ขีดจำกัดของโลก 9 ประการ
เรื่องโลกร้อนเป็นแค่ 1 ใน 9 เท่านั้น ! มีอีก 8 ตัว! คุณพระ!!
-----------------------
เมื่อไม่นานมานี้ได้ดูสารคดีเรื่อง Breaking Boundaries: The Science of Our Planet ใน netflix [ https://www.imdb.com/title/tt14539726/?ref_=nv_sr_srsg_0 ] น่าสนใจมาก
หนังพูดเรื่อง The 9 planetary boundaries หรือขีดจำกัดของโลก 9 อย่างที่มนุษย์กำลังสร้างผลกระทบโดยตรง และถ้าข้ามขีดอันตรายไปเมื่อไหร่ จะเกิดผลกระทบลูกโซ่ที่ทำลายระบบนิเวศของโลกอย่างหวนกลับมาไม่ได้อีกต่อไป
ซึ่งในบรรดา 9 อย่างนี้ เรารู้จักเรื่องโลกร้อนดีที่สุด แต่ที่เหลือ มีหลายอันที่มีคนพูดถึงน้อยมากๆ
ขีดจำกัดทั้ง 9 นี้ มีที่มาจากกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ นำโดย Johan Rockstrom [นามสกุลโคตรเท่] แห่งมหาวิทยาลัย Stockholm และวิล สเตฟเฟน (Will Steffen) จากมหาวิทยาลัย Australian National University เอางานวิจัยยาวนานกว่า 5 ทศวรรษ มาสรุปเป็นกระบวนการรักษาสมดุลของโลกให้เราเห็นชัดเจน 9 ประการ โดย Rockstrom เองเป็น presenter ของสารคดีชิ้นนี้ด้วย
นอกจากจะทำความรู้จักขีดจำกัดทั้ง 9 อย่างนี้แล้ว งานวิจัยก็ยังบอกเราด้วยว่าตอนนี้มนุษย์อยู่ในขีดอันตรายระดับไหนแล้วในแต่ละหัวข้อ
-----------------------
สถานการณ์: [Code Red] วิกฤติแล้วจ้า ฉิบหายแล้ว มี 2 ข้อ
1. Biodiversity loss [การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ] : สถานการณ์ วิกฤติ
- ว่าด้วยการสูญพันธ์ของสัตว์และพืช ใช่ 50 ปีที่ผ่านมา อัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ หลักๆมาจากการสูญเสียที่อยู่อาศัยจากการกระทำของมนุษย์ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม เพื่อผลิตอาหาร น้ำ และทรัพยากร
- ต่อปี อัตราการสูญพันธุ์ในปัจจุบัน อยู่ที่ 1,000 ต่อ 1,000,000 ชนิด ต่อปี [0.1%] โดยอัตราการสูญพันธุ์ที่ปลอดภัย อยู่ที่ ไม่เกิด 10 ต่อ 1,000,000 ชนิดต่อปี [ 0.001%] เท่ากับเราเลย limit ที่ปลอดภัยมาแล้ว 100 เท่า!
