คดีตอนปี 60จำเลยอยู่ระหว่างยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาลฏีกา
UPDATE: ศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุกเสกโลโซ 2 ปี 18 เดือนไม่รอลงอาญา เสพยา-ข่มขู่เจ้าหน้าที่จับกุม ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์ขอปล่อยตัวชั่วคราว มูลค่า 6 เเสนบาทศาลพิจารณาประกันแล้ว
เมื่อวันที่ 7 พ.ค. ที่ห้องพิจารณา 301 ศาลอาญามีนบุรี ถ.สีหบุรานุกิจ ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ใน คดีหมายเลขดำ 1662/2561 ที่พนักงานอัยการสำนักงานคดีอาญา 12 (มีนบุรี) เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง “นายเสกสรรค์ ศุขพิมาย” หรือเสก โลโซ ศิลปินร็อกเกอร์ชื่อดัง อายุ 46ปี เป็นจำเลย ในความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติตามหน้าที่ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 เสพยาเสพติด และมีอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน พ.ศ.2490 ที่ศาลชั้นต้น อ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 25 ต.ค.61 พิพากษาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดทั้ง 3 ข้อหา ให้จำคุก ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ 1 ปี รับสารภาพลดโทษเหลือ 6 เดือน ฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่โดยขู่เข็ญว่าจะประทุษร้ายโดยมีอาวุธปืน ให้จำคุก 1 ปี 6 เดือน และฐานเสพยาฯ จำคุกอีก 6 เดือน รวมจำคุกคดีนี้ทั้งสิ้น เป็น 1 ปี 18 เดือน และให้บวกโทษของศาลอาญาคดีทำร้ายร่างกายสาวคนสนิทอดีตภรรยาอีก 1 ปี 3 เดือน เป็นจำคุกจำเลยทั้งสิ้น 2 ปี 21 เดือน โดยศาลไม่รอการลงโทษเเม้ว่าจำเลยอ้างป่วยเป็นโรคไบโพล่าขณะกระทำผิดเรื่องจากเห็นว่าจากพฤติการณ์การสื่อสารกับเจ้าหน้าที่พบว่าจำเลยรู้ผิดชอบดี จึงไม่อาจอ้างภาวะป่วยดังกล่าวได้ การกระทำของจำเลยนั้นไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย ซึ่งศาลเคยให้โอกาสกลับตัวเป็นคนดีในการรอลงอาญาคดีอื่นไว้แล้วแต่จำเลยยังมากระทำผิดซ้ำในช่วงเวลารอลงอาญาอีก จึงไม่สมควรให้รอลงอาญา และให้นับโทษจำเลยต่อจากคดี พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ของศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชด้วย
ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือแล้ว พิพากษาแก้เป็นว่าฐานมีอาวุธปืนซึ่งเป็นของผู้อื่นที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมายและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจำคุก 5 เดือนลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 คงจำคุก 3 เดือนเมื่อรวมกับโทษฐานอื่นตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นจำคุก 1 ปี 15 เดือนบวกโทษจำคุก 1 ปี 3 เดือน ที่รอการลงโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ3705/2559 ของศาลอาญาเข้ากับโทษของจำเลย ในคดีนี้ เป็นจำคุก 2 ปี 18 เดือนยกคำขอให้นับโทษต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 971 / 2561ของศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
นางวิภากรณ์ หรือ กานต์ อดีตภรรยาของ เสก โลโซ ได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นเงินสด 600,000 บาท เพื่อขอปล่อยชั่วคราว เสก โลโซ ศิลปินร็อกเกอร์ชื่อดัง อายุ 46 ปี ระหว่างฎีกาคดี โดยระบุว่า จำเลยเป็นศิลปินชื่อดัง หากเดินทางไปไหนย่อมจะมีคนรู้จัก ดังนั้นถ้าได้รับการปล่อยตัวจะหลบหนีไปไหนไม่ได้ และในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็ปฏิบัติตามเงื่อนไขเวลาที่จำเลยจะเดินทางไปต่างประเทศได้ยื่นคำร้องขออนุญาตทุกครั้งก่อน ประกอบกับจำเลยมีอาการป่วยไพโบล่า หากต้องเข้าไปใช้ชีวิตในเรือนจำก่อนคดีถึงที่สุดแล้วอาจเกิดอันตรายกับตัวเองมากกว่าบุคคลทั่วไปด้วยซึ่งศาลพิจารณาคำร้องและความน่าเชื่อถือของหลักทรัพย์แล้ว จึงอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลย โดยตีราคาประกัน 600,000 บาท
สำหรับคดีนี้ สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 60 เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.คันนายาว ได้เตรียมเข้าจับกุม “เสก โลโซ” ที่บ้านพัก “ศุขพิมาย” ภายในหมู่บ้านนันทวัน ย่านสุขาภิบาล 5 กทม. ตามหมายจับศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช เลขที่ 478/2560 ลงวันที่ 30 ธ.ค. 60 ข้อหากระทำผิด พ.ร.บ.อาวุธปืน โดยมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต , พาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว และยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้าน หรือที่ชุมนุมชน” ซึ่งมีอายุความ 15 ปี จากกรณีที่ “เสก โลโซ” เคยก่อเหตุเมื่อเวลา 01.00 น.วันที่ 29 ธ.ค.60 ได้ยิงปืน 10 นัดภายในงานฉลองสมโภชและครบรอบ 250 ปี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในบริเวณวัดเขาขุนพนม ต.บ้านเกาะ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราชโดยอ้างว่าเป็นการบวงสรวงสมเด็จพระเจ้าตากสิน แต่ในวันที่ 31 ธ.ค.60 ขณะเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.คันนายาว จะเข้าจับกุม “นักร้องดัง” ได้ต่อสู้ขัดขวาง ข่มขู่ และในขณะนั้น นายเสกสรร มีอาวุธปืนพกออโตเมติก ขนาด 9 มม. จำนวน 1 กระบอก และกระสุนปืนออโตเมติกอีกจำนวน 6 นัด และจำเลยเสพเมทเอมเฟตามีน กับเสพ 3,4 เมทิลลีนไดออกซีเมทเอมเฟตามีน อันเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 เข้าสู่ร่างกายซึ่งจำนวนและน้ำหนักเท่าใดไม่ปรากฏชัด
ภาพ: แฟนเพจ SEK LOSO
#TheReporters #เสกโลโซ #ศาลอุทธรณ์
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過166萬的網紅HappyJoe,也在其Youtube影片中提到,เพลง ก เอ๋ย ก ไก่ แบบดั้งเดิม พร้อมการ์ตูนน่ารัก หลังจบเพลงมีการอ่านทวนเพื่อให้น้องๆ ท่องตามพร้อมๆ กันค่ะ Let Learn Thai Alphabet With Thai Alphabet ...
