“ดูไบ” จากหมู่บ้านชาวประมง สู่เมืองศูนย์กลางระดับโลก /โดย ลงทุนแมน
50 ปีที่แล้ว น้อยคนบนโลกที่จะรู้จักหมู่บ้านชาวประมงเล็ก ๆ ริมอ่าวเปอร์เซีย
ที่ล้อมรอบไปด้วยทะเลทรายรกร้างว่างเปล่า
แต่ในวันนี้ “ดูไบ” ดึงดูดให้คนทั้งโลกต้องจับตามอง
ด้วยการปักหมุดตัวเองให้เป็นศูนย์กลางในหลากหลายด้าน..
ท่าอากาศยานนานาชาติดูไบมีผู้ใช้บริการมากเป็นอันดับ 4 ของโลกในปี 2019
ส่วนท่าเรือ Jebel Ali ในดูไบ ก็ขนส่งสินค้าติด Top 10 ของโลกมาตั้งแต่ปี 2005
ดูไบยังเป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมากที่สุดในตะวันออกกลาง
มีตึกที่สูงที่สุดในโลก คือ เบิร์จคาลิฟา ตั้งตระหง่านอยู่ใจกลางย่านการค้า
เป็นศูนย์กลางการเงินของภูมิภาค และศูนย์กลางค้าเพชรอันดับ 2 ของโลก
แต่นั่นยังไม่หมด เพราะเมืองแห่งนี้กำลังเดินหน้าสู่เป้าหมายใหม่
คือการเป็น “ศูนย์กลางการแพทย์ระดับโลก”
เส้นทางกว่าจะมาเป็นวันนี้ของดูไบเป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ดูไบคือ 1 ใน 7 รัฐ ที่ประกอบกันเป็นประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ซึ่งแต่ละรัฐ ก็จะมีเจ้าผู้ครองนคร ทำหน้าที่ปกครองรัฐของตัวเอง
รัฐดูไบเป็นรัฐที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากรัฐอาบูดาบีซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ
แต่เป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุด คือราว 3.4 ล้านคน
คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ
แรกเริ่มเดิมที ดูไบเป็นหมู่บ้านชาวประมงเล็ก ๆ ผู้คนดำรงชีพด้วยการทำประมง และทำฟาร์มไข่มุก
แต่จุดเปลี่ยนสำคัญของการเปลี่ยนแปลงมาสู่การเป็นเมืองใหญ่
คือการค้นพบน้ำมันในช่วงทศวรรษ 1960s
ในปี 1969 ดูไบเริ่มมีรายได้จากการส่งออกน้ำมัน เมืองจึงมีฐานะร่ำรวยอย่างรวดเร็ว
มีการก่อสร้างถนนหนทาง และตึกรามบ้านช่องมากมาย
แต่อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำมันสำรองของดูไบก็มีไม่มาก เมื่อเทียบกับรัฐอาบูดาบีเพื่อนบ้าน
เจ้าผู้ครองนครดูไบในขณะนั้น คือ เชครอชิด บิน ซาอิด อัลมักตูม
ได้มองเห็นว่า ในวันหนึ่งข้างหน้า น้ำมันสำรองของดูไบก็จะต้องหมดลง
แล้วรายได้มหาศาลจากน้ำมันก็จะหมดลงไปด้วย
นำมาสู่วิสัยทัศน์ที่จะเปลี่ยนจากเมืองที่พึ่งพารายได้หลักจากการขายน้ำมัน
มาสู่เมืองที่มีเศรษฐกิจหลากหลาย
การพัฒนาขนานใหญ่จึงเริ่มต้นจากการมองหาศักยภาพที่ดูไบมี
ซึ่งไม่มีอะไรจะดีไปกว่า “ทำเลที่ตั้ง”
ถึงแม้จะล้อมรอบไปด้วยทะเลทราย แต่ดูไบก็ตั้งอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ
ซึ่งเป็นทางออกสู่ทะเลเพียงแห่งเดียวของหลายประเทศที่ตั้งอยู่รอบอ่าวเปอร์เซีย
ไม่ว่าจะเป็น อิรัก บาห์เรน คูเวต กาตาร์ รวมถึงบางส่วนของอิหร่าน และซาอุดีอาระเบีย
ปี 1972 รัฐบาลดูไบจึงตัดสินใจลงทุนสร้างท่าเรือ Rashid และท่าเรือ Jebel Ali
ตามมาด้วยการตั้งเขตเศรษฐกิจ Free Zone ขึ้นใกล้กับท่าเรือ
เพื่อดึงดูดการลงทุนจากบริษัทต่างชาติ โดยสามารถนำเข้าแรงงานและเงินทุนได้ไม่จำกัด
หลังจากเปิดดำเนินการในปี 1979 ท่าเรือของดูไบก็ค่อย ๆ เติบโตจนก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าสำคัญของประเทศรอบอ่าวเปอร์เซีย พร้อม ๆ กับดึงดูดแรงงานมุสลิมจากเอเชียใต้ เช่น อินเดีย ปากีสถาน และบังกลาเทศ
