ข้อพิจารณาถึงความคล้ายคลึงระหว่างหลักนิติรัฐกับหลักนิติธรรมที่นำมาใช้ร่วมกัน
ข้อพิจารณาถึงความคล้ายคลึงระหว่างหลักนิติรัฐกับหลักนิติธรรมที่นำมาใช้ร่วมกัน จะพิจารณาอยู่ 3 เรื่องด้วยกัน คือ ในเรื่องของการกระทำของรัฐต้องชอบด้วยกฎหมาย การกระทำของรัฐต้องอยู่ภายในขอบเขตของกฎหมายที่ให้อำนาจและการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ดังนี้
1.การกระทำของรัฐต้องชอบด้วยกฎหมาย
การกระทำของรัฐต้องชอบด้วยกฎหมาย เมื่อผู้ปกครองรัฐยอมอยู่ใต้กฎหมาย ยอมเคารพและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ แห่งกฎหมาย ทั้งในด้านการรับรองคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ นักนิติศาสตร์จึงถือว่า นิติรัฐ (Legal State) และนิติธรรม (The Rule of Law) เป็นรัฐที่มุ่งจำกัดและตีกรอบการใช้อำนาจของผู้ปกครองรัฐโดยกฎหมาย เพื่อให้ผู้ปกครองรัฐปกครองภายใต้กรอบของกฎหมายเท่านั้น และมิให้ใช้อำนาจนั้นไปโดยอำเภอใจโดยไม่มีขอบเขตหรือไร้กฎเกณฑ์จนทำลายสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน
แต่ถ้าเป็นการใช้อำนาจตามอำเภอใจจากรัฐจะกลายเป็น “รัฐตำรวจ” (Police State) ทันที ซึ่ง “รัฐตำรวจ” เป็นรัฐที่ฝ่ายปกครองมีอำนาจในการใช้ดุลพินิจอย่างมหาศาล เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถกำหนดมาตรการทางกฎหมายใดๆ ขึ้นใช้บังคับแก่ประชาชนได้ตามที่เห็นสมควรโดยอิสระและด้วยความริเริ่มของตนเอง เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์หนึ่งๆ และเพื่อให้บรรลุวัตถุที่ประสงค์ของรัฐ โดยสรุปแล้ว รัฐตำรวจตั้งอยู่บนแนวคิดที่เชื่อว่า “เป้าหมาย” (Ends) สำคัญกว่า “วิธีการ” (Means) เสมอ และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายจะใช้วิธีการอย่างไรนั้นไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ดังนั้นในรัฐตำรวจประชาชนจึงเสี่ยงภัยกับ “การกระทำตามอำเภอใจ” (Arbitrary) ของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยไม่อาจคาดหมายผลของการกระทำของตนได้
แต่สำหรับหลักนิติรัฐและนิติธรรมฝ่ายปกครองมีภารกิจหลัก คือ การบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดตามที่ฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภาเป็นผู้ตราขึ้น อำนาจหน้าที่ของฝ่ายปกครอง ไม่ว่าเป็นการตรากฎหรือการออกคำสั่งทางปกครองใดๆ ล้วนมีแหล่งที่มาจากพระราชบัญญัติ มิได้มีอำนาจเป็นของตนเอง ดังนั้น การตรากฎหรือทำคำสั่งทางปกครองใดๆ ที่เป็นการกระทบสิทธิเสรีภาพหรือหน้าที่ของผู้ใต้การปกครอง ต้องมีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้อย่างชัดแจ้งเสมอ ตามหลักกฎหมายมหาชน (Public Law) ที่กล่าวว่า “ไม่มีกฎหมาย ไม่มีอำนาจ” โดยเหตุนี้ เมื่อใดที่ฝ่ายปกครองจะดำเนินการใดๆ ที่มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ หน้าที่หรือประโยชน์ของเอกชน จะต้องตรวจสอบดูก่อนเสมอว่ามีกฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับใดให้อำนาจกระทำการเช่นนั้นหรือไม่ หากไม่มีกฎหมายหรือกฎหมายที่ให้อำนาจกำหนดเงื่อนไขข้อจำกัดการใช้อำนาจไว้ ฝ่ายปกครองต้องปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด
2. การกระทำของรัฐต้องอยู่ภายในขอบเขตของกฎหมาย
