【陪你看國際新聞】日本為何付掉疫苗冷藏櫃費用?
日本這次送我們 100 萬劑疫苗,又把冷藏櫃費用約 200 萬給付掉了。說實在的,對國家來說,這不是大錢,畢竟疫苗就價值約 1 億台幣,但多做這個動作,送禮就是送到心坎裡。
- 獨/真朋友!日本贈AZ費用全包 17冷藏櫃費用破百萬 / TVBS
https://bit.ly/3xWQBxJ
比起一些說要捐疫苗,喊很大聲,免費炒新聞政治表演一整個月,但擺明知道有邪惡力量阻擋,最後應該買不成的,或者就算不小心買成也不想自己出錢的,大家都心裡有數。
我想說的是,現在的日本,很懂得用錢,他們似乎很清楚,錢可以再賺,預算高一點沒關係,但生命、安全、原則、技術、國家正常化、國際形象,一定要趁機做到夠。
畢竟,日本是全世界最會賺錢的國家之一。
例如:美國的 F-35 賣得便宜的合約,一台低於 1 億美元。但日本的 F-35 平均一台約 1.28 億美元。
這是因為日本買了比較多的引擎(重要技術),以及要求要由三菱重工組裝(徹底認識並掌握維修技術)。
- Exclusive: Japan secures extra cost cuts on U.S. F-35 fighter jet package - sources
https://reut.rs/3zRssKJ
又例如:美國在波斯灣戰爭時,要求日本出兵。但日本考量到國內的和平壓力,以及國際形象考量,最後決定不參與戰鬥,而是去幫忙掃雷,然後捐了 130 億美元!
- The Gulf War and Japanese Diplomacy
https://www.nippon.com/en/features/c00202/
但是,1991 年這次捐錢,日本捐得不乾脆,一開始開出來的數字是 1000 萬美元,美國反應超級冷淡,後來才漸漸加到 10 億、90 億,然後 130 億美元。
而且日本在付款時,還說要用日圓付款,美國又瞪了日本一眼,才答應用美元付款。
日本從此學會了,付錢要付得乾脆,要付得帥氣,要付得讓人印象深刻。
像是 2021 年的現在,疫苗用送的,冷藏費全包,這些都是幾千萬美元以內可以處理的,出手就要這樣。送佛送上天,送禮送到家。
在國家正常化的路上,我們應該向日本學習,自己有的口罩,或者日後如果我們有自己的疫苗,捐出手的時候,不要整天跟人家計較。
像是成天抱怨飛機坦克買貴了、交保護費、乞丐什麼的。那就讓人家感覺,這是愛錢勝過生命的一群人。
臺灣並不貧窮,在人均收入上,排名世界第 30 左右。
- List of countries by GDP (nominal) per capita / Wikipedia
https://bit.ly/3jdJAEA
我們最不需要的,就是為了省小錢,卻不經意把自己塑造成一個自私且吝嗇的形象。
其實臺灣人自己都做得很好,像是早期捐助日本的民間捐款,以及去年政府協調捐出的大量口罩,都捐得很漂亮,也換來善的循環,以及國際尊敬。
這是好事,我們繼續一起加油!
