รายงานข่าวฉบับนี้ค่อนข้างดีนะ ที่สรุปความรู้เกี่ยวกับเรื่อง "อันตรายจากสารเคมี" ที่เกิดขึ้นจากกรณีไฟไหม้ที่โรงงานสารเคมี ที่กิ่งแก้ว จ. สมุทรปราการ ลองศึกษากันดูนะครับ
------
(รายงานข่าว) ไฟไหม้ ‘โรงงานกิ่งแก้ว’ 'สารเคมี' ตัวไหน น่ากลัวกว่าที่เห็น
ช่วงเวลาตี 3.10 นาที ขณะที่ทุกคนกำลังหลับไหล พลันก็มีแสงสว่างวาบแล้วตามมาด้วยเสียงระเบิดดังสนั่นหวั่นไหว กระจกหน้าต่างแตกกระจาย จากเหตุระเบิดและไฟไหม้ที่โรงงานผลิตเม็ดโฟมพลาสติก บริษัท หมิงตี้ เคมีคอล จำกัด ซอยกิ่งแก้ว 21 ม.15 ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ กลุ่มควันสีดำพวยพุ่งม้วนตัวขึ้นสูงสู่ท้องฟ้า เจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้เข้าควบคุมในพื้นที่เวลา 06.00 น.ต่อมาเวลา 09.00 น. สถานการณ์ก็รุนแรงขึ้น เกิดระเบิดขึ้นอีกหลายครั้งจากสารเคมีในโรงงานที่เกิดเหตุ
#สารพัดสารพิษจากโรงงาน
หมิงตี้ เคมีคอล เป็นโรงงานผลิตโฟมและเม็ดพลาสติก รศ. ดร.กิติกร จามรดุสิต รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในงานเสวนา ‘ถอดบทเรียน ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว’ ที่ Mahidol Science Café จัดขึ้นเพื่อเป็นบทเรียนว่า เหตุการณ์ไฟไหม้ที่เกิดขึ้น สร้างผลกระทบต่อสุขภาพผู้คนอย่างไร
"โพลีสไตรีน (Polystyrene,PS) คือ พลาสติก ที่ผลิตขึ้นมาจาก สไตรินโมโนเมอร์ (Styrene, Monomer) สารอินทรีย์ไวไฟและมี เบนซีน (C6H6) ไฮโดรคาร์บอนที่อยู่ในรูปวงแหวนหกเหลี่ยม เป็นคาร์ซิโนเจน สารก่อมะเร็งในระยะยาว แล้วใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา คือ เปอร์ออกไซด์ อัดแก๊สให้โฟมมันพองขึ้นคงสภาพไว้
สิ่งที่เห็นคือ วัตถุไวไฟ เพนเทน 60-70 ตัน สไตรีนโมโนเมอร์ กว่า 1.6 พันตัน ตั้งแต่ตีสามจนถึงช่วงเย็นก็ยังดับไม่ได้ เพราะมีเชื้อไฟและออกซิเจน ที่หนักสุดคือ VOCs สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compounds) ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์มากกว่า CO (คาร์บอนมอนอกไซด์) เยอะมาก
โรงงานที่ผลิตพวกนี้ควรต้องมีระบบการจัดการที่ดี เพื่อป้องกันไม่ให้ระเหยออกมา เพราะมันส่งผลกระทบต่อโรงงานและชุมชนรอบข้าง หน้ากากที่ใช้ก็ต้องเป็นหน้ากากป้องกัน VOCs สารอินทรีย์ระเหยได้เท่านั้น"
ในเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งนี้ เรามองเห็นควันไฟสีดำและสีเทา รศ. นพ.สัมมน โฉมฉาย ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม ศูนย์พิษวิทยาศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล บอกว่า การเผาไหม้มีทั้งสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์
