#Opinion by Mr. Tregunter|"Play in a reversal mode. The U.S. dollar has started to fall this year, and only after foreign investors enter the U.S. bond market did the dollar return to its original level. This is similar to an IPO of a stock, which offers a lower price to large investors before speculating higher. What kind of tactics will be played, we do not know yet, but it is estimated that we will see some indications during the first half of this year. In any case, the turnaround period is expected to be more volatile, so it is advisable to be cautious."
Read more: https://bit.ly/3asJhjZ
"調轉玩,美元今年就開始跌,等外國投資者入場買美債後,美元才回到原本水平,等於股票IPO低價批畀大戶後才炒高。會玩何種手法,未知道,但估計今年上半年會見到端倪。無論如何,轉折期估計有較大震盪,宜慎。"
____________
📱Download the app:
http://onelink.to/appledailyapp
📰 Latest news:
http://appledaily.com/engnews/
🐤 Follow us on Twitter:
https://twitter.com/appledaily_hk
💪🏻 Subscribe and show your support:
https://bit.ly/2ZYKpHP
#AppleDailyENG
u.s. bond yield 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
การเพิ่มขึ้นของ Bond Yield จะกระทบเศรษฐกิจไทยอย่างไร ? /โดย ลงทุนแมน
การปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล หรือ Bond Yield ในช่วงที่ผ่านมา
โดยเฉพาะ Bond Yield ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา รุ่นอายุ 10 ปี กำลังเป็นปัจจัยทำให้เกิดความผันผวนอย่างมากต่อตลาดหุ้นทั่วโลก
และหลายคนก็อาจกำลังสงสัยว่า
เรื่องนี้จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะมาวิเคราะห์ให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
สำหรับ Bond Yield ที่นักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจ
คือ Bond Yield ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา รุ่นอายุ 10 ปี
ในทางทฤษฎีนั้น การปรับตัวเพิ่มขึ้นของ Bond Yield มักเป็นการส่งสัญญาณว่า อัตราดอกเบี้ยระยะยาวในตลาดการเงิน กำลังจะปรับตัวสูงขึ้น จากการที่เศรษฐกิจฟื้นตัวกลับมา
ซึ่งสาเหตุหนึ่งก็เพราะรัฐบาลสหรัฐอเมริกา มีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ให้เดินหน้าจากวิกฤติให้เร็วที่สุด
อย่างเช่น มาตรการก่อนหน้านี้ที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกา นำมากระตุ้นเศรษฐกิจนั้น ก็เป็นเม็ดเงินสูงถึง 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นกว่า 59 ล้านล้านบาท
โดยมีทั้งการนำเงินไปช่วยคนตกงาน สนับสนุนเงินช่วยเหลือแก่ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ หน่วยงานต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกาที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจในครั้งนี้
เมื่อประชาชนมีเงินในมือหรือได้รับการช่วยเหลืออุดหนุน จึงทำให้มีการคาดกันว่า ชาวอเมริกันจะออกมาจับจ่ายใช้สอย ท่องเที่ยว หลังจากอัดอั้นมานาน จนทำให้เศรษฐกิจเติบโตในปีนี้
แต่การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยจำนวนเงินที่มากขนาดนี้ อีกด้านหนึ่งทำให้นักลงทุนเกิดความกังวลว่า เงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกา จะปรับเพิ่มขึ้นมากในอนาคตอันใกล้
และพอเป็นแบบนั้น สุดท้ายธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา ก็จะต้องตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสกัดกั้นการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ
นักลงทุนที่คาดการณ์แบบนี้ และกำลังถือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา รุ่นอายุ 10 ปีอยู่ จึงเริ่มพากันเทขายพันธบัตรดังกล่าวออกมา เพราะคาดว่าพันธบัตรรุ่นที่จะออกมาใหม่ในอนาคต จะให้ผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตรชุดปัจจุบันตามการปรับตัวขึ้นของดอกเบี้ยนโยบาย
การเทขายพันธบัตรรัฐบาลรุ่นปัจจุบัน จึงทำให้ราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริการุ่นอายุ 10 ปีนั้นลดลง และทำให้อัตราผลตอบแทน ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นสวนทางกันตามกลไกของพันธบัตร
- สิ้นปี 2563 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา รุ่นอายุ 10 ปี อยู่ที่ประมาณ 0.916%
- มีนาคม 2564 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา รุ่นอายุ 10 ปี อยู่ที่ประมาณ 1.674%
การเทขายพันธบัตร แล้วหันกลับมาถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐ
หมายความว่า ความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐกำลังกลับมาเพิ่มขึ้น
พอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงทำให้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD Index) ปรับเพิ่มขึ้น
ซึ่งหมายความว่า เงินดอลลาร์สหรัฐ กำลังแข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น
- สิ้นปี 2563 ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD Index) อยู่ที่ประมาณ 89.894
- มีนาคม 2564 ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD Index) อยู่ที่ประมาณ 92.714
การแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เงินบาทนั้นอ่อนค่าลงในเชิงเปรียบเทียบ
โดยค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เมื่อช่วงต้นปี อยู่ที่ประมาณ 29.87 บาท
ในวันนี้ ค่าเงินบาทปรับตัวมาอยู่ที่ประมาณ 31.32 บาท
หรืออ่อนค่าลงมาแล้ว ประมาณ 4.9%
แน่นอนว่า เมื่อรวมกับการที่เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด 19 การอ่อนค่าของเงินบาท ก็จะส่งผลดีต่อภาคการส่งออก และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทย
เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก โดยในปี 2563 สัดส่วนมูลค่าการส่งออกของไทยมีสัดส่วนกว่า 7.2 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 45% ของมูลค่า GDP
ค่าเงินที่อ่อนค่ายังจะส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยเฉพาะการเข้ามาของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะมองว่าการท่องเที่ยวไทยมีต้นทุนที่ต่ำลง เมื่อเงินบาทอ่อนค่าลง
แม้ว่าตอนนี้ประเทศไทยจะยังไม่สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวได้เต็มที่เหมือนช่วงก่อนหน้านี้ แต่ก็ถือเป็นสัญญาณที่ดี ที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศเริ่มฟื้นตัว ในช่วงเวลาเดียวกับที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง
สรุปแล้ว การที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา รุ่นอายุ 10 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้น จนทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น และเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงที่ผ่านมา จะช่วยทำให้ภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวของไทยได้รับผลบวกตามไปด้วย
แต่รู้ไหมว่า เมื่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา รุ่นอายุ 10 ปีปรับตัวสูงขึ้น เรื่องนี้ก็ส่งผลทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปี
โดยจากสิ้นปีที่ประมาณ 1.165% มาวันนี้ ปรับขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 1.733%
ในทางเศรษฐศาสตร์นั้น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี มักเป็นปัจจัยที่ใช้กำหนดแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยระยะยาว
นั่นหมายความว่า การเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปี มีแนวโน้มที่จะทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวของไทยนั้นปรับตัวสูงขึ้นไปด้วย
แล้วเรื่องนี้จะกระทบอะไรกับเราบ้าง ?
สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ต้นทุนทางการเงินของทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนปรับตัวสูงขึ้น
ทำให้หากรัฐบาลไทยหรือบริษัทเอกชนไทย ต้องการจะออกหุ้นกู้ระยะยาว ก็จะมีต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น
งบประมาณของภาครัฐ รวมทั้งงบประมาณของภาคเอกชน ที่จะนำไปใช้เพื่อการลงทุนก็อาจลดลง เนื่องจากงบประมาณบางส่วนต้องถูกแบ่งไปชำระภาระหนี้ในอนาคตที่เพิ่มสูงขึ้น
แต่ที่ดูแล้วน่าเป็นห่วงที่สุด น่าจะเป็นภาคครัวเรือนไทย
ปัจจุบันหนี้สินของภาคครัวเรือนไทย พุ่งไปถึง 87% ของมูลค่า GDP
หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 14 ล้านล้านบาท
ซึ่งถ้าอัตราดอกเบี้ยระยะยาวเริ่มปรับเพิ่มขึ้น ภาระหนี้สินของครัวเรือนไทยก็จะปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย
พอภาระของภาคครัวเรือนมีมากขึ้น ก็จะมีกำลังมาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ไม่เต็มที่ ถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลที่มากเพียงพอในวันนี้และในอนาคต
สรุปแล้ว การเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา แม้จะดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัวพวกเรา
แต่เมื่อลองมาวิเคราะห์กันดูแล้ว กลับเป็นเรื่องใกล้ตัวพวกเราและเศรษฐกิจไทย ไม่น้อยเลยทีเดียว...