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「gdp per capita 2021」的推薦目錄:
- 關於gdp per capita 2021 在 蔡依橙的閱讀筆記 Facebook 的最佳解答
- 關於gdp per capita 2021 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於gdp per capita 2021 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於gdp per capita 2021 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的精選貼文
- 關於gdp per capita 2021 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
- 關於gdp per capita 2021 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答
- 關於gdp per capita 2021 在 Richest Countries in the Africa by GDP Per Capita - YouTube 的評價
- 關於gdp per capita 2021 在 Eurostat - Regional GDP per capita ranges from 30% of the... 的評價
gdp per capita 2021 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
กับดักรายได้ปานกลาง ปัญหาใหญ่ ของประเทศกำลังพัฒนา /โดย ลงทุนแมน
Middle Income Trap หรือ กับดักรายได้ปานกลาง
คือปัญหาสำคัญ ที่ทำให้เศรษฐกิจของบางประเทศ พัฒนาแบบก้าวกระโดดต่อไปได้ยากลำบาก
ซึ่งปัญหานี้เอง ที่ทำให้หลายประเทศไม่สามารถก้าวข้ามไปสู่ประเทศรายได้สูงได้เสียที
กับดักรายได้ปานกลาง คืออะไร
แล้วประเทศจะก้าวข้ามกับดักนี้ได้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
การจัดอันดับว่าประเทศไหน ถูกจัดอยู่ในรายได้ระดับใด ตามเกณฑ์ล่าสุดของ World Bank จะถูกวัดด้วยรายได้ประชาชาติต่อหัว หรือ GNI per capita
- ถ้ารายได้ประชาชาติต่อหัว น้อยกว่า 32,300 บาทต่อปี
ประเทศนั้นจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ต่ำ
- ถ้ารายได้ประชาชาติต่อหัว อยู่ในช่วง 32,300-391,200 บาทต่อปี
ประเทศนั้นจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง
- ถ้ารายได้ประชาชาติต่อหัว มากกว่า 391,200 บาทต่อปี
ประเทศนั้นจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้สูง
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ช่วยให้ประเทศหนึ่ง ประสบความสำเร็จในการยกระดับจากประเทศที่มีรายได้น้อยมาสู่กลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง อาจเกิดมาจากหลายปัจจัย
ยกตัวอย่างเช่น
- ค่าจ้างแรงงานในประเทศที่ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น จนสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้จำนวนมาก
- การเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคเศรษฐกิจที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ เช่น ภาคเกษตรกรรม ไปสู่ภาคเศรษฐกิจที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เช่น ภาคการบริการ และภาคอุตสาหกรรมการผลิต
- มีทรัพยากรธรรมชาติที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรพลังงานสามารถส่งออกจนสร้างรายได้มหาศาล หรือมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ จนสร้างมูลค่าจากการท่องเที่ยวได้มาก
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยดังกล่าว ที่ส่งให้ประเทศก้าวจากการเป็นประเทศรายได้ต่ำมาเป็นประเทศรายได้ปานกลาง อาจไม่เพียงพอ ที่จะทำให้ประเทศก้าวสู่การเป็นประเทศรายได้สูง..
และในปี 2006 World Bank ก็ได้นิยามปัญหานี้ว่า “Middle Income Trap”
เพื่อให้เข้าใจว่า อะไรบ้างที่เป็นปัจจัยของปัญหา กับดักรายได้ปานกลางนี้
เราลองมาดูตัวอย่างหลายปัจจัย จากหลายประเทศกัน..
ต้นทศวรรษ 1950 ฟิลิปปินส์เป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เริ่มพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในประเทศ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศให้สูงขึ้น
แต่มาในวันนี้ รายได้ประชาชาติต่อหัวของฟิลิปปินส์ ยังอยู่ที่ประมาณ 120,500 บาทต่อปี ซึ่งยังถูกจัดอยู่ในประเทศรายได้ระดับปานกลาง
หนึ่งในอุปสรรคที่สำคัญของฟิลิปปินส์ คือการขาดนวัตกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า เพราะรัฐบาลของฟิลิปปินส์ให้ความสำคัญน้อย กับเรื่องการวิจัยและพัฒนา (R&D) ของประเทศ
ปี 2018 งบวิจัยและพัฒนาของฟิลิปปินส์ มีสัดส่วนเพียงแค่ 0.14% ของมูลค่า GDP ประเทศ ซึ่งถือว่าต่ำมาก เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของโลกที่ 2.3%
ฟิลิปปินส์ยังมีปัญหาการคอร์รัปชันอย่างหนัก
ทำให้นโยบายการพัฒนาประเทศ ไม่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
สถานการณ์นี้ ยังคงพบเห็นที่หลายประเทศในลาตินอเมริกา ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ บราซิล
บราซิล เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในลาตินอเมริกา และใหญ่เป็นอันดับ 13 ของโลก
ทั้งยังเป็นประเทศที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะปริมาณสำรองน้ำมันดิบกว่า 12,999 ล้านบาร์เรล ติดอันดับที่ 20 ของโลก
ปี 1990 มูลค่าเศรษฐกิจของบราซิลเท่ากับ 14.4 ล้านล้านบาท
และเติบโตอย่างรวดเร็วจนสูงถึง 81.1 ล้านล้านบาท ในปี 2011
หรือเติบโตเกือบ 5 เท่า ภายในระยะเวลาเพียง 21 ปี
จนทำให้บราซิล เคยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และน่าจับตามองที่สุดประเทศหนึ่ง
แต่นับจากปี 2011 มา มูลค่า GDP ของบราซิล ก็ไม่กลับไปสู่จุดนั้นอีกเลย..
