เปิดวิธีคิดเศรษฐกิจจีน ถอยหลังเพื่อไปต่อจริงหรือ ?
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ตลาดจีนในช่วงเวลานี้ มีหลายคำถามที่นักลงทุนกำลังรอฟังคำตอบ
ลงทุนแมน ได้ร่วมพูดคุยกับ 2 ผู้เชี่ยวชาญตลาดจีนของกองทุนบัวหลวง
นั่นคือ ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา ตำแหน่ง Chief Economist ของกองทุนบัวหลวง
และ คุณทนง ขันทอง ตำแหน่ง Head of Strategic Communications ของกองทุนบัวหลวง
ใน Clubhouse เมื่อวันพุธที่ 21 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา
ประเด็นสำคัญของตลาดจีนในช่วงเวลานี้ จะเป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
เริ่มต้นกันที่.. ภาพรวมเศรษฐกิจจีนที่ผ่านมา
ประเทศจีนมี GDP ไตรมาส 1 ปี 2564 อยู่ที่ 18.3% (YoY) โตขึ้นอย่างก้าวกระโดด
เป็นผลมาจากนโยบายการคลังแบบผ่อนคลายจากวิกฤติโควิด 19, การฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมช่วงปลายปี 2563 และภาคการค้าส่งออกตลอดช่วงต้นปี 2564
ขณะที่ล่าสุด GDP ไตรมาส 2 ปี 2564 อยู่ที่ 7.9% (YoY)
หากมองในแง่ของนักลงทุน ต้องยอมรับว่า เราผ่านช่วงเวลาที่เป็นจุดพีกของจีนกันไปแล้ว
แต่ในแง่ของพื้นฐานประเทศจีน ยังถูกมองว่าเป็น The Most Outstanding อยู่ดี
ที่น่าสนใจคือ ธนาคารกลางจีน (PBOC) พยายามปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา
เช่น การปรับลดอัตราการดำรงเงินสำรอง (RRR) เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไปยังกลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็กที่ได้รับผลกระทบ ให้ยังคงอยู่รอดต่อไปได้
ดังนั้น หากเราเห็นว่าจีนกำลังลดสภาพคล่อง ความจริงแล้วสภาพคล่องยังคงมีอยู่ในกลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก และบางกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าความท้าทายของจีน ยังมีอยู่อีกมาก
เช่น ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดตลาด และปัญหาเรือ Ever Given ขวางคลองสุเอซ ที่ส่งผลกระทบต่อภาคการค้าส่งออกจีน หรือปัญหาการปรับตัวสูงของสินค้าโภคภัณฑ์ ที่ส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมจีน
แล้วตอนนี้ ความท้าทายจากปัจจัยภายนอก เป็นอย่างไร ?
สิ่งที่ต้องจับตาเป็นพิเศษคือ เรื่องความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ที่เริ่มต้นมาจากการประชุม Alaska Summit ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน เมื่อช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยภายนอกที่กำลังคุกรุ่นต่อเนื่องมาจากสงครามการค้า และประเด็นด้านเทคโนโลยี ตั้งแต่สมัยที่ ดอนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดี ต่อเนื่องไปจนถึง สิทธิของแรงงานในซินเจียง
นอกจากนี้ ยังมีประเด็น Cyber Security ที่ทางสหรัฐอเมริกามีการอ้างว่าจีนได้ส่งแฮกเกอร์เข้าไปล้วงข้อมูลจาก Microsoft Exchange อีกด้วย
โดยทางกองทุนบัวหลวงมองว่าประเด็นทางด้าน Geopolitics เหล่านี้จะไม่กระทบกับภาคเศรษฐกิจจีน
เนื่องจากจีนพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก แต่ถ้าเป็นในเชิงด้านการลงทุนก็อาจกระทบกับตลาดการลงทุนได้บ้าง
ส่วนประเด็นสำคัญเรื่องความตึงเครียดระหว่างจีนกับประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ ในขณะนี้ คือ สหรัฐอเมริกามีการร่วมมือกับกลุ่มประเทศ G7 เพื่อสกัดกั้นการก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจโลกของจีน
เนื่องจากตอนนี้จีนกำลังพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ทั้งในเรื่องขนาดเศรษฐกิจ เทคโนโลยี ปริมาณการค้าที่จีนเป็นคู่ค้าสำคัญของโลก และเมื่อตลาดเงินตลาดทุนใหญ่ขึ้น บทบาทของเงินหยวนก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ซึ่งจะไปมีผลกับกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของโลกต่อไป เช่น ระบบชำระเงิน Digital Banking หรือสินทรัพย์ดิจิทัล
พูดง่าย ๆ ว่าตอนนี้เหมือนเป็นการต่อสู้ระหว่าง “โลกทุนนิยมจากฝั่งตะวันตก” และ “โลกอำนาจนิยมจากจีน”
เพื่อแย่งชิงการเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ของโลก นั่นเอง
ขณะเดียวกัน จีนเองก็พยายามสร้างสัมพันธ์กับรัสเซียและประเทศกำลังพัฒนาอย่างเช่น ประเทศในกลุ่มแอฟริกา ลาตินอเมริกา และประเทศตามเส้นทางสายไหม
รวมไปถึงการพัฒนาภายในประเทศเองเพื่อให้คนในประเทศหลุดพ้นจากความยากจน
โดยความคาดหวังของจีนในระยะยาว คือ ต้องการให้ประเทศมีฐานะร่ำรวยปานกลาง (Moderately Prosperous Society) สร้างพลังการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ให้คนในประเทศเป็นคนชนชั้นกลาง ส่วนภาคแรงงานจะมีค่าแรงเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งจะเป็นปัจจัยหลักให้ประชากรจีนมีกำลังซื้อ มีความมั่งคั่ง กินดีอยู่ดีมากขึ้น และเติบโตได้ในระยะยาว
แล้วตอนนี้ ปัจจัยภายในจีน กำลังเจอความท้าทายใดบ้าง ?
