以色列是科技創新的國家,重視幼兒探索教育及防災意識,感謝 Israel in Taipei 駐台北以色列經濟文化辦事處的 #柯思畢代表(Mr. Omer Caspi)捐贈抗震桌,由以色列比薩利藝術設計學院師生共同設計,重量只有27公斤,抗震力卻高達1噸,相信可以提供桃園防災教育館作為教育使用,讓小孩更深刻學習防災意識。
桃園和以色列拉馬甘市(Ramat Gan)在2016年締結為姊妹市,市府曾派參訪團到以色列進行城市交流,這次也非常感謝柯思畢代表的支持,他認為台灣的防災教育非常重要,也讓抗震桌的捐贈更有教育意義;我也很期待,桃園市與以色列能有更多層面的交流,包括在防災、科學、技術、教育與文化等,相信都有更多合作的機會。
桃園防災教育館
#感謝柯思畢代表
#駐台北以色列經濟文化辦事處
#Earthquakeprooftable
#以色列抗震桌
ramat gan 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
ทำไม? อิสราเอล ถึงได้ฉายาว่า “พ่อค้าเพชรของโลก” /โดย ลงทุนแมน
อินเดีย, สหรัฐอเมริกา, ฮ่องกง, เบลเยียม และอิสราเอล
ทั้ง 5 ประเทศที่ว่ามา คือประเทศที่ส่งออกเพชรมากที่สุดในโลก
หลายคนอาจจะไม่แปลกใจกับ อินเดีย สหรัฐอเมริกา เท่าไรนัก
เพราะอินเดียและสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมาก และมีทรัพยากรค่อนข้างสมบูรณ์
ส่วนเบลเยียมก็ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองหลวงแห่งการค้าเพชรมาแต่ไหนแต่ไร
สำหรับฮ่องกงทุกคนรู้ว่าเป็นตัวแทนการซื้อขายของประเทศจีน และเป็นเมืองท่าที่สำคัญ
แล้ว “อิสราเอล” ประเทศเล็กๆ ที่ไม่มีแม้แต่เหมืองขุดเพชร
แต่ทำไม ประเทศนี้ถึงสามารถส่งออกเพชรได้มากเป็นอันดับที่ 5 ของโลกได้?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปในยุคกลาง หรือในช่วงศตวรรษที่ 5
ซึ่งตรงกับช่วงที่ชาวยิวอยู่กระจัดกระจายไปทั่วยุโรป
ในช่วงนั้นแต่ละอาณาจักรได้จำกัดการประกอบธุรกิจของชาวยิวอย่างชัดเจน
ไม่ว่าจะเป็นการห้ามเป็นเกษตรกรหรือ พนักงานของรัฐ
ทำให้มีแค่ธุรกิจการค้าขายและการเงินเท่านั้น ที่ชาวยิวจะสามารถประกอบอาชีพได้
อีกทั้งยังมีบางประเทศที่จำกัดสิทธิ์การครอบครองทรัพย์สินของชาวยิว
อย่างเช่น ที่ดิน หรือพื้นที่การเกษตร
ด้วยความที่ชาวยิวมีความฉลาดในด้านการค้าขายและการเงิน
จึงทำให้ชาวยิวมีความมั่งคั่งมากกว่า ชนชาติอื่นๆ
แต่ความมั่งคั่งนี้เองที่เป็นเหตุให้ชาวยิวเป็นที่เพ่งเล็ง ถูกขับไล่ และถูกปล้นสะดมอยู่บ่อยครั้ง
อย่างไรก็ตาม ในตอนนั้น เพชร ถือเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ชนิดใหม่
ที่ไม่ได้ถูกผู้ปกครองในประเทศต่างๆ จับตามองมากนัก
ซึ่งทำให้ชาวยิวยังไม่ได้ถูกจำกัดสิทธิ์การครอบครองเพชร
ชาวยิวหลายคน จึงหันมาจับธุรกิจที่เกี่ยวกับการทำเพชรเป็นอาชีพ
ไม่ว่าจะเป็นการผลิต, การเจียระไน และการค้าเพชร
และด้วยความคุ้นเคยกับเพชรเป็นเวลานาน
จึงทำให้ชาวยิวมีความชำนาญในหลายๆ เรื่องที่เกี่ยวกับอัญมณีล้ำค่าชนิดนี้
แม้กระทั่งตลาดค้าเพชรของเบลเยียมที่เมือง Antwerp
ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นศูนย์กลางการค้าเพชรของโลก
ก็มีชาวยิวย้ายมาตั้งรกราก และนำเอาองค์ความรู้เกี่ยวกับเพชรมาเผยแพร่ที่นี่ตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 16
เวลาต่อมาชาวยิวทั่วยุโรปเริ่มทยอยอพยพกลับมายังดินแดนปาเลสไตน์
โดยมีขบวนการไซออนิสต์ ซึ่งเป็นขบวนการในการสร้างรัฐในดินแดนปาเลสไตน์
