ล่าสุด เมื่อวันก่อน หลังจากเรากลับมาจากแมนเชสเตอร์ มีเบอร์นึงจากอังกฤษโทรมาหา โทรเข้ามาเบอร์ที่ดูไบเลย📞
.
ตอนแรกไม่อยากรับสาย เพราะรับสายต่างประเทศมันชาร์จแพง 555+
.
ผ่านไป 1 ชั่วโมง เบอร์เดิมโทรมาอีก เลยลองเช็คเบอร์ในอินเตอร์เน็ตดู เพราะเดี๋ยวนี้มันมีพวกเบอร์จากต่างประเทศโทรมาหลอกเยอะ
.
เช็คเบอร์แล้ว เป็นของ NHS จาก UK (United Kingdom National Health Service) ก็ดูน่าเชื่อถืออยู่ แต่ก็งงอยู่ดีว่าโทรมาทำไม ฉันกลับมาดูไบแล้ว🤔
.
1 ชั่วโมงถัดไป นางโทรมารอบที่ 3 อ่ะ รับก็รับ🤷🏻♀️
.
ปรากฎว่าจริงจังมาก โทรมาถามอาการโควิด🤨 ไอ่เราก็งงว่าเราไปป่วยตอนไหน หรือมีเคสบนไฟลท์หรอ🤔 เพราะตอนเลโอเวอร์ ไม่ได้ออกจากห้องด้วยซ้ำ แถมเอาอาหารไปกินเองหมด(พอดีคุมน้ำหนัก😅)
.
ก็ตอบไปงงๆว่าปกติดี 🗣แล้วผู้ชายปลายสายก็เริ่มพูดสำเนียงอังกฤษแบบช้าๆชัดๆ เรียกว่าพูดยานๆเลยดีกว่า คงเห็นเราเป็นต่างชาติแล้วกลัวเราฟังไม่รู้เรื่อง
.
เค้าถามว่า เราสะดวกที่จะคุยต่อเป็นภาษาอังกฤษมั้ย เราบอกสะดวก
.
แล้วเค้าก็เริ่มบอกว่า การโทรครั้งนี้จะมีการบันทึกเสียง บลาๆๆ แล้วก็ให้เราคอนเฟิร์มวันเกิด จากนั้นก็ถามว่า เรายินยอมที่จะให้บันทึกเสียงและดำเนินการต่อมั้ย
.
ทางเราก็อ้ำอึ้งสักพักด้วยความงง😲 แต่ก็ตอบเค้าไปว่า เอาจริงๆ ฉันไม่รู้จะยินยอมดีมั้ย เพราะฉันไม่รู้ว่านี่มันเรื่องอะไรด้วยซ้ำ ฉันอาศัยอยู่ดูไบ ฉันไป UK มาแค่วันเดียว และตอนนี้ฉันก็กลับมาดูไบแล้ว หรือถ้าเรื่องนี้มันเกี่ยวกับวัคซีน ฉันก็ฉีดที่ดูไบหมด
.
พอผู้ชายปลายสายได้ฟัง เค้าก็เลยบอกว่า งั้นไม่เป็นไร เดี๋ยวจะใส่ในระบบไว้ให้ และคุณควรจะไม่มีสายโทรเข้าจากเบอร์นี้อีก แต่ถ้ามี ให้บอกไปว่าคุณอยู่ดูไบ
.
โอเคจบ วางสาย☎️
.
หลังจากนั้นก็แวะเม้าท์มอยกับ Lalaleng และเพื่อนอีกคน เป็นแก๊งนัดพบที่อังกฤษเป็นประจำสมัยก่อนโควิด
.
เม้าท์เสร็จได้ความว่า อาจจะเป็นเพราะที่ไทยกำลังจะเปลี่ยนเป็นกลุ่มประเทศสีแดง🔴 และตัวเราก็ถือหนังสือเดินทางไทยเข้าประเทศ🇹🇭 ก็เลยโดนเช็คไป🤷🏻♀️ งงเลยค่า
.
ตอนแรกยังไม่รู้ข่าวที่ไทย เห็นเบอร์จาก UK นึกว่าลืมจ่ายค่ารูมเซอร์วิสที่โรงแรม แต่เอ๊ะ! รอบนี้ฉันไม่ได้สั่งอาหารนี่นา หรือว่าเค้าจะชาร์จค่าน้ำเปล่านะ?😆 คิดไปนู่น
同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過1,360的網紅siufualice,也在其Youtube影片中提到,英國宣佈持 BNO 可入英藉計劃,香港人終於多條出路! 記得CLS支持下啊 。 香港政府工作假期計劃:https://www.whs.gov.hk/en/partners.php?location=uk 英國青年流動計劃:https://www.gov.uk/tier-5-youth-mobilit...
