พ่อแม่ คือ Life Coach
คนแรกของลูก!!!
.
.
อีกวิธีการเลี้ยงลูกอีกแบบที่น่าสนใจทีเดียวครับ
หลายคนเรียกวิธีนี้ว่า “Parenting like a coach”
คือ วิธีการเลี้ยงลูกแบบพ่อแม่เป็นไลฟ์โค้ชให้ลูก
เป็นวิธีการเลี้ยงที่สร้างแรงขับเคลื่อน
และแรงบันดาลใจให้กับลูกๆ
.
.
นับเป็นบทบาทใหม่ของพ่อแม่
ที่น่าตื่นตาตื่นใจสำหรับผมไม่น้อย
โดยข้อดีที่เขาเคลมไว้ก็คือ
.
.
การเป็นโค้ชชีวิตให้แก่ลูกนั้น เป็นเหมือนการฝังเมล็ดพันธุ์
ด้านความคิด ความเชื่อ ที่สามารถเผชิญปัญหาในอนาคตได้
เติบโตอย่างแข็งแกร่งด้วยทัศนคติ
ความเชื่อ และค่านิยมเชิงบวก
.
.
สารภาพตามตรงว่า ยังใหม่มากสำหรับผม
และผมก็ไม่รู้จริงๆ ว่า วิธีนี้จะดี ไม่ดี ได้ผล หรือไม่ได้ผล
แต่ผมมองว่าเป็นวิธีการเลี้ยงอีกแบบ
ที่น่าสนใจจึงอยากนำมาแบ่งปันกัน
.
.
ว่ากันว่า เป็นการเลี้ยงลูก
แบบเข้าใจลูกและเข้าใจเรา
เป้าหมายหลักๆ ก็คือ
.
.
ความสุขและความสำเร็จของลูก
.
.
ซึ่งผมก็มองว่า มันน่าจะเหมาะกับยุคนี้
ยุคที่สถิติซึมเศร้าและสถิติการฆ่าตัวตายในเด็ก
กำลังพุ่งทะยานขึ้นทุกวัน
.
.
แต่ยังไงก็ฝากทุกคนที่เคยผ่านการเลี้ยงลูก
หรือเข้าคอร์สแนวนี้ ช่วยแชร์ประสบการณ์
อยากรู้จริงๆ ว่ามันเป็นอย่างไร
.
.
#ผู้ชายเลี้ยงลูก #พ่อต่อ #น้องบอลลูน
「พ่อแม่ ไม่ดี」的推薦目錄:
พ่อแม่ ไม่ดี 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最佳解答
#เลี้ยงลูกแบบฉลาด
.
"ตอนนี้ไม่ค่อยซ้อมดนตรีเลย
บอกว่ายาก บังคับให้เล่นก็ร้องไห้
ต้องทำยังไงดี"😢
"ตอนสอบต้องติวให้รึเปล่า..เดี๋ยวลูกจะเข้าใจผิดคิดว่าเรากดดันเรื่องเรียน"
"เข้มงวดแค่ไหน ถึงจะไม่ทำให้ลูกเครียด
.
เป็นคำถามที่*ไม่มี*ใครตอบให้ใครได้เลยจริงๆ
เพราะโลกนี้ ไม่มีเครื่องวัดความกดดัน, ความเครียด, ความเข้มงวด
เป็นหน้าจอดิจิตอลให้เราเห็น
.
แต่หมออยากแชร์
เนื้อหาส่วนหนึ่งในหนังสือเรื่อง GRIT
ว่าด้วยเรื่องการเลี้ยงลูกแบบฉลาด
.
หลังจากความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกเชิงบวกแพร่หลาย
พ่อแม่ส่วนใหญ่เข้าใจว่า
การเลี้ยงลูก ด้วยเหตุผลเป็นเรื่องดี
และการทำโทษ หรือการกระทำใดๆที่กดดัน เคร่งเครียด เป็นเรื่องไม่ดี
บางคน
ถึงขั้นวิจารณ์การเลี้ยงดูลูกของครอบครัวอื่น
.
