🙋ลองคำนวณ Daily Intake ของคอร์สออนไลน์ กับ อีบุ๊ค แล้วต่างกันมาก เพราะอะไร ควรยึดอันไหน?
ระหว่าง Hardcore Nutrition Vs Lean Smart Hardcore
นักเรียนที่ซื้อ Ebook ของปี 2018-2020 ไปแล้ว และเรียนคอร์สของปี 2021 จะพบว่า รูปแบบการคำนวณบางสูตร จะมีการเปลี่ยนแปลง Update ทำให้คำนวณออกมาแล้วไม่เท่ากัน
นี่เป็นคำถามที่ดีมาก โค้ชขออธิบายเป็นข้อๆนะครับ แบบละเอียดสุดๆ จะได้เห็นภาพและปรับใช้ได้
🔴 ทำไมสูตรคำนวณไม่เหมือนกัน : คอร์สออนไลน์ Hardcore Nutrition
เพราะว่า Hardcore Nutrition เป้าหมายหลักๆคือ “เพิ่ม” กล้าม และสมรรถภาพ โดยไขมันไม่เพิ่ม หลักๆแล้วภาพรวมคือ กินเยอะ ออกกำลังกายโหดๆ
ดังนั้นสำหรับบางคน อาจจะต้องกินเยอะขึ้น (ซึ่งไม่เหมาะกับคนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย! เพราะถ้าเพิ่มอาหาร แล้วไม่ได้ออกกำลังกาย อาจจะอ้วนได้)
🔴 ทำไมสูตรคำนวณไม่เหมือนกัน : E-ฺBook Leansmart Hardcore
ถึงแม้จะมีคำว่า Hardcore เหมือนกัน แต่โปรแกรม Leansmart Hardcore เน้นลดไขมันแบบ Hardcore ซึ่งภาพรวมคือ กินเท่าที่จำเป็นเพื่อให้รักษามวลกล้ามเนื้อไว้ ในช่วงที่ออกกำลังกายแบบ Cardio เยอะๆ สำหรับหลายๆคน การคำนวณตามสูตรนี้ อาจจะกินน้อยลงกว่าเดิมเล็กน้อย แต่ไปปรับสัดส่วนสารอาหาร (หลักๆคือกินโปรตีนเยอะ เพื่อรักษามวลกล้ามเนื้อ)
🔴 ในเมื่อทั้งสองสูตร มีเป้าหมายปลายทางที่ต่างกัน
จึงใช้วิธีคำนวณต่างกัน ที่เห็นได้หลักๆคือ Hardcore Nutrition จะเอาตัวเลขมาคำนวณสารอาหารแต่ละตัว (เพราะเราอิงตามงานวิจัยเกี่ยวกับสารอาหารเหล่านั้น) แต่ Leansmart Hardcore จะใช้วิธีคำนวณพลังงาน และโปรตีนก่อน ส่วนแป้ง / ไขมัน ยืดหยุ่นได้ตามที่ถนัด
🔴 แล้วเลือกทางไหนดี ?
ก่อนจะเลือกว่าต้องทำตามสูตรไหน เราต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆกัน
ปัจจัยหลักๆที่อยากให้คำนึงถึง คือ “เราออกกำลังกายแบบไหนอยู่”
🔴ในกรณีคนที่ออกกำลังแบบ Weight Training เป็นหลัก
ถ้าออกกำลังกายแบบ Weight Training โหดๆ หรือเล่นกีฬาเยอะๆ และมี Cardio ควบคู่ไปด้วย และแนะนำให้ทำตาม Hardcore Nutrition แบบนี้จะทำให้เรามีพัฒนาการที่ดีขึ้น
เพราะได้รับสารอาหารต่างๆเพียงพอต่อการฝึกซ้อม สิ่งที่คาดหวังได้จากการทำแบบนี้คือ กล้ามเนื้อเพิ่ม และ % ไขมันลดลง
วิธีนี้ค่อนข้างดีในระยะยาว เพราะการที่เรากินเยอะขึ้น + กล้ามเนื้อเพิ่ม ทำให้อัตราเผาผลาญเราสูงขึ้น และที่สำคัญ... ดีต่อใจ ที่ได้กินเยอะขึ้น
ย้ำว่า ต้องออกกำลังกายสม่ำเสมอ ท้าทาย และพักผ่อนพอด้วยนะ
🔴 ในกรณีคนที่เน้น Cardio เป็นหลัก
แนะนำให้กินแบบ Leansmart เพราะรูปแบบนี้ จะยืดหยุ่นกว่า (ปรับแป้งเพิ่ม ลดได้ ตามแต่ละวัน ขอให้พลังงานไม่เกินเป้า)
สิ่งที่คาดหวังได้จากการทำแบบนี้คือ ไขมันลดลง และรักษามวลกล้ามเนื้อไว้ได้ สิ่งที่ควรระวัง คืออย่าลด Calorie มากเกินไป ถ้าอยากได้ผลเร็วๆ ให้กินเพิ่ม และเพิ่มการออกกำลังกาย
ย้ำว่า ต้องออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนพอด้วยเช่นกัน
🔴 สรุป
เราต้องอย่าลืมว่า บางครั้ง เราก็ต้องคำนึงถึง “ความเป็นไปได้” ด้วยนะ
เช่น เราอาจจะอยากกินแบบ Hardcore Nutrition (กินเยอะ เทรนหนัก) แต่บางช่วงงานเยอะ ไม่ได้เทรนหนัก
กินแบบนี้ ก็อ้วนได้
หรือการกินแบบ E-Book Leansmart Hardcore ก็จะมีคำเตือนคือ เหมาะกับคนที่จริงจังมากๆๆๆ และทำในระยะเวลาไม่นานเกินไป
เพราะการลีนแบบ Hardcore มันไม่ Sustainable (ไม่เหมาะกับการทำทั้งปี)
ACTION สิ่งที่ควรทำคือ
✅ A ช่วงไหนกายพร้อม ใจพร้อม สภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ว่างเทรนหนักๆ ลอง Hardcore Nutrition สัก 1-2 เดือน