「uk national service」的推薦目錄:
- 關於uk national service 在 Facebook 的最佳解答
- 關於uk national service 在 มติพล ตั้งมติธรรม Facebook 的最佳解答
- 關於uk national service 在 Facebook 的精選貼文
- 關於uk national service 在 siufualice Youtube 的精選貼文
- 關於uk national service 在 賓狗單字Bingo Bilingual Youtube 的最佳解答
- 關於uk national service 在 Should the UK bring back National Service? - YouTube 的評價
uk national service 在 มติพล ตั้งมติธรรม Facebook 的最佳解答
บิดาแห่ง Antivaxxers - นักวิจัยผู้บิดเบือนผลการทดลองวัคซีนเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง
โรคหัดเคยเป็นโรคหนึ่งที่คร่าชีวิตเด็กทั่วโลกไปกว่าปีละ 2.6 ล้านคน จนกระทั่งเริ่มมีการผลิตวัคซีน MMR หรือ หัด คางทูม หัดเยอรมัน ขึ้นมาในปี 1971 โดยใช้ไวรัสมีชีวิตจากไวรัสที่ทำให้ก่อโรคทั้งสาม ทำให้อ่อนกำลังลง ปัจจุบัน วัคซีน MMR นี้เป็นวัคซีนหลักที่กว่า 100 ประเทศทั่วโลกฉีดให้เด็กกว่า 100 ล้านคนทุกปี ส่งผลทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลงเหลือเพียง 122,000 คน ในปี 2012 ซึ่งส่วนมากเกิดขึ้นในประเทศด้อยพัฒนา
แต่ในปี 1998 งานวิจัยที่นำโดย Andrew Wakefield ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสาร The Lancet พร้อมทั้งได้ออกแถลงข่าวผลงานวิจัย ที่ได้ศึกษาเด็ก 12 คนที่มีอาการของ autism และได้ตรวจพบอาการใหม่ในเด็ก 8 จาก 12 คน ที่เรียกว่า “autistic enterocolitis” ที่ทีมนักวิจัยอ้างว่าเกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีน และมีความเชื่อมโยงระหว่างโรคในระบบทางเดินอาหารที่พบกับการพัฒนาการที่นำไปสู่โรคออทิซึ่ม ในการแถลงข่าวนี้ Wakefield จึงได้เรียกร้องให้มีการหยุดให้ MMR vaccine โดยสิ้นเชิง จนกว่าผลกระทบจะได้รับการศึกษาอย่างถี่ถ้วน และทดแทนด้วยการฉีดวัคซีนแยกชนิดกันแทน
ซึ่งผลของงานวิจัยนี้แน่นอนว่าสร้างความสะท้านไปทั่วโลก เนื่องจากวัคซีน MMR เป็นวัคซีนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากไปแล้วในปัจจุบัน และการค้นพบความเชื่อมโยงของผลเสียของวัคซีนต่อพัฒนาการของเด็ก ที่นำไปสู่โรคออทิซึ่มนั่น แน่นอนว่าเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก จึงได้รับความสนใจเป็นอย่างมากต่อสื่อทั่วโลก
แต่… ในเวลาที่ตามมา ความไม่ชอบมาพากลหลายๆ อย่างเกี่ยวกับ “งานวิจัย” นี้ ก็ค่อยๆ โผล่ขึ้นมาให้เห็น นักข่าว Brian Deer ได้ไปขุดพบเอกสารที่บ่งชี้ว่า Wakefield ได้มีการยื่นขอสิทธิบัตรในการทำวัคซีนแยกเข็มเดี่ยว ก่อนที่จะมีการทำงานวิจัยที่เรียกร้องให้มีการยกเลิกเข็มรวมไปแยกเป็นเข็มเดี่ยว รวมไปถึงแผนที่จะหากำไรจากการผลิตเครื่องตรวจออทิซึ่มที่อาจทำเงินได้ถึง $43 ล้านต่อปี มีการเปิดเผยให้เห็นว่าก่อนจะเกิดการทดลองนี้ขึ้น ผู้ปกครองของเด็กทั้ง 12 คนนี้กำลังติดต่อกับทนายความเพื่อที่จะดำเนินคดีต่อผู้ผลิตวัคซีน และได้มอบเงิน 55,000 ปอนด์แก่รพ. เพื่อทำงานวิจัยชิ้นนี้ นอกจากนี้ตัว Wakefield เองยังได้รับเงินกว่า 400,000 ปอนด์จากเหล่าทนายที่กำลังเตรียมคดีฟ้องผู้ผลิตวัคซีน MMR ซึ่งในกรณีนี้ในทางวิชาการนั้นจัดว่าเข้าข่าย “มีผลประโยชน์ทับซ้อน” (Conflict of Interest) ที่ Wakefield ไม่ได้แจ้งไว้แต่ในภายแรก