ประชากรดูไบ เริ่มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จาก 2 แสนคนในปลายทศวรรษ 1970s กลายเป็นมากกว่า 1 ล้านคนในช่วงทศวรรษ 2000s
นอกจากการขนส่งทางเรือแล้ว ทำเลที่ตั้งของดูไบยังมีความโดดเด่นอีกประการหนึ่ง
ก็คือ อยู่ตรงกลางระหว่าง 2 ทวีปใหญ่ คือยุโรปและเอเชีย
นำมาสู่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่อมา คือ “การเป็นศูนย์กลางการบิน”
ท่าอากาศยานนานาชาติดูไบได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัย เพื่อรองรับการเป็น Hub ให้กับหลายสายการบินแห่งรัฐดูไบ ซึ่งก็คือ สายการบิน Emirates ที่ถูกจัดตั้งในปี 1985
ด้วยทำเลที่ดี ใช้ระยะเวลาเดินทางจากทั้งยุโรปและเอเชียตะวันออกในเวลาที่ใกล้เคียงกัน
ทำให้ความนิยมในการเดินทางมาท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ และความนิยมของสายการบิน Emirates เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ
สายการบินยังมีการลงทุนพัฒนาด้านการบริการ ปรับปรุงเบาะนั่ง ออกแบบตกแต่งห้องผู้โดยสารให้ทันสมัย ลงทุนด้านเทคโนโลยี เปิดเส้นทางการบินใหม่ ๆ
มีพนักงานต้อนรับจาก 120 ประเทศทั่วโลก ซึ่งสามารถให้บริการได้ถึง 80 ภาษา
ปี 2018 สายการบิน Emirates มีผู้ใช้บริการมากเป็นอันดับ 7 ของโลก
ซึ่งผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ต้องมาทำการเปลี่ยนเครื่องที่ท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ
ทำให้สนามบินแห่งนี้เติบโตจนกลายเป็น Hub การบินที่มีผู้ใช้บริการมากเป็นอันดับ 4 ของโลก
แต่ความโดดเด่นด้านทำเลของดูไบ ก็ยังไม่หมดแค่นี้..
ดูไบ ตั้งอยู่ใจกลางระหว่างทวีปแอฟริกาที่เป็นแหล่งแร่เพชร
กับรัฐคุชราตของอินเดีย ที่เป็นศูนย์กลางการเจียระไนเพชร
ดูไบได้มีการสร้างเขตการค้า Dubai Multi Commodities Centre ในปี 2002
เป็นเขต Free Zone เพื่อรองรับการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะทองคำและเพชร
เขตนี้เป็นที่ตั้งของตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนเพชร Dubai Diamond Exchange (DDE)
ซึ่งเป็นห้องค้าเพชรที่ใหญ่ที่สุดในโลก รองรับผู้สนใจมาประมูลซื้อขายไม่ต่ำกว่า 200 ราย
ส่วนในด้านคุณภาพสินค้า ก็ได้มีการลงทุนติดตั้งเตาอุปกรณ์แบบพิเศษ เพื่อทำความสะอาดแร่เพชร ให้มีความบริสุทธิ์มากที่สุดตามความต้องการของผู้ซื้อ
ดูไบเป็นศูนย์กลางการขนส่งอยู่แล้ว ทั้งการขนส่งทั้งสินค้าและผู้คน
พ่อค้าจากทั่วโลกจึงสามารถเดินทางมาซื้อขายกันได้อย่างสะดวก
จนกลายเป็นศูนย์กลางการค้าเพชรอันดับ 2 ของโลก รองจากเมืองแอนต์เวิร์ป ของเบลเยียม
ทั้งที่เพิ่งตั้งตลาดค้าเพชรหลังจากแอนต์เวิร์ปหลายร้อยปี
การเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าและการค้าสินค้าโภคภัณฑ์ ถูกต่อยอดมาเป็นธุรกิจการเงิน
ดูไบจัดตั้งศูนย์การเงินนานาชาติดูไบ ในปี 2002 และตลาดหลักทรัพย์ดูไบ
เพื่อวางตัวเองให้เป็นศูนย์กลางการเงินของภูมิภาคตะวันออกกลาง
เช่นเดียวกับการเป็นศูนย์กลางการค้าและการเดินทางทางอากาศ
ที่ถูกต่อยอดมาเป็นอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ปี 2019 ดูไบต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า 16.7 ล้านคน โดยมีสถานที่ดึงดูด คือศูนย์การค้ามากมายหลายแห่งที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ตึกระฟ้า โรงแรมหรูหรา และสนามแข่งขันกีฬาต่าง ๆ
แต่ประโยชน์จากการมีทำเลที่ดีก็ยังไม่หมดแค่นี้..
