#เลี้ยงลูกเชิงบวก_ใครบวก?
“ไม่กล้าเลิกขวดนม ถ้าไม่ให้กิน..ก็ร้องไห้ไม่หยุดเลยค่ะ...กลัวลูกเครียด”
“ไม่ค่อยได้แปรงฟันให้ลูก เพราะเค้าดิ้นแล้วเจ็บ น่าสงสาร”
“กินนมกลางวัน 3 มื้อ กลางคืน 4 มื้อ”
(นี่มันเด็กแรกเกิด หรือเด็ก 1 ขวบกันนี่)
“กินข้าวได้น้อยมาก กลัวลูกขาดอาหารก็เลยให้กินนมชดเชย”
(ชดเชยเลยเถิดไปจนกินนม 40+ออนซ์/วัน หมอก็เจอมาแล้ว)
“ไม่กล้าล้างจมูก/ป้อนยาไม่ได้....เพราะลูกไม่ยอม”
+++++++++++++++++++++++++++++++
ค่ะ...หมอ เข้าใจความรักของแม่
ไม่อยากให้ลูกเจ็บปวด
ไม่อยากให้ลูกเครียด
ไม่อยากให้ลูกร้องไห้ ฯลฯ
แต่ สภาพของแม่...ดูเหนื่อย เพลีย ดู(เกือบจะ)ไม่ไหว
เพราะเราเลือกที่จะ #ยอม กับสิ่งที่ #ลูกต้องฝึก
เลือกจบปัญหาระยะสั้น (ให้หยุดร้อง หยุดดิ้น ซะที)
ด้วยวิธีที่ง่าย/จบปัญหาให้เร็ว (ยอมตามใจ หรือ ขู่ ทำโทษให้หยุด) โดยไม่คำนึงถึงผลระยะยาว
ผลก็คือ เราต้องตามแก้ปัญหานั้น ซ้ำๆซาก
ถี่ขึ้น ต้องใช้พลังมากขึ้นเรื่อยๆ
+++++++++++++++++++++++++
อย่าเข้าใจผิดว่า #การเลี้ยงลูกเชิงบวก
คือต้องเลี้ยงเด็กให้มีความสุขเกือบตลอดเวลา
เด็กต้องร้องไห้น้อยๆ เพราะเกรงว่าจะเครียด
ตอบสนองให้มากที่สุด
ลูกจะได้มีความสุขตามหลักจิตวิทยา
(ที่ได้อ่านมา...คร่าวๆ...มาก)
+++++++++++++++++++++++
จริงๆ...ไม่ได้เป็นเช่นนั้น
[การเลี้ยงลูกเชิงบวก ≠ ลูกมีอารมณ์ลบไม่ได้]
อารมณ์ลบ ร้องไห้ โวยวาย ปฏิเสธ
เป็นเรื่องธรรมชาติของเด็ก
แต่ การเลี้ยงลูกเชิงบวก หมายถึง
การเลี้ยงดูเด็ก ด้วยเทคนิคเชิงบวก
(ที่ศึกษามาแล้วว่าล้อไปตามการทำงานของสมอง)
และสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย
ดังนั้น เลี้ยงลูกเชิงบวก ที่พูดกัน
คนที่ต้องเป็นบวก...คือผู้ใหญ่ ไม่ใช่เด็ก!!
ผู้ใหญ่คนนั้น เค้าต้อง
● รู้จักสื่อสารเชิงบวก
● รู้จักเทคนิคในการฝึกวินัยเชิงบวก
(แน่นอนขั้นตอนนี้ ต้องเกิด ต่อต้าน ร้องไห้ ไม่ยอมกันบ้าง)
และที่สำคัญ
● เป็นคนที่มีพลังบวก ให้ลูกเมื่อลูกอยู่ในอารมณ์ลบ
====
ส่วนเด็กนั้น...เค้าก็เกิดมาเพื่อเรียนรู้
ถ้าเค้าเรียนรู้ว่า สิ่งไหน ที่ใช้เป็นเครื่องมือ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
เค้าก็ทำมันซ้ำๆ....ไม่ได้ซับซ้อนอะไร
ไม่กินข้าว...ร้องสักหน่อย...เดี๋ยวก็ได้นมเป็นรางวัลแล้ว
ไม่อยากแปรงฟัน...ร้องดิ้นสักหน่อย...เดี๋ยวแม่ก็หยุดละ
ไม่อยากกินยา....เม้มปากให้แน่น ร้องไห้สักหน่อย...เดี๋ยวไม่ต้องกิน
ถ้าทำเรื่องเดิมๆ แม่ก็ยอมเหมือนเดิม....เด็กจะเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว
ว่าเค้ามี #อำนาจต่อรองที่เหนือกว่า
=====
ตอนนี้เรามีความสุขร่วมกัน นั่นเป็นเรื่องดีมากๆ
แต่ในตอนที่ลูก เริ่มใช้อำนาจต่อรองที่เค้ามี
(ร้อง ดิ้น เสียงดัง โวยวาย)
นั่นแหละ....คือบททดสอบ
#ความเป็นพ่อแม่เชิงบวก ในตัวเรา😁😁
ทำยังไง
ที่จะคงอารมณ์ในแดนบวกได้
แม้เสียงลูกจะดังไปทั่วซอยแล้ว
ทำยังไง
ที่ตัวเราเอง ก็ไม่เผลอใช้ระบบตอบสนองกึ่งอัตโนมัติ
ด้วยการ สู้กับลูก ยอมตามใจ(ให้จบๆ) หรือหนีปัญหา
ทำยังไง..