2490 คศ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
ชัยชนะของปรัชญากฎหมายปฏิฐานนิยมที่ค้ำยันด้วยกฎหมายประวัติศาสตร์และผูกอิงกับนิติศาสตร์เชิงสังคมวิทยาที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
เมื่อพิจารณาศึกษาตามแนวคิดที่มีบทบาทมากหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 แนวความคิดปรัชญากฎหมายตะวันตกโดยเฉพาะปรัชญากฎหมายที่สำคัญ คือ ปรัชญากฎหมายธรรมชาติ ปรัชญากฎหมายปฏิฐานนิยม ปรัชญากฎหมายประวัติศาสตร์ แนวคิดมาร์กซิสต์ รวมไปถึงแนวคิดนิติศาสตร์เชิงสังคมวิทยา เป็นต้น ที่เข้ามาหลั่งไหลรับเอาแนวคิดปรัชญากฎหมายตะวันตกเกือบทั้งหมด และที่สำคัญแนวคิดปรัชญากฎหมายตะวันตกต่างช่วงชิงปลูกฝังคนในสังคมไทยผ่านทางระบบกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคม มากกว่ากฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของคนในสังคม ซึ่งเราจะพบว่า มีปรัชญากฎหมายอยู่ 2 สำนักที่ต่อสู้แย่งชิงครอบงำคนในสังคมไทย คือ ปรัชญากฎหมายธรรมชาติกับปรัชญากฎหมายปฏิฐานนิยมที่คอยค้ำยันด้วยปรัชญากฎหมายประวัติศาสตร์ ส่วนนิติศาสตร์เชิงสังคมวิทยาจะเป็นตัวขับเคลื่อนทุกสำนักกฎหมาย และผลสรุปถึงปัจจุบันนับเป็นความพ่ายแพ้ของสำนักกฎหมายธรรมชาติที่มีต่อ “ปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย” ที่มีสำนักกฎหมายประวัติศาสตร์คอยค้ำยันโดยมีนิติศาสตร์เชิงสังคมวิทยาเป็นตัวขับเคลื่อนออกมาเป็นกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคม สามารถมีคำตอบได้อย่างน้อย 4 คำตอบ ดังนี้
คำตอบที่ 1 การบัญญัติรับรองการรัฐประหารชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่ผสมผสานกับปรัชญาตะวันตกที่มีเกลื่อนกลืนลำบากลูกคอ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังดีกว่ารัฐธรรมนูญฉบับอื่น ๆ ที่ผ่านมานับแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองใน “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์” (Absolute Monarchy) มาเป็นการปกครองใน “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ” (Democracy) แต่รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวก็ได้ถูกล้มล้างโดยคณะปฏิรูประบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (คปค.) ได้จัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2549 (ฉบับชั่วคราว) ขึ้นมาบริหารประเทศ รองรับประกาศหรือคำสั่งของ คปค. ทั้งก่อนหน้าและหลังเป็นกฎหมาย ตามมาตรา 36 และ 37 เป็นการยอมรับโดยสดุดีว่าเป็น “กฎหมายตามแนวคิดแบบปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย” อย่างแท้จริง และได้ถ่ายทอดแนวคิดปรัชญาแบบปฏิฐานนิยมมายังมาตรา 309 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และเข้มข้นขึ้นมาอีกระดับหนึ่งหลังจาการรัฐประหารยึดอำนาจโดย “คณะรักษาความสงบแห่งชาติ” (คสช.) เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 และได้ใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 และที่สำคัญแนวคิดปรัชญาปฏิฐานนิยมยังได้มีอิทธิพลล้นเหลือต่อการเมืองปกครองไทยภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 44 ของหัวหน้า คสช. (คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ) มีอำนาจอธิปไตยสูงสุดใน “ฐานะรัฏฐาธิปัตย์” เหนือกว่าฝ่ายนิติบัญญัติ บริหารและอำนาจตุลาการ และการใช้อำนาจดังกล่าวนั้นก็ไม่สามารถเข้าตรวจสอบได้จะเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการเป็น “หลักการปกครองแบบรัฐตำรวจ” (Police State) และในปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 25560 พบว่า ยังคงรับอิทธิพลของปฏิฐานนิยมอยู่มากล้น เช่น ในมาตรา 279 รับรองความชอบด้วยกฎหมายและความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประกาศของคณะปฏิวัติ (ประกาศ คสช.) และที่สำคัญภายใต้มาตรา 265 ได้รองรับการใช้อำนาจ คสช. ตามมาตรา 44 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 อยู่เช่นเดิมจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่มาบริหารประเทศ ดังนั้น การกระทำของหัวหน้า คสช. พึงต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้อำนาจเป็นอย่างยิ่งและการใช้อำนาจ
คำตอบที่ 2 คำพิพากษาของศาลและคำวินิจฉัยของตุลการรับรองการรัฐประหารชอบด้วยกฎหมาย
คำตอบที่ 2 คำพิพากษาของศาลและคำวินิจฉัยของตุลการรับรองการรัฐประหารชอบด้วยกฎหมาย จะเห็นได้จากคำพิพากษาของศาลฎีกาและคำวินิจฉัยตุลาการรัฐธรรมนูญที่ปรากฏต่อเนื่องจนคล้ายเป็นบรรทัดฐานประเพณีไปแล้ว ได้แก่