จนในที่สุดขบวนการดังกล่าวประสบความสำเร็จในการสถาปนารัฐอิสราเอล ในปี 1948
ซึ่งก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ ประเทศอิสราเอล นั่นเอง
และแน่นอนว่า ชาวยิวที่อพยพมา ณ ดินแดนอิสราเอล ก็ไม่ได้มาตัวเปล่า
เพราะพวกเขาได้นำพาเอาองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง เพชร ติดไม้ติดมือมาด้วย
และได้เริ่มก่อตั้งโรงงานเพชรในเมือง Petah Tikva
และในช่วงนั้น ก็ตรงกับช่วงที่นาซีเยอรมัน บุกเบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ ที่เป็นแหล่งอุตสาหกรรมเพชรที่สำคัญของยุโรป
ซึ่งเรื่องนี้ก็ทำให้อุตสาหกรรมเพชรในสองประเทศนี้ ได้รับผลกระทบตามไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
พอเรื่องเป็นแบบนี้ คุณ Oved Ben-Ami นักการเมืองและนักธุรกิจชาวยิว ก็มองเห็นโอกาสตรงนี้
และได้ไปชักชวนบริษัทเพชรครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง De Beers
ที่ก่อนหน้านี้เน้นส่งออกเพชรดิบไปทำการเจียระไนต่อที่เบลเยียมและเนเธอร์แลนด์เป็นหลัก
ให้ขนส่งเพชรดิบที่ยังไม่ได้เจียระไนมายังอิสราเอลแทน
ทำให้หลังจากนั้นมา อิสราเอลจึงได้นำเข้าเพชรดิบจากบริษัท De Beers เพื่อมาเจียระไนต่อมากขึ้น
ส่งผลให้มีการเปิดโรงงานผลิตเพชร และโรงงานเจียระไนเพชรเพิ่มขึ้นอีกหลายแห่ง ทั้งในเมือง Tel Aviv, Petah Tikva และ Netanya
ทั้งหมดนี้ทำให้อุตสาหกรรมเพชรในเมืองเหล่านี้เติบโตมากขึ้น
และมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นมามากมายในอุตสาหกรรมเพชรตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
และด้วยความเชี่ยวชาญในเรื่องธุรกิจเพชรมาอย่างยาวนานของชาวยิว
บวกกับความพร้อมในการผลิตเพชรของโรงงานในอิสราเอล
ส่งผลให้ประเทศเล็กๆ แห่งนี้ สามารถส่งออกเพชรได้มากเป็นอันดับต้นๆ ของโลกอย่างในทุกวันนี้
โดยในปี 2019 อิสราเอลสามารถส่งออกเพชรเป็นมูลค่ากว่า 300,000 ล้านบาท
คิดเป็น 10.5% ของการส่งออกเพชรของทั่วทั้งโลก
ซึ่งมูลค่าในระดับนี้ ทำให้อิสราเอล เป็นประเทศที่ส่งออกเพชรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก
ที่สำคัญคือ เมือง Ramat Gan ที่ตั้งอยู่ในนคร Tel Aviv มี “Diamond Exchange District” ที่เป็นย่านการค้าและที่อยู่อาศัย โดยมีพื้นที่ใช้สอยรวม 1.1 ล้านตารางเมตร
ซึ่งความน่าสนใจของย่านนี้คือ เป็นศูนย์กลางการค้าเพชรครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดย่านหนึ่งของโลก
และเป็นศูนย์รวมของการผลิตเพชร, เจียระไนเพชร, วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับเพชร และซื้อขายเพชร
ทั้งหมดนี้ ก็คือเหตุผลที่ทำให้ประเทศเล็กๆ แห่งนี้
สามารถก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในผู้นำในวงการค้าเพชรของโลก นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.ditp.go.th/contents_attach/84971/84971.pdf
-https://en.israelidiamond.co.il/history-israeli-diamond-industry/#:~:text=The%20idea%20of%20building%20a,effort%20to%20assist%20the%20community.
