BMW กับแผนการเป็นเบอร์ 1 ของโลก ในตลาดรถหรูพลังงานไฟฟ้า
BMW X ลงทุนแมน
รถยนต์คันแรกของ BMW เกิดขึ้นเมื่อ 93 ปีก่อน โดยมีชื่อรุ่น BMW 3/15 PS
ซึ่งเวลานั้น สร้างกระแสไปทั่วโลกเมื่อสามารถชนะการแข่งขันรายการ Alpine Rally
ตั้งแต่ ณ วันนั้น BMW ก็พัฒนาทั้งดีไซน์รถที่สวยหรูและเทคโนโลยีที่ถูกอัปเกรดขึ้นเรื่อย ๆ
จนกลายเป็นแบรนด์รถยนต์ระดับ Luxury แถวหน้าของโลก
ด้วยยอดขายปีละมากกว่า 2 ล้านคัน
สิ่งที่น่าสนใจคือความสำเร็จ ณ วันนี้ BMW กลับไม่ได้นิ่งเฉย
เมื่อเป้าหมายล่าสุดของ BMW ในอนาคตอันใกล้
คือต้องการเป็นผู้นำระดับโลกในตลาดรถหรูพลังงานไฟฟ้า
รู้หรือไม่ว่า ภายในปี พ.ศ. 2568 หรืออีก 4 ปีข้างหน้า
BMW จะมีรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 25 รุ่น โดยมีถึง 12 รุ่น ที่เป็น EV Car
ส่วนที่เหลือก็จะเป็นรถกลุ่ม Hybrid ประเภทต่าง ๆ
ยิ่งหากเจาะลึกเรื่องนี้ลงไปอีกจะพบว่า โรงงานผลิตของ BMW ใน 15 ประเทศทั่วโลก
ได้เปลี่ยนการใช้พลังงานไฟฟ้าในโรงงานที่มาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน 100%
จนถึงกระบวนการผลิตรถต่าง ๆ ก็เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต
ทำไม BMW ถึงให้ความสำคัญและจริงจังกับเรื่องเหล่านี้
และหากทำสำเร็จตามแผน BMW จะได้ประโยชน์อะไรบ้าง
ลงทุนแมนจะวิเคราะห์ให้ฟัง
องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก คาดการณ์ว่าในปี 2050
หากโลกยังคงมีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อย ๆ อาจต้องเผชิญสารพัดวิกฤติ
เช่น หลายเมืองอาจเกิดน้ำท่วมรุนแรง, ผลผลิตทางการเกษตรทั่วโลกตกต่ำ
แล้วหนึ่งผู้ก่อการร้ายที่ทำให้โลกร้อนก็คือ รถที่วิ่งบนท้องถนนทั่วโลก
ที่ปล่อยก๊าซ CO2 ในแต่ละปีกันอย่างมหาศาล
เรื่องที่เกิดขึ้นทำให้ภาครัฐและค่ายผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกไม่ได้นิ่งนอนใจ
เพราะต่างรู้ดีว่า หากโลกถูกทำร้ายจนวันหนึ่งทนไม่ไหว
มลพิษต่าง ๆ ที่สะสมมายาวนาน ก็จะระเบิดออกมา
แน่นอนว่า มนุษย์ทุกคนจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง
ทำให้ค่ายผู้ผลิตรถยนต์ต่างเดินหน้ามุ่งไปสู่รถยนต์พลังงานไฟฟ้า
เพราะนี่คือยนตรกรรมไร้ควันพิษ พร้อมทั้งรัฐบาลในแต่ละประเทศก็สนับสนุนเรื่องนี้จริงจัง
BMW ก็เชื่อว่า หากเริ่มสตาร์ตไปที่เทรนด์รถพลังงานไฟฟ้าเร็วกว่าคนอื่น ๆ
