#MarketCommentary
Although x86 solutions currently remain the mainstream in the oligopolistic server market, IBM enjoys an advantage in certain niche areas due to superior stability and system virtualization performances despite lagging in terms of software support and pricing.
In addition, IBM server solutions are relatively dependent on professional teams for hardware expansion. In view of these aforementioned drawbacks, most enterprises’ adoption rates of x86 servers still remain high.
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過14萬的網紅GIGAZINE,也在其Youtube影片中提到,http://gigazine.net/index.php?/news/comments/20080422_ibm_system_x3200/ GIGAZINEを支えるサーバ「IBM System x3200」フォト&ムービーレビュー、電源を入れて「ごぅんごぅん」とうなりをあげる様子を撮影。...
ibm server 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
Lenovo จากบริษัทไม่มีใครรู้จัก สู่แบรนด์คอมพิวเตอร์ ขายดีสุดในโลก /โดย ลงทุนแมน
ผู้ที่ครองส่วนแบ่งตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือ PC ได้มากที่สุดในโลกก็คือ “Lenovo” แบรนด์จากประเทศจีน ที่สามารถแซง HP และ Dell จากสหรัฐอเมริกา จนขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ของโลกได้เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2013 และยังคงรักษาตำแหน่งอันดับ 1 ได้จนถึงปัจจุบัน
Lenovo ยังถือเป็นบริษัทจีนที่ก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทระดับโลกได้เป็นบริษัทแรก ๆ ก่อนบริษัทระดับโลกในยุคปัจจุบันอย่างเช่น Alibaba, Tencent, Huawei และ Xiaomi
แล้ว Lenovo ทำได้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
จากข้อมูลของ Gartner ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยด้านเทคโนโลยีชั้นนำของโลก จำนวน PC ที่ส่งมอบทั้งปี 2020 แบรนด์ที่ครองส่วนแบ่งตลาดโลกได้มากที่สุดก็คือ
อันดับ 1 Lenovo จากจีน 24.9%
อันดับ 2 HP จากสหรัฐอเมริกา 21.2%
อันดับ 3 Dell จากสหรัฐอเมริกา 16.4%
อันดับ 4 Apple จากสหรัฐอเมริกา 8.2%
อันดับ 5 Asus จากไต้หวัน 6.0%
คำว่า PC ในความหมายของ Gartner จะแปลว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ซึ่งครอบคลุมผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และแล็ปท็อป
แล้วก่อนจะกลายมาเป็นบริษัทที่ขาย PC ได้มากที่สุดในโลก Lenovo มีจุดเริ่มต้นอย่างไร ?
ย้อนกลับไปในปี 1984 หรือเมื่อ 37 ปีก่อน ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
“Liu Chuanzhi” เป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่ทำงานวิจัยอยู่ที่สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (CAS)
ตอนนั้น คุณ Liu รู้สึกว่าสิ่งที่คิดค้น มักจะจบลงแค่ในห้องทดลองและไม่ได้ถูกต่อยอดนำไปใช้ประโยชน์กับคนหมู่มาก
คุณ Liu ในวัย 40 ปี จึงขอเงินทุนจาก CAS มาได้ 2 แสนหยวน หรือราว 1 ล้านบาท เพื่อเปิดบริษัทเกี่ยวกับสินค้าเทคโนโลยีเอง
หลังจากได้ทุนมาแล้ว เขาก็ได้รวบรวมทีมงานที่เป็นนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรคอมพิวเตอร์ชาวจีนอีก 10 คนและได้ก่อตั้งบริษัท ในตอนแรกชื่อว่า “Legend”