-https://www.middiamonds.com/the-diamond-blog/the-story-of-israels-diamond-industry-is-that-of-the-country/
-https://www.israelcu.com/article/what-is-the-relationship-between-diamond-and-jewish-people
-https://www.moti-israeli-diamonds.com/blog/rule-diamonds-jewish-faith-and-culture
-https://en.israelidiamond.co.il/wikidiamond/diamond-industry-history/history-belgian-diamond-industry/
https://en.israelidiamond.co.il/diamond-articles/world/role-diamonds-jewish-faith/
-https://www.en.isde.co.il/
-https://trendeconomy.com/data/h2/Israel/TOTAL
ramat gan 在 波阿斯 Boaz Facebook 的最佳貼文
那天在台南以色列藝術文化展時,收到一封來自Saar 的FB訊息。今天沒事就邋遢的想來公館這走走好了。 他是Saar ,在以色列 Ramat Gan 出生長大。 來台灣兩年半了,說著不錯的中文。 他說當初來台灣是有在一次旅行的火車上遇到兩位台灣人,然後台灣人和他說如果來亞洲應該先來台灣旅行。其實以色列當他們當完兵都會花時間在世界四處旅行。 他就來到台灣也就在這開始學中文,現在開了間小店。我進來時覺的很熟悉的感覺,因為就如以色列的路邊小店,沒有任何氣派的裝潢。心想那應該會很到道地吧!哈哈
Saar 他就如一般的以色列年輕人,不浮誇很自然,他就先認出我。我們簡單聊了幾句,我心裡還真的有種一見如故的感覺。客人陸陸續續的進來,我就在旁自己做自己的事,他也有句沒句的和我閒聊。 聊在台灣生活話題時 我突然問他「那你開心嗎?」 他微笑的點點頭。他也希望未來可以每半年回去以色列一次看看家鄉。這裡在以色列可以吃到的平民餐點他大概都有,而且餐都是平價的價位,他說這些本來就是以色列平民食物,也不該賣太貴。後來我也吃了Falafel 招牌豆丸子,鷹嘴豆泥茄子蛋 和 以色列傳統布丁,果真很道地!想不到在台灣台北可以吃到如此道地的以色列食物。我們繼續閒聊中,我說我認為以色列人應該多來台灣先,然後再中國,因為以色列和台灣思維生活算是比較接近的,當以色列多和台灣交流思維,這樣也可以讓台灣更多了解以色列,然後就在將以色列人為思維四處傳揚。這樣對以色列有很好幫助的。 我也和幾位進來客人閒聊 「你們怎麼知道這間店?」我問。「喔,我們住附近看到以色列餐好奇來吃看看」客人說。 看的出來 大家對以色列食物是好奇的。
最後我要走了,我心裡是蠻滿足的不只是看到一位國外的人,離開家鄉來到台灣打拼學習。也是一種以色列與台灣的民間友好關係的建立。
FB: Falafel King
Falafel King - 台北市台北市中正區汀州路3段95號