การกระทำของรัฐต้องอยู่ภายในขอบเขตของกฎหมาย ในประเทศที่เป็นนิติรัฐ (Legal State) และนิติธรรม (The Rule of Law) ขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่ของรัฐย่อมกำหนดไว้แน่นอน มีการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of powers) ในการใช้อำนาจรัฐ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเป็นการเอาอำนาจอธิปไตยมาแบ่งออกเป็นส่วนๆ แต่เป็นการแบ่งหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐ โดยหน้าที่อย่างหนึ่งมอบให้องค์กรหนึ่งเป็นผู้ใช้หัวใจสำคัญ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาวิเคราะห์ลึกลงไปทางทฤษฎีการวิเคราะห์โครงสร้างทางหน้าที่ (Structural-Functional Analysis) แล้ว เกเบรียล อัลมอนด์ (Gabriel Almond) และเจมส์ โคลแมน (James Coleman) เห็นว่า ลักษณะการใช้อำนาจของรัฐที่ปรากฏออกมา (output) ควรแยกเป็น การจัดทำกฎหมาย การใช้บังคับกฎหมาย และการตัดสินตามกฎหมาย ซึ่งก็ คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ที่กล่าวกันมาแต่เดิมนั้นเอง แต่พิจารณาโดยดูเนื้อหาเป็นสำคัญ ซึ่งจะปรากฏอำนาจเหล่านี้มิใช่ลักษณะเฉพาะขององค์กรใด เช่น รัฐสภามิใช่องค์กรเดียวที่มีอำนาจจัดทำกฎหมายแต่รัฐบาลก็จัดทำกฎและศาลก็จัดทำกฎหมายด้วยหรือฝ่ายปกครองก็มีการตัดสินตามกฎหมายด้วย เป็นต้น
ดังนั้นความมุ่งหมายแท้จริงของ “หลักการแบ่งแยกอำนาจ” (Separation of Powers) จึงควรเป็น “การกระจายหน้าที่หรือการแบ่งหน้าที่” (Function of Powers) ตามความสามารถเฉพาะด้านและดูแลให้เกิดการคานและดุลกัน (Check and Balance) เพื่อมิให้เกิดการใช้อำนาจโดยมิชอบ และในความเป็นจริงของการจัดกลไกการปกครองกับปรากฏให้เห็นถึงการร่วมมือและการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน อยู่บนพื้นฐานของหลักสมควรแก่เหตุหรือหลักความได้สัดส่วน ดังนี้
2.1 ข้อพิจารณาเกี่ยวกับหลักสมควรแก่เหตุของหลักนิติรัฐและหลักนิติธรรมที่เป็นกรอบการจำกัดการใช้อำนาจรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ การใช้อำนาจรัฐฝ่ายบริหารและการใช้อำนาจรัฐฝ่ายตุลาการ
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงที่ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการต้องกระทำอยู่ภายใต้ “หลักสมควรแก่เหตุ” หรือ “หลักความได้สัดส่วน” ซึ่งเป็นหลักกฎหมายทั่วไปของกฎหมายมหาชนโดยไม่ได้บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร ได้ยอมรับว่าเป็น “กฎหมายระหว่างประเทศ” นำมาใช้ในการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งหลักสมควรแก่เหตุที่เป็นที่ใช้ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐจะประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้
2.1.1 หลักความเหมาะสม (Principle of Suitability)
หลักความเหมาะสมนี้นักวิชาการได้เรียกหลักนี้อย่างหนึ่งว่า “หลักสัมฤทธิ์ผล” ) เมื่อพาจรณาถึงความเหมาะสมจะหมายถึง สภาพการณืซึ่งรัฐได้ทำการแทรกแซงและภายในสภาพนั้นรัฐจะต้องคำนึงถึงการทำให้บรรลุวัตุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยมาตรการนั้นวางอยู่บนสมมติฐานที่ได้รับการยอมรับหรือเป็นมาตรการที่ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ามีความเป็นไปได้ที่จะบรรลุวัตุประสงค์ ดังนั้นหลักความเหมาะสมนี้นี้จะเป็นการจำกัดกรอบการใช้อำนาจรัฐว่าต้องกระทำด้วยการคำนึงถึงการทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ดังนั้นหลักความเมาะสมถือเป็นหลักที่บังคับให้ผู้ใช้อำนาจรัฐในการตรากฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายและการตัดสินตามกฎหมาย ต้องกระทำโดยมีความเหมาะสมให้เกิดสัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย
