#หุ้นIPO #CV #พลังงานหมุนเวียน
ธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นธุรกิจที่จำเป็นสำหรับผู้คนและใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเมกะเทรนด์ด้านพลังงานทั่วโลกในปัจจุบัน จะเน้นไปที่โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ชีวมวล ขยะ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม
CV หรือ บมจ. โคลเวอร์ เพาเวอร์ ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ให้บริการด้านวิศวกรรม และดำเนินธุรกิจอื่นที่สนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับพลังงานหมุนเวียนแบบครบวงจร ด้วยประสบการณ์กว่า 15 ปี ปัจจุบัน CV มีโรงไฟฟ้าชีวมวล 3 แห่งและโรงไฟฟ้าขยะ 1 แห่ง
สนใจลงทุนไปศึกษาธุรกิจกัน :)
--------------------------
Disclaimer : การ์ตูนตอนนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ในธุรกิจเท่านั้น ผู้จัดทำมิได้ให้ข้อมูลเรื่องมูลค่าหลักทรัพย์และช่วงเวลาที่เหมาะสมในการลงทุนแต่ประการใด ผู้จัดทำมิได้ให้คำแนะนำในการเสนอซื้อหรือขาย หรือส่งเสริมให้มีการซื้อขายหลักทรัพย์ รวมทั้งการซื้อขายกับผู้จัดทำ ข้อมูลที่ปรากฏในการ์ตูนนำมาจากงบการเงินและเว็บไซต์ของบริษัทที่เผยแพร่ต่อสาธารณชนแล้วทั้งสิ้น การลงทุนมีความเสี่ยง ราคาหลักทรัพย์เมื่อซื้อขายในตลาดรองเป็นไปตามอุปสงค์และอุปทานของตลาดฯ ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม คำนวณราคาหลักทรัพย์และช่วงเวลาที่เหมาะสมในการลงทุนด้วยตนเองก่อนการตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
同時也有5部Youtube影片,追蹤數超過100萬的網紅LDA World,也在其Youtube影片中提到,ยุคเปลี่ยนผ่านของพลังงานกำลังเริ่มขึ้น เมื่อน้ำมันกำลังจะถูกแทนที่… . เมื่อประชากรโลกเพิ่มขึ้น หลายอย่างเติบโตขึ้น เป็นธรรมดาที่ความต้องการจะเพิ่มมากข...
「พลังงานหมุนเวียน」的推薦目錄:
- 關於พลังงานหมุนเวียน 在 Mao-Investor Facebook 的最讚貼文
- 關於พลังงานหมุนเวียน 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於พลังงานหมุนเวียน 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於พลังงานหมุนเวียน 在 LDA World Youtube 的最佳解答
- 關於พลังงานหมุนเวียน 在 ลงทุนแมน Youtube 的最佳貼文
- 關於พลังงานหมุนเวียน 在 ณัชชา พุฒ พร้อม เภา Youtube 的最讚貼文
- 關於พลังงานหมุนเวียน 在 พลังงานหมุนเวียน ความหวังพลังงานไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 的評價
- 關於พลังงานหมุนเวียน 在 5 เหตุผล ทำไมพลังงานหมุนเวียนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่ออนาคต 的評價
- 關於พลังงานหมุนเวียน 在 พลังงานหมุนเวียน - PTT energy world 的評價
- 關於พลังงานหมุนเวียน 在 กฟผ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย - พลังงานหมุนเวียน ที่สุด ... 的評價
พลังงานหมุนเวียน 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
กรณีศึกษา คนอุรุกวัย รวยสุดในอเมริกาใต้ /โดย ลงทุนแมน
หากเอ่ยถึง “ทวีปอเมริกาใต้”..
เราคงเคยได้รับรู้ถึงเรื่องราวความถดถอยทางเศรษฐกิจตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา
ของหลายประเทศในทวีปแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็น เวเนซุเอลา อาร์เจนตินา บราซิล
เอกวาดอร์ หรือเปรู
แต่ในทวีปแห่งนี้ ก็ยังมีอยู่ประเทศหนึ่ง ที่เศรษฐกิจเติบโตสวนทางกับประเทศอื่น
ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา นั่นคือ “อุรุกวัย”
ในปี 2019 ชาวอุรุกวัยมี GDP ต่อหัวสูงที่สุดในอเมริกาใต้
ถึงแม้จะเจอวิกฤติโควิดในปี 2020 แต่เศรษฐกิจของอุรุกวัยก็หดตัวเกือบจะน้อยที่สุด
อะไรที่ทำให้อุรุกวัยมีเส้นทางเดินที่แตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้านในทวีปเดียวกัน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 17
อุรุกวัย มีจุดเริ่มต้นจากการเป็น “พื้นที่กันชน” ของมหาอำนาจยุโรปที่เข้ามาล่าอาณานิคม
ในทวีปอเมริกาใต้ คือ สเปนกับโปรตุเกส
สเปนซึ่งครอบครองดินแดนอาร์เจนตินา ได้ขยายพื้นที่มายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ
รีโอเดลาปลาตา และสร้างเมือง “มอนเตวิเดโอ” ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ ให้เป็นเมืองท่าคู่กับเมืองบัวโนสไอเรส ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกัน
เช่นเดียวกับโปรตุเกส ที่ได้ขยายดินแดนลงมาจากบราซิล และได้สร้างเมือง
“โคโลเนีย เดล ซาคราเมนโต” ให้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเดียวกัน ไม่ไกลจากมอนเตวิเดโอ
เมื่อต่างฝ่ายต่างขยายดินแดนมาเรื่อย ๆ ทั้ง 2 มหาอำนาจก็ปะทะกันในที่สุด
จนสุดท้าย ดินแดนอุรุกวัยก็ตกเป็นของสเปน และถูกนำไปปกครองรวมกับอาร์เจนตินา
โดยใช้ชื่อว่า “เขตอุปราชแห่งรีโอเดลาปลาตา”
สเปนครอบครองดินแดนแห่งนี้ เพราะหวังจะพบแร่เงิน
แต่เมื่อไม่พบ ทำให้ไม่ค่อยได้รับความใส่ใจ
จนเมื่ออำนาจของสเปนอ่อนแอลง อาร์เจนตินาจึงประกาศเอกราชจากสเปน
แต่ท้ายที่สุดก็เสียดินแดนอุรุกวัยไปให้กับโปรตุเกส
หลังจากถูกรวมกับอาร์เจนตินา
คราวนี้อุรุกวัยถูกนำไปรวมกับบราซิลของโปรตุเกส..
