ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ? /โดย ลงทุนแมน
ประเทศเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้มีประชากรเพียงราว ๆ 5.7 ล้านคน
แต่สามารถส่งออกบริการด้านการเงินมากเป็นอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
คิดเป็นมูลค่าถึง 1,210,000 ล้านบาท ในปี 2019
จากการจัดอันดับเมืองศูนย์กลางการเงินโลกของ Long Finance ประจำปี 2021
สิงคโปร์คือศูนย์กลางการเงินอันดับ 5
เป็นรองเพียงนิวยอร์ก กรุงลอนดอน และเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นมหานครหลักของประเทศมหาอำนาจ
กับฮ่องกง ที่เป็นเมืองเชื่อมต่อธุรกิจระหว่างโลกกับจีนแผ่นดินใหญ่
สำหรับประเทศเกาะเล็ก ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งในปี 1965 และแทบไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอะไรเลย
แม้แต่น้ำจืดก็ยังขาดแคลนจนต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
แต่สามารถเติบโตจนแซงหน้ามหานครในหลายประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่า
และก้าวขึ้นมาอยู่ระดับแถวหน้าของโลกได้ภายในเวลาไม่ถึง 50 ปี..
ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ มีเส้นทางเป็นอย่างไร ?
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ?
ถึงแม้ประเทศจะมีขนาดเล็ก ไม่ค่อยเหมาะสมกับการเพาะปลูก และแทบไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
แต่เกาะสิงคโปร์ยังมีความโชคดีอยู่ประการหนึ่ง คือ
“ทำเลที่ตั้งที่อยู่ปลายสุดของคาบสมุทรมลายู”
ทำเลนี้เป็นจุดสำคัญของเส้นทางเดินเรือ ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียตะวันออก กับอินเดียและยุโรป
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 อังกฤษรวบรวมดินแดนแถบนี้และเรียกว่า “อาณานิคมช่องแคบ”
สิงคโปร์จึงถูกวางให้เป็นเมืองท่าสำคัญของบริษัท บริติช อีสต์ อินเดีย ซึ่งเป็นบริษัทที่เดินเรือทำการค้าขายระหว่างยุโรป กับอินเดียและโลกตะวันออก
ต่อมาเมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เกิดอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องที่ได้รับความนิยมสูงในยุโรป แร่ธาตุที่จะนำมาทำกระป๋องก็คือ ดีบุก ซึ่งพบมากแถบคาบสมุทรมลายู เมืองท่าสิงคโปร์จึงถูกพัฒนาให้เป็นตลาดค้าดีบุกที่สำคัญของโลก
นอกจากดีบุกแล้ว การนำยางพาราเข้ามาปลูกในแถบมลายูในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
ก็ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางของตลาดประมูลยางพาราอีกหนึ่งตำแหน่ง
การเป็นทั้งเมืองท่า เป็นศูนย์กลางการค้าดีบุกและยางพารา ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในสิงคโปร์คึกคัก ดึงดูดชาวต่างชาติให้เข้ามาเปิดกิจการธนาคาร
ธนาคารต่างชาติแห่งแรกที่เข้ามาเปิดทำการในสิงคโปร์ คือ The Union Bank of Calcutta
เปิดในปี 1840 มีการจัดตั้งสกุลเงินประจำอาณานิคมช่องแคบ คือ Straits Dollar ในปี 1845
ส่วนธนาคารแห่งแรกที่ก่อตั้งในสิงคโปร์ ก่อตั้งโดยชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพมาจากกวางตุ้ง
ชื่อว่า Kwong Yik Bank ในปี 1903 และหลังจากนั้นก็ตามมาด้วยธนาคารอีกหลายแห่ง
แต่ก็มีธนาคารมากมายที่ล้มหายตายจาก หรือถูกควบรวมกับธนาคารอื่น ๆ
ส่วนธนาคารที่ยังดำเนินการมาจนถึงปัจจุบันก็คือ
OCBC หรือ Oversea-Chinese Banking Corporation Limited ซึ่งเกิดจากการควบรวมธนาคารของชาวจีนฮกเกี้ยน 3 แห่ง ในปี 1932
และอีกธนาคารหนึ่งก็คือ UOB หรือ United Overseas Bank ซึ่งก่อตั้งโดยชาวมาเลย์เชื้อสายจีนในปี 1935
แต่ท่ามกลางการวางรากฐานด้านการเงินการธนาคารของสิงคโปร์
การเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองท่าแห่งนี้ต้องหยุดชะงักลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะถูกยึดครองโดยกองทัพญี่ปุ่น
เมื่อหลังจบสงคราม อาณานิคมช่องแคบได้รับเอกราชจากอังกฤษ และสิงคโปร์ก็ได้ขอรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย ในปี 1963
