ทำไม สเปน จึงเป็นประเทศแห่ง การท่องเที่ยว? /โดย ลงทุนแมน
ทุกหนแห่งในดินแดนนี้ถูกทาบทาด้วยความมีชีวิตชีวา และแสงสว่าง..
หากเทียบกับประเทศอื่นๆ ในยุโรปแล้ว สเปนมีแสงแดดสาดส่องยาวนานเป็นอันดับต้นๆ
มากถึงปีละ 2,500 ชั่วโมง หรือเฉลี่ยวันละ 7 ชั่วโมง และจะยาวนานกว่านี้มากในช่วงฤดูร้อน
นอกจากแสงสว่าง ประเทศในยุโรปใต้แห่งนี้ยังเจิดจ้าไปด้วยมรดกทางวัฒนธรรมทุกยุคทุกสมัย
นับตั้งแต่จักรวรรดิโรมัน อาณาจักรมุสลิมของชาวมัวร์ ไปจนถึงความรุ่งเรืองของยุคแห่งการสำรวจ
สเปนมีรายได้จากการท่องเที่ยวสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก เป็นรองเพียงสหรัฐอเมริกา
ทั้งที่มีพื้นที่เล็กกว่าสหรัฐอเมริกาถึง 18 เท่า
ประเทศที่เราเคยคิดว่าอยากไปท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็น อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี หรือแม้แต่ประเทศไทยเอง ก็มีรายได้จากการท่องเที่ยวไม่เท่า สเปน
ซึ่งในโลกนี้ สเปนเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศ ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยือน
มากกว่าจำนวนประชากรในประเทศที่ 47 ล้านคนเกือบ 2 เท่า
World Economic Forum จัดอันดับให้สเปนเป็นที่ 1 ของโลก ในการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว
สิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจนสร้างรายได้มหาศาลของประเทศนี้
อาจไม่ได้มีแค่ความสว่างไสวทางกายภาพ และวัฒนธรรม
แต่มันเป็นเพราะอะไร มาหาคำตอบกันได้ในบทความนี้
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สเปน จึงเป็นประเทศแห่ง การท่องเที่ยว?
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
สั่งซื้อได้ที่ (รับส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปในยุคแห่งการสำรวจ ราวศตวรรษที่ 15
สเปน คือมหาอำนาจผู้นำโลกตะวันตกมาค้นพบกับโลกใหม่
เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นักเดินเรือผู้ทำงานให้ราชสำนักสเปน
เดินทางรอนแรมข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกจนค้นพบทวีปใหม่ในปี ค.ศ. 1492
ไม่นาน กองทัพสเปนก็เข้าบุกยึดอาณาจักรโบราณของชาวพื้นเมือง และครอบครองพื้นที่ทวีปใหม่อันกว้างใหญ่ที่ต่อมาถูกเรียกว่า “อเมริกา” และนำสิ่งของใหม่ๆ มาสู่ยุโรป
มันฝรั่ง ยาสูบ โกโก้ ทองคำ และแร่ธาตุต่างๆ ล้วนหลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสาย จนสเปนกลายเป็นประเทศที่มั่งคั่ง และเต็มไปด้วยสิ่งก่อสร้างตระการตา
แต่สงครามหลายต่อหลายครั้งกับมหาอำนาจอื่นๆ ในยุโรป โดยเฉพาะอังกฤษ และฝรั่งเศส
ก็นำมาสู่หนี้สินอันมหาศาล และพาสเปนเข้าสู่ยุคตกต่ำเป็นเวลาหลายร้อยปี
แล้วความรุ่งเรืองก็จบลงด้วยสงครามกลางเมืองที่นำพาสเปนเข้าสู่ยุคเผด็จการยาวนาน 40 ปี
ของจอมพลฟรานซิสโก ฟรังโก ซึ่งเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1936
สเปนผ่านสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยการดำรงความเป็นกลาง และไม่ให้ความช่วยเหลือฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อสงครามจบลงเรื่องนี้ก็ได้สร้างความไม่พอใจแก่ฝรั่งเศส และอังกฤษผู้ชนะสงคราม