ความจริงก็คือ
ความเครียดที่พอเหมาะ (positive stress)
ไม่ได้ทำร้ายสมองเด็ก
ยังเป็นสารตั้งต้นชั้นดี ของคำว่า ศักยภาพ
ความเครียดที่พอเหมาะ
เป็นความเครียดที่เกิดจาก การได้เผชิญอุปสรรค
และต้องดึงความสามารถของตัวเองมาแก้ปัญหา
เป็นความเครียดที่คาดเดาได้
(ไม่ใช่การทำร้ายร่างกาย ทารุณกรรมทางเพศ ทำร้ายจิตใจจนทำให้เสียคุณค่าในตัวเอง ทอดทิ้งละเลยโดยสิ้นเชิง....พวกนี้คือ major stress ที่ส่งผลร้ายต่อสมอง)
งานบ้านที่ไม่อยากทำ แต่ก็ต้องทำ
นี่ก็เกิด positive stress
พ่อแม่ เข้มงวด กับลูก มีการวางกติกากันก่อน
ทำไม่ได้ก็ต้องรับผลของการกระทำ....นี่ก็ positive stress
การซ้อมดนตรี กีฬา การทำสิ่งที่ยากกว่าความสามารถปัจจุบันของตัวเอง
ก็เป็นความเครียด
แต่ถ้าผ่านมันไปได้ ก็เก่งนี่ก็ positive stress
เรื่องที่ควรรู้ถัดมาคือ
เด็กที่ไม่มีใครคาดหวังอะไรกับเค้าเลย
ไม่ใช่เด็กที่คนอื่นต้องอิจฉา
จะทำหรือไม่ทำก็ได้
จะซ้อมหรือไม่ซ้อมก็ได้
จะสอบตก หรือสอบได้ ก็ไม่ต่างกัน
จะได้คะแนนเท่าไหร่ก็ได้
เค้ามิใช่เด็กที่จะภาคภูมิใจในตัวเอง
เพราะเด็กอยากให้คนที่เค้ารัก ชื่นชมเค้าเสมอ
การชื่นชมที่มีแต่เปลือก
ใช้ได้แค่พักเดียว
อีกไม่นานเค้าจะตั้งคำถามว่า
เค้ามีอะไรควรค่ากับการชมนั้นรึเปล่า
หลังจากนั้น เค้าจะรู้ว่า คำชมนั้น ไม่มีค่าอะไร
เพราะ ดี ไม่ดี ทำหรือไม่ทำ...ก็ได้มาอยู่ดี
ดังนััน การเลี้ยงลูกอย่างฉลาด
ไม่ได้หมายถึง ไม่เข้มงวด
ไม่ได้หมายถึง ไม่กดดัน
ไม่ได้หมายถึง ไม่ต้องไปคาดหวังเดี๋ยวลูกจะเครียด
แต่ต้องเหมือนโค้ช
ที่ต้องรู้จักนิสัยใจคอ
และมองสภาวะปัจจุบันของนักกีฬาให้ขาด
รู้จุดแข็งที่ต้องรักษาไว้ รู้จุดด้อยที่ต้องเสริม
วันนี้ เหนื่อยเลยงอแง ต้องให้พัก แล้วค่อยไปต่อ
วันนี้ topform ต้องชื่นชมให้เห็นว่าเรารู้ว่าเส้นทางจะมาถึงวันนี้ไม่ง่าย รู้ว่าพยายามแค่ไหน...บอกให้เค้ารู้ว่าเรามองเห็น และภูมิใจในความทุ่มเทนั้น
วันนี้ ทำอะไรมีแต่ผิดไปหมด นักกีฬาอาจจะท้อ บอกว่าขอเลิก แต่เราต้องรู้ว่าคำว่าเลิก ออกมาจากปากขณะที่เจ้าตัวใช้สมองส่วนอารมณ์ มากกว่า EF
รอให้สมองส่วนเหตุผลกลับมา function ค่อยให้ตัดสินใจใหม่
.
