เปิดประเด็นข้อเท็จจริง “จริงหรือไม่? อเมริกาและประเทศพันธมิตร ไม่อนุญาตให้คนจีนไปเรียนอีกต่อไป"
.
จริงๆมีคนถามมาตั้งแต่เมื่อวันก่อน และตอบไปในข้อความส่วนตัวแล้ว ถึงกรณีมีการโพสต์เนื้อหาบนโลกโซเชียลว่า "อเมริกา และหลายประเทศในยุโรปแบนนักศึกษาจีน" เลยอยากเขียนถึงเรื่องนี้สักหน่อย เผื่อเป็นข้อมูลสำหรับทุกคนในพิจารณาข้อเท็จจริงครับ
.
1. อเมริกาไม่ได้ "ห้าม" หรือ "ไม่อนุญาต" นักศึกษาจีนเข้าไปเรียนที่อเมริกาอีกต่อไป เหมือนกับที่มีการเขียนโพสต์ออกมาและแชร์ไปเป็นจำนวนมากก่อนหน้านี้ ยังคงมีนักศึกษาจีนได้รับการตอบรับเพื่อเข้าเรียนในอเมริกา และเริ่มเดินทางไปยังอเมริกาแล้วโดยเฉพาะเดือนสิงหาคมนี้ หลังจากอเมริกาผ่อนคลายมาตรการเข้มงวดในการขอวีซ่าและเดินทางเข้าอเมริกา โดยอนุญาตให้นักเรียนจีนเดินทางเข้าอเมริกาได้ สำหรับโปรแกรมการศึกษาที่จะเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2021 เป็นต้นไป มีเงื่อนไข “เดินทางเข้าอเมริกาล่วงหน้า ไม่เกิน 30 วัน ของเวลาเปิดเทอม - เริ่มคอร์ส”
.
แต่ต้องยอมรับว่า "มีข้อจำกัดมากขึ้นจากหลายปัจจัย เช่น จากวิกฤติโควิด ค่าตั๋วค่าเดินทางแพงขึ้น ตามข้อมูลจาก SCMP (South Morning China Post) สื่อเอกชนที่รายงานเรื่องจีน นำเสนอสกู๊ป "The high price Chinese students pay for university in the US during the Covid-19 pandemic" เผยแพร่ 21 สิงหาคม 2564 ระบุ "ค่าตั๋วเครื่องบินจากจีนเข้าอเมริกา ราคาสูงมากทีเดียว ตัวอย่างเช่น ตั๋วเที่ยวเดียวจากปักกิ่งหรือเซี่ยงไฮ้ ไปยังปลายทางมหานครนิวยอร์ก บอสตัน หรือเมืองใหญ่อีกหลายเมืองในอเมริกา ต้องจ่ายเงินสูงถึงราว 20,000 หยวน ( ประมาณ 1 แสนบาท)"
.
2. เรื่องของการเมือง มีผลกระทบจริงต่อการเรียนต่อในอเมริกาของนักเรียนนักศึกษาจีน แต่ยังสามารถไปได้อยู่ ไม่ใช่ ห้าม 100% ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น โดยในบทความของ SCMP (ที่อ้างอิงข้างบน) ยังระบุคำสัมภาษณ์นักศึกษาจีน
“ความสัมพันธ์ของสองประเทศยังคงมีปัญหา และกระแสชาตินิยมในจีนยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ การตัดสินใจเรียนต่อในอเมริกาไมใช่เรื่องง่ายเลย แต่หวังว่าจะคุ้มค่ากับเงินและอุปสรรคปัญหาต่างๆที่เจอ”
.