จนเมื่อโปรตุเกสอ่อนแอลง และบราซิลประกาศเอกราช
อุรุกวัยจึงประกาศแยกตัวจากบราซิล และก่อตั้งประเทศในปี 1828
โดยมีกรุงมอนเตวิเดโอ เมืองท่าสำคัญเป็นเมืองหลวงของประเทศ
ถึงแม้ว่าอุรุกวัยจะไม่มีทรัพยากรแร่ธาตุต่าง ๆ เหมือนกับที่อื่นในอเมริกาใต้
แต่ดินแดนแห่งนี้ ก็ตั้งอยู่บนที่ราบปัมปัส ซึ่งเป็นที่ราบที่มีความอุดมสมบูรณ์
มีทุ่งหญ้าเหมาะแก่การเลี้ยงวัวและแกะ เนื้อวัวและขนแกะจึงกลายเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ
ด้วยความที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ราว 176,000 ตารางกิโลเมตร
แต่กลับมีประชากรเริ่มต้นไม่กี่แสนคน
ชาวอุรุกวัยจึงมีฐานะดี เพราะตลาดยุโรปต้องการผลผลิตจากวัวและแกะเป็นจำนวนมาก
แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงราว 70 ปีหลังการได้รับเอกราช อุรุกวัยกลับเต็มไปด้วยปัญหา
ทั้งปัญหาคอร์รัปชัน และความเหลื่อมล้ำของผู้คนในสังคม
เกิดการแย่งชิงอำนาจระหว่าง 2 พรรคการเมืองใหญ่ คือ พรรคเสรีนิยมกับพรรคอนุรักษนิยม
จนก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองอยู่หลายครั้ง
ผลจากสงครามกลางเมืองที่กินระยะเวลาหลายปี เศรษฐกิจของอุรุกวัยจึงเข้าสู่ภาวะถดถอย
จนกระทั่งเวลาผ่านมาถึงปี 1903 เมื่อ José Batlle y Ordóñez ได้เป็นประธานาธิบดีของอุรุกวัย
บุคคลผู้นี้คือรัฐบุรุษของอุรุกวัย ที่ปฏิรูปสังคมและการเมือง ให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น โดยเน้นถึงการมีเสรีภาพของคนภายในชาติ และความเท่าเทียมของคนในสังคม โดยไม่สนว่าคนนั้นจะเป็นเพศอะไร หรือจะเป็นชนกลุ่มน้อยหรือไม่
และเป็นคนแรกที่ได้นำรัฐสวัสดิการมาใช้ในภูมิภาคแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นระบบการศึกษาและสาธารณสุข ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ รวมถึงมีการนำกฎหมายแรงงานมาใช้ เพื่อไม่ให้ถูกนายจ้างเอาเปรียบ ทั้งระบบประกันสังคมและบำนาญ จึงทำให้ชาวอุรุกวัย มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความเหลื่อมล้ำน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน
เมื่อรวมกับการส่งออกเนื้อวัวที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20
ชาวอุรุกวัยจึงมีฐานะมั่งคั่ง มีคุณภาพชีวิตที่ดี จนได้รับฉายาว่าเป็น
“สวิตเซอร์แลนด์แห่งอเมริกาใต้”
ดึงดูดผู้อพยพชาวยุโรป โดยเฉพาะชาวอิตาลีให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานหลายแสนคน
โดยเฉพาะเมืองหลวงกรุงมอนเตวิเดโอ ที่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไว้อย่างครบครัน
ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง ระบบขนส่งสาธารณะอย่างรถไฟ โรงพยาบาล โรงเรียน และสนามกีฬา
เมื่อมีการจัดแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรก ในปี 1930 ในเวลานั้น หลายชาติในยุโรปกำลังวุ่นวายอยู่กับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
ด้วยความพร้อมที่มี กรุงมอนเตวิเดโอของอุรุกวัย จึงได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ซึ่งในปีนั้นฟุตบอลทีมชาติอุรุกวัย ก็สามารถคว้าชัยชนะได้อีกด้วย
นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้อุรุกวัยเป็นชาติแรกของโลก ที่เป็นทั้งเจ้าภาพจัดการแข่งขัน และเป็นแชมป์ฟุตบอลโลก
แต่สวัสดิการที่ดีเยี่ยมของอุรุกวัยก็นำปัญหามาสู่ประเทศ เมื่อเศรษฐกิจโลกเริ่มเข้าสู่ภาวะตกต่ำครั้งใหญ่ หรือ “Great Depression” ในช่วงทศวรรษ 1930s..