บราซิลยังเป็นประเทศที่เศรษฐกิจพึ่งพาภาคการส่งออก
ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ยังเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ที่ความผันผวนของราคาสินค้าส่งออก มักส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของบราซิล
นอกจากนั้น บราซิลยังประสบปัญหาความไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาล และปัญหาการคอร์รัปชัน ซึ่งทำให้ต้นทุนในการทำธุรกิจมีสูง เพราะธุรกิจต้องใช้เส้นสายและจ่ายส่วนแบ่งให้ผู้มีอำนาจ
ซึ่งปัญหาเรื่องความไม่โปร่งใสนี้ ก็ได้กลายเป็นอุปสรรคต่อการดึงดูดเงินลงทุนต่างชาติเข้าไปยังประเทศด้วยเช่นกัน
วันนี้รายได้ประชาชาติต่อหัวของบราซิล อยู่ที่ 284,800 บาทต่อปี ซึ่งยังไม่สามารถก้าวข้ามจากกับดักรายได้ปานกลางไปได้
สำหรับประเทศไทย เราถูกเลื่อนเป็นประเทศที่มีรายได้น้อย มาสู่ประเทศที่มีรายได้ปานกลางตั้งแต่ปี 1976
และจุดเปลี่ยนสำคัญของเศรษฐกิจไทย ก็เกิดขึ้นไม่นานหลังจากนั้น หลังจากเริ่มมีการเข้ามาลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะนักลงทุนจากญี่ปุ่น
เนื่องจากญี่ปุ่นในตอนนั้น ได้รับผลกระทบจากการเข้าทำข้อตกลง Plaza Accord กับสหรัฐอเมริกา โดยการลงนามในข้อตกลงดังกล่าว ส่งผลให้ค่าเงินเยนของญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว
เมื่อเงินแข็งค่าขึ้นจากเดิมมาก ภาคการส่งออกของญี่ปุ่นก็ประสบปัญหา เพราะราคาส่งออกสินค้าแพงขึ้นกว่าเดิมมาก ญี่ปุ่นต้องมองหาฐานการผลิตแห่งใหม่ ที่มีค่าแรงถูกและมีข้อได้เปรียบด้านการส่งออก และแน่นอนว่าประเทศที่ได้อานิสงส์จากตรงนี้ ก็คือ ประเทศไทย
นอกจากเศรษฐกิจไทยจะเติบโตจากการเป็นฐานการผลิตสำคัญแล้ว
ภาคการท่องเที่ยว ก็ก้าวขึ้นมามีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
จากการเข้ามาของนักท่องเที่ยวจีนที่เติบโตแบบก้าวกระโดด จากการที่ชนชั้นกลางของจีน มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ รวมถึงเดินทางมาไทย
แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ ก็ยังไม่เพียงพอจะทำให้ไทยเราหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลางนี้
เพราะในปี 2019 ประเทศไทย ยังมีรายได้ประชาชาติต่อหัวอยู่ที่ 226,500 บาทต่อปี
ทำให้ไทย ยังคงจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง มาเป็นเวลากว่า 45 ปีแล้ว
แล้วประเทศที่สามารถหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลางนี้ เขาทำกันอย่างไร ?