โอกาสที่จะยืนเป็นเบอร์หนึ่งในอุตสาหกรรมรถหรูในอนาคตก็ไม่ใช่เรื่องยาก
เหตุผลก็เพราะเมื่อถึงวันที่ท้องถนนทั่วโลกพร้อมใจไปสู่รถพลังงานไฟฟ้า
BMW ก็จะมีเทคโนโลยีที่เหนือกว่า, ฐานลูกค้าที่มากกว่า และแบรนด์ที่คนทั่วโลกเชื่อมั่น
รู้หรือไม่ว่า จริง ๆ แล้ว BMW เริ่มต้นพัฒนาเทคโนโลยีรถไฟฟ้าตั้งแต่เมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว
โดยมีชื่อว่า BMW 1602e ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อทดลองไม่ได้จำหน่ายในตลาด
มาถึงในปี พ.ศ. 2551 หรือเมื่อ 13 ปีที่แล้ว
BMW เริ่มหันมาจริงจังกับการผลิตรถพลังงานไฟฟ้าภายใต้ชื่อ “Project i”
ซึ่งก็ผลิตรถออกมาหลายรุ่น พร้อมกับได้เสียงตอบรับที่ดี
จนปัจจุบันไอคอน i กลายเป็นจุดขายของ BMW ถึงการเป็นรถแห่งอนาคตไปแล้ว
ยกตัวอย่าง รุ่นที่เพิ่งเปิดจองในเมืองไทยเมื่อกลางปีที่ผ่านมา
BMW iX3 รถอเนกประสงค์ขับเคลื่อนไฟฟ้า 100%
ซึ่งนอกจากระบบชาร์จไฟฟ้าที่รวดเร็วแค่ 34 นาทีก็ชาร์จได้ถึง 80%
และหากเราชาร์จเต็ม 1 ครั้ง รถ iX3 คันนี้สามารถวิ่งได้ไกลถึง 460 กิโลเมตร
ทำความเร็วสูงสุด 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเลยทีเดียว
หรืออีกหนึ่งรุ่นที่สร้างกระแสให้ BMW โด่งดังไปทั่วโลก
และยังเป็นรถที่ใครหลาย ๆ คนรอให้มาเปิดขายในไทยอย่างเป็นทางการนั่นคือ BMW i4
เพราะนี่คือ Gran Coupé รุ่นแรกที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100%
และหากชาร์จเต็ม 1 ครั้งรถรุ่นนี้สามารถวิ่งได้ไกลถึง 600 กิโลเมตร
พร้อมกับทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 225 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
แต่ที่น่าทึ่งก็คืออัตราเร่งจาก 0 ถึง 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเพียงแค่ 4 วินาที
ส่วนเรื่องดีไซน์การออกแบบทั้งภายนอกและภายใน เรื่องนี้ไว้ใจ BMW ได้
เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมาดีไซน์การออกแบบรถยนต์ BMW ถือว่ายืนระดับต้น ๆ ของโลก
รถตระกูล i ก็เช่นกันที่มาพร้อมสไตล์เรียบหรูแต่แฝงไปด้วยการเป็นรถของคนรุ่นใหม่
อย่างที่เกริ่นไว้ข้างต้นว่า แผนของ BMW ไม่ใช่แค่การมุ่งไปสู่ตลาดรถไฟฟ้าอย่างเดียว
แต่ยังรวมไปถึงโรงงานและกระบวนการผลิต
ทีนี้หลายคนคงถามว่าเพราะอะไร ?