การท่องเที่ยวที่เติบโต ทำให้ดูไบเล็งเห็นศักยภาพที่จะต่อยอดจากนักท่องเที่ยวทั่วไป
คือการจับกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
หน่วยงานสาธารณสุขของดูไบ ได้พัฒนา Dubai Healthcare City (DHCC) ในปี 2002
ให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีอัตราภาษีต่ำ เพื่อดึงดูดโรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์ต่าง ๆ ให้เข้ามาดำเนินกิจการ
ดูไบอาศัยความได้เปรียบของการเป็นศูนย์กลางการเดินทาง
เพื่อดึงดูดคนไข้ชาวตะวันออกกลางที่มีกำลังซื้อ ให้มารักษาสุขภาพที่นี่ โดยไม่ต้องเดินทางไปไกลถึงยุโรปหรือเอเชีย
เช่นเดียวกับคนไข้ชาวยุโรปก็ไม่ต้องเดินทางมารักษาไกลถึงเอเชียตะวันออก
และคนไข้ชาวเอเชียตะวันออก ก็ไม่ต้องเดินทางไปรักษาไกลถึงยุโรป..
ปัจจุบันมีศูนย์การแพทย์ใน DHCC มากกว่า 200 แห่ง มีการตั้งสถานศึกษา และสถาบันวิจัยทางการแพทย์เพื่อพัฒนาบุคลากร และต่อยอดการรักษาให้มีประสิทธิภาพ
ในปี 2019 มีจำนวนผู้ป่วยชาวต่างชาติกว่า 350,000 คน เดินทางมารักษายังสถานพยาบาลในดูไบ
โดยสัดส่วนของลูกค้า มาจากภูมิภาคเอเชีย 34% ตะวันออกกลาง 28% ยุโรป 17%
แอฟริกา 10% และสหรัฐอเมริกา 10%
ในขณะที่ปี 2020 ถึงแม้จะอยู่ในสถานการณ์โรคระบาด
แต่รัฐบาลดูไบก็ได้ออกใบอนุญาตให้กับโรงพยาบาลแห่งใหม่ 45 แห่ง
และคลินิกการแพทย์เฉพาะทางอีก 10 แห่ง เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต
จากการจัดอันดับ Medical Tourism Index จากทั้งหมด 46 แห่งทั่วโลก
ดูไบถูกจัดให้อยู่ในอันดับ 6 ของโลก และอันดับ 1 ของภูมิภาคตะวันออกกลาง
ด้วยการกระจายเศรษฐกิจที่หลากหลาย
ในปี 2019 รัฐดูไบมี GDP 3.5 ล้านล้านบาท
เมื่อหารด้วยประชากร จะทำให้ชาวดูไบมี GDP ต่อหัว 1,029,000 บาทต่อปี
ถึงแม้ว่าดูไบจะมี GDP ต่อหัวน้อยกว่ารัฐอื่น ๆ ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
หรือประเทศใกล้เคียงที่มีรายได้หลักมาจากการขายน้ำมัน
แต่รู้ไหมว่าสัดส่วนจากการขายน้ำมันของดูไบ มีน้อยกว่า 1% ของ GDP มาตั้งแต่ปี 2017 แล้ว
ดูไบเติบโตมาถึงวันนี้ได้ ด้วยการมีทรัพยากรอย่างน้ำมันเป็นส่วนผลักดัน แต่นั่นไม่ใช่ทั้งหมดเพราะดูไบมองเห็นข้อจำกัดของตัวเอง และมองเห็นศักยภาพที่จะพัฒนาต่อยอดมาจากจุดนั้น
การมีทำเลที่ดี พัฒนามาสู่การสร้างท่าเรือ เป็นศูนย์กลางขนส่งทางเรือ ทางอากาศ
