หลังจากที่ทุกคนต่างตั้งตารอยูนิคอร์นตัวแรกของไทยมาอย่างเนิ่นนานในวันนี้ Flash Express สร้างความภาคภูมิใจให้กับวงการสตาร์ทอัพไทย โดยการปิดระดมทุนไปด้วยเม็ดเงินรวมแล้วกว่า 4,700 ล้านบาท ส่งผลให้ธุรกิจมีมูลค่ากว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขึ้นแท่นสู่ยูนิคอร์นสัญชาติไทยตัวแรกอย่างเป็นทางการ!
.
กลุ่มธุรกิจแฟลช (Flash Group) ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซสัญชาติไทยแบบครบวงจร รวมไปถึง Flash Express ซึ่งเป็นอีกหนึ่งบริการที่คนไทยรู้จักกันอย่างดี ซึ่งถือว่า Flash Group เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยในปัจจุบัน Flash Express นั้นมียอดการจัดส่งพัสดุสูงถึง 2 ล้านชิ้น/วัน ยังไม่รวมไปถึงบริการอื่นๆ ในเครือที่มีอีกจำนวนมากและทำยอดการให้บริการได้สูงไม่แพ้กัน นอกจากนี้ทาง Flash Group ยังมีแผนที่จะขยายบริการใหม่ออกไปยังกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งคาดว่าจะเปิดตัวในเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน
.
ในส่วนของการระดมทุนครั้งนี้ของ Flash Group เป็นการระดมทุนรอบซีรีส์ D+ และซีรีส์ E ซึ่งในรอบซีรีส์ D+ นั้นได้รับการสนับสนุนจาก SCB 10X และ บริษัท จันวาณิชย์ ซีเคียวริตี้พริ้นท์ติ้ง จำกัด เข้ามาเป็นผู้ร่วมลงทุนรายใหม่ และในซีรีส์ E ก็ได้กลุ่มทุนจากสิงคโปร์อย่าง Buer Capital, eWTP, บริษัท ปตท. น้ำมัน และการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR, บริษัท เดอเบล จำกัด (Durbell) ภายใต้กลุ่มธุรกิจ TCP, บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด (Krungsri Finnovate) ในเครือกรุงศรี กรุ๊ป รวมไปถึง SCB 10X ที่เข้าร่วมลงทุนในซีรีส์ E นี้อีกด้วย
.
สำหรับการระดมทุนรอบซีรีส์ D+ และซีรีส์ E ปิดดีลไปได้ที่ 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 4,700 ล้านบาท โดยทางผู้บริหารให้สัมภาษณ์ว่าเงินลงทุนครั้งนี้จะถูกกระจายไปในหลายสัดส่วนทั้งด้านการบริหาร และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ครอบคลุมไปถึงการลงทุนในด้านแพลตฟอร์ม eCommerce ที่จะตอบโจทย์ และสร้างความแตกต่างให้แก่ตลาด รวมถึงการเพิ่มช่องทางการขาย ขยายบริการ และสร้างกลยุทธ์ใหม่ๆ
.
จากการร่วมระดมทุนครั้งนี้เชื่อได้เลยว่าจะทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของบริการขนส่งสัญชาติไทยอย่างแน่นอน โดยเฉพาะการที่ Flash Express จะมีการร่วมมือกับทางสถานีบริการน้ำมันอย่าง PTT Station ในการเปิดบริการจุดรับส่งพัสดุของ Flash Express ภายในร้าน Café Amazon บางสาขาและยังรวมไปถึงแผนการขยายบริการอื่นๆ อีกในอนาคตซึ่งน่าติดตามไม่แพ้กัน
.
ทั้งนี้หลายคนอาจเข้าใจผิดมานานว่า Flash Group หรือบริการ Flash Express เป็นบริการจากบริษัทสัญชาติจีนไม่ใช่ของไทย แต่ทางผู้บริหารได้ยืนยันอย่างชัดเจนว่า Flash Group เป็นบริษัทของคนไทยที่สร้างและดำเนินธุรกิจโดยคนไทย แต่เพราะการระดมทุนในรอบ A – C นั้นมาจากต่างชาติเสียส่วนมากจึงอาจทำให้คนเข้าใจผิดกันได้
.