✅ B ช่วงไหนกายพร้อม ใจพร้อม สภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย และอยากลีนสุดๆ ลอง Leansmart Hardcore สัก 1-2 เดือน
✅ C ช่วงไหนเหนื่อยล้า งานเยอะ เครียด ... ไม่ต้องคำนวณโภชนาการก็ได้ ขอแค่เรากิน Lean Protein + Nutrient Dense + ไม่ตะบะแตก และได้ขยับตัวบ้าง ก็โอเค แล้วรีบๆกลับมาฮึดใหม่ จะได้เข้าโปรแกรมต่อ
#แก๊งอ่านจบ
คิดว่า A / B / C แบบไหนน่าจะเหมาะ เม้นมาเล่าให้ฟังหน่อย
ขอบคุณสำหรับคำถามครับ
「ความเป็นไปได้ คือ」的推薦目錄:
- 關於ความเป็นไปได้ คือ 在 Fit Junctions Facebook 的最讚貼文
- 關於ความเป็นไปได้ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於ความเป็นไปได้ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於ความเป็นไปได้ คือ 在 การวิเคราะห์ความเป็นไปได้เบื้องต้น EP1 (Basic to feasibility ... 的評價
- 關於ความเป็นไปได้ คือ 在 Feasibility Study คืออะไร ? ต้องดูอะไรบ้าง ทำแล้วดีต่อธุรกิจอย่างไร 的評價
ความเป็นไปได้ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
ความเป็นไปได้ "การเลือกนายกรัฐมนตรี (คนนอกบัญชี) ตาม รธน.2560" ในระยะ 5 ปีแรก
ตามรัฐธรรมนูญ 2560 การเลือกนายกรัฐมนตรีก็คือ ส.ส.รวมกันได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของ 2 สภาคือ 376 เสียงเลือกนายกฯจากบัญชีรายชื่อ แต่มองกันว่าสมการนี้เป็นไปได้ยากเพราะเชื่อกันว่า ถ้าจะออกประตูนี้แปลว่า 2 พรรคใหญ่คือพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ต้องจับมือกัน เราข้ามเรื่องความเป็นไปได้หรือไม่ตรงนี้ไปก่อนมาดูว่า ถ้าเลือกนายกฯจากบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอไม่ได้ ต้องทำอย่างไรจึงจะได้นายกฯคนนอก
เราลองไล่ดูนะครับบทเฉพาะกาลมาตรา 272 นั้นบอกว่า ถ้าเลือกจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองในชอตแรกไม่ได้ให้ใช้เสียงกึ่งหนึ่งของ 2 สภาเข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภาคือ 376 เสียง ขอให้รัฐสภามีมติยกเว้นเพื่อไม่ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมือง แจ้งไว้ตามมาตรา 88 ในกรณีเช่นนั้น ให้ประธานรัฐสภาจัดให้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาโดยพลัน และในกรณีที่รัฐสภามีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ ทั้ง 2 สภาให้ยกเว้นได้ ให้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งต่อไป โดยจะเสนอชื่อผู้อยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมือง แจ้งไว้ตามมาตรา 88 หรือไม่ก็ได้
อธิบายง่ายๆคือ ถ้าเลือกจากบัญชี ตามมาตรา 88 ไม่ได้ 376 คนขึ้นไปต้องเสนอชื่อต่อประธานสภาเพื่อเปิดให้เลือกคนนอกบัญชีได้ การรวบรวมเสียงให้ได้ 376 เสียงอาจจะไม่ยากนะครับ แต่ไม่ใช่ว่าคนนอกจะมาได้ทันที ประธานต้องไปขอมติจาก 2 สภาก่อนซึ่ง 2 สภาต้องมีเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของ 2 สภาคือ 500 เสียงขึ้นไปเสียก่อนจึงจะเลือกคนนอกเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ตรงนี้แหละที่ยาก
ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ พรรคการเมืองที่ได้คะแนนสูงสุดคือผู้ตั้งรัฐบาล คนที่ ส.ส.ในสภาฯ เกินครึ่งหนึ่ง คือ 250 คน ยกมือให้จะได้เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ วางกลไกไว้ในบทเฉพาะกาลให้มีนายกรัฐมนตรีคนนอกที่ไม่ได้สังกัดพรรคการเมือง ไม่ต้องได้รับการเสนอชื่อจากพรรคการเมืองเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ในช่วง 5 ปีแรกหลังจากมีรัฐสภาชุดแรก และให้ ส.ว.โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีได้ด้วย