2. Nitrogen Cycle and Phosphorus Cycle [ วงจรไนโตรเจนและฟอสฟอรัส] : สถานการณ์ วิกฤติ
- ใช้แล้วครับ ไนโตรเจนกับฟอสฟอรัส ในปุ๋ยเคมี NPK นี่แหล่ะ
- เรื่องนี้มีคนรู้น้อยมาก หลักๆคือการที่มนุษย์ผลิตอาหารมากขนาดนี้ เราต้องใช้ปุ๋ยจำนวนมหาศาล เราไปเก็บไนโตรเจนมาจากชั้นบรรยากาศ และขุดฟอสฟอรัสมาจากในดิน แล้วในกระบวนการเกษตร สารเหล่านี้โดนเก็บไว้ในพืชแค่นิดเดียว ที่เหลือไหลลงน้ำลงทะเล หรือกลายเป็นมลพิษในอากาศ
- ซึ่งผลพวงก็มีเช่น ปุ๋ยลงน้ำไปทำให้เกิด Algae Bloom [สาหร่ายเติบโต] ซึ่งพอตายทับถมกัน ก็ทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลงเรื่อยๆ จนบางที่กลายเป็น "Dead Zone" หรือจุดที่สิ่งมีชีวิตไม่สามารถอยู่ได้อีกแล้ว เพราะขาดออกซิเจน ซึ่งทั่วโลกพบอยู่หลายร้อยแห่งแล้ว ปล่อยไปเรื่อยๆจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ทำระบบนิเวศพังทั้งระบบ
- ตอนนี้เราใช้ไนโตรเจนกับฟอสฟอรัสเพื่อผลิตอาหาร เกิดขีดจำกัดที่นักวิทยาศาสตร์กำหนดไว้ ประมาณ 2 เท่าในทุกๆปี
-----------------------
สถานการณ์: [Code Yellow] ต้องเฝ้าระวัง หากไม่เปลี่ยนแปลง วิกฤติแน่
3. Deforestation Land use Changes การตัดไม้ทำลายป่า และการเปลี่ยนแปลงผืนโลก : สถานการณ์ เฝ้าระวัง
- คือการเปลี่ยนป่าเป็นพื้นที่การเกษตรหรือเลี้ยงสัตว์[การผลิตเนื้อ ใช้ที่ดินเยอะมาก] ซึ่งนำไปสู่ทั้งความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ [ข้อ 1. ] และเป็นการปล่อยคาร์บอนที่ถูกกักเก็บไว้ในต้นไม้กลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งก็ไปสร้างปัญหาภาวะโลกร้อนต่อ รวมถึงการเปลี่ยนน้ำทะเลให้เป็นกรดอีกด้วย
- ป่าคือ Carbon Sink หรือตัวดูดซับคาร์บอนที่ดีที่สุดที่เรามีอยู่ในธรรมชาติ การสูญเสียป่า คือการสูญเสียระบบจัดการคาร์บอนของดาวโลก
- การสูญเสียพื้นที่ป่าในประเทศหนึ่ง อาจสร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศในระดับโลก (เช่นป่า Amazon เป็นต้น)
4. Climate Change ภาวะโลกร้อน : สถานการณ์ เฝ้าระวัง
- ตัวโหดที่ทุกคนรู้จักดี ตอนนี้เราผ่านจุดที่คาร์บอนในชั้นบรรยากาศ อยู่ที่ 418 ppm [Parts per million] ซึ่งอาจจะนำไปสู่โลกที่อุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 2 องศา ซึ่งเป็นสิ่งที่ Paris Agreement ในปี 2015 ตั้งใจจะทำให้ได้ แต่อย่างไรระดับคาร์บอนได้ออกไซด์ก็ไม่มีทีท่าจะลดลงมาสักกะที ถ้าหากว่าเกิน 500 ppm ขึ้นไป และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เราอาจจะจบที่ร้อนชึ้น 4-8 องศา ซึ่งนั่นคือ Game Over แน่นอน
- ตอนนี้น้ำแข็งทะเลในขั้วโลกเหนือลดลงจนไม่น่าจะหวนกลับมาได้แล้ว ทำให้เรายิ่งไม่มีพื้นที่สีขาวมาสะท้อนแสงอาทิตย์กลับไป