ความต้องการเนื้อสัตว์และขนสัตว์ของยุโรปลดลงอย่างมาก ทำให้อุรุกวัยขาดแคลนรายได้ รัฐบาลที่เต็มไปด้วยการคอร์รัปชัน ไม่มีรายได้เพียงพอสำหรับจ่ายเป็นค่าสวัสดิการต่าง ๆ
เกิดการกู้หนี้ยืมสินจากต่างประเทศ และแก้ปัญหาด้วยการพิมพ์ธนบัตรที่นำมาสู่ปัญหาเงินเฟ้อ
ความล้มเหลวทางเศรษฐกิจทำให้ประชาชนจำนวนมากออกมาประท้วง สังคมอุรุกวัยเข้าสู่ความตกต่ำ ความขัดแย้งในสังคมทำให้มีขบวนการก่อการร้ายเกิดขึ้นในเมืองหลวง ทั้งฆ่าและลักพาตัวชาวอุรุกวัยและชาวต่างชาติ เมื่อรัฐบาลพลเรือนประสบความล้มเหลวในการควบคุม
ทหารก็ทำการยึดอำนาจหลายต่อหลายครั้ง
ปี 1973 อุรุกวัยเข้าสู่ยุคเผด็จการทหารที่ยาวนานถึง 12 ปี..
รัฐบาลเผด็จการได้กวาดล้างปราบปรามขบวนการก่อการร้าย และศัตรูทางการเมืองอย่างรุนแรง จนทำให้คุกของอุรุกวัยเต็มไปด้วยนักโทษการเมืองมากมาย
จากฉายา “สวิตเซอร์แลนด์แห่งอเมริกาใต้”
ต้องถูกเปลี่ยนเป็น “ห้องโถงแห่งการทรมานของลาตินอเมริกา”
หลังจากทหารปกครองประเทศอยู่ 12 ปี ในที่สุดชาวอุรุกวัยก็ได้มีการเลือกตั้งอีกครั้ง
จนประเทศได้กลับเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย และได้พัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเต็มตัว
แต่สิ่งที่รัฐบาลเผด็จการได้ทิ้งไว้ให้ คือปัญหาคอร์รัปชันที่หนักกว่าเดิม..
จนกระทั่งในปี 2004 กลุ่มพรรคการเมืองหลายพรรคที่มีอุดมการณ์สังคมนิยม
สามารถคว้าเสียงข้างมากในสภาไว้ได้ และได้เสนอให้ Tabaré Vázquez เป็นประธานาธิบดี
รัฐบาลของ Tabaré Vázquez ได้เล็งเห็นแล้วว่า สิ่งที่กัดกร่อนความก้าวหน้าของอุรุกวัย
มาตลอดหลายร้อยปี ก็คือ “การคอร์รัปชัน”
นับเป็นจุดเริ่มต้นของการปราบปรามทุจริตคอร์รัปชันอย่างจริงจังของอุรุกวัย
ในปี 2008 รัฐบาลได้ออกกฎหมายเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของรัฐ หรือ Freedom Open Information Act (FOIA) ซึ่งสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ คือ ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการที่จะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดิน
ควบคู่ไปกับการออกกฎหมายต่อต้านการคอร์รัปชัน ซึ่งรวมไปถึงการฟอกเงิน
ใครก็ตามที่ทำผิดกฎหมายนี้จะต้องถูกดำเนินคดีอาญา
กฎหมายทั้งสอง คือจุดเปลี่ยนสำคัญของการบริหารประเทศ
เมื่อการเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐสู่สาธารณชน ทำให้เกิดการตรวจสอบได้
เมื่อพบความผิดปกติ ผู้กระทำผิดก็ต้องรับผิดชอบด้วยการรับโทษตามกฎหมาย
ความโปร่งใสของอุรุกวัยจึงเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด..
ในปี 1999 อุรุกวัยมีดัชนีความโปร่งใสอยู่ที่ 44 ไม่แตกต่างกับประเทศส่วนใหญ่ในอเมริกาใต้
ระยะเวลาเพียง 10 ปี
ในปี 2009 อุรุกวัยมีดัชนีความโปร่งใสอยู่ที่ 69 ซึ่งทำให้อุรุกวัยเป็นประเทศที่มีดัชนีนี้สูงที่สุดในภูมิภาค
เมื่อความโปร่งใสเพิ่มมากขึ้น รัฐบาลก็ทุ่มเทไปกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ทั้งการรักษาวินัยทางการคลัง ลอยตัวค่าเงิน ควบคุมอัตราเงินเฟ้อ และแก้ปัญหาการว่างงาน
เวลาผ่านมาจนกระทั่ง José Mujica ขึ้นเป็นประธานาธิบดีในปี 2010
เขาก็ได้สานต่อเจตนาของพรรค ที่เน้นความโปร่งใสทางการเมือง คุณภาพชีวิตของคนในชาติ ความปลอดภัย และแก้ปัญหาความยากจน
ซึ่งในขณะที่ José Mujica ดำรงตำแหน่ง ได้รับฉายาว่าเป็นประธานาธิบดีที่จนที่สุดในโลก
เพราะเขาบริจาคเงินมากกว่า 90% ให้กับองค์กรการกุศลต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้เป็นประจำ
แล้วเศรษฐกิจของประเทศนี้ เป็นอย่างไรบ้าง ?
