#เลี้ยงดูแบบไหนเด็กเสี่ยงภาวะเสพติดอินเทอร์เน็ตและ_social_media
หลายคนคงทราบแล้วว่า
ข้อมูลทางการแพทย์ยืนยันว่าการติดสารเสพติด
การติดเกมส์และติดสื่อออนไลน์
มีกลไกของสมองเหมือนๆกัน...
การติดสารเสพติด ต้องทำแบบลับๆ
การติดเกมส์ พ่อแม่ก็จะจับตาดู
แต่การติดมือถือ การติดสื่อออนไลน์
ยังดูไม่ร้ายแรงในความรู้สึกของผู้ปกครอง
.
สิ่งที่ไม่ทันระวัง....
มักจะส่งผลเสียได้รุนแรงกว่าเสมอ
.
หมอเลยเกิดข้อสงสัยว่า
ลักษณะการเลี้ยงดูของพ่อแม่...
มีผลกับพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ในลูกหรือไม่
.
การที่เราไปโทษว่าเด็กยุคใหม่ เป็นเด็กที่เกิดมาพร้อมเทคโนโลยี (digital native)
เสี่ยงต่อการเสพติดการใช้อินเทอร์เน็ต
เราโทษสภาพสังคม เราโทษเทคโนโลยีที่เข้าถึงได้ง่ายเกินไป
นั่นแสดงว่า เด็กทุกคน
จะเสี่ยงในการเสพติดสื่อออนไลน์เท่าๆกัน
ถ้าเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้พอๆกัน...อย่างนั้นหรือ ??
.
ความเป็นจริง คือ ไม่ใช่
.
หมอไปสืบค้นงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ จากฐานข้อมูลวิจัยทางการแพทย์
ซึ่งก็พบว่ามีการทำงานวิจัยเรื่อง #การเสพติดการใช้อินเทอร์เน็ตในเด็ก (internet addiction)
มีมากมาย จากทั่วทุกมุมโลก
สะท้อนให้เห็นว่า ปัญหานี้ ใหญ่มาก และไม่ได้รุนแรงเฉพาะในประเทศไทย
.
รูปแบบการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีผลกับพฤติกรรมการเสพติดการใช้สื่อออนไลน์
จะสรุปใจความสำคัญดังนี้นะคะ
👉ปัจจัยที่มีผลมากที่สุด คือ
ปัจจัยภายในของเด็ก ไม่ใช่สิ่งแวดล้อม
👉ทุกงานวิจัยที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับ การเสพติดการใช้สื่อออนไลน์ในเด็กวัยรุ่น ได้คำตอบเดียวกัน
ว่าเด็กที่เสี่ยงที่สุด คือ เด็กที่ไม่มีความมั่นใจ และไม่ภาคภูมิใจในตัวเอง (low self-esteem)
👉วัยรุ่นที่มีอาการเสพติดการใช้อินเทอร์เน็ต มีแนวโน้มจะติดมากขึ้นเรื่อยๆเมื่ออายุมากขึ้น
👉ความอบอุ่นจากพ่อและแม่ เป็นปัจจัยที่ #ช่วยป้องกัน จากภาวะเสพติดสื่อออนไลน์ได้
แต่จะต้องได้รับความอบอุ่นตั้งแต่วัยเด็ก หากเกิดปัญหาขึ้นแล้ว มาแก้ไขทีหลัง ในเชิงสถิติ ไม่มีนัยสำคัญในเด็กโต (แต่ความเห็นหมอคือ ถ้าเกิดขึ้นแล้ว เราพยายามแก้ ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย)
👉ลักษณะของบุคลิกที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเสพติดสื่อออนไลน์ คือ
คนที่มีอารมณ์แปรปรวนฉุนเฉียวง่าย ๆเป็นปัจจัยเสี่ยงมากที่สุด
ในขณะที่เด็กที่โลกส่วนตัวสูง (Introversion) ไม่มีเพิ่มความเสี่ยงในการเสพติดการใช้สื่อออนไลน์
👉 พ่อแม่ที่เลี้ยงลูกแบบประคบประหงมมากเกินพอดี (overprotection) เสี่ยงที่เด็กจะมีภาวะเสพติดการใช้สื่ออินเทอร์เน็ต
👉การที่พ่อเลี้ยงแบบไข่ในหิน จะทำให้เด็กผู้ชาย เสี่ยงต่อการเสพติดการใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่าเด็กผู้หญิง
👉การที่พ่อแม่ไม่ใส่ใจลูก ทอดทิ้ง เสี่ยงต่อภาวะเสพติดการใช้อินเทอร์เน็ต แต่เด็กผู้หญิงที่พ่อไม่สนใจจะเสี่ยงกว่าเด็กผู้ชาย ในทางกลับกัน เด็กผู้ชาย ที่รู้สึกว่าแม่ไม่ใส่ใจจะเสี่ยงกว่าเด็กผู้หญิง
.