ในเวลานั้น ถือเป็นจังหวะที่ดี เพราะประเทศจีนกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน จากยุคเหมาเจ๋อตง ที่ระบบเศรษฐกิจถูกวางแผนโดยรัฐและไม่ค้าขายกับต่างประเทศ มาเป็นยุคเติ้งเสี่ยวผิง ที่เริ่มปฏิรูปเศรษฐกิจ
โดยให้ภาคเอกชนมีบทบาทมากขึ้นและเริ่มค้าขายกับต่างประเทศ
แต่ Legend มีอุปสรรคสำคัญก็คือ ด้วยความที่ทีมงานมีพื้นฐานมาจากการเป็นนักวิจัย การเลือกประเภทสินค้าจึงไม่ค่อยตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งก็ได้ทำให้บริษัทต้องลองผิดลองถูกอยู่หลายครั้ง
โดย Legend เริ่มจากการนำเข้าโทรทัศน์สีมาขายแต่ล้มเหลว
จึงเปลี่ยนมาพัฒนานาฬิกาข้อมือดิจิทัล แต่ก็ล้มเหลว
พอเปลี่ยนมาให้บริการตรวจสอบคุณภาพคอมพิวเตอร์ก่อนถึงมือลูกค้า ก็ยังคงล้มเหลว
จนกระทั่ง Legend หันมาลงทุนพัฒนาแผ่นวงจรพิมพ์ หรือ PCB เพื่อให้คอมพิวเตอร์ของ IBM ที่นำเข้ามา ใช้งานเป็นภาษาจีนได้ ซึ่งก็ถือว่าได้ผลตอบรับดี
หลังจากนั้น Legend จึงได้เริ่มนำเข้าคอมพิวเตอร์จากต่างประเทศ แล้วขายระบบภาษาจีนพ่วงด้วย
ทำให้คอมพิวเตอร์ที่บริษัทนำเข้ามา ขายดีมาก ซึ่งนี่ถือเป็นจุดเปลี่ยนแรกที่สำคัญ เพราะ Legend ได้เริ่มเรียนรู้ความต้องการของตลาด จากการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าต่างประเทศ
ในเวลาต่อมา Legend จึงต่อยอดกิจการด้วยการไปตั้งบริษัทย่อยที่ฮ่องกง เพื่อผลิตและส่งออก PCB จนกระทั่งในปี 1990 บริษัทก็ได้เริ่มผลิตคอมพิวเตอร์แบรนด์ของตัวเองและสามารถนำบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงได้ในปี 1994
ผลิตภัณฑ์แรก ๆ ของ Legend ที่ประสบความสำเร็จคือเมนเฟรมคอมพิวเตอร์
ก่อนที่บริษัทจะเริ่มผลิตคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและแล็ปท็อปตามมา
จนในที่สุด Legend ก็มีรายได้หลักมาจากการขายคอมพิวเตอร์ที่เป็นแบรนด์ของตัวเองและได้กลายเป็นแบรนด์คอมพิวเตอร์ที่มียอดขายมากที่สุดในประเทศจีน ด้วยส่วนแบ่งตลาดกว่า 43% ในปี 1998
ซึ่งนอกจากการวิจัยพัฒนาคอมพิวเตอร์แล้ว กลยุทธ์ที่ทำให้ Legend ครองตลาดจีนได้ก็คือการขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้า เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ได้มากที่สุด รวมถึงการสร้างเครือข่ายและความสัมพันธ์ที่ดีกับตัวแทนจัดจำหน่าย
หลังจากประสบความสำเร็จในประเทศแล้ว Legend จึงตั้งเป้าหมายใหญ่ขึ้น
ด้วยการก้าวสู่ตลาดโลก ภายใต้การนำของ CEO คนใหม่ที่ชื่อว่า “Yang Yuanqing”
คุณ Yang เริ่มงานที่ Legend ตั้งแต่ตอนที่บริษัทเปิดรับสมัครพนักงานครั้งแรกเมื่อปี 1988 โดยเริ่มจากตำแหน่งพนักงานขาย ซึ่งก็สร้างผลงานได้โดดเด่น จนไปเข้าตาประธานบริษัทอย่างคุณ Liu
คุณ Yang จึงได้เลื่อนขั้นมาเป็นหัวหน้ากลุ่มธุรกิจ PC ในวัยเพียง 29 ปี
ก่อนที่จะรับตำแหน่ง CEO ในปี 2001 ขณะที่อายุ 37 ปี
เพื่อเตรียมก้าวสู่ตลาดโลก Legend จึงรีแบรนด์ในปี 2003 ด้วยการเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “Lenovo” ซึ่งมาจากคำว่า “Le” จากชื่อบริษัทเดิม Legend รวมกับคำว่า “Novo” ที่แปลว่า ใหม่ ในภาษาละติน
