หลากหลายมุมมองว่าด้วย "การทะเลาะวิวาทในรัฐสภา" โดย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์
วันที่ 04 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลา 16:41:09 น.
madpitch@yahoo.com
การทะเลาะวิวาทในรัฐสภา (parliamentary brawling) หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ "ความรุนแรงทางนิติบัญญัติ" (legislative violence) เป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เริ่มมีการศึกษาอย่างจริงจังในทางรัฐศาสตร์มากขึ้น นอกเหนือไปจากการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว
เริ่มจากการให้คำจำกัดความของเว็บไซต์อย่าง wikipedia.com ที่กล่าวว่าความรุนแรงทางนิติบัญญัตินี้หมายถึงการปะทะกันด้วยความรุนแรงระหว่างสมาชิกสภานิติบัญญัติ โดยเฉพาะในลักษณะของความรุนแรงทางกายภาพที่เกิดขึ้นในสภา และมักจะเกิดจากประเด็นที่มีลักษณะที่แบ่งแยกกันอย่างชัดเจน และคะแนนโหวตมีลักษณะที่ใกล้กันมาก และปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นในหลายแห่งทั่วโลกและเกิดขึ้นมาอย่างยาวนานต่อเนื่องกันซะด้วย
ตัวอย่างที่เป็นอมตะที่สุดตัวอย่างหนึ่งเห็นได้จากกรณีของยุคโรมัน เมื่อจอมเผด็จการ จูเลียต ซีซาร์ ได้ถูกลอบสังหารโดยเหล่าวุฒิสมาชิกเมื่อ 44 ปีก่อนคริสตกาล ทั้งนี้การวางแผนได้เกิดขึ้นมานานแล้ว และสุดท้ายแผนที่สำเร็จก็คือเมื่อบรรดาวุฒิสมาชิกได้วางแผนลวงซีซาร์ด้วยการเขียน ฎีกาปลอม เพื่อให้ซีซาร์ฯมอบอำนาจให้กับวุฒิสภา อันนำไปสู่การเรียกประชุมของจูเลียต ซีซาร์และเขาก็ถูกแทงตาย เหตุการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของอาณาจักรโรมัน ได้แก่การสิ้นสุดลงวิกฤตในสาธารณรัฐ และนำไปสู่สงครามกลางเมือง และในท้ายที่สุดก็คือการสถาปนาอำนาจของ ซีซาร์ ออกุสตุส และการแก้แค้นให้แก่จูเลียส ซีซ่าร์ด้วยการสังหารหมู่ทั้งวุฒิสมาชิกและอัศวินจำนวนมาก
ตัวอย่างอื่นๆ ที่น่าสนใจก็คือ ปรากฏการณ์การทะเลาะวิวาทในสภาในปี 2007 ในโบลิเวีย และในสภาระดับแคว้นของอินเดียในปี 1989 1997 และ 2009 ในเม็กซิโกปี 2006 ไนจีเรียปี 2010 เกาหลีใต้ 1998 2004 2009 2010 เปรู 1988 1998 2000 2006 2011 ไต้หวันในปี 2004 (สามครั้ง) 2006 2007 และล่าสุดเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2013 นี้เอง (กรณีเรื่องการประท้วงการออกกฎหมายให้มีประชามติในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แหล่งที่ 4) ส่วนในยูเครน ก็มีในปี 2010 และ 2012 ในอเมริกาปี 1798 1856 1858 1887 1902 2007 และ 2011 (หลายครั้งเกิดในระดับมลรัฐ) เวเนซุเอลาในปี 2013
แม้ในกรณีของสภายุโรปเองก็เกิดปรากฏการณ์การทะเลาะวิวาทในปี 1988 เมื่อมีชนวนมาจากการวิจารณ์สันตปาปา และนำไปสู่การโห่ และขว้างปาสิ่งของจนกระทั่งต้องจัดการให้มีการออกนอกห้องประชุมกันไป
