติถ้าเครือจักรภพแห่งประชาชาติเป็นประเทศเดียวกัน ซึ่งทุกรัฐและทุกดินแดนจะถูกปกครองโดยอังกฤษ ประเทศนี้มันจะใหญ่แค่ไหน ?
คำตอบก็คือ ประเทศ เครือจักรภพแห่งประชาชาติ จะกลายเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
โดยจะมีพื้นที่รวมกันกว่า 29 ล้านตารางกิโลเมตร
มากกว่ารัสเซียที่มีพื้นที่ 17 ล้านตารางกิโลเมตร เกือบ 2 เท่า
ขนาดพื้นที่ของเครือจักรภพแห่งประชาชาติน้อยกว่าในช่วงที่เป็นจักรวรรดิอังกฤษ
ก็เพราะว่ามีบางประเทศที่เคยเป็นดินแดนในอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษ แต่พอได้เอกราชแล้วก็ไม่ได้เข้าไปเป็นสมาชิกของเครือจักรภพแห่งประชาชาติ เช่น เมียนมาและอียิปต์
นอกเหนือจากขนาดพื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาล มีดินแดนตั้งอยู่ในทุกทวีปแล้ว
ประเทศนี้จะมีความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม
ด้วยประชากรกว่า 2,400 ล้านคน จะทำให้มีประชากรมากที่สุดในโลก มากกว่าประเทศจีนที่มีประชากร 1,400 ล้านคน และยังมีวัยแรงงานที่พร้อมจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศอย่างมหาศาล
นอกเหนือจากแรงงานแล้ว ประเทศแห่งนี้จะกลายเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรน้ำมันที่มีในแคนาดา ไนจีเรีย และมาเลเซีย
ที่จะทำให้ประเทศนี้มีปริมาณน้ำมันดิบสำรองมากกว่า 200 ล้านบาร์เรล
ซึ่งจะทำให้ประเทศนี้มีน้ำมันสำรองมากเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากเวเนซุเอลาและซาอุดีอาระเบีย
แต่ถ้าใครคิดว่าประเทศนี้จะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก คำตอบจะไม่เป็นอย่างนั้น
เพราะเครือจักรภพแห่งประชาชาติจะมีขนาด GDP โดยประมาณอยู่ที่ 351 ล้านล้านบาท
ซึ่งเป็นขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกาที่ 668 ล้านล้านบาท และจีนที่ 447 ล้านล้านบาท
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงแค่การสมมติเท่านั้น
เนื่องจากยุคล่าอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษได้สิ้นสุดลงแล้ว
ถ้าจะให้ถือว่าเป็นอย่างทางการจริง ๆ
ก็สิ้นสุดนับตั้งแต่อังกฤษได้คืนเกาะฮ่องกงให้แก่จีนในปี 1997
การสิ้นสุดลงของจักรวรรดิอังกฤษ ส่งผลให้ประเทศในอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษ มีความเป็นประเทศเท่าเทียมกัน กับเจ้าอาณานิคมอย่างสหราชอาณาจักรทุกประการ..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.historic-uk.com/HistoryUK/HistoryofBritain/Timeline-Of-The-British-Empire/
-https://praenapa.wordpress.com
-https://www.worldometers.info/world-population/population-by-country/
-https://www.bbc.com/thai/international-43796090
-https://thecommonwealth.org/about-us/charter
-https://www.eia.gov/international/data/world/petroleum-and-other-liquids/