3. ตั้งแต่ช่วงสงครามการค้าจีนอเมริกาอย่างหนักเมื่อช่วงปี 2019 อเมริกาได้ประกาศแบนหลายสินค้าและบริษัทของจีน อย่างเช่น Huawei ซึ่งไม่เว้นแม้แต่สถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยในจีนที่โดนแบนไปทั้งหมด 6 แห่ง (รวมถึงมหาวิทยาลัยที่อ้ายจงเรียนจบมา) โดยล้วนเกี่ยวข้องกับสายเทคโนโลยีและวิศวกรรมของจีน มีชื่ออยู่ในบทความของสื่อจีน South China Morning Post เมื่อปี2015 ว่า เป็น TOP5 มหาวิทยาลัยจีนที่ทำโปรเจคลับและสำคัญสุดๆให้แก่จีน
.
ในฐานะที่เป็นศิษย์เก่าสถาบันที่มีอยู่ในรายชื่อแบนของอเมริกา ผมจึงสอบถามไปยังเพื่อนคนจีนที่ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ในมหาวิทยาลัยแห่งนั้น โดยรับคำตอบว่า “เคยมีเหมือนกันที่อาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษาปัจจุบัน และศิษย์เก่า รู้สึกว่า “ขอวีซ่าเข้าอเมริกายากขึ้นจริง”
.
4. ปี 2020 อเมริกาประกาศ “แบนและยกเลิกวีซ่านักศึกษาแก่นักศึกษาจีน” อย่างน้อย 2 รอบ สืบเนื่องมาตั้งแต่ความขัดแย้งทางการค้าในสงครามการค้าสองประเทศ โดยเหตุผลที่ยกเลิกวีซ่า อเมริกายกเหตุผล “นักศึกษาจีนเหล่านี้ มีความเกี่ยวข้องกับทางการทหารจีน และขโมยข้อมูลสำคัญของทางอเมริกาไปให้แก่ทางจีน” คาดว่ามีนักศึกษาจีนได้รับผลกระทบอย่างน้อย 3,000 – 5,000 คน จากจำนวนนักศึกษาจีนทั้งหมดที่เรียนในอเมริกาช่วงปีการศึกษา 2019-2020 372,000 คน คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของนักศึกษาต่างชาติหลักล้านคนในอเมริกา (อ้างอิงตัวเลขจาก China Daily สื่อจีน)
.
มีนักศึกษาจีนบางคนที่โดนแบนให้สัมภาษณ์กับสื่อ อย่างเช่น นักศึกษาหนุ่มจีนนาม “Dennis Hu” ให้สัมภาษณ์ต่อ CNN ว่า “เดินทางกลับจากอเมริกาไปยังบ้านในประเทศจีน เพื่อฉลองตรุษจีน (ช่วงจีนเกิดระบาดโควิด) และจะกลับไปต่อวีซ่าอเมริกา เพื่อกลับไปทำปริญญาเอกทางด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ให้จบ แต่ปรากฏว่าเขาเป็น 1 ในนักศึกษาจีนนับพันคนที่โดนแบนวีซ่า ไม่ให้กลับไปศึกษาต่อในอเมริกา และแน่นอนว่า เขาก็เหมือนกับทุกคนที่โดนแบน ยืนยัน ไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆหรือเป็นสายลับให้กับรัฐบาลจีน”
.
5. เรื่องราวของความขัดแย้งทางการค้าและการเมือง ส่งผลกระทบต่อการไปเรียนอเมริกาของคนจีนมาสักพักใหญ่ๆแล้ว แต่ไม่ได้เป็นการแบนแบบหว่านแห ทุกมหาวิทยาลัย ทุกคน
“เหตุผลหลักๆมาจากประเด็นความปลอดภัยและความมั่นคงของประเทศ การเกรงกลัวว่าข้อมูลสำคัญจะหลุดรั่วไหลไปยังรัฐบาลจีนและกองทัพจีน ผ่านทางนักเรียนนักศึกษาและนักวิจัยจีน โดยเฉพาะทางสายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ หรือเรียกรวมว่า STEM
.