สินค้าส่งออกส่วนใหญ่ของอุรุกวัย จะมีความคล้ายคลึงกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างอาร์เจนตินา
คือ เนื้อวัว อุรุกวัยเป็นประเทศที่ส่งออกเนื้อวัวได้เป็นอันดับ 10 ของโลก
นอกจากเนื้อวัว ยังมีผลิตภัณฑ์นม ถั่วเหลือง ขนแกะ และธัญพืช ซึ่งสินค้าจากภาคเกษตรกรรมเหล่านี้ คิดเป็นสัดส่วน 50% ของการส่งออกสินค้าและบริการทั้งหมดของอุรุกวัย
นอกเหนือจากภาคการเกษตรแล้ว ยังมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่สร้างเม็ดเงินให้กับอุรุกวัย โดยในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 อุรุกวัยมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศมากถึง 3.5 ล้านคน ซึ่งใกล้เคียงกับจำนวนประชากรอุรุกวัยที่ 3.5 ล้านคน
สร้างเม็ดเงินให้ประเทศได้ราว 65,000 ล้านบาท
แต่อุรุกวัย เป็นประเทศที่ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอย่างก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมัน
ทำให้ต้องนำเข้าพลังงานมาจากอาร์เจนตินาเป็นจำนวนมาก
อุรุกวัยจึงขาดดุลกับประเทศเพื่อนบ้านมาเป็นเวลานาน
ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้ทางรัฐบาลอุรุกวัย ได้วางแผนที่จะหาทางออกในการลดค่าใช้จ่าย
ในการนำเข้าพลังงาน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ซึ่งทางออกที่ว่านั่นก็คือ การลงทุนใน “พลังงานหมุนเวียน”
ถึงแม้อุรุกวัยจะมีแหล่งน้ำที่เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าอยู่ประมาณ 50% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด
แต่ก็ต้องหาทางกระจายไปสู่แหล่งพลังงานอื่น เพื่อจะได้กักเก็บน้ำไว้สำหรับภาคการเกษตร
ในช่วงหน้าแล้ง โดยไม่ต้องนำมาผลิตไฟฟ้าทั้งหมด
ภาครัฐและภาคเอกชนจึงเน้นการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนอื่น ๆ โดยเฉพาะพลังงานลม
ซึ่งค่อย ๆ เพิ่มสัดส่วน จนเป็นเกือบ 40% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด
ปัจจุบัน อุรุกวัยสามารถผลิตพลังงานหมุนเวียนที่เป็นพลังงานสะอาดได้เกือบ 100%
ซึ่งนอกจากจะใช้เพียงพอภายในประเทศแล้ว ยังสามารถส่งออกพลังงานไฟฟ้าไปยังอาร์เจนตินาได้อีกด้วย
ที่น่าสนใจคือ รัฐบาลอุรุกวัย ยังมีการสนับสนุนการลงทุน เพื่อก่อตั้งศูนย์กลางการพัฒนาเทคโนโลยีและการเงิน ที่มีชื่อว่า “Zonamerica” ในกรุงมอนเตวิเดโอ
ซึ่งเป็นเขตปลอดภาษี เพื่อที่จะดึงดูดบริษัทจากต่างประเทศ ให้มาตั้งสำนักงานที่อุรุกวัย
ปัจจุบัน Zonamerica เป็นที่ตั้งของบริษัทมากถึง 350 แห่ง ไม่ว่าจะเป็น CITI, Deloitte, KPMG, PwC, Airbus และอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้เกิดการจ้างงานมากกว่า 10,000 ตำแหน่ง
ปี 2019 อุรุกวัย มีมูลค่า GDP ประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท
เมื่อหารด้วยจำนวนประชากร จะทำให้อุรุกวัยมี GDP ต่อหัวเท่ากับ 490,000 บาทต่อปี
ซึ่งถือเป็นประเทศที่มี GDP ต่อหัวสูงที่สุดในทวีปอเมริกาใต้
ปัจจุบัน อุรุกวัยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้สูงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
มีดัชนีความโปร่งใสในปี 2020 อยู่ที่ 71 ซึ่งเป็นอันดับที่ 21 ของโลก
ซึ่งเป็นอันดับที่ดีกว่าฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ เสียอีก
ส่วนเมืองหลวงอย่างกรุงมอนเตวิเดโอ ก็ได้รับการจัดอันดับจาก Mercer
ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในอเมริกาใต้
ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้ ล้วนเต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่า
และสร้างรายได้อย่างมหาศาล แต่เศรษฐกิจกลับประสบความถดถอยตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา
เพราะมีสิ่งที่เรียกว่า “คอร์รัปชัน”
แต่อุรุกวัยกลับเลือกเส้นทางที่แตกต่าง
การแก้ปัญหาอย่างตรงจุด และเปลี่ยนการบริหารประเทศไปสู่ความโปร่งใส
ทำให้ประเทศที่เคยเต็มไปด้วยการทุจริตและความขัดแย้งทางการเมืองไม่จบสิ้น
เป็นประเทศที่ประชาชนตรวจสอบการบริหารได้ งบประมาณจากภาษีก็ถูกนำไปแก้ไขปัญหา
และพัฒนาอย่างจริงจัง
เพราะเลือกเส้นทางที่ไม่เหมือนใคร
อนาคตของอุรุกวัยจึงสดใสที่สุด ภายใต้ความมืดมนของอีกหลายประเทศ ในทวีปเดียวกัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.cepal.org/sites/default/files/pr/files/table_press_gdp_preliminaryoverview2020-eng.pdf
-https://www.archdaily.com/914434/these-are-the-20-most-livable-cities-in-latin-america-in-2019
-https://www.britannica.com/place/Uruguay/Sports-and-recreation#ref407712
-https://web.tcdc.or.th/th/Articles/Detail/Uruguay
-http://motherearthtravel.com/uruguay/history.htm
-https://www.vox.com/identities/2018/8/20/17938416/marijuana-legalization-world-uruguay-canada-netherlands
-https://www.zeweed.com/jose-mujica-the-first-president-to-legalise-weed/?c=13ac35fba0ac
-https://tradingeconomics.com/uruguay/corruption-index
-https://thaipublica.org/2014/10/latin-america-corruption-perception-2/
-https://www.trade.gov/knowledge-product/uruguay
-https://ourworldindata.org/co2-emissions
-https://www.worlddata.info/america/uruguay/tourism.php
-https://www.fdiintelligence.com/article/76412
พลังงานหมุนเวียน 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
อนาคตธุรกิจ “ก๊าซธรรมชาติ” ประเทศไทย เป็นอย่างไร ?
