คปภ. ติดตามและสั่งการให้บริษัทประกันภัยเร่งจ่ายค่าสินไหมทดแทน กรณีสัตวแพทย์เสียชีวิตพร้อมบุตรสาวจากเหตุไฟไหม้บ้านพัก
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า จากกรณีเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2561 เวลา 05.00 น. เกิดกรณีเพลิงไหม้บ้านพักเลขที่ 58/120 หมู่บ้านซื่อตรง ติดกับโรงพยาบาลสัตว์ซื่อตรง ถนนสุวินทวงศ์ 26 แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพฯ เป็นเหตุให้ นายสัตวแพทย์ ชาติชัย โภคานิตย์ เจ้าของโรงพยาบาล พร้อมบุตรสาว 2 คน เสียชีวิต ส่วนสัตวแพทย์หญิง กันยวีร์ สุจิพงศ์ซึ่งเป็นภรรยาได้รับบาดเจ็บ นั้น
สำนักงาน คปภ. ขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ครั้งนี้ พร้อมอำนวยความสะดวกและช่วยเหลือด้านการประกันภัยอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ เลขาธิการ คปภ. ได้สั่งการให้มีการติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด โดยผลจากการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างสายกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ และสำนักงาน คปภ. เขตท่าพระ ได้ตรวจสอบแล้วพบว่า นายสัตวแพทย์ ชาติชัยฯ ได้รับความคุ้มครองจากการประกันภัย ดังนี้
1. บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ให้ความคุ้มครองสำหรับการประกันชีวิต วงเงินความคุ้มครอง 345,890 บาท และจากการประกันภัยอุบัติเหตุ วงเงินความคุ้มครอง 1,037,680 บาท รวมค่าสินไหมทดแทน 1,383,570 บาท
2. บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ให้ความคุ้มครองสำหรับการประกันชีวิต วงเงินความคุ้มครอง 150,000 บาท จากประกันอุบัติเหตุ เอไอ วงเงินความคุ้มครอง 150,000 บาท และ 100,000 บาท และประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล วงเงินความคุ้มครอง 400,000 บาท ซึ่งขณะนี้ บริษัทฯ ได้ทำเช็คจ่ายค่าสินไหมทดแทน วงเงิน 800,000 บาท เรียบร้อยแล้ว
3. บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ให้ความคุ้มครองสำหรับการประกันชีวิตกลุ่มคุ้มครองสินเชื่อ วงเงินความคุ้มครอง 831,000 บาท
โดยจากการติดตามในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดกับบริษัทประกันภัยที่เกี่ยวข้อง ทุกบริษัทพร้อมจ่ายค่าสินไหมทดแทน แต่ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดต่อกับสัตวแพทย์หญิง กันยวีร์ฯ ผู้รับประโยชน์ ซึ่งยังคงพักรักษาตัวและอยู่ในภาวะเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สำหรับบุตรสาวทั้ง 2 คน ที่เสียชีวิต สำนักงาน คปภ. ได้ประสานกับบริษัทประกันภัยเพื่อตรวจสอบข้อมูลการทำประกันภัยเพิ่มเติมอย่างใกล้ชิด หากพบว่ามีการทำประกันภัยไว้ จะเร่งดำเนินการให้บริษัทประกันภัยจ่ายค่าสินไหมทดแทนโดยเร็วต่อไป
“จากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่คาดคิด ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลาถึงแม้ว่าจะมีความระมัดระวังในระดับหนึ่งแล้วก็ตาม ดังนั้น จึงขอเตือนให้ประชาชนทำประกันภัยไว้ ไม่ว่าจะเป็นการประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัยเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองกับชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งปัจจุบันการประกันภัยมีให้เลือกหลายรูปแบบ อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำให้ประชาชนทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยไว้ด้วย เพื่อให้ความคุ้มครองสิ่งปลูกสร้างหรือตัวอาคารใช้เป็นที่อยู่อาศัย ทรัพย์สินภายในบ้าน สิ่งที่ติดกับตัวอาคาร หรือเครื่องมือเครื่องใช้ภายในบ้าน โดยให้ความคุ้มครอง ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ระเบิด ภัยจากยวดยานพาหนะ ภัยจากอากาศยาน ภัยจากน้ำที่เกิดจากการรั่วซึมภายในอาคาร (ไม่รวมน้ำท่วม) รวมถึงภัยธรรมชาติ 4 ภัย ได้แก่ ภัยน้ำท่วม ภัยลมพายุ ภัยลูกเห็บ และภัยแผ่นดินไหว ซึ่งประชาชนสามารถเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันภัยประเภทต่างๆ ได้โดยพิจารณาจากความเหมาะสมกับความต้องการ และความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัย ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยด้านการประกันภัย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน คปภ. 1186” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
เขตท่าพระ 在 นักคณิตศาสตร์ประกันภัย - ทอมมี่ แอคชัวรี Actuary Facebook 的最佳解答
ข่าวจาก คปภ เรื่องการเพิกถอนใบอนุญาตเจ้าพระยาประกันภัย
