ว่าด้วยเรื่อง 6G และความมุ่งมั่นของจีนในการนำพาจีนเข้าสู่สังเวียน6G ที่ทั่วโลกตั้งเป้าไว้ว่าจะใช้งาน6Gเชิงพาณิชย์ภายในปี 2030 หรืออีก10ปีต่อจากนี้
.
เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี2019ที่ผ่านมา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน ประกาศ "จีนเข้าสู่การพัฒนา6Gอย่างเป็นทางการ" พร้อมจัดตั้งสำนักงานเพื่อวิจัยและกำหนดนโยบายเกี่ยวกับ6Gโดยเฉพาะ โดยภาคเอกชนรายใหญ่ของจีน อาทิ China Telecom, China Unicom และHuawei ได้ร่วมวงวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี6Gด้วย
.
ความจริงแล้ว 2-3ปีที่ผ่านมา จีนได้ซุ่มวิจัย6Gไปพร้อมๆกับช่วงที่เร่งพัฒนา5Gจนตอนนี้5Gก็ใช้ได้จริงแล้วในจีน ดูได้จากบทสัมภาษณ์ของรมต.กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศจีน ที่ให้สัมภ่ษณ์กับทางสถานีโทรทัศน์ CCTV เมื่อปี2018 โดยเผยว่า "จีนเริ่มลงทุนวิจัย 6G แล้ว แม้ 5G ยังไม่ได้ใช้อย่างเป็นทางการ(ณ ขณะนั้น ปี2018)"
.
มาอ่านคำสัมภาษณ์บางช่วงบางตอนของ "เหมียว เหวย" รมต.กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศจีน เกี่ยวกับประเด็น 6G, อนาคตเทคโนโลยีจีน และ Lifestyle ในฐานะคนคุมเรื่องเทคโนโลยีของจีนกันเลยครับ แปลบทสัมภาษณ์จากคลิปของ CCTV โดยอ้ายจง
นักข่าว: ทุกวันนี้ ไม่ว่าจีนหรือประเทศไหนก็จะมี 5G เป็นประเด็นหลักในแผนพัฒนาด้านเทคโนโลยีของประเทศนั้น ท่านพอจะบอกเหตุผลได้ไหมคะว่าทำไม?
รมต. : G หมายถึง Generation หรือยุคของเทคโนโลยี อย่างตอยนี้เราคุ้นเคยกับ 4G แล้วพอผ่านจากยุคที่4 หรือ 4G ก็มาเป็น 5G ซึ่งตอนนี้ประเทศจีนได้เริ่มลงทุนลงมือวิจัย 6G แล้ว
นักข่าว: 5G ยังไม่ได้ใช้อย่างเป็นทางการ ทำไมถึงวิจัย 6G แล้วล่ะคะ?
รมต. :เพราะว่าความต้องการในการใช้งานมือถือและเทคโนโลยีเครือข่ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราจึงต้องมีการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องของการเชื่อมต่อเครือข่าย ซึ่งจะเชื่อใต่อระหว่างคน กับ สิ่งของ/อุปกรณ์ และ อุปกรณ์ ต่อ อุปกรณ์ มากขึ้น โดยเทคโนโลยีและนวัตกรรมในอนาคตต่างต้องใช้เทคโนโลยีเครือข่ายขั้นต่ำอย่าง 5G เพื่อเป็นพื้นฐาน เช่น รถไร้คนขับ และ โดรน
ในยุคของ 5G ความเร็วในการเชื่อมต่อเพิ่มมากขึ้น และความหน่วงเวลา ได้เปลี่ยนจากระดับ วินาที มาเป็นมิลลิวินาที ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถรับรู้ถึงความเร็วตรงนี้ได้ แต่ถ้าใช้ในอุปกรณ์/นวัตกรรม มีผลกระทบแน่นอน เช่น ในรถไร้คนขับ เวลาเพียงมิลลิวินาทีอาจมีผลต่อชีวิตได้ หากเกิดอุบัติเหตุขึ้น
นักข่าว: เราจะได้เห็น รถไร้คนขับ ถูกใช้อย่างแพร่หลายในจีนกันเมื่อไหร่คะ?
รมต. : ผมเชื่อว่าต้องใช้เวลานานทีเดียว อย่างเช่นประมาณ 8-10 ปี
นักข่าว: การมาของรถไร้คนขับ จะทำให้ผู้ประกอบอาชีพขับรถ ตกงานหรือไม่?
รมต. : สิ่งสำคัญที่สุดของการพัฒนารถไร้คนขับ คือ ความปลอดภัย หากเทคโนโลยีรถไร้คนขับที่เราพัฒนาและนำมาใช้จริงแล้ว แต่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ก็ไม่ควรนำมาใช้ ไม่มีใครกล้าใช้ ดังนั้นเราต้องพัฒนาให้แน่ใจว่าปลอดภัยจริงๆ และเมื่อนำมาใช้จริงแล้วจนสามารถแทนที่ "คนขับ" ได้อย่างสมบูรณ์ คำถามข้างต้นก็เป็นคำถามที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งผมคิดว่า คนที่ทำอาชีพเกี่ยวกับขับรถต้องมีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลง
นักข่าว: ท่านจะเลือกที่จะใช้รถไร้คนขับหรือไม่คะ?
รมต. : ผมชอบขับรถนะ ปกติแล้วถ้าผมไม่ยุ่ง ผมก็เลือกที่จะขับรถเอง แต่ถ้าผมเหนื่อยมาก ผมก็จะเลือกใช้รถไร้คนขับ อย่างที่ผมได้พูดไปแล้วผมเชื่อในความปลอดภัยของรถไร้คนขับมากกว่าคนขับเอง
นักข่าว: ตอนนี้ในด้าน AI ปัญญาประดิษฐ์ของประเทศเรา(จีน) อยู่ในระดับไหนคะ?
รมต. : ในเชิงเทคนิค ยังคงมีช่องว่างระหว่างเรากับประเทศพัฒนาแล้วฝั่งตะวันตกและอเมริกา แต่หลายเทคโนโลยีของเราอย่าง การรู้จำเสียง, การรู้จำรูปภาพ และการรู้จำใบหน้า ถือเป็นระดับแนวหน้าของโลกได้เลย แต่เราก็ยังคงตั้งหน้าตั้งตาพัฒนาต่อไป
นักข่าว: ในการสัมภาษณ์นี้ เราได้มีการพูดถึงเรื่องมือถือ ขอถามท่านว่าตอนนี้ท่านใช้มือถือแบรนด์ต่างประเทศหรือแบรนด์จีนคะ?
รมต. : ผมใช้มือถือต่างประเทศเป็นเวลาสั้นๆ จากนั้นผมก็ใช้แต่แบรนด์ของจีนเอง
นักข่าว: ในแต่ละวัน ท่านใช้เวลากับมือถือนานไหมคะ?
รมต. : ผมไม่ค่อยเล่นมือถือนานๆ แต่หากมีเวลา ก็จะมีบ้างที่เข้าเว็บไซต์เถาเป่า Taobao เพื่อดูสินค้าโน่นนี่ หรือเข้าอินเทอร์เน็ตค้นหาข้อมูลต่างๆ
นักข่าว: ในอนาคต ท่านจะซื้อหุ่นยนต์มาใช้บ้างไหมคะ?