ปตท. x ลงทุนแมน
หลังจากประเทศไทยได้สำรวจพบ ทรัพยากรพลังงาน
อย่าง “ก๊าซธรรมชาติ” ที่อ่าวไทย และเริ่มนำมาใช้ในปี พ.ศ. 2524 หรือกว่า 40 ปีก่อน
หลังจากนั้นมา ก๊าซธรรมชาติ ก็ได้กลายมาเป็นแหล่งเชื้อเพลิงสำคัญในประเทศ
เนื่องจากเป็นพลังงานสะอาด
อย่างไรก็ตาม ก๊าซธรรมชาติ ถือเป็นเชื้อเพลิงพลังงานจากฟอสซิลที่มีอยู่อย่างจำกัด
ในขณะที่อนาคต ทั่วโลกก็กำลังหันเข้าหาเชื้อเพลิงสะอาดจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน
ซึ่งก็น่าจะทำให้แนวโน้มการใช้แหล่งเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติลดลง
แล้วอนาคตของธุรกิจก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย จะเป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ก่อนอื่นเรามาดูภาพรวมทั้งหมดของก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยกันก่อน
จริงอยู่ว่าเรามีแหล่งก๊าซธรรมชาติที่อ่าวไทย
แต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอต่อการใช้งานทั้งหมดในประเทศของเรา
จึงทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการจัดหาก๊าซธรรมชาติจากต่างประเทศอีกประมาณ 24%
โดยการนำเข้าแบ่งออกเป็นจากประเทศเมียนมา 13%
และที่เหลืออีก 11% เป็นการนำเข้าในรูปแบบ Liquefied Natural Gas (LNG)
หรือก๊าซธรรมชาติที่ถูกทำให้เป็นของเหลวขนส่งมาทางเรือ
โดยทั้งหมดที่ประเทศไทยนำเข้ามานั้น ก็จะถูกนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ
อ้างอิงสัดส่วนการใช้งานจากกระทรวงพลังงานล่าสุด ก๊าซธรรมชาติถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้ามากที่สุด กว่า 57% และรองลงมาคือนำไปแยกส่วนประกอบเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นของปิโตรเคมี 23% นอกจากนี้ยังนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม และภาคขนส่ง (NGV) 17% และ 3% ตามลำดับ
สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจ ก๊าซธรรมชาติใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ก็คือ ปตท. ที่มีหน้าที่ดูแลความมั่นคงทางด้านพลังงานให้เพียงพอกับความต้องการใช้งานภายในประเทศ
แล้ว ปตท. มีมุมมองต่อเรื่องก๊าซธรรมชาติอย่างไร ?
จริงอยู่ว่าโลกของเรากำลังหันเข้าหาพลังงานหมุนเวียน
แต่ยุคของการเปลี่ยนผ่านพลังงาน จะไม่ได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน
หากเรามาดูการคาดการณ์เกี่ยวกับการใช้พลังงานทั่วโลกในปี พ.ศ. 2583
เราจะใช้พลังงานจากน้ำมัน 27%
ก๊าซธรรมชาติ 26%
พลังงานหมุนเวียน 23%
ถ่านหิน 20%
นิวเคลียร์ 4%
เมื่อเทียบกับในช่วงที่ผ่านมา ที่เราใช้พลังงานจากน้ำมัน และถ่านหินเป็นสัดส่วนที่มากที่สุด
มาโดยตลอด ซึ่งรวมกันคิดเป็น 58% ของการใช้พลังงานทั้งหมดบนโลก
จะเห็นได้ว่าเราจะใช้น้ำมัน และถ่านหินในสัดส่วนที่น้อยลง
โดยจะหันไปหาพลังงานหมุนเวียน รวมถึงก๊าซธรรมชาติมากขึ้น
จุดนี้เองได้สะท้อนให้เห็นว่าก่อนที่โลกของเราจะหันเข้าหาแหล่งพลังงานหมุนเวียนอย่างสมบูรณ์
“ก๊าซธรรมชาติ” ที่ถือเป็นฟอสซิลที่สะอาดที่สุดจะเป็น “Transition Fuel” หรือพลังงานทางผ่านไปสู่พลังงานสะอาด
โดย ปตท. มองว่ารูปแบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติแบบ LNG จะมีการเติบโตที่ดีขึ้นในอนาคต
แล้วทำไมต้อง LNG ?