2.1.2 หลักความจำเป็น (Principle of Necessity)
หลักความจำเป็นถือเป็นหลักที่พิจารณาถึงมาตรการหรือวิธีการที่เหมาะสมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้น้อยที่สุดเท่านั้น หรือถ้ากระทำไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวมแต่อาจกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้นั้นต้องกระทำด้วยความจำเป็นและให้มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนขั้นพื้นฐานให้น้อยที่สุด
2.1.3 หลักความได้สัดส่วนในความหมายอย่างแคบ (Principle of Proportionality stricto sensu)
หลักนี้เป็นเรื่องของการวางหลักความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์และวิธีการ กล่าวคือ มาตราการใดหรือวิธีการใดที่รัฐจะกระทำจะต้องอยู่ภายในขอบเขตความสัมพันธ์ที่เหมาะสมระหว่างวิธีการกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เป้นการชั่งน้ำหลักของมาตรการหรือวิธีการใดวิธีการหนึ่งให้ได้สัดส่วนระหว่างประโยชน์สาธารณะกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้เกิดดุลยภาพกันในสังคมภายใต้กรอบของกฎหมาย
2.2 การใช้อำนาจนิติบัญญัติ
การใช้อำนาจนิติบัญญัติ โดยหลักการที่สำคัญ คือ การใช้อำนาจอธิปไตยในการจัดทำกฎหมาย ซึ่งอำนาจอธิปไตยในการจัดทำกฎหมาย นั้นถ้าประเทศที่ใช้ระบบรัฐบาลแบบระบบแบบรัฐสภา เช่น กรณีของประเทศไทย ร่างกฎหมายส่วนใหญ่จะเสนอโดยรัฐบาล (ฝ่ายบริหาร) และรัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) จะเป็นผู้พิจารณาต่อไปว่าจะรับหรือไม่ เป็นต้น ถ้าเป็นระบบรับบาลแบบประธานาธิบดี เช่น กรณีของประเทศสหรัฐอเมริกาการจัดทำกฎหมายเป็นการริเริ่มโดยรัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) แต่การประกาศให้บังคับกฎหมายต้องให้ประธานาธิบดีลงนาม ซึ่งประธานาธิบดีอาจใช้สิทธิอาจใช้สิทธิยับยั้ง ไม่ยอมลงนามให้ใช้เป็นกฎหมาย เว้นแต่รัฐสภาจะยืนยันโดยมติพิเศษจำนวนไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกสภา เป็นต้น และที่สำคัญการกระทำของฝ่ายนิติบัญญัติในการตรากฎหมายต้องตรากฎหมายอยู่บนพื้นฐานของหลักสมควรแก่เหตุหรือหลักความได้สัดส่วน หลักความเสมอภาคและการตรากฎหมายต้องไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญด้วย
ตัวอย่างการ ใช้อำนาจรัฐของฝ่ายนิติบัญญัติในกรณีของประเทศไทยที่ใช้หลักสมควรแก่เหตุหรือหลักความได้สัดส่วนภายใต้หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม เช่น กรณีของพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484
“มาตรา 7 ไม้สักและไม้ยางทั่วไปในราชอาณาจักรไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้ชนิดอื่นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใด ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
การเพิ่มเติมหรือเพิกถอนชนิดไม้ หรือเปลี่ยนแปลงประเภทไม้หวงห้ามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้แล้วก็ดี หรือจะกำหนดไม้ชนิดใดเป็นไม้หวงห้ามประเภทใดขึ้นในท้องที่ใด นอกจากท้องที่ที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดตามความในมาตราก่อนแล้วนั้นก็ดี ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกาซึ่งตราขึ้นตามความในวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ใช้บังคับได้เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา”
เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติมาตรา 7 พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ที่ได้กำหนดให้การทำไม้หวงห้ามประเภท ก. เช่น ไม่สัก ไม้ยางทั่วไป ไม่ว่าขึ้นในท้องที่ใดถือเป็นการทำไม้หวงห้ามต้องขออนุญาต ซึ่งในกรณีไม้สัก ไม้ยาง ขึ้นในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์เป็นทรัพย์สินของเอกชน เวลาทำไม้ต้องขออนุญาตนั้นเห็นว่าเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพที่ขัดต่อหลักสมควรแก่เหตุหรือหลักได้ความสัดสวน ฝ่ายนิติบัญญัติได้มองเห็นความสำคัญของถึงหลักสมควรแก่เหตุนี้จึงได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 มาตรา 7 (แก้ไข ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2562) ดังนี้
“มาตรา 7 ไม้ชนิดใดที่ขึ้นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใด ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา สำหรับไม้ทุกชนิดที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดินไม่เป็นไม้หวงห้าม หรือไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ ตามประเภทหนังสือแสดงสิทธิที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ถือว่าไม่เป็นไม้หวงห้าม”
2.3 การใช้อำนาจบริหาร
การใช้อำนาจบริหาร เป็นการใช้อำนาจอธิปไตยในการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งอำนาจบริหารเข้าใจในเบื้องต้นว่า เป็นอำนาจของรัฐบาลหรือฝ่ายบริหาร จะพบว่าการใช้อำนาจตามกฎหมาย 2 ลักษณะ ดังนี้
2.3.1 การใช้อำนาจบริหารกระทำในฐานะทางการเมืองโดยอาศัยอำนาจกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นหลัก
การใช้หลักสมควรแก่เหตุของฝ่ายบริหารในฐานะทางการเมืองที่รัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจไว้ เช่น เรื่องจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยสาธารณะหรือความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศหรือป้องภัยพิบัติสาธารณะหรือกรณีที่มีความจำเป็นที่ต้องตรากฎหมายที่เกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนหรือลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดินก็ให้ฝ่ายบริหารในฐานทางการเมืองออกกฎหมายได้ เช่น ในกรณีของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ให้อำนาจฝ่ายบริหารการออกพระราชกำหนด มาตรา 172-174 เป็นต้น
2.3.2 กระทำในฐานะฝ่ายปกครองโดยอาศัยอำนาจกฎหมายปกครองเป็นหลัก
การใช้หลักสมควรแก่เหตุของฝ่ายบริหาร เช่น ในกรณีของประเทศไทยที่ใช้หลักสมควรแก่เหตุหรือหลักความได้สัดส่วนภายใต้หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม เราสามารถพบได้จากการตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองที่ใช้หลักสมควรแก่เหตุก็คือการบังคับบัญชาและการกำกับดูแล ดังนี้
2.3.2.1 ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการบังคับบัญชาและการกับกำกับดูแลในแง่นิติบุคคล
ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการบังคับบัญชาและการกับกำกับดูแลในแง่นิติบุคคล กล่าวคือ อำนาจบังคับบัญชา เป็นความสัมพันธ์ภายในนิติบุคคลมหาชนเดียวกัน เช่น ภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น ส่วนอำนาจกำกับดูแล เป็นความสัมพันธ์ระหว่างนิติบุคคลมหาชน เช่น จังหวัดกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น