รมต. : เป็นสิ่งที่ผมคิดมาตลอดนะว่าถ้าปลดเกษียณไปแล้วจะทำอะไร ? ผมก็รู้สึกนะว่าถ้าอยู่เฉยๆที่บ้านคงเหงาแย่ จะคุยกับใคร ดังนั้นถ้าหุ่นยนต์สามารถเป็นเพื่อนคุยได้ และอย่างยิ่งถ้ามีฟังก์ชันดีๆ ผมก็จะพิจารณาในการซื้อมาที่บ้านนะ
นักข่าว: ฉันคิดว่าฉันสามารถคุยกับท่านได้นะคะ ท่านไม่จำเป็นต้องซื้อหุ่นยนต์หรอกค่ะ จ้างฉันแทน
.
การพัฒนาด้านเทคโนโลยี เป็น1นโยบายหลักของจีน เพื่อให้จีนก้าวสู่ผู้ส่งออกเทคโนโลยีของโลก ตามที่ตั้ง เป้า Made in China 2025 เอาไว้ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมจีนถึงพยายามอย่างหนักไม่ว่าจะ5Gหรือ6G
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน
同時也有47部Youtube影片,追蹤數超過101萬的網紅แม่ก้อยพาทำ Channel,也在其Youtube影片中提到,สวัสดีค่ะเพื่อนเกษตรที่น่ารักทุกคน วันนี้ขอพาเพื่อน มาทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ EM อย่างง่าย ใครก็ทำได้ EM คือหัวเชื้อจุลินทรีย์ ที่ไปต่อยอดทำปุ๋ย ได้อีกหล...
「อุปกรณ์ หมายถึง」的推薦目錄:
- 關於อุปกรณ์ หมายถึง 在 อ้ายจง Facebook 的最讚貼文
- 關於อุปกรณ์ หมายถึง 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最佳解答
- 關於อุปกรณ์ หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於อุปกรณ์ หมายถึง 在 แม่ก้อยพาทำ Channel Youtube 的最佳貼文
- 關於อุปกรณ์ หมายถึง 在 SawEsanBanthung Youtube 的最讚貼文
- 關於อุปกรณ์ หมายถึง 在 SawEsanBanthung Youtube 的最讚貼文
- 關於อุปกรณ์ หมายถึง 在 HORSE Stationery อุปกรณ์เครื่องเขียน ตราม้า - ชักหน้าไม่ถึงหลัง ... 的評價
อุปกรณ์ หมายถึง 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最佳解答
#เรื่องเล่าหนอนหนังสือ 6
.
ตอนนี้การเรียนรู้ด้านภาษาของเด็กที่บ้านเดินทางมา
จนกระทั่ง อยากเรียนรู้ภาษาเขียนแล้วค่ะ
.
หมอจะเริ่มบันทึกการสอนภาษาให้ลูก
เผื่อว่าแม่คนไหนอยากจะมาแชร์กันนะคะ
วันนี้จะเป็นบทแรก...ยาวนิดนะคะ
.
การเรียนรู้ภาษาของเด็ก(ของมนุษย์ทุกคนแหละค่ะ)
ต้องเริ่ม
1) ฟังและเห็น: เริ่มตั้งแต่ก่อนลูกเกิด เด็กจำเสียงแม่ได้ตั้งแต่ก่อนคลอดซะอีก พอเกิดมา การที่แม่พูดกับเค้า เค้าได้สบตา
ฟังเสียง อ่านริมฝีปาก และเรียนรู้ศัพท์ ผ่านทางน้ำเสียง ท่าทาง
น้ำเสียงแบบนี้ ท่าทางแบบนี้ คำๆนี้ แปลว่าดี
ถ้าน้ำเสียงแบบนี้ มาคู่กับคำๆนี้ คือ ห้าม ทำไม่ได้ เป็นต้น
สิ่งนี้ ช่วยกระตุ้นให้การเรียนรู้ภาษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว ยิ่งได้ฟังนิทาน ได้ฟังรูปประโยค และเรียนรู้คำศัพท์ ที่หลากหลาย ยิ่งทำให้การเรียนรู้ภาษาดียิ่งขึ้น...จึงมีโครงการนิทาน 1000 เล่มก่อน 6 ปีไงคะ เพราะสมองที่เร็วกับการเรียนรู้ภาษาคือก่อน 6 ขวบ
.
2) พูด: พอเริ่ม พูดได้ เด็กๆจะยิ่งเห็นความสำคัญของภาษา
เค้าจะรับรู้เลยว่า การพูดได้ ทำให้ตัวเองทรงพลังมากขึ้น(อย่างน้อยก็ในบ้าน😂) บอกความต้องการได้ บอกปฏิเสธได้
เค้ารู้สึกราวกับเค้าเป็นผู้ใหญ่...จังหวะนี้ล่ะค่ะ
ยิ่งต้องใกล้ชิด เพราะเราสามารถสื่อสารกับลูกได้เข้าใจ
ว่าสิ่งนี้ควร สิ่งนี้ไม่ควร เราสอนทุกเรื่องได้โดยใช้ภาษาเป็นเครื่องมือ
และในช่วงนี้เด็กจะมีความกระตือรือร้น
ถาม แล้วมีคนตอบคำถาม
พูดแล้วมีคนฟัง
และตอบสนองสิ่งที่ต้องการ เป็นสิ่งที่วิเศษจริงๆ
(เด็กๆคงคิดแบบนี้)
.
3) อ่าน เมื่อเค้าได้"ฟัง" และ "พูด" แล้วมีคนตอบสนองมากพอ
พอเด็กฟังนิทาน เค้ารู้ว่าแม่อ่านตัวอักษร
เค้าจะเรียนรู้ว่า ตัวอักษรเหล่านั้น คือสัญลักษณ์ ที่แทนเสียง
และความหมาย
.
แม่อ่าน นิทานเรื่องนี้ก็เนื้อเรื่องเหมือนกับ ที่พ่ออ่าน ที่ยายอ่าน
ใครๆอ่าน ก็ได้เนื้เรื่องที่สนุกเหมือนกัน
แล้วถ้าเค้าอ่านได้เองล่ะ?
.
นี่ล่ะค่ะ...ความกระตือรือร้นของการเรียนรู้ ภาษาเขียนถึงเกิด
4) เขียน ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึง การเขียนคัดลายมือตามรอยประ
แต่การเขียน หมายถึง การบันทึกความคิดลงบนกระดาษ
ซึ่งจะถึงขั้นนี้ได้ คงต้องผ่านกระบวนการ 1-3 มาอย่างสม่ำเสมอ
.
ตอนนี้เด็กที่บ้าน ส่งสัญญาณว่า
ต้องการจะเข้าใจภาษาเขียน
.
แน่นอนค่ะ การเข้าใจภาษาเขียน
เค้าต้องรู้จักสัญลักษณ์ แทนเสียงก่อน"
Know(รู้จัก) -->Knowledge(ความรู้)-->skill (ทักษะ)-->innovation(คิดค้นสิ่งใหม่)
.
ดังนั้นขั้นแรกต้องจำตัวอักษร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนเสียงก่อน
แน่นอน การจำอักษร ไม่ใช่การท่อง อาขยาน
"ก เอ๋ย ก ไก่...ฮ.นกฮูกตาโต"
แต่คือ เห็นปุ๊บ แล้วจำได้เลย ว่า ตัวอักษรนี้แทนเสียงอะไร
แม้ว่าจะเห็นตรงไหน และลำดับอย่างไร
.