หลายคนอาจยังไม่รู้ แม้รถไฟฟ้าจะช่วยลดการปล่อยก๊าซ CO2 เวลาวิ่งอยู่บนถนน
แต่ในอีกมุมหนึ่ง กระบวนการผลิตอลูมิเนียมและเซลล์แบตเตอรี่ของรถไฟฟ้า
กลับมีแนวโน้มจะปล่อยก๊าซคาร์บอนมากกว่ากระบวนการผลิตรถเครื่องยนต์สันดาป
และเพื่อแก้ปัญหานี้ ภายในปี พ.ศ. 2573
BMW จึงมีนโยบายลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 80% ในการผลิตรถแต่ละคัน
พร้อมมุ่งเป้าที่จะลด carbon footprint ใน supply chain ให้ได้ 20%
การจะทำเรื่องนี้ให้เป็นจริงได้ นอกจากระบบบริหารสภาพแวดล้อมในโรงงาน
ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาด 100% แล้วนั้น
แนวคิดรีไซเคิลก็ยังถูกนำมาใช้ อีกด้วย
ใครจะคิดว่า 99% ของเสียจากการผลิตรถยนต์ 2.5 ล้านคันในแต่ละปี
BMW จะใช้เทคโนโลยีรีไซเคิลชั้นสูงเพื่อฟื้นคืนสภาพให้ไม่ต่างจากของใหม่
และวิธีนี้ก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่ามากหากเทียบกับต้องผลิตชิ้นส่วนใหม่
ที่น่าสนใจหากนำโรงงานผลิตรถยนต์ของ BMW มาเทียบกับค่ายรถยนต์อื่น ๆ
ที่ผลิตในประเทศเยอรมนีผลปรากฏว่า BMW ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ในการผลิตต่ำกว่าโรงงานอื่น ๆ
ส่วนในประเทศไทยเรา ก็มีความเป็นไปได้สูง
ที่ในอนาคตข้างหน้า BMW จะผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า
เพราะเมื่อเร็ว ๆ นี้ ก็ได้ลงทุนสร้างโรงงานประกอบแบตเตอรี่แรงดันสูง
ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
หลายคนอาจตั้งคำถาม ทำไม BMW ถึงต้องลงทุนกับเรื่องเหล่านี้ด้วยเงินมหาศาล
เชื่อว่า BMW น่าจะรู้ดีว่าในอนาคตอันใกล้โลกของยนตรกรรม
ต้องเปลี่ยนถ่ายจากรถเครื่องยนต์สันดาปมาสู่รถพลังงานไฟฟ้า
หากเริ่มต้นเร็วกว่าคนอื่น ก็จะได้เปรียบในทุกมิติการแข่งขัน
และในขณะเดียวกัน BMW มีความเชื่อที่ว่า
สิ่งแวดล้อม สังคม ธุรกิจของตัวเอง ทุกอย่างมันต้องเติบโตไปพร้อม ๆ กัน..
References:
-https://www.press.bmwgroup.com/global/article/detail/T0342172EN/the-bmw-group-emphas:izes-its-consistent-focus-on-sustainability-at-the-2021-iaa-mobility:-more-stringent-co2-targe:ts-go-hand-in-hand-with-concrete-measures-and-concepts-for-implementation
-https://www.bmw.co.th/th/topics/fascination-bmw/electromobility/sustainability.html
-https://www.bmw.co.th/th/topics/fascination-bmw/all-news/2019/21-06-19-bmw-the-future-of-mobility.html
-https://car.kapook.com/view115047.html
-https://www.greenpeace.org/thailand/story/1729/1-5degrees/
-https://www.bmw.co.th/th/topics/fascination-bmw/all-news/2019/21-06-19-bmw-the-future-of-mobility.html
ตั้งแต่ วันนั้น 在 Facebook 的精選貼文
ร่วมอาลัย “อุไรวรรณ” พยาบาล รพ.สมุทรสาคร ที่เสียชีวิตจากโควิด
และร่วมเป็นกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์ รพ.สมุทรสาคร ครับ 🙏