ถึงอย่างนั้น Flash Group ก็นับได้ว่าเป็น Startup ของไทยที่สามารถก้าวขึ้นถึงระดับยูนิคอร์นได้เป็นรายแรก โดยใช้ระยะเวลาเพียงแค่ 3 ปีเท่านั้น โดยในปัจจุบันธุรกิจมีมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 30,000 ล้านบาทไทย และนอกจากจะเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยแล้ว Flash Group ยังเป็นอีกหนึ่งกำลังใจของวงการสตาร์ทอัพไทยที่แสดงให้เห็นแล้วว่าคนไทยเองก็มีความสามารถในการก้าวขึ้นสู่สตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นได้เช่นเดียวกัน และก็ได้แต่ตั้งตาคอยว่าไม่นานนี้คงได้มียูนิคอร์นอีกจำนวนมากมาประดับวงการสตาร์ทอัพไทยได้อย่างแน่นอน
.
ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/941086
.
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#FlashExpress #Ecommerce #SEA #ยูนิคอร์น #Startup #Business #ธุรกิจ
ยูนิคอร์น ธุรกิจ 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的精選貼文
“ยูนิคอร์น”ความสำเร็จอีกขั้นของธุรกิจสตาร์ทอัพ! หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า Startup หรือธุรกิจสตาร์ทอัพ มากันจนคุ้นหูแล้ว แต่สำหรับ Unicorn (ยูนิคอร์น) อาจจะเป็นอะไรที่ค่อนข้างแปลกไปบ้าง อธิบายให้เข้าใจง่าย ยูนิคอร์น ก็คือ ธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 31,000 ล้านบาท ยกตัวอย่าง ยูนิคอร์น ที่ประสบความสำเร็จในสหรัฐอเมริกา ก็จะมี Uber, Airbnb, Snapchat หรือในด้านฝั่งเอเชียก็จะมี Xiaomi จากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่นั่นเอง
.
และสำหรับประเทศในกลุ่มอาเซียน (ASEAN) ก็ไม่ได้น้อยหน้าแต่อย่างใดเพราะวงการสตาร์ทอัพก็กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนมีหลายบริษัทสามารถเติบโตจนถึงระดับยูนิคอร์นได้สำเร็จ มาดูกันว่าเหล่ายูนิคอร์นตัวแทนจากภูมิภาคอาเซียนที่เป็นที่รู้จักและให้บริการในไทยจะมีใครกันบ้าง
.
1. Grab (2555)
ธุรกิจ : บริการโลจิสติกส์
มูลค่าบริษัท : 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สตาร์ทอัพที่เป็นที่คุ้นเคยของคนไทยกันอย่างดี ก่อตั้งขึ้นโดยอดีตนักศึกษาจากประเทศมาเลเซีย เพราะต้องการแก้ไขปัญหาการเรียกแท็กซี่ที่ไม่สะดวกสบายในประเทศของตน ถือเป็นสตาร์ทอัพที่เติบโตไปไวอย่างมากเพราะใช้เวลาเพียงแค่ 2 ปี ก็สามารถขยายฐานการใช้งานไปยังเพื่อนบ้านอย่างฟิลิปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม และ อินโดนีเซียในเวลาอันรวดเร็ว อีกทั้งได้รับเสริมความแข็งแกร่งจากการลงทุนจากบริษัทจีนและญี่ปุ่นอีก 2 พันล้านดอลลาร์ จนทำให้ Uber ถึงกับต้องถอยทัพขายกิจการในภูมิภาคยุบรวมกับ Grab ส่งผลทำให้คว้าตำแหน่งผู้ให้บริการที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคได้สำเร็จ ในปัจจุบันนี้ Grab ได้ให้บริการไปแล้วกว่า 168 เมือง ใน 8 ประเทศ
.