2.3.2.2 ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการบังคับบัญชาและการกับกำกับดูแล ในแง่ที่มาของการใช้อำนาจ
ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการบังคับบัญชาและการกับกำกับดูแล ในแง่ที่มาของการใช้อำนาจ กล่าวคือ อำนาจบังคับบัญชาเป็นอำนาจทั่วไปที่เกิดจากการจัดระเบียบภายในของรัฐ ภายในหน่วยงานของรัฐแต่ละแห่ง ความสัมพันธ์ของบุคลากรจะเป็นความสัมพันธ์ตามลำดับชั้นในรูปปิรามิด เจ้าหน้าที่แต่ละคนซึ่งอยู่ที่ฐานปิรามิด จะขึ้นตรงต่อเจ้าหน้าที่คนหนึ่งและต้องปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งหรือคำบังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ผู้นี้โดยเคร่งครัด และเจ้าหน้าที่ผู้นี้เองก็จะขึ้นตรงต่อเจ้าหน้าที่เหนือตนขึ้นไป และต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนตามคำสั่ง คำบัญชาของเจ้าหน้าที่เหนือตนขึ้นไป เป็นเช่นนี้ตลอดสาย จนถึงหัวหน้าหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นซึ่งอยู่ที่ยอดปิรามิด และจะเป็นผู้รับผิดชอบงานทั้งหมดของหน่วยงาน ด้วยเหตุนี้เองการการควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาโดยผู้บังคับบัญชาจึงไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายให้อำนาจไว้อย่างชัดแจ้ง และผู้บังคับบัญชาจะปฏิเสธไม่ตรวจสอบคำวินิจฉัยสั่งการของผู้ใต้บังคับบัญชา โดยอ้างว่าไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ไม่ได้ อำนาจบังคับบัญชา เป็น “อำนาจตามกฎหมายทั่วไป” ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายกำหนดโดยเฉพาะ ส่วนอำนาจกำกับดูแล เป็นอำนาจที่เกิดขึ้นโดยกฎหมาย กล่าวคือ รัฐ องค์กรส่วนกลางจะกำกับดูแลหรือมอบให้ส่วนภูมิภาค กำกับดูแล หน่วยงานเหล่านี้ ได้แก่ การปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ รัฐวิสาหกิจหรือ องค์การมหาชนหรือ หน่วยอื่นของรัฐที่อยู่ภายใต้กำกับดูแลของฝ่ายบริหารหรือ หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครองและกำกับดูแลได้ต่อเมื่อ “กฎหมายให้อำนาจไว้อย่างชัดแจ้ง และเพียงเท่าที่กฎหมายกำหนดไว้” เท่านั้น “ไม่มีการกำกับดูแลโดยปราศจาก
อำนาจตามกฎหมายและไม่มีการกำกับดูแลเกินขอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้”
2.3.2.3 ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการบังคับบัญชาและการกับกำกับดูแลในแง่ขอบเขตอำนาจการตรวจสอบการกระทำ
ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการบังคับบัญชาและการกับกำกับดูแลในแง่ขอบเขตอำนาจการตรวจสอบการกระทำ กล่าวคือ อำนาจบังคับบัญชา เป็นอำนาจที่เปิดโอกาสให้ผู้บังคับบัญชาสามารถควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาสามารถควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาของตนได้อย่างสิ้นเชิง คือ สามารถตรวจสอบการกระทำต่าง ๆ ของผู้ใต้บังคับบัญชาของตนได้ทั้งในแง่ “ความชอบด้วยกฎหมาย” และ “ความเหมาะสม” ผู้ใต้บังคับบัญชาจึงไม่มีอิสระโดยปราศจากการควบคุมของผู้บังคับบัญชาได้ ส่วนอำนาจกำกับดูแล โดยปกติกฎหมายจะให้อำนาจรัฐหรือองค์การปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาคกำกับดูแลตรวจสอบ องค์การปกครองท้องถิ่นหรือ รัฐวิสาหกิจ หรือ องค์การมหาชน หรือ หน่วยอื่นของรัฐที่อยู่ภายใต้กำกับดูแลของฝ่ายบริหารหรือ หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง ในจัดทำบริการสาธารณะมิให้กระทำนอกวัตถุประสงค์และขัดแย้งกฎหมาย คือ “การตรวจสอบความชอบด้วยฎหมาย” ทั้งนี้เพื่อรักษาความเป็นอิสระของหน่วยงานอยู่ภายใต้การกำกับดูแล อันเป็นหลักการกระจายอำนาจไว้
