การจัดองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารในฐานะฝ่ายปกครองโดยใช้หลักกระจายอำนาจของประเทศไทย
การจัดองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารในฐานะฝ่ายปกครองโดยใช้หลักกระจายอำนาจ นั้นมีลักษณะของการจัดองค์กรได้ 2 หลัก คือ การจัดองค์กรในหลักกระจายอำนาจทางอาณาเขตกับการจัดองค์กรในหลักกระจายอำนาจทางกิจการและบริการ ดังนี้
1. การจัดองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารในฐานะฝ่ายปกครองโดยใช้หลักกระจายอำนาจทางอาณาเขต
การจัดองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารในฐานะฝ่ายปกครองโดยใช้หลักกระจายอำนาจทางอาณาเขต ซึ่งอยู่ 2 ลักษณะ คือ การจัดระเบียบในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป ซึ่งเป็นมีอยู่ 3 รูปแบบคือ เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กับ การจัดระเบียบในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ซึ่งมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา ดังนี้
1.1 เทศบาล
การจัดระเบียบเทศบาลซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบทั่วไปนั้น เป็นไปตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1.1 ประเภทของเทศบาล
ประเภทของเทศบาล เทศบาลมีอยู่ 3 ประเภท คือ เทศบาลตำบล เทศบาลเมืองและเทศบาลนคร
1.1.2 การจัดตั้งเทศบาล
เมื่อท้องถิ่นใดมีสภาพอันควรยกฐานะเป็นเทศบาลให้จัดตั้งท้องถิ่นนั้นๆ เป็นเทศบาลโดยการตราพระราชกฤษฎีกายกฐานะท้องถิ่นนั้นขึ้นเป็นเทศบาลมีฐานะเป็นนิติบุคคล ดังนั้นการจัดตั้งแต่ละประเภทของเทศบาล มีดังนี้
1.เทศบาลตำบลอาจมีได้อยู่ 2 กรณี คือ
1) เทศบาลตำบลพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 เป็นเทศบาลที่กำหนดไว้ได้แก่ท้องถินที่มีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นเทศบาลตำบล ซึ่งมิได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งเทศบาลตำบลไว้โดยเฉพาะ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของรัฐบาลที่จะพิจารณาตามแต่จะเห็นสมควร กระทรวงมหาดไทยจึงได้วางแนวปฏิบัติในการกำหนดท้องถิ่นที่จะจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลไว้ดังนี้
(1) มีประชากรั้งแต่ 7,000 คนขึ้นไป
(2) มีความหนาแน่นของประชากรตั้งแต่ 1,500 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร
(3) มีรายได้เกินกว่า 5 บาท ขึ้นไปไม่รวมทุนอุดหนุน
2) เทศบาลตำบลนั้นอาจมาจาก การเปลี่ยนสถานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบลตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2552
2. เทศบาลเมือง เทศบาลเมืองมีอยู่ 2 ชนิด คือ
1) ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดทุกแห่งต้องตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นเทศบาลเมือง จะจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลไม่ได้ แต่ถ้าเป็นจังหวัดที่เจริญมาก ก็อาจตั้งเป็นเทศบาลนครได้
2) ในชุมชนท้องถิ่นอื่นนอกจากท้องถิ่นตามข้อ 1) ที่มีลักษณะดังนี้
(1) มีราษฎรตั้งแต่ 10,000 คนขึ้นไป
(2) มีความหนาแน่นของประชากรตั้งแต่ 3,000 คนต่อ 1 ตารางกิโลเมตร
(3) มีรายได้เพียงพอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำสำหรับเทศบาลเมืองตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496
3. เทศบาลนคร ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ได้กำหนดการจัดตั้งเทศบาลนคร ดังนี้
1) ในชุมชนท้องถิ่นที่มีราษฎรตั้งแต่ 50,000 คน ขึ้นไป
2) มีความหนาแน่นของประชากรตั้งแต่ 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร
3) มีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำสำหรับเทศบาลนครตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496
ข้อสังเกต การเปลี่ยนแปลงชื่อ เปลี่ยนแปลงเขต เปลี่ยนแปลงฐานะหรืออาจถูกยุบเลิกเทศบาล นั้น ต้องทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย ซึ่งกระทำได้ง่ายกว่าการจัดตั้งเทศบาลที่ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
1.1.3 องค์การของเทศบาล
องค์การของเทศบาลประกอบด้วย สภาเทศบาล คณะผู้บริหารเทศบาล สำนักงานเทศบาล สรุปได้ดังนี้
1. สภาเทศบาล ที่มาและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) ที่มาการสิ้นสภาพของสมาชิกสภาเทศบาล มีดังนี้
(1) ที่มาของสมาชิกสภาเทศบาล ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2546 โดยให้อยู่ตำแหน่งคราวละ 4 ปี มีประธานสภา 1 คน และรองประธานสภา 1 คน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งตามมติของสภาเทศบาล ส่วนสมาชิกสภาเทศบาลแต่ละเทศบาลจะมีความแตกต่าง ดังต่อไปนี้
ก. เทศบาลตำบลมีสมาชิกสภาจำนวน 12 คน
ข. เทศบาลเมืองมีสมาชิกสภาจำนวน 18 คน
ค. เทศบาลนครมีสมาชิกสภาจำนวน 24 คน
(2) การสิ้นสภาพสมาชิกสภาเทศบาล มีดังนี้
ก. ถึงคราวออกตามวาระหรือยุบสภาเทศบาล
ข. ตาย
ค. ลาออกโดยยื่นใบลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
ง. ขาดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งต้องให้คณะกรรมการเลือกตั้งยื่นต่อศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยเพิกถอนสิทธิสมาชิกสภาเทศบาล
จ.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาไทยสอบสวนแล้วสั่งให้ออกโดยเห้นว่าไม่มีภุมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาลนั้น
ฉ. สภาเทศบาลวินิจฉัยให้ออกด้วยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่อยู่ในตำแหน่งโดยเห็นว่ามีความประพฤตินทางที่เสื่อมเสียแก่เทศบาล
ช. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้ออกโดยเห้นว่ามีความประพฤติในทางจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่ง หรือเสื่อมเสียแก่เทศบาลหรือราชการ ฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสัวสดิภาพของประชาชน หรือไม่มาประชุมสภาเทศบาล 3 ครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลสมควร
2) อำนาจหน้าที่สภาเทศบาล คือ ทำหน้าที่ร่างเทศบัญญัติ ติดตามและตรวจสอบการทำงานคณะเทศมนตรี
2. คณะผู้บริหาร มีที่มาและอำนาจหน้าที่ดังนี้
1) ที่มาของคณะผู้บริหาร คือ นายกเทศมนตรี มาจากการเลือกตั้งโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาล ดำรงตำแหน่งนับแต่วันเลือกตั้งและมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง ดำรงตำแหน่งติดต่อกันกี่วาระก็ได้ นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรี ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการของเทศบาลตามที่นายกเทศมนตรีมอบหมาย ดังนี้
(1) เทศบาลตำบลให้ มีรองนายกเทศมนตรีไม่เกิน 2 คน
(2) เทศบาลเมืองให้มีรองนายกเทศมนตรีไม่เกิน 3 คน
(3) เทศบาลนครให้มีรองนายกเทศมนตรีไม่เกิน 4 คน
2) อำนาจหน้าที่ของนายกเทศมนตรี มีดังนี้
(1) กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมายและรับผิดชอบในการบริหารราชการของเทศบาลให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบัญญัติ เทศบัญญัติและนโยบาย
(2) สั่งอนุญาตและอนุมัติเกี่ยวกับราชการของเทศบาล
(3) แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรี
(4) วางระเบียบเพื่อให้งานของเทศบาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
(5) รักษาการให้เป็นไปตามเทศบัญญัติ
(6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติเทศบาลนี้ หรือกฎหมายอื่น
3) สำนักงานเทศบาล ให้มีปลัดเทศบาล 1 คน เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาลและลูกจ้างเทศบาลรองจากนายกเทศมนตรี และรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบายและมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดหรือตามที่นายกเทศมนตรีมอบหมาย
1.1.4 อำนาจหน้าที่ของเทศบาล
อำนาจหน้าที่ของเทศบาล แต่ละเทศบาลมีหน้าที่ที่ต้องทำนั้นมีความแตกต่างกันตามกฎหมายหลัก คือ ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้
1. เทศบาลตำบล มีหน้าที่ที่ต้องทำในเขตเทศบาลในเรื่องต่างๆ เช่น รักษาความสงบเรียบร้อยราษฎร ให้มีและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำ รักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ให้ราษฎรรับการศึกษา เป็นต้น
2. เทศบาลเมือง มีหน้าที่ที่ต้องทำในเขตเทศบาลเมืองในเรื่องต่างๆเพิ่มเติมจากหน้าที่ของเทศบาลตำบล เช่น ให้มีน้ำสะอาดหรือประปา ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น เป็นต้น
3. เทศบาลนคร มีหน้าที่ที่ต้องทำในเขตเทศบาลนครในเรื่องต่างๆเพิ่มเติมจากเทศบาลเมือง เช่น ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก กิจการซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข การควบคุมสุขลักษณะและอนามัยในร้านจำหน่ายอาหาร จัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม เป็นต้น
1.1.5 สหการ
สหการ ถ้ามีกิจการใดอันอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตั้งแต่ 2 แห่งขึ้นไป ที่จะรวมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่ง ก็ให้จัดตั้งเป็นองค์การขึ้นเรียกว่า “สหการ” ดังนี้
1. สหการมีสภาพเป็นทบวงการเมือง
2. สหการมีคณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วยผู้แทนของเทศบาลที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วย
3. การจัดตั้งสหการและการยุบเลิกสหการจะต้องทำโดยพระราชกฤษฎีกา
4. สหการอาจได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและอาจกู้เงินได้
1.1.6 การคลังและทรัพย์สินของเทศบาล
การคลังและทรัพย์สินของเทศบาล เทศบาลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากราชการบริหารส่วนกลาง เทศบาลมีงบประมาณและทรัพย์สินแยกเป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากงบประมาณแผ่นดินและทรัพย์สินของแผ่นดิน ซึ่งเทศบาลอาจมีรายได้ เช่น
1. รายได้จากภาษีอากร
2. ค่าธรรมเนียม
3. ค่าใบอนุญาต
4. ค่าปรับตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้
5. รายได้จากทรัพย์สินของเทศบาล
6. เงินอุดหนุนจากรัฐบาลหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น
1.1.7 การควบคุมเทศบาล
การควบคุมเทศบาล พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 กำหนด ดังนี้
1) ให้นายอำเภอ ช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัดควบคุมดูแลเทศบาลตำบล
2) ผู้ว่าราชการจังหวัดควบคุมดูแลเทศบาลเมือง เทศบาลนคร
3) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจ เช่น สั่งให้นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ประธานสภาเทศบาล รองประธานสภาเทศบาล พ้นจากตำแหน่ง เป็นต้น
1.2 องค์การบริหารส่วนจังหวัด
การจัดระเบียบองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปนั้นไปตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 สามารถอธิบายสรุปได้ดังนี้
1.2.1 การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้จัดตั้งขึ้นในทุกจังหวัดตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 ซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคล
1.2.2 การจัดระเบียบองค์การบริหารส่วนจังหวัด
องค์การบริหารส่วนจังหวัดประกอบด้วยสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ดังนี้
1. สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีที่มาและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) ที่มาสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในจังหวัดหนึ่งให้มีสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอันประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยถือเกณฑ์ตามจำนวนราษฎรแต่ละจังหวัดตามหลักฐานทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้งดังนี้
(1) จังหวัดใดมีราษฎรไม่เกิน 500,000 คน มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ 24 คน
(2) จังหวัดใดมีราษฎรเกินกว่า 500,000 คนแต่ไม่เกิน 1,000,000 คน มีสมาชิกได้ 30 คน
(3) จังหวัดใดมีราษฎรเกินกว่า 1,000,000 คนแต่ไม่เกิน 1,500,000 คน มีสมาชิกได้ 36 คน
(4) จังหวัดใดมีราษฎรเกินกว่า 1,500,000 คนแต่ไม่เกิน 2,000,000 คน มีสมาชิกได้ 42 คน
(5) จังหวัดใดมีราษฎรเกินกว่า 2,000,000 คน ขึ้นไป มีสมาชิกได้ 48 คน
สมาชิกสภาองค์กรบริหารส่วนจังหวัดอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง ให้สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลือกตั้งสมาชิกสภาเป็นประธานและรองประธานสภา 2 คน
2) อำนาจหน้าที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด เช่น มีหน้าที่ตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดในบริการสาธารณะของจังหวัด
2. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีที่มาและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) ที่มานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นั้นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในเขตจังหวัดนั้นๆ
2) อำนาจหน้าที่ ของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้แก่
(1) แต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด คือ
(ก) ในกรณีมีสมาชิก 48 คน ให้ตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 4 คน
(ข) ในกรณีมีสมาชิก 36 คนหรือ 42 คน ให้ตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 3 คน
(ค) ในกรณีมีสมาชิก 24 คนหรือ 30 คน ให้ตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2 คน
(2) กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมายและรับผิดชอบในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ข้อบัญญัติ
(3) สั่ง อนุญาตและอนุมัติเกี่ยวกับราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
(4) แต่งตั้งและถอดถอนรองนายก เลขานุการ และที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(5) วางระเบียบเพื่อให้งานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
(6) รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(7) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายไว้ในกฎหมาย
3. ข้าราชการส่วนจังหวัด สำหรับเจ้าหน้าที่อื่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้แก่ ข้าราชการส่วนจังหวัด ซึ่งรับเงินเดือนจากงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งมีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาและมีรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกับปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารองจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
1.3 องค์การบริหารส่วนตำบล
การจัดระเบียบองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปนั้น เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 สามารถอธิบายได้โดยสรุปดังนี้
1.3.1 การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล
สภาตำบลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกัน 3 ปี เฉลี่ยไม่ตำกว่า ปีละ 150,000 บาท หรือตามเกณฑ์รายได้ตามที่กระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนด อาจจัดตั้งเป็นองค์การบริการส่วนตำบลได้ โดยทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย มีฐานะเป็นนิติบุคคล และองค์การบริหารส่วนตำบลอาจเปลี่ยนเป็นเทศบาลได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
1.3.2 การจัดระเบียบในองค์การบริหารส่วนตำบล
การจัดระเบียบในองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นประกอบด้วย สภาองค์การบริหารส่วนตำบล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (รวมไปถึงคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล) สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล ดังนี้
1. สภาองค์การบริหารส่วนตำบล มีที่มาและอำนาจหน้าที่ดังนี้
1) ที่มาสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
(1) สภาองค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วยสมาชิก ซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากราษฎรในแต่ละหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่บ้านละ 2 คน เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
ก. ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลนั้นมีหมู่บ้านเดียวให้มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 6 คน
ข. ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลนั้นมี 2 หมู่บ้าน ให้มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่บ้านละ 3 คน
(2) สภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีอายุคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง
(3) สภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีประธานสภาฯ 1 คน และรองประธานสภาฯ 1 คน ซึ่งเลือกจากสมาชิกสภาองค์การบริหารสาวนตำบล โดยนายอำเภอเป็นผู้แต่งตั้งตามมติขิงสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและมีวาระการดำรงตำแหน่งจนครบอายุของสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
(4) ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลเลือกสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน เป็นเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการและการจัดการประชุมและงานอื่นใดตามที่สภาองค์การบริหารส่วนตำบลมอบหมาย
2) อำนาจหน้าที่ของสภาองค์การบริหารส่วนตำบล มีดังนี้
(1) ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาตำบลเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบล
(2) พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล ร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปี และร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
(3) ควบคุมการปฏิบัติงานของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนาตำบล ระเบียบและข้อบังคับของทางราชการ
2. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (รวมไปถึงคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล) แยกอธิบายถึงที่มา การดำเนินการและอำนาจหน้าที่ ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ดังนี้
1) ที่มาของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ดำรงตำแหน่งนับแต่วันเลือกตั้งและมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี โดยดำรงติดต่อกันกี่สมัยก็ได้
2) การดำเนินการของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล มีดังนี้
(1) ก่อนที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจะเข้ารับตำแหน่งหน้าที่ ต้องแถลงนโยบายต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโดยไม่มีการลงมติภายใน 30 วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล หากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลไม่สามารถแถลงนโยบายต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลได้ ให้นายอำเภอแจ้งให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจัดทำนโยบายแจ้งเป็นหนังสือส่งให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทุกคนภายใน 7 วัน รวมทั้งต้องจัดทำรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นประจำทุกปี
(2) นายกองค์การบริหารส่วนตำบล อาจแต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลได้ไม่เกิน 2 คน และอาจแต่งตั้งเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
1.4 กรุงเทพมหานคร
การจัดระเบียบกรุงเทพมหานครซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษไปนั้น เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 สามารถอธิบายได้โดยสรุปดังนี้
1.4.1 การจัดตั้งกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานคร เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 โดยให้มีการแบ่งพื้นที่การบริหารกรุงเทพมหานครเป็นเขตและแขวงตามพื้นที่เขตและแขวงที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าว
1.4.2 การจัดระเบียบกรุงเทพมหานคร
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 บัญญัติเรื่องการจัดระเบียบบริหารกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
1. สภากรุงเทพมหานคร มีที่มาและอำนาจหน้าที่ดังนี้
1) ที่มาสภากรุงเทพมหานคร
(1) สภากรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งขึ้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกำหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและมีจำนวนหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ กล่าวคือ การกำหนดเขตเลือกตั้งให้ถือเกณฑ์ราษฎร 100,000 คน เป็นประมาณและในเขตเลือกตั้งหนึ่งให้มีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครได้ 1 คน
(2) อายุของสภากรุงเทพมหานครมีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
(3) ให้สภากรุงเทพมหานคร เลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เป็นประธานสภากรุงเทพมหานคร 1 คน และรองประธานสภากรุงเทพมหานครไม่เกิน 2 คน ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศชื่อประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานครในราชกิจจานุเบกษาโดยให้ดำรงตำแหน่งตามวาระคราวละ 2 ปี
2) สภากรุงเทพมหานครมีอำนาหน้าที่ เช่น ตราข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและควบคุมตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
2. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีที่มาและอำนาจหน้าที่ดังนี้
(1) ที่มาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีดังนี้
(ก) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร 1 คน เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(ข) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีวาระอยู่ในตำแหน่ง คราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง
(2) อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด มีดังนี้
(ก) กำหนดนโยบายและบริหารราชการกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมาย
(ข) สั่ง อนุญาต อนุมัติเกี่ยวกับราชการกรุงเทพมหานคร
(ค) แต่งตั้งและถอดถอนรองผู้ว่า เลขาการ ราชการกรุงเทพมหานคร
(ง) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่ากระทรวงมหาดไทยมอบหมาย
(จ) รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
(ช) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานครและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานคร
(ซ) ให้มีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ไม่เกิน 4 คนตามลำดับที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจัดไว้ ช่วยเหลือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