แต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งด้านเชื้อชาติ และอุดมการณ์ทางการเมือง
ท้ายที่สุดสิงคโปร์จึงแยกตัวออกจากมาเลเซีย และก่อตั้งประเทศในปี 1965
พร้อมกับตั้งสกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ของตัวเองในอีก 2 ปีถัดมา
สิงคโปร์ถือกำเนิดประเทศด้วยการไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
และเต็มไปด้วยแรงงานชาวจีนที่หลั่งไหลมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ในช่วงหลังสงครามโลก
ลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) นายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ จึงให้ความสำคัญกับเรื่องสวัสดิภาพความเป็นอยู่ รวมไปถึงการสร้างทักษะให้กับแรงงาน ต่อยอดจากการเป็นเมืองท่าค้าขาย
มีการจัดตั้ง Housing and Development Board เพื่อดูแลในเรื่องที่พักอาศัย
และสร้างนิคมอุตสาหกรรมในเขต Jurong ทางตะวันตกของเกาะ
เพื่อสร้างงานในภาคอุตสาหกรรม
โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ทั้ง 2 โครงการ ต้องใช้เงินลงทุนสูง รัฐบาลสิงคโปร์จึงลงทุนเองบางส่วนในโครงการเหล่านี้ และได้ตั้ง The Development Bank of Singapore Limited หรือ ธนาคาร DBS ในปี 1968 เพื่อรองรับเงินทุน กระตุ้นให้เงินทุนหมุนเวียน และโครงการพัฒนาดำเนินไปอย่างราบรื่น
เมื่อผู้คนมีที่อยู่อาศัย มีงานทำ และค่อย ๆ หลุดพ้นจากความยากจนแล้ว รัฐบาลก็ต้องวางแผนต่อเนื่องเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ประการแรก: พัฒนาการศึกษา
เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดของประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรอย่างสิงคโปร์ ก็คือ “ทรัพยากรมนุษย์”
รัฐบาลสิงคโปร์จึงให้ความสำคัญต่อนโยบายการศึกษาอย่างสูงสุด โดยมีการปฏิรูปคุณภาพของระบบ และมาตรฐานการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
เริ่มจากการมีบุคลากรครูคุณภาพสูง โดยครูทุกคนต้องจบการศึกษาในด้านที่เกี่ยวข้อง หลังจบการศึกษาต้องเข้ารับการฝึกอบรมวิชาชีพครูจากสถาบันการศึกษาแห่งชาติสิงคโปร์ (National Institute of Education หรือ NIE) เป็นเวลา 1 ปี เมื่อปฏิบัติหน้าที่ครูแล้วต้องได้รับการประเมิน และพัฒนาในทุก ๆ ปี
และด้วยความหลากหลายทางเชื้อชาติและภาษาของผู้คนในสิงคโปร์ ที่มีทั้งชาวจีน ชาวมาเลย์ ชาวทมิฬ ซึ่งแต่ละเชื้อชาติต่างก็มีการใช้ภาษาเป็นของตัวเองแตกต่างกันไป
สิ่งที่จะหลอมรวมให้คนทุกเชื้อชาติสามารถอยู่ร่วมกันก็คือ
“ชาวสิงคโปร์ทุกคนจะต้องสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้”
นำมาสู่ระบบการเรียนการสอนสองภาษา ที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก
ส่วนภาษาที่สองก็เป็นภาษาของแต่ละเชื้อชาติ
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้สร้างทางเลือกในการศึกษาระดับมัธยมให้กับประชาชน โดยแบ่งเป็น
หลักสูตรมัธยมศึกษาเชิงวิชาการ สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในมหาวิทยาลัย
และหลักสูตรมัธยมศึกษาโพลีเทคนิค สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในสายอาชีวะ
ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์ก็ผลักดันมาตรฐานในการเรียนสายอาชีวะให้มีคุณภาพสูง
เพราะมองว่านักเรียนแต่ละคนมีความถนัดทางวิชาการไม่เท่ากัน และสายอาชีวะสามารถผลิตบุคลากรเพื่อป้อนตลาดแรงงานในทันที
โดยหนึ่งในสายวิชาชีพ ที่รัฐบาลผลักดันตั้งแต่การก่อตั้งวิทยาลัยอาชีวะแห่งแรก ๆ ก็คือ “นักบัญชี”
สำหรับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย มีการจัดตั้ง National University of Singapore (NUS) ที่เกิดจากการควบรวมมหาวิทยาลัย 2 แห่งในปี 1980 และเริ่มพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ โดยจัดตั้ง NUS Entrepreneurship Centre ในปี 1988
ซึ่งในปีการศึกษา 2022 มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ก็เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
จากการจัดอันดับโดย QS