สเปนจึงถูกขัดขวางไม่ให้เข้าร่วมองค์การสหประชาชาติ องค์การนาโต และไม่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อฟื้นฟูยุโรปจากสหรัฐอเมริกา ที่เรียกว่า แผนการมาร์แชล
ท่ามกลางเศรษฐกิจยุโรปที่เฟื่องฟู สเปนถูกทิ้งให้โดดเดี่ยว และจมอยู่กับเศรษฐกิจที่ย่ำแย่
แต่ก็ผ่านมาได้ด้วยความช่วยเหลือจากประธานาธิบดีเปรอนแห่งอาร์เจนตินาที่ส่งอาหาร และเนื้อสัตว์มาให้
อาร์เจนตินาเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดีกับสเปน และคนในประเทศอาร์เจนตินาก็พูดภาษาสเปนกัน
จนเมื่อเข้าสู่ยุคสงครามเย็น ฝ่ายสหรัฐอเมริกา และพันธมิตรเกรงกลัวการขยายอำนาจของฝ่ายคอมมิวนิสต์ จึงลงนามในสนธิสัญญามอบเงินช่วยเหลือให้สเปนแลกกับการตั้งฐานทัพ และยอมรับสเปนเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติในปี ค.ศ. 1955
สเปนจึงเปิดประเทศอีกครั้ง แต่ในเวลานั้น สเปนไม่ได้มีภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่แข็งแกร่งเหมือนประเทศอื่นๆ ในยุโรปตะวันตก หนทางเดียวที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ให้กระเตื้องขึ้นมา
ก็คือ “การท่องเที่ยว”
ด้วยชายหาดริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่อบอุ่นและเต็มไปด้วยแสงแดด ล้วนดึงดูดชาวยุโรปเหนือผู้อยู่กับความหนาวเย็น และท้องฟ้าขมุกขมัวให้มาเยือน
แคมเปญการท่องเที่ยวแรกของสเปนก็คือ “Spain is Different”
ด้วยทำเลที่ไม่ไกล ไม่นานชายหาดสเปนก็เนืองแน่นไปด้วยนักท่องเที่ยวจากทั่วยุโรป
การท่องเที่ยวสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ จนรัฐบาลของจอมพลฟรังโกสามารถนำเงินมาพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ สร้างระบบชลประทาน โรงไฟฟ้าพลังน้ำ และพัฒนาประกันสังคมให้ครอบคลุม เศรษฐกิจของสเปนดีขึ้นเรื่อยๆ แต่สิ่งที่ชาวสเปนยังขาดแคลนก็คือ “เสรีภาพ”
แล้วการถึงแก่อสัญกรรมของจอมพลฟรังโก ในปี ค.ศ. 1975 ก็ทำให้เกิดการปฏิรูปสังคม และการเมืองครั้งสำคัญ ชาวสเปนได้เสรีภาพกลับมาอีกครั้ง การเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1976 เปิดทางให้ระบอบประชาธิปไตยหยั่งรากในสเปน
ภาษาท้องถิ่นที่เคยถูกห้ามใช้ในยุคเผด็จการ เช่น ภาษากาตาลันในแคว้นกาตาลุญญาทางตะวันออก และภาษาบาสก์ในแคว้นบาสก์ทางตอนเหนือ ก็ได้รับอนุญาตอีกครั้ง
วัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่นก็เบ่งบานพร้อมกับเสรีภาพในการพูด และการแสดงออก มีงานแสดงศิลปะ คอนเสิร์ต มากมายในกรุงมาดริด ทำให้นอกจากชายหาดแล้ว การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่รัฐบาลสเปนพยายามผลักดัน ทั้งสถานที่ท่องเที่ยว ประเพณี และอาหารท้องถิ่นที่หลากหลาย
การเติบโตของการท่องเที่ยวทำให้มีการสร้างโรงแรมเกิดขึ้น
เชนโรงแรมระดับโลกสัญชาติสเปนถือกำเนิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1950s-1970s หลายแห่ง
เช่น Iberostar Group, Eurostars Hotels, NH Hotel Group และ Meliá Hotels International