บทความบนเว็บไซต์ Global Times สื่อกระบอกเสียงจีน ที่เผยแพร่เมื่อกรกฎาคมปีนี้ (2021) รายงานข้อมูล “ปัจจุบัน อเมริกาปฏิเสธวีซ่าแก่นักเรียนจีนที่ตั้งใจจะไปเรียนทางสาย STEM (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์) มากกว่า 500 คน”
.
6. อีกหนึ่งบทความบนเว็บไซต์ Global Times เมื่อพฤษภาคม 2021 Global Times รายงานข้อมูลจาก Gewai Education บริษัทแนะแนวศึกษาต่ออเมริกา ซึ่งเผยข้อมูลการขอวีซ่าอเมริกาของนักเรียนจีนจำนวนหนึ่งโดนปฏิเสธ เพราะพ่อแม่ผู้ปกครองทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงอยู่ในหน่วยงานเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและความมั่นคงของประเทศจีน รวมถึง หน่วยงานปราบปรามคอรัปชั่นและตรวจคนเข้าเมือง
.
7. จากมาตรการของประเทศสหรัฐอเมริกา เข้มงวดเรื่องวีซ่าแก่นักเรียนนักศึกษาจีน รวมถึงนักวิจัยจีน ด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัยและความมั่นคง เคยมีการนำเสนอข่าวออกมาโดยสื่อต่างประเทศเหมือนกันว่า ประเทศพันธมิตรของอเมริกาบางประเทศ มีการดำเนินนโยบายคล้ายๆกันนี้ อย่างเช่น ญี่ปุ่น ตามการรายงานข่าวของ The Straits Times
.
และ แคนาดา ก็เคยมีการเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยแคนาดา ระมัดระวังการทำวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยจีน เพราะข้อมูลอาจรั่วไหลไปถึงรัฐบาลจีน อย่างยิ่งทางการทหารจีน เป็นความวิตกกังวลและกลัวในประเด็นเดียวกันกับที่อเมริกาให้เหตุผลแบนวีซ่านักเรียนนักศึกษาและนักวิจัยจีน (ตามการรายงานของ CBC สื่อแคนาดา)
.
8. จีนตอบโต้นโยบายเข้มงวดแก่นักศึกษาจีนของอเมริกามาโดยตลอด ตั้งแต่ปี 2019 สงครามการค้าจีนอเมริกา รัฐบาลจีนออกประกาศเตือนประชาชนถึงการไปเรียนต่อและเที่ยวที่ประเทศสหรัฐอเมริกาให้ระมัดระวังในเรื่ิองของการขอวีซ่าที่มีข้อจำกัดมากขึ้น ให้ระยะเวลาอยู่ในอเมริกาลดน้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะส่งผลโดยตรงต่อนักศึกษาจีนที่ต้องการไปเรียนต่อที่อเมริกา
.
9. ไม่ใช่อเมริกา “เพิ่มข้อจำกัดในการขอวีซ่าแก่ชาวจีน เพียงอย่างเดียว” ประเทศจีนเองก็เข้มงวดแก่ชาวอเมริกา อย่างเช่นเมื่อช่วงเดือนมิถุนายน 2020 ทางการจีน ออกมาตรการ ‘เพิ่มข้อจำกัดในการออกวีซ่าแก่ชาวอเมริกัน ที่มีพฤติกรรมเชิงลบต่อเรื่องราวของจีนและฮ่องกง โดยในปี 2020 เป็นปีที่อเมริกายกเลิกวีซ่านักเรียนจีนหลักพันคน ตามการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญและสื่อต่างประเทศ อาทิ ABC News และ Wall Street Journal มองว่า “เบื้องลึกไม่ใช่ประเด็นความมั่นคงอย่างเดียว แต่เป็นการต่อต้านการออกกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติที่จีนนำไปใช้กับฮ่องกง”
.