ส่วนในอังกฤษ จะเห็นว่าการจัดวางตำแหน่งเก้าอี้ในสภาสามัญชน จะมีการแบ่งที่นั่งของฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านด้วยเส้นแดงที่ลากบนพรม และจะมีระยะห่างประมาณสองช่วงดาบ (two sword-lengths apart) และแม้ว่าทั้งสองฝ่ายจะเผชิญหน้ากัน (จริงๆ ในสภา) แต่ก็ห้ามข้ามเส้นไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง (ในอดีตเรื่องนี้สำคัญเพราะสมาชิกสภาสมัยก่อนเขาให้พกอาวุธเข้าไปได้) และก็เห็นจะมีครั้งเดียวที่มีการต่อยกัน เพราะสมาชิกอิสระท่านหนึ่งในปี 1972 ต่อยหน้าสมาชิก (ที่เป็นรัฐมนตรีมหาดไทย) ของพรรคอนุรักษนิยม หลังจากข้อถกเถียงกันเรื่องการปราบการชุมนุม และสมาชิกอิสระท่านนั้นรับไม่ได้เพราะขัดกับข้อมูลที่เธอเชื่อ และเธออ้างว่าเธอไม่ได้รับสิทธิในการพูด (แต่ครั้งนั้นเธอก็ถูกแบนจากสภาไปหกเดือนทีเดียว)
ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจที่เว็บไซต์ wikipedia พยายามชี้ก็คือ เราอาจจะต้องมองว่าความรุนแรงทางนิติบัญญัติที่เกิดขึ้น ควรจะได้รับการพิจารณาต่อไปอีกว่าเป็นทั้งความรุนแรงทางการเมือง (political violence) ที่มีความหมายสำคัญว่า นอกเหนือจากความรุนแรงทางการเมืองนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรมแล้ว ยังเป็นสิ่งจำเป็นอีกด้วย (อาจเพราะเชื่อว่าระบบการเมืองที่มีอยู่จะไม่ยอมรับฟังข้อเรียกร้องที่ผู้ก่อความรุนแรงทางการเมืองมีหากไม่ใช้ความรุนแรง) และ ความรุนแรงในที่ทำงาน (workplace violence) ซึ่งอาจจะมีความหายในแง่ของความรุนแรงทางกายภาพที่เป็นการละเมิดหรือข่มขู่เพื่อสร้างความเสี่ยงต่อสุขภาวะและความปลอดภัยแก่ผู้ที่อยู่ในที่ทำงาน
แต่ผมอยากจะเพิ่มไปหน่อยว่า ในหลายสังคมนั้นความรุนแรงทางนิติบัญญัตินั้นไม่ใช่ความรุนแรงทางการเมืองในลักษณะที่อันตรายมาก หรือจงใจเอาเป็นเอาตาย หากเทียบกับความรุนแรงทางการเมืองแบบอื่น แต่ความรุนแรงทางนิติบัญญัติที่เกิดขึ้นนั้นมีลักษณะที่ีตระการตา (spectacle) และมีลักษณะเป็นการแสดงออกเยี่ยงการแสดง (performative) อันเนื่องมาจากการที่การประชุมสภานั้นมีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ด้วยนั่นเอง ซึ่งในแง่นี้ผมต้องการจะชี้ว่าประเด็นสำคัญจึงไม่ได้อยู่ว่า "จริง" หรือ "เสียหาย" มากแค่ไหนในการทะเลาะกัน มากกว่าได้มีการทะเลาะกันพอที่จะได้รับรู้ที่ความเอาจริงเอาจังในการแสดงบทบาทดังกล่าวเสียมากกว่า
ทีนี้เรื่องราวถัดมาที่น่าพิจารณาก็คือ เรื่องราวที่ว่าความรุนแรงทางนิติบัญญัตินั้นเป็นเรื่องน่าอับอายหรือไม่? ก็คงต้องขอตอบว่าทัศนคติจำนวนหนึ่งกลับมองว่าความรุนแรงทางนิติบัญญัติเช่นนี้นั้นเป็นเสมือน "ราคาที่ต้องจ่าย" ของประชาธิปไตยที่เต็มไปด้วยเสรีภาพ