จีนพยายามพัฒนาประเทศมาอย่างต่อเนื่อง สังเกตได้จากแผนพัฒนาฯ ของจีน เช่น
- แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ จนเกิดปัญหาการเก็งกำไรภาคอสังหาริมทรัพย์
- แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 การส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิต Made in China 2025 จนเกิดปัญหาสงครามการค้าจีน-สหรัฐอเมริกา ที่เรียกว่า Trade War
จะเห็นได้ว่า การเติบโตของเศรษฐกิจจีน มักจะตามมาด้วยปัญหาต่าง ๆ
ทำให้จีน เริ่มมองหาทางเดินใหม่ ๆ ด้วยการลดความสำคัญของตัวเลข GDP สูง ๆ
แต่จะเน้น “ความเป็นสังคมอยู่ดี กินดี ไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง” เข้ามาแทนที่
จึงมีความเป็นไปได้ว่า เส้นทางเดินใหม่ของจีนจะมุ่งไปสู่ 2 กลุ่มหลัก นั่นคือ
- กลุ่มการเติบโตแบบมีคุณภาพ (Quality Growth) เช่น ภาคธุรกิจที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ช่วยลดมลพิษ และทำให้ประเทศจีนมีคุณภาพที่ดีขึ้น
- กลุ่มเศรษฐกิจภายในประเทศ (Domestic Economies) เช่น ธุรกิจด้านการบริโภคภายในประเทศ
เราจึงเห็น แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 14 มียุทธศาสตร์วงจรคู่ขนาน (China’s Dual Circulation)
ที่คงความสำคัญของปัจจัยภายนอก เช่น การค้าส่งออก ไปพร้อมกับปัจจัยภายในประเทศ เช่น อุปสงค์การบริโภคภายในประเทศ
ดังนั้น ความท้าทายของปัจจัยภายในจีนก็คือ พลังของการบริโภคภายในประเทศ ที่จะมาจากการทำให้ประชากรจีนมีรายได้สูงขึ้น มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างทั่วถึง นั่นเอง
อีกหนึ่งประเด็นก็คือ การเข้ามาควบคุมกิจการเทคโนโลยีของจีน
สาเหตุหลักเป็นเพราะ รัฐบาลจีนต้องการจะเป็นเจ้าของ Big Data ที่อยู่ในมือของธุรกิจภาคเอกชน
จึงทำให้ธุรกิจเอกชนยักษ์ใหญ่ที่มี Big Data อย่าง Ant Group ที่ให้บริการการเงินครบวงจร หรือ DiDi แอปพลิเคชันเรียกแท็กซี่ที่มีข้อมูลการเดินทางของคนจีนจำนวนมาก จึงถูกรัฐบาลจีนเข้ามาจัดระเบียบอย่างที่ทราบกัน
สรุปแล้ว ช่วงเวลานี้ ควรลงทุนในตลาดจีนอย่างไร ?