ต่อมาในปี 1981 มีการจัดตั้ง Nanyang Technological University (NTU)
ซึ่งก็กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 2 ของทวีปเอเชีย
โดยมี Nanyang Business School เป็นสถาบันด้านบริหารธุรกิจอันดับ 1 ของสิงคโปร์
เมื่อสร้างแรงงานที่เป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะในภาคบริหารธุรกิจและการเงิน รวมไปถึงด้านกฎหมาย และแรงงานส่วนใหญ่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี
ปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้สิงคโปร์มีความเป็นเมืองนานาชาติ และมีข้อได้เปรียบดึงดูดบริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะสถาบันการเงิน บริษัทด้านบัญชี และกฎหมาย ให้เลือกมาตั้งสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคในสิงคโปร์
รัฐบาลได้จัดตั้ง ธนาคารกลางแห่งสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore หรือ MAS) ในปี 1971 เพื่อควบคุมสถาบันการเงิน และบริหารจัดการนโยบายทางการเงิน
ด้วยความที่สิงคโปร์เป็นประเทศขนาดเล็กและเป็นเมืองท่าค้าขาย และพึ่งพาการค้าจากต่างประเทศสูงมาก สิงคโปร์จึงอาศัยกลไก “อัตราแลกเปลี่ยน” เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงิน ภายใต้การบริหารจัดการของ MAS
ประการที่ 2: ปฏิรูประบบราชการ
เมื่อวางแผนระบบการศึกษาเพื่อสร้างแรงงานที่มีคุณภาพแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพัฒนาเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติก็คือ “ความโปร่งใส”
ในช่วงหลังการแยกตัวเป็นเอกราช
สิงคโปร์เคยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการคอร์รัปชันสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
รัฐบาลภายใต้การนำของนายก ลี กวน ยู ได้ย้ายสำนักสืบสวนการทุจริตคอร์รัปชัน (Corrupt Practices Investigation Bureau หรือ CPIB)
ซึ่งเป็นองค์กรที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1952 มาอยู่ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี
และทำการปฏิรูปกฎหมายป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชัน ให้ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ
ทั้งการตัดสินลงโทษผู้ต้องหาโดยไม่ต้องมีหลักฐานชัดเจน แค่มีพฤติกรรมโน้มเอียงไปในทางไม่ซื่อสัตย์ก็สามารถตัดสินได้ หากผู้ต้องหาถูกตัดสินว่าผิดจริง ก็จะได้รับโทษอย่างรุนแรง
นอกจากโทษทางกฎหมายแล้ว ยังต้องชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับจำนวนเงินที่ทำการทุจริตด้วย
หลังจากตัวบทกฎหมาย และกระบวนการลงโทษเริ่มเข้าที่เข้าทาง
ขั้นต่อมา คือการเพิ่มผลตอบแทนให้ข้าราชการ โดยเริ่มในปี 1989
เพื่อจูงใจให้คนเก่งเข้ารับราชการ และลดการรับสินบนของเจ้าหน้าที่รัฐ
รัฐบาลสิงคโปร์ใช้เวลาต่อสู้กับการคอร์รัปชันมาเป็นเวลากว่า 50 ปี
จนสิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่มีดัชนีความโปร่งใส (Corruption Perceptions Index)
สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ในปี 2020
เมื่อประเทศมีความโปร่งใส ก็ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ในขณะที่รัฐบาลก็มีเงินมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ทั้งการคมนาคมขนส่ง ไปจนถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้ก่อตั้ง คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development Board หรือ EDB) เพื่อวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ชัดเจน
จากเมืองท่าปลอดภาษี ในช่วงทศวรรษ 1970s สิงคโปร์ต่อยอดมาสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี ในทศวรรษ 1980s
และในช่วงทศวรรษ 1990s ประเทศแห่งนี้ก็เปลี่ยนไปเป็นศูนย์กลางบริการทางการเงินของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประการที่ 3: พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดตั้ง The Smart Nation and Digital Government Group หรือ SNDGG รับผิดชอบในการเปลี่ยนแปลงบริการต่าง ๆ ของภาครัฐสู่ระบบดิจิทัล เพื่อเก็บข้อมูล และประยุกต์ใช้ในการวางแผนพัฒนาประเทศ ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์มี Big Data โดยเฉพาะข้อมูลทางการเงิน