อย่างน้อยเราก็จะเห็นว่ามีแต่ประเทศที่ประชาธิปไตยมีลักษณะที่เสรี โดยเฉพาะเมื่อมีประชาธิปไตยทางสื่อด้วยแล้ว จึงจะมีการทะเลาะเบาะแว้งที่มีสีสันเช่นนี้ (หรือ "สีสัน" สำคัญกว่า "เสียหาย" นั่นเอง) ดังความเห็นของนักกิจกรรมทางการเมืองของจีนแผ่นดินใหญ่ท่านหนึ่งที่มีต่อการทะเลาะวิวาทในสภาไต้หวัน ที่เขาชี้ว่าทะเลาะกันในสภาในแบบ "ผลักกัน" ยังดีกว่า "เอารถถังมาบดขยี้ประชาชนในท้องถนน" ทั้งนี้ในบทความของ The Atlantic โดย Lily Kuo ชี้ว่านี่คือราคาที่ต้องจ่ายของประชาธิปไตยที่เพิ่งเติบโต ซึ่งอย่างน้อยก็ต้องเห็นว่ามีความกระตือรือล้นในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งถึงร้อยละ 75 ทีเดียว
ทีนี้คำถามที่ยังไม่ได้อภิปรายก็คือ ความรุนแรงทางนิติบัญญัติเกิดจากอะไรและจะทำนายและแก้ไขได้อย่างไร? ผมก็จะขอเอ่ยถึง รายงานวิจัยของ Christopher Gandrud ซึ่งสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัย Yonsei ในเกาหลีใต้ที่ชื่อ Two Sword Lengths: Losers" Consent and Violence in National Legislatures (2012) ซึ่งอาจจะแปลคร่าวๆ ว่า "การสร้างประชาธิปไตยที่ปราศจากการทะเลาะวิวาทในสภา และการทำความเข้าใจถึงการยอมรับต่อระบอบการเมืองของฝ่ายแพ้/ฝ่ายค้าน" (สังเกตว่าการใช้ชื่อว่า "ระยะสองช่วงดาบ" ก็มาจากกรณีการออกแบบพื้นที่กายภาพในสภาสามัญชนของอังกฤษนั่นเอง)
รายงานวิจัยชิ้นนี้มีประเด็นน่าสนใจมากเพราะว่าพยายามเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ รวมทั้งพยายามถกเถียงกับประเด็นทางรัฐศาสตร์ในเรื่องของประชาธิปไตยอย่างลึกซึ้ง จนผมต้องขอนำเอาบางส่วนมาเล่าสู่กันฟัง
โดยของสรุปย่นย่ออย่างง่ายๆ ตามความเข้าใจของผมก็คือ การทะเลาะวิวาทในรัฐสภานั้นเกิดจากการที่ฝ่ายแพ้ (legislative loser) นั้นไม่ยอมแพ้และไม่ยินยอมที่จะอยู่ใต้การปกครองของฝ่ายที่ชนะ และสิ่งนี้นั้นเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงคุณภาพของประชาธิปไตยที่ห่างไกลจากอุดมคติ
ที่สำคัญในฐานะนักรัฐศาสตร์นั้นเราต้องทำความเข้าใจและสามารถที่จะนำเสนอการปรับปรุงสภาบันทางการเมืองเพื่อให้ประชาธิปไตยนั้นมีคุณภาพที่ดีขึ้นได้
ตัวแปรที่สำคัญที่นักวิชาการท่านนี้ชี้ให้เห็นก็คือ เรื่องของอายุขัยของประชาธิปไตย และลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นจริงของการเมืองกับการออกแบบสถาบันการเลือกตั้งว่ามันสะท้อนความเป็นจริงทางการเมืองมากน้อยแค่ไหน
กล่าวง่ายๆ ก็คือ เขามองว่าความรุนแรงทางนิติบัญญัตินั้นมักจะเกิดขึ้นในประเทศที่มีประชาธิปไตยมาไม่นาน และมีประชาธิปไตยแบบ "เสียงข้างมาก" (majoritarian) มากกว่า แบบ "เห็นพ้องต้องกัน/ยอมรับร่วมกัน" (consensual)