แม้ว่าจะไม่ถึงกับห้ามทำงานวิจัยเมื่อมีผลประโยชน์ทับซ้อนเสียทีเดียว แต่การไม่แจ้ง Conflict of Interest นั้นนับเป็น Research Misconduct ที่ค่อนข้างร้ายแรง แน่นอนว่าการมีผลประโยชน์ทับซ้อนนั้นส่งผลเป็นอย่างยิ่งต่อความเป็นกลางของผู้ทำการทดลอง ซึ่งหากผู้รีวิวได้รับรู้ถึง Conflict of Interest ล่วงหน้า และเป็นที่แน่ชัดว่าผู้ทำวิจัยนั้นได้รับผลประโยชน์บางอย่างหากผลงานวิจัยจะออกไปในทางใดทางหนึ่ง เจตนารมณ์และความเป็นกลางของผู้วิจัยย่อมจะต้องถูกนำมาตั้งคำถาม และตัวงานวิจัยจะต้องถูกพิจารณาอย่างถี่ถ้วนยิ่งขึ้น เช่นเดียวกัน ในโลกปัจจุบันผู้ผลิตวัคซีนแต่ละชนิดนั้นเป็นผู้ที่จะต้องทำงานวิจัยเพื่อยืนยันผลด้วยตัวเอง ซึ่งฝ่าย reviewer ก็จะคาดหวังมาตรฐานที่สูงกว่าเพื่อแสดงให้เห็นว่าในทุกขั้นตอนการวิจัยนั้นไม่ได้มีการ “ตุกติก” หรือแก้ผลเพื่อให้เป็นไปตามที่ต้องการ
สำหรับวารสาร Lancet นั้น ตัว editor-in-chief เองก็ได้ออกมาบอกในภายหลังว่า งานวิจัยของ Wakefield นั้นมีจุดบกพร่องเป็นอย่างมาก และหากเหล่า peer reviewer ได้แจ้งถึง Conflict of Interest อย่างชัดเจนแต่แรกแล้ว น่าจะไม่มีทางที่งานวิจัยนี้จะได้รับการรับรองแต่แรก
นอกไปจากนี้ Wakefield ได้ทำการเปิดแถลงข่าวต่อหน้าสื่อมวลชน ตั้งแต่ก่อนที่งานวิจัยจะได้รับการตีพิมพ์อย่างเป็นทางการ ซึ่งในทางการวิจัยแล้วจัดเป็น “Science by press conference” (การทำงานวิจัยผ่านการแถลงข่าว) ซึ่งขัดต่อหลักการงานวิจัยที่ควรจะเป็น นั่นคือนักวิจัยควรจะมีหน้าที่ได้รับการยอมรับและติติงและยืนยันผลจากนักวิจัยด้วยกันก่อนที่จะนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณชน เพราะงานวิจัยนั้นควรจะทำไปเพื่อหาความจริง ไม่ใช่เพื่อชื่อเสียง และเมื่อพิจารณาจาก Conflict of Interest ของ Wakefield ที่กล่าวเอาไว้ล่วงหน้าแล้วนั้นก็ยิ่งทำให้อดตั้งคำถามถึงแรงจูงใจที่แท้จริงของผู้วิจัยไม่ได้
แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ งานวิจัยที่ผู้อื่นพยายามทำต่อมาในเบื้องหลังนั้น ไม่ได้ค้นพบผลที่ยืนยันการค้นพบเดิมของ Wakefield แต่อย่างใด ในปี 2005 BBC ได้อ้างอิงถึงงานวิจัยหนึ่งที่ได้ทดลองตรวจเลือดเด็กที่มีอาการออทิซึ่ม 100 คน และ 200 คนที่ไม่มีอาการ และพบว่ากว่า 99% นั้นไม่ได้มีเชื้อโรคหัดเท่าๆ กันทั้งสองกลุ่ม Institute of Medicine (IOM), United States National Academy of Sciences, CDC, UK National Health Service ต่างก็ไม่พบความเชื่อมโยงใดๆ ทั้งสิ้นระหว่างโรคออทิซึ่มและ MMR ในประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีการฉีดวัคซีนสามอย่างนี้แยกจากกัน ก็ไม่ได้พบว่ามีอัตราการเกิดออทิซึ่มแตกต่างจากประเทศอื่นที่ใช้ MMR รวมกันแต่อย่างใด นอกไปจากนี้ รีวิวต่างๆ ในวารสารงานวิจัยทางการแพทย์ก็ไม่เคยพบความเชื่อมโยงระหว่างวัคซีนกับออทิซึ่ม หรือแม้กระทั่งโรคระบบทางเดินอาหาร และก็ไม่เคยมีใครค้นพบ “autistic enterocolitis” ที่ Wakefield อ้างอิงถึงในงานวิจัยแต่อย่างใด