รัฐบาลจึงสามารถตรวจสอบเส้นทางทางการเงินได้ ป้องกันการฟอกเงิน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองทำให้สิงคโปร์ได้รับความน่าเชื่อถือ สามารถเป็นศูนย์กลางทางการเงิน
รัฐบาลยังต่อยอดและให้การสนับสนุนเทคโนโลยีทางการเงิน หรือ FinTech โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้สิงคโปร์เป็น The FinTech Nation
ทั้งการเปิดให้บริษัท FinTech จากทั่วโลก ขอใบอนุญาต Digital Banking ได้เต็มรูปแบบ
ไม่ปิดกั้นเฉพาะองค์กรในสิงคโปร์ และให้การสนับสนุนนวัตกรรมทางการเงินหลายรูปแบบ
ทั้งระบบชำระเงิน, บล็อกเชน ไปจนถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
ในขณะที่ธนาคารกลางสิงคโปร์ ก็เป็นผู้ริเริ่มจัดงาน Singapore FinTech Festival ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2016 และจัดขึ้นติดต่อกันมาเป็นประจำทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นมหกรรม FinTech ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ปัจจุบัน ธนาคารสิงคโปร์ที่ใหญ่ที่สุด 3 แห่ง คือ DBS, OCBC และ UOB
ล้วนเป็น 3 ธนาคารที่ใหญ่อันดับต้น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน มีผลิตภัณฑ์การเงินที่หลากหลาย ทั้งประกันภัย ผลิตภัณฑ์การลงทุนต่าง ๆ ไปจนถึงสกุลเงินดิจิทัล
ภาคบริการการเงินคิดเป็นสัดส่วนราว 7.4% ของการส่งออกสินค้าและบริการของสิงคโปร์ ซึ่งบริการขั้นสูงเหล่านี้ มีส่วนสำคัญที่ผลักดัน GDP ต่อหัวของชาวสิงคโปร์ให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ
ในปี 1965 ที่ก่อตั้งประเทศ ชาวสิงคโปร์เคยมี GDP ต่อหัวน้อยกว่า เจ้าอาณานิคมอย่างสหราชอาณาจักร ประเทศแห่งนวัตกรรมอย่างเยอรมนี หรือประเทศมหาอำนาจในเอเชียอย่างญี่ปุ่น
แต่ในปี 2020 GDP ต่อหัวชาวสิงคโปร์แซงหน้าประเทศเหล่านี้ทั้งหมด และมากเป็นเกือบ 1.5 เท่า ของอดีตเจ้าอาณานิคม..
เรื่องทั้งหมดนี้เกิดจากการวางแผนระยะยาว
ทั้งการเตรียมทรัพยากรมนุษย์ให้พร้อมสำหรับงานบริการ
การพัฒนาประเทศให้โปร่งใสและมีความน่าเชื่อถือในระดับสากล
รวมไปถึงการช่วยเหลือของภาครัฐในทุก ๆ ด้าน
จากเมืองท่าศูนย์กลางการค้า สิงคโปร์ก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการเงินของภูมิภาค และกำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีทางการเงินแห่งศตวรรษที่ 21
เรื่องราวของประเทศเกาะมหัศจรรย์แห่งนี้ บอกให้เรารู้ว่า
เมื่อเริ่มเป็นศูนย์กลางอะไรสักอย่าง และสั่งสมประสบการณ์จนมากพอแล้ว
ก็จะง่ายในการดึงดูดสิ่งใหม่ ๆ และกลายเป็นศูนย์กลางด้านอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
และในวันนี้ สิงคโปร์กำลังเตรียมพร้อมทุกอย่าง
สำหรับการเป็นศูนย์กลางอีกหลายด้าน ที่กำลังจะเกิดขึ้นในโลกอนาคต..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-http://prp.trf.or.th/download/2538/
-https://atlas.cid.harvard.edu/explore?country=undefined&product=404&year=2019&productClass=HS&target=Product&partner=undefined&startYear=undefined
-https://remembersingapore.org/2011/10/07/money-never-sleeps-a-brief-history-of-banking-in-sg/
-https://lkyspp.nus.edu.sg/docs/default-source/case-studies/entry-1516-singapores_transformation_into_a_global_financial_hub.pdf
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?locations=SG-GB-JP-DE
-https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/dbs-cryptocurrency-trading-130964?fbclid=IwAR2VVHEH9_n29fpyXSQ6EgSGDm63Lhm3aQF0aj7I8LIQ_B2wgjIXSazIVxU
同時也有14部Youtube影片,追蹤數超過733的網紅UTAR Media,也在其Youtube影片中提到,By LXXI.71 / UTAR FCI Department of Media / Broadcasting In the memory of our HERO - LaShawn Producer: Yong Jia Lyn Director: Lai Kuan Chew Scriptw...