รัฐบาลสเปนได้จัดตั้ง El Instituto de Turismo de España หรือ TURESPAÑA ในปี ค.ศ. 1990 เพื่อกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และวางแผนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
สิ่งที่สเปนให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว
ไม่ว่าจะเป็นถนน เครือข่ายระบบราง สนามบิน เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางจากเมืองหลักๆ และเมืองชายหาด สู่ภูมิภาคอื่นๆ ที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกันไป
เครือข่ายรถไฟความเร็วสูง AVE (Alta Velocidad Española) เป็นสิ่งที่รัฐบาลสเปนเร่งพัฒนาในช่วงปลายทศวรรษ 1980s เพื่อให้ทันกับงานมหกรรมระดับโลกที่สเปนได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพในปี 1992 โดยให้กรุงมาดริดที่ตั้งอยู่ใจกลางประเทศเป็นจุดเริ่มต้นของเครือข่าย
งานแรกคืองาน World Expo ที่เซบิยา เมืองใหญ่ทางตอนใต้ ไม่ไกลจากท่าเรือที่โคลัมบัสเริ่มออกเดินทางไปพบโลกใหม่ ด้วยปี 1992 เป็นวาระครบรอบ 500 ปี การเดินทางของโคลัมบัสพอดี งานจึงถูกจัดในธีม “ยุคสมัยแห่งการค้นพบ”
โดยกำหนดปิดงานคือวันที่ 12 ตุลาคม ก็เป็นวันที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ เพราะเป็นวันที่โคลัมบัสเดินทางถึงทวีปอเมริกา
แล้วรถไฟความเร็วสูงสายแรกของสเปนที่เชื่อมระหว่างกรุงมาดริด กับเมืองเซบิยาก็เสร็จทันการจัดงาน World Expo สร้างความสะดวกสบายให้กับนักท่องเที่ยวผู้เข้าร่วมงานจากทั่วโลก
นอกจากงาน World Expo แล้ว อีกงานหนึ่งคือ
มหกรรมโอลิมปิกฤดูร้อน 1992 ที่เมืองบาร์เซโลนา ซึ่งได้มีการขยายสนามบิน สร้างถนนวงแหวนเพื่อรองรับการจราจร ปรับปรุงท่าเรือ และสร้างสนามกีฬาเพื่อรองรับผู้ชมจากทั่วโลก
ปี 1992 จึงเป็นเหมือนปีทองของการแจ้งเกิดของสเปนในเวทีการท่องเที่ยวระดับโลก
ความสำเร็จของทั้ง 2 งาน ทำให้นักท่องเที่ยวมาเยือนสเปนอย่างล้นหลาม
นับตั้งแต่นั้นมา เครือข่ายรถไฟความเร็วสูงของสเปนก็ค่อยๆ ขยายขึ้นเรื่อยๆ
จนปัจจุบัน เครือข่ายนี้ครอบคลุมทั่วประเทศ มีระยะทางกว่า 3,100 กิโลเมตร ยาวเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากประเทศจีน เชื่อมระหว่างเมืองสำคัญในทุกภูมิภาค
จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้รัฐบาลสเปนหันมาให้ความสำคัญกับ
“การพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยเฉพาะความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม
มีกฎหมายควบคุมการบุกรุกพื้นที่ป่าจากกิจกรรมท่องเที่ยวอย่างเข้มงวด
จัดการน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ
ควบคุมการปล่อยมลภาวะในเขตเมืองใหญ่ และให้ความสำคัญกับการกำจัดขยะ
สเปนยังวางแผนระยะยาวด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อลดมลภาวะและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งการเพิ่มสัดส่วนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า และการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ที่สเปนมีอย่างเหลือเฟือ
สเปนได้วางแผนไว้ว่า ภายในปี 2030 การผลิตพลังงานไฟฟ้าจะต้องมาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน มากกว่า ร้อยละ 70 ของพลังงานทั้งหมด..