การมีประชาธิปไตยมาไม่นานนั้น ไม่ใช่เรื่องของอายุเป็นเพียงตัวเลขหรืออะไรหรอกครับ แต่มันหมายถึงว่าบางทีฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้านยังไม่สามารถมีความอดทนพอที่จะแพ้ เพราะกล้วว่าจะไม่สามารถมีโอกาสชนะ นั่นแหละครับ ดังนั้นก็เลยไม่สามารถคิดได้ว่าแพ้วันนี้ก็จะกลับมาชนะได้ในอนาคต
ประการต่อมา การทะเลาะวิวาทในสภานั้นในทางหนึ่งก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมที่ไม่ได้มีเสียงข้างมากแบบสุดโต่ง เพราะแน่หละว่าเมื่อมีเสียงข้างมากอย่างสุดโต่งก็คงจะค้านไม่ได้ หรือคานการผลักดันนโยบายของรัฐบาลไม่ได้ แต่ในอีกทางหนึ่ง การที่ฝ่ายค้านไม่ยอมแพ้ และตัดสินใจลุยจนถึงที่สุดก็อาจเป็นไปเพราะว่า เขาเชื่อว่าระบบการเลือกตั้งอันเป็นที่มาของการก้าวสู่อำนาจทางการเมืองนั้นมีความบกพร่องอยู่มาก
ด้วยว่าอาจจะเป็นการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยเสียงข้างมาก มากกว่าประชาธิปไตยแบบยอมรับร่วมกัน ซึ่งหมายถึงการออกแบบระบบการเลือกตั้งที่สะท้อนความเป็นจริงทางความเห็นของประชาชนให้ได้มากที่สุด อาทิการออกแบบระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนที่สะท้อนความเป็นจริง มากกว่าระบบการเลือกตั้งที่ชนะกันรอบเดียวเลย (ขยายความว่า ในบางพื้นที่อาจชนะกันฉิวเฉียด แต่บางพื้นที่ชนะกันขาดมากๆ ถ้าเกลี่ยกันทั้งประเทศจริงๆ อาจชนะกันไม่มาก)
(บ้านเราไม่ค่อยถกเถียงกันเรื่องนี้แล้วครับ เลยต้องย้ำสักหน่อย เพราะบ้านเราคิดแต่ว่าจะไม่ปรับระบบเลือกตั้ง แต่จะแทนที่ด้วยระบบอื่นเสียมากกว่า)
ดังนั้นเมื่อฝ่ายที่แพ้รู้สึกว่าตนจะแพ้ในระบอบการเมืองที่เชื่อว่าตนไม่มีทางจะชนะในการเลือกตั้งได้ (ไม่ว่าจะเพราะเชื่อว่าไม่มีวันชนะ หรือเพราะเชื่อว่าระบบเลือกตั้งนั้นไม่เป็นธรรม) ช่องว่างระหว่างผู้แพ้กับผู้ชนะก็จะกว้างขึ้นและทำให้ฝ่ายผู้แพ้รู้สึกว่าความพ่ายแพ้ความเจ็บปวดร้าวรานและทำให้การยอมรับการตัดสินใจของฝ่ายชนะเป็นไปอย่างยากลำบาก ยิ่งเมื่อการตัดสินใจของฝ่ายชนะจะมีผลต่อการปรับเปลี่ยนนโยบายที่ีต่างไปจากจุดยืนของฝ่ายแพ้ ดังนั้นการตัดสินใจละเมิดกติกาจึงเป็นเรื่องที่จำต้องเกิดขึ้นในมุมมองของฝ่ายแพ้
ในแง่นี้การพยายามสร้างประชาธิปไตยแบบยอมรับร่วมกันหมายถึงการออกแบบสถาบันการเมืองอาทิ ระบบการเลือกตั้ง ที่จะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างผู้แพ้และชนะมีลักษณะที่ลดแคบลง และสะท้อนความเป็นจริง มากกว่าการมองว่าฝ่ายชนะนั้นต้องชนะเพราะ "เป็นเสียงข้างมากที่เข้มแข็ง" โดยนักวิชาการในสายนี้เริ่มปรับมุมมองอีกว่าการมีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีรัฐบาลผสมก็อาจจะช่วยลดช่องว่างและลดความรุนแรงได้ เมื่อเทียบกับความรู้สึกของฝ่ายแพ้ในระบบเสียงข้างมากที่รู้สึกว่าต้องทำทุกวิถีทางเพื่อความถูกต้อง (ทั้งที่หากลองพิจารณาให้ดีในหลายสังคมนั้นคะแนนเสียงแพ้ชนะก็ไม่มาก และมีการร้องเรียนเรื่องการเลือกตั้งอยู่บ่อยๆ) หรือแม้กระทั่งความเชื่อที่ว่าจะต้องเพิ่มตัวแสดงที่มีอำนาจยับยั้งประชาธิปไตยเสียงข้างมากให้มากขึ้น แทนที่จะมองว่าเสียงข้างมากนั้นทำได้ทุกเรื่อง