“ช่วงนี้เรามีบุคลากรทางการแพทย์ของ รพ.สมุทรสาคร เริ่มติดเชื้อจำนวนมากขึ้น ตั้งแต่ 15 มิ.ย. 2564 ถึงปัจจุบันประมาณ 200 กว่าราย ส่วนใหญ่ไม่มีอาการรุนแรง มีอาการปอดอักแสบ 4-5 ท่าน มีน้องอุไรวรรณ ที่มีอาการรุนแรงมากที่สุด”
#ร่วมแรงร่วมใจฝ่ามหันตภัยโควิด
นพ.อนุกูล ไทยถานันดร์ ผอ.รพ.สมุทรสาคร เปิดเผยว่า น.ส.อุไรวรรณ จันทปลิน พยาบาลวิชาชีพ ด้านการพยาบาลระดับ ชำนาญการ เกิดวันที่ 19 สิงหาคม 2518 อายุ 45 ปี 11 เดือน จะครบวันเกิดในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ โดยน.ส.อุไรวรรณ ปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่ตึกอายุรกรรมชาย 1 บรรจุเข้าทำงานครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2541 ที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร
น.ส.อุไรวรรณ เริ่มมีอาการป่วย เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2564 ด้วยอาการมีไข้ ไอ เจ็บคอ จึงเข้ารับการตรวจหาเชื้อที่รพ.สมุทรสาคร ทราบผลเป็นบวก (ติดเชื้อ) ในวันที่ 26 ก.ค. 2564 จากนั้นนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ 27 ก.ค. 2564 ส่วนการที่ผู้เสียชีวิตมาเข้ารับการรักษาตัวช้าไป 1 วันนั้น เนื่องจากต้องดูแลแม่และหลาน ที่ต่อมาพบว่า “ติดเชื้อ” ด้วย และขณะนี้ ทั้งคู่ก็ยังพักรักษาตัวอยู่ที่รพ.สมุทรสาคร
เมื่อเข้ารับการรักษาตัว น.ส.อุไรวรรณ มีอาการเหนื่อยมากขึ้น ต้องให้ออกซิเจน ก่อนจะเข้าสู่ห้องไอซียู จนเมื่อวันศุกร์ที่ 30 ก.ค. 2564 ถูกตัวไปที่รพ.ราชวิถี แล้วเสียชีวิตอย่างสงบเมื่อเวลา 21.00 น.ของวันที่ 1 ส.ค. 2564
นพ.อนุกูล กล่าวว่า พยาบาลที่เสียชีวิตรายนี้ ได้เข้ารับการฉีดวัคซีนซิโนแวคเข็มแรก เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2564 ก่อนที่จะตรวจพบเชื้อไม่ถึง 1 สัปดาห์ จึงยังไม่มีภูมิคุ้มกัน ส่วนสาเหตุที่เพิ่งเข้ารับการฉีดวัคซีน อาจจะด้วยช่วงแรก ผู้เสียชีวิตน่าจะกลัวเรื่องผลข้างเคียงจากน้ำหนักตัวที่มากพอสมควร เลยยังไม่กล้าฉีด แต่เมื่อสถานการณ์เริ่มรุนแรงขึ้นก็เลยตัดสินใจฉีดวัคซีน ซึ่งเมื่อฉีดวัคซีนไปแล้ว อาการต่างๆ เป็นปกติดี จนกระทั่งมาตรวจพบเชื้อโควิด 19 แล้วเสียชีวิตลงในที่สุด
น.ส.อุไรวรรณ ถือเป็นบุคลากรทางการแพทย์รายแรกของ รพ.สมุทรสาคร ที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด -19
“ช่วงนี้เรามีบุคลากรทางการแพทย์ของ รพ.สมุทรสาคร เริ่มติดเชื้อจำนวนมากขึ้น ตั้งแต่ 15 มิ.ย. 2564 ถึงปัจจุบันประมาณ 200 กว่าราย ส่วนใหญ่ไม่มีอาการรุนแรง มีอาการปอดอักแสบ 4-5 ท่าน มีน้องอุไรวรรณ ที่มีอาการรุนแรงมากที่สุด”
“พวกเราต้องขอบคุณน้องอุไรวรรณ และครอบครัว ที่สร้างบุคลากรที่เข้มแข็ง ซึ่งน้องอุไรวรรณเป็นคนอัธยาศัยดีมาก เจอใครก็ยิ้มแย้มแจ่มใส ตั้งใจทำงาน เพื่อนร่วมงานทุกคนรัก คิดว่าสิ่งที่น้องๆ ทำให้พวกเรา จะเป็นสิ่งที่พวกเราจะจำไว้ตลอด ตัองขอบคุณแทนคนสมุทรสาครด้วย” นพ.อนุกูล กล่าว