「lee kuan yew」的推薦目錄:
- 關於lee kuan yew 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於lee kuan yew 在 Lee Hsien Loong Facebook 的精選貼文
- 關於lee kuan yew 在 Eric's English Lounge Facebook 的最讚貼文
- 關於lee kuan yew 在 UTAR Media Youtube 的最佳解答
- 關於lee kuan yew 在 謙預 QianyuSG Youtube 的精選貼文
- 關於lee kuan yew 在 Ghib Ojisan Youtube 的最讚貼文
- 關於lee kuan yew 在 The Man Who Built Singapore: Lee Kuan Yew - YouTube 的評價
- 關於lee kuan yew 在 KEEP the EVIL FORCES Away From Singapore! | Lee Kuan Yew 的評價
- 關於lee kuan yew 在 Remembering Lee Kuan Yew - Facebook 的評價
lee kuan yew 在 Lee Hsien Loong Facebook 的精選貼文
Yesterday marked a significant anniversary few know about. 70 years ago, on 7 August 1951, Mr Lee Kuan Yew was called to the Singapore Bar. As a lawyer, he often represented trade unions pro bono. This paved the way for him to enter politics, and eventually become Singapore’s Founding Prime Minister.
As PM, Mr Lee took an active hand in creating a robust system of laws and an effective legal framework. Thanks to his efforts, today we enjoy the rule of law, and good law and order prevails in Singapore. – LHL
#SGFolkLaw
lee kuan yew 在 Eric's English Lounge Facebook 的最讚貼文
我們到底應該用哪一種英文口音溝通?
真的要看同學的目的和說話場合是什麼。
若是為了跟聽眾產生共鳴,那可能用他們熟悉的口音和說話方式,你說的話才會直達到他們的心坎裡。
同學來看一下Presentality分析李光耀 (新加坡開國最主要的領導人)與人民溝通的方式和他選擇使用的口音。
★★★★★★★★★★★★
📌 不知為何,幾天前我的 Youtube 突然推薦了前新加坡總理李光耀 (Lee Kuan Yew) 接受西方媒體採訪的影片。
我知道很多名人說李光耀是他們最敬佩的領導人之一,但我從來沒看過他說話的影片, 我就決定來看看他是否真的很會溝通。
結果,我的天啊,太強大了。
就算影片是幾十年前的,影像跟聲音的畫質都不是很好,你還是可以感受到他講話的力道、威嚴、還有魅力:
https://youtu.be/VexrmTacOAA
我們就來解析他的一些溝通及說話技巧吧。
★★★★★★★★★★★★
📌 如果這是你第一次聽他說話,你第一個注意到的,很可能是他的英文有多流利。畢竟人家可是在英國劍橋大學受教育的,英文根本就是母語。
但除了口音之外,最能展現語文能力的,是他的用字遣詞。
選擇有效的字眼,及潛在意義。
當第一位記者問他,他對美國在越戰使用武力的看法時(有點敏感啊!),他的回答,每個字都選擇的很巧妙。
*我把值得注意的幾個字,用大寫標示起來:
I would like to see a great deal more CAUTION, a more SELECTIVE EXERCISE of your enormous range of weapons you’ve got, and more BRAINS AND FEET — preferably Vietnamese brains and feet — rather than more power and GADGETRY.