ผลสุดท้าย UK General Medical Council (แพทยสภาของอังกฤษ) ก็ได้เปิดการไต่สวน และได้ตัดสินว่า Andrew Wakefield ได้ทำความผิดร้ายแรง ฐานไม่สุจริต 4 กระทง ใช้ประโยชน์จากเด็กที่มีพัฒนาการต่ำ 12 กระทง ทำการทดลองที่ไม่จำเป็นและไร้ความรับผิดชอบต่อเด็กในการทดลอง การทดลองไม่ได้ผ่านบอร์ดคณะกรรมการจริยธรรม และไม่ยอมเปิดเผยถึงผลประโยชน์ทับซ้อน และ GMC ได้ระบุว่า Wakefield นั้น “ล้มเหลวโดยสิ้นเชิงต่อความรับผิดชอบในหน้าที่ของแพทย์ผู้ให้คำปรึกษา” จึงได้ถอด Andrew Wakefield ออกจากทะเบียนแพทย์ และยึดใบประกอบโรคศิลป์ในประเทศอังกฤษ
ส่วนตัววารสาร Lancet เองก็ได้ยื่น full retraction ถอดถอนงานวิจัยนี้ออกไป โดยตัว co author 10 จาก 12 คนในงานวิจัยนี้ก็ได้ออกมายื่นขอ retract เช่นเดียวกัน โดยกล่าวว่าแม้การค้นพบจะตั้งคำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัคซีน แต่ตัวงานวิจัยนั้นไม่สามารถยืนยันถึงความเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยทั้งสองได้แต่อย่างใด
แต่แม้ว่างานวิจัยจะถูกถอดถอน ผู้ทำวิจัยจะถูกปลดจากวิชาชีพไปแล้ว แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยลวงโลกนี้ก็ได้เกิดขึ้นไปแล้ว มีการประเมินว่างานวิจัยที่ตีพิมพ์โดย Lancet นี้ อาจจะเป็น “ข่าวลวงโลกที่ร้ายแรงที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20” เพราะนับแต่นั้นมา ทั้งในอังกฤษและไอร์แลนด์ต่างก็พบว่ามีผู้ปกครองที่ปฏิเสธวัคซีนเพิ่มมากขึ้น จนโรคหัดและคางทูมเริ่มกลับมาระบาดอีกครั้งหนึ่งในหมู่ผู้ที่ปฏิเสธวัคซีน และกระแส Anti-vaccine หรือที่เราเรียกกันว่า “Antivaxxers” ก็เริ่มจุดติดนับแต่นั้นเป็นต้นมา และหนึ่งในข้อกล่าวอ้างของผู้ที่ปฏิเสธวัคซีนที่แพร่หลายมากที่สุดก็คือ “วัคซีนทำให้เกิดโรคออทิซึ่ม” ซึ่งก็เริ่มต้นมาจากงานวิจัยลวงโลกของ Andrew Wakefield นี้นั่นเอง จนในทุกวันนี้ ชาวอเมริกันจำนวนมากที่สามารถเข้าถึงวัคซีน mRNA ใหม่ที่ป้องกันโควิด-19 กลับปฏิเสธที่จะรับวัคซีนฟรีจากความกลัววัคซีน ที่ Andrew Wakefield เป็นผู้ก่อ
ส่วนเจ้าตัวก่อเรื่องเองนั้น… แน่นอนว่าเขาก็ยังคงปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา โดยยังยืนยันผลเดิมว่าวัคซีนทำให้เกิดโรคออทิซึ่ม และเขาเองนั้นไม่ได้มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ ทั้งสิ้น แต่เขาต้องเป็นจำเลยของสังคม เขามีปากเสียงกับ Brian Deer นักข่าวผู้เปิดโปงและแฉเขาอยู่บ่อยๆ ซึ่ง Deer ก็ได้ออกมาตอบโต้ว่า “ถ้าคิดว่าไม่จริงก็ฟ้องมาสิ มาพิสูจน์กันเลย แล้วถ้าผมโกหกคุณก็จะกลายเป็นคนที่รวยที่สุดในอเมริกา” ซึ่งที่ผ่านมา Wakefield ก็ได้ถอนการฟ้องร้องคดีหมิ่นประมาทไปทุกกรณี และ Brian Deer ก็ได้รับรางวัลเป็น UK's specialist journalist of the year ใน the British Press Awards จากกรณีเปิดโปง Wakefield นี้