รมว.คลัง มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) แล้ว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีคำสั่งที่ 1213/2561 ลงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2561 ให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ของบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) แล้ว โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 59 (1) (2) และ (5) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ขอชี้แจงข้อเท็จจริงข้อกฎหมายและความเป็นมาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ตลอดจนได้เตรียมมาตรการต่างๆเพื่อรองรับมิให้ผู้เอาประกันภัยและประชาชนได้รับผลกระทบดังนี้
1. ตามที่ปรากฏหลักฐานต่อนายทะเบียนว่า บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) มีฐานะการเงินไม่มั่นคงจากการดำรงเงินกองทุนไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด มีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน และยื่นงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงหลายครั้ง มีพฤติกรรมปิดบังซ่อนเร้นฐานะการเงินหรือการดำเนินการ โดยบันทึกรายการหนี้สินจากการประกันภัยต่อและเงินสำรองค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับรายงานแล้ว ต่ำกว่าความเป็นจริง ทำให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ไม่ทราบฐานะการเงิน ที่แท้จริงของบริษัท และไม่สามารถมั่นใจได้ว่าบริษัทมีความสามารถในการชำระภาระผูกพันที่มีต่อ ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชนได้ จึงเป็นกรณีที่บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) มีฐานะหรือการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน และ มีเหตุสมควรที่จะสั่งให้หยุดรับประกันภัยวินาศภัยเป็นการชั่วคราว นายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 3/2561 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2561 จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 มีคำสั่งที่ 17/2561 ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2561 สั่งให้บริษัทหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว และสั่งการให้บริษัทแก้ไขฐานะและการดำเนินการ ดังต่อไปนี้ ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2561
1.1 ดำรงเงินกองทุนให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด
1.2 ยื่นรายงานประมาณการฐานะการเงินและความเพียงพอของเงินกองทุนเป็นรายไตรมาสเป็นระยะเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี พ.ศ. 2561
1.3 ปรับปรุงการบันทึกรายการบัญชีให้ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริง เพื่อให้งบการเงินของบริษัท มีความน่าเชื่อถือและผ่านการรับรองจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่แสดงความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไข หรือแบบมีเงื่อนไข ในลักษณะที่ไม่เป็นเหตุให้บริษัทมีฐานะการเงินหรือการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุ ให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน
1.4 จัดให้มีระบบงานและบุคลากรที่มีคุณภาพ ได้แก่ ระบบบัญชีการเงิน ระบบการรับเงินจ่ายเงิน ระบบการจัดการค่าสินไหมทดแทน ระบบการบริหารความเสี่ยง ระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสมและเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด และให้มีคู่มือการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งให้มีการทดสอบระบบงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ต่อมานายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 7/2561 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2561 มีคำสั่งที่ 35/2561 ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ให้ขยายระยะเวลาการแก้ไขฐานะและการดำเนินงานตามที่บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) ร้องขอ โดยให้ขยายถึงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ทั้งนี้ หากปรากฏหลักฐานต่อนายทะเบียนว่า เจ้าหนี้ของบริษัทได้ตกลงหรือยินยอมเข้าร่วมโครงการแปลงหนี้เป็นทุนกับบริษัทตามคำร้องขอขยายระยะเวลา ภายในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ให้ขยายระยะเวลาแก้ไขฐานะและการดำเนินการออกไปจนถึงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2561 และบริษัทยังคงอยู่ภายใต้คำสั่งหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว แต่หากเจ้าหนี้ของบริษัทดังกล่าว ไม่ตกลงหรือยินยอมเข้าร่วมโครงการแปลงหนี้เป็นทุนของบริษัท ภายในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561 นายทะเบียน จะนำเสนอคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยเพื่อพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายโดยเคร่งครัดต่อไป ทั้งนี้ ได้มีการแจ้งให้บริษัททราบเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว
3. ปรากฏว่า เมื่อครบกำหนดระยะเวลาในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ไม่ปรากฏหลักฐานต่อนายทะเบียนว่า เจ้าหนี้ของบริษัทได้ตกลงหรือยินยอมเข้าร่วมโครงการแปลงหนี้เป็นทุนกับบริษัทแต่อย่างใด อีกทั้งบริษัทยังคงไม่สามารถแก้ไขปัญหาฐานะและการดำเนินการได้ครบถ้วน ได้แก่ ไม่สามารถดำรงเงินกองทุนให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด โดยปรากฏตามรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่บริษัทนำส่งให้สำนักงาน คปภ. ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 มีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน จำนวน 267.78 ล้านบาท มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน จำนวนร้อยละ -210.28 จัดสรรเงินสำรองตามมาตรา 23 และจัดสรรสินทรัพย์ไว้สำหรับหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัย ตามมาตรา 27/4 ไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด จำนวน 79.44 ล้านบาท และ 157.18 ล้านบาท ตามลำดับ แม้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและรับรองงบการเงิน ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 แต่รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแสดงความเห็นแบบมีเงื่อนไขเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินงานต่อเนื่องอันเป็นสาระสำคัญ เนื่องจาก บริษัทมีหนี้สินรวมสูงกว่าทรัพย์สิน 267.78 ล้านบาท ซึ่งการให้ความเห็นแบบมีเงื่อนไขดังกล่าวเป็นลักษณะที่เป็นเหตุให้บริษัทมีฐานะการเงินหรือการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ในการประชุมครั้งที่ 10/2561 วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2561 จึงมีมติให้เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณามีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)
4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) มีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน มีฐานะการเงินไม่มั่นคง ไม่สามารถดำรงเงินกองทุนให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด มีการกระทำที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายหลายประการ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน และไม่สามารถแก้ไขปัญหาสำคัญของบริษัทได้ภายในระยะเวลาที่สมควร ถ้าให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยต่อไป จะทำให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนหรือผู้เอาประกันภัย ตลอดจนความน่าเชื่อถือของธุรกิจประกันภัย ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 59 (1) (2) และ (5) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 จึงมีคำสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) และหากบริษัทไม่เห็นด้วยกับคำสั่งนี้ มีสิทธิเสนอคำฟ้องยื่นต่อศาลปกครองกลางภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง
5. ในการนี้ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 60 และมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 แต่งตั้งให้กองทุนประกันวินาศภัย เป็นผู้ชำระบัญชี
6. เนื่องจากการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของ บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) เป็นปัญหาฐานะการเงินและการจัดการภายในของบริษัทจึงไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเงินหรือสภาพคล่องของบริษัทประกันวินาศภัยอื่น หรือธุรกิจประกันภัยในภาพรวมแต่อย่างใด ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. ได้เตรียมมาตรการที่จะช่วยเหลือผู้เอาประกันภัย เพื่อรองรับมิให้ผู้เอาประกันภัยได้รับผลกระทบไว้แล้ว
7. สำหรับแนวทางการช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยและประชาชน สำนักงาน คปภ. ได้ดำเนินการ ดังนี้
7.1 สำนักงาน คปภ. ได้รับความร่วมมือจากบริษัทประกันวินาศภัย จำนวน 26 บริษัท ที่ยินดีรับโอนกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ที่ยังมีผลผูกพันของผู้เอาประกันภัยที่ได้ทำไว้กับบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
- กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ (ภาคสมัครใจ) ผู้เอาประกันภัยสามารถขอทำประกันภัยสำหรับความคุ้มครองตามระยะเวลาของกรมธรรม์เดิม โดยบริษัทจะขยายระยะเวลาความคุ้มครองเพิ่มเติมให้เท่ากับระยะเวลาที่เหลืออยู่ โดยไม่คิดค่าเบี้ยประกันภัยเพิ่ม หรือ ผู้เอาประกันภัยสามารถขอทำประกันภัยสำหรับความคุ้มครอง 1 ปี โดยบริษัทประกันภัยจะให้ส่วนลดเบี้ยประกันภัยเท่ากับจำนวนเบี้ยประกันภัยตามส่วนเฉลี่ยของระยะเวลาประกันภัยที่เหลืออยู่ตามกรมธรรม์เดิม ทั้งนี้ ส่วนลดที่จะให้แก่ผู้เอาประกันภัยจะไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของเบี้ยประกันภัยเต็มปีของกรมธรรม์ประกันภัยเดิม