ตามบทเฉพาะกาล หากมีเหตุทำให้ไม่สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีจากบุคคลในบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง ไม่มีใครได้เสียง ส.ส.บวก ส.ว.เกินครึ่งหนึ่งคือ 376 เสียงก็จะมี “ก๊อกสอง” ให้เลือกนายกรัฐมนตรีคนนอกได้
การเลือกนายกฯ ก๊อกสองโดยใช้ที่ประชุมรัฐสภาลงมติ 2 ใน 3 ของ ส.ส.บวก ส.ว .คือไม่ต่ำกว่า 500 คนจาก 750 คนลงมติให้ปลดล็อกเลือกบุคคลที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองเป็นนายกรัฐมนตรีได้ เมื่อปลดล็อกได้แล้ว ก็กลับไปใช้วิธีการเลือกนายกรัฐมนตรีในบทบัญญัติปกติคือ คนเป็นนายกฯ ต้องมีเสียง ส.ส.บวก ส.ว.เกินครึ่งหนึ่งของที่ประชุมรัฐสภาคือ 376 เสียง
คะแนนเสียง 376 ใน 750 คือ สส. 500 กับ สว. 250 จึงเป็นตัวเลขสำคัญในการชี้ขาดว่า ใครจะเป็นนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง
คสช.มีเสียงเป็นทุนอยู่แล้ว 250 เสียง คือสมาชิกวุฒิสภาซึ่งตามบทเฉพาะกาลจะมีทั้งผู้ที่ คสช.ตั้งเอง และบทเฉพาะกาลกำหนดให้เป็นโดยตำแหน่ง คือ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ และผู้ที่ คสช.เลือกจากรายชื่อที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเสนอมา
ถ้า คสช.ต้องการเป็นผู้กำหนดตัวนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ต้องการเสียง ส.ส.จากพรรคการมืองอีกเพียง 126 เสียงเพื่อให้เลือก หรือไม่เลือกคนที่พรรคการเมืองเสนอมาเป็นนายกรัฐมนตรี
ถ้าไม่เลือกคนที่พรรคการเมืองเสนอ จะเลือกคนนอก คสช.ต้องการเสียง ส.ส.เพิ่มจาก 126 เสียง คือต้องการเพิ่มเป็น 250 เสียงเพื่อรวมกับ ส.ว. 250 คน เป็น 500 คน ให้ได้เสียง 2 ใน 3 ของที่ประชุมรัฐสภา (ส.ส. 500 คน, ส.ว. 250 คน)
ตัวเลข ส.ส. 250 คนจึงสำคัญสำหรับ คสช.ที่จะต้องเตรียมเอาไว้ ถ้าอยากได้คนนอก
สำหรับพรรคการเมือง โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยของนายทักษิณ ชินวัตร การเลือกตั้งเป็นโอกาสเดียวที่จะครองอำนาจการเมืองอีกครั้ง ถ้าชนะเลือกตั้งไม่ต่ำกว่า 376 เสียงก็จบ เพราะเสนอคนของพรรคเป็นนายกรัฐมนตรีได้เลยตั้งแต่ก๊อกแรก ปิดประตู คสช.ไม่ให้มีนายกฯ ก๊อกสองที่เป็นคนนอก ถ้าพรรคเพื่อไทยมี ส.ส.ไม่ถึง 376 คนก็ต้องพยายามรวบรวมเสียงจากพรรคอื่นๆ ด้วยเหตุนี้แหละที่มีข่าวเพื่อไทยจับมือประชาธิปัตย์
ถ้าพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งไม่ถึง 376 คน หรือรวมกับพรรคอื่นได้ไม่ถึง 376 คน ก็ควรจะมีอย่างน้อย 250 คนเพื่อไว้ต่อรองกับ คสช.ในการปลดล็อกให้เลือกนายกฯ คนนอกได้ตามบทเฉพาะกาล
การเลือกตั้งครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. 2554 พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.มากที่สุด คือ 265 คน จากจำนวน ส.ส.ทั้งหมด 500 คน
การเลือกตั้งครั้งใหม่ซึ่งคงจะมีขึ้นต้นปี 62 พรรคเพื่อไทยมีโอกาสสูงที่จะชนะอีกเพราะความศรัทธาในตัวนายทักษิณ ของประชาชนโดยเฉพาะในภาคอีสาน ยังมีอยู่ แม้อาจจะไม่มากเท่าเดิม แต่ครั้งนี้เสียงเกินครึ่ง คือ 250 ไม่พอ เพราะในการเลือกนายกรัฐมนตรี ส.ว. 250 คนลงคะแนนเสียงด้วย ต้องได้ 376 คนเป็นอย่างต่ำ
ถ้าไม่ได้ 376 คนตั้งรัฐบาลไม่ได้ ก็ต้องมีอย่างต่ำ 250 คนเพื่อจะได้มีอำนาจต่อรอง ในการปลดล็อกเลือกนายกฯ คนนอก
ทางฝ่าย คสช.เองแม้จะมีเสียง ส.ว.เป็นทุน 250 เสียงอยู่แล้ว แต่คงไม่อาจนิ่งนอนใจได้ ต้องหาเสียงสนับสนุนจากพรรคการเมืองอีก 250 เสียงเพื่อกรุยทางให้นายกฯ คนนอก และสกัดกั้นการกลับสู่อำนาจของนายทักษิณ โดยการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง
แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์ปัจจุบัน เราคงไม่ต้องมองถึงคนนอกแล้ว เพราะพลเอกประยุทธ์ หันมาสนใจการเมือง อาจเป็นบุคคลที่มีรายชื่อ 3 รายชื่อที่พรรคการเมือง เสนอตาม มาตรา 88 ได้ เพราะพรรคการเมือง บางพรรคประกาศ หนุน พลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นโอกาสมีมากกว่า และที่สำคัญการเลือกตั้งใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว จะเป็นการผูกมัด ประชาชนให้เลือกบุคคลและพรรคในใบเดียวกัน ด้วยเหตุกลุ่มบุคคลที่สนับสนุน พลเอกประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เช่น กลุ่ม สามมิตรจึงดูดอดีต สส.น้ำดีที่คาดว่าประชาชนเลือกแน่นอน
ประเด็นนี้อาจไม่ต้องมีนายกรัฐมนตรีคนนอกก็ได้ เพราะพลเอกประยุทธ์ เป็นคนในไปแล้ว
ความเป็นไปได้ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
คำต่อคำ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ ปาฐกถา ณ สถาบันนโยบายโลก นิวยอร์ค
เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2559เพจเฟซบุ๊ก Oak Panthongtae Shinawatra ของนายพานทองแท้ ชินวัตร ลูกชายนายทักษิณ ชินวัตร โพสต์เนื้อหา ปาฐกถา ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ในงาน “สนทนาเป็นการส่วน ตัวกับทักษิณ ชินวัตร” (Thaksin Shinawatra in Private Discussion) ณ สถาบันนโยบายโลก (World Policy Institute) 9 มี.ค. 2559, มหานครนิวยอร์ก ระบุว่า หมายเหตุโปรดใช้วิจารณญานนะครับเห็นด้วยหรือไม่
ท่านผู้ทรงเกียรติ แขกผู้มีเกียรติ ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ผมต้องขอขอบคุณสถาบันนโยบายโลก (World Policy Institute) ที่ให้โอกาสผมได้มาร่วมบอกเล่าหลักคิดของผม และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเรื่องความท้าทายต่างๆ ซึ่งเกิดมาจากคําถามที่ว่า ประเทศไทยจะเดินหน้าและผ่านพ้น ช่วงแห่งความเปลี่ยนแปลงและระยะเปลี่ยนผ่านได้อย่างไร โดยเฉพาะในแง่มุมที่เชื่อมโยงกับด้านเศรษฐกิจ ภูมิภาค และโลกในบริบทปัจจุบัน
พวกเราทุกคนคงทราบกันดีว่า ไม่มีสังคมใดในศตวรรษที่ 21 ที่จะสร้างความก้าวหน้าและความกินดีอยู่ดีให้แก่ ประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง หากสังคมคมนั้นขาดซึ่งหลักพื้นฐาน 2 ประการประการที่หนึ่ง ได้แก่ ความมีเสถียรภาพทางการเมือง ประการที่สอง ได้แก่ ศักยภาพในการสร้างกิจกรรมทาง เศรษฐกิจ ซึ่งนําไปสู่การเจริญเติบโตของประเทศ และความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงความสร้างสรรค์ให้กลายเป็น ความมั่งคั่งที่ต่อเนื่อง
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ผมขออนุญาตเล่าถึง “เรื่องของสองนคร” ที่ไม่ได้ถูกเขียนขึ้นโดยชาร์ลส์ ดิกคินส์ เรื่องเล่านี้เกี่ยวกับการพัฒนาคู่ ขนานของกรุงวอชิงตัน ดีซี และปักกิ่ง ซึ่งแต่ละนครมีประวัติศาสตร์ ความทุกข์ และความชิงชังของตนเอง เมื่อ ระยะเวลาผ่านไปนานปี ทั้งสองนครถูกมองว่าเป็นคู่ปรับที่แข่งขันกันนําเสนอโมเดลการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง
โมเดลที่หนึ่ง ได้แก่ ระบบทุนนิยมตลาดเสรีซึ่งมีระบอบ “ประชาธิปไตยแบบเปิด” เป็นรากฐานของการพัฒนา เศรษฐกิจ อีกโมเดลหนึ่ง ได้แก่ ระบบทุนนิยมซึ่งนําโดยรัฐ (รูปแบบของสาธารณรัฐประชาชนจีน) ที่กํากับด้วย อํานาจศูนย์กลางจากพรรคเดียว
ทั้งสองโมเดลได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถนําไปปรับใช้จนประสบความสําเร็จจากอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยโมเดลของ สาธารณรัฐประชาชนจีน เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงทางด้านทัศนคติของคณะผู้นําในประเทศ ณ เวลาขณะนั้น ทั้งนี้ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านทัศนคติดังกล่าว เกิดขึ้นพร้อมๆ กับความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจในโลก ตะวันตก ที่ “การค้าเสรี” ได้สร้างประโยชน์แก่สาธารณรัฐประชาชนจีนที่กําลังปรับตัว จากระบบตลาดปิด สู่ระบบ ตลาดเปิดครึ่งใบ