จริง ๆ แล้ว การขนส่งก๊าซธรรมชาติแบบดั้งเดิมจะเป็นในลักษณะการขนส่งทางท่อ ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากเขตอุตสาหกรรมจำเป็นต้องใช้ก๊าซอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีอุตสาหกรรมที่อยู่นอกแนวท่อก๊าซ ซึ่งการวางท่อขนส่งก๊าซธรรมชาติจะมีมูลค่าการลงทุนที่สูง บวกกับมีระยะทางการขนส่งจำกัด
นั่นจึงทำให้การขนส่งในรูปแบบ LNG หรือก๊าซธรรมชาติที่ถูกทำให้เป็นของเหลว เป็นที่นิยมมากขึ้น
นอกจากนี้ การอัดก๊าซให้เป็นของเหลวก็ยังทำให้ขนส่งได้มากขึ้น นั่นหมายความว่าการขนส่งรูปแบบนี้จะประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า ในขณะเดียวกัน LNG ก็ยังสามารถขนส่งผ่านทางเรือ รถไฟ หรือผ่านรถยนต์ขนส่งได้ เช่นกัน
สำหรับความเคลื่อนไหวของ ปตท. ในช่วงที่ผ่านมา
ได้เริ่มส่งออก LNG ไปยังเขตอุตสาหกรรมในประเทศจีนผ่านการขนส่งทางเรือ
และเมื่อไม่นานมานี้ ปตท. ได้มีการขนส่ง LNG ไปยังประเทศกัมพูชาผ่านทางรถยนต์
ซึ่งก็ถือเป็นการขนส่งออกชายแดนครั้งแรกของประเทศไทย
ที่น่าสนใจก็คือประเทศกัมพูชา เป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ
รวมถึงเป็นประเทศที่อัตราการใช้พลังงานเชื้อเพลิงกำลังขยายตัว
นั่นจึงทำให้การขนส่ง LNG จากประเทศไทยที่มีโครงสร้างพื้นฐานพร้อมอยู่แล้ว
ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน หรือต่างประเทศก็น่าจะกลายมาเป็นอีกธุรกิจที่มีพื้นที่ในการเติบโต
เพราะถ้าเรามาดูประเทศไทยในเชิงภูมิศาสตร์ เราจะตั้งอยู่ท่ามกลางประเทศที่มีความต้องการใช้ LNG คิดเป็นเกินกว่า 6 ใน 10 ของความต้องการใช้ LNG ทั่วโลก
ซึ่งก็ครอบคลุมตั้งแต่ประเทศจีน ญี่ปุ่น อินเดีย พม่า กัมพูชา และเวียดนาม
บวกกับนโยบายของทางภาครัฐที่ต้องการผลักดันให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลวระดับภูมิภาค หรือ Regional LNG Hub ภายในปี พ.ศ. 2565 หรือปีหน้าที่จะถึงนี้
ถึงตรงนี้ ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า..
จากเดิม ที่เราจัดหาก๊าซธรรมชาติมาใช้ในประเทศเป็นหลักมาโดยตลอด
แต่ในอนาคต เราอยากจะก้าวไปเป็น “ศูนย์กลาง” สำหรับการซื้อขายระดับภูมิภาค
หากทำได้สำเร็จ ก็มีการคาดการณ์ว่า Regional LNG Hub จะช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ
ให้กับประเทศไทยราว 1.65 แสนล้านบาท ในช่วง 10 ปี และยังจะช่วยให้เกิดการจ้างงาน
เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 1.6 หมื่นคนต่อปี เลยทีเดียว..
References
-http://www.eppo.go.th/images/Energy-Statistics/energyinformation/Energy_Statistics/00All
-https://www.ucsusa.org/resources/environmental-impacts-natural-gas
-https://www.iea.org/reports/key-world-energy-statistics-2020
พลังงานหมุนเวียน 在 LDA World Youtube 的最佳解答
ยุคเปลี่ยนผ่านของพลังงานกำลังเริ่มขึ้น
เมื่อน้ำมันกำลังจะถูกแทนที่…
.
เมื่อประชากรโลกเพิ่มขึ้น หลายอย่างเติบโตขึ้น
เป็นธรรมดาที่ความต้องการจะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
.
พลังงานเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ของโลก
แต่ปัจจุบันกำลังมีปริมาณที่น้อยลง
.
พลังงานที่ถูกใช้เยอะมากคือ พลังงานไฟฟ้า
สิ่งที่ช่วยทำให้เกิดไฟฟ้า คือ น้ำมันและถ่านหิน
แต่มันกำลังสร้างผลเสียต่อโลกแบบมหาศาล
ทั้งยังเป็นสิ่งที่ใช้แล้วอาจหมดไป
.