ความยาก มิใช่ตอบว่าต้องทำหรือไม่
การส่งเสริมมันต้องมาพร้อมกับเคี่ยวเข็ญ
ผลักลงสนามแล้ว แต่ต้องคอยอยู่ข้างสนาม
ช่วยแก้เกมส์ให้ คอยให้กำลังใจ
แต่ความยากของการเลี้ยงลูกอย่างฉลาดอยู่ที่
เด็กแต่ละคน กับพ่อแม่ของเค้า
จุดไหนคือความพอดี ในพื้นที่
ระหว่าง ส่งเสริม-เคี่ยวเข็ญ ต่างหาก
😅😅😅
.
ต้องเรียนรู้ทั้งตัวลูก และตัวเองค่ะ
ข้อดีของเราคือ การทดลองของเรามีวันพรุ่งนี้เสมอค่ะ
.
หมอแพม
พ่อแม่ ไม่ดี 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最佳解答
#ชมลูกอย่างไรให้เกิดGrowth_mindset🌳🌾
ถ้าใครเคยอ่านหนังสือเรื่อง mindset ของ Dr.Carol Dweck
จะพบว่า ใจความสำคัญที่ Dr.Carol
พยายามจะสื่อให้กับผู้ปกครองและครู
ก็คือ
1. #mindset_ก่อร่างสร้างตัวตั้งแต่เด็กช่วงปฐมวัย
(หนึ่งในการทดลองที่อ้างอิงถึงในหนังสือ ผู้เข้าร่วมคือ เด็กอายุ 4 ขวบ)
2. #สารที่พ่อแม่และครูส่งให้กับลูกมีบทบาทสำคัญในการสร้างmindsetของเด็ก
สารที่ว่า ก็คือ ทัศนคติที่พ่อแม่ ครู ผู้ใหญ่ ส่งให้เด็กรับรู้
ว่า เค้าจะได้รับความรัก ได้รับคำชื่นชม เมื่อเค้าเป็นอย่างไร
.
หลังจากที่เด็กสร้าง self ตอนอายุประมาณ 3 ขวบ
เค้าก็อยากจะเป็นส่วนหนึ่งของโลก
โลกของเด็กเล็ก คือคนที่เค้ารัก
ได้แก่ พ่อแม่ ครู ผู้ใหญ่รอบตัว
ดังนั้น วิธีคิด มุมมอง ทัศนคติ ค่านิยม ของพ่อแม่ ครู
ก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของ mindset ของเด็ก ไปโดยปริยาย
.
ถ้าเด็กรับรู้ว่า
เค้าต้องเก่ง, ไม่ผิดเลย, ฉลาดจัง, อัจฉริยะชัดๆ, สุดยอด, ไม่พลาดเลยนะ etc.
ถึงจะเป็นที่นิยมชมชอบ
เพราะฉะนั้น คนเก่งจะต้องไม่เกิดความผิดพลาด
ต้องดูเหมือนพวกฉลาดแต่เกิด เป็นอัจฉริยะ
(ไม่ต้องพยายามมาก ก็เหนือกว่าคนอื่น)
บางคนพยายามหนักมากหลังฉาก แต่เบื้องหน้าต้องทำเป็นฉันไม่ได้ทำอะไรนะ มันเป็นธรรมชาติ
แต่...ชีวิตมันต้องยากขึ้น มีอุปสรรคมากขึ้น เป็นธรรมดา
ในเมื่อ เด็กกลุ่มนี้ (fixed mindset)
มีแรงจูงใจหลัก คือ #ต้องไม่มีความผิดพลาด
ดังนั้น บางครั้ง ไม่พลาด ก็คือ
ไม่ต้องเข้าไปลองทำสิ่งนั้น
สิ่งใดที่ยาก ไม่ทำ
สิ่งใดที่เสี่ยง เลี่ยงซะ
.