อย่างไรก็ตาม เราคงต้องยอมรับว่าทั้งสองโมเดลจะต้องถูกปรับให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงใหม่ ซึ่งเกิดขึ้น จากความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วทางด้านเทคโนโลยีการผลิตแบบอุตสาหกรรม จากรูปแบบ “การผลิตสินค้าใน ประเทศเดียว” สู่ “ระบบเครือข่ายการออกแบบ การสรรหาปัจจัยการผลิต และการผลิตที่มีลักษณะข้ามชาติ เพื่อ ที่จะนําสินค้าชิ้นหนึ่งๆ ออกสู่ตลาด” ความเปลี่ยนแปลงนี้ ได้กลับตาลปัตรโครงสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ภายในประเทศต่างๆ และส่งผลให้การปรับตัวทางเศรษฐกิจไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนในอดีต
พวกเรายังต้องทราบอีกว่าความก้าวหน้าของเทคนิคและเทคโนโลยีการบริหารความมั่งคั่งได้กลับตาลปัตร ความสัมพันธ์ระหว่างทุนและวิธีการผลิต ทั้งนี้ พวกเราทั้งหลายคงต่างเห็นพ้องกันว่า “สภาวะปกติใหม่ของโลกปัจจุบัน” (New Normal) จะเป็นภัยคุกคามต่อความอยู่รอดหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าคุณพร้อมและมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ประเทศไทยก็ต้องเผชิญชะตากรรมเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับสภาวะปกติ ใหม่ในเวทีโลก
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
อีกเรื่องราวหนึ่งซึ่งเป็นที่กล่าวขานถึง คือ เรื่องเล่าเกี่ยวกับครูสอนภาษาอังกฤษในสาธารณรัฐประชาชนจีนผู้เคยยากจน แต่ปัจจุบันติดอันดับผู้ร่ำรวยที่สุดของโลก ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้สร้างโรงงานหรือลงทุนในปัจจัยการผลิตใด แต่ ผู้คนทั่วไปกลับยินดีจ่ายเพื่อใช้บริการของเขา เพื่อเข้าถึงโครงข่ายอุปทานและอุปสงค์ขนาดใหญ่ ผมเชื่อว่าชาวจีน คนนี้คงต้องรู้สึกขอบคุณระบบอินเทอร์เน็ตเป็นแน่
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว รูปแบบทางการค้าได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ คุณูปการจาก การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น ได้ ส่งผลให้อีคอมเมิร์ซกลายเป็นกลจักรใหม่ที่คอยส่งเสริมให้เกิดความเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่บ้างทั้งในประเทศพัฒนา แล้วและประเทศกําลังพัฒนา
จากรายงานของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) เมื่อปีที่ผ่านมา พบว่าการค้าอีคอมเมิร์ซประเภทธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) ของโลกในปี พ.ศ. 2556 มีมูลค่ามากกว่า 15 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่อีคอมเมิร์ซประเภทธุรกิจกับผู้บริโภคของโลกยังคงอยู่ที่ระดับราว 1.2 ล้านล้าน ดอลลาร์สหรัฐ รูปแบบการค้าดังกล่าวกลับมีอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย ซึ่งมีการประมาณการว่าอีคอมเมิร์ซประเภทธุรกิจกับผู้บริโภคจะขยายตัวจากระดับร้อยละ 20 สู่ระดับร้อยละ 37 ระหว่างปี พ.ศ. 2556 ถึง 2561 นอกจากนี้ การค้าอีคอมเมิร์ซข้ามแดนที่ค่อยๆ ขยายตัวขึ้น ยังส่งผลให้ปริมาณ การขนส่งพัสดุภัณฑ์ขนาดเล็กระหว่างประเทศของโลกเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 48 ระหว่างปี พ.ศ. 2554 ถึง 2557
สําหรับภูมิภาคเอเชียและโลกตะวันตก ผมเชื่อว่าข้อมูลความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจดังกล่าวคือเค้าลางของ โอกาสการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจใหม่ ที่ “การเข้าถึงเครือข่าย” (Access to Network) คือหัวใจของ ความสําเร็จ โดยในที่นี้ หมายถึงเครือข่ายผู้บริโภคและปัจจัยการผลิตที่มีลักษณะข้ามชาติ แตกต่างออกไปจากรูปแบบเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 20 ซึ่ง “การเข้าถึงศูนย์กลาง” (Access to Center) คือเงื่อนไขของความสําเร็จ