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.investing.com/currencies/us-dollar-index
-https://www.investing.com/rates-bonds/u.s.-10-year-bond-yield-historical-data
-https://kasikornbank.com/th/k-expert/knowledge/articles/savings/Pages/Invest_A125.aspx#
-https://www.cnbc.com/2021/01/11/forex-markets-dollar.html
-http://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report=TradeBalanceMonthly&Lang=Th
-https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=409&language=TH
-https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=615
-https://th.investing.com/rates-bonds/thailand-10-year-bond-yield
u.s. bond yield 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
การเปลี่ยนแปลงของ Bond Yield ส่งผลต่อตลาดหุ้น อย่างไร ? /โดย ลงทุนแมน
“Bond Yield” หรือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตร
เป็นคำศัพท์ในโลกการลงทุน ที่เรามักได้ยินกันเป็นประจำ
ช่วงที่ผ่านมา เราได้เห็น Bond Yield ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น
สวนทางกับ ราคาหุ้นในหลายตลาด ที่ปรับตัวลดลง
แล้วเรื่องนี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
พันธบัตร คือ ตราสารหนี้ชนิดหนึ่งที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ
ซึ่งจะมีอายุของตราสารมากกว่า 1 ปีขึ้นไป
โดยผู้ซื้อหรือนักลงทุน จะมีสถานะเป็น “เจ้าหนี้” ของหน่วยงานของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ ที่เป็นผู้ออกตราสาร โดยที่เจ้าหนี้ จะได้รับผลตอบแทนในรูปของ “ดอกเบี้ย” หรือ “Bond Yield”
ข้อดีของการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลก็คือ
มีความเสี่ยงต่ำ เพราะมีรัฐบาลเป็นลูกหนี้
ซึ่งมีโอกาสน้อยมากที่รัฐบาลจะผิดชำระหนี้เรา
ขณะที่ผลตอบแทนที่ได้รับนั้น ก็มักจะสูงกว่าการฝากเงินกับธนาคาร
โดยตราสาร ที่นักลงทุนติดตามกันมากที่สุดตัวหนึ่ง
คือ “พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี”
เพื่อให้เข้าใจคำว่า Bond Yield กันชัด ๆ ลองมาดูตัวอย่างนี้กัน
ถ้ารัฐบาลออกพันธบัตรอายุ 10 ปี มีอัตราดอกเบี้ยที่ระบุไว้เท่ากับ 2% และมีราคาที่ตราไว้ (Par Value) เท่ากับ 1,000 บาท
ถ้าเราลงทุนในพันธบัตรนี้และถือจนครบกำหนด 10 ปี
สิ่งที่เราจะได้คือ ดอกเบี้ยปีละ 2% คิดเป็นปีละ 20 บาท ถ้ารวมดอกเบี้ยตลอด 10 ปี ก็จะรวมได้เป็น 200 บาท
ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่เราได้ปีละ 2% ก็คือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล
หรือที่เรียกว่า “Bond Yield” นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม พันธบัตรรัฐบาล สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือกันได้ในตลาดรอง ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ ราคาพันธบัตรจึงสามารถเปลี่ยนแปลงขึ้นหรือลงได้
ทำให้นักลงทุน สามารถมาซื้อขายทำกำไรกันตามการขึ้นลงของราคาพันธบัตรได้
โดยถ้ามี Demand ต้องการพันธบัตรในช่วงนั้น ราคาของพันธบัตรเพิ่มสูงขึ้นจากราคาที่ตราไว้ได้ ซึ่งเมื่อราคาสูงขึ้น Yield หรือผลตอบแทนของพันธบัตร เมื่อเทียบกับราคา ก็จะลดลงสวนทางกัน
เช่น ราคาพันธบัตรสูงขึ้นจาก 1,000 บาท เป็น 2,000 บาท พันธบัตรให้ดอกเบี้ยปีละ 20 บาทเท่าเดิม ดังนั้น Yield ก็จะลดลงจาก 2% เหลือ 1%
ถ้าเราย้อนกลับไปตอนที่เริ่มเกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 อย่างหนักในช่วงต้นปีที่แล้ว
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับตัวลดลงถึงต่ำสุดที่ 0.54% ช่วงเดือนมีนาคม 2020
ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้น สะท้อนความกลัวของนักลงทุนในเวลานั้นว่า โควิด 19 จะทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำ เพราะนักลงทุนเกิดการเทขายหุ้น เพื่อย้ายเงินเข้าไปซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย ซึ่งก็รวมถึงพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ซึ่งนั่นก็คือ สาเหตุที่ Bond Yield ในตอนนั้นลดต่ำลงมาก
หลังจากนั้น ธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลก ก็ได้ทำการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านการทำ Quantitative Easing (QE) จนมีปริมาณเงินเพิ่มสูงขึ้นในตลาดการเงิน
ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลที่ต่ำ บวกกับเงินที่ไหลเข้ามาในระบบจำนวนมาก
สุดท้ายนักลงทุนก็ต้องมองหาสินทรัพย์ ที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
นั่นจึงเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้ราคาหุ้นในหลายตลาด ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ทั่วโลก เริ่มดูจะควบคุมได้มากขึ้นเพราะการมาของวัคซีน และเศรษฐกิจในหลายประเทศก็เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัว
Bond Yield ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่ก่อนหน้านี้ลดต่ำลง
ก็กำลังกลับมาปรับตัวสูงขึ้น จนมาอยู่ที่ประมาณ 1.45%
จากเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา ที่อยู่ที่ประมาณ 0.94%
Bond Yield ที่กลับมาเพิ่มขึ้นนี้ ก็เนื่องจาก นักลงทุนเริ่มมีความกังวลว่า
การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากการอัดเงินเข้ามา กำลังจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ
แล้วเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น ก็จะกดดันให้ผลตอบแทนที่แท้จริง จากการถือครองพันธบัตรนั้นลดลงไป
(ผลตอบแทนที่แท้จริง คำนวณได้จาก อัตราดอกเบี้ย ลบด้วย อัตราเงินเฟ้อ)
ทำให้พันธบัตรรัฐบาลที่ถือกันอยู่ตอนนี้ มีความน่าดึงดูดลดน้อยลง และเริ่มถูกเทขายออกมากันมากขึ้น เมื่อถูกเทขายมาก Bond Yield ก็กลับมาเพิ่มสูงขึ้นตามกลไกที่ได้อธิบายไปข้างบนนั่นเอง
มาถึงคำถามสำคัญ คือ ทำไม Bond Yield ที่เพิ่มสูงขึ้น ถึงกดดันราคาหุ้นในหลายตลาดให้ลดลง ?