ที่จะดึงเอาเทคนิคดีๆที่อ่านมา มาใช้ให้ตรงกับสถานการณ์
#ความรู้ที่ยังไม่ได้เอามาใช้_ไม่มีทางเปลี่ยนเป็นทักษะ
ทักษะที่ฝึกบ่อยๆ ก็จะกลายเป็นนิสัย
===
แท้จริง...เมื่อเราฝึกทักษะการเลี้ยงลูกเชิงบวกจนชำนาญ
เราจะเป็นคน
- เลี้ยงลูกศิษย์เชิงบวก
- คุยกับคนไข้/ลูกค้าเชิงบวก
- รับมือกับสามีเชิงบวก
(ซึ่งค่อนข้างจะยาก...แต่ก็ดีขึ้นเย๊อะ)
มีประโยชน์กับชีวิตจริงๆ
...
มาค่ะ....มาเป็นคนเชิงบวกกัน
...
หมอแพม
ผู้กำลังวิ่งอยู่ในทุ่งลาเวนเดอร์
อำนาจต่อรองที่เหนือกว่า 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最佳貼文
#เลี้ยงลูกเชิงบวก_ใครบวก?
“ไม่กล้าเลิกขวดนม ถ้าไม่ให้กิน..ก็ร้องไห้ไม่หยุดเลยค่ะ...กลัวลูกเครียด”
“ไม่ค่อยได้แปรงฟันให้ลูก เพราะเค้าดิ้นแล้วเจ็บ น่าสงสาร”
“กินนมกลางวัน 3 มื้อ กลางคืน 4 มื้อ”
(นี่มันเด็กแรกเกิด หรือเด็ก 1 ขวบกันนี่)
“กินข้าวได้น้อยมาก กลัวลูกขาดอาหารก็เลยให้กินนมชดเชย”
(ชดเชยเลยเถิดไปจนกินนม 40+ออนซ์/วัน หมอก็เจอมาแล้ว)
“ไม่กล้าล้างจมูก/ป้อนยาไม่ได้....เพราะลูกไม่ยอม”
+++++++++++++++++++++++++++++++
ค่ะ...หมอ เข้าใจความรักของแม่
ไม่อยากให้ลูกเจ็บปวด
ไม่อยากให้ลูกเครียด
ไม่อยากให้ลูกร้องไห้ ฯลฯ
แต่ สภาพของแม่...ดูเหนื่อย เพลีย ดู(เกือบจะ)ไม่ไหว
เพราะเราเลือกที่จะ #ยอม กับสิ่งที่ #ลูกต้องฝึก
เลือกจบปัญหาระยะสั้น (ให้หยุดร้อง หยุดดิ้น ซะที)
ด้วยวิธีที่ง่าย/จบปัญหาให้เร็ว (ยอมตามใจ หรือ ขู่ ทำโทษให้หยุด) โดยไม่คำนึงถึงผลระยะยาว
ผลก็คือ เราต้องตามแก้ปัญหานั้น ซ้ำๆซาก
ถี่ขึ้น ต้องใช้พลังมากขึ้นเรื่อยๆ
+++++++++++++++++++++++++
อย่าเข้าใจผิดว่า #การเลี้ยงลูกเชิงบวก
คือต้องเลี้ยงเด็กให้มีความสุขเกือบตลอดเวลา
เด็กต้องร้องไห้น้อยๆ เพราะเกรงว่าจะเครียด
ตอบสนองให้มากที่สุด
ลูกจะได้มีความสุขตามหลักจิตวิทยา
(ที่ได้อ่านมา...คร่าวๆ...มาก)
+++++++++++++++++++++++
จริงๆ...ไม่ได้เป็นเช่นนั้น
[การเลี้ยงลูกเชิงบวก ≠ ลูกมีอารมณ์ลบไม่ได้]
อารมณ์ลบ ร้องไห้ โวยวาย ปฏิเสธ
เป็นเรื่องธรรมชาติของเด็ก
แต่ การเลี้ยงลูกเชิงบวก หมายถึง
การเลี้ยงดูเด็ก ด้วยเทคนิคเชิงบวก
(ที่ศึกษามาแล้วว่าล้อไปตามการทำงานของสมอง)
และสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย
ดังนั้น เลี้ยงลูกเชิงบวก ที่พูดกัน
คนที่ต้องเป็นบวก...คือผู้ใหญ่ ไม่ใช่เด็ก!!