ในปัจจุบัน นักธุรกิจผู้ไม่ได้เป็นเจ้าของโรงงานขนาดใหญ่หรือบรรษัทข้ามชาติ สามารถเข้าถึงลูกค้าจากทั่วทุกมุมโลก และตอบสนองความต้องการบริโภคสินค้าของพวกเขาได้ โดยการเข้าถึงเครือข่ายการผลิตและการกระจายสินค้าซึ่ง เกิดขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารยุคใหม่ เศรษฐกิจในวันนี้กระจายตัวออกจากศูนย์กลางอํานาจเดิมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นควบคู่กับการกระจายตัวของการบริโภคและการผลิต พวกเราคงสามารถ จินตนาการได้ง่ายๆ ถึงสถานการณ์ที่นักธุรกิจชาวอเมริกันสามารถขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์โดยตรงให้แก่ผู้บริโภคในฝั่งตะวันตกของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยที่นักธุรกิจเหล่านั้นไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปทําธุรกรรมที่นครปักกิ่งหรือเซี่ยงไฮ้ ในทางตรงกันข้าม ผู้ผลิตชาวจีนสามารถขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคในแถบนิวอิงแลนด์และมิดแอตแลนติกของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยไม่ต้องผ่านนครนิวยอร์ก
“เศรษฐกิจเครือข่าย” ได้ส่งเสริมให้ประชาชน ซึ่งประกอบธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่ มีศักยภาพในการผลิตและเข้าถึงลูกค้าได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง พวกเราในฐานะประชาคมโลกต้องให้ความสําคัญเป็นพิเศษแก่การสรรหาวิถีทางให้ประเทศต่างๆ สามารถร่วมลงทุนและร่วมเสี่ยงกับประชาชน เพื่อสร้างแนวร่วมการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
อีกหนึ่งเรื่องเล่านั้นเกี่ยวข้องกับการเกิดใหม่ของถนนสายหนึ่ง ซึ่งไม่มีใครสนใจมานานนับตั้งแต่โปรตุเกสได้ค้นพบ เส้นทางเดินเรือจากทวีปยุโรปสู่เอเชีย โปรตุเกสเคยได้นําเสนอเส้นทางการค้าใหม่ซึ่งสร้างผลกําไรเป็นกอบเป็นกํา จากกิจกรรมการเดินเรือขนสินค้า แม้บางครั้งสินค้าอาจเสียหายไปกว่าครึ่ง แต่ก็ไม่ได้ทําให้ใครขาดทุนจนล้มละลาย เพราะด้วยเหตุที่ว่าอุปสงค์ความต้องการเครื่องเทศในยุคดังกล่าวมีมาก จึงทําให้พ่อค้าเดินเรือสามารถตั้งราคาขายที่สูงลิบได้
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
การขนส่งสินค้าหนักทางเรือเป็นสิ่งที่พวกเราคุ้นชินจนถึงยุคปัจจุบัน ในขณะที่เส้นทางการค้าทางบกจากทวีปเอเชีย ไปยังยุโรปกลับถูกลืมเลือนไปเป็นเวลานาน หากเศรษฐกิจโลกยังคงเจริญรุ่งเรืองเช่นเดียวกับในอดีตที่อ้างว่า หอมหวน คนส่วนใหญ่คงไม่จําเป็นต้องคิดที่จะสรรหาทางเลือกในชีวิต แต่ด้วยเหตุที่สถานการณ์โลกปัจจุบันดูไม่สู้ดี นัก ผมจึงเชื่อว่าแต่ละประเทศควรที่จะพิจารณาถึงทุกๆ ความเป็นไปได้
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ในปัจจุบัน ผมคิดว่ามียุทธศาสตร์ 2 ประการที่มีศักยภาพในการเร่งการเติบโตและยกระดับ “คุณภาพของการ เติบโตทางเศรษฐกิจ” ที่เกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจเครือข่าย ประการที่หนึ่ง คือ ยุทธศาสตร์ “One Belt, One Road” (OBOR) หรือยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมใหม่ที่นําโดยสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการคมนาคมและโลจิสติกส์ระหว่าง 60 ประเทศ ซึ่งมีรายได้ประชาชาติรวมกันคิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 50 ของรายประชาชาติของโลก