1. คำพิพากษาฎีกาที่ 1153 / 1154 / 2495 : “…..การล้มล้างรัฐบาลเก่าตั้งเป็นรัฐบาลใหม่โดยใช้กำลังนั้นในตอนต้นอาจไม่ชอบด้วยกฎหมายจนกว่าประชาชนจะได้ยอมรับนับถือแล้วเมื่อเป็นรัฐที่ถูกต้องตามความเป็นจริง คือ ความหมายว่าประชาชนได้ยอมรับนับถือแล้ว ผู้ก่อการกบฏล้มล้างรัฐบาลดังกล่าวก็ต้องเป็นความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 102…..”
2. คำพิพากษาฎีกาที่ 45 / 2496 : “ข้อเท็จจริงได้ความว่าใน พ.ศ. 2490 คณะรัฐประหารได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศได้เป็นผลสำเร็จ การบริหารประเทศชาติในลักษณะเช่นนี้ คณะรัฐประหารย่อมมีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข ยกเลิกและออกกฎหมายตามระบบแห่งการปฏิวัติเพื่อบริหารประเทศชาติต่อไป มิฉะนั้นประเทศชาติจะตั้งด้วยความสงบไม่ได้ ดังนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 จึงเป็นกฎหมายอันสมบูรณ์……”
3. คำพิพากษาฎีกาที่ 1662 / 2502 : ศาลฎีกาเห็นว่าเมื่อ พ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศไทยได้เป็นผลสำเร็จ หัวหน้าปฏิวัติย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจการปกครองบ้านเมือง ข้อความใดที่หัวหน้าคณะปฏิวัติสั่งบังคับประชาชนก็ต้องถือเป็นกฎหมาย แม้พระมหากษัตริย์จะมิได้ทรงตราออกมาด้วย ความแนะนำหรือความยินยอมของสภาผู้แทนราษฎรหรือสถาบันนิติบัญญัติของประเทศก็ตาม ดังนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 45 / 2496 ฉะนั้นคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 (บุคคลอันธพาล) ซึ่งประกาศคำสั่งของหัวหน้าปฏิวัติบังคับแก่ประชาชนดังกล่าวข้างต้นเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในการปกครองนั้นด้วย…”
4. คำพิพากษาฎีกาที่ 1234 / 2523 : “……แม้จะมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยออกประกาศใช้แล้วก็ตาม แต่ก็หาได้มีกฎหมายยกเลิกประกาศหรือคำสั่งคณะปฏิวัติหรือคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินไม่ประกาศหรือคำสั่งนั้นยังคงเป็นกฎหมายใช้บังคับอยู่
5. คำวินิจฉัยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ 3-5/2550 ในประเด็นต้องวินิจฉัยข้อ 12 ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549 ใช้บังคับกับการยุบพรรคการเมือง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 ย้อนหลังได้ เพราะถือว่าประกาศดังกล่าวเป็นกฎหมาย
คำตอบที่ 3 การยืนยันด้วยแนวคิดกฎหมายสำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ในเรื่องจารีตประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เมื่อพิจารณาศึกษาถึงในประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ทรงมีพระราชดำริทางการเมืองได้และจะทรงทำตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีที่จะรับผิดชอบต่อรัฐสภาและรัฐสภาก็รับผิดชอบต่อประชาชน ดังนั้นจึงถือว่า “พระมหากษัตริย์ไม่ทรงกระทำผิด” (The King can do no wrong) ที่ไม่ทรงทำผิด เพราะพระองค์ทรงทำตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีในฐานะผู้ลงนามรับสนองบรมราชโองการและผู้ถวายคำแนะนำ เกิดความผิดทางการเมือง ทางกฎหมายขึ้น คนถวายคำแนะนำต้องรับผิดชอบและถือเป็นธรรมเนียมว่า “พระองค์ทรงมีพระราชอำนาจสำคัญ 3 ประการ คือ พระราชอำนาจที่จะให้คำแนะนำ พระราชอำนาจที่จะสนับสนุนและให้กำลังใจ และพระราชอำนาจที่จะทรงลงเตือน” และที่สำคัญพระมหากษัตริย์ได้วางพระองค์ใกล้ชิดกับประชาชน กล่าวคือ พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ถ้าไม่มีการจำกัดอำนาจพระมหากษัตริย์ไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว พระมหากษัตริย์ก็จะมีอำนาจทุกประการ ถ้ามีการจำกัดอำนาจของพระมหากษัตริย์ไว้ในรัฐธรรมนูญ พระองค์ก็มีอำนาจนั้น ถ้าไม่จำกัดไว้ที่เหลือ คือ มีอำนาจ ซึ่ง ศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้กล่าวต่อไปว่า “การตีความพระราชอำนาจ” ของพระมหากษัตริย์ยังคงเป็นปัญหาในระบบกฎหมายไทย โดยเฉพาะในเรื่องของพระราชอำนาจเกี่ยวกับการใช้พระราชอำนาจในจารีตการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
คำตอบที่ 4 การหลอมรวมปรัชญากฎหมายปฏิฐานนิยมกับนิติศาสตร์เชิงสังคมวิทยาภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
ภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่ได้การหลอมรวมปรัชญากฎหมายปฏิฐานนิยมกับนิติศาสตร์เชิงสังคมวิทยา จะเห็นได้จากมาตราต่าง ๆ ในรัฐธรรมนูญ เช่น กำหนดหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ คือ