หมอเลยเริ่มที่ ให้ทำความรู้จักตัวอักษร
โดยใช้เกมส์ต่างๆ เก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆค่ะ
เลือกตัวอักษร 5-6 ตัว
เกมส์วันนี้ "เอาตัวอักษรกลับบ้าน"
อุปกรณ์
👉กล่องพลาสติก ซื้อจากร้านทุกอย่าง 20 บาท (ตกกล่องละ 5 บาท ซื้อสัก 8 กล่องก็พอค่ะ เล่นวนตัวอักษรไป ต้องเว้นจังหวะเปลี่ยนเกมส์อื่นด้วย เด็กๆไม่ชอบอะไรซ้ำๆ)
👉โปสเตอร์ ก-ฮ 20 บาท เอามาตัดรูป เพื่อติดฝากล่อง (เก็บไว้ใช้ได้หลายเกมส์)
👉ตัวอักษร..จะทำเอง หรือ ของที่บ้านเป็นตัวอักษร ร้อยเชือก
(เอาไว้เล่นหลายเกมส์เหมือนกัน)
.
ลองดูค่ะ
ถ้าเพื่อนๆมีเกมส์อะไรสนุกๆมาแชร์กันนะคะ
.
หมอแพม
ผู้คิดว่า การสอนภาษาที่ดีที่สุด เริ่มจากที่บ้าน
อุปกรณ์ หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
หลักกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน
ก่อนที่เราจะพูดถึงในเรื่องทรัพย์สินการได้มาซึ่งในทรัพย์ในบรรพ 4 นั้นเราจำเป็นต้องทราบถึงความหมายทรัพย์สิน ทรัพย์ ลักษณะของทรัพย์เสียก่อน
1.ความหมายทรัพย์สิน
ในทางกฎหมายได้ให้ความหมายของทรัพย์สิน คือ
1.1 ความหมายของทรัพย์และทรัพย์สิน
ทรัพย์ คือ วัตถุมีรูปร่าง เช่น รถยนต์ ปากกา เสื้อผ้า ธนบัตร สิ่งไม่เป็นรูปร่างไม่เป็นทรัพย์แต่อาจเป็นทรัพย์สิน
ทรัพย์สิน มีความหมายกว้างกว่า ทรัพย์ คือเป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุมีรูปร่างหรือไม่มีรูปร่างก็ได้ แต่ต้องอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ เช่น พลังงาน กระแสไฟฟ้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เป็นต้น
ข้อสังเกต ทรัพย์และทรัพย์สินมีลักษณะสำคัญอยู่ 2 ประการ คือ
1.ทรัพย์ คือ วัตถุที่มีรูปร่าง ส่วนทรัพย์สิน คือ วัตถุที่มีรูปร่างก็ได้หรือไม่มีรูปร่างก็ได้
2.วัตถุที่มีรูปร่างหรือไม่มีรูปร่างนั้นต้องอาจมีราคาได้และต้องอาจถือเอาได้
1.2 ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์และทรัพย์สิน
เมื่อทราบถึงความหมายและลักษณะของทรัพย์และทรัพย์สิน แล้วยังมีคำที่เกี่ยวข้องที่ขยายความหมายทรัพย์และทรัพย์สินที่ต้องอธิบาย คือ คำว่า “วัตถุมีรูปร่าง” “วัตถุไม่มีรูปร่าง” “อาจมีราคาได้” “อาจถือเอาได้”
1.2.1 วัตถุมีรูปร่าง
วัตถุมีรูปร่าง หมายถึงสิ่งเห็นได้ด้วยตา จับสัมผัสได้ เช่น หนังสือ โต๊ะ เก้าอี้ บ้านเรือน รถ เรือ ม้า ลา เป็นต้น
ข้อสังเกต กระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นสิ่งที่มีมีรูปร่าง จึงน่าเป็นทรัพย์สิน มิใช่ทรัพย์นั้น ได้มีคำพิพากษาของศาลฎีกาเลขที่ 877/2501 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ว่าการลักกระแสไฟฟ้าย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 334หรือ 335 แล้วแต่กรณี
1.2.2 วัตถุไม่มีรูปร่าง
วัตถุไม่มีรูปร่าง นั้นหมายถึง สิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตา จับต้องสัมผัสไม่ได้ เช่น แก๊ส กำลังแรงธรรมชาติ พลังน้ำตก พลังปรมาณู เป็นต้น และยังได้แก่สิทธิต่างๆ อันเกี่ยวกับทรัพย์ เช่น กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง ภารจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเก็บกิน สิทธิเหนือพื้นดิน ภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ จำนำ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร สิทธิในเครื่องหมายการค้า เป็นต้น
1.2.3 อาจมีราคาได้
ราคา หมายถึง คุณค่าในตัวของสิ่งนั้นเอง ซึ่งมีความหมายตรงกับ Value ในภาษาอังกฤษมิใช่ราคาที่ตรงกับ Price ในภาษาอังกฤษ สิ่งบางอย่างอาจซื้อขายด้วยราคามิได้ แต่อาจมีคุณค่าเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยทางเศรษฐกิจ หรือประโยชน์ทางจิตใจอยู่ เช่น จดหมายติดต่อระหว่างคู่รัก ประกาศตั้งชื่อสกุล เป็นต้น
ข้อสังเกต สลากกินแบ่งรัฐบาลก็เป็นทรัพย์สินซึ่งซื้อขายเปลี่ยนมือกันได้ แม้สลากที่มีถูกรางวัลแล้วซื้อขายกันไม่ได้ต่อไป ก็อาจมีราคาได้ ถ้าเจ้าของยังหวงแหนเก็บรักษาไว้เป็นที่ระลึก
1.2.4 อาจถือเอาได้
คำว่าอาจถือเอาได้ หมายความว่า เพียงแต่อาจถือเอาได้นั้นก็เพียงพอแล้ว ฉะนั้นคำว่าถือเอาได้ จึงหมายถึงอาการเข้าหวงกันเพื่อตนเอง ไม่จำเป็นต้องเข้ายึดถือจับได้อย่างจริงจัง เช่น ปลาในโป๊ะ แม้เจ้าของโป๊ะจะยังไม่ทันจับปลาก็เรียกได้ว่าเจ้าของโป๊ะอาจถือเอาได้แล้ว เพราะมีการกั้นโป๊ะแสดงการหวงกันไว้เพื่อตนเอง
2.ประเภทของทรัพย์
ประเภทของทรัพย์ สามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้ คือ
2.1 อสังหาริมทรัพย์
อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่นที่ดินทรัพย์อันติดกับที่ดิน หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน และสิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ได้แก่ ทรัพย์สิทธิต่างๆ คือ ภาระจำยอม สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิอาศัย สิทธิเก็บกิน และภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
เมื่อวิเคราะห์ความหมายคำว่าอสังหาริมทรัพย์ จึงได้แก่
2.1.1 ที่ดิน