และยุทธศาสตร์อีกประการหนึ่ง คือ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership, TPP) ที่นําโดยประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีประเทศเข้าร่วมเป็นสมาชิกแล้ว 12 ประเทศ มีรายได้ประชาชาติรวมกันมากกว่าร้อยละ 40 ของรายได้ประชาชาติของโลก ทั้งนี้ ผมไม่ได้มองว่า ยุทธศาสตร์ทั้งสองเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน แต่เป็นกระบวนการคู่ขนาน ซึ่งเมื่อถึงจุดหนึ่ง จะสร้างผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจร่วมให้แก่ทั้งภูมิภาคเอเชียและโลกตะวันตก
พวกเราคงต้องก้าวข้ามมุมมองแบบเหมารวมที่ว่า สาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเพียงมหาอํานาจทางการเมืองซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ในสภาพความเป็นจริง พัฒนาการในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา น่าจะทําให้พวกเราได้เห็นถึงการพึ่งพากันทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นผู้ถือครองพันบัตรรัฐบาลสหรัฐรายใหญ่ที่สุดคิดเป็นมูลค่า 1.24 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ สหรัฐอเมริกาถือเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีมูลค่าการค้ารวม (Total Trade) ที่ระดับ 5.21 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ การลงทุนโดยตรง (FDI) ของสหรัฐอเมริกาในสาธารณรัฐประชาชนจีนคิดเป็นมูลค่า 6.58 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่การลงทุนโดยตรงของสาธารณรัฐประชาชนจีนในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ระดับมูลค่า 1.19 หมื่นล้าน ดอลลาร์สหรัฐ
เมื่อพิจารณาถึงการพึ่งพากันทางเศรษฐกิจดังกล่าว ผมเชื่อว่าภูมิภาคเอเชีย ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ระหว่างยุทธศาสตร์การ พัฒนาอันสําคัญของสองมหาอํานาจทางเศรษฐกิจ ควรให้ความสําคัญแก่การขยายความร่วมมือเพื่อสร้างผล ประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกับประเทศคู่ค้าต่างๆ ภูมิศาสตร์การเมืองของภูมิภาคเอเชียแห่งศตวรรษที่ 21 ควรเป็น เรื่องของการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความมั่งคั่งให้แก่ประชาชนแบบระหว่างประเทศและระหว่างภูมิภาค
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ผมขออนุญาตเล่าถึงนิทานเรื่องสุดท้ายเกี่ยวกับร้านอาหารไทย ซึ่งไม่ว่าหัวหน้าพ่อครัวจะพร่ำสอนลูกศิษย์ในอุปถัมภ์ของเขาอย่างไร ลูกศิษย์ก็กลับไม่สามารถผสมเครื่องปรุงได้ถูกต้อง ลูกค้าก็ถูกปล่อยปละให้นั่งรอจนหิวและหัวเสีย เมื่อลูกค้ากว่าครึ่งที่ได้รับประทานอาหาร ก็กลับต้องท้องร่วงตามๆ กันไป นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า การเขียนตําราอาหารไว้เป็นลายลักษณ์อักษรให้ถูกต้องเป็นเรื่องสําคัญ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ในขณะที่หลายคนอาจเน้นย้ำถึงลักษณะเฉพาะที่แตกต่างออกไปของประเทศไทยในแง่มุมทางประวัติศาสตร์และทิศทางการพัฒนา ประเทศไทยคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงความท้าทายของโลกในศตวรรษที่ 21 ได้ ตลอดช่วงกว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยได้ถูกเชื่อมโยงเข้ากับเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่อง สัดส่วนมูลค่าการส่งออกต่อรายได้ประชาชาติของประเทศไทยและมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติในประเทศไทยได้แสดงให้พวกเราได้เห็นอย่างชัดเจนถึงทิศทางของเศรษฐกิจไทยที่เชื่อมโยงอย่างแน่นแฟ้นเข้ากับชะตากรรมของเศรษฐกิจโลก