แต่ต้องขอย้ำว่าที่อธิบายเช่นนี้ก็ต้องมีฐานความเชื่อก่อนว่าในสังคมนั้นๆ เขาแพ้ชนะกันไม่ได้เยอะในความเป็นจริง ? ไม่ใช่ในความเป็นจริงเขาแพ้ชนะกันเยอะๆ แล้วไปฝืนความเป็นจริงเอาไว้ด้วยมาตรการทางรัฐธรรมนูญที่ขัดกับสภาพความเป็นจริงของสังคมนั้นๆ
สุดท้ายก็หวังว่าบ้านเราคงจะพ้นสภาวะ "สองช่วงหมัด" และ "สองช่วงเก้าอี้" ได้เร็วๆ นะครับ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับฝ่ายแพ้ที่ต้องยอมรับว่าตนก็น่าจะมีโอกาสชนะได้ในอนาคต หรือมีความไว้เนื้อเชื่อใจว่าสิ่งที่ฝ่ายชนะเสนอนั้นไม่มีการหมกเม็ดยัดใส้
แต่ถ้าฝ่ายแพ้คิดว่าความรุนแรงทางนิติบัญญัติเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องเกิดขึ้นและต้องเชื่อมโยงกับปัจจัยนอกระบบการเลือกตั้ง ซึ่งในบางสังคมก็ยังมีปัจจัยอีกหลายประการที่มีส่วนเชื่อมโยงและเกี่ยวเนื่องกับการดำรงอยู่ของประชาธิปไตยเอาไว้ด้วยแล้ว ความรุนแรงในทางนิติบัญญัติก็คงจะมีอยู่เรื่อยๆ และเป็นสิ่งที่ทำนายได้แต่แก้ไขได้ยาก และอาจทำได้แค่ทำให้ความรุนแรงทางนิติบัญญัตินั้นเป็นเพียงสีสันที่ีจำกัดวงอยู่ในรัฐสภาเท่านั้น
ส่วนฝ่ายชนะก็ต้องไม่คิดว่าตนเป็นเสียงข้างมากที่ถูกทุกเรื่องและจะทำอะไรก็ได้ เพราะการเป็นฝ่ายชนะนั้นก็ต้องคิดว่าชนะไม่ได้ทั้งหมดดังนั้น จุดยืนและมุมมองก็ไม่ควรสุดโต่งเพราะว่าจะต้องคำนึงถึงเสียงที่แพ้แต่ต้อง "ถูกนับ" เข้ามาด้วยเช่นกัน
同時也有3部Youtube影片,追蹤數超過75萬的網紅志祺七七 X 圖文不符,也在其Youtube影片中提到,✔︎ 成為七七會員(幫助我們繼續日更,並享有會員專屬福利):http://bit.ly/shasha77_member ✔︎ 體驗志祺七七文章版:https://blog.simpleinfo.cc/shasha77 ✔︎ 購買黃臭泥周邊商品: https://reurl.cc/Ezkbma 💛 ✔...
violence wikipedia 在 志祺七七 X 圖文不符 Youtube 的最佳解答
✔︎ 成為七七會員(幫助我們繼續日更,並享有會員專屬福利):http://bit.ly/shasha77_member
✔︎ 體驗志祺七七文章版:https://blog.simpleinfo.cc/shasha77
✔︎ 購買黃臭泥周邊商品: https://reurl.cc/Ezkbma 💛
✔︎ 訂閱志祺七七頻道: http://bit.ly/shasha77_subscribe
✔︎ 追蹤志祺IG :https://www.instagram.com/shasha77.daily
✔︎ 來看志祺七七粉專 :http://bit.ly/shasha77_fb
✔︎ 如果不便加入會員,也可從這裡贊助我們:https://bit.ly/support-shasha77
(請記得在贊助頁面留下您的email,以便我們寄送發票。若遇到金流問題,麻煩請聯繫:service@simpleinfo.cc)
#海地 #海地總統
各節重點:
00:00 前導
01:09「志祺七七的商業合作方案」廣告段落
02:10 發生了什麼事?
03:28 誰殺了海地總統?
04:39 為什麼要暗殺總統?
06:50 接下來怎麼辦?
08:20 海地是什麼樣的國家?