ลองมาดูตัวอย่างใกล้ตัวเรา คือ ไต้หวัน ที่วันนี้มีรายได้ประชาชาติต่อหัวอยู่ประมาณ 830,000 บาทต่อปี อยู่ในกลุ่มประเทศรายได้สูงเรียบร้อยแล้ว
จุดเปลี่ยนที่ทำให้ไต้หวันพัฒนาอย่างก้าวกระโดด คือการที่ภาครัฐส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าของไต้หวัน
ในปี 1973 รัฐบาลไต้หวัน ได้ให้ก่อตั้ง Industrial Technology Research Institute (ITRI)
ซึ่ง ITRI มีการร่วมทุนกับบริษัทฟิลิปส์ของเนเธอร์แลนด์ ทำให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตชิป จนทำให้ ITRI ได้พัฒนากระบวนการผลิตชิปเป็นของตัวเอง
และนำมาสู่การก่อตั้งบริษัทที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของไต้หวัน ในปี 1987
ซึ่งบริษัทนั้นก็คือ Taiwan Semiconductor Manufacturing Company (TSMC) นั่นเอง
ปี 2020 TSMC มีรายได้สูงกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ขณะที่กำไรสุทธินั้น สูงกว่า 572,000 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นอัตรากำไรสุทธิสูงกว่า 38% สะท้อนถึงการที่บริษัทสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้สูงมาก
ไต้หวันยังมีการทุ่มทุนด้านการวิจัยและพัฒนาอย่างหนัก
โดยงบประมาณ R&D คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 3.3% ของ GDP ในปี 2017
ซึ่งถือว่ามากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
การที่ไต้หวันก้าวข้ามจากกับดักรายได้ปานกลางได้
ที่เห็นได้ชัด ก็มาจากการให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา
โดยเฉพาะกับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้ประเทศได้อย่างมหาศาล
ถึงตรงนี้ ถ้าเรามองโดยภาพรวมแล้วจะเห็นว่า กับดักรายได้ปานกลาง ที่หลายประเทศรวมถึงไทยกำลังพบเจอ มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน
เช่น การที่ยังเป็นฐานการผลิตและส่งออกสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจไม่สูงมากพอ ยังไม่ค่อยมีนวัตกรรมเป็นของตัวเอง รวมไปถึงปัญหาสำคัญอย่างการคอร์รัปชัน และความไม่มีเสถียรภาพทางด้านการเมือง
และถ้าเราดูตัวอย่าง ประเทศที่สามารถก้าวผ่านกับดักรายได้ปานกลางมาได้ อย่างเช่น ไต้หวัน
ปัจจัยสำคัญคือ การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ เพื่อคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ จนสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มมหาศาลให้กับสินค้าและบริการของประเทศได้
แน่นอนว่า การที่จะทำแบบนั้นได้ ต้องมีการร่วมมือกันทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และอีกหลาย ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งถ้ามาวางแผนกันดี ๆ แล้วส่งเสริมเรื่องนี้กันให้ถูกจุด
สุดท้ายแล้ว มันก็คงไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้
ที่เราจะหลุดพ้น จากกับดักรายได้ปานกลางนี้ไปได้..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Article_7Nov2017.pdf
-https://en.wikipedia.org/wiki/Middle_income_trap
-https://admuaea.org/2019/03/27/philippine-economy-headed-for-the-middle-income-trap/
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_proven_oil_reserves
-https://knowledge.ckgsb.edu.cn/2019/05/23/chinese-economy/china-middle-income-trap/
-https://www.globalasia.org/v8no1/focus/taiwans-middle-income-trap-no-escaping-without-services_chen-tain-jy
-https://finance.yahoo.com/quote/TSM/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Economy_of_Brazil
-https://data.worldbank.org/indicator/NE.EXP.GNFS.ZS?locations=BR
-https://blogs.worldbank.org/opendata/new-world-bank-country-classifications-income-level-2020-2021
-https://eng.stat.gov.tw/point.asp?index=1
gdp per capita 2021 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
70 ปีผ่านไป ประเทศไหน รวยขึ้นสุด? / โดย ลงทุนแมน
ย้อนกลับไปเมื่อ 70 ปีก่อน หรือช่วงปี 1950 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง
กลุ่มประเทศมหาอำนาจของโลก ก็ได้เปลี่ยนจากยุโรปมาเป็นสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา
และยังเป็นช่วงเวลาที่ประเทศทั่วโลก อยู่ในช่วงการฟื้นฟูจากความเสียหายหลังสงคราม
จากวันนั้นมาจนถึงตอนนี้
ประเทศไหนที่สามารถฟื้นฟูและเติบโตได้อย่างโดดเด่น
จนทำให้คนในประเทศรวยขึ้นมากที่สุดในโลก ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
รายได้เฉลี่ยต่อคนในแต่ละประเทศ วัดได้จาก GDP per Capita
คำนวณจากมูลค่าของ GDP หรือรายได้รวมของประเทศ หารด้วยจำนวนประชากร
หากตัวเลขนี้เพิ่มขึ้น หมายความว่าคนในประเทศโดยเฉลี่ยแล้วมีรายได้มากขึ้น หรือว่ารวยขึ้นนั่นเอง
หากเราเปรียบเทียบ GDP per Capita ที่เป็นข้อมูลในปัจจุบันกับปี 1950
ซึ่งถูกปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ และความแตกต่างของราคาในแต่ละประเทศแล้ว
ประเทศที่รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด 5 อันดับแรกก็คือ
อันดับ 1 เกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 38.0 เท่า
อันดับ 2 โอมาน เพิ่มขึ้น 36.7 เท่า
อันดับ 3 อิเควทอเรียลกินี เพิ่มขึ้น 35.8 เท่า
อันดับ 4 บอตสวานา เพิ่มขึ้น 32.4 เท่า
อันดับ 5 ไต้หวัน เพิ่มขึ้น 30.6 เท่า
ส่วนประเทศจีนอยู่ในอันดับ 11 มีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น 16.4 เท่า
ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 14 รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น 12.8 เท่า
ขณะที่ค่าเฉลี่ยของคนทั้งโลก มีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น 4.5 เท่า
จะเห็นได้ว่า “ประเทศเกาหลีใต้” เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัว
เพิ่มขึ้นมากที่สุดในโลกในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา
ถ้าให้ย้อนกลับไป การเติบโตนี้ มีแรงขับเคลื่อนที่สำคัญจากประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ปัก ชอง-ฮี และกลุ่มแชโบล แล้วทั้ง 2 ปัจจัยนี้ สำคัญอย่างไร ?