ที่ดิน คือ พื้นดินทั่วๆไป แต่ย่อมหมายถึงดินที่ขุดมาแล้ว เพราะที่ดินที่ขุดมาจากพื้นดินแล้วไม่เป็นที่ดินต่อไป จึงเป็นเพียงสังหาริมทรัพย์เท่านั้น นอกจากนี้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 1 ให้ความหมายของคำว่าที่ดินว่า หมายถึงพื้นดินทั่วไป และให้หมายความรวมถึง ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ลำน้ำ ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลด้วย แต่ความหมายตามประมวลที่ดินนี้เป็นเพียงความหมายที่ใช้ในประมวลกฎหมายที่ดินเท่านั้น จะนำความหมายทั้งหมดมาใช้กับคำว่าที่ดินในประมวลหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้ เช่น ลำน้ำและทะเลสาบ เป็นต้น ย่อมไม่เป็นที่ดินตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2.1.2 ทรัพย์อันติดกับที่ดิน
ทรัพย์อันติดกับที่ดิน ได้แก่
1.ทรัพย์ที่เกิดหรือติดกับที่ดินโดยธรรมชาติ เช่น ไม้ยืนต้น ซึ่งต้องเป็นไม้ยืนต้นมีอายุยืนกว่า 3 ปี รวมไปถึงต้นพลูด้วย ส่วนไม้ล้มลุก ไม่ถือว่าเป็นทรัพย์อันติดกับที่ดินที่อยู่ในความหมายในอสังหาริมทรัพย์
2.ทรัพย์ที่ติดกับที่โดยมีผู้นำมาติด เช่น บ้าน ตึกแถว สะพาน อนุสาวรีย์ เจดีย์ หอนาฬิกาและฮวงซุ้ย เป็นต้น แต่การนำมาติดกับที่ดินเช่นนี้ ต้องเป็นการติดในลักษณะตรึงตราแน่ถาวร แต่ไม่จำเป็นต้องติดอยู่กับที่ดินตลอดกาล อาจจะปลูกสร้างติดอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เช่น อาคารที่ปลูกในงานมหกรรมสินค้า เสร็จแล้วก็รื้อถอนไป ก็ยังเป็นทรัพย์ที่ติดกับที่ดินชั่วระยะเวลาที่มีงานนั้น ตรงกันข้ามทรัพย์ที่เพียงวางอยู่บนที่ดิน แม้จะช้านานเท่าใด ก็มิใช่ทรัพย์ที่ติดกับที่ดิน จึงมิใช่อสังหาริมทรัพย์ เช่น ร้านแผงลอยถือว่าโดยสภาพมิใช่ทรัพย์ที่ติดกับที่ดินในลักษณะตรึงตราถาวรจึงเป็นสังหาริมทรัพย์
2.1.3 ทรัพย์ซึ่งประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน
ทรัพย์ซึ่งประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน คือ ทรัพย์ที่เป็นส่วนรวมหรือประกอบเป็นพื้นดิน เช่น แม่น้ำ ลำธาร แร่ธาตุ กรวดทราย ซึ่งอยู่ในธรรมชาติหรือซึ่งมนุษย์นำมารวมไว้กับที่ดินจนกลายเป็นส่วนของพื้นดินตามธรรมชาติ แต่ไม่หมายความรวมถึงสังหาริมทรัพย์ที่ซ่อนฝังหรือตกหล่นหมกดินทรายอยู่ เพราะทรัพย์เหล่านี้มิได้ปรกอบเป็นพื้นดินตามธรรมชาติ หากมนุษย์นำไปฝังหรือทิ้งไว้ และยังไม่กลายเป็นส่วนของพื้นดิน ผิดกับดินทรายที่บุคคลนำไปถมบ่อคู เมื่อถมแล้วก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของพื้นดินทันที จึงถือว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือคอนกรีต ยางมะตอยนำมาทำถนน เมื่อเป็นถนนแล้วย่อมถือว่าเป็นทรัพย์ที่ประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน จึงเป็นอสังหาริมทรัพย์
2.1.4 สิทธิที่เกี่ยวกับทรัพย์สินในที่ดิน
สิทธิที่เกี่ยวกับทรัพย์สินในที่ดิน อาจแบ่งได้เป็นสิทธิที่เกี่ยวกับที่ดินโดยทางตรงและสิทธิที่เกี่ยวกับที่ดินโดยทางอ้อม
1.สิทธิที่เกี่ยวกับที่ดินโดยทางตรง ได้แก่ กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง สิทธิใช้สอยและได้ซึ่งดอกผล สิทธิอาศัย ภารจำยอม สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น เหล่านี้จึงเป็นอสังหาริมทรัพย์
2.สิทธิเกี่ยวกับที่ดินโดยทางอ้อม คือ สิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น ซึ่งติดอยู่กับที่ดินอีกทอดหนึ่ง เช่น บ้านที่ปลูกบนที่ดินเป็นอสังหาริมทรัพย์ หากเจ้าของบ้านเอาไปจำนอง สิทธิจำนองนั้นก็เป็นสิทธิที่เกี่ยวกับที่ดินด้วย จัดเป็นสิทธิที่เกี่ยวกับที่ดินโดยทางอ้อม จึงเป็นอสังหาริมทรัพย์
2.2 สังหาริมทรัพย์
สังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์อื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์และรวม ถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย สังหาริมทรัพย์จึงเป็นทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ ซึ่งอาจจะเป็นทรัพย์ที่อาจเคลื่อนที่ด้วยตัวของมันเองตามธรรมชาติ อาจถือเอาได้
จากความหมายข้างต้นสามารถพิจารณาศัพท์ตามความหมายของสังหาริมทรัพย์ จึงได้แก่
2.2.1 ทรัพย์ที่อาจเคลื่อนจากที่แห่งหนึ่งไปอีกแห่งหนึ่งได้
ทรัพย์ที่อาจเคลื่อนจากที่แห่งหนึ่งไปอีกแห่งหนึ่งได้ ซึ่งหมายถึงทรัพย์ที่ขนเคลื่อนย้ายไปได้โดยไม่เสียรูปทรงหรือรูปลักษณ์ของตัวทรัพย์นั้น เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย รถยนต์ โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น แต่ที่ดิน บ้านเรือน แม้จะขุดรื้อไปได้ตามก็ตาม แต่สิ่งที่ขุดรื้อไปนั้น หาใช่ดินหรือบ้านเรือนไม่ เป็นเพียงดิน แผ่นไม้ แผ่นสังกะสี แผ่นกระเบื้องเท่านั้น ที่ดินและบ้านเรือนจึงจะอ้างว่าเป็นสังหาริมทรัพย์ เพราะอาจขนเคลื่อนได้ จึงไม่ถูกต้อง แต่ร้านแผงลอยอาจขนเคลื่อนย้ายได้โดยไม่เสียรูปทรงจึงเป็นสังหาริมทรัพย์ ตู้โทรศัพท์สาธารณะหรือป้อมยามตำรวจที่ยกเคลื่อนย้ายได้ ก็เป็นสังหาริมทรัพย์
2.2.2 กำลังแรงแห่งธรรมชาติ
กำลังแรงแห่งธรรมชาติที่จะถือว่าเป็นสังหาริมทรัพย์นี้จะต้องอาจถือเอาได้และอาจมีราคาได้ด้วย กำลังแรงแห่งธรรมชาติได้แก่ พลังน้ำตก พลังไอน้ำ แก๊ส เป็นต้น
2.2.3 สิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์
สิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ สิทธิที่เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์นี้ ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์ อย่างสิทธิที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งไม่เป็นอสังหาริมทรัพย์สิทธิใดๆที่เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ย่อมเป็นสังหาริมทรัพย์ทั้งสิ้น เช่น กรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในสังหาริมทรัพย์ บุริมสิทธิพิเศษชนิดที่เป็นบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ จำนำ สิทธิในหุ้นส่วน สิทธิยึดหน่วง ลิขสิทธิ์และสิทธิในเครื่องหมายการค้า เป็นต้น
2.3 ทรัพย์ที่แบ่งได้และทรัพย์แบ่งไม่ได้
2.3.1 ทรัพย์ที่แบ่งได้
ทรัพย์ที่แบ่งได้ หมายถึง ทรัพย์ที่อาจแยกออกจากกันเป็นส่วนได้ ส่วนที่แยกออกมายังคงมีรูปร่างมีสภาพสมบูรณ์เป็นทรัพย์เดิมอยู่ เช่น ข้าวสาร น้ำตาล น้ำเปล่า น้ำมันพืช ผงซักฟอก เงิน เป็นต้น
2.3.2 ทรัพย์แบ่งไม่ได้
ทรัพย์แบ่งไม่ได้ หมายถึง ทรัพย์ที่จะแยกออกจากันไม่ได้นอกจากเปลี่ยนแปลงภาวะของทรัพย์ ซึ่งถ้าแบ่งออกแล้วสิ่งเหล่านี้คงจะไม่คงสภาพเป็นตัวทรัพย์อยู่อย่างเดิม เช่น บ้าน ตึก อาคาร เสื้อผ้า นาฬิกา เป็นต้น และทรัพย์ที่ไม่อาจแบ่งสภาพได้โดยอำนาจตามกฎหมาย เช่น หุ้นของบริษัทจำกัด ทรัพย์ส่วนควบหรือสิทธิจำนอง เป็นต้น
2.3.3 ประโยชน์ในการแบ่งทรัพย์ที่แบ่งได้และทรัพย์แบ่งไม่ได้
ประโยชน์ในการแบ่งทรัพย์ที่แบ่งได้และทรัพย์แบ่งไม่ได้นั้น มีประโยชน์ก็เพื่อใช้ในการแบ่งทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์รวม คือ ถ้าเป็นทรัพย์ที่แบ่งได้ก็ไปตามส่วนแห่งการเป็นเจ้าของรวมว่าจะตกลงกันอย่างไร ถ้าเป็นทรัพย์แบ่งไม่ได้ก็ต้องแบ่งไปโดยวิธีที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ ใช้วิธีประมูลกันระหว่างเจ้าของรวมหรือวิธีขายทอดตลาด
2.5 ทรัพย์นอกพาณิชย์
ทรัพย์นอกพาณิชย์ หมายถึง ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้และทรัพย์ที่ไม่อาจโอนให้แก่กันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ทรัพย์นอกพาณิชย์อาจเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ก็ได้ ทรัพย์นอกพาณิชย์ มี 2 ประการ
2.5.1 ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้
ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้ ความจริงสิ่งใดที่ไม่อาจมีราคาได้หรือไม่อาจถือเอาได้ย่อมมิใช่ทรัพย์สิน เช่น สายลม แสงแดด ก้อนเมฆ ดวงดาว ดวงอาทิตย์ เป็นต้น
2.5.2 ทรัพย์ที่ไม่สามารถโอนกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
ทรัพย์ที่ไม่สามารถโอนกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง ทรัพย์สินซึ่งจะนำมาจำหน่ายจ่ายโอน ดังเช่นทรัพย์สินทั่วๆไป เช่นนี้จึงถือว่าอยู่นอกพาณิชย์ คือ นอกการการหมุนเวียนเปลี่ยนมือ ทรัพย์นอกพาณิชย์ประเภทนี้อาจจะมีการห้ามโอนโดยกฎหมายพิเศษ เช่น ห้ามโอนพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งในวัดใดวัดหนึ่งโดยเฉพาะพระพุทธรูปนั้นก็กลายเป็นทรัพย์นอกพาณิชย์ไปหรืออาจมีการห้ามโอนโดยกฎหมายที่กำหนดห้ามโอนไว้ทั่วๆไป ก็ได้ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 กำหนดว่า “ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นห้ามโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา” เช่น ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 กำหนดว่า “ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์จะโอนกรรมสิทธิ์ก็ได้แต่พระราชบัญญัติ และห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่ของวัดและที่ธรณีสงฆ์ ฉะนั้นที่วัดและที่ธรณีสงฆ์จึงเป็นทรัพย์นอกพาณิชย์ เป็นต้น
3. ส่วนประกอบของทรัพย์
ส่วนประกอบของทรัพย์ ได้แก่
3.1 ส่วนควบ
3.1.1 ความหมายของส่วนควบ
ส่วนควบ หมายถึง ส่วนซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นถือได้ว่าเป็นอยู่ของทรัพย์นั้นและไม่อาจแยกจากกันได้นอกจะทำลาย ทำให้บุบสลายหรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนรูปทรงหรือสภาพไป เช่น ประตู หน้าต่าง ย่อมเป็นส่วนควบของบ้าน ล้อรถยนต์ย่อมเป็นส่วนควบของรถยนต์ เป็นต้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนควบ ใครเป็นเจ้าของทรัพย์ใดย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบเหล่านั้น รวมทั้งไม้ยืนต้นเป็นส่วนควบกับที่ดินที่ไม้นั้นขึ้นอยู่ด้วย
3.1.2 ลักษณะที่สำคัญของส่วนควบของทรัพย์
ลักษณะที่สำคัญของส่วนควบของทรัพย์มีดังต่อไปนี้ คือ
1.ส่วนควบต้องเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์ใหม่นั้น เช่น เลนส์แว่นตาย่อมเป็นสาระสำคัญในความเป็นแว่นตาของแว่น ใบพัดและหางเสือเรือย่อมเป็นสาระสำคัญของเรือยนต์ เป็นต้น
2.ส่วนควบต้องมีสภาพไม่อาจแยกออกจากันได้ นอกจากทำลาย ทำให้บุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรง เช่น บ้านย่อมประกอบด้วย เสา ฝา หลังคา ประตู หน้าต่าง เหล่านี้เราไม่อาจแยกจากตัวบ้านได้ เว้นแต่จะรื้อทำลาย หรือ โต๊ะ เก้าอี้ ไม่อาจแยกเอาขาโต๊ะ ขาเก้าอีออกมาได้ เว้นแต่จะทำให้บุบสลายไป เป็นต้น