การกำหนดเป้าหมายการปฏิรูปประเทศ
ภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 257 การปฏิรูปประเทศต้องดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้
1. ประเทศชาติมีความสงบเรียบร้อย มีความสามัคคีปรองดอง มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีความสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านวัตถุกับการพัฒนาด้านจิตใจ
2. สังคมมีความสงบสุข เป็นธรรม และมีโอกาสอันทัดเทียมกันเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำ
3. ประชาชนมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
การกำหนดกรอบการปฏิรูปประเทศ
ภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 258 กำหนดให้ดำเนินการปฏิรูปประเทศอย่างน้อยในด้านต่าง ๆ ให้เกิดผล ดังต่อไปนี้
1.1. การปฏิรูปประเทศด้านการเมือง
การกำหนดกรอบการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง มีดังนี้
1. ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองรวมตลอดทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ รู้จักยอมรับในความเห็นทางการเมืองโดยสุจริตที่แตกต่างกัน และให้ประชาชนใช้สิทธิเลือกตั้งและออกเสียงประชามติโดยอิสระปราศจากการครอบงำไม่ว่าด้วยทางใด
2. ให้การดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองเป็นไปโดยเปิดเผยและตรวจสอบได้ เพื่อให้พรรคการเมืองพัฒนาเป็นสถาบันทางการเมืองของประชาชนซึ่งมีอุดมการณ์ทางการเมืองร่วมกัน มีกระบวนการให้สมาชิกพรรคการเมืองมีส่วนร่วมและมีความรับผิดชอบอย่างแท้จริงในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองและการคัดเลือกผู้มีความรู้ความสามารถ ซื่อสัตย์สุจริต และมีคุณธรรมจริยธรรม เข้ามาเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม
3.มีกลไกที่กำหนดความรับผิดชอบของพรรคการเมืองในการประกาศโฆษณานโยบายที่มิได้วิเคราะห์ผลกระทบ ความคุ้มค่า และความเสี่ยงอย่างรอบด้าน
4. มีกลไกที่กำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและรับผิดชอบต่อประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่ของตน
5. มีกลไกแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองโดยสันติวิธีภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
1.2 การปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
การกำหนดกรอบการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มีดังนี้
1. ให้มีการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินและการจัดทำบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน และเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน
2. ให้มีการบูรณาการฐานข้อมูลของหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานเข้าด้วยกัน เพื่อให้เป็นระบบข้อมูลเพื่อการบริหารราชการแผ่นดินและการบริการประชาชน
3. ให้มีการปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างและระบบการบริหารงานของรัฐและแผนกำลังคนภาครัฐให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ ๆ โดยต้องดำเนินการให้เหมาะสมกับภารกิจของหน่วยงานของรัฐแต่ละหน่วยงานที่แตกต่างกัน
4. ให้มีการปรับปรุงและพัฒนาการบริหารงานบุคคลภาครัฐเพื่อจูงใจให้ผู้มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริงเข้ามาทำงานในหน่วยงานของรัฐ และสามารถเจริญก้าวหน้าได้ตามความสามารถและผลสัมฤทธิ์ของงานของแต่ละบุคคล มีความซื่อสัตย์สุจริต กล้าตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องโดยคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว มีความคิดสร้างสรรค์และคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อให้การปฏิบัติราชการและการบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีมาตรการคุ้มครองป้องกันบุคลากรภาครัฐจากการใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรมของผู้บังคับบัญชา
5. ให้มีการปรับปรุงระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐให้มีความคล่องตัว เปิดเผย ตรวจสอบได้ และมีกลไกในการป้องกันการทุจริตทุกขั้นตอน
1.3 การกำหนดกรอบการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย
การกำหนดกรอบการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย มีดังนี้