3. ข้าราชการกรุงเทพมหานคร มีปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร และอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
1.5 เมืองพัทยา
การจัดระเบียบเมืองพัทยาซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษไปนั้น เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 สามารถอธิบายได้โดยสรุปดังนี้
1.5.1 การจัดตั้งเมืองพัทยา
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติให้เมืองพัทยาเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษ มีฐานะเป็นนิติบุคคล การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตเมืองพัทยาให้ทำเป็นพระราชกฤษฎีกา
1.5.2 การจัดระเบียบเมืองพัทยา
เมืองพัทยาประกอบด้วยสภาเมืองพัทยาและนายกเมืองพัทยาดังนี้
1. สภาเมืองพัทยา มีที่มาและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) ที่มาสภาเมืองพัทยา ประกอบด้วยดังนี้
(1) สภาเมืองพัทยาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 20 คน ซึ่งเลือกตั้งโดยตรงจากราษฎรที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองพัทยา
(2) อายุสภาเมืองพัทยามีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง
(3) สภาเมืองพัทยาเลือกเลือกสมาชิกเป็นประธานสภาเมืองพัทยา 1 คน และรองประธานสภาเมืองพัทยา 2 คน แล้วเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งจนครบอายุของสภาเมืองพัทยา หรือ มีการยุบสภาเมืองพัทยา
2. นายกเมืองพัทยา นายกเมืองพัทยามีที่มาและอำนาจหน้าที่ดังนี้
1) ที่มาของนายกเมืองพัทยา ดังนี้
(1) นายกเมืองพัทยามาจาการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองพัทยา
(2) นายกเมืองพัทยามีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง ดำรงตำแหน่งกี่วาระก็ได้
2) อำนาจหน้าที่นายกเมืองพัทยา มีดังนี้
(1) แต่งตั้งรองนายกไม่เกิน 4 คน ซึ่งไม่ใช่สมาชิกเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการเมืองพัทยาที่นายกเมืองพัทยามอบหมาย
(2) กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการบริหารราชการเมืองพัทยาให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบัญญัติและนโยบาย
(3) สั่ง อนุญาต อนุมัติ เกี่ยวกับราชการของเมืองพัทยา
(4) แต่งตั้งและถอดถอนรองนายก เลขานุการนายก ผู้ช่วยเลขานุการนายก ปรานที่ปรึกษา ที่ปรึกษานายกเมืองพัทยา
(5) วางระเบียบเพื่อให้งานของเมืองพัทยาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เป็นต้น
3. ส่วนรานราชการเมืองพัทยา มีดังนี้
1) สำนักปลัดเมืองพัทยา
2) ส่วนราชการอื่นตามที่นายกเมืองพัทยาประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงมหาดไทย
3) มีปลัดเมืองพัทยา 1 คน เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเมืองพัทยาและลูกจ้างเมืองพัทยารองจากนายกเมืองพัทยา รับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของเมืองพัทยาให้เป็นไปตามนโยบายและมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดหรือตามที่นายกเมืองพัทยามอบหมาย
2. การจัดองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารในฐานะฝ่ายปกครองโดยใช้หลักกระจายอำนาจทางกิจการและบริการ
การจัดองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารในฐานะฝ่ายปกครองโดยใช้หลักกระจายอำนาจทางกิจการและบริการ สามารถแยกอธิบาย ได้ 3 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ องค์กรในรูปแบบรัฐวิสาหกิจ รูปแบบองค์การมหาชน และองค์กรเอกชนที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจปกครองหรือดำเนินกิจการปกครอง
2.1 การจัดองค์กรใน รัฐวิสาหกิจ
รัฐวิสาหกิจ (Public Enterprise) หมายถึง องค์การของรัฐบาล หน่วยงานธุรกิจซึ่งรัฐเป็นเจ้าของหรือ กิจการของรัฐ หรือ บริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หน่วยธุรกิจของรัฐมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละ 50 อนึ่งกิจการที่รัฐเป็นเจ้าของมักเรียกว่า “รัฐพาณิชย์” ซึ่งรัฐวิสาหกิจที่ถือว่าฝ่ายปกครอง คือรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งตามกฎหมายพิเศษคือพระราชบัญญัติ เช่น การท่าเรือแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นต้น กับรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งตามพระราชกฤษฎีกา เช่น องค์ขนส่งมวลชน เป็นต้น รัฐวิสาหกิจประเภทนี้รัฐเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวทั้งสิ้น ซึ่งรัฐวิสาหกิจในประเทศไทยแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
2.1.1.รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งเป็นองค์การของรัฐบาล
รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งเป็นองค์การของรัฐบาลหมายถึง หน่วยในทางกฎหมายซึ่งก่อตั้งขึ้นโดย พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกาหรือพระบรมราชโองการและกำหนดให้มีหน้าที่ดำเนินกิจการงานซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของชาติ ซึ่งองค์การของรัฐบาลมีลักษณะทางกฎหมายของ เช่น องค์การของรัฐบาลจัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายพิเศษ ตามพระราชบัญญัติ พระบรมราชโองการหรือพระราชกฤษฎีกา มีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากรัฐ ซึ่งรัฐเป็นเจ้าของผู้เดียว รัฐวิสาหกิจประเภทที่เป็น องค์การของรัฐบาล และกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้นแยกได้ 2 ประเภท คือ
1.รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติโดยตรง มีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีทุนทั้งสิ้นเป็นของรัฐ องค์การของรัฐบาลที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติเฉพาะอาจได้รับอำนาจและสิทธิพิเศษเหนือกว่าองค์การของรัฐบาลซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาหลายประการ เช่น พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 เป็นต้น
2.รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ.2496 ซึ่งมิได้ให้คำนิยามขององค์การของรัฐบาล เอาไว้ แต่ได้กล่าวถึงเรื่องการจัดตั้งไว้ องค์การเหล่านี้มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจและนิติบุคคลโดยมีทุนทั้งสิ้นเป็นของรัฐ เช่น องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ องค์การสวนสัตว์ เป็นต้น
2.1.2 รัฐวิสาหกิจที่เป็นหน่วยธุรกิจที่รัฐหรือรัฐบาลเป็นเจ้าของ
รัฐวิสาหกิจที่เป็นหน่วยธุรกิจที่รัฐหรือรัฐบาลเป็นเจ้าของลักษณะสำคัญของรัฐวิสาหกิจประเภทนี้ สามารถสรุปได้ 3 ประการดังนี้คือ
ประการแรก หน่วยงานที่จัดทำธุรกิจนั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของราชการ แต่มิได้ดำเนินงานราชการตามวัตถุประสงค์อันระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แต่เป็นงานซึ่งส่วนราชการแห่งใดแห่งหนึ่งเข้ามาดำเนินการงานธุรกิจและใช้เงินงบประมาณทุนดำเนินงาน จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของกฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณ
ประการที่สอง หน่วยงานนั้นมิได้จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาและมิได้จัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แต่ก็ได้ดำเนินงานในทางอุตสาหกรรมและพาณิชกรรม โดยขึ้นอยู่กับกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งเป็นต้นสังกัด จึงไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลของตนเองและถือว่าการดำเนินการของหน่วยงานนั้นอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก เป็นการดำเนินงานในฐานะตัวแทนของกระทรวง ทบวง กรมเจ้าสังกัดเท่านั้น
ประการที่สาม หน่วยงานเหล่านี้มักจัดตั้งขึ้นโดยมติของคณะรัฐมนตรี เช่น โรงพิมพ์ตำรวจ สถานธนานุเคราะห์ของกรมประชาสงเคราะห์ โรงงานไพ่ กรมสรรพสามิต โรงงานยาสูบกระทรวงการคลัง โรงานน้ำตาล กรมอุตสาหกรรม เป็นต้น
2.1.3 รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งเป็นบริษัทจำกัด
รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งเป็นบริษัทจำกัด รัฐวิสาหกิจซึ่งตั้งเป็นบริษัทนั้นมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีทุนของภาครัฐทั้งหมดหรือบางส่วน โดยรัฐบาล นิติบุคคลมหาชน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ถือหุ้น และมีความสามารถในการใช้มาตรการควบคุมภายในรัฐวิสาหกิจลักษณะทางกฎหมายของบริษัทที่รัฐเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดหรือบางส่วนนั้นมีดังนี้
1. รัฐเป็นเจ้าของทุนของบริษัทโดยตรง
2. มีวัตถุประสงค์ สิทธิ หน้าที่ และหนี้เช่นเดียวกับบริษัทเอกชนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น บริษัทการบินไทย บริษัท กสท จำกัด เป็นต้น
อย่างไรก็ตามที่ถือว่าเป็นหน่วยงานทางปกครองตามกฎหมายมหาชนที่จะดำเนินคดีปกครองได้นั้น คือ รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาที่เรียกว่าองค์การของรัฐบาลเท่านั้น
รายชื่อองค์กรรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย ซึ่งแยกตามส่วนราชการที่กำกับดูแล
สำนักนายกรัฐมนตรี มีดังนี้
1. บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ( MCOT Public Co., Ltd.)
2. โรงพิมพ์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ( Police Printing Bureau)
กระทรวงกลาโหม คือ บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด ( Bangkok Dock Company Limited)
กระทรวงการคลัง มีดังนี้
1. โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง ( Thailand Tobacco Monopoly)
2. สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ( Government Lottery Office)
3. โรงงานไพ่ กรมสรรพสามิต ( Playingcards Factory)
4. องค์การสุรา กรมสรรพสามิต ( Liquor Distillery Organization)
5. บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด ( The Syndicate of Thai Hotels and Tourists Enterprises Limited)
6. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ( Krung Thai Bank)
7. ธนาคารออมสิน (Government Saving Bank)
8. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ( Government Housing Bank)
9. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ( Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives)
10. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ( Export-Import Bank of Thailand)
11. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ( Small and Medium Enterprise Development Bank of Thailand)
12. บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย ( Secondary Mortgage Corporation)
13. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ( Small Industry Credit Guarantee Corporation)
14. บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ( Dhanarak Asset Development Company Limited)
15.ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ( Islamic Bank of Thailand) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีดังนี้
1. การกีฬาแห่งประเทศไทย ( Sports Authority of Thailand)
2. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ( Tourism Authority of Thailand)
