“10 ธันวา : ความรู้ความเข้าใจรัฐธรรมนูญ”
ประเทศไทยหลังจากการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจาก “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์” มาเป็น “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ”
รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" จากนั้น ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมา 20 ฉบับ ตามลำดับ ดังนี้
1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 (27 มิถุยายน - 10 ธันวาคม 2475)
2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475 (10 ธันวาคม 2475 - 9 พฤษภาคม 2489) ถูกยกเลิกเพราะล้าสมัย
3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (9 พฤษภาคม 2489 - 8 พฤศจิกายน 2490) ถูกยกเลิกโดยการรัฐประหาร
4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม (9 พฤศจิกายน 2490 - 23 มีนาคม 2492)
5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 (23 มีนาคม 2492 - 29 พฤศจิกายน 2494) ถูกยกเลิกการรัฐประหาร
6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 (8 มีนาคม 2495 - 20 ตุลาคม 2501) ถูกยกเลิกโดยการรัฐประหาร
7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 (28 มกราคม 2502 - 20 มิถุนายน 2511)
8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 (20 มิถุนายน 2511 - 17 พฤศจิกายน 2514) ถูกยกเลิกโดยการรัฐประหาร
9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 (25 ธันวาคม 2515 - 7 ตุลาคม 2517)
10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (7 ตุลาคม 2517 - 6 ตุลาคม 2519) ถูกยกเลิกโดยการรัฐประหาร
11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 (22 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520)
12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 (9 พฤศจิกายน 2520 - 22 ธันวาคม 2521)
13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (22 ธันวาคม 2521 - 23 กุมภาพันธ์ 2534) ถูกยกเลิกการรัฐประหาร
14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 (1 มีนาคม - 9 ตุลาคม 2534)
15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (9 ธันวาคม 2534 - 11 ตุลาคม 2540) ถูกยกเลิกหลังตรารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับประชาชน (11 ตุลาคม 2540 - 19 กันยายน 2549) ถูกยกเลิกโดยการรัฐประหาร
17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (1 ตุลาคม 2549 - 24 สิงหาคม 2550)
18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (24 สิงหาคม 2550 - 22 พฤษภาคม 2557) ถูกยกเลิกโดยการรัฐประหาร
19. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 (22 กรกฎาคม 2557 - 6 เมษายน 2560)
20. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (6 เมษายน 2560 - ปัจจุบัน)
ความรู้ความเข้าใจในตัวรัฐธรรมนูญ
ในอดีต มีประชาชนในสมัยพ่อเฒ่า เมื่อ 87 ปี ที่แล้ว พ่อเฒ่าเล่าว่า ประชาชนในสมัยนั้นเข้าใจว่า วันที่ 10 ธันวา ที่มีการเฉลิมฉลองวันรัฐธรรมนูญนั้น คือ การเลี้ยงฉลองวันเกิด ลูกชาย พระยาพหลพยุหเสนา ที่ ชื่อ รัฐธรรมนูญ แสดงให้เห็นถึงการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ให้มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และให้มีรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 2 ฉบับถาวร ประกาศใช้ วันที่ 10 ธันวาคม 2475 ถือ เป็น “วันรัฐธรรมนูญ” ของประเทศไทย นั้นไม่มีความเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตยเลย
และจนมาถึงวันนี้ปัจจุบัน 87 ปี ความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยก็ยังชนบท (ล้าหลัง) อยู่ “รัฐบาลที่เปลี่ยนเสื้อผ่านทางรัฐธรรมนูญ 2560 จาก คสช. มาเป็นรัฐบาลพลเรือน น่าจะรู้ดีครับ”
「รัฐธรรมนูญ 2540」的推薦目錄:
- 關於รัฐธรรมนูญ 2540 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於รัฐธรรมนูญ 2540 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於รัฐธรรมนูญ 2540 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於รัฐธรรมนูญ 2540 在 iLaw - รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นอย่างไร ใครๆ ก็พูดถึง . คุณรู้หรือไม่ว่า ... 的評價
- 關於รัฐธรรมนูญ 2540 在 b-holder EP11: ประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญ 2540 เขียนขึ้นอย่างยาก แต่ ... 的評價
รัฐธรรมนูญ 2540 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
"ที่มาหรือบ่อเกิดของกฎหมายมหาชน"
รองศาสตราจารย์สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ถาม ที่มาหรือบ่อเกิดของกฎหมายมหาชน หมายถึงอะไร
ตอบ ที่มาหรือบ่อเกิดของกฎหมายมหาชน มีความหมายอยู่ นัย คือ
นัยที่ 1 หมายถึง กฎหมายมหามหาชนที่เกิดจากการสร้างหรือบัญญัติขึ้นมาเป็นลายลักษณ์อักษร
นัยที่ 2 หมายถึง กฎหมายมหาชนที่เกิดจากการใช้ การตีความกฎหมายของศาล โดยศาลค้นหาจากจารีตประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป คำพิพากษาของศาล ความเห็นนักวิชาการ มาพิจารณาคดี เกิดเป็นคำพิพากษาของศาล เช่น คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ คำพิพากษาศาลปกครอง
ถาม จากความหมายที่มาหรือบ่อเกิดของกฎหมายมหาชน แสดงให้เห็นถึงแหล่งที่มาของกฎหมายมหาชนมี 2 แหล่ง
ตอบ ใช่ครับ เมื่อพิจารณาศึกษาที่มาหรือบ่อเกิดของกฎหมาย จะพบว่า มีอยู่ 2 แหล่ง คือ ที่มาบ่อเกิดของกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรกับที่มาบ่อเกิดของกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
ถาม แหล่งที่มาบ่อเกิดของกฎหมายลายลักษณ์อักษร มีอะไรบ้าง
ตอบ แหล่งที่มาบ่อเกิดของกฎหมายลายลักษณ์อักษร ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 5 วรรคแรก ได้กำหนดว่า “รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ กฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับอื่นใดจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญนี้จะใช้บังคับมิได้” ทำให้เราพบว่ากฎหมายลายลักษณ์มี อยู่ 3 ระดับชั้น คือ รัฐธรรมนูญ ระดับกฎหมายบัญญัติและกฎหมายระดับรอง
จะพิจารณาโดยองกรผู้ออกฎหมาย ดังนี้
1.)รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดโดยหลักทั่วไป มีผู้จัดทำรัฐธรรมนูญ มีอยู่ 4 ประเภท คือ บุคคลคนเดียว คณะบุคคล สภานิติบัญญัติแห่งชาติและสภาร่างรัฐธรรมนูญ
2.)ระดับกฎหมายบัญญัติ จะพบว่ามี 3 กลุ่ม ที่ตรากฎหมาย ประเภทนี้
2.1 )ฝ่ายนิติบัญญัติ มีอำนาจตรา พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ กฎมณเฑียรบาล ประมวลกฎหมาย
2.2 )ฝ่ายบริหาร ออกพระราชกำหนด