ยิ่งกลัวผิดพลาด-->ยิ่งหลีกเลี่ยงที่จะทำสิ่งใหม่-->
ยิ่งลดโอกาสในการเรียนรู้-->เมื่อไม่ได้เรียนรู้ ถ้าต้องลงมือทำจริง ก็ยิ่งมีโอกาสผิดพลาด -->เมื่อผิดพลาด ก็ยิ่งสูญเสียความมั่นใจในตนเอง
คนที่มี fixed mindset ก็จะวนเวียนอยู่ใน loop นี้
==============================
แล้วจะส่ง #สาร อย่างไร
ให้ลูกเป็นคนที่มี Growth mindset
1.#ความจริงใจสำคัญที่สุด
(อย่าชมพร่ำเพรื่อ ถ้าจะชมให้พูดจากใจ)
ถ้าเราชมออกมาจากใจจริง คนที่ถูกชมเค้าจะรับรู้ได้
ทั้งจาก สีหน้า แววตา น้ำเสียง และเนื้อความที่พูด
คำชมที่ไม่จริงใจ นอกจากไม่ช่วยให้ใครพัฒนาแล้ว
ยังทำให้ความเชื่อใจ ความเชื่อมั่นในตัวเราลดลง
สำหรับลูกแล้ว พ่อแม่ต้องเป็นคนที่เค้าเชื่อถือได้เสมอนะคะ
เช่น ลูกเอารูปที่วาดมาโชว์ แต่รูปนี้ เค้าวาดหลายครั้งแล้วเราไม่ได้รู้สึกว่ามันสวยเป็นพิเศษ
แทนที่เราจะชมว่า สวย หรือ เก่งจังที่วาดได้
เราอาจจะต้องมองหาจุดเด่น
ในภาพวาดใหม่แต่ไม่ใหม่ของลูก
เช่น ครั้งนี้ลงเส้นได้ชัดดีนี่ลูก หรือ
เก็บรายละเอียดตรงนี้ได้ดีจัง
แล้วอาจจะชวนให้เค้าลองวาดอะไรใหม่ๆ ให้โจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น
หรือ ถ้าลูกแพ้การแข่งขัน
เราไม่ต้องใช้คำชมเพื่อปลอบใจ
“แค่นี้ก็เก่งมากแล้วจ่ะ” หรือ “แต่แม่ว่าลูกทำได้ดีมากนะ”
ถ้าเราไม่รู้จะพูดอะไร ก็อยู่เคียงข้างเค้า ให้เค้ารู้ว่าถ้าต้องการกำลังใจเราอยู่ตรงนี้
เมื่อเค้าพร้อม ค่อยชวนพูดคุย เรื่องความรู้สึก และบทเรียนที่ได้ แนวทางพัฒนา
================================
2.#ใช้คำชมให้เหมาะสมกับพัฒนาการทางภาษาของลูก
หลายคนกังวลใจ ที่จะใช้คำว่า เก่งจัง สวยจัง ดีจัง น่ารักจังกับลูก แต่ถ้าลูกของเราเป็นเด็กอายุ 0-1 ปี คำพวกนี้ ก็เป็นคำในแนว positive ที่เค้าฟังแล้วเข้าใจ
โดยส่วนตัวหมอคิดว่าใช้ได้ค่ะ
มันคงแปลกพิลึก หากเราชมเด็ก 1 ปี เมื่อเอาของไปเก็บเข้าที่
“แม่รู้เลยว่าลูกพยายามเอื้อมไปเก็บอย่างสุดความสามารถ”😅
จริงๆแล้ว เด็กวัยก่อนพูด
ดูภาษากายของคุณแม่เป็นหลัก
และคำที่ใช้ ก็ควรเป็นคำสั้นๆ คำที่เราใช้กันอยู่ก็ใช้ได้นะคะ (ขอให้จริงใจ ไม่พร่ำเพรื่อก็พอ)
.