- น้ำแข็งในกรีนแลนด์ละลายเร็วขึ้นกว่าที่คาดการเอาไว้ 3-4 เท่า ถ้ากรีนแลนด์ละลายหมด น้ำทะเลจะสูงขึ้น 7 เมตร
- ตอนนี้ขั้วโลกได้ที่เชื่อว่าละลายได้ยากมาตลอด เริ่มมีอาการแปรปรวนให้เห็น ถ้าละลายหมด น้ำจะสูงขึ้นหลายสิบเมตร
- จุดที่เราจะย้อนกลับไม่ได้ ใกล้เข้ามาทุกที
-----------------------
สถานการณ์: [Code Green] ยังปลอดภัยอยู่ ต้องรักษาระดับเอาไว้
5. Freshwater Use การใช้น้ำจืด : สถานการณ์ ยังปลอดภัย
- เป็นตัวแปรที่ link กับเรื่อง climate change + ระบบการจัดการน้ำของมนุษย์ ซึ่งได้เปลี่ยนวงจรที่น้ำจืดแปรสภาพและไหลเวียนตามธรรมชาติไปโดยสิ้นเชิง การชลประทานนำไปสู่การเปลี่ยนในการไหลของแม่น้ำ การถางป่านำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงของวงจรไอน้ำ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและส่วนใหญ่เปลี่ยนแล้วแก้คืนไม่ได้
- ถึงแม้ว่าตอนนี้จะยังไม่วิกฤติ แต่ก็ต้องระวังดีๆ หากเราเปลี่ยนวงจรน้ำจืดไปเรื่อยๆอย่างไม่คิดถึงผลกระทบที่ตามมา อาจจะส่งผลลูกโซ่ต่อเนื่อง สร้างความเสียหายในแบบที่เรายังคาดไม่ถึงได้
6. Ocean Acidification การเป็นกรดของมหาสมุทร : สถานการณ์ ยังปลอดภัย
- ประมาณ 25-30% ของคาร์บอนที่เราปล่อยออกมา ถูกดูดซับโดยน้ำในมหาสมุทร ซึ่งผลพวงของมันก็คือทำให้น้ำทะเลมีความเป็นกรดมากขึ้น ซึ่งก็ไปทำให้ในน้ำมี แคลเซียมคาร์บอเนต ลดลงเรื่อยๆ ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งสำคัญที่สิ่งมีชีวิตในทะเล ทั้งปะการัง ทั้งกุ้ง หอย ปู แพลงตอนบางประเภท หรืออะไรก็ตามที่มีเปลือก ใช้ในการสร้างเปลือกป้องกันตนเอง
- พอสัตว์เหล่านี้โตไม่ได้ ก็กระทบบ่วงโซ่อาหาร ในทะเลก็มีปลาน้อยลงเรื่อยๆ
- ตอนนี้น้ำทะเลของเรา มีความเป็นกรดมากขึ้น 30% เมื่อเทียบกับตอนก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม
- อันนี้ link กับเรื่อง Climate change ในเชิงมีสาเหตุร่วมกัน แต่ถือเป็นคนละมาตรวัดกัน
- ถึงยังปลอดภัยอยู่ แต่ถ้าไม่เปลี่ยนเรื่องปล่อยคาร์บอนกัน มันก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆต่อไป
7. Stratospheric ozone depletion การสลายตัวของชั้นโอโซน : สถานการณ์ ยังปลอดภัย
- อย่างที่รู้กัน โอโซนช่วยกัน UV [ultraviolet] ไม่ให้เข้าสู่บรรยากาศโลก ถ้าไม่มีโอโซนเราก็จะเป็นมะเร็งผิวหนังกันหมด และระบบนิเวศโลกก็จะพัง
- อันนี้เป็นข้อเดียวที่สถานการณ์ดีขึ้นมาก นับตั้งแต่มีการค้นพบปัญหารูโอโซนบริเวณขั้วโลก และมีการระบุชัดเจนว่าสารเคมีชนิดไหนที่เป็นต้นเหตุ นานาชาติก็มีการตกลงแบนสารเหล่านั้นร่วมกันผ่าน Montreal Protocol จนได้ผลนำสถานการณ์อันตรายมาสู่ระดับที่ปลอดภัยได้
- เป็นความหวังของหมู่บ้าน ว่ามนุษย์สามารถรวมตัวกันแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ
-----------------------
สถานการณ์: [Unknown] รู้ว่าเป็นปัญหา แต่ยังไม่สามารถกำหนดขอบเขตที่เกินขีดอันตรายไปได้
- 2 ข้อนี้ คือตัวแปรที่นักวิทยาศาสตร์เห็นตรงกันว่าจะมีผลกระทบกับระบบนิเวศของโลกอย่างมีนัยยะสำคัญ แต่ว่ายังหาคำตอบไม่ได้ว่าขีดอันตรายอยู่ที่จุดไหน
8. Particle Pollution [Atmospheric aerosol loading] สารแขวนลอยในชั้นบรรยากาศ : สถานการณ์ (ไม่รู้)
- ง่ายๆก็คือพวก pm10/ pm2.5 นั่นแหล่ะครับ + สารเคมีต่างๆที่มนุษย์ปล่อยขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ สิ่งเหล่านี้นอกจากจะมีผลกับสุขภาพของมนุษย์แล้ว คือมีผลกับอุณหภูมิของโลกด้วย
- ในขณะที่ก๊าซเรือนกระจก ทำให้โลกร้อนขึ้น สารแขวนลอยและมลพิษในอากาศ มีผลกระทบในการสะท้อนแสงอาทิตย์ออกนอกชั้นบรรยากาศ พูดง่ายๆยิ่งอากาศขุ่นมัวมาก อุณหภูมิก็ยิ่งลดลง ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป เพราะต้องแลกมากับคุณภาพอากาศที่ย่ำแย่มากๆ เป็นผลกับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
- นอกจากนั้น สารแขวนลอยเหล่านี้ยังสามารถจับตัวกับไอน้ำ มีผลกับการจับตัวของก้อนเมฆและการเปลี่ยนแปลงของอากาศอีกด้วย
- ซึ่งผลกระทบตรงนี้ ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาเพิ่มเติม ทำให้ยังไม่สามารถทราบผลกระทบทั้งหมดได้
9. Chemical Pollution การปนเปื้อนของสารสังเคราะห์ : สถานการณ์ (ไม่รู้)
- มนุษย์เราสร้างสารสังเคราะห์ชนิดใหม่ขึ้นมากว่า 100,000 ชนิด ซึ่งมีทั้งโลหะหนักต่างๆ สารกัมมันตภาพรังสี ไมโครพลาสติก ฯลฯ ซึ่งผ่านอุตสาหกรรมและกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ สารเหล่านี้ก็ถูกปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ โดยที่เรายังไม่เข้าใจผลกระทบที่พวกมันมีต่อสัตว์ พืช และระบบนิเวศเลย รวมไปถึงผลกระทบที่มันมีต่อคนด้วย [ยกตัวอย่าง จนถึงตอนนี้ ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ ว่าการกินไมโครพลาสติกเข้าไป มีผลอะไรกับร่างกายคนบ้าง]
- ทำให้การกำหนดขอบเขตในเรื่องนี้ เป็นไปได้ยากมาก แต่นักวิทยาศาสตร์ก็เห็นพ้องกันว่า เป็นตัวแปรที่มีผลต่อระบบนิเวศของโลกแน่นอน
-----------------------
นอกจาก 9 ข้อนี้ ขอฝากคำศัพท์ไว้อีกคำ คือคำว่า [Antropocene]=แอนโทรโพซีน คือชื่ออย่างไม่เป็นทางการของโลกยุคปัจจุบัน โดยยุคก่อนหน้านี้คือยุค Holocene [โฮโลซีน] ที่เริ่มต้นประมาณ 11,700 ปีที่แล้ว หลังยุคน้ำแข็งรอบสุดท้ายจบลง เป็นยุคที่อุณหภูมิของโลกเริ่มคงที่ ทำให้สภาวะที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของสังคมมนุษย์เกิดขึ้นได้ เป็นสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