ย้อนไปในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ประเทศเกาหลี ได้ถูกแบ่งแยกประเทศและรูปแบบการปกครอง เป็นเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ในปี 1948 หลังจากนั้น 2 ปี ก็เกิดสงครามเกาหลีขึ้น จนสงครามจบลงในปี 1953 จากการเซ็นสัญญาสงบศึก
จากสงครามที่ยาวนาน เกาหลีใต้เลยได้รับความเสียหายอย่างหนัก
ทำให้รายได้ต่อหัวของประชาชนตอนนั้นลดลงไปมาก
ซึ่งเทียบกับประเทศไทยแล้ว ในตอนนั้นคนไทยมีรายได้ต่อหัวที่สูงกว่าเกาหลีใต้เสียอีก
ช่วงนี้จึงเป็นเวลาที่เกาหลีใต้ได้เริ่มฟื้นฟูประเทศ
ซึ่งขณะนั้นเกาหลีใต้ยังเป็นประเทศเกษตรกรรม เหมือนกับประเทศขนาดเล็กอื่น ๆ
โดยเน้นการผลิตเพื่อบริโภคในประเทศ ทดแทนการนำเข้า
แต่ความไม่สงบของประเทศก็กลับมาอีกครั้ง เพราะรัฐบาลในขณะนั้นได้คอร์รัปชันงบประมาณการฟื้นฟูประเทศ จนนำไปสู่การทำรัฐประหารในปี 1961 นำโดยนายพล ปัก ชอง-ฮี
ซึ่งต่อมา เขาคนนี้ก็ได้กลายเป็นประธานาธิบดีจากการเลือกตั้งในปี 1963 และดำรงตำแหน่งมายาวนานถึง 16 ปี
ปัก ชอง-ฮี ได้เริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ที่ออกฉบับแรกมาในปี 1962
ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ประเทศไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรกเช่นกัน
โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมนี้ ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องไปจนถึงฉบับที่ 7 ที่ได้สิ้นสุดลงในปี 1996
การออกแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม คือจุดเริ่มต้นของยุคที่เศรษฐกิจเกาหลีใต้เติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จนช่วงเวลานี้ถูกเรียกว่า “Miracle on the Han River” หรือปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน
ซึ่งคือแม่น้ำที่ไหลผ่านกลางกรุงโซลนั่นเอง
โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดังกล่าว เป็นการวางรากฐานให้เกาหลีใต้
สามารถผลิตสินค้าส่งออกไปแข่งขันในตลาดโลกได้
ซึ่งทางรัฐบาลจะสนับสนุนและให้สิทธิพิเศษกับภาคเอกชนอย่างเต็มที่
เพื่อหวังให้กลุ่มธุรกิจเหล่านี้ เป็นฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ช่วยเพิ่มการจ้างงานและสร้างรายได้ให้กับประเทศ
และกลุ่มธุรกิจที่ว่านี้ มีชื่อเรียกในยุคปัจจุบันว่า “แชโบล”
ซึ่งคือกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ได้ถูกส่งไม้ต่อรุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบัน
เช่น Samsung, Hyundai, LG, SK และ Lotte ที่ต่างก็เริ่มก่อตั้งและเติบโตมาจากในช่วงนี้
สำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจในฉบับแรก จะเน้นไปที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเบาต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น
Samsung ก่อตั้งโรงงานทำน้ำตาลและโรงงานผลิตผ้าเส้นใยขนสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ
Hyundai เริ่มจากบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ที่เน้นงานโครงสร้างพื้นฐาน
LG เริ่มจากโรงงานพลาสติก ซึ่งเป็นแห่งแรกของประเทศ
SK เริ่มจากโรงงานสิ่งทอ ซึ่งผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์เป็นแห่งแรกของประเทศ
Lotte เริ่มจากเป็นโรงงานผลิตหมากฝรั่ง
และแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 2 ถึง 4 ตั้งแต่ปี 1967 ก็ได้กลายมาเป็นรากฐานสำคัญ