แต่ถ้าลูกของเรา เป็นเด็กอายุ 3 ปี
เค้าเข้าใจภาษาได้ดีมากแล้ว
คำว่า เก่ง ดี ฉลาด สวย etc. มันกว้างเกินไป
คงจะดีกว่า ถ้าเราพูดระบุรายละเอียดของสิ่งที่ทำให้เราพอใจ
Feedback ที่ดี คือ
สิ่งที่ดีอยู่แล้วคืออะไร
สิ่งที่สามารถพัฒนาได้อีกคือจุดไหน
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ
ถ้าเราไปตัดผมทรงใหม่ ทำสีผมมา เรามาโชว์เพื่อนๆ
“อืม สวยดี”
“ตัดผมทรงนี้ เข้ากับรูปหน้ามาก ผมสีนี้เข้ากับสีผิว ทำให้ผิวสว่างขึ้น”
เราชอบคำชมไหนคะ?
เด็กก็เช่นกัน เค้าเข้าใจภาษาได้ดีแล้ว
พ่อแม่ก็ช่วย #ให้เกียรติภาษาของเค้าด้วย
ด้วยการพูดใส่รายละเอียด
นอกจากจะทำให้ลูกรู้ว่าเราใส่ใจรายละเอียดเล็กน้อย
ยังฝึกมุมมองของลูก ให้มองเห็นจุดดี และจุดที่มีโอกาสพัฒนา
================================
3.ใช้ชมที่ #ความพยายามหรือกระบวนการมากกว่าผลลัพธ์
เด็กๆ เป็นวัยที่ใส่ใจกระบวนการมากกว่าผลลัพธ์อยู่แล้ว
ในใจของเด็กนั้น
ไม่ได้มีกรอบของความสวยงามแต่แรก
ไม่มีเส้นที่ระบายออกนอกไม่ได้
ไม่มีรูปทรงที่ไม่ได้ขนาด
แต่เมื่อเด็กถูกวิจารณ์บ่อยๆเข้า
เค้าถึงจะสร้างกรอบของ
ดี/ไม่ดี สวย/ไม่สวย เรียบร้อย/ไม่เรียบร้อย ขึ้นมาทีหลัง
ขอให้พ่อแม่เข้าใจว่า กว่าเด็กจะทำอะไรสำเร็จหนึ่งอย่าง
มันประกอบด้วย หลายกระบวนการ
ปั้นแป้งโดว์ -->เลือกสี-->นวดแป้ง-->คิดและจินตนาการถึงสิ่งที่จะปั้น -->ปั้นเป็นรูปทรงต่างๆ เอารูปทรงต่างๆมาประกอบเข้าด้วยกัน
กว่าจะได้เอามาโชว์แม่
ก็ผ่านความพยายาม และตั้งใจทุกกระบวนการ
ดังนั้น หากมันยังไม่สวย(ตามมาตรฐานผู้ใหญ่) ก็ให้ชมข้อดี ในกระบวนการที่เราเห็นก็แล้วกัน
“แม่ว่าลูกเอาแป้งสีขาวกับแดงผสมเป็นสีชมพูได้สวยจัง”
“ตรงนี้ปั้นเป็นหน้าพิซซ่า ปั้นเป็นพริกชิ้นเล็กๆ โห มันละเอียดมากเลย”
ถ้าลูกสอบได้คะแนนดีมาก หรือ ได้รับรางวัล
คำว่า “เก่งจังเลย” ย่อมเป็นคำที่เด็กอยากได้ยิน
แต่สิ่งที่สำคัญที่เราต้องส่งสัญญาณให้ลูกคือ
#เราชื่นชมความสำเร็จที่มาจากความพยายามความตั้งใจของลูก (ไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร)