2.3.2.4 ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการบังคับบัญชาและการกับกำกับดูแลในแง่ลักษณะผลของออกคำสั่งการในการใช้อำนาจ
ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการบังคับบัญชาและการกับกำกับดูแลในแง่ลักษณะผลของออกคำสั่งการในการใช้อำนาจ กล่าวคือ อำนาจบังคับบัญชา โดยหลักการมีคำสั่งใด ๆ ตามอำนาจบังคับบัญชาไม่ถือว่าเป็นคำสั่งทางปกครอง ยกเว้นกรณีแต่งตั้งโยกย้าย อำนาจกำกับดูแลของผู้กระทำดูแลที่สั่งการไปยังองค์กรหรือบุคคลที่ถูกกำกับดูแลจะเป็นคำสั่งทางปกครองทุกกรณี
การกระทำของฝ่ายบริหารทั้ง 2 ฐานะดังกล่าวจะกระทำเกินขอบเขตของกฎหมายให้อำนาจไว้ไม่ได้ ต้องกระทำอยู่บนพื้นฐานของหลักสมควรแก่เหตุหรือหลักความได้สัดส่วนและหลักความเสมอภาคในการบังคับใช้กฎหมาย แต่อย่าไรก็ตามในระบบการปกครองปัจจุบันจะมีการกระจายอำนาจบริหารออกไปหลายระดับ ทั้งแนวดิ่งและแนวนอนตามความชำนาญเฉพาะด้านและการธำรงประสิทธิภาพในการจัดการ เช่น ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอิสระต่าง ๆ รวมไปถึงหน่วยงานเอกชนที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจหรือดำเนินกิจการทางปกครองด้วย
2.4 การใช้อำนาจตุลาการ
การใช้อำนาจตุลาการ เป็นการใช้อำนาจอธิปไตยในการตัดสินตามกฎหมาย อำนาจตุลาการเป็นอำนาจที่ทุกคนเห็นตรงกันว่าต้องใช้โดยบุคคลที่มีความเป็นกลางและต้องมีความเป็นอิสระเพื่อค้ำประกันความเป็นกลางนั้นด้วย อำนาจวินิจฉัยคดี มอบหมายให้ศาล (ฝ่ายตุลาการ) เป็นผู้ใช้อำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีข้อพิพาทในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการใช้อำนาจทางนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร ฝ่ายตุลาการมีภาระหน้าที่ในการควบคุมการตรวจสอบการปฏิบัติตามหลักการของหลักนิติรัฐ (Legal State) และหลักนิติธรรม (The Rule of Law) ขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ดังนั้นองค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการจึงตองเป็นอิสระและเที่ยงธรรมบนพื้นฐานของหลักสมควรควรแก่เหตุหรือหลักความได้สัดส่วนและหลักความเสมอภาคในทางกฎหมาย
ตัวอย่าง การใช้อำนาจรัฐตุลาในกรณีของประเทศไทยที่ใช้หลักสมควรแก่เหตุหรือหลักความได้สัดส่วนภายใต้หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม การในการนำหลักสมควรแก่ตุหรือหลักความได้สัดส่วนมาวินิจฉัยคดี ได้แก่ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 54/2548 กรณีศาลจังหวัดลำพูนส่งคำร้องของจำเลย ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 264 (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540) กรณีมาตรา 5 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ในกรณีดังกล่าวศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่าพระราชบัญญัติสรา พ.