เพราะรัฐบาลเปลี่ยนมาเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมหนักอย่างเหล็ก ปิโตรเคมี เครื่องจักร การต่อเรือ และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ยกตัวอย่างเช่น
Samsung ก่อตั้ง Samsung Electronics ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน และเซมิคอนดักเตอร์
Hyundai ก่อตั้ง Hyundai Motor ผลิตรถยนต์ และ Hyundai Heavy Industries ผลิตเรือขนส่ง
LG ก่อตั้ง GoldStar ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ซึ่งต่อมาคือ LG Electronics
SK เริ่มทำธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
Hanjin ก่อตั้ง Hanjin Shipping บริษัทเรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ใหญ่ที่สุดในประเทศ และซื้อกิจการสายการบิน Korean Air มาจากรัฐบาล
สังเกตได้ว่า ประเภทธุรกิจที่เริ่มก่อตั้งจากช่วงนี้ ได้กลายเป็นธุรกิจหลักของแต่ละบริษัทมาจนถึงปัจจุบัน
ช่วงเวลานี้เอง ที่รายได้ต่อหัวของชาวเกาหลีใต้แซงคนไทยได้ในปี 1969
และก็ได้ทิ้งห่างนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
และถ้าพูดถึง “จุดเปลี่ยนที่สำคัญที่สุด” ก็จะเกิดขึ้นในแผนฉบับที่ 5 ถึง 7
เริ่มตั้งแต่ปี 1982 โดยรัฐบาลหันมาให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี
โดยเน้นพัฒนาสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง อย่างเช่น
Samsung เริ่มผลิตโทรศัพท์มือถือ จนในปัจจุบันมียอดขายสมาร์ตโฟนเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
Hyundai พัฒนารถยนต์ จนในปัจจุบันมียอดขายรถยนต์เป็นอันดับ 4 ของโลก
LG ที่โดดเด่นเรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ จนมียอดขายตู้เย็นติด 3 อันดับแรกของโลก
SK ก่อตั้ง SK Telecom ทำธุรกิจโทรคมนาคม ที่ปัจจุบันใหญ่สุดในประเทศ
และผลลัพธ์ก็เป็นไปได้อย่างที่หวัง เพราะในปัจจุบัน เกาหลีใต้ถูกจัดอันดับ
ให้เป็นประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมอันดับ 1 ของโลก
ในขณะเดียวกัน เกาหลีใต้ก็มีงบสำหรับการวิจัยและพัฒนา คิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP มากเป็นอันดับ 2 ของโลก จนนำไปสู่การเป็นประเทศส่งออกสินค้าเทคโนโลยีชั้นนำตั้งแต่ เซมิคอนดักเตอร์ ที่ส่งออกมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ไปจนถึงผลิตภัณฑ์สมาร์ตโฟนและเครื่องใช้ไฟฟ้า
นั่นจึงทำให้รายได้ของเกาหลีใต้พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก โดยเกาหลีใต้มีมูลค่าการส่งออกในปี 2020 สูงเป็นอันดับ 5 ของโลก และคิดเป็นกว่า 40% ของ GDP
และเมื่อสิ้นปี 2020 เกาหลีใต้ก็ได้ขึ้นมาเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ครั้งแรกในประวัติศาสตร์
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการผลักดันนายทุนรายใหญ่เป็นเวลานาน
สิ่งที่ตามมาก็คือ รายได้ของประเทศทั้งหมด กว่า 80% มาจากรายได้ของกลุ่มแชโบล
หรือเพียงแค่บริษัทที่ใหญ่ที่สุดอย่าง Samsung Electronics ก็มีรายได้คิดเป็นกว่า 13% ของประเทศแล้ว
และเมื่อรายได้ของประเทศ เติบโตมาจากคนไม่กี่กลุ่ม แน่นอนว่าย่อมมีปัญหาตามมา
ปัญหาที่สำคัญอย่างแรกก็คือ การกระจายรายได้ที่ไม่ทั่วถึง หรือที่เรียกว่า “รวยกระจุกจนกระจาย”
โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่ 43.8% ยังมีฐานะยากจน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดท่ามกลางกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