10. การแก้ไขปัญหาสมองไหล-หัวกะทิ-ประชาชนผู้มีความสามารถไปใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ อย่างยิ่งในอเมริกา ให้กลับมายังประเทศจีน มีส่วนมาผลจากความขัดแย้งทางการเมืองและปัญหาทางการค้าจีนอเมริกา ทำให้คนจีนในอเมริกาเรียนจบ หรือทำงานในอเมริกาอยู่แล้ว ย้ายกลับจีนมากขึ้น แต่ไม่ใช่เหตุผลทั้งหมด เพราะจีนดำเนินนโยบายดึงดูดคนจีนเก่งๆให้กลับมาประเทศจีน ตั้งแต่ก่อนเกิดสงครามการค้าจีนอเมริกาและการขัดแย้งทางการเมืองอย่างหนัก
.
จากประสบการณ์จริงของอ้ายจง สมัยไปทำวิจัยที่เมืองซีอานปี 2014 ตอนนั้นที่แลปดีลกับมหาวิทยาลัยในอเมริกาและยุโรปเยอะมากในด้านทำการวิจัย
.
ภายใต้การร่วมมือแต่ละครั้ง ทางแลปและมหาวิทยาลัยจะดีลโดยตรงส่วนตัวกับอาจารย์-ศาสตราจารย์จีนที่ทำงานในอเมริกา ให้มาเป็นอาจารย์และนักวิจัยในมหาวิทยาลัยจีน โดยดึงดูดด้วยผลตอบแทนและโอกาสก้าวหน้าทางอาชีพ เพื่อให้คนเก่งหัวกะทิเหล่านี้มั่นใจว่า “คุ้มค่าในการกลับไปยังประเทศบ้านเกิดเมืองนอน” (อ่านบทความเต็มที่ผมเคยเขียนเกี่ยวกับการแก้ปัญหาสมองไหลของจีน ได้ที่ https://www.blockdit.com/posts/60785b284bbb3e0c2e04f976)
.
#สรุป อเมริกาและประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศพันธมิตรของอเมริกา มีข้อจำกัดในการให้วีซ่าแก่ประชาชนชาวจีนจริง ในการเข้าศึกษาต่อและทำวิจัย แต่ขอเน้นย้ำว่า “ไม่ใช่การจำกัด หรือแบนแบบ 100%“ และจากตัวเลขตามที่มีรายงานออกมาจากสื่อต่างประเทศและสื่อจีนเอง จำนวนนักศึกษาจีนที่ได้รับผลกระทบ เอาแค่ในประเทศอเมริกา เป็นจำนวน “หลักพัน” จากทั้งหมด 3 แสนกว่าคนที่ศึกษาในอเมริกา ดังนั้น ไม่ใช่สัดส่วน 80% ที่โดนแบนและไล่กลับจีนแบบที่มีการแชร์ก่อนหน้านี้
.
โดยเหตุผลหลักของการแบนและจำกัดวีซ่าแก่คนจีน มาจากเหตุผล “ความมั่นคงและข้อขัดแย้งทางการเมือง” เน้นหนักไปที่การเกรงกลัวข้อมูลสำคัญหลุดไปยังรัฐบาลและทางกองทัพจีน ซึ่งสาขาการเรียนและการวิจัยที่โดนจับตามองเป็นพิเศษ ได้แก่ สาขาสาย STEM - วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์
.
