เศรษฐกิจเวียดนาม จะแซงไทย จริงหรือ? /โดย ลงทุนแมน
“อีกไม่นานเศรษฐกิจเวียดนามจะแซงประเทศไทย”
ประโยคนี้ จะกลายเป็นความจริง จริงหรือไม่?
ทุกวันนี้ เศรษฐกิจของเวียดนามกับไทย
ห่างไกล หรือ ใกล้เคียงกัน แค่ไหนกันแน่?
และอะไร คือสัญญาณเตือน ที่ทำให้ช่วงนี้ เราได้ยินกันบ่อยขึ้นว่า
เศรษฐกิจของเวียดนาม กำลังจะแซงไทย
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เริ่มต้นกันที่ เศรษฐกิจของ 2 ประเทศ มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ปี 2019 ประเทศไทยมีขนาดเศรษฐกิจ 16.4 ล้านล้านบาท ใหญ่เป็นอันดับที่ 22 ของโลก ประชากรมีรายได้เฉลี่ยคนละ 236,000 บาทต่อปี อยู่อันดับที่ 82 ของโลก
ขณะที่เวียดนาม ในปี 2019 มีขนาดเศรษฐกิจ 7.9 ล้านล้านบาท อยู่อันดับที่ 44 ของโลก ประชากรมีรายได้เฉลี่ยคนละ 82,000 บาท อยู่อันดับที่ 135 ของโลก
และด้วยรายได้เฉลี่ยต่อหัวของคนไทยในระดับนี้ ทำให้ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง (Upper middle income country)
ขณะที่เวียดนาม ปัจจุบันยังถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับต่ำ (Lower middle income country)
สรุปแล้ว ในตอนนี้เศรษฐกิจไทยยังคงใหญ่กว่าเวียดนาม 2 เท่า
ขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปีของคนไทย ก็มากกว่าของเวียดนามเกือบ 3 เท่า
เห็นแบบนี้แล้ว เราอาจสรุปได้ว่า
เศรษฐกิจของประเทศไทยในตอนนี้
ยังนำหน้าเวียดนามอยู่พอสมควรเลยทีเดียว
แต่รู้ไหมว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม มากกว่าไทยถึง 2 เท่า
ในช่วงปี 2009-2019 เศรษฐกิจไทย เติบโตเฉลี่ยปีละ 3%
ขณะที่เศรษฐกิจของเวียดนามเติบโตเฉลี่ยปีละ 6%
สำหรับปีนี้ การระบาดของโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ไทยและเวียดนาม
หลายฝ่ายคาดการณ์กันว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้ จะติดลบประมาณ 6.4%
ส่วนเศรษฐกิจเวียดนาม จะยังคงเติบโตที่ 2.4%
แต่ถ้าสมมติว่า โรคระบาดนี้ผ่านพ้นไป
ถ้าเราให้เศรษฐกิจทั้ง 2 ประเทศ กลับมาเติบโตด้วยอัตราเฉลี่ยเดิมเหมือนกับช่วงปี 2009-2019
คือไทยเติบโตเฉลี่ยปีละ 3% และเวียดนามเติบโตเฉลี่ยปีละ 6%
หมายความว่า กว่าที่ขนาดเศรษฐกิจเวียดนามจะแซงไทย ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 24 ปี จากวันนี้..
แต่ถ้าลองมองให้ลึกลงไปที่พื้นฐานเรื่องต่างๆ
ก็จะพบว่า เวียดนามกำลังเติบโตด้วยศักยภาพเพิ่มมากขึ้นทุกที
ปัจจุบัน เวียดนามมีประชากรกว่า 97 ล้านคน
มากเป็นอันดับที่ 15 ของโลก และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 111 ล้านคนในอีก 30 ปีข้างหน้า
ขณะที่ไทย มีประชากรประมาณ 69 ล้านคน
มากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก และคาดว่าประชากรไทยจะไม่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะอยู่ที่ 60-69 ล้านคน ในอีก 30 ปีข้างหน้า
ส่วนอายุเฉลี่ยของคนเวียดนามในวันนี้คือ 32 ปี ขณะที่อายุเฉลี่ยของคนไทยคือ 40 ปี
จำนวนประชากรในอนาคตของเวียดนามที่มากกว่าไทย
และอายุเฉลี่ยของคนเวียดนามที่น้อยกว่าไทย
อาจทำให้เวียดนามได้เปรียบกว่าประเทศไทยในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านแรงงานเพื่อการผลิต
ปี 2020 เวียดนามมีจำนวนแรงงานเท่ากับ 58 ล้านคน
ขณะที่ของประเทศไทยอยู่ที่ 38 ล้านคน
ปริมาณแรงงานที่อายุน้อยและมีจำนวนมาก จึงทำให้ต้นทุนค่าแรงของเวียดนามต่ำกว่า เมื่อเทียบกับประเทศไทย
ค่าแรงขั้นต่ำของเวียดนามอยู่ที่ประมาณ 132-190 บาทต่อวัน
ขณะที่ค่าแรงขั้นต่ำของไทยอยู่ที่ประมาณ 313-336 บาทต่อวัน
ต้นทุนแรงงานที่ต่ำ เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ ที่ดึงดูดให้บริษัทต่างชาติย้ายฐานการผลิตไปลงในเวียดนามหลายรายในช่วงที่ผ่านมา ยกตัวอย่างเช่น