แต่มาตอนนี้ นักวิทยาศาสตร์บอกว่ายุค Antropocene ได้มาถึงแล้ว มาจากคำว่า Anthropo ที่แปลว่า "คน" ในภาษากรีก ซึ่งอธิบายง่ายๆก็คือ นี่คือยุคที่มนุษย์กลายเป็นตัวแปรหลักในการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศและระบบนิเวศของโลก จากที่ก่อนหน้านี้ ไม่เคยมีสปีชีส์ไหนทำแบบนี้ได้มาก่อน สัตว์ทุกชนิดต้องยอมรับสภาวะที่โลกหยิบยื่นให้ มีเราเป็นสปีชีส์แรกที่สามารถเปลี่ยนระบบของโลกได้ด้วยการกระทำของเรา
ขึ้นอยู่กับว่าจะเปลี่ยนไปทางไหนเท่านั้นเอง
Ref
http://www.salforest.com/blog/planetary-boundary
https://en.wikipedia.org/wiki/Planetary_boundaries#/media/File:Planetary_Boundaries.png
https://www.stockholmresilience.org/research/planetary-boundaries/the-nine-planetary-boundaries.html
https://www.nationalgeographic.org/encyclopedia/anthropocene/
https://www.imdb.com/title/tt14539726/
「ไมโครพลาสติก」的推薦目錄:
- 關於ไมโครพลาสติก 在 Wannasingh Prasertkul (วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล) Facebook 的最讚貼文
- 關於ไมโครพลาสติก 在 KengKawiz Facebook 的最佳解答
- 關於ไมโครพลาสติก 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的精選貼文
- 關於ไมโครพลาสติก 在 ปัญหา “ไมโครพลาสติก” รุนแรงพบปนเปื้อนมากับฝน 74 ตันต่อปี 的評價
- 關於ไมโครพลาสติก 在 ไมโครพลาสติก... - กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม | Facebook 的評價
ไมโครพลาสติก 在 KengKawiz Facebook 的最佳解答
ทุกวันนี้โลกของเรามีแหล่งน้ำเค็มมากกว่าน้ำจืด เลยไม่แปลกที่จะมีคนพยายามคิดค้นวิธีการแปลงน้ำเค็มเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ได้ อย่างล่าสุดก็มีคนคิดค้นเครื่องกรองน้ำทะเลมาให้เราดื่มได้ด้วยค่ะแถมยังไม่ง้อพลังไฟฟ้าเลย พกพาก็ง่ายอีก ถ้าต้องเรือแตกลอยคอกลางทะเลคือรอดแน่ๆ
.
อันนี้คือ Quench Sea ค่ะ Gadget ขนาดไม่ใหญ่มากให้เราสามารถพกพาไปไหนๆ นาดไล่ๆ กับเตารีดเครื่องนึง เบาเพียง 7 ขีด และความสามารถของมันก็คือการช่วยกรองน้ำทะเลให้กลายเป็นน้ำดื่มได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าและยังผลิตน้ำได้มากพอสำหรับการใช้ชีวิตในแต่ละวันอีกด้วยนะเพราะมันสามารถเปลี่ยนน้ำทะเลเป็นน้ำพร้อมดื่มได้ 2-3 ลิตร ต่อชั่วโมง
.
ส่วนพลังงานที่มันใช้อย่างที่บอกไม่ง้อไฟฟ้าแต่ใช้แต่มันจะใช้พลังงานจากแขนของเรานี่หละค่ะ โดยการทำงานของ Quench Sea จะใช้สายยาง ข้างนึงจุ่มลงไปในน้ำทะเล จากนั้นก็ดึงคันโยกมาเสียบแล้วใช้มือโยกไปมาเพื่อปั๊มน้ำทะเลเข้ามาที่เครื่อง ซึ่งจะกรองทั้งเกลือ, แบคทีเรีย, ไวรัส, ปรสิต, ไมโครพลาสติก แล้วกรองด้วยระบบ Reverse Osmosis ออกมาจากสายยางอีกฝั่งนึงซึ่งนอกจากจะได้น้ำจืดแล้ว ทางทีมผู้พัฒนายังบอกว่าน้ำที่ออกมามีรสชาติที่ดีอีกด้วย
.