2.3 )องค์กรพิเศษ เช่น คณะรัฐประหาร (คสช.) ออกประกาศคณะปฏิวัติ เมื่อมีการรัฐประหาร และต่อมารัฐธรรมนูญบัญญัติรองประกาศคณะปฏิวัติเหล่านี้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ (น่าจะเป็นลักษณะพิเศษของประเทศไทยในปัจจุบัน)
3. )กฎหมายระดับรอง หรือ เรียกว่า “กฎ” ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกโดยอาศัยอำนาจระดับกฎหมายบัญญัติ สามารถออกได้หลายกลุ่ม ดังนี้
3.1 )ฝ่ายบริหาร ออก พระราขกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง มติคณะรัฐมนตรีที่มีฐานะเป็นกฎ
3.2 )ออกโดยศาลและหน่วยงานธุรการที่เป็นอิสระของศาล
3.3 )ออกโดยรัฐวิสาหกิจ
3.4 )ออกโดยองค์การมหาชน
3.5 )ออกโดยองค์กรวิชาชีพ
3.6 )ออกโดยหน่วยงานอื่นของรัฐ
3.7) ออกโดยองค์กรอิสระและหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ
3.😎 หน่วยงงานสังกัดรัฐสภา
ถาม กฎหมายมหาชนที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีแหล่งที่มาอย่างไร
ตอบ กฎหมายมหาชนที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นั้น รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 5 วรรค 2 ได้กล่าวถึงกรณีที่ไม่บทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรให้ใช้จารีตประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พบว่า ที่ศาลนำมาใช้ การตีความ พบว่ามี อยู่ 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.) จารีตประเพณี จารีตประเพณีที่ ตามหลักกฎหมายมหาชน เช่น จารีตประเพณีพระมหากษัตริย์และเชื้อพระวงศ์ทรงอยู่เหนือการเมือง เป็นต้น
2.) คำพิพากษาของศาล ที่ศาลนำมาอ้างอิงในการวินิจฉัยคดี เช่นคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด หรือ คำพิพากษาศาลฎีกา เป็นต้น
3.) หลักกฎหมายทั่วไป ซึ่งเป็นหลักกฎหมายที่อารยประเทศเขานำมาใช้ เป็นหลักกฎหมายที่อยู่เบื้องหลังของการบัญญัติกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายและการตีความกฎหมายของ
4.) ความเห็นนักวิชาการ ความเห็นนักวิชาการด้านกฎหมาย ศาลจะนำมาใช้ตีความกฎหมายเมื่อเห็นว่ามีเหตุผลที่ดีในการให้เหตุผลในทางกฎหมาย เช่น หมายเหตุในท้ายฎีกา หรือ คำวินิจฉัยส่วนตัวของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือ มาจากงานวิจัยที่ได้ค้นคว้าศึกษาวิเคราะห์จากนักวิชาการ
ถาม ประกาศคณะปฏิวัติ เป็นที่มาบ่อเกิดของกฎหมายมหาชนที่สมบูรณ์หรือไม่
ตอบ ถ้าเรามองด้านรูปแบบของที่มาของกฎหมายมหาชน จะพบว่าเป็นที่มาบ่อเกิดของกฎหมายมหาชน เพราะมีรัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองว่าชอบด้วยกฎหมาย ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
แต่ถ้ามองด้านเนื้อหาความสมบูรณ์ของกฎหมาย คือ กฎหมายเป็น “กติกา” ที่อยู่ร่วมกันของมนุษย์ในสังคม ก็ต้องมาจากความยินยอมพร้อมใจของคนในสังคม เช่น การส่งตัวแทนไปออกกฎหมายด้วยการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง ไม่ใช่มาจากการใช้กำลังอำนาจเข้ายึดอำนาจในการออกออกกฎหมาย ดังเช่น การรัฐประหาร ถ้ามองกฎหมายมหาชนในด้านเนื้อหาเห็นว่า ประกาศคณะปฏิวัติเป็นกฎหมายที่ไม่สมบูรณ์ขัดต่อหลักธรรมชาติของมนุษย์กับการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมที่มีการปกครอง “ระบอบประชาธิปไตย” ภายใต้หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม
ถาม คำพิพากษาของศาลใดบ้างที่ถือเป็นที่มาบ่อเกิดของกฎหมายมหาชน