ถ้าเกิดวันนึงสิ่งเหล่านี้เกิดมีไม่เพียงพอแล้ว
เราจะทำอย่างไรต่อไป...จะมีอะไรมาทดแทนได้บ้าง
มานั่งคุยใน #FasterFuture กันค่ะ
#พลังงานทดแทน #พลังงานไฟฟ้า #น้ำมันกำลังจะหมด
#RenewableEnergy #FasterFuture #FutureIsFun
-------------------------------------------------------------
ABOUT US
Instagram: http://www.instagram.com/ldaworld
Facebook: http://www.facebook.com/LDAworld
Twitter: http://twitter.com/ldaworlds
Blog: http://www.ldaworld.com
PODCAST
Spotify : https://spoti.fi/2v8nNY9
Apple Podcast : https://apple.co/35NteJc
Podbean : https://ldapodcast.podbean.com
ติดต่องาน/ลงโฆษณา : contact@flourish.co.th
โทร : 086-363-6683
พลังงานหมุนเวียน 在 ลงทุนแมน Youtube 的最佳貼文
พลังงานยุคใหม่ ในมุมของ ปตท.
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า พลังงานหมุนเวียน กำลังกลายเป็นเมกะเทรนด์ของโลก
หากเรามาดูการคาดการณ์ขององค์การพลังงานระหว่างประเทศ หรือ IEA
ในปี ค.ศ. 2040 โลกของเราจะใช้พลังงานจาก
น้ำมัน 27%
ก๊าซธรรมชาติ 26%
พลังงานหมุนเวียน 23%
ถ่านหิน 20%
นิวเคลียร์ 4%
หากนำมาเทียบกับการใช้พลังงานในยุคนี้แล้ว จะเห็นได้ว่าโลกของเราจะหันเข้าหาพลังงานจากก๊าซธรรมชาติ และพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น
แล้ว ปตท. บริษัทพลังงานแห่งชาติ มีมุมมองกับเรื่องนี้ อย่างไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
แม้ว่าปัจจุบัน หลายคนจะพูดถึงพลังงานหมุนเวียน หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ทำให้เรา สามารถผลิตพลังงานมาใช้เองได้ (ตัวอย่างโมชันกราฟิก เช่น โซลาร์รูฟ)
ปตท. ยังมองว่าแหล่งพลังงานสำคัญ ที่จะเป็นรอยต่อระหว่างพลังงานจากฟอสซิล และพลังงานหมุนเวียน
ก็คือ “ก๊าซธรรมชาติ”
นั่นก็เพราะว่า ก๊าซธรรมชาติ ถือเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่สะอาด
สะท้อนมาจาก ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ จากการผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิง
(นำเสนอเป็นกราฟอินโฟเปรียบเทียบ)
-ถ่านหิน 1.04 กิโลกรัม คาร์บอนไดออกไซด์ ต่อกิโลวัตต์ ชั่วโมง
-ลิกไนต์ 0.86 กิโลกรัม คาร์บอนไดออกไซด์ ต่อกิโลวัตต์ ชั่วโมง
-ดีเซล 0.67 กิโลกรัม คาร์บอนไดออกไซด์ ต่อกิโลวัตต์ ชั่วโมง
-ก๊าซธรรมชาติ 0.39 กิโลกรัม คาร์บอนไดออกไซด์ ต่อกิโลวัตต์ ชั่วโมง
จะเห็นได้ว่าก๊าซธรรมชาติ ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในปริมาณที่น้อยกว่าถ่านหินกว่า 1 ใน 3 ซึ่งจากข้อมูลที่เห็น ทำให้เราสรุปได้ว่า ก๊าซธรรมชาติจะเข้ามามีบทบาทกับเรามากขึ้น
อีกเรื่องสำคัญก็คือ เรายังมีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่อยู่ทั่วทุกมุมโลก และเพียงพอต่อการใช้งาน เป็นอีกร้อยปี จากแนวโน้มที่เห็น จึงทำให้กลยุทธ์การลงทุนระยะยาวของ ปตท. 30 ปี ต่อจากนี้
จะมีการเพิ่มสัดส่วนการลงทุน ในธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลวเป็นหลัก และได้ตั้งเป้าหมาย การดำเนินการแบบครบวงจร ซึ่งประกอบไปด้วย
LNG Receiving Terminal หรือ สถานีรับจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว
LNG Truck Loading เพื่อรองรับผู้ใช้ก๊าซที่อยู่นอกแนวท่อ
ทั้งหมดนี้ก็เพื่อเตรียมความพร้อม เพื่อพัฒนาให้ประเทศไทย เป็น LNG Hub
หรือศูนย์กลางการซื้อขาย LNG ระดับภูมิภาค
แล้ว ปตท. มีมุมมอง การลงทุนในธุรกิจพลังงานไฟฟ้า อย่างไร?