"ในควันไฟจะมีคาร์บอนมอนอกไซด์, คาร์บอนไดออกไซด์ ในอาคารสมัยใหม่บางมีวัสดุที่มีไนโตรเจนเป็นสารประกอบ เมื่อไฟไหม้ก็จะเกิดไซยาไนด์ขึ้นมา แต่โรงงานนี้มี สไตรีน (Styrene) มี PAHs โพลีไซคลิกอะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons) เกิดขึ้น
สไตริน ทำให้เกิดการระคายเคืองทางเดินหายใจและผิวหนัง ดวงตา คอ จมูก ปอด แล้วแต่ความเข้มข้น สถานที่ระยะใกล้ 5-7 กิโลเมตร คนในชุมชนจะรู้สึกระคายเคืองทางเดินหายใจ แสบตา ตาแดง แสบจมูก ไอ เจ็บคอ เสียงแหบ คนที่โดนเยอะๆ อาจหมดสติได้ มีพิษต่อระบบประสาท
ส่วน PAHs ทำให้ระคายเคืองทางเดินหายใจ แสบ ไอ จาม อุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน ถ้าเป็นมากๆ ทำให้ปอดอักเสบรุนแรง การหายใจล้มเหลว ส่วน VOCs มีฤทธิ์คล้ายๆ กัน ระคายเคือง มีพิษต่อไตและตับ
ที่สำคัญคือ คนที่จะเข้าไปในที่เกิดเหตุ ต้องรู้ว่าจะเจอกับสารอะไร ต้องใช้เครื่องมือชนิดไหน ถ้าสารมีพิษสูง แล้วสถานที่นั้นมีออกซิเจนต่ำ ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันตัวเองคือ PPE ที่มีถังออกซิเจนเข้าไปด้วย แต่ถ้าเป็นสารระเหย ก็ต้องใช้หน้ากากที่ป้องกันสารระเหยได้"
เมื่อควันไฟที่ไหม้พัดสารเคมีขึ้นบนท้องฟ้า ลมที่มีอยู่ในอากาศ ก็พัดพากระจายออกไปทุกทิศทุกทาง รศ. ดร.สราวุธ เทพานนท์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมสุขาภิบาล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สังเกตทิศทางลมแล้วเห็นว่า อันตรายไม่ได้มีเพียงคนในชุมชนเท่านั้น ยังมีผลกระทบในวงกว้าง
"เท่าที่สังเกตการเคลื่อนตัวของมวลอากาศ ระยะแรกเคลื่อนจากทิศตะวันตกไปตะวันออก ระยะต่อมามีลมจากทางใต้พัดไปทางเหนือ ทิศที่น่าห่วงคือทิศตะวันออกและทิศเหนือ
ส่วนอันตรายที่เกิดขึ้นนั้นได้แก่ 1)ความเป็นพิษของสารเคมี 2)อันตรายจากความร้อน และระเบิด สารพิษไม่ได้แพร่กระจายเป็นวงกลม แต่มันกระจายไปตามทิศทางลม ถ้าระดับความเข้มข้นของสไตรินอยู่ที่ 100 ppm จะอันตรายมาก มีพิษเฉียบพลัน แต่ถ้าอยู่ในระดับ 0.06 ppm ต่อเนื่อง 1-2 วันก็อันตราย WHO องค์การอนามัยโลกบอกว่าสไตรินในอากาศ ควรมีระดับต่ำกว่าที่ได้กลิ่นคือ 0.016 ppm ซึ่งตอนนี้เกินมาตรฐาน"
#การป้องกันระยะยาว
ดร.กิติกร เสนอว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรต้องร่วมมือพูดคุยกันอย่างจริงจังให้มากขึ้น
"ประเด็นแรก เรื่องนี้เกิดขึ้นนอกเขตนิคมอุตสาหกรรม แม้จะบอกว่าโรงงานอยู่มาก่อนชุมชน แต่มาตรฐานการตั้งโรงงานอุตสาหกรรม การตรวจตราโรงงาน หรือแผนที่มีอยู่เพียงพอหรือไม่ ไม่ใช่แค่อพยพหนีไฟ เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบต่อชุมชนมีรัศมีกว้างไกลมาก ต้องมีแผนเกี่ยวข้องกับชุมชน ชุมชนต้องเข้ามามีส่วนร่วม และมีความรู้เพิ่มเติม ต้องรู้จักสไตริน และรู้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นจะทำยังไง