ตอบ ถ้าเราจะตอบว่าเป็นที่มาบ่อเกิดของกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ถ้าเราจะทำความเข้าใจให้ดี พบว่าในระบบกฎหมายซิวิลลอว์ กับระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ จะมองคำพิพากษาที่แตกต่างกัน คือ
ในระบบซิวิลอว์มองว่า คำพิพากษาถือเป็นที่มาบ่อเกิดของกฎหมายมหาชนได้ นั้นต้องเป็นกรณีที่ไม่กฎหมายลายลักษณ์อักษรมาปรับใช้แก่คดี ถึงจะยอมรับกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แสดงให้เห็นว่า คำพิพากษาของเป็นที่มาของกฎหมายมหาชนรองลงมาจากกฎหมายลายลักษณ์อักษร
แต่ในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ คำพิพากษาถือเป็นที่มาบ่อเกิดกฎหมายหลัก เป็นกฎหมายจารีตประเพณี แต่อย่างไรก็ตามเมื่อไม่มีคำพิพากษาก็ค้นหาจากกฎหมายลายลักษณ์ที่ตราโดยฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา)
ถาม แล้วประเทศไทย ใช้ระบบกฎหมายใด
ตอบ ประเทศไทยเราใช้ระบบกฎหมายซิวิลลอว์ ครับ แต่อาจอิงหรือปรับใช้ภายใต้อิทธิพลของคอมมอนลอว์อยู่มากเช่นกัน
ถาม ลำดับชั้นทางกฎหมายเป็นอย่างไร
ตอบ ลำดับชั้นทางกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 5 วรรคแรก ได้กำหนดว่า “รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ กฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับอื่นใดจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญนี้จะใช้บังคับมิได้” ทำให้เราพบว่ากฎหมายลายลักษณ์มี อยู่ 3 ระดับชั้น คือ
ลำดับชั้นที่ 1 รัฐธรรมนูญ
ลำดับชั้นที่ 2 กฎหมายในระดับกฎหมายบัญญัติ
ลำดับชั้นที่ 3 กฎหมายระดับรอง หรือ “กฎ”
ถาม กฎหมายอะไรบ้างที่พบว่ามีปัญหาในการจัดลำดับชั้นทางกฎหมาย
ตอบ กฎหมายที่มีปัญหาการจัดลำดับชั้นทางกฎหมายในปัจจุบัน ที่เห็นชัดเจนที่สุด
คือ
1) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ในต่างประเทศเช่น ฝรั่งเศส มีลำดับชั้นสูงกว่าพระราชบัญญัติแต่มีลำดับชั้นต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ แต่ของประเทศมีลำดับชั้นเท่ากับพระราชบัญญัติ แต่เมื่อดู เงื่อนไขการตรากฎหมาย คือ เงื่อนไขการตราพระราชบัญญัติกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ 2560 จะมีความแตกต่างกันมาก เช่น พระราชบัญญัติพิจารณาโดย ส.ส.ก่อน แล้วเสร็จให้ ส.ว. พิจารณา แต่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยรัฐสภา (ส.ส.กับ ส.ว. พิจารณาร่วมกัน) ซึ่งมีลักษณะเดียวกันการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยรัฐสภา
2)ปัญหาความสับสนการตีความพระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญในความเห็นของผู้เขียน ถือว่า เป็นกฎหมายลำดับรอง ดังเช่น พระราชกฤษีกาที่ออกโดยพระราชบัญญัติ แต่จะมีความแตกต่างตรงที่ว่า พระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ การกระทำทางการเมืองเพื่อให้ฝ่ายบริหารถ่วงดุลและคานอำนาจกับฝ่ายนิติบัญญัติที่มีความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับรัฐสภา เป็นดุลพินิจฝ่ายบริหารอย่างแท้จริงไม่อยู่ภายใต้ตรวจสอบของอำนาจตุลาการ ส่วนการกระทำทางปกครองจะอยู่ภายใต้การตรวจสอบของอำนาจตุลาการ คือ ศาลปกครองหรือศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี
แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัญหาที่น่าขบคิดถึงสถานะของพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยอำนาจ มาตรา 230 วรรค 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540 ซึ่งเป็นกฎหมายระดับลำดับรอง ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า พระราชกฤษฎีดังกล่าว เป็นกฎหมาย เป็นที่มาของกฎหมายในระดับกฎหมายบัญญัติ ตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 27/2540 และคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ล่าสุด ที่วินิจฉัยพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งเลือกตั้ง อาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 108 มีฐานะเป็นกฎหมาย
หรือแม้กระทั่ง พระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ ศาลปกครองพิพากษาว่า เป็น “กฎ” แต่ไม่อยู่เขตอำนาจศาลปกครอง เพราะถือว่าเป็นการกระทำที่มีความสัมพันธ์ระหว่างประมุขของรัฐกับฝ่ายบริหาร ถ้าศาลปกครองไม่มีอำนาจตรวจสอบ ศาลฎีกาตรวจสอบได้หรือไม่ เพราะศาลฎีกามีอำนาจทุกคดีที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลอื่นๆ
รัฐธรรมนูญ 2540 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
“กระบวนการการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560”
(ที่มา https://www.ilaw.or.th/node/5478)
เรามาวิเคราะห์ทำความเข้าใจ ในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2560 ในหมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มีทั้งหมดเพียงสองมาตราคือ มาตรา 255 มาตรา 256
มาตรา 255 กำหนดเรื่องที่ไม่สามารถแก้ไขได้โดยเด็ดขาด คือ การแก้ไขที่เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ ซึ่งสอดคล้องไปกับมาตรา 1 ของรัฐธรรมนูญที่บอกว่า “ประเทศไทยเป็นราชอาญาจักรอันหนึ่งเดียว จะแบ่งแยกมิได้”
มาตรา 256 กำหนดกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญไว้ทั้งหมดดังนี้
ผู้ที่สามารถยื่นญัตติหรือริเริ่มขอแก้รัฐธรรมนูญได้ต้องเป็น
1. คณะรัฐมนตรี
2. ส.ส.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 (100 คน ขึ้นไป)
3. ส.ส.+ส.ว. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของทั้งสองสภา (ส.ส.+ ส.ว. 150 คนขึ้นไป)
4. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 คน
ญัตติแก้ไขเพิ่มต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมต่อรัฐสภาและให้รัฐสภาพิจารณา 3 วาระ ได้แก่
วาระแรก ขั้นรับหลักการ ต้องได้เสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งสองสภา และกำหนดเงื่อนไขพิเศษให้ในจำนวนนี้ต้องได้เสียงเห็นชอบจาก ส.ว. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3
หมายความว่า ส.ส.+ส.ว. ต้องได้เสียงไม่น้อยกว่า 375 เสียงและในจำนวนนั้นต้องเป็น ส.ว. ไม่น้อยกว่า 84 เสียง
วาระที่สอง เป็นขั้นพิจารณาเรียงรายมาตรา ให้ถือเสียงข้างมาก คือ ส.ส. หรือ ส.ว.ก็ได้รวมกันให้ได้ 375 เสียงขึ้นไป แต่หากเป็นการแก้ไขที่ประชาชนเป็นผู้เสนอ ต้องเปิดโอกาสให้ผู้แทนประชาชนเสนอความคิดเห็นด้วย จากนั้นรอ 15 วัน จึงเข้าวาระสาม
วาระที่สาม เป็นขั้นสุดท้าย ต้องได้รับเสียงเห็นชอบเกินครึ่งหนึ่งของทั้งสองสภา คือ ส.ส.+ส.ว. ต้องได้ไม่น้อยกว่า 375 เสียง แต่มีเงื่อนไขพิเศษกำหนดให้ต้องมี ส.ส. จากพรรคที่ไม่มีสมาชิกเป็นรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือรองประธานผู้แทนราษฎร เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของทุกพรรคการเมืองดังกล่าวรวมกัน