1. กำหนดให้มีกลไกให้ดำเนินการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับต่าง ๆ ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ให้สอดคล้องกับหลักการตามมาตรา ๗๗ และพัฒนาให้สอดคล้องกับหลักสากล โดยให้มีการใช้ระบบอนุญาตและระบบการดำเนินการโดยคณะกรรมการเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อให้การทำงานเกิดความคล่องตัว โดยมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน และไม่สร้างภาระแก่ประชาชนเกินความจำเป็น เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ
2.ปฏิรูประบบการเรียนการสอนและการศึกษาอบรมวิชากฎหมายเพื่อพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายให้เป็นผู้มีความรอบรู้ มีนิติทัศนะ และยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรมของนักกฎหมาย
3.พัฒนาระบบฐานข้อมูลกฎหมายของรัฐโดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลกฎหมายได้สะดวก และสามารถเข้าใจเนื้อหาสาระของกฎหมายได้ง่าย
4.จัดให้มีกลไกช่วยเหลือประชาชนในการจัดทำและเสนอร่างกฎหมาย
1.4 การกำหนดกรอบการปฏิรูปด้านกระบวนการยุติธรรม
การกำหนดกรอบการปฏิรูปด้านกระบวนการยุติธรรม ดังนี้
1.ให้มีการกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมที่ชัดเจนเพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมโดยไม่ล่าช้า และมีกลไกช่วยเหลือประชาชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ รวมตลอดทั้งการสร้างกลไกเพื่อให้มีการบังคับการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในสังคม
2. ปรับปรุงระบบการสอบสวนคดีอาญาให้มีการตรวจสอบและถ่วงดุลระหว่างพนักงานสอบสวนกับพนักงานอัยการอย่างเหมาะสม กำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ชัดเจนเพื่อมิให้คดีขาดอายุความ และสร้างความเชื่อมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการในการสอบสวนคดีอาญา รวมทั้งกำหนดให้การสอบสวนต้องใช้ประโยชน์จากนิติวิทยาศาสตร์ และจัดให้มีบริการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์มากกว่าหนึ่งหน่วยงานที่มีอิสระจากกันเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างมีทางเลือก
3. เสริมสร้างและพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรขององค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมให้มุ่งอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนโดยสะดวกและรวดเร็ว
4.ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่ อำนาจ และภารกิจของตำรวจให้เหมาะสม และแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจให้เกิดประสิทธิภาพ มีหลักประกันว่าข้าราชการตำรวจจะได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมได้รับความเป็นธรรมในการแต่งตั้ง และโยกย้าย และการพิจารณาบำเหน็จความชอบตามระบบคุณธรรมที่ชัดเจน ซึ่งในการพิจารณาแต่งตั้งและโยกย้ายต้องคำนึงถึงอาวุโสและความรู้ความสามารถประกอบกันเพื่อให้ข้าราชการตำรวจสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีอิสระ ไม่ตกอยู่ใต้อาณัติของบุคคลใด มีประสิทธิภาพและภาคภูมิใจในการปฏิบัติหน้าที่ของตน
1.5 การกำหนดกรอบการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา
การกำหนดกรอบการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา มีดังนี้
1. ให้สามารถเริ่มดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาตามมาตรา 54 วรรค 2 เพื่อให้เด็กเล็กได้รับการพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาให้สมกับวัยโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
2. ให้ดำเนินการตรากฎหมายเพื่อจัดตั้งกองทุนตามมาตรา 54 วรรค 6 ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
3. ให้มีกลไกและระบบการผลิต คัดกรองและพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครูและอาจารย์ให้ได้ผู้มีจิตวิญญาณของความเป็นครู มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความสามารถและประสิทธิภาพในการสอน รวมทั้งมีกลไกสร้างระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลของผู้ประกอบวิชาชีพครู
4. ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนทุกระดับเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความถนัดและปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว โดยสอดคล้องกันทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่
1.6 การกำหนดกรอบการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ
การกำหนดกรอบการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ขจัดอุปสรรคและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อให้ประเทศชาติและประชาชนได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ อย่างยั่งยืน โดยมีภูมิคุ้มกันที่ดี