ต่อมาในปี 2004 บริษัท IBM ได้ประกาศขายธุรกิจคอมพิวเตอร์
ซึ่ง IBM เป็นบริษัทผู้นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จากสหรัฐอเมริกา โดยนับเป็นบริษัทแรก ๆ ในโลกที่เริ่มขาย คอมพิวเตอร์จนมีแล็ปท็อป “ThinkPad” ที่โด่งดัง และครองส่วนแบ่งตลาดคอมพิวเตอร์เป็นอันดับ 3 ของโลกในขณะนั้น เป็นรองจาก Dell และ HP
แต่สาเหตุสำคัญที่ IBM ตัดสินใจขายธุรกิจคอมพิวเตอร์ เพราะมองว่าเทคโนโลยีเครื่องคอมพิวเตอร์ ถูกคู่แข่งเลียนแบบได้ง่าย แถมยังแข่งกันตัดราคาขาย ทำให้อัตราการทำกำไรต่ำ บริษัทจึงอยากโฟกัสธุรกิจที่สร้างกำไรได้ดี อย่างพวกซอฟต์แวร์และกลุ่มให้บริการ มากกว่า
ที่น่าสนใจก็คือ ทั้งที่ Dell ก็เสนอซื้อเช่นกัน แต่ IBM กลับเลือกขายธุรกิจคอมพิวเตอร์ให้กับ Lenovo ซึ่งในตอนนั้นยังเป็นบริษัทจากประเทศจีนที่แทบไม่มีคนรู้จัก
โดย IBM ให้เหตุผลว่าตอนนั้นรัฐบาลจีนกำลังผลักดันบริษัทจากจีนให้ได้เติบโตในระดับโลก
IBM จึงตอบสนองความต้องการของรัฐบาลจีน เพื่อเปิดโอกาสให้ IBM เข้าไปบุกตลาดจีนได้ง่ายขึ้น
Lenovo ที่อยากขายสินค้าไปทั่วโลก จึงตกลงซื้อธุรกิจคอมพิวเตอร์ของ IBM ในปี 2005 ด้วยมูลค่า 1.75 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 5.7 หมื่นล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นบริษัทแรก ๆ ของจีน ที่มีดีลการเข้าซื้อกิจการต่างประเทศ
นั่นจึงทำให้ Lenovo ได้โรงงานผลิตคอมพิวเตอร์ของ IBM ที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัย ได้ช่องทางการจัดจำหน่ายและฐานลูกค้าทั่วโลก รวมถึงได้ทีมงานจาก IBM ซึ่งทำให้บริษัทมีพนักงานเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว
ที่สำคัญก็คือ ไลน์ผลิตภัณฑ์กลุ่ม “Think” ที่ขายดีที่สุดของ IBM อย่าง ThinkPad ที่เป็นแล็ปท็อป และ ThinkCentre ที่เป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ก็จะเปลี่ยนโลโกจาก IBM มาเป็น Lenovo
และนี่คือจุดเปลี่ยนที่ทำให้ Lenovo ซึ่งแต่เดิมแทบไม่มียอดขายในต่างประเทศเลย สามารถเติบโตแบบก้าวกระโดดจากบริษัทคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก ขึ้นมามีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 3 ของโลก แทนที่ IBM ทันที
นอกจากนี้ การรวมพนักงานนานาชาติของทั้ง 2 บริษัท ทำให้ Lenovo ปรับโครงสร้างกรรมการบริษัทและทีมบริหารให้มีสัดส่วนชาวจีนและอเมริกันเท่า ๆ กัน
อีกมุมที่ Lenovo ให้ความสำคัญไม่แพ้การมีสินค้าขายไปทั่วโลก ก็คือการปรับวัฒนธรรมองค์กร ธรรมาภิบาล รวมถึงมาตรฐานบัญชี ให้มีความเป็นสากล
ยกตัวอย่างเช่น แม้ในตอนนั้นตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงจะกำหนดให้ส่งงบประมาณเพียงปีละ 2 ครั้ง แต่ CFO หญิงผู้วางรากฐานที่สำคัญให้ Lenovo อย่างคุณ Mary Ma เลือกให้บริษัทเปิดเผยงบประมาณปีละ 4 ครั้งเป็นรายไตรมาส ตามมาตรฐานสากล
จากการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ Lenovo จึงเปลี่ยนจากบริษัทท้องถิ่น มาเป็นบริษัทข้ามชาติ
ซึ่งถือได้ว่าเป็นบริษัทข้ามชาติแห่งแรกที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศจีน
แต่หลังจากนั้นไม่นาน Lenovo ก็ต้องเจอความท้าทายครั้งใหญ่ เพราะผลจากวิกฤติการเงินโลกในปี 2008 ทำให้ผลประกอบการปี 2009 ของบริษัทพลิกเป็นขาดทุนมากถึง 7.4 พันล้านบาท
ในปี 2009 คุณ Yang ที่ได้เลื่อนตำแหน่งไปเป็นประธานกรรมการบริษัทในปี 2004 ได้ขอกลับมารับตำแหน่งเป็น CEO อีกครั้งเพื่อนำบริษัทให้กลับมามีกำไร รวมถึงเร่งเพิ่มยอดขายและขยายส่วนแบ่งตลาด ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนสูง แต่คุณ Yang ขอเวลา 4 ปี แล้วค่อยวัดผล
คุณ Yang เริ่มจากการฟื้นฟูตลาดเดิมที่ทำกำไรได้ดีอยู่แล้ว นั่นก็คือ ฐานลูกค้าเดิมจาก IBM อย่าง PC สำหรับลูกค้าองค์กร และฐานลูกค้าเดิมของ Lenovo อย่างตลาดในประเทศจีน
ขณะเดียวกันก็บุกตลาดใหม่ ๆ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตแรงและมีจำนวนประชากรมาก อย่างเช่น อินเดีย เพื่อขยายฐานลูกค้าไม่ให้พึ่งพาชาวจีน มากเกินไป
ซึ่งกลยุทธ์เชิงรุกนี้ช่วยเพิ่มรายได้ได้อย่างรวดเร็ว แต่ยังต้องแลกกับการทุ่มงบประมาณก้อนใหญ่ เพื่อทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก และทำการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขาย
Lenovo จึงได้เพิ่มไลน์ผลิตภัณฑ์เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายขึ้นนอกเหนือจาก ThinkPad ที่เป็นแล็ปท็อปพรีเมียมราคาสูง อย่างเช่น IdeaPad ที่เป็นแล็ปท็อปราคาเข้าถึงง่าย รวมถึง Yoga ที่ฟังก์ชันการใช้งานเป็นได้ทั้งแล็ปท็อปและแท็บเล็ต
นอกจากนี้ Lenovo ได้เร่งขยายส่วนแบ่งตลาดจากการควบรวมกิจการมากมาย ยกตัวอย่างเช่น
ปี 2011 Lenovo ซื้อบริษัทอิเล็กทรอนิกส์เยอรมันที่ชื่อ Medion ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของ Lenovo ในเยอรมนีเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวทันที และ Lenovo ยังตั้งบริษัทร่วมทุนกับบริษัท NEC ของญี่ปุ่น ทำให้กลายเป็นบริษัท PC ที่ใหญ่สุดในญี่ปุ่น
ปี 2012 Lenovo ซื้อบริษัทคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่สุดในบราซิลที่ชื่อ CCE ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการเจาะตลาดอเมริกาใต้
ปี 2018 Lenovo ซื้อกิจการคอมพิวเตอร์ของ Fujitsu ประเทศญี่ปุ่น
ผลลัพธ์จากแผนงานที่นำทีมโดยคุณ Yang หลังจากวิกฤติการเงินโลก ก็ถือว่าเกินความคาดหมาย
เพราะ Lenovo สามารถเพิ่มสัดส่วนรายได้จากประเทศอื่น ๆ และลดสัดส่วนจากจีนลงได้ จาก 46% ในปี 2010 เหลือเพียง 23% ในปัจจุบัน โดยรายได้ของ Lenovo กว่า 80% ยังมาจากธุรกิจคอมพิวเตอร์
ในด้านของส่วนแบ่งตลาดคอมพิวเตอร์ Lenovo สามารถชนะ Dell จนขึ้นมาเป็นที่ 2 ของโลกได้เป็นครั้งแรกในปี 2011 ก่อนที่จะแซง HP ขึ้นมาเป็นที่ 1 ของโลกในอีก 2 ปีถัดมา และยังครองอันดับ 1 มาจนถึงปัจจุบัน
ความสำเร็จของการปลุกปั้นธุรกิจคอมพิวเตอร์ของ Lenovo ก็ได้ทำให้ คุณ Yang ถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งใน CEO ที่เก่งที่สุดในโลก รวมถึงผู้ก่อตั้งอย่างคุณ Liu ที่ได้รับฉายาว่าเป็น “ไฮเทคฮีโรแห่งประเทศจีน”
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
คุณ Liu Chuanzhi ผู้ก่อตั้ง Lenovo มีลูก 2 คน