他回答這個問題的時候當然要小心,不能過度批評美國政府,所以他選的字,也符合了這位記者想要表達的 “restraint” (克制)
•Caution — 會比 “Should use power more carefully” 要來的更溫和 (你可以自己唸出來看看,連 caution 的字本身都比較柔和)。
•Selective — 他不告訴美國怎麼使用武力,只是說 be selective,就是要選擇性的使用。
•Brains and feet, rather than gadgetry — 這邊也很巧妙,把當地的人,用 brains and feet 來代表,更能強調他們的長處,比 “local people” 更能夠有說服力。而且他選擇 gadgetry — 就是 fancy tools 的意思,但其實就是武器,但如果他說武器就太直白了,說成 “fancy tools” 又可以強調這個的短處,讓人覺得沒錯,brains and feet 確實比較好。
他能夠選擇好的字眼的原因,其中當然有他受過的教育、以及過去累積的經驗。但同樣重要的,是他不疾不徐的風格。
如果我們把他現場說出上面那段話的每個停頓點寫出來,變成分行,會變成這樣:
I would like…
… to see a great deal more caution…
… a more selective exercise of…
your…
enormous range of weapons you’ve got, and uh…
more brains and feet…
他幾乎每幾個字就會停頓一下,不但給自己時間思考,也可以表現出深思熟慮的感覺。
適時的停頓,可以讓你沈穩、有力!
停頓加上強調字眼的力道有多強大,我們看接下來這段就知道了,這也是我整個訪談中最喜歡的一段之一,在影片中的 17分25秒左右開始。
他對記者表示,他這次來美國,是要看美國人對於越戰,是否真的有決心。
我同樣把他停頓的地方分行,而且用大寫,表示他特別強調的字:
You MUST demonstrate, and which…
I’ve really come here to understand better…
is whether YOU…
as a PEOPLE…
have got that resolution (註:不是解決的意思喔,是決心)…
that stamina, that perseverance, AND…
most important of all…
*這裡明顯放慢速度,還對聽眾眨眼一下
infinite patience, AND…
*這裡一個超級長的停頓…
the capacity to hold back…
your desire to settle this quickly and get it over with, because this is a very different kind of war…
The other side is not in uniform. You are.
*還記得我們上次提到的長短句交錯嗎?這一段是不是就有用到這個原則呢?
我相信看上面的一段,就可以感受到他說話的力道,但還是推薦大家去看影片。這段話他 deliver 出去的方式,實在太好了。
尤其是說到 “infinite patience” 的時候,他整個把音拉的超級長,似乎想要讓很長很長的音,來讓聽眾感受到那個 “infinite”。
Note: 這是另一個演講技巧:就是讓你的音調、語氣、音量等等,來傳達字面上的意思。沈重的訊息,就用低沈緩慢的方式來說。要強調時間很長或過的很慢,就把字句的音本身拉長等等。
他連說到這段的時候,臉上的表情都很有趣,好像在跟美國人上一課:
★★★★★★★★★★★★
📌 Speaking the Audience’s Language
李光耀也很會看聽眾來調整自己的溝通方式。
如上面提到,李光耀上面對西方媒體說話的用字,都是比較有學問的,完全展示他的知識水平。畢竟東方人到了西方,不能被看貶。如果他說的是 highly-educated English,西方聽眾會比較覺得 ah he’s on our level!
你看看他對自己生涯的回顧,寫的多文雅:
I am not given to making sense out of life — or coming up with some grand narrative on it — other than to measure it by what you think you want to do in life.
他不是寫 “I don’t try to make sense of life”,而是 “I am not given to making sense out of life”。他還在後面加個 “grand narrative”。滿文學的。
但他跟自己國家的老百姓說話,就不是這樣了,也不能這樣。
把上面他跟西方媒體訪談的英文,與下面這個對新加坡人民做的演說相比,就很明顯了。甚至連口音也變了!
https://youtu.be/bGMKiv8-bzM
開頭他說:
I hope to tell you what merger means, why it’s good for all of us, why it’s coming, and why some people are deliberately creating trouble and difficulty…
很白話文對不對?
他就是一個很會看聽眾說話的人。當地媒體就曾經指出...
📌 完整文章請參考Presentality! Learn from their experience and expertise!
★★★★★★★★★★★★
📌 我以前一直認為,反正新加坡不算個民主,李光耀完全掌權,當然可以照他自己的意思去做事情。但看完這些影片,讀了一些分析,發現我想錯了。
新加坡這麼小的地方,沒什麼資源,周圍環繞著這麼多的勢力,不但有東南亞的大國們,也有外來的勢力:美國、英國、澳洲、日本等等… 他是如何在這麼複雜的歷史背景下,不只持續掌權,生存,而且還打造今天的新加坡?
我相信他的溝通能力,一定是關鍵:對不同的勢力,在不同的時機點,用對的故事跟語言,傳達他需要傳達的訊息。
It’s not just about speaking. It’s about speaking to achieve your goals.