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีดังนี้
1. การเคหะแห่งชาติ ( National Housing Authority)
2. สำนักงานธนานุเคราะห์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ( Public Pawnshop Office)
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีดังนี้
1. องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย ( Thai Dairy Farming Promotion Organization of Thailand)
2. องค์การสวนยาง ( Rubber Estate Organization)
3. องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ( Marketing Organization for Farmers) 4. องค์การสะพานปลา ( Fish Marketing Organization)
5. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ( Office of the Rubber Replanting Aid Fund)
กระทรวงคมนาคม มีดังนี้
1. บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ( Airports of Thailand Public Co., Ltd.)
2. การท่าเรือแห่งประเทศไทย ( Port Authority of Thailand)
3. การรถไฟแห่งประเทศไทย ( State Railway of Thailand)
4. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ( Bangkok Mass Transit Authority)
5. บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ( Aeronautical Radio of Thailand Limited)
6. บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ( Thai Maritime Navigation Co., Ltd.)
7. บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ( Thai Airways International Public Co., Ltd.)
8. บริษัท ขนส่ง จำกัด ( Transport Co., Ltd.)
9. สถาบันการบินพลเรือน ( Civil Aviation Training Center)
10. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ( Mass Rapid Transit Authority of Thailand)
11. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ( Expressway and Rapid Transit Authority of Thailand)
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีดังนี้
1. องค์การจัดการน้ำเสีย ( Waste Water Management Authority)
2.องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ( The Botanical Garden Organization)
3. องค์การสวนสัตว์ ( Zoological Park Organization)
4. องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ( Forest Industry Organization)
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีดังนี้
1. บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ( TOT Public Company Limited)
2. บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ( Cat Telecom Public Company Limited)
3. บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ( Thailand Post Co., Ltd)
กระทรวงพลังงาน มีดังนี้
1. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ( EGAT)
2. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ( PTT Public Company Limited)
กระทรวงพาณิชย์ คือ องค์การคลังสินค้า ( Public Warehouse Organization)
กระทรวงมหาดไทย มีดังนี้
1. การไฟฟ้านครหลวง ( Metropolitan Electricity Authority) 2. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ( Provincial Electricity Authority) 3. การประปานครหลวง ( Metropolitan Waterworks Authority) 4. การประปาส่วนภูมิภาค ( Provincial Waterworks Authority) 5. องค์การตลาด ( Marketing Organization)
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีดังนี้ 1. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ( Thailand Institute Scientific and Technological Research) 2. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ(National Science Museum )
กระทรวงสาธารณสุข คือ องค์การเภสัชกรรม ( The Government Pharmaceutical Organization)
กระทรวงอุตสาหกรรม คือ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ( Industrial Estate Authority
2.2 การจัดองค์กรในองค์การมหาชน
องค์การมหาชน (Public Autonomous Organization) หมายถึง หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ หรือพระ ราชกำหนด หรือพระราชกฤษฎีกาตามลักษณะความสำคัญขององค์กร องค์การมหาชนนี้จะมีลักษณะที่ไม่ใช่ส่วนราชการเพราะมีการบริหารงานคล่องตัวกว่าส่วนราชการและไม่ใช่รัฐวิสาหกิจเพราะไม่ได้ดำเนินกิจกรรมที่มุ่งหวังผลกำไรเหมือนรัฐวิสาหกิจ ดังนั้นองค์การมหาชน คือ หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินกิจกรรมทางบริการสาธารณะที่ไม่มุ่งหวังผลกำไรซึ่งดำเนินกิจการได้ในตัวองค์กรเองได้ในตัวมันเอง เป็นต้น
รายชื่อองค์การมหาชนของประเทศไทย
สำนักนายกรัฐมนตรี มีดังนี้ 1. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา 2.สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ 3.องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 4. สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD)
กระทรวงกลาโหม คือ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
กระทรวงการคลัง คือ สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีดังนี้ 1.สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง 2.สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีดังนี้ 1.สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ, สพภ. 2.องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO)
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คือ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA)
กระทรวงพลังงาน คือ สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน
กระทรวงพาณิชย์ มีดังนี้ 1.ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (SACICT) 2.สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ
กระทรวงวัฒนธรรม มีดังนี้1.ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร 2.หอภาพยนตร์
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีดังนี้ 1.สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (TINT), สทน. 2. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) 3.สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ 4. สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน 5. สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร 6.สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
กระทรวงศึกษาธิการ มีดังนี้ 1. สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา 2.โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ 3. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ
กระทรวงสาธารณสุข มีดังนี้ 1.โรงพยาบาลบ้านแพ้ว 2.สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล
2.3 หน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง หน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครอง
หน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง หน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองได้แก่ องค์กรเอกชนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมวิชาชีพในการประกอบอาชีพโดยได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองตามพระราชบัญญัติเฉพาะเรื่องเพื่ออกกฎ ข้อบังคับทางวิชาชีพ รับจดทะเบียนและพิจารณาออกหรือใบอนุญาตวิชาชีพ เช่น สภาทนาย สภาวิศวกร เป็นต้น
ส่วนหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ให้ดำเนินทางปกครอง ได้แก่ หน่วยงานซึ่งการมอบหมายให้หน่วยงานเอกชนจัดทำบริการสาธารณะมีลักษณะของการมอบหมายให้ดำเนินกิจการทางปกครอง 2 ลักษณะ คือ กระทำในรูปของสัญญากับมีคำสั่งอนุญาตคำขอตามที่กฎหมายกำหนด
หนังสือและเอกสาร วารสารอ่านประกอบ
มูลนิธิวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางปกครอง “หน่วยงานทางปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542” กรุงเทพฯ : บริษัทการพิมพ์จำกัด,2551
วันเพ็ญ ทรัพย์ส่งเสริม “การจัดระบบองค์การมหาชนอิสระในกระบวนการจัดทำบริการสาธารณะในประเทศไทย” วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,2539
「กรมอุตสาหกรรม」的推薦目錄:
- 關於กรมอุตสาหกรรม 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於กรมอุตสาหกรรม 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於กรมอุตสาหกรรม 在 กรมโรงงานอุตสาหกรรม | Bangkok 的評價
- 關於กรมอุตสาหกรรม 在 กระทรวงอุตสาหกรรม 的評價
- 關於กรมอุตสาหกรรม 在 โครงสร้างกระทรวงอุตสาหกรรม - YouTube 的評價
- 關於กรมอุตสาหกรรม 在 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน): หน้าหลัก 的評價
กรมอุตสาหกรรม 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
ความรู้ทั่วไปของกฎหมายปกครอง
กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของฝ่ายปกครอง ในการจัดทำบริการสาธารณะทางปกครอง ถ้าไม่มีกฎหมายที่เป็นเครื่องมือให้ฝ่ายปกครอง ฝ่ายปกครองก็ไม่สามารถกระทำได้ เพราะหลักนิติรัฐ ได้กำหนดไว้ คือ การกระทำใดๆของฝ่ายปกครองต้องกระทำชอบด้วยกฎหมายและต้องอยู่ภายในขอบเขตของกฎหมายให้อำนาจไว้ และต้องมีองค์กรมาควบคุมการกระทำทางปกครองด้วย ซึ่งจะได้อธิบายดังต่อไปนี้
1. ความหมายและวิวัฒนาการของกฎหมายปกครอง
การที่เราจะศึกษากฎหมายปกครองให้เข้าใจหรือลึกซึ้งนั้นในลำดับแรกนั้นเราต้องศึกษาถึงความหมายของกฎหมายปกครองว่าหมายถึงอะไร และกฎหมายกฎหมายปกครองมีความเป็นมาอย่างไรเพื่อที่จะเข้าใจถึงหลักกฎหมายปกครองได้ดียิ่งขึ้น
1.1 ความหมายของกฎหมายปกครอง
กฎหมายปกครอง คือ กฎหมายเกี่ยวกับการปกครอง กฎหมายปกครองจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดองค์กรของฝ่ายปกครอง วิธีการดำเนินงานของฝ่ายปกครอง และการดำเนินการของฝ่ายปกครอง นี้ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของประชาชน ซึ่งอาจทำให้สิทธิหน้าที่ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป บางกรณีก็ก่อให้เกิดความรับผิดชอบของฝ่ายปกครองที่จะต้องเยียวยาให้แก่ผู้เสียหายจึงอาจสรุปได้ว่า กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายเกี่ยวพันระหว่างองค์กรของฝ่ายปกครองด้วยกันเอง และระหว่างองค์กรของฝ่ายปกครองกับผู้อยู่ใต้การปกครอง คือ ประชาชน
1.2 ประวัติความเป็นมาของกฎหมายปกครอง
สังคมรัฐสมัยใหม่ (Modern Stat) แต่เดิมรัฐมีหน้าที่รักษาความมั่นคงของประเทศจาก
การรุกรานจากภายนอกกับการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในรัฐ รัฐจึงจัดเก็บภาษี (โดยระบบที่ไม่ยุ่งยาก) เพื่อบำรุงกองกำลังทหารกับการจัดให้มีเจ้าหน้าที่คอยป้องกันปราบปรามผู้กระทำความผิด การบริการในด้านต่างๆรัฐจะปล่อยให้เอกชนป้องกันและจัดการเองโดยไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยว ดังนั้นระบบกฎหมายโดยส่วนใหญ่ จึงปรากฏว่ามีแต่ “กฎหมายแพ่ง” และ ”กฎหมายอาญา” โดยกฎหมายแพ่ง เป็นเรื่องว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนและกฎหมายอาญาเป็นเรื่องลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด
แต่อย่างไรก็ตามในขณะนั้นกฎหมายปกครอง กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายระหว่างประเทศก็ยังมีอยู่แต่ยังไม่มีความสำคัญนัก แต่ต่อมาสังคมเริ่มพัฒนาซับซ้อนมากขึ้น สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม การปฏิวัติอุตสาหกรรมและการแพร่หลายของหลักเสรีนิยม เกิดการเปลี่ยนแปลงในช่วงของศตวรรษที่ 20 ทำให้เกิดความยุ่งยากและประสบพบปัญหาต่างๆในการบริหารประเทศหรือบริหารงานในรัฐ รัฐจึงเริ่มใช้อำนาจเข้าควบคุมกิจการต่างๆในสังคมมากขึ้นเป็นลำดับ เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคมจัดแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาประเทศ รัฐจึงเข้าเป็น(1) ผู้คุ้มครอง(2)ผู้จัดหา(3)ผู้ดำเนินธุรกิจ(4)ผู้ควบคุมเศรษฐกิจและ(5)เป็นคนกลางในการตัดสินข้อพิพาทในการที่รัฐใช้อำนาจเข้าไปแทรกแซงเข้าไปสร้างความเป็นธรรมในสังคม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “กฎหมายปกครอง” อาจกล่าวได้ว่า กฎหมายปกครองเป็นผลผลิตของสังคมรัฐสมัยใหม่ ที่เพิ่งพัฒนาในเรื่องประสิทธิภาพและความเป็นธรรมในการใช้อำนาจรัฐ จึงมีความสัมพันธ์โดยใกล้ชิดกับระบบการปกครองของรัฐและสภาบันในการปกครองของรัฐ
ดังนั้นกฎหมายปกครองของแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับพื้นฐานแนวความคิด ประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ พื้นฐานทางระบบรัฐธรรมนูญ ระดับการพัฒนาของสังคมและปัญหาเฉพาะตัวของแต่ละสังคม
แต่อย่างไรก็ตาม การที่จะนำหลักกฎหมายปกครองในประเทศหนึ่งมาใช้กันอีกประเทศหนึ่งจึงต้องอาศัยการประยุกต์ให้เหมาะสมกับสังคมบริบทของประเทศนั้นด้วยดังนั้นการศึกษากฎหมายปกครองจึงเป็นการศึกษาในเรื่องต่างๆ ดังนี้
1.หลักการสำคัญต่างๆในความสัมพันธ์กับกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นตัวกำกับหลักให้
เห็นถึงอำนาจหน้าที่ที่องค์กรต่างๆของรัฐจะมีความสัมพันธ์กัน เพราะการควบคุมดูแลและตรวจสอบระหว่างองค์กรต่างๆของรัฐ จะต้องเป็นไปตามหลักในรัฐธรรมนูญด้วย
2.การจัดโครงสร้างองค์กรฝ่ายปกครอง ซึ่งจะมีการแบ่งแยกมากมาย ตั้งแต่การจัดส่วน
ราชการ ตลอดจนองค์กรในรูปแบบเฉพาะ เช่น องค์อิสระตามรัฐธรรมนูญ หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน เป็นต้น
3.ระบบทรัพย์สินของแผ่นดิน ซึ่งเป็นกำลังหลักในการดำเนินงานของรัฐ
4.ระบบเจ้าหน้าที่ โดยที่การจัดองค์กรจะมีความหลากหลายทำให้เกิดเจ้าหน้าที่หลาย
ประเภทตามลักษณะของงาน
5.ระบบการควบคุมฝ่ายปกครอง ซึ่งมีการควบคุมหลายประเภทแตกต่างกันในแต่ละแง่ เช่นการควบคุมโดยผู้บังคับบัญชา การควบคุมโดยรัฐสภา การควบคุมโดยศาล การควบคุมโดยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หรือการควบคุมโดยประชาชน
6.การจัดระบบข้อมูลข่าวสารของราชการ ซึ่งเป็นข้อมูลข่างสารกลางของประเทศที่มีหน้าที่หลายด้าน ทั้งในการนำมาใช้ในการบริหารประเทศ ชีวิตประจำวัน ไปจนถึงการพัฒนาวิทยาการและการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
7.การกระทำทางปกครอง อันเป็นการใช้อำนาจรัฐตามกฎหมายที่ให้ไว้ในการกำหนดสิทธิหน้าที่ของเอกชน ซึ่งได้แก่ กฎทางปกครอง คำสั่งทางปกครอง สัญญาทางปกครอง เป็นการใช้อำนาจที่สำคัญในการปกครองและใช้กันโดยทั่วไปโดยทุกองค์กรฝ่ายปกครอง ซึ่งมีหลักเกณฑ์พิเศษเฉพาะในการจัดทำและนำมาใช้
8.ความรับผิดของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ต้องเยียวยาความเสียหายในระดับที่เหมาะสมแก่เอกชน
2. ลักษณะสำคัญของกฎหมายปกครอง
ลักษณะสำคัญของกฎหมายปกครองเราอาจสามารถสรุปลักษณะสำคัญของกฎหมายปกครองเพื่อที่เราจะเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นคือ
2.1 กฎหมายปกครองเป็นสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชน
กฎหมายมหาชนส่วนที่วางระเบียบเกี่ยวกับการปกครองรัฐมีอยู่สองสาขา คือ กฎหมาย
รัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครอง แม้ว่ากฎหมายทั้งสองสาขานี้ไม่อาจแยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด เพราะมีส่วนเกี่ยวพันอยู่มากแต่อาจแยกพิจารณาตามวัตถุประสงค์ได้อย่างกว้างๆ ดังนี้
1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ จะกำหนดถึงเรื่องทฤษฎีว่าด้วยรัฐการกำเนิดของรัฐ ทฤษฎีการเมืองและสัญญาประชาคม เนื้อหาสำคัญของรัฐธรรมนูญจะมีส่วนว่าด้วยรูปแบบของรัฐ และการกำหนดองค์กรหรือสถาบันต่างๆ ใช้อำนาจอธิปไตย ตลอดจนความสัมพันธ์ขององค์กรหรือสถาบันต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้น รวมทั้งการรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทีเรียกว่า “หลักนิติรัฐ”
2. กฎหมายปกครอง จะกำหนดถึงเรื่องการวางระเบียบการปกครองของรัฐในทางปกครองหรือที่รู้จักกันในนามของการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งเรียกว่าเป็นการกระทำทางปกครองของฝ่ายปกครอง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของฝ่ายบริหาร
อนึ่ง กฎหมายมหาชนที่วางระเบียบการปกครองรัฐไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายปกครองนั้นมีความสำคัญ ซึ่งสามารถสรุปได้ 2 ประการดังนี้
ประการที่ 1 เพื่อให้การดำเนินการบริหารประเทศไปอย่างมีประสิทธิภาพ และอยู่ในแนวทางเดียวกัน จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายวางระเบียบการปกครองกำหนดอำนาจหน้าที่ของแต่ละองค์กรหรือสถาบันต่างๆ ที่ได้จัดตั้งขึ้น ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรหรือสถาบันเหล่านั้นต่อกัน
ประการที่ 2 เพื่อให้การปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและประโยชน์ของประชาชนเพราะการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ (การกระทำทางปกครอง) ย่อมกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้รับบริการ จึงต้องมีกฎหมายมากำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ว่าสามารถก้าวล่วงเข้าไปกระทบสิทธิ และเสรีภาพของประชาชนได้มากน้อยเพียงใด
2.2 กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์ของรัฐในทางบริหาร
การศึกษากฎหมายปกครองจึงเป็นการศึกษาในเรื่อง การปกครองของรัฐการจัดระเบียบการปกครองรัฐ ผลักการใช้อำนาจอธิปไตย ขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารในการบังคับใช้กฎหมายในการบริหารประเทศและในการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการด้านต่างๆของประชาชน องค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ
2.2.1 ฝ่ายการเมือง
ฝ่ายการเมือง คือ คณะรัฐมนตรี (นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี) ซึ่งใช้อำนาจตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญกำหนดนโยบายที่เรียกว่า การกระทำทาง “รัฐบาล” และการกำกับดูแลการนำนโยบายสู่การปฏิบัติโดย “ฝ่ายประจำ” ในการบริการสาธารณะทางปกครอง
2.2.2 ฝ่ายประจำ
ฝ่ายประจำ คือ องค์กรของรัฐฝ่ายปกครอง ซึ่งใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติ บังคับใช้กฎหมายและนำนโยบายของ “ฝ่ายการเมือง” ไปสู่การปฏิบัติองค์กรของรัฐฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะ
2.3 กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการบริการสาธารณะ
ด้วยเหตุที่รัฐต้องรับภาระจัดทำบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์สุขของมหาชน ดังนั้นรัฐต้องมีกิจกรรมมากมายหลายสาขา ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ในบรรดาจัดทำกิจกรรมเหล่านี้ รัฐจำต้องออกกฎหมายวางระเบียบเป็นพิเศษที่แตกต่างไปจากระเบียบที่ใช้กันระหว่างเอกชน เพื่อให้การบริการสาธารณะดำเนินไปโดยไม่ติดขัดและไม่เกิดความเสียหายแก่ประชาชนส่วนรวม
2.4กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมการใช้อำนาจทางปกครอง
กฎหมายปกครองเป็นที่มาของการวางระเบียบกฎเกณฑ์เพื่อควบคุมมิให้ฝ่ายปกครองกระทำการใดๆในทางที่มิชอบด้วยจุดมุ่งหมายของการบริการสาธารณะ รวมทั้งการจัดตั้งสถาบันเพื่อระงับข้อพิพาทอันเกิดจากการความเกี่ยวพันในการจัดทำบริการสาธารณะ
3. เนื้อหาสาระสำคัญของกฎหมายปกครอง
กฎหมายปกครองเป็นสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชนที่วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบใน
ทางปกครองของรัฐ และดำเนินกิจกรรมของฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชน รวมทั้งวางหลักความเกี่ยวพันในทางปกครองระหว่างฝ่ายปกครองกับเอกชน ซึ่งสามารถแยกสาระสำคัญของกฎหมายปกครอง คือ
3.1 การกำหนดโครงสร้างขององค์กรฝ่ายปกครอง
การกำหนดโครงสร้างองค์กรฝ่ายปกครอง ซึ่งผู้เขียนขอกล่าวการกำหนดโครงสร้างองค์กรฝ่ายปกครองของไทยเป็นหลัก องค์กรฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสารธารณะประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้ คือ (1) ส่วนราชการ (2) รัฐวิสาหกิจ (3)องค์การมหาชน (4) หน่วยงานอื่นของรัฐ (5) หน่วยงานงานอื่นที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง
3.1.1 ส่วนราชการ
ในประเทศไทยเวลานี้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 แก้ไขปรับปรุง (ฉบับที่5) พ.ศ.2545 เป็นแม่บทที่วางโครงสร้างในการจัดระเบียบการปกครองภายในหรือการจัดระเบียบราชการบริหารไว้ โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ราชการส่วนกลาง ราชการสวนภูมิภาคและราชการส่วนท้องถิ่น
1. ราชการส่วนกลาง มีองค์กรซึ่งได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม และทบวงการเมือง
ต่างๆ ในส่วนกลาง ในปัจจุบันกระทรวงในพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 กำหนดให้กระทรวงมี 20 กระทรวง และหน่วยงานอื่นที่มีฐานะเป็นกรม เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นต้น
2.ราชการส่วนภูมิภาค แบ่งเป็น จังหวัด จังหวัดแบ่งออกเป็น
อำเภอ อำเภอแบ่งออกเป็น กิ่งอำเภอ ถ้ามีความจำเป็นในทางปกครอง แต่โดยปกติราชการส่วนภูมิภาคแบ่งจากอำเภอเป็นตำบล ตำบลแบ่งออกเป็น หมู่บ้าน อันเป็นหน่วยงานทางปกครอง ส่วนภูมิภาคที่เล็กที่สุด ราชการส่วนภูมิภาคเป็นสาขาของราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งส่งเจ้าหน้าที่ออกไปประจำอยู่ตามท้องที่ต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร
3.ราชการส่วนท้องถิ่นปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 5 รูปแบบประกอบด้วย
1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในรูปแบบทั่วไป ได้แก่ องค์การบริหาร
ส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล
2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษได้แก่ กรุงเทพมหานคร
เมืองพัทยา
3.1.2รัฐวิสาหกิจ
รัฐวิสาหกิจ หมายถึง องค์การของรัฐบาล หน่วยงานธุรกิจซึ่งรัฐเป็นเจ้าของหรือ กิจการของรัฐ หรือ บริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หน่วยธุรกิจของรัฐมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละ 50 อนึ่งกิจการที่รัฐเป็นเจ้าของมักเรียกว่า “รัฐพาณิชย์” การจัดองค์กรฝ่ายปกครองในลักษณะการกระจายอำนาจทางกิจการรัฐวิสาหกิจในประเทศไทยแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
1.รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งเป็นองค์การของรัฐบาลหมายถึง หน่วยในทางกฎหมายซึ่งก่อตั้งขึ้นโดย พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกาหรือพระบรมราชโองการและกำหนดให้มีหน้าที่ดำเนินกิจการงานซึ่งเป็นหน้าที่ของีรัฐโดยเฉพาะทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของชาติ ซึ่งองค์การของรัฐบาลมีลักษณะทางกฎหมายของ เช่น องค์การของรัฐบาลจัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายพิเศษ ตามพระราชบัญญัติ พระบรมราชโองการหรือพระราชกฤษฎีกา มีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากรัฐ ซึ่งรัฐเป็นเจ้าของผู้เดียว