ประเด็นที่สอง เรื่องสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น VOCs ที่กระจายไป ถ้าเจอความชื้นหรือฝน มันจะตกลงมาหมดเลย มีผลต่อการเกษตร พืชผล ถ้าลงพื้นดินซึมสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ จะกู้สถานการณ์หรือจัดการยังไง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเยียวยาหรือแก้ไขปัญหาให้ชาวบ้านเมื่อกลับไปอยู่ในชุมชนแล้วมีความมั่นใจได้ว่า สิ่งเหล่านี้จะไม่หลงเหลืออยู่ในธรรมชาติสิ่งแวดล้อมหรือไม่"
ส่วน ดร.สราวุฒิ มองว่า เราต้องมองกว้างกว่านั้น ไม่ใช่มองอะไรมิติเดียว
"ตอนนี้เรามองแค่การหายใจ ทั้งที่ความจริงแล้ว มันตกลงมาในน้ำในดิน ภาครัฐ ควรมีการจัดการไม่ใช่เพียงแค่ระดับอากาศ อย่าง เชอโนบิล มองแต่อากาศ แต่จริงๆ แล้วมันลงไปอยู่ในดิน, ในน้ำ, ในนมวัว ในส่วนของกฎหมายโรงงานก็ต้องมีการคาดการณ์เหตุการณ์เลวร้ายขั้นสุดที่อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะมีการจัดการหรือป้องกันยังไง ยิ่งเป็นโรงงานเคมี ยิ่งต้องให้ความสำคัญเพิ่มขึ้น
ถึงเวลาที่ควรจะให้ความสำคัญ ให้ความรู้ การจัดการกับโรงงานและสถานการณ์แบบนี้ให้มากขึ้น หรือถ้ามีเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นก็ควรมีการเซ็ทเป็นวอร์รูม (War Room) เป็นจุดสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องบอกความเสี่ยงให้ทุกคนได้รับรู้อย่างชัดเจน เพราะว่าทุกภาคส่วนต้องการทราบข้อมูล อย่างเหตุการณ์ที่มาบตาพุด BST ก็ไม่มีวอร์รูม ไม่มี Press Release ออกมา กว่าจะมีข่าวมันเตลิดไปอีกแบบหนึ่งแล้ว เราควรมีแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการต่อไป"
ทางด้าน นพ.สัมมน มองว่า ชุมชนควรมีส่วนร่วมกับโรงงาน มีผู้นำชุมชนเป็นคนเชื่อมต่อสื่อสารไม่ให้คนตื่นตระหนก
"คนงานต้องรู้เรื่องความเสี่ยง มีความรู้เรื่องการปฐมพยาบาล การปฏิบัติตัว มีการประเมินความเสี่ยงที่ Worst Case กรณีเลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้นได้ ควรมีบรรจุอยู่ในผู้ประกอบการและชุมชนด้วย แม้กระทั่งเด็กและเยาวชนก็ต้องรู้"
#การดูแลตัวเอง
"ในกรณีนี้ ไฟไหม้สารเคมี การดับต้องใช้โฟมอย่างเดียว แล้วต้องดับให้ถูกจุด อีกทั้งต้องใช้น้ำเลี้ยงความร้อนไว้ด้วย" ดร.กิติกร กล่าวและบอกว่า
"หลายบริษัทที่มีโฟมดับไฟ เราก็น่าจะหยิบยืมกันได้ในช่วงฉุกเฉิน ส่วนการป้องกันตัวเอง ถ้าอยู่ใกล้แหล่งเกิดเหตุ อันดับแรกให้อยู่ใต้ลมไว้ ถ้าอยู่ในรัศมีใกล้ๆ ก็ต้องอพยพอย่างเดียว แล้วตอนนี้ยังไม่มีหน่วยงานไหนมอนิเตอร์ทิศทางลม เพื่อจะบอกได้ว่าสารพิษนี้แพร่กระจายไปถึงไหนแล้ว มีความเข้มข้นเท่าไร และไม่มีมาตรฐานในการรายงานทุกชั่วโมง อย่างฝุ่นควันพิษ PM2.5 ยังมีรายงานแบบเรียลไทม์เลย"