อ้ายจงอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งข่าวทั้งจีน อเมริกา และประเทศอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเนื้อหา โดยใช้เป็นแหล่งข่าวภาษาอังกฤษ เพื่อทุกคนที่สนใจสามารถอ่านและตรวจเช็คข้อมูลได้ครับ
-https://www.scmp.com/news/china/diplomacy/article/3145877/high-price-chinese-students-pay-university-us-during-covid-19)
- https://news.cgtn.com/news/2020-05-30/U-S-bans-some-Chinese-students-from-entering-its-borders-QUoMxQGh4Q/index.html
- https://www.bbc.com/news/world-us-canada-54097437
- https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-09-10/u-s-revoked-over-1-000-chinese-visas-over-national-security
- https://www.theguardian.com/world/2020/sep/10/us-cancels-1000-china-student-visas-claiming-ties-to-military
- https://www.globaltimes.cn/page/202104/1222300.shtml
- https://www.globaltimes.cn/page/202105/1223713.shtml
- https://www.globaltimes.cn/page/202107/1228072.shtml
- https://global.chinadaily.com.cn/a/202008/13/WS5f3491d4a31083481725ffd7.html
- http://www.chinadaily.com.cn/a/202107/07/WS60e4dde8a310efa1bd6601c7_2.html
- https://www.straitstimes.com/asia/east-asia/japan-to-tighten-checks-on-visa-applications-by-chinese-students-researchers-over
- https://www.cbc.ca/news/politics/china-canada-universities-research-waterloo-military-technology-1.5723846
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #จีน #อเมริกา #เรียนต่ออเมริกา #แบนวีซ่า
同時也有11部Youtube影片,追蹤數超過1,470的網紅ARMNTP,也在其Youtube影片中提到,วันนี้จะพาทุกคนมาดูว่า เด็กวิศวะธรณีเวลาเรียนจะดี๊ด๊า ขนาดไหน 555 เกือบเสร็จเป็นกลุ่มสุดท้ายเลยอะแกร ฝาก Subscribe กันด้วยนะครับหรือจะติดตามผลงานของเร...
「วิศวกรรมศาสตร์」的推薦目錄:
- 關於วิศวกรรมศาสตร์ 在 อ้ายจง Facebook 的最讚貼文
- 關於วิศวกรรมศาสตร์ 在 OpenDurian TCAS Facebook 的最讚貼文
- 關於วิศวกรรมศาสตร์ 在 อ้ายจง Facebook 的最讚貼文
- 關於วิศวกรรมศาสตร์ 在 ARMNTP Youtube 的最佳貼文
- 關於วิศวกรรมศาสตร์ 在 iT24Hrs Youtube 的精選貼文
- 關於วิศวกรรมศาสตร์ 在 PettyRock Vimolwan Saisathit 6/3 No.31 Youtube 的最佳解答
- 關於วิศวกรรมศาสตร์ 在 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ - Facebook 的評價
- 關於วิศวกรรมศาสตร์ 在 รีวิว | คณะวิศวกรรมศาสตร์ - YouTube 的評價
วิศวกรรมศาสตร์ 在 OpenDurian TCAS Facebook 的最讚貼文
‼ เล็งวิศวกรรมศาสตร์ไว้ แชร์ด่วน สำคัญมาก‼
วิศวกรรมศาสตร์ แต่ละสาขา เรียนเกี่ยวกับอะไร
จบไปทำงานอะไรได้บ้าง ?
เช็คแล้ววางแผนให้ดี อย่าหลงทางเด็ดขาดจ้า
📍เตรียมตัวสอบให้ติดตอนนี้ยังทันจ้าาาาา
เหลือเวลาอีกไม่มาก กลับมาฟิตเพื่อพิชิตมหาลัยในฝันกัน
https://www.opendurian.com/tcasbuffet
💪เตรียมตัวก่อน พร้อมกัน โอกาสสอบติดมากกว่า💪
#โดยเฉพาะDEK65
เหลือเวลาเตรียมตัวไม่ถึงปี ไม่ติวตอนนี้ มีสิทธิ์พลาดสูง❗
⚡อยากประหยัดเวลาอ่าน เก็งข้อสอบอย่างถูกจุด
อยากสอบติดคณะในฝันชัวร์ๆ เริ่มติวกับพี่ตอนนี้ไม่มีคำว่าเสียใจ
OpenDurian TCAS ช่วยได้
ทดลองติวฟรีได้ที่ >> https://www.opendurian.com/tcasbuffet
💬หรือ สอบถามสั่งซื้อทางแชทได้เลยจ้า
วิศวกรรมศาสตร์ 在 อ้ายจง Facebook 的最讚貼文
คำตอบสำหรับคนคิดเรียนต่อจีน "อยากเรียนต่อป.โท/เอกที่จีน แต่ไม่ได้จบตรงสาย เรียนและขอทุนได้หรือไม่?" โดยเฉพาะอยากเรียนด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี สาขายอดฮิตของจีน
.