2. สร้างกลไกเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการนำความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
3.ปรับปรุงระบบภาษีอากรให้มีความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มพูนรายได้ของรัฐด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ และปรับปรุงระบบการจัดทำและการใช้จ่ายงบประมาณให้มีประสิทธิภาพและสัมฤทธิผล
4.สร้างกลไกเพื่อส่งเสริมสหกรณ์และผู้ประกอบการแต่ละขนาดให้มีความสามารถในการแข่งขันอย่างเหมาะสม และส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจเพื่อสังคมและวิสาหกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างกลไกเพิ่มโอกาสในการทำงานและการประกอบอาชีพของประชาชน
1.7 การกำหนดกรอบปฏิรูปประเทศด้านอื่นด้านอื่น ๆ
การกำหนดกรอบปฏิรูปประเทศด้านอื่นด้านอื่น ๆ เช่น
1.ให้มีระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรมและยั่งยืนโดยคำนึงถึงความต้องการใช้น้ำในทุกมิติ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศประกอบกัน
2. จัดให้มีการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม รวมทั้งการตรวจสอบกรรมสิทธิ์และการถือครองที่ดินทั้งประเทศเพื่อแก้ไขปัญหากรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองที่ดินอย่างเป็นระบบ
3. จัดให้มีระบบจัดการและกำจัดขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านอื่น ๆ ได้
4. ปรับระบบหลักประกันสุขภาพให้ประชาชนได้รับสิทธิและประโยชน์จากการบริหารจัดการและการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพและสะดวกทัดเทียมกัน
5. ให้มีระบบการแพทย์ปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม
เมื่อพิจารณาศึกษาหมวด 16 หมวดปฏิรูปประเทศ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แล้วเราจะพบว่าในบทเฉพะกาลมาตรา 270 ยังกำหนดให้วุฒิสภากำหนดควบคุมติดตามการปฏิรูปประเทศ ซึ่งวุฒิสภา 250 คน ก็มาจากการแต่งตั้ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจสูงสุดชั่วคราวที่มาจากการรัฐประหาร ซึ่งเป็นองค์กรที่รัฐธรรมนูญและศาลได้รับรองว่าเป็นองค์กรที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลแนวคิดแบบปฏิฐานนิยมทางกฎหมายปรากฏเด่นชัดในสังคมไทยโดยมีชัยชนะเหนือปรัชญากฎหมายธรรมชาติที่เน้นในเรื่องของสิทธิเสรีภาพต่าง ๆ ให้อยู่ในกรอบหรือในวงที่รัฐหรือผู้มีอำนาจปกครองกำหนดไว้ด้วยตัวบทกฎหมายและองค์กรผู้มีอำนาจใช้ตีความกฎหมาย
บรรณานุกรม
จรัญ โฆษณานันท์ “นิติปรัชญาภาคสองปรัชญากฎหมายไทย” กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง พิมพ์ครั้งที่ 6, 2545 หน้า 424-425
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ “พระราชอำนาจ พระมหากษัตริย์ไทยไม่เหมือนใครแต่ไม่ทั้งโลก” หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน 2554 หน้า 2)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
วรเจตน์ ภาคีรัตน์ “การปฏิวัติสยาม 2475 (ชั่วคราว) ? พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์และอำนาจตุลาการหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง” วารสารฟ้าเดียวกัน ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2553 หน้า 70
อรทัย อินต๊ะไชยวงศ์และสิทธิกร ศักดิ์แสง “ข้อสังเกตเกี่ยวกับหลักการปกครอง “แบบนิติรัฐ” การปกครอง “แบบนิติธรรม” และการปกครอง “แบบรัฐตำรวจ” บริบทประเทศไทย” วารสารวิชาการวิจัยและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ปีที่ 12,ฉบับที่ 34,2560
2490 คศ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
“วิเคราะห์คดีประธานบริษัทอิตาเลียนไทยกับพวกฆ่าสัตว์ป่าคุ้มครองและมีอาวุธเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า”
(อนึ่งข้อมูลคัดมาจากไทยโพสต์ออนไลน์ วันอาทิตย์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2561 แล้วผู้เขียนนำมาวิเคราะห์เพิ่มเติม)
ความเป็นไปและบทสรุปตอนท้ายของรูปคดี-ผลแห่งคดีบุกรุกป่า-ล่าสัตว์ป่า ที่โด่งดังเวลานี้ ไม่ว่าจะออกมาทางไหน ผลที่จะตามมา หนักหน่วง-รุนแรง กว่ากันมาก โดยเฉพาะหากตำรวจมีความเห็นสั่งฟ้อง-อัยการเอาด้วย สั่งฟ้อง ยื่นฟ้องต่อศาล และผลแห่งคดีในชั้นศาลยุติธรรม ไม่ค่อยจะเป็นผลดีต่อเปรมชัย เดิมพันชีวิต-ชื่อเสียง ของเปรมชัยรอบนี้จึงพลาดไม่ได้