2. SEA (2552)
ธุรกิจ : เกมออนไลน์และอีคอมเมิร์ซ
มูลค่าบริษัท : 4,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
หรือชื่อเดิม Garena บริษัทสัญชาติสิงคโปร์ ผู้ให้บริการที่มีชื่อเสียงโดเด่นด้านเกมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Heroes of Newearth (HON), League of Legends (LOL) หรือเกมออนไลน์บนมือถือที่ฮิตที่สุดในไทยอย่าง Realm of Valor (ROV) ก่อนที่จะขยายธุรกิจไปในด้าน e-wallet อย่าง AirPay เพื่อรองรับการเติมเงินเข้าในเกมให้สะดวกมากยิ่งขึ้น และพัฒนาสู่การชำระเงินสินค้าอื่นๆ และกับอีกหนึ่งความสำเร็จในการก้าวเข้ามาสู่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ในชื่อที่เรารู้จักกันดีอย่าง “Shopee” นั่นเอง โดยที่ SEA รีแบรนด์จาก Garena เมื่อปี 2560 ที่ผ่านมานี้ หลังจากระดมทุนได้กว่า 550 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมี Tencent เป็นผู้ถือหุ้นหลัก (ณ ปัจจุบันนี้ได้เข้าตลาดหุ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว)
.
3. Gojek (2553)
ธุรกิจ : บริการโลจิสติกส์
มูลค่าบริษัท : 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เป็นธุรกิจสัญชาติอินโดนีเซียในรูปแบบเดียวกันกับ Grab และผู้ก่อตั้งก็ยังเป็นเพื่อนร่วมรุ่น MBA เดียวกันกับสองผู้ก่อตั้งของ Grab อีกด้วย จุดเริ่มต้นอาจจะต่างกันไปเล็กน้อยเพราะเกิดจากการต้องการยกระดับมาตรฐานของมอเตอร์ไซค์รับจ้างในประเทศอินโดนีเซีย และพัฒนาต่อยอดไปเป็นบริการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น การส่งอาหาร สินค้า ล้างรถ เป็นต้น โดยหลังจากที่เปิดบริการแค่ในประเทศ ก็ได้ทำการขยายไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ฟิลิปินส์, เวียดนาม, สิงคโปร์ และไทย หลังจากที่ได้รับเงินสนับสนุนจากเหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google, Tencent, JD.com และ Temasek เป็นต้น จุดมุ่งหมายนอกจากการอุดช่องว่างของ Uber ก็คือการเข้ามาชิงพื้นที่ทางการตลาด และโค่น Grab ลงจากบัลลังก์อันดับ 1 นั่นเอง
.
4. Traveloka (2555)
ธุรกิจ : บริการจองที่พักและตั๋วเครื่องบิน
มูลค่าบริษัท : 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
บริการสัญชาติอินโดนีเซียอีกเจ้าที่พบกับปัญหาจากจองเครื่องบินจากสหรัฐกลับบ้านเกิดที่แสนจะยากลำบาก ต้องมานั่งหาข้อมูลเอาเองโดยที่ไม่มีใครรวบรวมข้อมูลเหล่านั้นมาไว้ด้วยกัน จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการทำ Traveloka ออกมาในรูปแบบ Search engine ก่อนจะพัฒนาให้สามารถของตั๋วเครื่องบิน โรงแรม ที่พักต่างๆ รวมถึงบริการเกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยวทั้งหมด นอกจากนี้ก็ยังได้ระดมทุนก้อนใหญ่กว่า 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จนเลื่อนขั้นเป็นสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นอีกราย
.
5. VNG (2546)
ธุรกิจ : เกมออนไลน์และโซเชียลมีเดีย
มูลค่าบริษัท : 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นรุ่นบุกเบิกของดินแดนแถบอาเซียนจากเวียดนาม (พร้อมกับ Garena) ดำเนินธุรกิจมามากกว่า 17 ปี ในชื่อ VinaGame มาก่อน โดยดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับเกมซึ่งนั่นก็คือ MMORPG (Massively Multiplayer Online Game) หลังจากนั้นทำการขยายมาทำธุรกิจในด้านโซเชียลมีเดียโดยการผลิตแอปฯแชทอย่าง Zalo แอปฯ แชทอันดับ 1 ของประเทศเวียดนาม ที่มียอดดาวน์โหลดกว่า 15 ล้านครั้ง ความน่าสนใจคือ VNG คือบริษัทสตาร์ทอัพที่สามารถก้าวขึ้นระดับยูนิคอร์นได้อย่างรวดเร็วในขณะที่เน้นการทำธุรกิจภายในประเทศเป็นหลักไม่เหมือนกับเจ้าอื่นๆ ที่มีการขยายฐานไปยังประเทศอื่นๆ
.