อ้ายจงได้รับคำถามจากแฟนเพจรวมถึงเพื่อนๆที่สนใจไปเรียนต่อจีนเกี่ยวกับประเด็นนี้เยอะมาก
.
ต้องบอกว่า จริงๆ การขอทุน หรือสมัครเรียนข้ามสายในประเทศจีน สามารถทำได้ครับ แต่ถ้าเป็นสายที่ไกลกันมากๆ แบบภาษาศาสตร์กับสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์/วิศวกรรมศาสตร์ ก็มีข้อที่เราต้องพิจารณาและเตรียมตัวเยอะหน่อย
.
เช่น มีแฟนเพจ Inbox มาถามอ้ายจง “จบป.ตรี ทางด้านภาษา แต่อยากเรียนต่อป.โท วิทยาการคอมพิวเตอร์ สามารถทำได้หรือไม่? “ ก็ตามที่ตอบข้างต้น คือทำได้ครับ แต่เดี๋ยวเรามาดูรายละเอียดเพิ่มเติมมาสักนิดว่ามีอะไรที่เราต้องพิจารณาเพิ่มเติมอีกบ้าง
.
1. บางมหาวิทยาลัยระดับท็อปหรือค่อนข้างมีชื่อเสียงในจีน จะมีการสอบเข้า หรือสัมภาษณ์ ดังนั้น ถ้าหากเราต้องการข้ามสายแบบคนละขั้วอย่างกรณีข้างต้น ก็ต้องเตรียมตัวค่อนข้างหนัก โดยเฉพาะความรู้พื้นฐานทางสายที่เราอยากเรียนต่อ
.
2. เวลาสมัคร เราควรจะนำเสนอ Profile เราให้ชัดด้วยว่า “ทำไมเขาถึงควรเลือกเรา แม้เราไม่ได้เรียนจบสายคอมนะ” กล่าวคือเราต้องทำให้เขาพอจะมั่นใจได้ว่า เรามีความสามารถที่เรียนได้
.
อย่างเช่น เราอาจจะมีงานอดิเรกหรือความสามารถพิเศษที่ตรงกับสายที่เราอยากสมัคร เช่น ถ้าจะสมัครทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ หากเราพอมีความสามารถพิเศษในการเขียนโปรแกรม ทำเว็บไซต์ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เฉพาะทางบางอย่าง หรือเคยเรียนคอร์สระยะสั้นมา เราก็ทำPortfolioนำเสนอผลงานให้ชัดเจน
.
ประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้อง ก็ใส่ลงไปได้ เช่น จบภาษาจีน แต่มีโอกาสไปทำงานในบริษัทไอที ได้มีโอกาสทำหน้าที่ประสานงานโปรเจคไอที ทำให้มีความสนใจอยากเรียนปริญญาโทต่อทางด้านไอที สารสนเทศ
.
3. จากข้อ 2 แม้เราไม่ได้มีความสามารถ ผลงาน หรือประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวกับสาขาที่เราอยากเรียนต่อ มีแต่ความสนใจล้วน ๆ ตรงจุดนี้ เราต้องเป็นคน “สร้างโอกาส” ให้ลองเอาตนเองไปเกี่ยวข้องกับสายนั้น
.