3.การรวมสภาพที่เป็นส่วนควบของทรัพย์นั้นนั้นอาจเป็นการกระทำของบุคคลก็ได้ เช่น บ้านเรือน โต๊ะ เก้าอี้ รถยนต์ เป็นต้น หรืออาจเป็นการรวมสภาพที่เป็นส่วนควบของทรัพย์โดยธรรมชาติก็ได้ เช่นที่งอกริมตลิ่ง มูลแร่ที่ไหลไปตกกองอยู่พื้นดินจนกลายสภาพเป็นส่วนหนึ่งของพื้นดินตามธรรมชาติ เป็นต้น
ข้อสังเกต ทรัพย์ใดแม้จะเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่แห่งทรัพย์ แต่ถ้าไม่มีการวมสภาพกันจนแยกไม่ได้แล้วก็หาใช่ส่วนควบไม่ เช่น ช้อนกับซ่อมไม่ถือว่าช้อนเป็นส่วนควบของซ่อม ฉิ่งกับฉาบไม่ถือว่าฉิ่งเป็นส่วนควบของฉาบ น้ำมันกับรถยนต์ไม่ถือว่าน้ำมันเป็นส่วนควบของรถยนต์ เป็นต้น ในทำนองกลับกันทรัพย์ใดแม้จะรวมสภาพจนไม่อาจแยกกันได้ แต่ถ้าทรัพย์นั้นไม่เป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของตัวทรัพย์ก็มิใช่ส่วนควบ เช่น ฝากั้นห้องแม้มีสภาพไม่อาจแยกออกจากตัวบ้านและหากรื้อจะทำให้บุบสลายไปก็ตาม แต่ตามปกติย่อมไม่ถือว่าเป็นสาระสำคัญของตัวบ้าน เว้นแต่จะนำสืบให้เห็นว่าจารีตประเพณีเช่นนั้น ฉะนั้นฝากั้นห้องมิใช่ส่วนควบของตัวบ้าน
3.1.3 ข้อยกเว้นไม่เป็นส่วนควบของทรัพย์
ทรัพย์ใดแม้เข้าลักษณะที่จะเป็นส่วนควบดังกล่าวมาแล้วข้างต้นก็ตาม แต่ก็ยังมี
ข้อยกเว้นไม่เป็นส่วนควบของทรัพย์มีดังนี้
1.ไม้ล้มลุกหรือธัญชาติอันจะเก็บเกี่ยวผลได้คราวหนึ่ง หรือหลายคราวต่อปี เช่น พืชผักสวนครัว ถั่วลิสง กล้วย อ้อย เป็นต้น
2.ทรัพย์อันติดกับที่ดินหรือโรงเรือนชั่วคราว เช่น อาคารที่ปลูกไว้ที่ท้องสนามหลวงใน ระหว่างงานพิธีต่างๆ เป็นต้น
ข้อสังเกต ข้อยกเว้นข้อนี้ใช้บังคับเฉพาะทรัพย์ซึ่งติดกับที่ดินหรือติดกับโรงเรือนเป็นการชั่วคราวเท่านั้น ถ้าเป็นทรัพย์ที่ติดกับสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ก็ไม่เข้าข้อยกเว้นนี้
3.โรงเรือนหรือการปลูกสร้างอย่างอื่น ซึ่งผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นได้ใช้สิทธิปลูกสร้างทำไว้ เช่น ผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินคนในที่ดินของผู้อื่นได้ปลูกสร้างบ้านเรือนหรือต้นไม้ลงไป บ้านและต้นไม้ย่อมมิใช่ส่วนควบของที่ดินและผู้ทรงติดเหนือพื้นดินมีสิทธิรื้อถอนไปได้
3.2 อุปกรณ์
3.2.1 ความหมายของอุปกรณ์
อุปกรณ์ หมายถึง สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดยเจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธาน เป็นของใช้ประจำอยู่กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณ เพื่อประโยชน์แก่การจัดการดูแล ใช้สอยหรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน และเจ้าของทรัพย์ได้นำมาสู่ทรัพย์ที่เป็นประธาน โดยการนำมาติดต่อหรือปรับเข้าไว้ หรือทำโดยประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้ประกอบทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น เช่น แม่แรงประจำรถ กลอนประตูหน้าต่างเป็นอุปกรณ์ของบ้าน เป็นต้น
3.2.2 ลักษณะสำคัญของเครื่องอุปกรณ์
ลักษณะสำคัญของเครื่องอุปกรณ์ คือ
1.ต้องมีสังหาริมทรัพย์ เฉพาะที่เป็นวัตถุมีรูปร่าง ไม่รวมถึงสิทธิต่างๆ เช่น ซื้อตู้เลี้ยงปลามาใส่ปลาเป็นทรัพย์ประธาน ตู้เลี้ยงปลาเป็นเครื่องอุปกรณ์ ส่วนคอกวัวที่สร้างติดกับที่ดินในลักษณะถาวร คอกวัวเป็นอสังหาริมทรัพย์ แม้จะมีลักษณะคล้ายตู้เลี้ยงปลา ซึ่งเป็นเครื่องอุปกรณ์ของปลาก็ตาม คอกวัวหาใช่เครื่องอุปกรณ์ของวัวไม่
2.ต้องมีทรัพย์เป็นประธานเสมอ เช่น แม่แรงยกรถย่อมเป็นเครื่องอุปกรณ์ของรถยนต์ ซึ่งเป็นทรัพย์ประธาน และทรัพย์ประธานนั้นจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น มุ้งลวดเป็นเครื่องอุปกรณ์ของบ้าน ซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์และเป็นทรัพย์ประธานหรือทรัพย์ประธานนั้นจะเป็นสังหาริมทรัพย์ก็ได้ เช่น ล้ออะไหล่รถยนต์เป็นเครื่องอุปกรณ์ของรถยนต์ ซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์และเป็นทรัพย์ประธาน
3.ต้องเป็นของใช้ประจำอยู่กับกับทรัพย์เป็นประธานอาจิณ โดยปกตินิยมเฉพาะถิ่น เช่น เครื่องมือประจำรถ เป็นเครื่องอุปกรณ์ของรถยนต์หรือโดยเจตนาชัดแจ้งของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์เป็นประธาน เช่น พายซึ่งเจ้าของใช้ประจำอยู่กับเรือ เป็นเครื่องอุปกรณ์ของเรือ
4.เพื่อประโยชน์ในการจัดการดูแลหรือใช้สอย หรือรักษาทรัพย์เป็นประธาน เช่น ผ้าคลุมเป็นเครื่องอุปกรณ์ของโต๊ะ เพราะเป็นของที่จัดไว้เพื่อรักษาโต๊ะ อันเป็นทรัพย์เป็นประธานมิให้เปรอะเปื้อนหรือกระจกแว่นตาเป็นส่วนควบของแว่นตา ส่วนประกอบแว่นหรือผ้าเช็ดแว่นตาเป็นเครื่องอุปกรณ์ ล้อรถยนต์เป็นส่วนควบของรกยนต์แต่ล้ออะไหล่เป็นเครื่องอุปกรณ์ เป็นต้น
5.ต้องเป็นสิ่งที่เจ้าของทรัพย์ได้นำมาเป็นเครื่องใช้ประกอบกับตัวทรัพย์เป็นประธาน เพราะถ้าเป็นของผู้อื่นฝากไว้หรือยืมจากผู้อื่นมาใช้ชั่วคราวไม่ถือว่าทรัพย์นั้นเป็นเครื่องอุปกรณ์