ต่อยอดเป็นศูนย์กลางการค้าเพชร การเงิน การท่องเที่ยว และบริการทางการแพทย์
เรียกได้ว่า ดูไบ ค่อย ๆ สร้างสิ่งที่ตัวเองยังไม่มี แต่สามารถทำให้ได้เปรียบกว่าคนอื่น
จนในวันนี้ เรียกได้ว่า คนทั้งโลกน้อยคนที่จะไม่รู้จักดูไบ
และในปี 2021 ดูไบก็จะเป็นเจ้าภาพจัดงาน World Expo ในเดือนตุลาคม
โดยได้ระดมฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้กับทั้งชาวเมืองและแรงงานต่างชาติ
เพื่อเตรียมพร้อมต้อนรับผู้มาร่วมงานจากทั่วโลก
และในอนาคตอันใกล้ เราอาจเห็นดูไบ เป็นศูนย์กลางของกิจกรรมอื่น ๆ อีกก็เป็นได้
ซึ่งมันก็คงทำให้เราเห็นได้ว่า เงินมหาศาลจากการขายน้ำมัน อาจเนรมิตให้เงินเข้าประเทศได้ในระยะสั้น
แต่ในระยะยาวแล้ว สิ่งที่จะทำให้ประเทศเจริญได้อย่างยั่งยืน ก็คือ “วิสัยทัศน์”..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.weforum.org/agenda/2019/11/dubai-uae-transformation/
-https://www.dsc.gov.ae/Report/الناتج%20المحلي%20الاجمالي%20بالاسعار%20الثابتة%202019.pdf
-https://www.dsc.gov.ae/Report/DSC_SYB_2019_01%20_%2003.pdf
-https://edition.cnn.com/2019/12/19/business/dubai-diamond-exchange/index.html
-https://healthmanagement.org/c/healthmanagement/issuearticle/dubai-global-healthcare-hub
-https://www.arabianbusiness.com/healthcare/451472-how-dubai-compares-globally-as-medical-tourism-hub
-https://assets.website-files.com/5d8aac42c851d2d6528d50d4/5f0df13e57906e9f895e3767_2020-2021%20Medical%20Tourism%20Index%20Overall%20Ranking.pdf
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「jebel ali free zone」的推薦目錄:
- 關於jebel ali free zone 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於jebel ali free zone 在 堅離地城:沈旭暉國際生活台 Simon's Glos World Facebook 的最佳解答
- 關於jebel ali free zone 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最佳解答
- 關於jebel ali free zone 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
- 關於jebel ali free zone 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
- 關於jebel ali free zone 在 Dubai jafza jebel ali free zone port - 首頁| Facebook 的評價
jebel ali free zone 在 堅離地城:沈旭暉國際生活台 Simon's Glos World Facebook 的最佳解答
[平行時空 383] 當杜拜升格為「西香港」