อย่างการเรียนคอร์สระยะสั้นทั้ง Online และ Offline ก็ช่วยได้เยอะ ช่วยทั้งเพิ่มความรู้ มุมมองความเข้าใจต่อสายนั้นแก่ตัวเรา และยังเก็บใบประกาศ หรือหลักฐานการเรียนจบคอร์สใส่ Portfolio เราได้ด้วย
อ้ายจงเป็นคนหนึ่งที่หาความรู้ในสายที่ไม่ได้เรียนจบโดยตรงผ่านคอร์สเรียนออนไลน์ เช่น thaimooc หรือ coursera
.
4. การเรียนต่อระดับปริญญาโท ปริญญาเอก เวลาขอทุน หรือแม้ไม่ได้ขอทุน แค่สมัครเข้าเรียน หลายม. ให้เราเขียนเล่าโปรเจคหรือแผนการวิจัยที่เราตั้งใจทำเมื่อได้เข้าเรียน ตรงส่วนนี้จะมีปัญหาค่อนข้างมากสำหรับคนที่ไม่ได้จบสาขานั้นโดยตรง
.
ผมขอเสนอไอเดียคร่าวๆ ประมาณนี้ “ลองเขียนที่มันเกี่ยวเนื่องกับสาขาที่เราจบ หรือประสบการณ์ทำงานของเรา”
เช่น เรียนทางด้านภาษามา เราอาจเขียนแผนวิจัยเพื่อทำวิจัยทางด้าน NLP (Natural Language Processing) วิเคราะห์ภาษา หรือการแปลภาษาโดยใช้ Machine Learning อะไรพวกนี้ก็ทำได้
.
ปัจจุบันนี้ หลายสาขาในจีน เป็นสาขาใหม่ที่เปิดมาเพื่อตอบรับความต้องการและการเปลี่ยนไปของโลก ณ ขณะนี้ และเป็นการผสานกันระหว่างหลายศาสตร์ อย่าง ด้าน Data science , Data analytics, Business Information System, Management Information System หรือสาขาทางด้านไอทีที่ประยุกต์ทางธุรกิจหรือการตลาด
.
สาขาพวกนี้ เป็นแนว Multi discipline เหมาะสมสำหรับคนที่ไม่ได้เรียนทางคอมมาก่อน เนื่องจากเป็นการประยุกต์ ไม่หนักเท่า Computer science เนื่องจากถ้าเป็น Computer Science เลย ตัวเลขค่อนข้างเยอะ แต่ทั้งนี้ ขอเตือนไว้ก่อนเลยว่า สาขาเกี่ยวกับบริหาร เกี่ยวกับไอที คอม ในจีน หนีไม่พ้นคณิตเช่นกัน :-P
.
5. โดยส่วนใหญ่ เวลาสมัครเข้าเรียนระดับบัณฑิตศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยจีนจะสนับสนุนให้ผู้สมัครเข้าเรียนติดต่ออาจารย์ในสาขาที่ต้องการสมัคร เพื่อขอใบตอบรับการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่ค่อนข้างยากสำหรับคนไม่ได้จบในสาขานั้น
.
จากประสบการณ์ของผม ขอแนะนำให้ศึกษาข้อมูลสาขาผ่านทางเว็บไซต์คณะ เว็บไซต์มหาวิทยาลัยโดยละเอียด เพื่อดูแนวทางงานวิจัยของอาจารย์แต่ละท่าน และดูให้ตรงกับสิ่งที่เราสนใจและคิดว่าสามารถทำวิจัยในแนวนั้นได้ แม้ไม่ได้จบตรงสาย
.
แม้บางมหาวิทยาลัยอาจไม่ได้บังคับให้เราต้องติดต่อเพื่อหาอาจารย์ที่ปรึกษา แต่สำหรับคนที่ไม่ได้เรียนตรงสาย แนะนำว่า ควรจะติดต่อครับ เพราะเป็นโอกาสในการหาข้อมูลการเรียนเพิ่มเติม เราอาจได้แนวทางที่ดีในการเรียนข้ามสาย
เวลาติดต่อไป ควรแนบแผนการวิจัยที่เราทำไว้ในข้อ 4 ไปด้วย
.