สาเหตุที่งานวิจัยส่วนใหญ่ จะศึกษาในเด็กวัยรุ่น เนื่องจากการประเมินผล มาจากการให้เด็กทำแบบประเมินมาตรฐาน ซึ่งในเด็กเล็กไม่สามารถทำแบบประเมินด้วยตัวเองได้
.
และที่หมออยากให้ทุกคนคิดก็คือ....เด็กวัยรุ่นที่อยู่ในงานวิจัย
คือเด็กที่มีพ่อแม่อยู่ในเจเนอเรชัน X และ Y ซึ่งไม่ได้เกืดมาพร้อมสื่อทางอินเทอร์เน็ต
.
แล้วเด็กเล็กๆที่เพิ่งเกิดใหม่
ที่พ่อแม่ของเด็ก ก็คือคนเจเนอเรชัน Z
ซึ่งการใช้อินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน แทบจะเรียกว่าอยู่ต่อจากปัจจัย 4
แล้วเมื่อรุ่นลูกพวกเค้า ซึ่งเป็นเจเนอเรชันอัลฟา (alpha)
เป็นเด็กที่ เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นคนในยุคที่เกิดมาพร้อมเทคโนโลยี เหมือนกัน
ปัญหาจะรุนแรงมากขึ้นแค่ไหน??
ถ้าเราไม่ตระหนัก และช่วยกัน
.
อย่าคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว..เราเลี้ยงลูกเราให้ดีก็พอ
สิ่งที่ทุกท่านต้องไม่ลืมคือ..เด็กที่เติบโตมาด้วยปัญหานี้
คือเพื่อนร่วมสังคม กับลูกหลานของเรา
.
ทางแก้คือ
ก็คือการเลี้ยงดูลูก ให้เค้ามีความภาคภูมิใจในตัวเอง ให้เค้ารู้สึกว่าเค้าเป็นคนมีคุณค่า เป็นที่รักในโลกความจริง ไม่จำเป็นต้องไปแสวงหาความรักในโลกออนไลน์ อีก (self-esteemดี)
การส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาในชีวิตโดยมีเราอยู่เคียงข้สง
#สิ่งเหล่านี้ต้องปลูกฝังในวันที่เค้ายังใกล้ชิดเรานะคะ
ก็คือช่วงปฐมวัย
.
ถ้าใครรู้ตัว...ว่ายังควบคุมตัวเองให้ใช้ social media เท่าที่จำเป็นไม่ได้
แม้แต่ตอนเล่นกับลูก...ยังแอบเอามือถือออกมาดูเป็นระยะ
แนะนำว่า...อย่าเพิ่งให้ลูกเล่นจอเลยค่ะ
เพราะท่านไม่ strong พอที่จะควบคุมลูกได้
จะควบคุมใครได้...ต้องเริ่มที่ตัวเองนะคะ
.
มาช่วยกัน...โดยเริ่มจากฝึกควบคุมตัวเองก่อน
เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีกับลูก
ทำไปพร้อมๆกับการเลี้ยงดูลูกให้มี self-esteem ที่ดี
แค่นี้เราก็มีส่วนช่วยชลอปัญหาแล้วค่ะ
.
หมอแพม
(ใครอยากอ่านงานวิจัยฉบับเต็ม ตาม link นะคะ เอาตัวอย่างมาให้
เป็นงานวิจัยจากประเทศจีน มีเด็กวัยรุ่น อยู่ในงานวิจัยนี้กว่า 2000 คนตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์นานาชาติที่น่าเชื่อถือ impact factor 2.2 อีกฉบับเป็น meta-analysis )
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/…/PMC3…/pdf/cyber.2012.0710.pdf
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/…/PMC42057…/pdf/ymj-55-1691.pdf
Search