ส่วน นพ.สัมมน ได้แนะนำการดูแลตัวเองในระยะสั้นว่า ถ้าเป็นไปได้ ให้อยู่แต่ในอาคาร
"ถ้าอยู่ในอาคาร ให้ปิดกระจก เปิดเครื่องปรับอากาศ เปิดเครื่องกรองอากาศ ยิ่งเครื่องกรองที่มีไส้กรองเป็นชาโคล มีหลักฐานว่ามันช่วยลด VOCs ในอาคารได้บ้าง ส่วนการดูแลตัวเองหรือการปฐมพยาบาลเบื้องต้น คนที่มีอาการระคายเคืองจมูก อาจจะรับประทานยาแก้แพ้ หรือล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ เอาพวกอนุภาคฝุ่นที่ทำให้เกิดการอักเสบออกมา
ถ้าระคายเคืองตา ก็ล้างตาในน้ำสะอาด อยากจะเตือนสำหรับคนที่ใส่คอนแทคเลนส์ๆ มันจะดูดซับสารต่างๆ ที่ระคายเคือง ดีที่สุดคือถอดคอนแทคเลนส์ แล้วล้างตาด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อย 15 นาที ส่วนผิวหนัง หากได้รับการสัมผัสเยอะๆ ทำให้แสบระคายเคืองผิวหนัง เป็นผื่นได้ แนะนำให้ล้างหรืออาบน้ำด้วยสบู่
ถ้าจำเป็นจริงๆ อาจต้องใช้ครีมที่มีสเตียรอยด์ทา หากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ศูนย์พิษวิทยา 24 ชั่วโมงทั้งของโรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลรามาธิบดี ส่วนในระยะยาว ควรให้ความรู้เรื่องสารพิษแก่บุคลากรทางการแพทย์มากขึ้น เพราะเราเป็นประเทศอุตสาหกรรมเหตุการณ์อย่างนี้อาจเกิดขึ้นได้เรื่อยๆ"
「สไตรีนโมโนเมอร์」的推薦目錄:
สไตรีนโมโนเมอร์ 在 Facebook 的精選貼文
คำถาม คือ ควรกลับบ้านวันไหนดี คนที่ออกมาจากพื้นที่มีวางแผนไว้มั้ยคะ?
จากเหตุเพลิงไหม้โรงงานภายในซอยกิ่งแก้ว 21 อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ จนมีคำสั่งให้ผู้ที่อยู่ในรัศมี 1 - 5 กิโลเมตรโดยรอบอพยพ เนื่องจากประชาชนอาจได้รับผลกระทบจากเหตุดังกล่าว โดยเฉพาะหากได้รับหรือสัมผัสกับสารเคมี #สไตรีนโมโนเมอร์ (Styrene monomer) รายการ #โรงหมอ มีข้อมูลด้านพิษวิทยาจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม มาฝากค่ะ
สไตรีนโมโนเมอร์ เป็นสารเคมีที่มีลักษณะเป็นของเหลวงใส ไม่มีสี แต่มีกลิ่นเฉพาะตัว สามารถกลายเป็นไอระเหยและลุกติดไฟได้ ถูกจัดให้อยู่ในวัตถุอันตรายประเภทที่ 2 ของเหลวไวไฟ ตามประกาศมติคณะกรรมการวัตถุอันตรายเรื่อง การขนส่งวัตถุอันตรายทางบก พ.ศ. 2545 เมื่อสารนี้เกิดการเผาไหม้จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซต์, ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ
ทางด้านข้อมูลพิษวิทยา ได้แบ่งความเป็นพิษ 2 ลักษณะคือ พิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรัง
1. ความเป็นพิษเฉียบพลัน |
- #เมื่อถูกผิวหนัง จะทำให้เกิดการระคายเคือง
- #เมื่อเข้าตา จะส่งผลให้ตาเกิดการระคายเคือง
- #เมื่อหายใจหรือสูดดมเข้าไป จะทำให้เกิดการระคายเคืองของเยื่อยุทางเดินหายใจ ทำให้ไอและหายใจลำบาก เมื่อดูดซึมจนถึงระดับที่ก่อให้เกิดพิษ จะทำให้ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ง่วงซึม
- #เมื่อกลืนกิน จะทำให้ระคายเคือง เป็นแผลไหม้ที่ปากและกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการเจ็บคอ ปวดท้อง ปวดศีรษะ วิงเวียน อาเจียน และเซื่องซึม
2. ความเป็นพิษเรื้อรัง |
- ทำให้เกิดความผิดปกติของโครโมโซมในคน
- อาจจะทำให้เกิดมะเร็งในคนและสัตว์
- เพิ่มการแท้งในสตรีมีครรภ์ที่สัมผัสกับสารนี้
- ทำให้ระดับฮอร์โมนผิดปกติ โดยเฉพาะการทำงานของต่อมไทรอยด์และการมีประจำเดือนผิดปกติ รวมถึงมีผลต่อฮอร์โมนในหญิงตั้งครรภ์
- ทำให้เกล็ดเลือดต่ำ ต่อมน้ำเหลืองผิดปกติ มีผลต่อระบบประสาท ทำให้อ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
1. นำผู้ประสบภัยไปยังสถานที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์
2. ถ้าผู้ประสบภัยหยุดหายใจให้ใช้เครื่องช่วยหายใจ
3. ถ้าผู้ประสบภัยหายใจลำบาก ให้ใช้เครื่องให้ออกซินเจน
4. ถอดเสื้อผ้าและรองเท้าที่มีการปนเปื้อนออกทันที่
5. หากสัมผัสกับสารนี้ ให้ล้างออกด้วยน้ำ หรือเมื่อเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดไหลผ่านอย่างน้อย 15 - 20 นาที
6. กรณีไฟไหม้ผิวหนัง รีบทำให้เย็นทันทีเท่าที่ทำได้ด้วยน้ำเย็น ไม่ถอดเสื้อผ้าออกถ้าเสื้อผ้าติดผิวหนัง
7. รักษาร่างกายผู้ประสบภัยให้อบอุ่น และนำส่งแพทย์
8. ผู้ปฐมพยาบาลต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ สไตรีนโมโนเมอร์
สำหรับผลกระทบที่เกิดกับสิ่งแวดล้อมพบว่า มีผลต่อดินค่อนข้างน้อยและเป็นสารที่ไม่ตกค้างในน้ำ แต่มีผลต่อการขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำ โดยจะไปลดระยะเวลาการขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำเป็นเวลานานหลายชั่วโมง เนื่องจากสารชนิดนี้มีความสามารถในการระเหยค่อนข้างสูง จึงสามารถทำลายชั้นโอโซนได้
#ThaiPBSPodcast
#ThaiPBS
สไตรีนโมโนเมอร์ 在 เพจพิกัดออนไลน์ - สารสไตรีนโมโนเมอร์ (Styrene Monomer... 的推薦與評價
สารสไตรีนโมโนเมอร์ (Styrene Monomer หรือ SM) จัดเข้าพิกัด 2902.50.00 กฎหมาย 》วัตถุอันตราย บัญชี / กลุ่ม 》5.1 ชนิด / ประเภท 》2 ชื่อสารตามประกาศ... ... <看更多>
สไตรีนโมโนเมอร์ 在 มาทำความรู้จัก สารเคมี "สไตรีนโมโนเมอร์" อันตรายแค่ไหน - YouTube 的推薦與評價
โรงงานระเบิด#โรงงานเคมีระเบิด#โรงงานเคมี#สารเคมีรับชมวีดีโอที่คัดสรรจากเรา ... ... <看更多>