ข้อสังเกต ทรัพย์ใดเป็นเครื่องอุปกรณ์แล้ว แม้จะแยกจากทรัพย์เป็นประธานชั่วคราว ก็ยังไม่ขาดจากเป็นเครื่องอุปกรณ์ของทรัพย์เป็นประธานนั้น เช่น เครื่องมือซ่อมรถ แม้จะแยกไว้ต่างหากหรือให้เพื่อนยืมไปชั่วคราวก็ยังเป็นอุปกรณ์ของรถ เป็นต้น แต่ถ้าเป็นการแยกอย่างเด็ดขาดไปเลย ก็ขาดจากการเป็นเครื่องอุปกรณ์ของทรัพย์เป็นประธานไปทันที การแยกเด็ดขาดหรือไม่ต้องดูจากเจตนาและพฤติการณ์ต่างๆ ของเจ้าของทรัพย์เป็นประธาน เช่น นำเครื่องอุปกรณ์ไปขายหรือให้ผู้อื่นไปเลย ซึ่งตามธรรมดาเครื่องอุปกรณ์ย่อมตกติดไปกับทรัพย์เป็นประธาน กล่าวคือ เมื่อโอนทรัพย์เป็นประธานไปให้ผู้ใด ผู้รับโอนย่อมได้เครื่องอุปกรณ์ไปด้วย แม้ว่าขณะโอนทรัพย์เป็นประธานนั้นเครื่องอุปกรณ์จะแยกอยู่ต่างหากจากทรัพย์เป็นประธานก็ตาม
3.3 ดอกผล
ดอกผล หมายถึง ผลประโยชน์ที่ได้งอกเงยจากทรัพย์โดยสม่ำเสมอ แยกออก 2 ประเภทคือ
3.3.1 ดอกผลธรรมดา
ดอกผลธรรมดา คือ สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์ซึ่งได้มาจากตัวทรัพย์ โดยมีการใช้ทรัพย์นั้นตามปกตินิยม และสามารถถือเอาได้เมื่อขาดจากทรัพย์นั้น เช่น ผลไม้ นมสัตว์ ลูกสัตว์ เป็นต้น
3.3.2 ดอกผลนิตินัย
ดอกผลนิตินัย คือ ทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้มา เป็นครั้งคราว แก่เจ้าของทรัพย์ จากผู้อื่นเพื่อการที่ได้ใช้ทรัพย์นั้นและสามารถคำนวณและถือเอาได้เป็นรายวัน หรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น ดอกเบี้ย เป็นต้น
3.3.3 ผู้มีสิทธิในดอกผล
หลักทั่วไป คือ เจ้าของทรัพย์มีสิทธิในดอกผลของทรัพย์นั้น หรือเจ้าของรวมมีสิทธิได้ดอกผลตามส่วนของตนในทรัพย์สิน หรือดอกผลเกิดแก่ทรัพย์สินที่ฝาก ผู้รับฝากต้องคืนดอกผลให้แก่ผู้ฝากหรือทายาทของผู้ฝาก หรือเงินและทรัพย์สินอื่นที่ตัวแทนรับไว้ในฐานะตัวแทนต้องส่งให้ตัวการทั้งสิ้น เป็นต้น
ตัวอย่าง คำพิพากษาของศาลฎีกา ที่ 187/2490 เมื่อศาลสั่งยึดทรัพย์แล้ว ย่อมครอบคลุมถึงดอกผลนิตินัย เช่าค่าเช่าทรัพย์
คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 67/2506 เงินค่าประมูลกรีดยาง ซึ่งกรณีพิพาทกันในชั้นบังคับคดีและได้นำมาวางศาล ถือเป็นดอกผลนิตินัยของสวนยางที่ถูกนำยึด
คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 967/2506 สัญญาเช่าที่ดินย่อมครอบคลุมไปถึงต้นไม้ที่อยู่ในที่ดินที่เช่าด้วย ถ้าผู้ให้เช่ามีความประสงค์จะสงวนไว้ใช้สอยเก็บสินส่วนตัว ก็ชอบที่จะระบุไว้สัญญาเช่าให้ชัดแจ้งมิฉะนั้นผู้เช่าย่อมมีสิทธิเก็บผลไม้อันเป็นดอกผลตามธรรมชาติของต้นไม้ เป็นต้น
4.การได้มาซึ่งทรัพย์สิน
การได้มาซึ่งทรัพย์สิน ในเรื่องของทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้น มีหลักกฎหมายที่สำคัญที่ควรทราบในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4คือ การได้มาและการสิ้นไปซึ่งทรัพย์สิทธิอัน หมายถึง สิทธิเหนือทรัพย์สิทธิโดยไม่คำนึงถึงตัวบุคคลว่าเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่อย่างไร เพราะเมื่อบุคคลหนึ่งมีทรัพย์สิทธิ คือ สิทธิเหนือทรัพย์แล้ว บุคคลอื่นต้องยอมรับนับถือในสิทธินั้นคือมีหน้าที่ในสิทธิของผู้เป็นเจ้าของ การได้มาซึ่งทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ดังต่อไปนี้
4.1 กรรมสิทธิ์
กรรมสิทธิ์ คือ สิทธิของบุคคลที่มีอยู่ในทรัพย์สิน เป็นสิทธิที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของทรัพย์สิน เมื่อบุคคลมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแล้วจะมีสิทธิ ดังต่อไปนี้
1)สิทธิครอบครองและยึดถือ
2)สิทธิใช้สอย
3)สิทธิจำหน่ายจ่ายโอน
4)สิทธิได้ดอกผล
5)สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินคืนจากผู้อื่น
6)สิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
4.2 การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ แยกได้เป็นกรณี คือ
4.2.1 การได้มาซึ่งนิติกรรม
การได้มาซึ่งนิติกรรม เช่น การซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ เป็นต้น
4.2.2 การได้มาซึ่งทางอื่นนอกจากนิติกรรม
การได้มาซึ่งทางอื่นนอกจากนิติกรรม เช่น ได้มาในเรื่องของส่วนควบ การได้มาโดยเข้าถือเอา สังหาริมทรัพย์อันไม่มีเจ้าของ การได้มาทางมรดก หรือการได้มาโดยคำพิพากษาของศาล เป็นต้น
4.3 กรรมสิทธิ์รวมหรือเจ้าของรวม
กรรมสิทธิ์รวมหรือเจ้าของรวม คือการที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมีกรรมสิทธิ์รวมกันในทรัพย์สินสิ่งใด ผู้เป็นของรวมคนหนึ่งมีสิทธิ เรียกให้แบ่งทรัพย์ได้เพื่อแต่ละคนจะได้มีกรรมสิทธิ์เป็นสัดส่วนตามส่วนแบ่งของตน
4.4 สิทธิครอบครอง
สิทธิครอบครอง คือการที่บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินโดยเจตนายึดถือเพื่อตนบุคคลนั้น ได้สิทธิครอบครองแต่บุคคลจะให้ผู้อื่นยึดถือทรัพย์สินแทนตนก็ได้ การมีสิทธิครอบครองเป็นทางทำให้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินได้
4.5 การครอบครองปรปักษ์
การครอบครองปรปักษ์ คือ การที่บุคคลได้ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นโดยสงบโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเมื่อครบกำหนด 10 ปี สำหรับอสังหาริมทรัพย์และ 5 ปีสำหรับสังหาริมทรัพย์แล้วผู้ครอบครองย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น เจ้าของทรัพย์สินสิ้นสิทธิในทรัพย์สินนั้น เพราะถือว่านอนหลับทับสิทธิ เป็นการทำให้ผู้ครอบครองได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดย “อายุความ”