ประเมินได้ว่า ทนายความ-ฝ่ายกฎหมาย ที่ประธาน บมจ.อิตาเลียนไทยฯ ระดมมือดีมาสู้คดี จะมุ่งเน้น-เทน้ำหนัก การสู้คดี ไปที่ปมใหญ่ ว่า “แม้เปรมชัยจะเป็นเจ้าของรถที่นำทีมเข้าไปในเขตทุ่งใหญ่ฯ และเป็นเจ้าของปืนที่เจ้าหน้าที่ยึดกุมได้ แต่เปรมชัยไม่ได้เป็นคนลงมือ-สั่งการ ให้มีการล่าสัตว์ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรดังกล่าวแต่อย่างใด”
ด้วยข้อต่อสู้ว่า
“ไม่มีพยานบุคคลคนใด โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ยืนยันหรือเห็นว่า เปรมชัยมีการนำคณะออกล่าสัตว์ป่า หรือพบเห็นว่า นายเปรมชัยใช้ปืนหรืออุปกรณ์ล่าสัตว์ที่ยึดกุมได้ ไปไล่ล่าสัตว์ป่าในทุ่งใหญ่นเรศวร” เว้นเสียแต่ตำรวจจะมีพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้ว่า เปรมชัยเป็นคนล่าสัตว์ป่าในเขตอุทยาน ถ้าแบบนั้นเปรมชัยกับทนายความก็คงต้องสู้คดีด้วยความลำบากพอสมควร หากต้องการให้ชนะคดี
ข้อหาที่สำคัญทึ่เจ้าหน้าที่อุทยานร้องทุกข์กล่าวโทษ
สำหรับข้อหาความผิดที่เจ้าหน้าที่อุทยานได้แจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษ เปรมชัยกับพวก ต่อพนักงานสอบสวน สภ.ทองผาภูมิ กาญจนบุรี ความผิดตาม พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2535 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ 2508 และพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 ส่วนคดีจะเป็นเช่นไรต่อนั้น ขั้นตอนอยู่ที่เจ้าพนักงานสอบสวน ซึ่งเบื้องต้นการกล่าวโทษคณะของเปรมชัย มีด้วยกันทั้งหมด 6 ข้อหา ได้แก่
1.ฐานร่วมกันล่าสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 36 และมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
2.ฐานร่วมกันล่าสัตว์ป่าคุ้มครองโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 16 และมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
3.ฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งซากของสัตว์ป่าคุ้มครองโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 19 และมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
4.ฐานนำเครื่องมือสำหรับใช้ในการล่าสัตว์ป่าหรือจับสัตว์หรืออาวุธใดๆ เข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามข้อ 1 (1) ของกฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2538) ออกตามความตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
5.ฐานร่วมกันเก็บหาของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507
6.สำหรับความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 ขอให้พนักงานสอบสวนดำเนินการแจ้งความกล่าวโทษตามฐานความผิดต่อไป
วิเคราะห์แนวทางคดี
เมื่อพิจารณาศึกษาจากข้อกล่าวหา ก็ต้องยอมรับว่า เปรมชัยกับพวกอ่วมแน่นอน หากสุดท้าย ปลายทางของคดีสิ้นสุดลงโดยที่ผลแห่งคดีไม่เป็นบวกกับฝ่ายนายเปรมชัยและพวก ยิ่งเมื่อช่วงนี้มีบางฝ่ายยกเคสคดีความที่ศาลยุติธรรมเคยตัดสินคดีความผิดในเรื่อง บุกรุกป่า-ตั้งแคมป์ล่าสัตว์ มาให้แลดูเป็นตัวอย่าง ก็คงสร้างความกดดันให้กับฝ่ายเปรมชัยกับทนายความไม่น้อย โดยเฉพาะคดีที่มีการพูดถึงกันมาก คือ
คดีที่ศาลฎีกาเคยตัดสินจำคุกอดีตสารวัตรปราณบุรี คดีล่าสัตว์ป่า อันเป็นคดีที่มีคำตัดสินเมื่อ 31 ม.ค.2560 ศาลจังหวัดเพชรบุรีอ่านคำพิพากษาฎีกา ในคดีเจ้าหน้าที่อุทยานแก่งกระจานจับกุม พ.ต.ท.ธีรยุทธ เกตุมั่งมี อดีตตำรวจภูธรปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ร่วมกับพวกรวม 9 คน พร้อมด้วยอาวุธปืน เข้าไปล่าสัตว์ป่าภายในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน พร้อมของกลางเป็นซากสัตว์ป่า เมื่อวันที่ 11 พ.ย.2555
คดีข้างต้น ศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้จำคุก พ.ต.ท.ธีรยุทธ 10 เดือน ส่วนผู้ต้องหาคนอื่นถูกจำคุกตามความผิดแต่ละกรรม
ซึ่งกว่าคดีจะจบลงด้วยคำตัดสินดังกล่าว เส้นทางคดีก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ไม่น้อย หลังจำเลยบางคนตอนแรกไม่ถูกสั่งฟ้อง ทำให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องส่ง พล.ต.ท.จรัมพร สุระมณี ผช.ผบ.ตร.เวลานั้น ลงไปควบคุมการสอบสวน และเริ่มสอบสวนบางแง่มุมของคดีใหม่ จนมีการสั่งฟ้อง พ.ต.ท.ธีรยุทธ เกตุมั่งมี พร้อมพวกรวม 9 คน ในข้อหาร่วมกันล่าสัตว์ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ความผิด พ.ร.บ.อาวุธปืน, พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ และ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