“แม่ดีใจมากเลยลูก แม่รู้เลยว่าลูกตั้งใจทำมันมากจริงๆ
แล้วก็ได้ผลสมกับความทุ่มเทที่ทำไป”
หรือ แม้แต่ตอนที่เค้าล้มเหลว
ถ้าเราเป็นพ่อแม่ที่อยู่เคียงข้างเค้า
และเป็นคนที่รู้ความเป็นไปของลูกเสมอ
เราก็สามารถชี้ให้เห็นว่า เรารับรู้ความพยายามตรงขั้นตอนไหน หรือขั้นตอนไหนที่ต้องเพิ่มเติม
=============================
4.ชมให้สุด...อย่าทำตัวเป็นใบมีดโกนอาบน้ำผึ้ง
ประโยคที่ใช้เมื่อชมลูก ต้องมีแต่คำดีๆ
คำชมที่ฟังแล้ว ไม่รู้สึกดีเช่น
“ว้าว...วันนี้ตื่นอาบน้ำแปรงฟันได้เอง แม่ฝันไปรึเปล่าเนี่ย”
“วันนี้ตั้งใจทำการบ้านเสร็จเร็วมาก ถ้าทำแบบนี้ได้ทุกวันแม่ก็ไม่ต้องเหนื่อย”
“เก่งจัง ครั้งนี้สอบได้คะแนนเต็มเลย หรือว่าได้เต็มกันทุกคน”
ดีให้สุด อย่าสอดไส้ ด้วยคำประชดประชัน
ทำให้เด็กสับสนว่าตกลงที่ทำไป แม่ว่าดีหรือไม่ดีกันแน่
================================
5.การชื่นชมไม่จำเป็นต้องพูดเสมอไป
หากเราไม่ชิน เรื่องการพูดบรรยายความพยายาม
เพราะทั้งชีวิตเราก็ใช้คำว่า ดี เก่ง ฉลาด มาตลอด
ถ้าคิดไม่ทัน คำแนะนำคือ
ภาษากาย ก็เป็นส่วนสำคัญ
แววตา สีหน้า รอยยิ้ม แห่งความภาคภูมิใจของพ่อแม่
ก็ทำให้ลูกรับรู้ได้แล้วค่ะ
.
เมื่อคิดคำพูดดีๆได้ ค่อยพูด
================================
หมอแพม
สุขสันต์วันแห่งความรักค่ะ
(เขียนยาว สรุปให้ตัวเองอ่านด้วยค่ะ)
พ่อแม่ ไม่ดี 在 สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย - #เกลียดพ่อแม่แต่ก็รู้สึกผิด ไม่ ... 的推薦與評價
อาตมามีเพื่อนคนหนึ่ง ซึ่งพยายามก้าวข้ามความรู้สึกนี้ หลังจากที่มาปฏิบัติธรรม ก็พยายามทำดีกับแม่ แต่พอมาถึงจุดหนึ่งก็ทนไม่ได้ที่แม่ปกป้องลูกชาย ตามใจลูกชายทุกอย่าง ... ... <看更多>
พ่อแม่ ไม่ดี 在 เมื่อพ่อแม่ไม่ดีต่อใจ Toxic Parents | สตรีมีคลาส StreeMeClass ... 的推薦與評價
... (ซึ่งเราก็เข้าใจ พ่อแม่ นะคะว่าเมื่อก่อนทำไมถึงเป็นแบบนั้น) ทุกวันนี้เรารู้ตัวเลยค่ะว่าได้นิสัยที่เรา ไม่ ชอบติดตัวมาพอสมควรพยายามปรับเปลี่ยนแก้ไข และถ้ามีลูกก็ตั้งใจจะเป็นแม่ที่รับฟัง รัก ... ... <看更多>