น.ส.กิติมา ลิ้มประเสริฐ รองผอ.ฝ่ายการพยาบาล กล่าวว่า น.ส.อุไรวรรณ เป็นบุคลากรตัวอย่างที่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่อย่างดีเยี่ยม มีอัธยาศัยดี ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นที่รักของทุกคน ซึ่งการเสียชีวิตของน้อง แม้จะสร้างความเสียใจให้กับทุกคน แต่ก็ไม่ได้ทำให้ทุกคนยอมแพ้กับโรคนี้ “ยิ่งอะไรที่มันคือปัญหาต่อการทำงาน พวกเรายิ่งต้องฝ่าฟันไปให้ได้ แม้จะยากเย็นแสนเข็ญเพียงใด เพราะวันนี้หากเราท้อเราก็จะไม่สามารถเอาชนะโรคโควิด 19 นี้ไปได้”
ตั้งแต่ วันนั้น 在 Drama-addict Facebook 的最佳解答
วันนี้ ( 2 ส.ค.64 ) นพ.อนุกูล ไทยถานันดร์ ผอ.โรงพยาบาลสมุทรสาคร เผยถึงความสูญเสียบุคลากรทางการแพทย์ว่า น.ส.อุไรวรรณ จันทรปลิน ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ (ด้านการพยาบาล) ระดับ ชำนาญการ วัย 45 ปี ปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่ตึกอายุรกรรมชาย เริ่มมีอาการป่วย เมื่อวันที่ 25 ก.ค.64 ด้วยอาการไข้ ไอ เจ็บคอ จึงเข้ารับการตรวจหาเชื้อที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร ทราบผลเป็นบวก (ติดเชื้อ) ในวันที่ 26 ก.ค.64 จากนั้นได้เข้ารับรักษาตัวโรงพยาบาล วันที่ 27 ก.ค.64 ซึ่งการเข้ารับการรักษาตัวช้าไป 1 วันนั้น เนื่องจากต้องดูแลมารดาและหลาน ที่ต่อมาพบว่าติดเชื้อด้วย และขณะนี้ยังพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร
สำหรับ น.ส.อุไรวรรณเมื่อเข้ารับการรักษา ก็มีอาการเหนื่อยมากขึ้น ต้องให้ออกซิเจน ก่อนที่จะเข้าสู่ห้องไอซียู จนเมื่อวันที่ 30 ก.ค.64 ได้ส่งตัวไปที่โรงพยาบาลราชวิถี แล้วก็เสียชีวิตลงอย่างสงบเมื่อเวลา 21.00 น.ของวันที่ 1 ส.ค.64
นพ.อนุกูล บอกด้วยว่า น้องพยาบาลที่เสียชีวิตคนนี้ ได้เข้ารับการฉีดวัคซีนซิโนแวคเข็มแรก เมื่อวันที่ 20 ก.ค.64 ก่อนตรวจพบเชื้อไม่ถึง 1 สัปดาห์ จึงยังไม่มีภูมิคุ้มกัน จึงถือเป็นบุคลากรทางการแพทย์คนแรก ของ รพ.สมุทรสาครที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 และขณะนี้โรงพยาบาลสมุทรสาครเริ่มมีบุคลากรติดเชื้อมากขึ้น ตั้งแต่ 15 มิ.ย.64 ติดเชื้อแล้วประมาณ 200 คน ส่วนใหญ่ไม่มีอาการรุนแรง
ขณะที่ น.ส.กิติมา ลิ้มประเสริฐ รองผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาล บอกว่า น.ส.อุไรวรรณ เป็นบุคลากรตัวอย่างที่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่อย่างดีเยี่ยม มีอัธยาศัยดี ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นที่รักของทุกคน ซึ่งการเสียชีวิตของน้อง แม้จะสร้างความเสียใจให้กับทุกคน แต่ก็ไม่ได้ทำให้ทุกคนยอมแพ้กับโรคนี้ ยิ่งอะไรที่มันคือปัญหาต่อการทำงาน พวกเรายิ่งต้องฝ่าฟันไปให้ได้ แม้จะยากเย็นแสนเข็ญเพียงใด เพราะวันนี้หากเราท้อเราก็จะไม่สามารถเอาชนะโรคโควิดได้
https://news.ch7.com/detail/504598