★★★★★★★★★★★★
相關詞彙:
•accent 口音,腔調
•pronunciation 發音
•enunciate 清楚地念(字);清晰地發(音)
•intonation (尤指對話語意義有影響的)語調,聲調
•intelligibility 可解度,清晰度,可懂度,明瞭度,可理解性
BBC發音相關文章:
https://www.bbc.com/ukchina/trad/vert-fut-43590187
lee kuan yew 在 UTAR Media Youtube 的最佳解答
By LXXI.71 / UTAR FCI Department of Media / Broadcasting
In the memory of our HERO - LaShawn
Producer: Yong Jia Lyn
Director: Lai Kuan Chew
Scriptwriter: Chan Wei Yew, Ong Hui Yee
Editor: Chua Pei-Nie, Yong Jia Lyn
Camera Operator: Lee Man Zheng, Chua Pei-Nie, Lai Kuan Chew
Technical Assistant: Chin Pek Fong, Fong Kian Loong
Production Assistant: Chin Pek Fong
Sound Operator: Lee Man Zheng, Chan Wei Yew
Talent Coordinator: Chua Year Jing
Translator: Chua Year Jing, Ong Hui Yee
lee kuan yew 在 謙預 QianyuSG Youtube 的精選貼文
******************************
阿彌陀佛,你好!我是李季謙,來自新加坡的風水命理師。我將我的一生貢獻於弘揚佛法和中華玄學。這過程曲折離奇,卻也充滿了許多人生的領悟。
通過我的影音與寫作,我希望能與你分享,盼你也能夠突破自己命運的束縛,真正活得精彩:我命在我,不在天。
人生長短無所謂,最重要的是活得有價值,有貢獻。
??? 服務諮詢 :
https://qianyu.sg/consultations/?lang=zh-hant
聯絡我:
https://qianyu.sg/contact-us/?lang=zh-hant
***********
Hi, I am Lee Ji Qian, a Chinese Metaphysics practitioner from Singapore. This journey in propagating Buddhism and Chinese Metaphysics has been full of hard knocks and exciting discoveries.
Through my videos and online writing, I hope to share my journey with you. So that you too can break free from the limits of your destiny and truly live a life you can call fulfilling. My destiny is in my own hands, not Heaven. So is yours.
It does not matter whether we can live a long or short life.
What matters most is living a life of value and contribution.
??? FOR MY SERVICES:
http://www.qianyu.sg/consultations
CONTACT ME:
https://qianyu.sg/contact-us/
? CONNECT WITH ME HERE:
http://www.facebook.com/qianyuSG
https://www.instagram.com/qianyusg/
*** 我使用的器材 OTHER TECH EQUIPMENT I USE ***
這支影片 FOR THIS VIDEO:
Iphone 11 Pro
3-in-1 Monopod: https://amzn.to/2rJ1M03
Royal Voice Lavalier Mic (out of production)
this comes close : https://amzn.to/2pmj7Ly
相機 CAMERAS
Sony A6400: https://amzn.to/33NLssT
Sony 128GB SD card: https://amzn.to/2NKv6vw
Rode Videomicro : https://amzn.to/350TZsW
Sony Mark III: https://amzn.to/2qOne3g
128GB SD card: https://amzn.to/2Qfnl2n
有聲書錄音器材 AUDIOBOOK RECORDING
Neumann T102: https://amzn.to/34XuFE3
Universal Audio: https://amzn.to/2CIOgM4
Portabooth Plus: https://amzn.to/33MyBHE
其他配件ACCESSORIES:
Zhiyun Crane M Gimbal: https://amzn.to/2Xfd7QZ
Nitecore charger for A6400: https://amzn.to/2Qfo8QT
Extra Sony A6400 battery: https://amzn.to/2Kh3oo8
––––––––––––––––––––––––––––––
Lights by Sappheiros https://soundcloud.com/sappheirosmusic
Creative Commons — Attribution 3.0 Unported — CC BY 3.0
Free Download / Stream: https://bit.ly/LightsSappheiros
Music promoted by Audio Library https://youtu.be/-lbbHQbZNKg
––––––––––––––––––––––––––––––
lee kuan yew 在 Ghib Ojisan Youtube 的最讚貼文
少しセンシティブな内容ですが、動画にしました。シンガポールが『昭南島』と名付けられ、日本に統治されていた時代について。1942年から1945年。わずか80年前ほどの出来事です。
伺ったのは『Civilian War Memorial』。中国語では『日本占領時期死難人民記念碑』、日本語では『血債の塔』と呼ばれています。
この塔、当時は華僑粛清事件(Sook Ching)の慰霊碑をつくるために建築が開始されましたが、最終的には統治時代に犠牲になった全シンガポールの慰霊碑として建築されました。
シンガポールと日本の歴史は、意外に知られていない印象です。(シンガポール人は大体知っていますが)。
ぼくもまだまだ勉強不足ですので間違ったこと言ってたらすみません。ぜひご自身でも色々調べてみてください。
ぼくは現地に住む日本人として、シンガポール人の懐の深さに感謝します。
最後に、「行ってみたい」という方向けに場所のリンクを貼っておきます。
https://goo.gl/maps/vJ1gyJrzFa1cnAwB7
?チャンネル登録: http://urx3.nu/HTUJ
この動画が少しでも面白かったらぜひグッドボタン&チャンネル登録お願いします!隣のベルマークを押せば動画更新時に通知がいきます。みなさんからのコメントもすべて読んでいますのでお気軽に^^
シンガポール観光情報サイトオープン!