แน่นอนว่า บริบท-รูปคดี-พยานหลักฐานทางคดี ของ คดีบุกรุกป่า-ล่าสัตว์ แก่งกระจาน มีความแตกต่างกับ คดีเปรมชัย-ทุ่งใหญ่ฯ อยู่พอสมควร โดยเฉพาะ พยานหลักฐาน ที่จะโยงและเอาผิดเปรมชัย ซึ่งยังไม่รู้ว่า พนักงานสอบสวนจะสอบสวนทำคดีจนทำให้สำนวนคดีมีความแน่นหนารัดกุมได้แค่ไหน และมีพยานหลักฐานเด็ดทางคดีอย่างไร ที่ไม่เคยเปิดเผยกับสื่อมาก่อน
ดังนั้นการจะหวังว่า คดีเปรมชัยกับพวกจะจบลงแบบคดีบุกรุกป่า-ล่าสัตว์ แก่งกระจาน ถึงตอนนี้จึงยังอีกไกลที่จะมองไปถึงขั้นนั้น เพียงแต่พิจารณาไว้เป็นแนวทางข้อศึกษาบางอย่างได้
อย่างไรก็ตาม กับ คดีเปรมชัย-ล่าเสือดำ เมื่อคดีความยังเพิ่งเริ่มต้น ตำรวจ-อัยการ-ศาล ยังไม่ได้ชี้ขาด จนคดีถึงที่สุดว่า เปรมชัยกับพวกกระทำความผิดจริง
จุดนี้มองให้ครบทุกด้าน ทุกมิติ ก็ต้องรอดูการสู้คดีของผู้ถูกกล่าวหา โดยเฉพาะ เสี่ยเปรมชัยด้วยว่า จะมี “ไม้เด็ด-ไพ่ตาย" อะไรมาพลิกคดี ทำให้จากที่ตอนนี้ตกเป็น ผู้ต้องหา-จำเลยสังคม กลายเป็นผู้ชนะคดี จะใช่วิธีการอย่างที่ผู้คนในสังคมเชื่อว่าจะมี คนรับผิดแทนนาย หรือไม่ เรื่องนี้ ต้องรอดูกันยาวๆ
แต่เรื่องนี้หากทุกฝ่ายในกระบวนการเส้นทางคดี ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ-เปรมชัยกับพวก ในฐานะผู้ถูกกล่าวหา-อัยการ และศาล ต่างทำหน้าที่และว่ากันไปตามกระบวนการ ตามพยานหลักฐานและข้อกฎหมาย ไม่มีเล่นตุกติก นอกลู่นอกทาง ผลแห่งคดีออกมาแบบไหน สังคม-ประชาชน พร้อมรับฟังและใช้วิจารณญาณได้เอง ว่าจะเทน้ำหนักให้ฝ่ายไหน แต่อย่างไรก็ตามถ้าผลออกมาค้านความรู้สึกในทุกด้านๆ เรื่องคดีนี้คงไม่จบง่ายๆแน่นอน
สรุป คดีนี้สุดท้ายว่าตามพยานหลักฐาน โดยเฉพาะสำนวนของเจ้าหน้าตำรวจจะเป็นตัวคำตอบในคดีนี้ ว่า จะลงเอยอย่างในอนาคตในคดี แต่สำหรับ เปรมชัย “สังคมได้พิพากษาไปแล้ว ว่ามีความผิดที่ไม่น่าให้อภัย”
2490 คศ 在 HappyJoe Youtube 的精選貼文
เพลง ก เอ๋ย ก ไก่ แบบดั้งเดิม พร้อมการ์ตูนน่ารัก หลังจบเพลงมีการอ่านทวนเพื่อให้น้องๆ ท่องตามพร้อมๆ กันค่ะ
Let Learn Thai Alphabet With Thai Alphabet Song. Sing Thai Alphabet With Us :
CC Support : English Translation
ก เอ๋ย ก ไก่ (Gor oei Gor gai)
ข ไข่ ในเล้า (Kor kai Nai lao)
ฃ ฃวด ของเรา (Kor khuat Khong rao)
ค ควาย เข้านา (Kor kwai Khao na)
ฅ ฅนขึงขึง (Kor khon Kheung Khang)
ฆ ระฆัง ข้างฝา (Kor rakang Khang fha)
ง งู ใจกล้า (Ngor ngoo Jai gla)
จ จาน ใช้ดี (Jor jan Chai dee)
ฉ ฉิ่ง ตีดัง (Chor ching Thee dung)
ช ช้าง วิ่งหนี (Chor chang wing nee)
ซ โซ่ ล่ามที (Sor soh Lam thee)
ฌ เฌอ คู่กัน (Chor cher Khu gun)
ญ หญิง โสภา (Yor ying Soh pha)
ฎ ชฎา สวมพลัน (Dor chada Suam phlan)
ฏ ปฏัก หุนหัน (Tor pa tak Hoon hun)
ฐ ฐาน เข้ามารอง (Tho than Khao ma rong)
ฑ มณโฑ หน้าขาว (Tho mon toh Na khao)
ฒ ผู้เฒ่า เดินย่อง (Tho phu thao Dern young)
ณ เณร ไม่มอง (Nor nen Mai mong)
ด เด็ก ต้องนิมันต์ (Dor dek Tong ni mhon)
ต เต่า หลังตุง (Tor tao Lung tung)
ถ แบกขน (Tho thung Baek khon)
ท ทหาร อดทน (Tor tahan Ot thon)
ธ ธง คนนิยม (Tor tong Khon ni yom)
น หนู ขวักไขว่ (Nor noo khwak khwai)
บ ใบไม้ ทับถม (Bor bai mai Thup thom)
ป ปลา ตากลม (Por pla Ta glom)
ผ ผึ้ง ทำรัง (Pho phueng Thum rung)
ฝ ฝา ทนทาน (Foh fha Thon than)
พ พาน วางตั้ง (Por phan Wang tung)
ฟ ฟัน สะอาดจัง (For fun Sa ard jung)
ภ สำเภา กางใบ (Por sam pao Gang bai)
ม ม้า คึกคัก (Mor mah Kheug khug)
ย ยักษ์ เขี้ยวใหญ่ (Yor uak kheaw yai)
ร เรือ ภายไป (Ror Ruea Pie phai)
ล ลิง ไต่ราว (Lor ling Tai row)
ว แหวน ลงยา (Wor waen Lhong ya)
ศ ศาลา เงียบเหงา (Sor sa la Ngeap ngao)
ษ ฤาษี หนวดยาว (Sor rue see Nuat yow)
ส เสือ ดาวคะนอง (Sor suea Dow ka nong)
ห หีบ ใส่ผ้า (Hor heep Sai pha)
ฬ จุฬา ท่าผยอง (Lor ju la Tha pha young)
อ อ่าง เนืองนอง (Or ang Nueang nong)
ฮ นกฮูก ตาโต (Hor nok hook Ta toh)
น้องๆ ทราบไหมคะ ว่า ก เอ๋ย ก ไก่ - ฮ นกฮูกตาโต ในแบบ ที่เราท่องนี้ เป็นของ บริษัท ประชาช่าง จำกัด จัดพิมพ์เป็นหนังสือขึ้นมาครั้งแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 มีมาตั้งแต่ 68 ปีเลยนะคะ ส่วนชื่อของผู้แต่งนั้น ยังไม่มีใครทราบ ซึ่ง แบบเรียน ก ไก่ แบบดั้งเดิมนี้ เป็นกลอน ก ไก่ แบบที่นิยมของคนไทยมากที่สุดค่ะ
ขับร้องโดย : เส้นอูด้ง
สงวนลิขสิทธิ์ ภาพและเพลงใช้เพื่อเป็นสื่อการสอนเท่านั้น ห้ามคัดลอก ดัดแปลง ทำซ้ำ หรือใช้ในเชิงพาณิชย์
For Education Only Non Commercial.
กดติดตาม SUBSCRIBE
https://goo.gl/y0ye6l
เฟสบุ๊ค FACEBOOK PAGE
https://www.facebook.com/HappyKidThailand
ทวิสเตอร์ TWITTER
https://twitter.com/HappyKidNetwork