Samsung บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่จากเกาหลีใต้
LG บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่จากเกาหลีใต้
Foxconn บริษัทผู้ผลิตและรับผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้กับ Apple
Panasonic บริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่จากญี่ปุ่น
ซึ่งนอกจากปัจจัยเรื่องค่าแรงแล้ว ยังอาจมีอีกหลายๆ ปัจจัย ที่ทำให้เวียดนามสามารถดึงดูดเงินลงทุนเข้าประเทศได้ เช่น ทักษะแรงงาน และกฎหมาย กฎเกณฑ์ที่เอื้อต่อการย้ายฐานการผลิตเข้ามาลงทุนในประเทศ
ส่วนเรื่องการไหลเข้าของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ หรือ Foreign direct investment (FDI) อย่างเช่นเงินลงทุนสำหรับตั้งโรงงานการผลิต ก็เป็นอีกตัวเลขที่น่าสนใจ
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่ไหลไปยังเวียดนาม
ในปี 2011 อยู่ที่ 222,000 ล้านบาท
ในปี 2019 อยู่ที่ 465,000 ล้านบาท
ขณะที่การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่ไหลเข้ามาประเทศไทย
ในปี 2011 อยู่ที่ 74,100 ล้านบาท
ในปี 2019 อยู่ที่ 189,000 ล้านบาท
ขณะที่ของประเทศไทย หลังจากที่ยอด FDI เคยขึ้นไปสูงสุดที่ 477,000 ล้านบาท ในปี 2013 ก็ยังไม่เคยกลับไปจุดนั้นอีกเลยจนถึงวันนี้
มาถึงตรงนี้ ก็ต้องบอกว่า มีโอกาสไม่น้อยที่เวียดนามจะเติบโตต่อเนื่องอีกนานพอสมควร และยังอาจโตด้วยอัตราเฉลี่ยประมาณ 6% ต่อปี
และถ้าเศรษฐกิจไทยโตด้วยอัตราเฉลี่ยที่น้อยกว่าเดิม
เศรษฐกิจเวียดนาม อาจไล่ตามไทย ได้เร็วมากขึ้น
เช่น จาก 24 ปี เหลือ 20 ปี หรืออาจใช้เวลาน้อยกว่านั้น ถ้าเศรษฐกิจไทยอยู่กับที่..
ซึ่งคำถามที่ว่า เศรษฐกิจเวียดนาม จะแซงไทย จริงหรือ?
คำตอบคือ ถ้าช่วง 5-10 ปีนี้ ก็คงจะยังเป็นเรื่องยาก
แต่ถ้าในระยะยาว 20-30 ปี ข้างหน้า ก็ต้องยอมรับว่า “มีความเป็นได้” เหมือนกัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_GDP_(nominal)
-https://data.worldbank.org/country
-https://en.wikipedia.org/wiki/Developing_country
-GDP growth (annual %) | Data (worldbank.org)
-https://e.vnexpress.net/news/business/economy/vietnam-gdp-growth-to-be-among-world-s-highest-in-2020-imf-4194065.html#:~:text=The%20International%20Monetary%20Fund%20has,percentage%20points%20to%202.4%20percent.
-https://www.thailand-business-news.com/economics/81636-thai-bank-revised-up-2020-gdp-forecasts-to-6-4-and-projected-2021-growth-at-3-3.html
-https://www.worldometers.info/world-population/population-by-country/
-https://www.statista.com/statistics/444584/average-age-of-the-population-in-vietnam/#:~:text=The%20median%20age%20in%20Vietnam,to%2041%20years%20by%202050.
-https://tradingeconomics.com/vietnam/labor-force-total-wb-data.html#:~:text=Labor%20force%2C%20total%20in%20Vietnam,compiled%20from%20officially%20recognized%20sources.
- https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=638&language=eng
-https://www.vietnam-briefing.com/news/vietnams-competitive-minimum-wages-how-fares-with-regional-peers.html/#:~:text=This%20year%20Vietnam%20increased%20its,%24190%20depending%20on%20the%20region.
-https://vietnamtimes.org.vn/more-foreign-manufacturers-move-to-vietnam-amid-covid-19-pandemic-19842.html#:~:text=Specifically%2C%20multinational%20companies%20such%20as,Vietnam%20rather%20than%20in%20China.