เรารู้กันไปแล้วว่า Bond Yield ที่เพิ่มขึ้นมานั้น
สะท้อนความกังวลเรื่องเงินเฟ้อที่กำลังจะเพิ่มขึ้นในไม่ช้า
เมื่อเงินเริ่มเฟ้อ ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ก็จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอีกไม่ช้า เพื่อคุมความร้อนแรงของเศรษฐกิจที่เริ่มกลับมาฟื้นตัว
และการที่ FED ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนี้เอง
เป็นปัจจัยส่งผลในด้านลบ กับบริษัทในตลาดหุ้น
เพราะหลายบริษัทที่กู้ยืมมาก่อนหน้านี้มาก ๆ ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ จะต้องแบกรับภาระหนี้ที่หนักขึ้น จากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่จะปรับขึ้นในอนาคต
รวมถึงบริษัทไหนที่มีแผนจะกู้ยืมผ่านการออกหุ้นกู้ (Bond) ก็จะมีภาระมากขึ้น เพราะต้องเสนออัตราดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้ที่สูงขึ้น
แล้วพันธบัตรรัฐบาลก็ถูกเทขาย หุ้นก็ถูกเทขาย แล้วเงินจะไปไหน ?
ประเด็นก็คือ พันธบัตรรัฐบาลจะมีการออกรุ่นใหม่มาเรื่อย ๆ
ซึ่งถ้า FED ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
พันธบัตรรุ่นใหม่ที่ออกมา ก็จะมี Yield ที่สูงขึ้น เพื่อดึงดูดให้คนมาซื้อ
หมายความว่า พันธบัตรรัฐบาลที่จะออกมาในอนาคต
จะให้อัตราดอกเบี้ยที่มากกว่า รุ่นที่ซื้อขายกันอยู่ปัจจุบัน
ซึ่งก็อาจบอกได้ว่า นักลงทุนจะเทขายพันธบัตรรุ่นเก่าในตลาด เพื่อเก็บเงินสดหรือตราสารหนี้ระยะสั้น เอาไว้รอซื้อพันธบัตรรุ่นใหม่
สรุปเรื่องนี้ทั้งหมดก็คือ การที่ Bond Yield เพิ่มขึ้นในช่วงนี้ เพราะนักลงทุนเริ่มเห็นถึงสัญญาณของเงินเฟ้อที่กำลังจะเกิดขึ้น
และความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ ก็ส่งผลไปถึง ตลาดหุ้นที่เคยร้อนแรงก็จะดูน่าสนใจลดลงไป
เพราะต้นทุนทางการเงินของบริษัทกำลังจะสูงขึ้น
รวมไปถึงการประเมินมูลค่าบริษัทที่นักลงทุนส่วนใหญ่ชอบใช้คือ DCF (Discounted Cash Flow) จะใช้อัตราคิดลด (Discount Rate) ของเงินในอนาคตให้กลับมาที่ปัจจุบัน โดยอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ย
ซึ่งพออัตราคิดลดสูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ย ก็จะทำให้ได้มูลค่าที่เหมาะสมลดลงเช่นกัน และนั่นก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนขายหุ้น เพราะราคาหุ้นที่เหมาะสมของบางบริษัท อาจต่ำกว่าราคาหุ้นปัจจุบันไปแล้ว
และทั้งหมดนี้ก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนไหวของ Bond Yield
กับราคาหุ้นในหลาย ๆ ตลาด ที่ลงทุนแมนคิดว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องนี้นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.set.or.th/set/education/knowledgedetail.do?contentId=4952&type=article
-http://www.thaibma.or.th/EN/Investors/Individual/Blog/2017/25052017.aspx
-https://www.investing.com/rates-bonds/u.s.-10-year-bond-yield
-https://kasikornbank.com/th/k-expert/knowledge/articles/savings/Pages/Invest_A125.aspx
-https://www.treasury.gov/resource-center/data-chart-center/interest-rates/pages/textview.aspx?data=yield