09:23 我們的觀點
10:40 提問
10:58 結尾
【 製作團隊 】
|企劃:關節
|腳本:關節
|編輯:土龍
|剪輯後製:Pookie
|剪輯助理:歆雅
|演出:志祺
——
【 本集參考資料 】
→Haiti president's assassination: What we know so far:https://bbc.in/3eoXaBO
→Exclusive: A wild chase followed the assassination of Haiti's President:https://cnn.it/3eq8bTo
→海地總統莫伊茲遇刺身亡 政局前景充滿變數:https://bbc.in/36Mm0Hj
→Haiti on Brink of Anarchy Amid Hunger, Gang Violence and Power Vacuum:https://on.wsj.com/3z2A4bP
→Two Haitian Adversaries Vying for Power Are Negotiating to Bring Stability, Elections:https://on.wsj.com/3epvn3X
→Haiti Authorities Intensify Manhunt After President Jovenel Moïse’s Assassination:https://on.wsj.com/3wKH3F0
→海地臨時總統鬧雙包?參院議長、代理總理搶上位:https://bit.ly/3xOd5RJ
→殺死海地總統的「美國人」?被俘的海裔美籍刺客與傭兵:https://bit.ly/3xK24AJ
→誰殺死了海地總統?刺殺摩伊士的「外籍傭兵團」遭圍殲生俘:https://bit.ly/3z7uuF5
→25 Years After 'Operation Uphold Democracy,' Experts Say the Oft-Forgotten U.S. Military Intervention Still Shapes Life in Haiti:https://bit.ly/3esguhk
→Wikipedia: History of Haiti:https://bit.ly/3reLff0
→Wikipedia: Jovenel Moïse:https://bit.ly/3wTSCdb
→我駐海地大使館遇襲細節曝光!警衛躲車內助逮11名嫌犯:https://bit.ly/3wERxFH
→Slaying creates 3-way rivalry in Haiti:https://bit.ly/3wTSCKd
→Haiti’s Political and Economic Conditions:https://bit.ly/3ikeEQM
\每週7天,每天7點,每次7分鐘,和我們一起了解更多有趣的生活議題吧!/
🥁七七仔們如果想寄東西關懷七七團隊與志祺,傳送門如下:
106台北市大安區羅斯福路二段111號8樓
🟢如有引用本頻道影片與相關品牌識別素材,請遵循此規範:http://bit.ly/shasha77_authorization
🟡如有業務需求,請洽:hi77@simpleinfo.cc
🔴如果影片內容有誤,歡迎來信勘誤:hey77@simpleinfo.cc
violence wikipedia 在 志祺七七 X 圖文不符 Youtube 的最佳解答
✔︎ 成為七七會員(幫助我們繼續日更,並享有會員專屬福利):http://bit.ly/shasha77_member
✔︎ 購買黃臭泥周邊商品: https://reurl.cc/Ezkbma 💛
✔︎ 訂閱志祺七七頻道: http://bit.ly/shasha77_subscribe
✔︎ 追蹤志祺IG :https://www.instagram.com/shasha77.daily
✔︎ 來看志祺七七粉專 :http://bit.ly/shasha77_fb
✔︎ 如果不便加入會員,也可從這裡贊助我們:https://bit.ly/support-shasha77
(請記得在贊助頁面留下您的email,以便我們寄送發票。若遇到金流問題,麻煩請聯繫:service@simpleinfo.cc)
#亞裔歧視 #ALM #AllLivesMatter
各節重點:
00:00 前導
01:23「一次在三大平台曝光」廣告段落
02:21 為什麼會有亞裔仇恨?
03:58 亞裔是怎麼被歧視的?
06:28 疫情改變了什麼?
08:13 什麼是「仇恨犯罪」?
10:11 我們的觀點
11:18 提問
11:40 結尾
【 製作團隊 】
|企劃:子觀 Tzu-Kuan
|腳本:子觀 Tzu-Kuan、羊羊
|編輯:土龍
|剪輯後製:Pookie
|剪輯助理:歆雅、珊珊
|演出:志祺
——
【 本集參考資料 】
→A gruesome shooting in Atlanta leaves Asian-Americans frightened:https://econ.st/3eF2Wi6
→The pandemic appears to have sparked a rise in anti-Asian bigotry:https://econ.st/3tUjjxC
→What is a hate crime in the US?:https://bbc.in/2PqGPTT
→為何針對亞裔的暴力襲擊難以被控仇恨犯罪?:https://nyti.ms/3sZE9Kp
→籬笆上的馬修之死:改變美國的1998「恐同殺人」悲劇:https://bit.ly/2QYf0CI
→wikipedia: Hate crime:https://bit.ly/32TxqHo
→Hate Crimes Case Examples:https://bit.ly/32UMTXC
→New York Man Arrested for Hate Crime:https://bit.ly/3viD2Hx
→Expert: Pandemic has exposed anti-Asian hate in France:https://bit.ly/3gLNYJB
→I don’t feel safe’: Asians in the UK reflect on a year of hatred:https://bit.ly/2QysS6Q