รัฐวิสาหกิจประเภทที่เป็น องค์การของรัฐบาล และกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้นแยกได้ 2 ประเภท คือ
1)รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติโดยตรง มีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีทุนทั้งสิ้นเป็นของรัฐ องค์การของรัฐบาลที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติเฉพาะอาจได้รับอำนาจและสิทธิพิเศษเหนือกว่าองค์การของรัฐบาลซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาหลายประการ เช่น พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 เป็นต้น
ส่วนหน่วยธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของยังไม่มีคำนิยามไว้ในกฎหมายฉบับใด หน่วยงานเหล่านี้มักจัดตั้งขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรี เช่น โรงงานยาสูบเป็นต้น
2)รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความใน
พระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ.2496 ซึ่งมิได้ให้คำนิยามขององค์การของรับบาล เอาไว้ แต่ได้กล่าวถึงเรื่องการจัดตั้งไว้ดังนี้
(1)จะต้องมีวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
ก.ดำเนินการอันเป็นสาธารณประโยชน์หรือ
ข.เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ หรือ
ค.เพื่อช่วยเหลือในการครองชีพ
ง.เพื่ออำนวยบริการแก่ประชาชน
(2)ต้องใช้เงินทุนจากงบประมาณแผ่นดิน
(3)ต้องมีการจัดตั้งโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
องค์การเหล่านี้มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจและนิติบุคคลโดยมีทุนทั้งสิ้นเป็นของรัฐ เช่น องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ องค์การสวนสัตว์ เป็นต้น
1.รัฐวิสาหกิจที่เป็นหน่วยธุรกิจที่รัฐหรือรัฐบาลเป็นเจ้าของลักษณะสำคัญของรัฐวิสาหกิจประเภทนี้ สามารถสรุปได้ 3 ประการดังนี้คือ
ประการแรก หน่วยงานที่จัดทำธุรกิจนั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของราชการ แต่มิได้ดำเนินงานราชการตามวัตถุประสงค์อันระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหาราชการแผ่นดิน แต่เป็นงานซึ่งส่วนราชการแห่งใดแห่งหนึ่งเข้ามาดำเนินการงานธุรกิจและใช้เงินงบประมาณทุนดำเนินงาน จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของกฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณ
ประการที่สอง หน่วยงานนั้นมิได้จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาและมิได้จัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แต่ก็ได้ดำเนินงานในทางอุตสาหกรรมและพาณิชกรรม โดยขึ้นอยู่กับกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งเป็นต้นสังกัด จึงไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลของตนเองและถือว่าการดำเนินการของหน่วยงานนั้นอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก เป็นการดำเนินงานในฐานะตัวแทนของกระทรวง ทบวง กรมเจ้าสังกัดเท่านั้น
ประการที่สาม หน่วยงานเหล่านี้มักจัดตั้งขึ้นโดยมติของคณะรัฐมนตรี เช่น โรงพิมพ์ตำรวจ สถานธนานุเคราะห์ของกรมประชาสงเคราะห์ โรงงานไพ่ กรมสรรพสามิต โรงงานยาสูบกระทรวงการคลัง โรงานน้ำตาล กรมอุตสาหกรรม เป็นต้น
3.รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งเป็นบริษัทจำกัด รัฐวิสาหกิจซึ่งตั้งเป็นบริษัทนั้นมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีทุนของภาครัฐทั้งหมดหรือบางส่วน โดยรัฐบาล นิติบุคคลมหาชน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ถือหุ้น และมีความสามารถในการใช้มาตรการควบคุมภายในรัฐวิสาหกิจลักษณะทางกฎหมายของบริษัทที่รัฐเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดหรือบางส่วนนั้นมีดังนี้
1)รัฐเป็นเจ้าของทุนของบริษัทโดยตรง
2)มีวัตถุประสงค์ สิทธิ หน้าที่ และหนี้เช่นเดียวกับบริษัทเอกชนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น บริษัทการบินไทย บริษัท ทสท จำกัด เป็นต้น
3.1.3 องค์การมหาชน
องค์การมหาชน คือ หน่วยงานที่ไม่ใช่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ มีฐานะนิติบุคคลมีหน้าที่จัดทำบริการสาธารณะอย่างใดอย่างหนึ่งในลักษณะการกระจายอำนาจทางกิจการที่มิได้มุ่งหมายเพื่อการแสวงกำไร เป็นการบริการสาธารณะที่จัดตั้งองค์การมหาชนได้แก่ การรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา การศึกษาอบรมและพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐ การทะบำรุงศิลปะวัฒนธรรม การพัฒนาและส่งเสริมการกีฬา การส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการวิจัย การถ่ายทอดและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ การบริการทางแพทย์และสาธารณสุข การสังคมสงเคราะห์ การอำนวยบริการแก่ประชาชน หรือการดำเนินการอันเป็นสาธารณประโยชน์อื่นใด
ลักษณะองค์การมหาชนดังกล่าวในปัจจุบันมีการตั้งขึ้นมา อาทิเช่น
1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
2.มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
3.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
4.มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
5.มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
6.กองทุนสนับสนุนวิจัย
7.สถาบันการบินพลเรือน
8.องค์การสวนพฤกษศาสตร์ เป็นต้น
3.1.4 หน่วยงานอื่นของรัฐ
หน่วยงานอื่นของรัฐ มี 2 ประเภท คือ
1.หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ คือหน่วยงานของรัฐที่เป็นส่วนราชการ มีฐานะเป็นนิติบุคคล เช่น สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลปกครอง เป็นต้น
2.หน่วยงานที่เป็นหน่วยธุรการขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เช่น สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เป็นต้น
3.1.5 หน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง
1.หน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครอง ได้แก่องค์กรเอกชนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมวิชาชีพในการประกอบอาชีพโดยได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองตามพระราชบัญญัติเฉพาะเรื่องเพื่ออกกฎ ข้อบังคับทางวิชาชีพ รับจดทะเบียนและพิจารณาออกหรือใบอนุญาตวิชาชีพ เช่นสภาทนาย สภาวิศวกร เป็นต้น
2.หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ให้ดำเนินกิจการทางปกครอง ได้แก่ หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำบริการสาธารณะ ซึ่งการมอบหมายให้หน่วยงานเอกชนจัดทำบริการสาธารณะมีลักษณะ เช่น กระทำในรูปของสัญญา มีคำสั่งอนุญาต คำขอตามที่กฎหมายกำหนดเป็นต้น
3.2 การกำหนดนิติสัมพันธ์ทางปกครองในการบริการสาธารณะ
กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดนิติสัมพันธ์ทางปกครองในการบริการสาธารณะ กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ส่วนหนึ่งในการวางระเบียบเกี่ยวกับการแทรกแซงในทางปกครอง ซึ่งรัฐเข้าแทรกแซงด้วยวิธีจัดทำและควบคุมบริการสาธารณะต่างๆ ที่ดำเนินการโดยองค์กรฝ่ายปกครองหรือเอกชนที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการแทนรัฐหรือฝ่ายปกครอง
3.2.1 ความหมายของการบริการสาธารณะ
การบริการสาธารณะ (Public Service) หมายความถึงกิจการที่ทำอยู่ในความอำนวยการหรือในความควบคุมของฝ่ายปกครอง ที่จัดทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน เช่น การป้องกันประเทศ การรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน การสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นต้น
3.2.2 ประเภทของบริการสาธารณะ
ปัจจุบันการบริการสาธารณะอาจแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือการบริการสาธารณะทางปกครองและการบริการสาธารณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม
1.การบริการสาธารณะทางปกครอง คือ กิจกรรมที่โดยสภาพแล้วเป็นงานใน
หน้าที่ของฝ่ายปกครองที่จะต้องจัดทำเพื่อสนองความต้องการของประชาชน กิจกรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการดูแลความปลอดภัยและความสงบสุขของประชาชน เช่น การป้องกันประเทศ,การคลัง บริการสาธารณะประเภทนี้ ฝ่ายปกครองต้องอาศัยอำนาจพิเศษตามกฎหมายมหาชนในการจัดทำ เช่น การบังคับฝ่ายเดียวการดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามคำสั่ง และทรัพย์สินที่ฝ่ายปกครองและใช้อยู่ว่าเป็นทรัพย์สินของรัฐที่ได้รับความคุ้มครองเป็นพิเศษจากกฎหมายมหาชน
การบริการสาธารณะทางปกครองส่วนใหญ่จะเป็นกิจกรรมที่รัฐจัดทำให้ประชาชนโดยไม่เสียค่าตอบแทนและนอกจากนี้ เนื่องจากเนื้อหาของบริการสาธารณะทางปกครองจะเป็นเรื่องที่เป็นหน้าที่เฉพาะของฝ่ายปกครองที่ต้องอาศัยเทคนิคในการจัดทำ รวมทั้งอำนาจพิเศษของฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะด้วย ดังนั้นการบริการสาธารณะประเภทนี้ฝ่ายปกครองจึงไม่สามารถมอบให้องค์กรอื่นหรือเอกชนเข้ามาดำเนินการแทนได้
แต่เดิมนั้นการบริการสาธารณะทุกประเภทจัดว่าเป็นบริการสาธารณะทางปกครองทั้งสิ้น แต่ต่อมาเมื่อกิจกรรมเหล่านี้มีมากขึ้นและมีรูปแบบและวิธีในการจัดทำแตกต่างกันออกไป จึงเกิดประเภทใหม่ ของการบริการสาธารณะขึ้นมาอีก คือ การบริการสาธารณะทางอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม
2.การบริการสาธารณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม คือการบริการ
สาธารณะที่คล้ายคลึงกับรัฐวิสาหกิจเอกชนทั้งในด้านวัตถุ แหล่งที่มาของเงินทุน และวิธีปฏิบัติ
ข้อสังเกต ความแตกต่างระหว่างการบริการสาธารณะทางปกครองกับการบริการสาธารณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมสามารถ สรุปได้ 4 ประการคือ
1) วัตถุแห่งบริการ การบริการสาธารณะทางปกครองจะมีวัตถุแห่งบริการคือ เพื่อสนองความต้องการของประชาชนในประเทศแต่เพียงอย่างเดียว ส่วนการบริการสาธารณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมนั้น มีวัตถุแห่งการบริการด้าน เศรษฐกิจ เหมือนกับ วิสาหกิจเอกชน คือ เน้นทางด้านการผลิต การจำหน่วย การให้บริการ และมีการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้รับ ดังเช่น กิจการของเอกชน
2) แหล่งที่มาของเงินทุน การบริการสาธารณะทางปกครองจะมีแหล่งที่มาของเงินทุนจากรัฐแต่เพียงอย่างเดียวโดยรัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบเงินทุนทั้งหมดที่นำมาใช้จ่ายในการดำเนินการ ส่วนการบริการสาธารณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมนั้น แหล่งรายได้ส่วนใหญ่จะมาจาก ค่าตอบแทนการบริการของผู้ใช้บริการ
3) วิธีปฏิบัติงาน การบริการสาธารณะทางปกครองจะมีวิธีปฏิบัติงานที่รัฐสร้างขึ้นมาเป็นแบบเดียวกันมีระบบบังคับบัญชาซึ่งใช้กับผู้ปฏิบัติงานทุกคน ส่วนการบริการสาธารณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม จะมีวิธีปฏิบัติงานที่สร้างขึ้นมาเองแตกต่างไปจากการบริการสาธารณะที่มีลักษณะทางปกครอง ทั้งนี้เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินการจัดทำกิจกรรมในด้านต่างๆ
4) สถานภาพของใช้การบริการสาธารณะ การบริการสาธารณะทางปกครองนั้นสถานภาพของผู้ใช้บริการจะถูกกำหนดโดยกฎข้อบังคับทั้งหมด ซึ่งรวมตั้งแต่การกำหนดองค์กร การจัดองค์กรและการปฏิบัติงาน การใช้บริการสาธารณะประเภทนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการจะมีลักษณะเป็นนิติกรรมที่มีเงื่อนไข คือเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว ส่วนการบริการสาธารณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการจะมีลักษณะเป็นสัญญาตามกฎหมายเอกชนคือ นิติกรรมและสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