- กรมธรรม์ประกันภัยประเภทอื่น ๆ นอกเหนือจากกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ (ภาคสมัครใจ) ผู้เอาประกันภัยสามารถขอทำประกันภัยสำหรับความคุ้มครองตามระยะเวลาของกรมธรรม์เดิม โดยบริษัทจะขยายระยะเวลาความคุ้มครองเพิ่มเติมให้เท่ากับระยะเวลาที่เหลืออยู่ โดยไม่คิดค่าเบี้ยประกันภัยเพิ่ม
ทั้งนี้ ผู้เอาประกันภัยจะต้องโอนสิทธิที่จะได้รับเบี้ยประกันภัยสำหรับระยะเวลาที่เหลือจากกองทุนประกันวินาศภัย ในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) ให้แก่บริษัทที่รับโอนกรมธรรม์ประกันภัยนั้นด้วย สำหรับกรณีที่กรมธรรม์ประกันภัยมีความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดของกองทุนประกันวินาศภัย ในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) โดยสำนักงาน คปภ. ในทุกพื้นที่ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจะทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวกแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชนเป็นเบื้องต้น
7.2 สำหรับผู้เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยของบริษัท ให้ยื่นขอรับชำระหนี้ต่อกองทุนประกันวินาศภัย ในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) ภายใน 60 วันนับแต่วันที่กองทุนประกันวินาศภัยกำหนดในประกาศ โดยให้นำเอกสารต้นฉบับพร้อมทั้งสำเนา จำนวน 2 ชุด ประกอบการยื่นขอรับชำระหนี้ ดังนี้ กรมธรรม์ประกันภัย บัตรประจำตัวประชาชน ใบเคลม ใบนัดชำระหนี้ หรือเอกสารอื่นใดที่แสดงถึงมูลหนี้ หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล)
7.3 สำหรับเจ้าหนี้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัย ให้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อกองทุนประกันวินาศภัยในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) ภายใน 60 วันนับแต่วันที่กองทุนประกันวินาศภัยกำหนดในประกาศ พร้อมทั้งนำเอกสารแสดงความเป็นเจ้าหนี้ ต้นฉบับพร้อมทั้งสำเนา จำนวน 1 ชุด ประกอบการยื่นขอรับชำระหนี้ ดังนี้ หลักฐานแสดงถึงมูลหนี้ บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล)
7.4 หากเจ้าหนี้ไม่สามารถยื่นได้ด้วยตนเอง จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจโดยติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมกับสำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ ยื่นต่อกองทุนประกันวินาศภัย ในฐานะ ผู้ชำระบัญชีของบริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)
สถานที่ที่สามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้ มีดังต่อไปนี้
ส่วนกลาง ยื่นได้ 3 แห่ง ดังนี้
(1) กองทุนประกันวินาศภัย อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3 ชั้น 15 เลขที่ 1010 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 หมายเลขโทรศัพท์ 0-2791-1444 ต่อ 11-15 และ 21-24
(2) สำนักงาน คปภ. เขตท่าพระ เลขที่ 287 ซอยรัชดาภิเษก 6 ถนนรัชดาภิเษก-ท่าพระ
แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600 หมายเลขโทรศัพท์ 0-2476-9940-3
(3) สำนักงาน คปภ. เขตบางนา เลขที่ 1/16 อาคารบางนาธานี ชั้น 8 ถนนบางนาตราด
กม.3 แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260 หมายเลขโทรศัพท์ 0-2361-3769-70
ในส่วนของพื้นที่ต่างจังหวัด สามารถยื่นขอรับชำระหนี้ได้ที่ สำนักงาน คปภ. ภาค และสำนักงาน คปภ. จังหวัด ทั่วประเทศ ทั้งนี้ เจ้าหนี้สามารถดาวน์โหลดแบบคำทวงหนี้ได้ที่ www.gif.or.th หัวข้อ “แบบฟอร์ม” ได้อีกด้วย
ปัจจุบันมีการจัดตั้งกองทุนประกันวินาศภัยขึ้น เพื่อช่วยเหลือเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัย ในกรณีที่บริษัทถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย โดยเจ้าหนี้ฯมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากสัญญาประกันภัยจากกองทุนประกันวินาศภัย ซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนที่ได้รับการเฉลี่ยจากหลักทรัพย์ประกันและเงินสำรองที่วางไว้กับนายทะเบียนแล้ว ไม่เกินรายละ 1 ล้านบาท
สำหรับรายชื่อบริษัทประกันวินาศภัยที่เข้าร่วมโครงการให้ความช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยสามารถ ดูได้จากเว็บไซต์ของสำนักงาน คปภ. (www.oic.or.th) หรือสอบถามได้ที่สายด่วน คปภ. 1186
เขตท่าพระ 在 ไฟไหม้บ้านย่านท่าพระพลเมืองดีช่วยดับเกือบตาย - YouTube 的推薦與評價
ไฟไหม้บ้านเรือนปชช.ย่าน ท่าพระ เสียหายทั้งหลัง พลเมืองดีเข้าช่วยดับ เกือบเอาชีวิตไม่รอด วันนี้(19ก.พ.58) เมื่อกลางดึกที่ผ่านมา ... ... <看更多>
เขตท่าพระ 在 สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ | Bangkok 的推薦與評價
จัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกแก่วิทยากรและผู้เข้าอบรม โครงการฝึกอบรมวิชาชีพ 1 เขต 1 โรงเรียน ณ โรงเรียนวัดท่าพระ โดยวิทยากรจากโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร ... <看更多>