ปตท. จะเข้ามาสนับสนุนการใช้พลังงานรูปแบบของพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบโดยธุรกิจแรก ที่จะเข้ามาพัฒนาก็คือ
การขยายธุรกิจผลิตไฟฟ้า จากพลังงานหมุนเวียน
ปตท. มีเป้าหมายกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
อยู่ที่ 8,000 เมกะวัตต์ ภายในปี พ.ศ. 2573 โดยเป้าหมายดังกล่าว จะเป็นการดำเนินงานร่วมกับ บริษัทในเครืออย่าง GPSC เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืน
อีกหนึ่งเป้าหมายของ ปตท. ก็คือ ธุรกิจแบตเตอรี่
รู้หรือไม่ว่ามูลค่าตลาดแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 12.3% ต่อปี ในอีก 5 ปีข้างหน้า
ในขณะเดียวกัน รัฐบาลไทยก็ได้ตั้งเป้าหมายว่าภายในปี พ.ศ. 2579
จะมีการจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าถึง 1.2 ล้านคัน นั่นจึงทำให้ ปตท. เริ่มวางแผนพัฒนาธุรกิจแบตเตอรี่
สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงระบบกักเก็บพลังงาน
ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้คนไทย เข้าถึง EV คุณภาพในราคาที่เหมาะสม
นอกจากนี้ ปตท. ยังมีแผนในการขยายพื้นที่ให้บริการ
สถานีอัดประจุไฟฟ้า หรือ EV Charger อย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายการขยายธุรกิจเริ่มต้นจาก Prime Locations เช่น ศูนย์การค้า โรงแรม สำนักงาน พื้นที่อสังหาริมทรัพย์ รวมถึงสถานีบริการน้ำมัน
เพื่อขยายขอบเขตการให้บริการ และรองรับตลาดรถยนต์ไฟฟ้า ที่กำลังจะเข้ามาสู่ประเทศไทยในอนาคต
จากตรงนี้จะเห็นได้ว่าธุรกิจพลังงานกำลังเป็นหนึ่งในธุรกิจที่กำลังเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนผ่าน 41.สิ่งเหล่านี้ก็น่าจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้พลังงานของเรา ไม่มากก็น้อย
ซึ่งถ้าเราดูจากมุมมองต่อเทรนด์ในอนาคต และการเตรียมพร้อมของ ปตท.
เราก็น่าจะสรุปได้ทันทีว่า ปตท. เตรียมพร้อมอย่างดี สำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่กำลังจะมาถึง..
พลังงานหมุนเวียน 在 ณัชชา พุฒ พร้อม เภา Youtube 的最讚貼文
แดดร้อนมากขึ้นทุกวันนี้ จนน้องพุฒบ่น
อยากให้ 'ดวงอาทิตย์' หายไป
พร้อมถึงกับค้านว่า ถ้าโลกใบนี้ขาดดวงอาทิตย์ไป
เราจะใช้ชีวิตกันลำบากมาก
เจ่เจ้ก็มาขยายความ ถึงประโยชน์ของดวงอาทิตย์
ที่ไม่ได้มีแค่ให้ความร้อน แต่ยังให้ความอบอุ่นร่างกาย
ให้ร่างกายได้รับวิตามินD ให้แสงสว่าง
แถมยังเป็นพลังงานหมุนเวียนที่ใช้แล้วไม่มีวันหมดอีกด้วย
------------------------------------------------------
?อย่าลืมกด subscribe เพื่อติดตามเรื่องราวสนุกๆ
ของ 4 พี่น้อง 'ณัชชา พุฒ พร้อม เภา' ได้ก่อนใคร ที่นี่!
------------------------------------------------------
ติดตามรายการ "ณัชชาแอนด์เดอะแก๊ง" ???
ได้ทุกวันอาทิตย์ เวลา 8.25 - 8.55 น.
ทาง Workpoint ช่อง 23
-----------------------------------------------------
?ร่วมสนุกกับกิจกรรมท้ายรายการ?
ติดตามความเคลื่อนไหวและกิจกรรมสุดคูล ได้ที่...
Facebook : ณัชชา พุฒ พร้อม เภา
https://www.facebook.com/natchaputprompao/
และติดตามเทคนิคการเลี้ยง"ลูก" แบบสบายๆ
สไตล์พ่อแม่ Gen Y ลูกดก ได้ที่..
Facebook : พ่อม้าน้ำและแม่หมีกรีซลี่
http://bit.ly/SeahorseDad_GrizzlyBearMom
Youtube : พ่อม้าน้ำและแม่หมีกรีซลี่
https://www.youtube.com/channel/UCbo84OzzH57k6BFvl-L0Y-g
------------------------------------------------------
ติดตามเทคนิคดีๆ จากพี่บ๊อบ และคอร์สติวอื่นๆ ได้ที่
http://www.clickforclever.com
พลังงานหมุนเวียน 在 5 เหตุผล ทำไมพลังงานหมุนเวียนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่ออนาคต 的推薦與評價
เพราะสาเหตุใดเทคโนโลยีใหม่ๆ จึงให้ความสำคัญกับพลังงานหมุนเวียนนัก ? บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับเหตุผลหลักๆ ที่โลกพัฒนาพลังงานชนิดนี้ ... ... <看更多>
พลังงานหมุนเวียน 在 พลังงานหมุนเวียน - PTT energy world 的推薦與評價
02 พลังงานที่ใช้แล้วสามารถสร้างขึ้นใหม่เพื่อหมุนเวียนมาใช้ได้อีก เรียกว่า พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานชีวมวล พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ และ พลังงานลม ... ... <看更多>
พลังงานหมุนเวียน 在 พลังงานหมุนเวียน ความหวังพลังงานไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 的推薦與評價
ยารักษาโลก กับแนวคิด พลังงานหมุนเวียน ซึ่งสามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าที่หาได้จากธรรมชาติรอบตัว และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จำเป็นต่ออนาคตอย่างไร? ... <看更多>