3.2.3 หลักเกณฑ์ในการจัดทำบริการสาธารณะ
การบริการสาธารณะไม่ว่าจะเป็นประเภทใด หรือที่จัดทำโดยผู้ใดย่อมจะต้องตกอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่สำคัญ 3 ประการ คือ หลักว่าด้วยความเสมอภาค หลักว่าด้วยความต่อเนื่อง และหลักว่าด้วยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
1. หลักว่าด้วยความเสมอภาค การที่รัฐเข้ามาจัดทำบริการสาธารณะนั้นมิได้
มีจุดมุ่งหมาย ที่จะจัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์ของผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ แต่เป็นการจัดทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนทุกคน ดังนั้น ประชาชนทุกคนย่อมมีสิทธิได้รับการปฏิบัติหรือได้รับผลประโยชน์จากการบริการสาธารณะอย่างเสมอภาคกัน ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของผู้ใช้บริการ การเข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐ
2. หลักว่าด้วยความต่อเนื่อง เนื่องจากการบริการสาธารณะเป็นกิจกรรมที่มี
ความจำเป็นสำหรับประชาชน ดังนั้น หากการบริหารสาธารณะหยุดชะงักไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม ประชาชนผู้ใช้บริการย่อมได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายได้ ด้วยเหตุนี้ การบริการสาธารณะจึงต้องมีความต่อเนื่องในการจัดทำ หลักว่าด้วยความต่อเนื่องของการบริการสาธารณะมีข้อพิจารณา ดังนี้คือ
มาตรฐานของหลักว่าด้วยความต่อเนื่องของการบริการสาธารณะหลักว่าด้วยความต่อเนื่องของการบริการสาธารณะนี้ไม่มีมาตรฐานที่แน่นอนตายตัว ว่าจะต้องมีลักษณะอย่างไร สำหรับการบริการสาธารณะบางประเภท ซึ่งต้องจัดทำอย่างถาวร เช่น การรักษาพยาบาล การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในและภายนอกประเทศ เป็นต้น แต่บางประเภทไม่จำเป็นต้องจัดทำถาวรแต่จะต้องจัดทำสม่ำเสมอ ก็อาจจัดทำโดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขบางประการ เช่น การศึกษาสามารถกำหนดเวลาในการให้การศึกษา หลักว่าด้วยมาตรฐานความต่อเนื่องมีผลที่น่าศึกษาคือ
1)ผลที่มีต่อสัญญาทางปกครอง สำหรับบุคคลผู้เป็นคู่สัญญากับ
ฝ่ายปกครองนั้นหลักความต่อเนื่องของการบริการสาธารณะจะนำมาใช้ใน 3 กรณี คือ
(1) การเปลี่ยนแปลงสัญญาซึ่งให้อำนาจฝ่ายปกครองที่จะแก้ไขข้อสัญญาได้แต่เพียงฝ่ายเดียว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนองความต้องการของประชาชน
(2) การลงโทษในกรณีที่เกิดความผิดร้ายแรงที่ขัดขวางการดำเนินการของการบริการสาธารณะ ซึ่งฝ่ายปกครองผู้รับผิดชอบจะต้องแก้ไขด้วยการเข้าไปทำแทนคู่สัญญาฝ่ายเอกชนหรือยึดกลับมาทำเอง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของการบริการสาธารณะ
(3) เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาและมีผลให้คู่สัญญาฝ่ายเอกชน ซึ่งได้รับมอบหมายจากฝ่ายปกครองให้จัดทำตามบริการสาธารณะ ไม่สามารถดำเนินการตามสัญญาต่อไปได้ตามปกติ ฝ่ายปกครองจะต้องเข้าไปรับภาระบางส่วนร่วมกับเอกชนคู่สัญญา เพื่อไม่ให้การบริการสาธารณะต้องหยุดชะงักลง
2) ผลที่มีต่อการนัดหยุดงาน การนัดหยุดงาน อาจเป็นเหตุให้เกิดการขัดขวางการดำเนินงานตามปกติของบริการสาธารณะที่ทำให้หลักความต่อเนื่องของบริการสาธารณะจึงได้มีมาตรการที่เข้ามาแก้ไขปัญหาขึ้น 2 วิธี ด้วยกันคือ การให้บริการขั้นต่ำ และการให้เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ เช่น ทหารเข้าดำเนินการแทนการบริการสาธารณะบางประเภทนี้ห้ามหยุดงานอย่างเด็ดขาดและทั้งหมดไม่ได้ เช่น การบริการสาธารณะเกี่ยวกับโรงพยาบาล ตำรวจ การยุติธรรม การคมนาคมทางอากาศ หรือวิทยุโทรทัศน์
3.หลักว่าด้วยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง การบริการสาธารณะที่ดีนั้นจะต้อง
สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ตลอดเวลาเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของสังคมปัจจุบัน ที่จะรักษาผลประโยชน์สาธารณะเพื่อสนองความต้องการของประชาชนส่วนรวม
3.2.4 องค์กรผู้จัดทำการบริการสาธารณะ
การบริการสาธารณะส่วนใหญ่นั้น รัฐจะเป็นผู้มีหน้าที่ในการจัดทำดำเนินการบริการสาธารณะโดยใช้องค์กรภายในฝ่ายปกครองเป็นผู้จัดทำระบบราชการ แต่ต่อมาได้เพิ่มวิธีการจัดทำการบริการสาธารณะขึ้นโดยจัดตั้งเป็นองค์กรประเภทพิเศษขึ้นมาทำหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะเฉพาะประเภท เช่นรัฐวิสาหกิจต่างๆ และต่อมาจึงมีการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่น จึงมีการมอบอำนาจการบริการสาธารณะหลายๆประเภทให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปจัดทำแทนรัฐ นอกจากนี้ในระยะหลังๆ การบริการสาธารณะมีมากประเภทขึ้นบางประเภทต้องใช้กำลังคน กำลังทรัพย์ รวมทั้งเทคโนโลยีระดับสูงมาดำเนินการจัดทำ แต่เนื่องจากการบริการสาธารณะประเภทดังกล่าวเป็นการบริการสาธารณะ ซึ่งโดยสภาพแล้วรัฐไม่จำเป็นต้องทำเองก็ได้ จึงเกิดการมอบการบริการสาธารณะบางประเภทให้เอกชนดำเนินการแทนรัฐ โดยรัฐเข้าไปควบคุมดูแลการจัดทำบริการสาธารณะโดยเอกชนเพื่อให้บริการที่เกิดขึ้นอยู่ในมาตรฐานเดียวกันกับที่รัฐเป็นผู้จัดทำ ซึ่งเราอาจแยกองค์กรการจัดทำการบริการสาธารณะได้ดังนี้ คือ
1.การบริการสาธารณะที่จัดทำโดยรัฐ รัฐจัดทำบริการสาธารณะ มี2 ระดับ คือ
การบริการสาธารณะระดับชาติ และการบริการสาธารณะระดับท้องถิ่น
1) การบริการสาธารณะระดับชาติ เป็นบริการสาธารณะที่รัฐจัดทำอย่างทั่วถึงตลอดทั้งประเทศ สามารถแบ่งได้ 7 ประเภทด้วยกัน ดังนี้
(1) การบริการสาธารณะด้านยุติธรรม
(2) การบริการสาธารณะด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัย
ของประเทศ
(3) การบริการสาธารณะด้านการรักษาความปลอดภัยของ
สังคม
(4) การบริการสาธารณะด้านสังคม
(5) การบริการสาธารณะด้านวัฒนธรรม
(6) การบริการสาธารณะด้านการท่องเที่ยว
(7) การบริการสาธารณะด้านการศึกษา
2) การบริการสาธารณะในระดับท้องถิ่น ได้แก่การบริการสาธารณะที่อยู่
ในอำนาจหน้าที่ที่จะดำเนินการจัดทำโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ หน้าที่ที่ต้องจัดทำการบริการสาธารณะกับหน้าที่ที่อาจจัดทำการบริการสาธารณะ
2.การบริการสาธารณะที่จัดทำโดยเอกชน เอกชนสามารถเข้ามามีส่วนในการ
จัดทำบริการสาธารณะ ได้ 2 กรณี คือ การมีส่วนร่วมทางตรงกับการมีส่วนร่วมทางอ้อม
1) การมีส่วนร่วมทางตรง การบริการสาธารณะเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของรัฐที่จัดทำ แต่ต่อมาเมื่อรัฐมีภารกิจมากขึ้น กิจการบางอย่างรัฐไม่จำเป็นต้องจัดทำเองเพราะเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจของรัฐ กิจการบางอย่างต้องใช้เงินลงทุนมาก ต้องใช้บุคลากรที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ ซึ่งทำให้รัฐไม่สามารถจัดทำการบริการสาธารณะได้อย่างดี และรวดเร็ว ทันความต้องการของผู้ใช้บริการสาธารณะ จึงเกิดการมอบการบริการสาธารณะให้เอกชน ซึ่งมีความสนใจและมีความพร้อมเป็นผู้จัดทำการบริการสาธารณะแทนรัฐ
ข้อสังเกต การมอบอำนาจให้เอกชนเป็นผู้จัดทำการบริการสาธารณะ หมายถึง การกระทำทางปกครองที่รัฐมอบให้เอกชนเป็นผู้จัดทำการบริการสาธารณะทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ โดยรัฐเป็นผู้ตัดสินใจ อนุมัติหรืออนุญาตให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำบริการสาธารณะเอกชนจึงสามารถเข้าดำเนินการได้ ได้แก่
(1)การให้เอกชนเข้าสัมปทาน ซึ่งเป็นสัญญาทางปกครอง
(2)องค์กรวิชาชีพ เช่น องค์กรวิชาชีพทนายความ องค์กรวิชา
ชีพบัญชี องค์กรวิชาชีพแพทย์ องค์กรวิชาชีพสถาปนิก และองค์กรวิชาชีพเภสัชกร เป็นต้น
2) การมีส่วนร่วมทางอ้อม ได้แก่การเข้ามามีส่วนร่วมของเอกชนเข้า
มามีส่วนร่วมในการจัดทำการบริการสาธารณะโดยรัฐด้วยวิธีการต่างๆ ดังต่อไปนี้
(1) การเลือกตั้ง ประชาชนมีสิทธิที่เลือกตั้ง หรือรับสมัคร
เลือกตั้งเข้าไปบริหารงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำการบริการสาธารณะภายใต้ระบบการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(2) การร่วมให้ความเห็น ฝ่ายปกครองอาจเชิญเอกชนมา
ปรึกษาหารือ เพื่อขอความเห็นเกี่ยวกันการจัดทำการบริการสาธารณะในบางเรื่องก่อนที่จะตัดสินใจดำเนินการได้
3.2.4 เครื่องมือของฝ่ายปกครองในการจัดทำการบริการสาธารณะ
ในการจัดทำหรือการกำกับดูแลในการบริการสาธารณะนั้นฝ่ายปกครองมี “เครื่องมือ”
ที่ใช้ ในการจัดทำการบริการสาธารณะอยู่ 3 ประการด้วยกัน คือ
1. มาตรการทางกฎหมาย ซึ่งกฎหมายนั้น เป็นทั้ง “แหล่งที่มา” (Source)
และ “ข้อจำกัด” (Limitation) ของอำนาจในการกระทางปกครองของฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะ มาตรการทางกฎหมายของฝ่ายปกครองนั้นมีอยู่ 4 ประการคือ
1)นิติกรรมทางแพ่ง ได้แก่ การทำสัญญาทางแพ่งเพื่อจัดซื้อจัดจ้าง
พัสดุจากเอกชนไว้ในราชการโดยมิได้ใช้อำนาจพิเศษของรัฐ คืออำนาจฝ่ายเดียว
2)นิติกรรมทางปกครองฝ่ายเดียวที่มีผลทั่วไป ได้แก่ การวางกฎเกณฑ์
ของฝ่ายปกครองที่มีผลต่อบุคคลอื่นเป็นการทั่วไป นิติกรรมทางปกครองนี้มีสภาพเป็นกฎหมายที่ตราโดยฝ่ายบริหารที่เรียกว่า “กฎ”
3)นิติกรรมทางปกครองที่มีผลเฉพาะรายหรือเรียกว่า “คำสั่งทาง
ปกครอง” เฉพาะบุคคลหรือเฉพาะเรื่อง เช่น คำสั่งห้าม คำสั่งให้ทำการอนุมัติ การอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาต เป็นต้น นิติกรรมทางปกครองประเภทนี้เป็นนิติกรรทางปกครองที่ผู้ตราจะต้องเป็นผู้มีอำนาจตามกฎหมายกำหนด กล่าวคือจะต้องทำโดยเจ้าหน้าที่มีอำนาจ
4) สัญญาทางปกครอง ฝ่ายปกครองสามารถทำสัญญาทางปกครอง เพื่อใช้ในการดำเนินการจัดทำการบริการสาธารณะ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นบริการสาธารณะที่มีลักษณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม
2. บุคลากรของรัฐ หมายถึง บุคลากรทุกประเภทที่ทำงานให้กับฝ่ายปกครอง ซึ่งมีหลายประเภทโดยส่วนใหญ่ของบุคลากรจะได้แก่ ข้าราชการ นอกจากนั้นก็จะเป็นบุคลากรที่เรียกกันว่า “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ซึ่งมีอยู่หลายประเภท ดังนี้คือ
1) ข้าราชการ จะได้แก่ บุคคลซึ่งสมัครใจเข้าทำงานกับฝ่ายปกครองอย่างถาวร และมีหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากคำจำกัดความแล้วจะเห็นได้ว่าการที่จะเป็นข้าราชการจะต้องประกอบด้วย 3 องค์ประกอบที่สำคัญ คือ
(1) การเข้าเป็นข้าราชการ
(2) การทำงานกับองค์กรที่จัดทำบริการสาธารณะ เช่น กระทรวง
ทบวง กรม เป็นต้น
(3) ความถาวรมั่งคงและในการทำงาน
2)เจ้าหน้าของรัฐที่ซึ่งมิได้มีสถานะเป็นข้าราชการ เจ้าหน้าที่ที่มีอยู่ 3
ประการคือ
(1) ลูกจ้าง ได้แก่ บุคคลซึ่งทำงานอยู่กับองค์กรของฝ่าย
ปกครองต่างๆในตำแหน่งลูกจ้างที่ไม่ถาวร เช่น ลูกจ้างเข้าทำงานโดยวิธีการจ้าง มีการทำสัญญาจ้างเฉพาะตัวบุคคล เช่น ลูกจ้างรายวัน รายเดือน รายปี เป็นต้น
(2) ผู้เข้าร่วมงานอาสาสมัคร ได้แก่บุคคลซึ่งเสนอตัวต่อฝ่าย
ปกครองโดยสมัครใจที่จะร่วมมือหรือให้ความช่วยเหลือในการทำงานของฝ่ายปกครองทีเกี่ยวข้องกับการจัดทำการบริการสาธารณะ หรือประโยชน์สาธารณะ เช่น อาสาสมัครดับเพลิง เป็นต้น
(3) ผู้เข้าร่วมงานที่ถูกเกณฑ์ ได้แก่ บุคคลซึ่งเข้ามาร่วมงานกับ