นอกจาก 5 สตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นที่ได้กล่าวไปข้างต้น ในประเทศกลุ่มอาเซียนก็ยังมีสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นอยู่อีกเพียงแต่ไม่ได้เป็นที่รู้จักและให้บริการในพื้นที่ประเทศไทย นั่นก็คือ คือ Tokopedia ธุรกิจอีคอมเมิร์ซจากประเทศอินโดนีเซีย, Bukalapak ธุรกิจอีคอมเมิร์ซจากประเทศอินโดนีเซีย และ Revolution precrafted ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จากประเทศฟิลิปปินส์
.
โดยที่ประเทศอินโดนีเซียถือว่าเป็นประเทศที่มีสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นเยอะที่สุดในภูมิภาคอาเซียนถึง 4 เจ้า นั่นก็คือ Gojek, Traveloka, Tokopedia และ Bukalapak นั่นอาจเป็นเพราะรัฐบาลของอินโดนีเซียมีการสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพเพราะปัญหาทางเศรษฐกิจเลยต้องฉีกกฎหนีการทำธุรกิจรูปแบบเดิมเพื่อสร้างเศรษฐกิจในเชิงสร้างสรรค์ ลดการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯและจีนที่อาจะเป็นสาเหตุทำให้ประเทศอินโดนีเซียขาดเสถียรภาพ รวมถึงประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม มีสตาร์ทอัพที่ถึงระดับยูนิคอร์นแล้วเช่นเดียวกัน
.
สำหรับสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จเหล่านี้ล้วนแล้วแต่สามารถตอบโจทย์ปัญหาของผู้คนได้อย่างตรงจุด ทั้งสร้างสรรค์และแปลกใหม่ ซึ่งนั่นเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของธุรกิจสตาร์ทอัพอยู่แล้ว นอกจากนี้ธุรกิจสตาร์ทอัพนั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออุดช่องว่างของธุรกิจแบบดั้งเดิมส่งผลให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยการที่อาเซียนของเรามีสตาร์ทอัพในระดับยูนิคอร์นเป็นสัญญาณที่ดีว่าเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคอาเซียนนั้นสามารถที่จะแข่งขันกับตลาดโลกได้
.
อย่างไรก็ดีการที่จะสามารถก้าวขึ้นสู่ระดับยูนิคอร์นได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะนอกจากจะต้องอาศัยไอเดียที่สามารถตอบโจทย์ได้ดี ใหม่ และสร้างสรรค์แล้ว ก็ยังต้องมีเงินทุนจำนวนมากในการสนับสนุนไอเดียเหล่านี้ให้เกิดขึ้นได้จริงอีกด้วย สำหรับวงการสตาร์ทอัพประเทศไทยที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และมีสตาร์ทอัพที่มีไอเดียและเทคโนโลยีที่น่าจับตามองอยู่ไม่น้อย ไม่แน่ว่าในอนาคตอาจจะมียูนิคอร์นตัวใหม่ของอาเซียนที่ติดธงชาติไทยวิ่งไปสู่ระดับโลกก็เป็นได้
.
ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/unicorn-startup-indonesia
https://techsauce.co/tech-and-biz/what-is-unicorn
https://techcrunch.com/2016/01/02/the-unicorns-of-southeast-asia/
https://ahead.asia/2018/05/31/8-unicorns-of-sea/
https://www.thairath.co.th/news/tech/startup/1694640
.
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan #อายุน้อยร้อยล้านNEWS #Startup #Unicorn #ASEAN #สตาร์ทอัพยูนิคอร์น #Business
ยูนิคอร์น ธุรกิจ 在 พาไปรู้จักกับบริษัท Unicorn ระดับโลก : เรื่องเงิน เรื่องง่าย - YouTube 的推薦與評價
ในกลุ่ม ธุรกิจ Start-up จะได้ยินคำว่า Unicorn กันบ่อย ๆ Unicorn หมายถึงอะไร ? แล้วมีบริษัทอะไรที่ขึ้นชื่อว่าเป็น Unicorn บ้าง ... ... <看更多>