ปัจจุบัน Andrew Wakefield ได้ย้ายไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากเหล่าสาวก Antivaxxer อยู่จนถึงทุกวันนี้ เป็นหนึ่งในแกนนำที่คอยเรียกร้องต่อต้านกม. ที่จะบังคับให้คนฉีดวัคซีนอยู่เสมอ รวมไปถึงเป็นผู้กำกับภาพยนต์สารคดีลวงโลกเรื่อง Vaxxed: From Cover-Up to Catastrophe และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ที่ได้รับจากความโด่งดังอันเกิดจากงานวิจัยลวงโลกเช่นนี้อยู่ต่อไป
หมายเหตุ: ปัจจุบันไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่สามารถเชื่อมโยงการเกิดโรคออทิซึ่ม กับการฉีดวัคซีน
อ้างอิง/อ่านเพิ่มเติม:
[1] https://en.wikipedia.org/wiki/MMR_vaccine
[2] https://en.wikipedia.org/wiki/Lancet_MMR_autism_fraud
[3] https://en.wikipedia.org/wiki/Andrew_Wakefield
uk national service 在 Facebook 的精選貼文
比貼士呢樣行為係唔少港人居英既group入面都有討論,如果唔熟規矩,跟大隊做就最穩陣。
呢篇文章大約講到咩情況下要比,比幾多等等既問題,summary如下:
1) 英國人有最低工資保障,員工唔需要靠tips開飯
2) 食野如果間野本身好好Service/野好好食,本身又冇service charge, 比10-15%啦,如果有service charge,唔比都好正常
3) 坐的士既話,round up to the nearest pound (如 £8.4 會比 £9),而如果司機好人幫你搬行李等等,比車費既10-15%
4) 酒店既話,比個bell boy £2
5) 其他service,覺得好既,比10% extra當tips
總結: 唔洗刻意執著tips呢樣野,英國人同美國人唔同,佢地既tips真係unexpected bonus黎,standard既野係參考之用,慢慢融入呢度既生活之後,大家應該都會學習到如何隨心比tips
uk national service 在 siufualice Youtube 的精選貼文
英國宣佈持 BNO 可入英藉計劃,香港人終於多條出路!
記得CLS支持下啊
。
香港政府工作假期計劃:https://www.whs.gov.hk/en/partners.php?location=uk
英國青年流動計劃:https://www.gov.uk/tier-5-youth-mobility
英國駐香港總領事館:https://www.gov.uk/world/organisations/british-consulate-general-hong-kong
申請香港特區護照:https://www.immd.gov.hk/hkt/service/travel_document/apply_for_hksar_passport.html
申請renew BNO:https://www.gov.uk/government/publications/how-to-apply-for-a-british-national-overseas-passport-from-hong-kong
。
:: Find me in ::
FB: http://www.facebook.com/siufualice
IG: siufualice
uk national service 在 賓狗單字Bingo Bilingual Youtube 的最佳解答
—本集單字—
【NHS (National Health Service) 國民保健署】
Money that could have been spent on research was diverted into preparing for Brexit.
(原本可以用在研發上的資金,現在被拿去用來準備脫歐了。)
【sovereignty 主權】
Brexit supporters argue that the EU threatens sovereignty.
(脫歐支持者認為,歐盟會威脅到英國主權。)
【EU membership fee 歐盟會員費】
Brexiteers believe that leaving the EU can result in an immediate cost saving.
(脫歐派認為,離開歐盟可以立刻省下一筆錢。)
【General Data Protection Regulation 一般資料保護規範】
A UK version of the GDPR will effectively apply after Brexit.
(正式脫歐後,取而代之的將會是英國版本的 GDPR 法。)
【safety pin 安全別針】
A Twitter campaign has proposed that people wear a safety pin to show that they are against racism.
(一場推特活動呼籲大家在衣服別上安全別針,藉此對抗種族歧視。)
uk national service 在 Should the UK bring back National Service? - YouTube 的推薦與評價
'People are laughing at us because they don't think we can fight!'Gallantry Medal holder Trevor Coult MC and retired British Army officer ... ... <看更多>