4.6 ทางจำเป็น
ทางจำเป็น คือ ทางที่เกิดขึ้นเนื่องจากความจำเป็นที่ที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมรอบอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้เจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ โดยทางที่ผ่านนั้นจะต้องทำทางที่จำเป็นเท่านั้น โดยอาจต้องเสียค่าทดแทนจากการใช้ทางผ่านได้
4.7 ทรัพย์สิทธิ
ทรัพย์สิทธิ คือสิทธิที่บุคคลมีอยู่ในทรัพย์สินที่เรียกสิทธิเหนือทรัพย์สิน ได้แก่
4.7.1 ภาระจำยอม
ภาระจำยอม คือ ที่อสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งเรียกว่า “ภารยทรัพย์” ทำให้เจ้าของทรัพย์ต้องยอมรับกรรมหรือรับภาระหรืองดเว้น การให้สิทธิบางอย่าง เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นเรียกว่า สามยทรัพย์
4.7.2 สิทธิอาศัย
สิทธิอาศัย คือ สิทธิที่บุคคลได้อยู่ในโรงเรือนของผู้อื่นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่าหรือค่าใช้จ่าย การให้สิทธิอาศัยจะกำหนดเวลาหรือตลอดชีวิตของผู้อาศัยก็ได้ ซึ่งถ้ามีกำหนดเวลาต้องไม่เกิน 30 ปี แต่ต่ออายุได้ สิทธิอาศัยเป็นสิทธิเฉพาะตัวโอนไปยังผู้อื่นไม่ได้
4.7.3 สิทธิเหนือพื้นดิน
สิทธิเหนือพื้นดิน คือการที่เจ้าของที่ดินให้ผู้อื่นมีสิทธิ เป็นเจ้าของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งเพาะปลูกบนดินหรือใต้ดินนั้น การใช้สิทธิต้องจดทะเบียนมีกำหนดเวลาหรือตลอดชีวิตของเจ้าของที่ดินหรือตลอดชีวิตของผู้ทรงสิทธิก็ได้
4.7.4 สิทธิเก็บกิน
สิทธิเก็บกิน คือการที่ผู้ทรงสิทธิมีสิทธิครอบครอง ถือเอาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น
4.7.5 ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ คือการที่อสังหาริมทรัพย์ต้องตกอยู่ในภาวะที่ผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับชำระหนี้เป็นคราวๆ หรือได้ใช้แล้วถือเอาประโยชน์จากทรัพย์สินตามที่ระบุไว้
อุปกรณ์ หมายถึง 在 แม่ก้อยพาทำ Channel Youtube 的最佳貼文
สวัสดีค่ะเพื่อนเกษตรที่น่ารักทุกคน วันนี้ขอพาเพื่อน มาทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ EM อย่างง่าย ใครก็ทำได้ EM คือหัวเชื้อจุลินทรีย์ ที่ไปต่อยอดทำปุ๋ย ได้อีกหลายสูตร เป็นจุลินทรีย์ตัวดี
ช่วยกระตุ้น ให้พืชผัก เจริญ งอกงาม ปรับปรุงสภาพดินได้ สูตรนี้สามารถ นำไปขยายได้ถึง
20 เท่า
วัสดุ/อุปกรณ์
สูตรการทำหัวเชื้อ จุลินทรีย์ EM
1.เศษผัก เศษผลไม้ 2 กิโล
2.กากนำ้ตาล ครึ่ง กิโล
3. นำ้เปล่า 1 กิโล
4.ขวด
หมัก ไว้ 1 เดือน วางไว้ในที่ร่ม
อัตราการใช้ 1-2 ช้อนโต๊ะต่อนำ้ 20
ถ้ามีประโยชน์อย่าลืมกดติดตามแม่ก้อยพาทำช่องplayground kid channel
แม่ก้อยขอกราบ ขอบพระคุณเพื่อนเกษตรที่น่ารักทุกคน ที่กดติดตาม กดไลด์ กดแชร์ให้แม่ก้อยเสมอ ด้วยรัก❤️จากใจแม่ก้อยพาทำ
????❤️เพื่อนเกษตรที่น่ารักทุกคน EM คือเชื้อจุลินทรีย์แบบไหนดีอย่างไร?❤️
EM ย่อมาจาก Effective Microorganisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิงะ นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ได้ศึกษาแนวคิดเรื่อง " ดินมีชีวิต" ของท่านโมกิจิ โอกะดะ (พ.ศ.2425-2498) บิดาเกษตรธรรมชาติของโลกจากนั้น ดร.ฮิงะ เริ่มค้นคว้าทดลองตั้งแต่ปี พ.ศ 2510 และค้นพบ EM เมื่อ พ.ศ. 2526 ท่านอุทิศทุ่มเททำการวิจัยผลว่ากลุ่มจุลินทรีย์นี้ใช้ได้ผลจริง หลังจากนั้นศาสนาจารย์วาคุกามิ ได้นำมาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยท่านเป็นประธานมูลนิธิบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา หรือ คิวเซ (คิวเซ แปลว่า ช่วยเหลือโลก) ปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่จ.สระบุรี
อุปกรณ์ หมายถึง 在 SawEsanBanthung Youtube 的最讚貼文
ยังมีบางจุดของลำน้ำเชิญที่ยกสะดุ้งได้ปลาขาวสร้อยเยอะๆมากๆๆ ได้หลายจนต้องหมักเกลือไว้ทำปลาร้า เป็นโอกาศจ้า น้ำมาออกหาปลามาไว้ทำปลาร้าไว้กินเอง ดีเลิศ ครูเหมากับตาหยุด มื้อนี้กะได้หลายๆจ้า
-------------------------------------------------------------------------------------
สาวอีสานบ้านทุ่ง ติดตามที่นี่ค่ะ
สาวอีสานบ้านทุ่ง แฟนเพจ:https://goo.gl/dOQ7NV
สาวอีสานบ้านทุ่ง YouTube :https://goo.gl/g1wXiq
อุปกรณ์ หมายถึง 在 SawEsanBanthung Youtube 的最讚貼文
เขื่อนลำน้ำเชิญโครงการในพระราชดำริ นี้กะเป็นอีกแหล่งที่เป็นที่ทำมาหากิน ของคนบ้านใกล้เคียง น้ำมาน้ำลดก็มาหาปลาได้ตลอด
น้ำหลากมาเมื่อ 4-5 มื้อที่ผ่านมา ตอนนี้น้ำลดแล้ว ชาวบ้านเพิ่นกะพากันมาหาปลา หมานๆกันทุกคนเลยจ้า บางคนได้หลายก็ขาย บางคนก็ไว้ทำกิน
นี้หล่ะชีวิตเรียบง่ายของคนบ้านทุ่ง
สาวอีสานบ้านทุ่ง ติดตามที่นี่ค่ะ
สาวอีสานบ้านทุ่ง แฟนเพจ:https://goo.gl/dOQ7NV
สาวอีสานบ้านทุ่ง YouTube :https://goo.gl/g1wXiq
อุปกรณ์ หมายถึง 在 HORSE Stationery อุปกรณ์เครื่องเขียน ตราม้า - ชักหน้าไม่ถึงหลัง ... 的推薦與評價
ชักหน้าไม่ถึงหลัง หมายถึง มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ใช้เงินเกินตัว ฉะนั้นน้องๆควรวางแผนการใช้เงินของตนเองให้ดี เช่น การเขียนรายรับรายจ่าย... ... <看更多>