โดยตอนนี้เขามีการเปิดระดมทุนในเว็บไซต์ Indiegogo ซึ่งตั้งเป้าอาไว้ที่ราวๆ 8 แสนบาท แต่สามารถระดมทุนทะลุเป้าไปได้แล้วกว่า 6.3 ล้านบาทแล้ว และราคาอยู่ในช่วง Super Early Bird อยู่ที่ 1,900 บาท จากราคาเต็ม 3,000 บาท โดยจะเริ่มส่งของได้ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้านะคะ ถ้าใครสนใจลองไปร่วมระดมทุนกันได้ค่ะ
ไมโครพลาสติก 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的精選貼文
"ไมโครพลาสติก ปัญหาใหม่ของคนยุคนี้"
แตกตื่นกันใหญ่ในแวดวงผู้รักการดื่มน้ำชาเมื่อมีข่าวต่างประเทศว่า “ผลการวิจัยจากประเทศแคนาดาพบว่าถุงชา 1 ถุง สามารถปลดปล่อยไมโครพลาสติกออกมาหลายพันล้านชิ้นในถ้วยชาของคุณ!” ไมโครพลาสติกคืออะไร? มันออกมาจากถุงชาได้อย่างไร และมีอันตรายต่อสุขภาพของเรามากน้อยแค่ไหน ถึงได้เป็นข่าวดังทั่วโลกแบบนี้?
ไมโครพลาสติกคือเศษชิ้นพลาสติกขนาดเล็กจิ๋ว ซึ่งกำลังเป็นประเด็นให้จับตามองว่าเป็นมลพิษตัวใหม่ต่อสิ่งแวดล้อม ไมโครพลาสติกไม่ได้จำกัดอยู่แค่พลาสติกชนิดใดชนิดหนึ่ง ขอเพียงมีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร (ครึ่งเซนติเมตร) เราก็นับว่าเป็นไมโครพลาสติกแล้ว เราพบการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกอยู่ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป จากหลายแหล่งที่มา เช่น จากกระบวนการทางอุตสาหกรรม จากเสื้อผ้าสิ่งทอ หรือแม้แต่จากเครื่องสำอาง
ปกติเราแบ่งไมโครพลาสติกเป็น 2 กลุ่ม คือ ไมโครพลาสติกกลุ่มปฐมภูมิ ซึ่งเป็นชิ้นพลาสติกขนาดเล็กจิ๋วตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ก่อนปนเปื้อนเข้าไปในสิ่งแวดล้อม เช่น พวกเส้นใยสังเคราะห์ของเสื้อผ้า เม็ดไมโครบีดในสบู่หรือเครื่องสำอาง และเม็ดพลาสติกสำหรับแปรรูป ส่วนไมโครพลาสติกกลุ่มทุติยภูมินั้น เกิดจากการที่ผลิตภัณฑ์พลาสติกขนาดใหญ่ปนเปื้อนเข้าไปในสิ่งแวดล้อม แล้วถูกกัดเซาะจนมีขนาดเล็กจิ๋ว ตัวอย่างเช่น ขวดพลาสติกบรรจุน้ำดื่ม ขวดน้ำอัดลม แหและอวนจับปลา ถุงและหลอดพลาสติก ฯลฯ
ไม่ว่าจะเป็นไมโครพลาสติกกลุ่มใด เราพบว่าพวกมันสามารถคงอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานแสนนาน โดยเฉพาะระบบนิเวศน้ำจืดและน้ำทะเล เนื่องจากพลาสติกใช้เวลาในการย่อยสลายช้ามาก เป็นหลายร้อยหลายพันปี ที่สำคัญ พวกมันมีโอกาสถูกสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติกลืนกิน แล้วไปสะสมอยู่ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตนั้น