เมื่อพิจารณาถึงบริบทดังกล่าว พวกเราควรพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของประเทศไทยด้วยคําถามง่ายๆที่ว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดนี้จะช่วยส่งเสริมให้ประเทศสามารถเติบโตและแข็งแกร่งได้มากยิ่งขึ้นในภาวะโลกปัจจุบันหรือไม่ หรือกล่าวในอีกแง่หนึ่ง ร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจะสามารถวางโครงสร้างพื้นฐานเชิงสถาบันที่ เพียงพอเพื่อการลงทุน การผลิต การสร้างความร่วมมือ และธุรกิจให้แก่ประเทศไทยได้หรือไม่
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
เมื่อพิจารณาถึงเค้าโครงของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มันคงเป็นไปได้ยากที่จะได้มาซึ่งรัฐบาลที่ตอบสนองต่อความ ต้องการของประชาชนและความท้าทายในศตวรษที่ 21 ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ได้กําหนดให้วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 200 คนซึ่งจะถูกแต่งตั้งโดย “ผู้เชี่ยวชาญ” วุฒิสภาจะมีอํานาจมากยิ่งขึ้นในการยับยั้ง การออกพระราชบัญญัติต่างๆ ศาลรัฐธรรมนูญจะมีขอบเขตอํานาจในการตัดสินคดีที่มากยิ่งขึ้น ศาลรัฐธรรมนูญจะมีอํานาจในการไต่สวนและวินิจฉัยคดี เมื่อมีบุคคลใดก็ตามได้ดําเนินการร้องเรียน โดยไม่ได้มีเงื่อนไขที่ว่ากรณีดังกล่าวต้องเป็นข้อพิพาทจริงที่องค์กรทางการเมืองหรือศาลอื่นได้ดําเนินการยื่นเรื่องแก่ศาลรัฐธรรมนูญ
หากพวกเราคิดว่าหลักการแบ่งแยกอํานาจอธิปไตย คือรากฐานเพื่อการสร้างความเจริญเติบโตและเสถียรภาพของประเทศ หัวข้อสําคัญที่พวกเราต้องพิจารณาคงเป็นเรื่องที่ว่า อํานาจตุลาการจะล่วงล้ำอํานาจนิติบัญญัติและอํานาจบริหารหรือไม่ เพื่อให้รัฐบาลสามารถบริหารเศรษฐกิจของประเทศในยุคที่เศรษฐกิจโลกกําลังชะลอตัว ผมหวังว่า คงจะไม่มีการใช้อํานาจตุลาการที่เกินกว่าความจําเป็นอีกในอนาคต กรณีศึกษาในประเทศต่างๆ ได้แสดงให้พวกเราเห็นว่า การใช้อํานาจพิจารณาทบทวนโดยศาล (Judicial Review) โดยไม่ได้มีการถ่วงดุลและตรวจสอบ อาจกลาย เป็นการใช้อํานาจอย่างไม่เหมาะสมและเป็น “ยุทธวิธีเตะถ่วงงาน” จนสุดท้ายก่อให้เกิดอุปสรรคในการดําเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ผมเชื่อว่ารากฐานของประเทศในการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจและความเจริญรุ่งเรือง คือการสร้างความเชื่อถือในประชาคมโลก รัฐธรรมนูญควรยึดหลักนิติธรรมและปกป้องเสรีภาพในการแสดงออก โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามมาตรฐานขั้นต่ำ เพื่ออํานวนความสะดวกและเกื้อหนุนให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประชาชนใน ประเทศกับประชาคมโลก การค้าและการลงทุนจะไม่สามารถเจริญงอกงามได้ หากไม่มีหลักนิติธรรม เพราะหลักนิติธรรมคือรากฐานของการสร้างความเชื่อมั่น
ในช่วงแห่งความเปลี่ยนแปลงและระยะเปลี่ยนผ่านนี้ ประเทศไทยต้องประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเองเสีย ใหม่ และสรรหาวิถีทางที่สมเหตุสมผลเพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและพลวัตรทางเศรษฐกิจ ผมเพียงแค่นํา เสนอถึงวิธีคิดและพิจารณาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน
ความเป็นไปได้ คือ 在 Feasibility Study คืออะไร ? ต้องดูอะไรบ้าง ทำแล้วดีต่อธุรกิจอย่างไร 的推薦與評價
![影片讀取中](/images/youtube.png)
คอร์ส Restaurant Feasibility Study รุ่นที่ 8 ⚠️ การวิเคราะห์ ความเป็นไปได้ ก่อนเริ่มลงทุนร้านอาหาร แถมฟรี !! คอร์สรายปีมูลค่า 5900. ... <看更多>
ความเป็นไปได้ คือ 在 การวิเคราะห์ความเป็นไปได้เบื้องต้น EP1 (Basic to feasibility ... 的推薦與評價
FeasibilityAnalysis , #การวิเคราะห์ ความเป็นไปได้ , #FeasibilityStudy การวิเคราะห์ ความเป็นไปได้ ถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจ ... ... <看更多>