เราลองมาคำนวณตามเงื่อนไขนี้กัน
พรรคที่มีสมาชิกเป็น รัฐมนตรี ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วย 1) พลังประชารัฐ มี ส.ส. 117 คน 2) ประชาธิปัตย์ มี ส.ส.53 คน 3) ภูมิใจไทย มี ส.ส.51 คน 4) ชาติไทยพัฒนามี ส.ส.11 คน = 232 คน
ดังนั้น พรรคที่ไม่มีตำแหน่งตามที่มาตรานี้กำหนดจึงมีจำนวน 268 คน รัฐธรรมนูญกำหนดให้ ส.ส จากพรรคที่ไม่มีตำแหน่งตามมาตรานี้ต้องออกเสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 นั่นแปลว่า จาก 268 คนต้องมีไม่น้อยกว่า 54 คนเห็นชอบด้วย
นอกจากนี้ยังคงกำหนดให้ต้องมีเสียงของ ส.ว.เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 (ไม่น้อยกว่า 84 เสียง) เมื่อมีมติเห็นชอบให้รอไว้ 15 วัน แล้วนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายให้พระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาบังคับใช้เป็นกฎหมาย
แต่ช้าก่อน มาตรา 256 ยังกำหนดให้มีการทำประชามติไว้ด้วยก่อนทูลเกล้าฯ หากเป็นการแก้ไขในเรื่องเหล่านี้
1. หมวด 1 บททั่วไป
2. หมวด 2 พระมหากษัตริย์
3. หมวด 15 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ
4. เรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมบัติ หรือลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ
5. เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ หรืออำนาจของศาล หรือองค์กรอิสระ
6. เรื่องที่ทำให้ศาล หรือองค์กรอิสระไม่อาจปฏิบัติตามหน้าที่ หรืออำนาจใด
สุดท้ายในรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ยังกำหนดให้ก่อนที่นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้สิทธิ ส.ส. หรือ ส.ว. หรือทั้งสองสภารวมกัน จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของแต่ละสภา หรือทั้งสองสภารวมกัน เข้าชื่อเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐหรือไม่ หรือเป็นเรื่องที่ต้องทำประชามติก่อนหรือไม่ โดยศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับเรื่อง ในระหว่างนั้น นายกฯ จะนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายไม่ได้
สรุปให้เข้าใจง่ายๆ ได้อีกครั้ง ดังนี้
ล็อคชั้นที่ 1 : ส.ว.แต่งตั้ง ไม่เห็นชอบ
รัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดให้ ส.ว. ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง ส.ว. ชุดแรกให้ดำรงตำแหน่ง 5 ปี (2562-2567) และให้มีที่มาแบบ "พิเศษ" ส.ว. 250 คน มีที่มา 3 ช่องทางซึ่งล้วนมาจากระบบการคัดเลือกของ คสช.ทั้งสิ้น
ส.ว. มีบทบาทอย่างมากว่าจะโหวตให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่าน หรือไม่ผ่าน เนื่องจากรัฐธรรมนูญบังคับให้ต้องมีเสียง ส.ว.เห็นชอบไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 (84 คน) วิธีการลงคะแนนทั้งสองวาระเป็นการลงคะแนนเสียงแบบเปิดเผย ขานชื่อทีละคนด้วย หาก ส.ว. เห็นชอบไม่ถึงจำนวนที่กำหนดไว้เรื่องนี้ก็เป็นอันตกไป
หากดูผลงานที่ผ่านมา ส.ว. แต่งตั้งชุดนี้ยังไม่เคยโหวตแตกแถวกันเลย เช่น การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีที่ผ่านมา ทำให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตหัวหน้า คสช.ได้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย
ท่าทีของ ส.ว.(ที่แต่งตั้งโดย คสช.) อย่าง เสรี สุวรรณภานนท์ ยิ่งชัดเจน เมื่อเขาออกมาให้สัมภาษณ์ว่า บรรดา ส.ว.ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะประเด็นอำนาจ ส.ว. เพราะ ส.ว. มีหน้าที่รับผิดชอบบ้านเมืองในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปีให้ดำเนินไปด้วยความสงบเรียบร้อย
พรเพชร วิชิตชลชัย อดีตประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานวุฒิสภาในปัจจุบัน ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ไม่เห็นด้วยกับประเด็นการแก้รัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะประเด็นการแก้ไขถึงขั้นจะไม่ให้มี ส.ว. เนื่องจากเป็นส่วนเกินที่ไม่มีผลงาน หรือเป็น “ไส้ติ่ง” นั้น เห็นว่า ตลอดระยะเวลา 87 ปีที่เป็นประชาธิปไตย ประเทศไทยไม่เคยมีสภาเดี่ยว ยกเว้นหลังการรัฐประหาร อยากให้เป็นอย่างนั้นหรือ และผลงานของ ส.ว. ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาก็ทำงานตามปกติ เพียงแต่ประชาชนอาจจะไม่เห็น หลังจากนี้หากกฎหมายปฏิรูปประเทศ และกฎหมายยุทธศาสตร์ชาติเข้าพิจารณา ส.ว. จะเห็นการทำงานของ ส.ว. ชัดขึ้นแน่นอน
พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม หนึ่งใน ส.ว. ก็แสดงท่าทีชัดเจนยิ่งว่า บรรดา ส.ว. จะไม่ยอมให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแน่นอน หากแตะต้องเรื่องของ ส.ว. เนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องใช้เสียงของ ส.ว. ด้วย 84 เสียง แล้วจะมี ส.ว. ที่ไหนมาสนับสนุน
จึงเดาได้ไม่ยากว่า เพียงล็อคที่ 1 “เสียง ส.ว. 1 ใน 3” ก็หืดขึ้นคอแล้วสำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560
ล็อคชั้นที่ 2 : ศาลรัฐธรรมนูญปัดตกร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไข
มาตรา 256 (9) กำหนดเงื่อนไขในการส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญไปสู่มือศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ตีความว่าเป็นเรื่องที่ห้ามแก้หรือไม่ หรือเป็นเรื่องที่ต้องทำประชามติก่อนหรือไม่ โดยสามารถริเริ่มได้โดยง่าย ผ่านช่องทางใดก็ได้ 3 ทางคือ
1) ส.ว.เข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 (ไม่น้อยกว่า 25 คน)
2) ส.ส. เข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 (ไม่น้อยกว่า 50 คน)
3) ส.ส.+ส.ว. เข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 (ไม่น้อยกว่า 75 คน)
ต้องไม่ลืมว่า ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรที่อยู่กึ่งกลางระหว่างกฎหมายกับการเมือง ถือเป็นกลไกสำคัญในยามที่ประเทศต้องการตัดสินชี้ขาดทั้งในแง่ของการใช้อำนาจรัฐหรือความสับสนของการตีความกฎหมาย ผลของการตัดสินส่งผลกระทบให้เปลี่ยนโฉมหน้าการเมืองไทยมาหลายต่อหลายครั้ง ด้วยเหตุนี้ศาลรัฐธรรมนูญ (ตามหลักการ) จึงต้องมีหลักประกัน "ความเป็นอิสระ" ไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
กระนั้นก็ตาม หลังการรัฐประหารปีแรกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งแต่งตั้งโดย คสช. ได้เห็นชอบบุคคลไปดำรงตำแหน่งศาลรัฐธรรมนูญแทนตำแหน่งที่ว่างลงจำนวน 2 คน ต่อมามีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวน 5 คนที่กำลังจะหมดวาระ แต่ คสช. ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ต่ออายุให้ตุลาการจำนวน 5 คน ให้ยังทำงานต่อจนกว่าจะมีการสรรหาตุลาการใหม่แล้วเสร็จ ซึ่งนั่นก็รวมเป็น 7 คนแล้ว จากทั้งหมด 9 คน ที่มาจากอำนาจของ คสช.