日前在華盛頓參與國際關係研討會,與會專家談及一個新名詞:「西香港」,原來是指杜拜。在不少西方學者眼中,杜拜和香港一樣,都是富東方風情的現代化都會,都繼承了英國制度,也都以物流、運輸、金融、盛事為國際身份。雖然香港起步較早,但隨著近年沒落,一度引入前香港公務員、港資企業的杜拜,已逐漸取代香港原有的地位。無論是否認同這觀點,杜拜近年的發展,確實值得借鏡。
港口城市的競爭力,源於其持續扮演區域、乃至全球商業金融樞紐的角色,這意味軟硬件同樣重要。杜拜居於全球各大經濟區的中央,戰略位置不容低估,而且已打造了一個品牌:傑貝阿里自由區(Jebel Ali Free Zone)已成了中東最大的自由貿易區,既接連亞洲及西方海上貿易,也是非洲對外國際貿易的樞紐。參考《資本雜誌》等的數據資訊,營商環境理想、設備完善、地理優越,令不少外來企業陸續進駐當地,至今已有超過七千多間企業進軍杜拜,當中七成從事貿易,餘者多為製造、物流。以往香港主辦國際盛事乃司空見慣,但論規模,近年已落於杜拜之後,起碼杜拜好些博覽,都足以令酒店客似雲來。杜拜也取得2020年世博會主辦權,預料會帶來二千多萬訪客,其時「國際第一樞紐」的地位可能被正式確立。
去年六月,《福布斯》曾介紹杜拜成為航空首屈一指樞紐的成功之道,認為杜拜對先天優勢充份利用,因為從杜拜連接世界三分二人口,都只需八小時或以內的航程。政府擁有的阿聯酋航空亦善用上述優勢,其最大市場都在東亞、大洋洲,也就是正面和香港競爭。顧問公司Aspire Aviation指,過去幾年,從澳洲到歐洲的航班,有25%已從新加坡和香港轉往杜拜。2013年,杜拜國際機場的客運量達超過6600萬人次,較2012年增加15.2%,創下機場歷史新高;以空運貨量計,杜拜也在全球最繁忙機場當中位列第五。杜拜另一善用航空樞紐優勢的表現,是創制海空多式聯運系統、以極短時間完成空海轉運,將貨物送往世界各地。為應付未來航空需要,杜拜政府巨額投資興建第二個機場:毗鄰港口的阿勒馬克圖姆國際機場(Al Maktoum International Airport),進一步提高對手的競爭門檻。
早在2009年,路透社便提及杜拜,形容這個以新加坡、香港這兩個港口城市作發展籃本的地方,已開始青出於藍;時駐倫敦的阿拉伯評論員Ayman Ali形容「杜拜模式」的運作,猶如一家公司、而非國家,沒有國家的包袱、卻有國家的資源。杜拜雖然由酋長威權管治,但本地人口有限,福利極好,甚少要民主化訴求。其他阿拉伯國家聞風喪膽的「阿拉伯之春」,對杜拜幾乎毫無影響,在阿聯酋創立智庫Delma Institute的加爾加維(Mishaal Gargawi)反而透露:「阿拉伯之春對我們非常有利,從卡達非的將領,到獲得政府調薪、跑去杜拜商場買iPad的沙地阿拉伯人,所有人都跑來了這裡。」
香港、新加坡與杜拜的共通點,是三者昔日都曾是英帝國的一部份,但以世界網絡匯聚的角度看三地前景,未來似乎只有新加坡與杜拜可比。「Let Raffles stand where he stands today」、不抗拒英殖過去是新加坡國策,杜拜也積極令自己成為名副其實的國際都會,英國也計劃逆轉1968年「從蘇伊士以東撤出」的決定,重新使用杜拜南端的Al Minhad空軍基地。沒有歷史包袱、而越來越國際化,這兩個港口城市,都能同時兼顧數個重要腹地,西方、中國、美國區域盟友、南亞、東南亞、阿拉伯世界、乃至非洲,都能兼顧。至於作為「極東杜拜」的香港……(下刪萬字)
小詞典:阿聯酋航空
成立於1985年,目前是中東最大的航空公司,而且是阿聯酋重要軟實力所在。阿聯酋航空在杜拜王室支持下成立,1990年代初便已成為世界增長最快的航空公司,創下不少創舉,例如空中豪華旅程、空中上網服務等,配合杜拜機場的高質素服務,成功吸引了不少長途機常客。2016年,阿聯酋航空將開設「杜拜-巴拿馬」中美洲航線,將是全球最長的直飛航線。
參考資料:
"中東經濟起飛 杜拜發展潛力龐大",《資本雜誌》2014年9月
"杜拜再創二次沙漠奇蹟", 《天下雜誌》, 2013年11月26日
"UK forces plan three new bases in Middle East to fight Isis”, Telegraph, 09 September 2014
沈旭暉 信報財經新聞 2015年11月5日
延伸閱讀:杜拜七星級酒店賣的是甚麼?
https://www.facebook.com/…/a.909000572467…/1030512523649564/
jebel ali free zone 在 Dubai jafza jebel ali free zone port - 首頁| Facebook 的推薦與評價
登入. ... <看更多>