สเปนเปิดรับนักท่องเที่ยวทั่วโลกมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1950s และผ่านการพัฒนาในหลายๆ ด้านจนกลายเป็นประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวอันดับ 1 ของโลกจาก World Economic Forum
ชาวสเปนเข้าใจเป็นอย่างดีว่าชายหาดที่สวยงาม สถานที่และวัฒนธรรมที่ตื่นตาตื่นใจ จะดึงดูดผู้คนให้มาเยือนเป็นครั้งแรก
แต่การเดินทางที่สะดวกสบาย สาธารณูปโภคที่ครบครัน การบริการที่ดี และสภาพแวดล้อมที่ยังคงสมบูรณ์ จะทำให้นักท่องเที่ยวประทับใจและเลือกที่จะกลับมาเยือนอีกครั้ง
และถึงแม้ว่าโลกเรา จะมีสงคราม การก่อการร้าย หรือโรคระบาด อีกกี่ครั้ง แต่หากจะหาสักประเทศที่เตรียมพร้อมทุกอย่างเพื่อรองรับการท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยวทั่วโลกเองก็อยากกลับไปอีกครั้ง
ประเทศนั้นก็คงเป็น “สเปน”..
อ่านซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ในตอนก่อนหน้าทั้งหมดได้ที่แอป Blockdit blockdit.com/download
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
สั่งซื้อได้ที่ (รับส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References:
-https://www.researchgate.net/profile/Tatiana_Iniguez-Berrozpe2/publication/261145071_Sustainability_and_tourist_promotion_The_case_of_SPAIN/links/56a2028908ae27f7de289ee3/Sustainability-and-tourist-promotion-The-case-of-SPAIN.pdf?origin=publication_detail
-https://riuma.uma.es/xmlui/bitstream/handle/10630/7488/Art%EDculo%20Preprint%20Tourism%20Management.pdf;jsessionid=E342478E672A137AE0920AFAB4A922A8?sequence=1
-https://www.oecd-ilibrary.org/sites/8ed5145b-en/index.html?itemId=/content/component/8ed5145b-en
-https://www.econstor.eu/bitstream/10419/138734/1/v07-i11-a14-BF02929667.pdf
-https://fsr.eui.eu/electric-vehicles-and-sustainable-development-in-spain/
-สเปน หน้าต่างสู่โลกกว้าง
「การพัฒนาที่ยั่งยืน」的推薦目錄:
- 關於การพัฒนาที่ยั่งยืน 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於การพัฒนาที่ยั่งยืน 在 Cherprang BNK48 Facebook 的最讚貼文
- 關於การพัฒนาที่ยั่งยืน 在 Sustainable Development พัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อโลกที่น่าอยู่มากขึ้น 的評價
- 關於การพัฒนาที่ยั่งยืน 在 Sustainable Development Foundation มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 的評價
- 關於การพัฒนาที่ยั่งยืน 在 ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs - YouTube 的評價
- 關於การพัฒนาที่ยั่งยืน 在 การพัฒนาที่ยั่งยืน - PttOR 的評價
- 關於การพัฒนาที่ยั่งยืน 在 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) | PTT Global Chemical 的評價
การพัฒนาที่ยั่งยืน 在 Cherprang BNK48 Facebook 的最讚貼文
การพัฒนาที่ยั่งยืน 在 Sustainable Development Foundation มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 的推薦與評價
"หัวใจของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ก็คือ การพัฒนาคน" ว.วชิรเมธี. ... <看更多>
การพัฒนาที่ยั่งยืน 在 ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs - YouTube 的推薦與評價
ประเทศไทยและประเทศสมาชิกสหประชาชาติได้ร่วมลงนามรับรองวาระ การพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. ... <看更多>
การพัฒนาที่ยั่งยืน 在 Sustainable Development พัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อโลกที่น่าอยู่มากขึ้น 的推薦與評價
Sustainable Development คือรูปแบบการพัฒนาที่เน้นเป้าหมายไปทางด้านความยั่งยืน ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือส่งผลน้อยที่สุด ... ... <看更多>