→Asians in Germany targets of racist stereotypes, violence:https://bit.ly/3aHlOvn
→Atlanta spa attacks shine a light on anti-Asian hate crimes around the world:https://cnn.it/3xpJJJJ
→micro aggressions 微歧視:https://bit.ly/3eAIy1k
→A 75-year-old Asian woman says she fought back after being attacked in San Francisco:https://cnn.it/3dQEwmq
→An Asian woman assaulted in San Francisco plans to donate almost $1 million to fight racism:https://cnn.it/3dRzZQH
→「我們絕不能向種族主義屈服!」持木板反擊白人暴徒的華裔奶奶,將90萬美元募款全部捐給亞裔社區:https://bit.ly/3nm5Yvu
→Biden calls on U.S. to unite against hate, speak out against violence targeting Asian Americans:https://cnb.cx/3eCzEAm
→一條走向成功,一條通往死亡:槍案折射亞裔迥異人生路:https://nyti.ms/3gIjacz
→Stop AAPI Hate: LOS ANGELES COUNTY REPORT:https://bit.ly/3xmXN6R
→為何針對亞裔的暴力襲擊難以被控仇恨犯罪?:https://nyti.ms/3sVYgsY
→亞特蘭大槍擊案:美國的仇恨犯罪指的是什麼:https://bbc.in/3dWxrkp
→亞裔美國人地位十年躍進 扭轉「書呆子」形象:https://bit.ly/2PoyzUe
→好萊塢的「洗白」政策與美國華人的螢幕形象:https://bit.ly/3tXjGr0
→The scapegoating of Asian Americans :https://bit.ly/3vnkd5S
→疫情引爆仇恨毒瘤 長期遭歧視的亞裔不能再隱忍 https://bit.ly/2S2gUmh
→美國史上歷時最久的歧視法案《排華法案》135周年 在美華人盼歧視不再重演:https://bit.ly/2RXJGo2
→Chinese Exclusion Act:https://bit.ly/3evMhxm
→難忘陳果仁 Why Vincent Chin Matters:https://nyti.ms/3aE3xz1
→wikipedia: Stop Asian Hate:https://bit.ly/3xqOOkN
→林書豪:我一度懼怕為歧視亞裔發聲:https://bit.ly/2S6t1Pn
→一年來800萬次「反亞言論」,社群媒體如何造就了亞裔悲劇?:https://bit.ly/3sTPBrb
→黃色,是隱忍的顏色:對亞裔的刻板印象與被忽視的仇恨犯罪:https://bit.ly/3sVogF9
【 延伸閱讀 】
→真實事件,我被種族歧視了嗎?:https://bit.ly/32Owswf
→「你在美國被種族歧視了嗎?」──Yes 跟 No 之外的第三個答案:https://bit.ly/3tW98IQ
→【 志祺七七 】男生不能掃女廁,算是性別歧視嗎?:https://bit.ly/2QqYR9b
\每週7天,每天7點,每次7分鐘,和我們一起了解更多有趣的生活議題吧!/
🥁七七仔們如果想寄東西關懷七七團隊與志祺,傳送門如下:
106台北市大安區羅斯福路二段111號8樓
🟢如有引用本頻道影片與相關品牌識別素材,請遵循此規範:http://bit.ly/shasha77_authorization
🟡如有業務需求,請洽:hi77@simpleinfo.cc
🔴如果影片內容有誤,歡迎來信勘誤:hey77@simpleinfo.cc
violence wikipedia 在 Mẹ Nấm Youtube 的最讚貼文
Ngày của Mẹ (Mother's Day) là một ngày kỷ niệm để tôn vinh các người mẹ và tình mẹ cũng như ảnh hưởng của các bà mẹ trong xã hội. Lễ này được tổ chức vào các ngày khác nhau ở nhiều nơi trên thế giới, phổ biến nhất là trong mùa xuân.
Xuất phát từ bản Tuyên ngôn Ngày của Mẹ ("The Mother's Day Proclamation"), được viết năm 1870 bà Julia Ward Howe. bản tuyên ngôn được xem như là phản ứng ôn hòa đối với sự tàn phá của cuộc Nội chiến Hoa Kỳ cũng như là cuộc Chiến tranh Pháp-Phổ. Bản tuyên ngôn này dựa trên nền tảng của chủ nghĩa nữ quyền, với ý tưởng người phụ nữ cũng có trách nhiệm uốn nắn xã hội trên con đường chính trị. Đây là một trong những lời kêu gọi đầu tiên để tôn vinh các người mẹ tại Hoa Kỳ.
Theo Wikipedia, bà Julia Ward Howe có ý định thành lập một ngày lễ mang tên "Ngày của Mẹ vì Hòa bình" (Mother's Day for Peace), nhưng phong trào này dần lụi tàn vì không đủ kinh phí và không vượt ra khỏi khu vực địa phương.