ผู้ใหญ่คนนั้น เค้าต้อง
● รู้จักสื่อสารเชิงบวก
● รู้จักเทคนิคในการฝึกวินัยเชิงบวก
(แน่นอนขั้นตอนนี้ ต้องเกิด ต่อต้าน ร้องไห้ ไม่ยอมกันบ้าง)
และที่สำคัญ
● เป็นคนที่มีพลังบวก ให้ลูกเมื่อลูกอยู่ในอารมณ์ลบ
====
ส่วนเด็กนั้น...เค้าก็เกิดมาเพื่อเรียนรู้
ถ้าเค้าเรียนรู้ว่า สิ่งไหน ที่ใช้เป็นเครื่องมือ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
เค้าก็ทำมันซ้ำๆ....ไม่ได้ซับซ้อนอะไร
ไม่กินข้าว...ร้องสักหน่อย...เดี๋ยวก็ได้นมเป็นรางวัลแล้ว
ไม่อยากแปรงฟัน...ร้องดิ้นสักหน่อย...เดี๋ยวแม่ก็หยุดละ
ไม่อยากกินยา....เม้มปากให้แน่น ร้องไห้สักหน่อย...เดี๋ยวไม่ต้องกิน
ถ้าทำเรื่องเดิมๆ แม่ก็ยอมเหมือนเดิม....เด็กจะเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว
ว่าเค้ามี #อำนาจต่อรองที่เหนือกว่า
=====
ตอนนี้เรามีความสุขร่วมกัน นั่นเป็นเรื่องดีมากๆ
แต่ในตอนที่ลูก เริ่มใช้อำนาจต่อรองที่เค้ามี
(ร้อง ดิ้น เสียงดัง โวยวาย)
นั่นแหละ....คือบททดสอบ
#ความเป็นพ่อแม่เชิงบวก ในตัวเรา😁😁
ทำยังไง
ที่จะคงอารมณ์ในแดนบวกได้
แม้เสียงลูกจะดังไปทั่วซอยแล้ว
ทำยังไง
ที่ตัวเราเอง ก็ไม่เผลอใช้ระบบตอบสนองกึ่งอัตโนมัติ
ด้วยการ สู้กับลูก ยอมตามใจ(ให้จบๆ) หรือหนีปัญหา
ทำยังไง..
ที่จะดึงเอาเทคนิคดีๆที่อ่านมา มาใช้ให้ตรงกับสถานการณ์
#ความรู้ที่ยังไม่ได้เอามาใช้_ไม่มีทางเปลี่ยนเป็นทักษะ
ทักษะที่ฝึกบ่อยๆ ก็จะกลายเป็นนิสัย
===
แท้จริง...เมื่อเราฝึกทักษะการเลี้ยงลูกเชิงบวกจนชำนาญ
เราจะเป็นคน
- เลี้ยงลูกศิษย์เชิงบวก
- คุยกับคนไข้/ลูกค้าเชิงบวก
- รับมือกับสามีเชิงบวก
(ซึ่งค่อนข้างจะยาก...แต่ก็ดีขึ้นเย๊อะ)
มีประโยชน์กับชีวิตจริงๆ
...
มาค่ะ....มาเป็นคนเชิงบวกกัน
...
หมอแพม
ผู้กำลังวิ่งอยู่ในทุ่งลาเวนเดอร์
อำนาจต่อรองที่เหนือกว่า 在 สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า - Facebook 的推薦與評價
(1) เป็นผู้ประกอบธุรกิจที่มีอำนาจตลาดหรืออำนาจต่อรองที่เหนือกว่าผู้ประกอบธุรกิจอีกราย (2) มีพฤติกรรมการใช้อำนาจตลาดหรืออำนาจต่อรองที่เหนือกว่าในการเอาเปรียบ ... ... <看更多>