ต้องยอมรับว่า การลงทุนในประเทศจีนช่วงนี้ อาจให้ผลตอบแทนได้ดีไม่เท่ากับตลาดอื่น ๆ
แต่ถ้าตาม Seasonal Pattern แล้ว ตลาดหุ้นจีนจะกลับมา Perform อีกครั้งในตอนช่วงท้ายปี
ประเด็นสำคัญที่นักลงทุนมักจะให้น้ำหนักต่อการเคลื่อนไหวของตลาดจีนก็คือ นโยบายของภาครัฐ ที่จะส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจระยะยาว รวมทั้งจุดเด่นของจีนที่มักจะพูดจริง ทำจริง เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งประเทศที่ทำตาม KPI ของตัวเองได้ดี
ดังนั้น หากนักลงทุนเชื่อมั่นในประเทศจีนในภาพระยะยาว
จังหวะที่ตลาดหุ้นจีนลงมามาก ๆ ก็น่าจะเป็นจังหวะที่ดีในการเก็บสะสมหุ้นจีนแบบระยะยาวได้
ซึ่งหนึ่งวิธีที่จะลดความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาดจีนตอนนี้ ก็คือการลงทุนแบบ DCA
เป็นการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย ทำให้นักลงทุนไม่ต้องสนใจภาวะตลาด ณ ตอนนั้น เนื่องจากเป็นการทยอยเข้าไปลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการลงทุนแบบนี้จะฝึกให้นักลงทุนมีวินัยในการลงทุนมากขื้น
ส่วน Theme การลงทุนที่น่าสนใจ ควรสอดคล้องกับนโยบาย Dual Circulation Economic
อย่างในกลุ่ม Domestic Play ที่จะได้ประโยชน์จากจำนวนประชากรจีนที่จะมีกำลังซื้อมากขึ้น ซึ่งจะกลายเป็นการเติบโตรอบใหม่ของจีน
เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว, ธุรกิจกีฬา, ธุรกิจการศึกษา, ธุรกิจเครื่องดื่ม
สรุปได้ว่า ช่วงเวลานี้ หากจะลงทุนระยะยาวในตลาดจีน ก็เป็นจังหวะที่ดีให้นักลงทุนได้เลือกลงทุนในบริษัทพื้นฐานดีที่มีราคาถูกกว่ามูลค่าจริง นั่นเอง
ในส่วนของกองทุนบัวหลวง มีกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน (B-CHINE-EQ) ซึ่งมีนโยบายการลงทุนเป็นแบบ Dynamic โดยส่วนหนึ่งได้มอบหมายให้ Allianz Global Investors Asia Pacific Limited เป็นผู้รับดำเนินงานการลงทุนในต่างประเทศของกองทุน (Outsourced Fund Manager) ซึ่งในส่วนนี้ก็มีการลงทุนผ่านกองทุน 2 กองทุน คือ กองทุน Allianz China A-Shares และกองทุน Allianz All China Equity และยังมีอีกส่วนที่กองทุนบัวหลวงคัดเลือกลงทุนหุ้นรายตัวเอง
นั่นก็หมายความว่า กองทุน B-CHINE-EQ ไม่ได้อิงผลตอบแทนของดัชนีประเทศจีน
แต่ยังมีการลงทุนธุรกิจพื้นฐานดีรายตัวในประเทศจีน ซึ่งจะช่วยกระจายความเสี่ยง และเพิ่มผลตอบแทนในระยะยาวให้กับนักลงทุนได้ นั่นเอง
「การลงทุนที่น่าสนใจ」的推薦目錄:
- 關於การลงทุนที่น่าสนใจ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於การลงทุนที่น่าสนใจ 在 InnovestX - การลงทุนใน “หุ้นต่างประเทศ” น่าสนใจยังไง? . ช่วงนี้ ... 的評價
- 關於การลงทุนที่น่าสนใจ 在 "เปิดโลก Structure Note อีกหนึ่งทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจ" - The ... 的評價
- 關於การลงทุนที่น่าสนใจ 在 [เจาะลึก] 5 ธุรกิจที่น่าสนใจควรค่าแก่การลงทุนในปี 2021 的評價
การลงทุนที่น่าสนใจ 在 "เปิดโลก Structure Note อีกหนึ่งทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจ" - The ... 的推薦與評價
The UpTrend” ทุกวันพุธ 1 ทุ่มตรง!"เปิดโลก Structure Note อีกหนึ่งทางเลือก การลงทุนที่น่าสนใจ "โดยคุณชิน ธนธัช เอนกลาภากิจ Portfolio ... ... <看更多>
การลงทุนที่น่าสนใจ 在 [เจาะลึก] 5 ธุรกิจที่น่าสนใจควรค่าแก่การลงทุนในปี 2021 的推薦與評價
[เจาะลึก] 5 ธุรกิจที่น่าสนใจควรค่าแก่การลงทุนในปี 2021. 12 ต.ค. 2020. SHARE. ทุกวิกฤตจะมีโอกาสและทุกโอกาสจะต้องมีผู้ที่มีความสามารถได้ประโยชน์เสมอ ... ... <看更多>
การลงทุนที่น่าสนใจ 在 InnovestX - การลงทุนใน “หุ้นต่างประเทศ” น่าสนใจยังไง? . ช่วงนี้ ... 的推薦與評價
และที่สำคัญ เมื่อลงทุนหุ้นต่างประเทศจะช่วยเพิ่มโอกาสลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีระดับโลกที่มีการเติบโตสูง และไม่มีในไทย เช่น Google, Facebook, Amazon, Alibaba ฯลฯ ซึ่ง ... ... <看更多>