ปัญหาอย่างที่สองคือ เรื่องการผูกขาด เพราะกลุ่มแชโบล ได้ขยายธุรกิจจนครอบคลุมทุกอย่าง ทั้งกลุ่มสถาบันการเงิน โรงพยาบาล โรงแรม ดิวตี้ฟรี ห้างสรรพสินค้า ไปจนถึงร้านกาแฟและร้านอาหาร
ส่งผลให้กลุ่ม SME ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เข้ามาแข่งขันได้ยาก
อีกปัญหาสำคัญก็คือเรื่องธรรมาภิบาล ทั้งเรื่องที่อำนาจบริหารยังวนอยู่ในกลุ่มครอบครัว
รวมไปถึงเรื่องยักยอกเงินและติดสินบนรัฐบาล และแม้ว่าจะถูกจำคุก
แต่หลังพ้นโทษก็กลับมาบริหารงานต่อได้เหมือนเดิม..
จากเรื่องราวทั้งหมดนี้ ทำให้เราสรุปได้ว่าเกาหลีใต้ได้ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศ
ที่ประชากรรวยขึ้นมากที่สุดในโลก หากนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง
อย่างไรก็ตาม กลุ่มแชโบลที่รัฐบาลสมัยก่อนเป็นผู้ขับเคลื่อนความสำเร็จของประเทศ
กลับกลายเป็นต้นตอของปัญหาทางสังคมให้กับเกาหลีใต้ และสร้างความไม่พอใจให้กับคนส่วนใหญ่
เพราะความไม่เป็นธรรมและไม่เท่าเทียมกันในหลายด้าน
ซึ่งก็ถือเป็นความท้าทายของรัฐบาลในยุคนี้
ว่าจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร
เพราะยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไร
รอยร้าวและความแตกแยกทางสังคม ก็ดูเหมือนว่าจะยิ่งขยายใหญ่มากขึ้นเท่านั้น
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
นายพล ปัก ชอง-ฮี เสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่งในปีที่ 16 จากการถูกลอบสังหาร
และ 34 ปีต่อมา หรือในปี 2013 เกาหลีใต้ ได้มีประธานาธิบดีหญิงคนแรก ที่ชื่อ ปัก กึน-ฮเย ซึ่งเป็นลูกสาวของนายพล ปัก ชอง-ฮี
แต่เธอดำรงตำแหน่งได้เพียง 4 ปี ก็ถูกศาลถอดถอนให้พ้นจากตำแหน่ง และตัดสินจำคุก 24 ปี
เนื่องจากรับสินบนจากกลุ่มแชโบล..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://ourworldindata.org/grapher/gdp-per-capita-maddison-2020
-https://en.wikipedia.org/wiki/Miracle_on_the_Han_River
-https://data.worldbank.org/indicator/NE.EXP.GNFS.ZS?locations=KR
-https://www.oecd.org/economy/surveys/korea-2020-OECD-economic-survey-overview.pdf
-https://data.oecd.org/inequality/poverty-gap.htm
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-02-03/south-korea-leads-world-in-innovation-u-s-drops-out-of-top-10
-https://exporthub.co/top-exporting-countries-in-the-world-for-2020/
-http://english.hani.co.kr/arti/english_edition/e_business/949236.html
-http://www.koreaherald.com/view.php?ud=20200802000122
gdp per capita 2021 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的精選貼文
gdp per capita 2021 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
gdp per capita 2021 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答
gdp per capita 2021 在 Eurostat - Regional GDP per capita ranges from 30% of the... 的推薦與評價
Regional GDP per capita ranges from 30% of the EU average in Mayotte to 263% in Luxembourg Interested to read more about regional disparities ❓. ... <看更多>
gdp per capita 2021 在 Richest Countries in the Africa by GDP Per Capita - YouTube 的推薦與評價
... <看更多>