ศ. 2493 มาตรา 5 เป็นบทบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดทำสุราหรือมีภาชนะหรือเครื่องกลั่นสำหรับทำสุราไว้ในครอบครอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดี ซึ่งการที่กฎหมายกำหนดให้การทำสุราหรือมีภาชนะหรือเครื่องต้มกลั่นสุราไว้ในครอบครองโดยจะต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมสรรพสามิตนั้น เป็นเรื่องการควบคุมการผลิตสุราเพื่อประโยชน์ในทางภาษีและสุขภาพอนามัยของประชาชน ถึงแม้อาจเป็นการกระทำที่จำกัดสิทธิบ้าง แต่เป้นการกระทำที่จำเป็นและไม่กระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพในการผลิตสุรา เนื่องจากการผลิตสุราสามารถกระทำได้ภายใต้การควบคุมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประกอบกับพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 5 ไม่ได้ทำให้เสียศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แต่อย่างใด ดังนั้นพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 จึงไม่มีข้อความใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 28 และ มาตรา 29 (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540) เป็นต้น
ดังนั้นการใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ในนามรัฐนี้ ต้องมีตัวแทนเข้าไปใช้อำนาจดังกล่าว เช่น การกำหนดหลักเกณฑ์หรือการสรรหาของบุคคลเข้าไปใช้อำนาจในการออกกฎหมาย (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา) การกำหนดบุคคลใช้อำนาจทางบริหาร (คณะรัฐมนตรีใช้อำนาจทางการเมือง ที่เรียกว่า “ฝ่ายการเมือง” กับเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจในทางปกครองหรือที่เรียกว่า “ฝ่ายปกครอง” ) การกำหนดบุคคลเข้าไปใช้อำนาจทางตุลาการ (ผู้พิพากษาของศาลต่างๆ) และบุคคลที่เข้าไปใช้อำนาจในนามรัฐต้องกระทำอยู่บนพื้นฐานของหลักสมควรแก่เหตุหรือหลักความได้สัดส่วน อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัตินั้นเป็นการยากที่จะแยกอำนาจอธิปไตยออกจากกันอย่างเด็ดขาด การจะพิจารณาว่าการกระทำขององค์กร 1 ใน 3 นี้ องค์กรใดขัดหรือฝ่าฝืนต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Powers) หรือการแบ่งหน้าที่ (Function of Powers) หรือไม่เพียงใด การกระทำนั้นจะต้องไม่กระทบแก่นของหลักการแบ่งแยกอำนาจ ซึ่งอาจพิจารณาได้จากหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
1) ดูจากเจตนาว่าการกระทำนั้นๆว่าจะต้องไม่มีเจตนาร้ายที่จะขัดขวางการใช้อำนาจขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง
2) ดูจากผลของการกระทำนั้นๆว่าจะต้องไม่ส่งผลรุนแรงถึงขนาดที่ทำให้อำนาจอื่นไม่สามารถดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดได้หรือเกิดปัญหาในการใช้อำนาจ
3) ดูจากปริมาณของกรณีที่ถูกกระทบว่าจะต้องไม่ก้าวก่ายเข้าไปในอำนาจอื่นหลายครั้ง หากเป็นกรณีครั้ง 2 ครั้งและไม่เข้าข่าย ข้อ 1) และ 2) ก็อาจพออนุโลม
3. การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ในการแบ่งอำนาจหน้าที่ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ซึ่งรวมถึงฝ่ายปกครอง ซึ่งเป็นเสมือนกลไกเสมือนเครื่องมือของรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน ก็มักจะเกิดปัญหาขึ้นว่า เรื่องใดจะต้องให้สภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) เป็นตรากฎเกณฑ์ เรื่องใดสามารถปล่อยให้ฝ่ายบริหารในฐานะฝ่ายการเมือง (รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี) กับฝ่ายบริหารในฐานะฝ่ายปกครองกำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นเองได้ สำหรับเรื่องนี้หากนำหลักการแนวคิดว่าด้วยการปกครองระบอบประชาธิปไตยเข้ามาประกอบการพิจารณา