-https://www.reuters.com/article/uk-foxconn-vietnam-apple-exclusive/exclusive-foxconn-to-shift-some-apple-production-to-vietnam-to-minimise-china-risk-idUKKBN2860XN
-https://data.worldbank.org/indicator/BX.KLT.DINV.CD.WD?locations=VN
-https://data.worldbank.org/indicator/BX.KLT.DINV.CD.WD?locations=TH
imf data 在 君子馬蘭頭 - Ivan Li 李聲揚 Facebook 的精選貼文
[Excel嘅嘢,十分化學]英國大幅計少確診人數,因為用Excel.聽聞科技人好驚訝,咁大型嘅組織居然只係用Excel做Database—我勸啲科技人就君子遠庖廚,正所謂To retain respect for laws and sausages, one must not watch them in the making。好多你以為好堅嘅大型組織嘢,其實都係好流的。詳情就不講咁多啦。
話說英國計少1.6萬宗確診,十分兒戲(換著香港?)。原因?因為用Excel。(https://bityl.co/3opB)。詳細啲?因為用舊版Excel,而限咗6萬行,食data時冇發現,就會冇晒後面嗰啲
不過,Execl出事呢啲嘢,極之常見。先講一個經典例子,Carmen Reinhart 同 Kenneth Rogoff,極之出名嘅學者,前者仲係IMF首席經濟師,兩個成日寫文。其中一本最出名嘅著作係This Time Is Different: Eight Centuries of Financial Folly(https://amz.run/3dRJ)
佢地其中一篇論文,Growth in a Time of Debt,就出事了。畀個讀緊博士嘅小朋友發現data有問題,仲要係影響成篇論文嘅結論。用New York Magazine(唔係New Yorker)嘅講法,等於the academic equivalent of a D-league basketball player dunking on LeBron James(https://bityl.co/3oqq).原因?又係因為Excel,計total漏左5行。咁化學?係咁上下,亦可能因為作者已經神級—但正係因為太神級,就有啲後來者會想 on 你份嘢再加工做啲嘢,咪會發現你錯
實情,Excel係好易出事的,唔止好化學,仲好生物。特別在基因組(genomics)嘅生物論文,就特別多錯。有個研究(*)發現,2005-2015年Genome Biology期刊嘅論文,有附送supplementary data嘅當中,25%都係 Excel有錯的!四份一喎!科學期刊喎!當然,唔一定好似Carmen Reinhart 同 Kenneth Rogoff嗰份咁搞到要砍掉重練嘅
點解寧舍係genomics嘅論文容易出事?因為…..有隻基因叫做 Septin 2,簡寫係SEPT2.正如有隻叫做membrane associated ring-CH-type finger 1(唔好問我係乜),簡稱係MARCH1—咁你估到問題了,入到去Excel,就會變咗日期……
另外,有啲識別碼(again,唔好問我係乜),例如2310009E13,就會畀Excel當咗係……scientific notation (而家中學有冇教?),2.310009 x 10^13
結果?結果搞到啲基因要改名。之前Personal Page都貼過(https://bityl.co/3osI)(到底我睇埋啲乜嘢文?)。例如MARC1就改名做MARCHF1,SEPT2就叫做SEPTIN2
其實最有趣嘅一個發現係:Genome Biology嘅論文,每年增長大約係3%—但有Excel錯誤嘅呢?就每年增長15%!所以見到係有傳染性,亦可能大家都站在前人肩膊上,一個錯就個個都用嗰個Excel 跟住錯,所以要及早防範。
(*)希望呢個研究本身個Excel冇錯
———————————————————
Ivan Patreon 狼耳街華人,一星期至少三篇港美市場評點,其他免費好文推介,每日一圖,仲有FB Page post summary.一個月一舊水唔使,開張兩個月已 600人訂,仲有兩篇免費試睇:https://bit.ly/31QmYj7
[收費短片第十擊]人民幣升值受惠股,美股二線科技股揭秘
課程資訊:https://homebloggerhk.com/course_detail/?code=CC010
內容:
*軟件股IPO狂潮
*買平台股好過
*人民幣強勢買咩好?
本星期內特惠售價: $80
課程編號:CC010
觀看期限:首次播放後一星期及限每影片4次
客服whatsapp: 63832145
imf data 在 洞見國際事務評論-Insight Post Facebook 的最佳貼文
無殼到有殼,是甜蜜還是詛咒?
房價漲得比所得還快很多?我們來看看國際貨幣基金組織(IMF)調查的房價所得比吧!(不吃不喝多少年,才買得起房子)
表中的房價所得比,是以2010年為基準,然後比較各國2017年Q2(或最新)的房價所得比所計算出的成長比,高於100就表示比2010年還高。若算入台灣,我們是位居第二名,數值135.34,僅次於紐西蘭(138.62)。房價所得比七年內漲了35%。
台灣民眾的房價壓力,可說是只比哈比人的後代好一點點而已...…
註:根據內政部營建署的資料台灣在2010年(Q2)的房價所得比為6.99,而2017年Q2的房價所得比則為9.46,。
點底下連結,看更多IMF的房價表格
資料來源:http://www.imf.org/external/research/housing/index.htm
imf data 在 IMF Data Portal Bulk Download Tutorial - YouTube 的推薦與評價
... <看更多>