Tuy nhiên, ý tưởng của bà Howe đã gây ảnh hưởng lớn đến không ít phụ nữ trong xã hội, điển hình là bà Ann Maria Reeves Jarvis, nữ giáo viên tại trường học của ngôi thánh đường mang tên Thánh Andrew tại thành phố Grafton, tiểu bang Tây Virginia.
Trong bối cảnh Nội chiến Hoa Kỳ, bà Ann Maria Reeves Jarvis tập hợp các phụ nữ khác với sứ mệnh chăm sóc cho các thương binh từ cả hai miền Nam Bắc. Sau khi cuộc chiến chấm dứt, bà khởi xướng phong trào mang tên Ngày các Hiền Mẫu làm việc (Mothers' Work Days) vào năm 1858 cùng với các bà mẹ của các chiến binh từ cả hai miền để nhấn mạnh các hoạt động xã hội vì hòa bình và hòa giải. Ann Maria Reeves Jarvis qua đời tại thành phố Philadelphia vào năm 1905. Tại ngôi mộ của mẹ mình, cô con gái Anna Marie Jarvis thề rằng sẽ nối gót theo chân mẹ và thành lập một ngày lễ dành riêng cho các bà mẹ, còn sống cũng như đã qua đời.
Hai năm sau đó, năm 1907, cô Anna Marie Jarvis tổ chức một buổi lễ nhỏ tưởng niệm mẹ mình. Năm sau, 1908, cô mang 500 đóa hoa Cẩm chướng đến tặng cho từng người mẹ tham dự thánh lễ tại Nhà thờ Thánh Andrew, nơi mà mẹ cô từng dạy học khi xưa.[2] Nhà thờ Thánh Andrew lần đầu tiên tổ chức một thánh lễ ngày Chủ Nhật đặc biệt để vinh danh các hiền mẫu trong cộng đoàn. Năm 1910, Thống đốc bang Tây Virginia, William E. Glasscock là người đầu tiên công bố ngày của mẹ.[2] Cô Anna Marie tiếp tục tranh đấu không ngừng để quảng bá ngày lễ này khắp nơi.
Năm 1914, bản nghị quyết do Quốc hội lưỡng viện Hoa Kỳ thông qua và được Tổng thống Woodrow Wilson ký đã chính thức thành lập Ngày của Mẹ vào ngày Chủ Nhật thứ 2 trong tháng 5.[2] Từ đó, lễ vinh danh hiền mẫu đã lan rộng và đã được thông qua bởi các quốc gia khác và hiện nay được tổ chức trên toàn thế giới.
Nội dung đáng chú ý của Bản Tuyên ngôn ngày của Mẹ được bà Julia Ward Howe viết năm 1870 tại Boston (Hoa Kỳ) có đoạn: "Chúng ta, những phụ nữ của quốc gia này sẽ không thể ép buộc những người mẹ ở quốc gia khác cho phép con trai của chúng ta - những người được huấn luyện để gây ra thương tích cho con cái họ. Từ lòng đất bị tàn phá, tiếng nói phát ra từ chính chúng ta rằng "Giải giáp, giải giáp! Thanh gươm giết người không phải là cán cân công lý. Máu không lau sạch sự bất lương của chúng ta cũng như bạo lực là biểu hiện của sự chiếm hữu..."
Nguyên văn tiếng Anh :
Arise, then, women of this day!
Arise, all women who have hearts, Whether our baptism be of water or of tears!
Say firmly: “We will not have great questions decided by irrelevant agencies, Our husbands will not come to us, reeking with carnage, for caresses and applause. Our sons shall not be taken from us to unlearn All that we have been able to teach them of charity, mercy and patience. We, the women of one country, will be too tender of those of another country To allow our sons to be trained to injure theirs.”
From the bosom of the devastated Earth a voice goes up with our own. It says: “Disarm! Disarm! The sword of murder is not the balance of justice.” Blood does not wipe out dishonor, nor violence indicate possession. As men have often forsaken the plough and the anvil at the summons of war, Let women now leave all that may be left of home for a great and earnest day of counsel.
Let them meet first, as women, to bewail and commemorate the dead. Let them solemnly take counsel with each other as to the means Whereby the great human family can live in peace, Each bearing after his own time the sacred impress, not of Caesar, But of God.
In the name of womanhood and humanity, I earnestly ask That a general congress of women without limit of nationality May be appointed and held at someplace deemed most convenient And at the earliest period consistent with its objects, To promote the alliance of the different nationalities, The amicable settlement of international questions,
The great and general interests of peace.