จะพบว่า ถ้าการกระทำนั้นเป็นเรื่องสำคัญซึ่งกระทบ กระเทือนสถานภาพหรือสิทธิเสรีภาพของประชาชน ไม่ว่าเป็นประเด็นทางการเมือง เศรษฐกิจหรือสังคม จะต้องให้รัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนเป็นผู้บัญญัติกฎหมายออกมา โดยฝ่ายบริหารทำหน้าที่ในการนำกฎหมายมาใช้บังคับและกำหนดรายระเอียดในทางปฏิบัติ ดังนั้นหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน รัฐจะกระทำโดยอำเภอใจและมิชอบด้วยกฎหมายต่อประชาชนมิได้ เพราะรัฐได้ยอมตนอยู่ภายใต้ระบบกฎหมายและยอมผูกพันการกระทำใดๆของตนกับกฎเกณฑ์ของกฎหมายที่รัฐได้ตราขึ้นจึงมีหลักการที่สำคัญคือ หลักการควบคุมไม่ให้กฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญ หลักการควบคุมไม่ให้การกระทำขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารขัดต่อกฎหมาย โดยมีองค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ เป็นผู้คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและรวมไปถึงองค์กรอิสระ เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ตรวจการแผ่นดิน องค์กรอัยการ คณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นต้น ที่มีอำนาจในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้นด้วย
หนังสือเอกสารวารสารอ่านประกอบ
วรเจตน์ ภาคีรัตน์ “นิติรัฐกับความยุติธรรมทางสังคม” นิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร
http://www.enlightened-jurists.com/ เข้าถึงข้อมูลวันพุธ ที่ 4 ธันวาคม 2554
......................... “หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม”
http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1431 เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันอังคารที่ 6 ธันวาคม 2554
สิทธิกร ศักดิ์แสง “ศาลเป็นผู้สร้างหลักกฎหมายได้หรือไม่ในระบบกฎหมายไทย” วารสารกฎหมาย
ใหม่ ปีที่ 5 ฉบับที่ 83 พฤษภาคม 2550
「เป้าหมาย คือ ตัวอย่าง」的推薦目錄:
- 關於เป้าหมาย คือ ตัวอย่าง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於เป้าหมาย คือ ตัวอย่าง 在 สร้างเป้าหมายทางการตลาดตามหลัก SMART สำหรับธุรกิจของคุณ 的評價
- 關於เป้าหมาย คือ ตัวอย่าง 在 เทคนิคกลุ่มเป้าหมาย FB เลือกอย่างไรให้ตรงกลุ่ม ยิงแอดสร้างยอดขาย ... 的評價
- 關於เป้าหมาย คือ ตัวอย่าง 在 วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และกลยุทธ์ในการดำเนินงานของบริษัท 的評價
เป้าหมาย คือ ตัวอย่าง 在 เทคนิคกลุ่มเป้าหมาย FB เลือกอย่างไรให้ตรงกลุ่ม ยิงแอดสร้างยอดขาย ... 的推薦與評價
เลือกกลุ่มเป้าหมายตามอายุ เราสามารถระบุช่วงอายุที่ต้องการให้คนกลุ่มนั้น ๆ เห็นโฆษณาของเรา และซื้อสินค้าของเราได้เลย ตัวอย่างสินค้าที่เป็นครีมบำรุงผิวขาวใส มี ... ... <看更多>
เป้าหมาย คือ ตัวอย่าง 在 วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และกลยุทธ์ในการดำเนินงานของบริษัท 的推薦與評價
2.3. “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลอื่นซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ตามที่นิยามไว้ใน ... ... <看更多>
เป้าหมาย คือ ตัวอย่าง 在 สร้างเป้าหมายทางการตลาดตามหลัก SMART สำหรับธุรกิจของคุณ 的推薦與評價
... รวมถึงตัวอย่างและเทมเพลตของเป้าหมายทางการตลาดตามหลัก SMART. ... เป้าหมายตามหลัก SMART คือเป้าหมายที่ Specific (เจาะจง), Measurable (วัดผลได้), ... ... <看更多>