หากดูผลงานศาลรัฐธรรมนูญ ในยุค คสช. เป็นต้นมา เราก็พอจะเห็นแนวโน้มบางประการ เช่น
==> ตัดสินว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติพ.ศ.2559 ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้มีผู้ที่รณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญต้องถูก ดำเนินคดีตามกฎหมายนี้จำนวนมาก
==> ตัดสินยุบพรรคไทยรักษาชาติ
==> ไม่รับคำร้องผู้ตรวจการแผ่นดินที่ขอให้วินิจฉัยกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีเข้าเฝ้าถวายสัตย์ ปฏิญาณไม่ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ
==> ตัดสินให้ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่เป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ทำให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้
เป็นต้น
ล็อคที่ 3: ประชามติ
ดังที่กล่าวไปว่ามีการกำหนดประเด็นต่างๆ ที่ต้องทำประชามติไว้เรียบร้อยแล้วด้วย หนึ่งในนั้นคือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังนั้นถ้าจะแก้ก็ต้องทำประชามติ การทำประชามติต้องมีกฎหมายเฉพาะ ซึ่งหากมีการทำประชามติครั้งใหม่ก็ต้องมีการร่าง พ.ร.บ.เกี่ยวกับการทำประชามติขึ้นใหม่ เนื่องจาก พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 นั้นออกมาเพื่อการทำประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญ 2560 เท่านั้น
ความฟรีและแฟร์ในการทำประชามติเป็นเรื่องน่าจับตาอย่างยิ่ง เนื่องจากตัวอย่างเร็วๆ นี้ในการประชามติสำหรับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน จะพบว่า การรณรงค์มีความยากลำบากสำหรับผู้ที่ไม่เห็นด้วย เนื่องจากมีผู้ถูกดำเนินคดีจากการรณรงค์ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ 2560 ถึง 64 คน และยังมีกิจกรรมสาธารณะเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นเรื่องร่างรัฐธรรมนูญถูกปิดกั้นอย่างน้อยอีก 19 ครั้ง
ดังนั้น นี่จึงเป็นอีกเงื่อนไขที่จะกำหนดล่วงหน้าว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะผ่านหรือไม่ผ่านประชามติ
ยังไม่มีกลุ่มคนใดเสนอกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญ ‘นอกสภา’
สุดท้ายแล้วจากการสำรวจกระแสการแก้ไขรัฐธรรมนูญในช่วงนี้พบว่า ทั้งภาคประชาชนที่รวมตัวกันเพื่อจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือพรรคการเมืองที่ต้องการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเอง ยังไม่มีกลุ่มใดหรือพรรคการเมืองใดที่เสนอแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ไม่ผ่านกระบวนการทางรัฐสภา ตามมาตรา 256 ดังนั้น มาตรานี้จึงมีความสำคัญอย่างมากและเป็นไปดังที่ได้แจกแจงไป
ข้อเสนอต่างๆ ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญสรุปแล้วมี 2 แนวทางหลัก คือ
หนึ่ง แก้เนื้อหาในมาตรา 256 เพื่อให้มีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ เพื่อให้กลับไปใช้รัฐธรรมนูญที่เหมือนกันฉบับ 2540 หรือร่างใหม่ทั้งฉบับที่เป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากเสียงประชาชนทั้งหมด
สอง แก้รัฐธรรมนูญโดยการแก้รายมาตราตามประเด็นที่แต่ละกลุ่ม หรือแต่ละพรรคการเมืองสนใจ เช่น ยกเลิก ส.ว., การแก้ไขระบบเลือกตั้ง เป็นต้น
ทั้งสองแนวทางนั้นล้วนแต่ต้องเริ่มกระบวนการแก้ไขผ่านรัฐสภาตามมาตรา 256 เท่านั้น
รัฐธรรมนูญ 2540 在 b-holder EP11: ประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญ 2540 เขียนขึ้นอย่างยาก แต่ ... 的推薦與評價
![影片讀取中](/images/youtube.png)
หลังเหตุการณ์นองเลือดเดือนพฤษภาคม 2535 เสียงเรียกร้องให้เกิด ' รัฐธรรมนูญ ' ฉบับใหม่ ดังขึ้นหนาหู เพื่อสร้างฉันทมติใหม่ผ่าน รัฐธรรมนูญ ขจัด ... ... <看更多>
รัฐธรรมนูญ 2540 在 iLaw - รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นอย่างไร ใครๆ ก็พูดถึง . คุณรู้หรือไม่ว่า ... 的推薦與評價
หลังรัฐธรรมนูญ 2540 ถูกยกเลิกตลอด 22 ปี เรามีกระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ 2 ครั้ง คือ รัฐธรรมนูญ 2550 และรัฐธรรมนูญ 2560 และมีแนวโน้มที่อนาคตเรากำลังจะมี ... ... <看更多>