หนึ่งในนั้นคือลูกสาวที่ชื่อว่า Liu Qing หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า “Jean Liu”
หลังจากที่ Jean Liu จบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และทำงานที่ Goldman Sachs มา 12 ปี
เธอก็ย้ายมารับตำแหน่งเป็น COO ให้กับบริษัทสตาร์ตอัปของจีนที่ชื่อ Didi Dache
เธอมีบทบาทสำคัญในการควบรวมกิจการระหว่าง Didi Dache กับบริษัทคู่แข่งอย่าง Kuaidi Dache ในปี 2015 ที่เปลี่ยนมาใช้ชื่อใหม่เป็น “Didi Chuxing” แอปพลิเคชันเรียกแท็กซี่และส่งอาหารอันดับ 1 ของจีน
ปัจจุบัน เธอดำรงตำแหน่งประธานบริษัท ซึ่งเป็นผู้นำคนสำคัญของ Didi Chuxing ร่วมกับผู้ก่อตั้งอย่างคุณ Cheng Wei ที่ดำรงตำแหน่งเป็น CEO และประธานกรรมการ จนถูกจัดอันดับจากนิตยสาร Time ให้เป็น 1 ใน 100 คน ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลกเมื่อปี 2017
ซึ่งก็เรียกได้ว่าลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น เลยทีเดียว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.economist.com/business/2013/01/12/from-guard-shack-to-global-giant
-https://www.economist.com/business/2001/09/13/legend-in-the-making
-https://www.ft.com/content/2bb25562-4ae0-11d9-a0ca-00000e2511c8
-https://www.cnbc.com/2016/12/01/china-based-lenovos-ride-to-top-spot-of-pc-business.html
-https://www.marketwatch.com/story/why-ibm-selling-server-unit-to-lenovo-is-bad-news-for-hp-1390500250
-https://www.wsj.com/articles/the-worlds-largest-pc-maker-is-no-longer-a-bargain-11550742853
-https://www.theverge.com/2012/1/3/2677691/ex-ibm-ceo-revisits-selling-pc-business-samuel-palmisano
-https://en.wikipedia.org/wiki/Lenovo
-https://en.m.wikipedia.org/wiki/Market_share_of_personal_computer_vendors
-https://investor.lenovo.com/en/financial/results.php
ibm server 在 iThome Facebook 的最佳貼文
#Container周報 #精選重要容器新聞 #第139期 #CNCF #OpenShift
CNCF使用者社群每隔一段時間會發表一份技術雷達,來介紹特定技術議題的不同雲端原生技術的成熟情況,作為有意想採用者的參考,這一季技術雷達的焦點是多叢集管理平臺技術。
紅帽正式推出OpenShift 4.8版,新增Serverless自動配置和擴充能力,還有一項開發流程工具OpenShift Pipelines的預覽功能,可以用來建立GitOps流程。
Red Hat靈魂人物Jim Whitehurst不再擔任IBM總裁,變成顧問職,外界好奇IBM要找誰來彌補Jim離開後對開源社群的影響力
重要新聞:
✅4年發展用戶仍太少,微軟放棄Windows容器支援SQL Server的計畫
✅美英警告:駭客組織用K8s叢集執行大規模暴力破解能力,鎖定數百政府機關和企業
✅整合雲端K8s開發環境,Mirantis的K8s開發工具第5次大改版
✅CircleCI新版強化CICD自動備份能力,還簡化AWS EKS大規模容器部署
更多內容請看
https://www.ithome.com.tw/news/145572
ibm server 在 GIGAZINE Youtube 的最佳貼文
http://gigazine.net/index.php?/news/comments/20080422_ibm_system_x3200/
GIGAZINEを支えるサーバ「IBM System x3200」フォト&ムービーレビュー、電源を入れて「ごぅんごぅん」とうなりをあげる様子を撮影。
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/PaSATf8qHRY/hqdefault.jpg)
ibm server 在 IBM FHIR Server 的推薦與評價
The IBM FHIR Server is a modular Java implementation of version 4 of the HL7 FHIR specification with a focus on performance and configurability. ... <看更多>