ฝ่ายปกครองโดยไม่สมัครใจ กล่าวคือ มีการสั่งการหรือเรียกเข้ามาร่วมงาน เช่น ในยามสงครามบุคคลตามที่กฎหมายกำหนดจะถูกเกณฑ์มาเป็นทหาร หรือในกรณีอื่นฝ่ายปกครองอาจเรียกบุคคลอื่นมาร่วมในการดำเนินการของฝ่ายปกครอง เช่น มาร่วมเป็นลูกขุนหรือมาเป็นพยานในศาล เป็นต้น
3.ทรัพย์สิน ในการดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะ บ่อยครั้งที่ฝ่ายปกครองมี
ความจำเป็น จะต้องได้มาซึ่งทรัพย์สิน ทั้งสังหาริมทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์ ซึ่งโดยปกติทั่วๆไปแล้ว ฝ่ายปกครองสามารถได้มาซึ่งทรัพย์สินทั้งหลาย ได้ 2 วิธี คือ การได้มาซึ่งทรัพย์สินตามที่บทบัญญัติในกฎหมายเอกชน กับได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยวิธีพิเศษ
1)การได้มาซึ่งทรัพย์สินตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายเอกชนการได้มาตาม
กฎหมายแพ่ง และกฎหมายพาณิชย์ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ในการทำสัญญาไว้ เช่น การทำสัญญาซื้อขาย หรือแลกเปลี่ยน นอกจากนี้ฝ่ายปกครองยังได้ทรัพย์สิน โดยการรับบริจาค หรือการรับมรดก เป็นต้น
2)การได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยวิธีพิเศษ นั้นฝ่ายปกครองอาจจะได้มาใน
ลักษณะที่เป็นสัญญาทางปกครอง แต่ในบางกรณี เมื่อฝ่ายปกครองมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทรัพย์สิน เพื่อจัดทำการบริการสาธารณะหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ ฝ่ายปกครองก็จะใช้อำนาจฝ่ายเดียว คืออำนาจตามกฎหมายมหาชน ได้ 3 กรณี ดังนี้ คือ
(1)การเวนคืน เพื่อประโยชน์สาธารณะ
(2)การโอนกิจการมาเป็นของรัฐ
(3)การยึดมาเป็นของรัฐซึ่งการยึดจะใช้ในกรณีสงคราม เพื่อเปิด
โอกาสให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารสามารถได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือกิจการที่มีความจำเป็นสำหรับการปฏิบัติการของรัฐ เช่น การปฏิบัติการทางทหาร เป็นต้น
3.3 การควบคุมการทางปกครองในการจัดทำการบริการสาธารณะ
การควบคุมากรกระทำทางปกครองในการจัดทำการบริการาสาธารณะนั้นเป็นการควบคุม การตรวจสอบหรือเรียกว่า การควบคุมความชอบด้วยกฎหมายในการกระทำในการใช้อำนาจของฝ่ายปกครอง ซึ่งแบ่งกว้างๆ เป็น 2 ส่วน คือ การควบคุมตรวจสอบโดยองค์กรภายในฝ่ายปกครอง กับการควบคุมตรวจสอบโดยองค์กรภายนอก
3.3.1 การควบคุมโดยองค์กรภายในฝ่ายปกครอง
การควบคุมโดยชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองในการจัดบริการ
สาธารณะของฝ่ายปกครองโดยองค์กรในฝ่ายปกครอง ได้แก่ การควบคุมโดยการบังคับบัญชาการควบคุมการกำกับดูแล และการอุทธรณ์ภายในฝ่ายการปกครอง
1.การควบคุมโดยการบังคับบัญชา เป็นกรณีที่ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจ
ทั่วไปอยู่เหนือผู้ใต้บังคับบัญชาของตน ตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายและความเหมาะสมของการกระทำต่างๆของผู้ใต้บังคับบัญชา และหากเห็นว่าการกระทำใดของผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เหมาะสม แล้วแต่กรณีผู้บังคับบัญชามีอำนาจที่จะดำเนินใดก็ได้ ตามความเหมาะสมภายในขอบเขตกฎหมายอำนาจของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชานั้นประกอบด้วย
1)อำนาจเหนือบุคคลผู้ใต้บังคับบัญชา
(1)อำนาจแต่งตั้งโยกย้ายกำหนดให้ดำรงตำแหน่ง
(2)อำนาจในความดีความชอบ
(3)อำนาจในการลงโทษทางวินัย
2)อำนาจเหนือการกระทำของผู้ใต้บังคับบัญชา
(1)อำนาจสั่งการให้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
(2)อำนาจสั่งการแก้ไขการกระทำที่ไม่ชอบ
(3)อำนาจกระทำการแทนในการกรณีผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ปฏิบัติ
หน้าที่
2. การควบคุมโดยการกำกับดูแล เป็นกรณีที่กฎหมายให้อำนาจองค์กรปกครอง
ส่วนกลางหรือองค์กรปกครองส่วนภูมิภาคตรวจสอบการกระทำขององค์กรต่างๆดังต่อไปนี้
1)องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศ
บาล องค์การบริหารส่วนตำบล เมืองพัทยา กรุงเทพมหานคร
2)บรรดารัฐวิสาหกิจ ที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือโดยพระราช
กฤษฎีกา เช่น การไฟฟ้านครหลวง การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย องค์การรถไฟฟ้ามหานคร องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ฯลฯ เป็นต้น
3)องค์การมหาชน ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ หรือจัดตั้งขึ้น
ตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ.2542 เช่น ธนาคารแห่งประเทศ สภาวิจัยแห่งชาติ เป็นต้น
4) หน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง ได้แก่องค์กรวิชาชีพ เช่น สภาทนาย สภาวิศวกร เป็นต้น
ข้อสังเกต การควบคุมโดยการบังคับบัญชาการควบคุมโดยกำกับดูแลมีความแตกต่างกันในสาระสำคัญ อยู่ 2 ประการคือ
ประการแรก อำนาจของผู้บังคับบัญชาที่จะควบคุมการกระทำของผู้บังคับบัญชา
นั้นเป็นอำนาจทั่วไปที่เกิดขึ้นจากการจัดระเบียบภายในหน่วยงาน ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายบัญญัติให้ไว้โดยเฉพาะ แต่อำนาจผู้กำกับดูแลที่จะควบคุมการกระทำของผู้ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของตนนั้น เป็นอำนาจที่มีกฎหมายบัญญัติให้ไว้โดยเฉพาะและผู้กำกับดูแลจะใช้อำนาจควบคุมเกินขอบเขตที่กฎหมายกำหนดให้ไว้ไม่ได้
ประการที่สอง ผู้บังคับบัญชามีอำนาจควบคุมตรวจสอบการกระทำของผู้ใต้บังคับ
บัญชาของตนได้ทั้งในแง่ของความชอบด้วยกฎหมายและในแง่ของความเหมาะสม แต่ผู้กำกับดูแลมีอำนาจควบคุมตรวจสอบการกระทำของผู้อยู่ใต้การกำกับดูแลของตนได้ก็เฉพาะแต่ในแง่ของความชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น จะก้าวล่วงเข้าไปควบคุมตรวจสอบความเหมาะสมของการกระทำไม่ได้
3.การอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครอง การกระทำทางปกครองในการจัดทำการ
บริการสาธารณะที่เป็นคำสั่งทางปกครองนั้นคู่กรณีมีสิทธิอุทธรณ์โต้แย้งการกระทำทางปกครองดังกล่าวได้ตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
กฎหมายที่กำหนดขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครองอาจเป็นกฎหมายฉบับที่ให้อำนาจออกคำสั่งทางปกครองนั้นก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้ากฎหมายฉบับใดไม่ได้กำหนดขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครองไว้ ก็ให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ซึ่งเป็นกฎหมายกลาง
3.2.2 การควบคุมโดยองค์กรภายนอกฝ่ายปกครอง
การควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกคอรงในการจัดทำบริการสาธารณะโดยองค์กรภายนอกฝ่ายปกครองได้แก่การควบคุมและตรวจสอบโดยทางการเมืองการควบคุมและตรวจสอบโดยองค์กรอิสระ และการควบคุมตรวจสอบโดยองค์กรตุลาการ
1. การควบคุมตรวจสอบโดยทางการเมือง ก็คือ การควบคุมตรวจสอบโดยองค์กรรัฐสภา ในการตั้งกระทู้ถาม และการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจในการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร (คณะรัฐมนตรี)
2. การควบคุมตรวจสอบโดยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เป็นการมอบหมายให้องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ดังกล่าวมีอำนาจในการควบคุมและตรวจสอบภายในขอบเขตอำนาจขององค์กรนั้นๆ เช่น ผู้ตรวจเงินแผ่นดิน ก็จะมีอำนาจในการควบคุมและตรวจสอบเรื่องการเงิน การคลังของหน่วยงานของรัฐต่างๆ เป็นต้น
3. การควบคุมตรวจสอบโดยองค์กรตุลาการ เป็นการควบคุมและ
ตรวจสอบที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นระบบการควบคุมและตรวจสอบที่ให้หลักประกันประชาชนให้มากที่สุดด้วยเหตุนี้ จึงมีการกล่าวกันว่ารัฐใดรัฐหนึ่งไม่อาจถือได้ว่าเป็น “นิติรัฐ” หากรัฐนั้นปราศจากการควบคุมและตรวจสอบโดยองค์กรตุลาการ ทั้งนี้องค์กรตุลาการมีความเป็นอิสระที่มีการประกันความเป็นอิสระของผู้พิพากษา องค์กรตุลาการจะเป็นการควบคุมการกระทำทางปกครองในการบริการสาธารณะของรัฐนั้นจะมีองค์ตุลาการควบคุมและตรวจสอบการกระทำดังกล่าวเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ได้ความเดือดร้อนเสียหายหรืออาจเดือดร้อนเสียหายในการกระทำทางปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะคือ
1)ศาลยุติธรรมที่ควบคุมตรวจสอบการกระทำการบริการสาธารณะใน
กระบวนการยุติธรรมทางแพ่งและและกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางปกครองบางประเภทที่ได้กำหนดไว้ให้อยู่ในเขตอำนาจศาลยุติธรรม เช่น คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากรเป็นต้น
2)ศาลปกครองที่ควบคุมตรวจสอบการกระทำการบริการสาธารณะใน
กระบวนการยุติธรรมทางปกครอง
(1) คดีปกครองที่อยู่ในขอบเขตอำนาจศาลปกครองชั้นต้น ได้แก่
(ก) ในคดีพิพาทที่เกี่ยวกับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่
ของรัฐกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออก กฎ คำสั่ง หรือกระทำอื่นใด เนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนือหน้าที่ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น หรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
(ข) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินควร
(ค) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดชอบอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่นหรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
(ง) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
(จ) คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด
(ช) คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง
(2) คดีปกครองที่อยู่ในขอบเขตอำนาจศาลปกครองสูงสุด คือ
(ก)คดีพิพาทที่เกี่ยวกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทตามที่ที่ประชุมใหญ่ในศาลปกครองสูงสุดประกาศกำหนด
(ข)คดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา หรือ กฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรีหรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
(ค) คดีมี่กฎหมากำหนดให้อยู่ในอำนาจศาลปกครองสูงสุด
(ง) คดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น
(จ) คดีพิพาทหรือคำสั่งอันเป็นที่สุดของศาลปกครองชั้นต้น ขัดหรืแย้งกันในประเด็นแห้งคดีอย่างเดียวกัน ซึ่งคู่กรณีหรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุดเพื่อให้มีคำสั่งกำหนดว่าจะให้ถือตามคำพิพากษาหรือคำสั่งใด
หนังสือและเอกสารอ่านประกอบเพิ่มเติม
ประยูร กาญจนดุล “คำบรรยายกฎหมายปกครอง” กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่4,2538
ชาญชัย แสวงศักดิ์ “กฎหมายปกครอง แนวความคิดและหลักกฎหมายที่ควรรู้” กรุงเทพฯ :
สวัสดิการสำนักงานศาลปกครอง พิมพ์ครั้งที่ 2,2546
กรมอุตสาหกรรม 在 กระทรวงอุตสาหกรรม 的推薦與評價
ที่เป็นกำลังสำคัญและได้ปฏิบัติงานอุทิศตนในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศจนครบวาระเกษียณ รวมทั้งสิ้น 165 ท่าน ประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม จำนวน 53 ท่าน กรมโรงงานอุตสาหกรรม ... ... <看更多>
กรมอุตสาหกรรม 在 โครงสร้างกระทรวงอุตสาหกรรม - YouTube 的推薦與評價
โครงสร้างกระทรวง อุตสาหกรรม. 8K views · 5 years ago ...more ... ... <看更多>
กรมอุตสาหกรรม 在 กรมโรงงานอุตสาหกรรม | Bangkok 的推薦與評價
กรม โรงงานอุตสาหกรรม, กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย. ถูกใจ 37464 คน · 3314 คนกำลังพูดถึงสิ่งนี้ · 15158 คนเคยมาที่นี่. วิสัยทัศน์ :... ... <看更多>