ผลการศึกษาในปัจจุบันระบุว่า เราพบไมโครพลาสติกปนอยู่ในสิ่งแวดล้อมทุกแห่งหน ไม่ว่าจะในทะเล ในแหล่งน้ำจืด หรือบนแผ่นดินของทวีปต่างๆ และกำลังเป็นประเด็นน่ากังวลว่าจะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะกับสิ่งมีชีวิตในทะเล ก่อนหน้านี้มีการตรวจพบว่าเหล่าขยะพลาสติกชิ้นใหญ่ๆ เป็นอันตรายแก่ชีวิตสัตว์ทะเลที่กินมันเข้าไป ส่วนไมโครพลาสติกที่มีขนาดเล็กจนแทบมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ก็มีรายงานว่าสามารถเข้าไปอยู่ในเนื้อเยื่ออวัยวะในระบบทางเดินอาหารหรือระบบหายใจของสัตว์ที่กินหรือหายใจเข้าไป ไม่ว่าในกลุ่มหนอนทะเล กุ้งกั้งปู แมงดาทะเล ปะการัง หอย พวกปลิงทะเลที่หากินอยู่ตามพื้นทะเล รวมถึงพวกแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดจิ๋ว
ตามห่วงโซ่อาหารแล้ว ไมโครพลาสติกในสัตว์เหล่านี้ถูกส่งผ่านจากสัตว์เล็กที่เป็นเหยื่อ ไปยังสัตว์ผู้ล่าที่ตัวใหญ่กว่า และหมักหมมมากขึ้น ดังเช่นที่นักวิทยาศาสตร์พบไมโครพลาสติกในกระเพาะปลาทะเลขนาดเล็กหลายชนิด ซึ่งเป็นอาหารของปลาเศรษฐกิจที่คนนิยมบริโภค อย่างปลาทูน่า ปลาดาบ รวมถึงปลาทูของไทยเราด้วย
ผลเสียโดยตรงที่เกิดขึ้นคือ ร่างกายสัตว์ขนาดเล็กอาจเป็นอันตรายได้หลังจากที่กินไมโครพลาสติกเข้าไป หรือแม้แต่เกิดภาวะขาดสารอาหาร ยิ่งกว่านั้น ไมโครพลาสติกยังสามารถดูดซับเอาสารเคมีที่เป็นอันตรายในสิ่งแวดล้อม เช่น พวกโลหะหนัก สารโพลีคลอริเนตเตดไบฟีนีล (สารพีซีบี) และสารพิษอื่นๆ ที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำ แล้วส่งต่อไปยังเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตที่กินมันเข้าไป และสุดท้ายไมโครพลาสติกที่เป็นพิษนี้ก็จะมาถึงมนุษย์เรา ผ่านการกินอาหาร
นั่นจึงทำให้เกิดความกังวลว่า ไมโครพลาสติกจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราเช่นกัน ตามปริมาณของสารเคมีที่เป็นพิษหรือสารก่อมะเร็ง ที่ใช้ผลิตพลาสติกหรือที่ไมโครพลาสติกไปดูดซับมา รวมถึงเชื้อโรคต่างๆ ที่ไมโครพลาสติกอาจดูดซับได้เหมือนกับที่มันดูดโลหะหนักเอาไว้ แถมยังไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะหลีกเลี่ยงไม่บริโภคไมโครพลาสติกเข้าไป เพราะมีการตรวจพบไมโครพลาสติกในอาหารหลากหลายชนิด ตัวอย่างเช่น นักวิจัยจีนได้ทดสอบเกลือที่จำหน่ายตามซุปเปอร์มาร์เก็ต และพบไมโครพลาสติกในทุกอย่างที่สุ่มตรวจ แต่พบในเกลือทะเลมากกว่าเกลือสินเธาว์
งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่ทำให้แตกตื่นกันคือ นอกจากเคยตรวจพบไมโครพลาสติกในน้ำประปาแล้ว ยังตรวจพบในน้ำดื่มบรรจุขวดหลายยี่ห้อ ทั้งที่ยังไม่ได้เปิดขวดเสียด้วยซ้ำ และนี่อาจสะท้อนปัญหาของการผลิตน้ำดื่มและบรรจุลงในขวดพลาสติก ซึ่งผู้บริโภคคาดหวังว่าจะได้ดื่มน้ำเปล่าที่สะอาดบริสุทธิ์ ไม่มีสิ่งใดเจือปน แม้แต่พลาสติกขนาดเล็กจิ๋ว
อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แถลงว่า จากผลการศึกษาขั้นต้น ไมโครพลาสติกที่พบในน้ำดื่มบรรจุขวดไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้ดื่ม เนื่องจากชิ้นไมโครพลาสติกขนาดใหญ่ทั้งหมด และพวกชิ้นขนาดเล็กส่วนใหญ่ จะถูกขับถ่ายออกนอกร่างกาย โดยไม่ถูกดูดซึมเข้าไปในเนื้อเยื่อทางเดินอาหาร
ย้อนกลับมาที่ผลการวิจัย ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแม็กกิล ในเมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ได้พบไมโครพลาสติกมากถึง 11,600 ล้านชิ้น หลังจากเอาถุงชาเพียงถุงเดียวไปแช่ในน้ำร้อนจัด 95 องศาเซลเซียส เหมือนกันกับเวลาที่ชงน้ำชา ปริมาณของชิ้นไมโครพลาสติกขนาดเล็กจิ๋วซึ่งมองไม่เห็นจากถุงชานี้ นับว่ามีจำนวนมหาศาลกว่าปริมาณที่เคยตรวจพบในผลิตภัณฑ์อาหารชนิดอื่นใด หรือแม้แต่ในกรณีของน้ำดื่มบรรจุขวดก่อนหน้านี้
แต่อย่าพึ่งแตกตื่นตกใจกันไป โดยเฉพาะกับผู้ที่ชอบชงน้ำชา เพราะถุงชาซึ่งนำมาวิจัยเป็นถุงชนิดตาข่ายพลาสติก ที่มีรูปทรงปิรามิดและเชื่อกันว่าทำให้น้ำร้อนเข้าไปในถุงได้ดีขึ้น ไม่ใช่ถุงชาชนิดกระดาษที่อาจจะมีพลาสติกอยู่เพียงเล็กน้อยในการซีลปิดรอบถุง ดังนั้น อุทาหรณ์สำหรับผู้ที่กังวลว่าจะดื่มน้ำชาผสมไมโครพลาสติกเข้าไปก็คือ ควรหลีกเลี่ยงถุงชายี่ห้อที่ทำจากพลาสติก และใช้ถุงชาที่ทำจากกระดาษ หรือไม่ก็ตักใบชาไปชงดื่มโดยตรงเลย
เรื่อง: รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์
ไมโครพลาสติก 在 ไมโครพลาสติก... - กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม | Facebook 的推薦與評價
ไมโครพลาสติก ภัยที่มองไม่เห็น . ย้อนกลับไปตั้งแต่ยุคที่มนุษย์เริ่มคิดค้นและผลิตพลาสติกในช่วงประมาณ พ.ศ.2443 ผ่านไปกว่า 120 ปี... ... <看更多>
ไมโครพลาสติก 在 ปัญหา “ไมโครพลาสติก” รุนแรงพบปนเปื้อนมากับฝน 74 ตันต่อปี 的推薦與評價
ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโอ๊คแลนด์ในนิวซีแลนด์พบว่า มี ไมโครพลาสติก ปนเปื้อนอยู่รอบตัวผู้คนในเมือง โดยพบ ไมโครพลาสติก ตกลงมาในเมืองมากถึง ... ... <看更多>