การศึกษาจีนระดับอุดมศึกษาค่อนข้างเปิดกว้างในการศึกษาไม่ว่าจบสาขาไหน อย่างไรก็ตาม ยกเว้นสำหรับบางสาขาหากเป็นสาขาเฉพาะด้านจริงๆ หากใครมีคำถามหรือข้อสงสัย ต้องการปรึกษาเกี่ยวกับหัวข้อโพสต์วันนี้ ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือส่งข้อความมาทาง Inbox ได้เลยครับ ^^
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #เรียนจีน
วิศวกรรมศาสตร์ 在 ARMNTP Youtube 的最佳貼文
วันนี้จะพาทุกคนมาดูว่า เด็กวิศวะธรณีเวลาเรียนจะดี๊ด๊า ขนาดไหน 555 เกือบเสร็จเป็นกลุ่มสุดท้ายเลยอะแกร
ฝาก Subscribe กันด้วยนะครับหรือจะติดตามผลงานของเราได้ทางโซเชียลด้านล่างนี้เลย
? FB:https://www.facebook.com/armmer17
? IG: https://www.instagram.com/arm_natp/
#มทส #วิศวะมทส #วิศวะธรณี
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/naJAolE6rwA/hqdefault.jpg)
วิศวกรรมศาสตร์ 在 iT24Hrs Youtube 的精選貼文
เมื่อ AI เข้ามา เราจะทำยังไงให้เราไม่แพ้ AI ?
เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในทุกการใช้ชีวิตของมนุษย์เรา การศึกษาไทยก็ต้องปรับตัวเพื่อให้รับกับโลกปัจจุบันและอนาคต
หนึ่งไอเดียที่เพิ่งได้ไปรับฟังมาและเข้าท่ามากๆ คือการปรับการศึกษาให้ ผลิตบัณฑิตที่ตอบโจทย์กับอาชีพในอนาคตของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ออกอากาศ วันที่ 29 มิถุนายน 2562
รายการไอที 24 ชั่วโมง ออกอากาศ ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ทางช่อง 9MCOT HD และ Modern 9 TV เวลา 22.05 น.
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
facebook.com/it24hrs
twitter.com/panraphee
twitter.com/it24hrs
IG: panraphee
ติดต่อโฆษณา it24hrs@it24hrs.com
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/1SM7k7Rf9J0/hqdefault.jpg)
วิศวกรรมศาสตร์ 在 PettyRock Vimolwan Saisathit 6/3 No.31 Youtube 的最佳解答
เป็นการเปิดตัวมือคีย์บอร์ดสมาชิกใหม่เป็นงานแรกจากการรวมตัวซ้อมกันสามครั้ง งานนี้ได้น้องคีตา วัย7ปีมาเป็นสมาชิกใหม่ น้องน่ารักขี้เล่น ชอบแกล้งพี่ๆ เมื่อวานสนุกสนานกันเต็มที่เลยค่ะ .. หอประชุม คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เทคโนโยยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 22/6/2019
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/5ilFFm69TIY/hqdefault.jpg)
วิศวกรรมศาสตร์ 在 รีวิว | คณะวิศวกรรมศาสตร์ - YouTube 的推薦與評價
![影片讀取中](/images/youtube.png)
ที่ คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดยได้รับการรับรองหลักสูตรจากสภาวิศวกร จัดเต็มด้วยอุปกรณ์สุดล้ำแบบครบวงจร เรียนได้ทั้ง #สายวิทย์ ... ... <看更多>
วิศวกรรมศาสตร์ 在 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ - Facebook 的推薦與評價
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์. ถูกใจ 24395 คน · 264 คนกำลังพูดถึงสิ่งนี้. วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย. ... <看更多>