▶https://nekkyo-singapore.com/
-----
スポンサーさま
★株式会社テイクシータ ルームランプLED専門店
https://item.rakuten.co.jp/senmontentt/hed01k5s0sr1h0/
★なかがわ野菊の里 https://www.youtube.com/user/nogikunosato
★宮古島ジョージ https://www.youtube.com/channel/UCVp87gDAL4SOoRMGCoDXfDA
楽器スポンサーさま
★YAMAHA Singapore FGX5 https://sg.yamaha.com/index.html
スポンサーにご興味ある方は https://www.ghib-oji.com/contact/ よりご連絡ください。
-----
シンガポールの観光チケットが最大60%OFF
▶https://www.govoyagin.com/ja/things-to-do/singapore/tickets?acode=ghibli-ojisan
ジブリおじさんに仕事を依頼する
▶https://www.ghib-oji.com/service/
究極の飯テロ!旅するグルメチャンネル『Taberu Travel』
▶https://www.youtube.com/c/TaberuOjisan
ジブリおじさんの撮影機材
▶https://www.ghib-oji.com/my-equipment/
使用音楽
▶https://www.epidemicsound.com/referral/y1s93n/
#シンガポール #歴史
━━━━━━━━━━━━
✔️チャンネル登録!(subscribe)
http://urx3.nu/HTUJ
━━━━━━━━━━━━
?SNS・ブログ
・Instagram → https://www.instagram.com/ghibli_ojisan/
・Twitter → https://twitter.com/ghibli_ojisan
・Blog→ https://www.ghib-oji.com/
━━━━━━━━━━━━
?おすすめ動画3選!
・台湾・九份で「いつも何度でも」を弾いてみた
https://youtu.be/WudKhqj_Na8
・イタリアでトトロ弾いた結果…
https://youtu.be/3NptDf229nk
・サマルカンドでザナルカンドを弾いてみた
https://youtu.be/_jhMSsAFKPQ
━━━━━━━━━━━━
?自己紹介
会社を辞め、ギターを持って旅に出たGhibli Ojisan(ジブリおじさん)です。11ヶ月で27カ国訪れ、世界各地でジブリのインストや叩き系ギターを弾いてきました。
2018年8月にYouTube公式「急上昇クリエイター」として選出されたことをキッカケに、海外旅行やシンガポールについての動画もアップし始めました。
世界旅行後は台湾1ヶ月プチ移住、ノルウェー3ヶ月生活(農業ボランティア)など経験し、2019年1月にシンガポールに拠点を移しました。
音楽系・旅系の動画をアップしていますので、よろしければチャンネル登録と各種SNSのフォローお願いします!
→チャンネル登録 http://urx3.nu/HTUJ
━━━━━━━━━━━━
▼お問い合わせ
お仕事のご依頼・お問い合わせはコチラ→ https://www.ghib-oji.com/contact/
3〜5日以内に返信いたしますが、返信ない場合はTwitter/InstagramのDMにてお願いします
lee kuan yew 在 KEEP the EVIL FORCES Away From Singapore! | Lee Kuan Yew 的推薦與評價
Lee Kuan Yew's Top 10 Rules For Success: In this video we're going to learn how to improve our lives by analyzing our take on Lee's rules ... ... <看更多>
lee kuan yew 在 Remembering Lee Kuan Yew - Facebook 的推薦與評價
Remembering Lee Kuan Yew 。 263229 個讚· 15 人正在談論這個。 Welcome to the official Remembering Lee Kuan Yew Facebook Page. ... <看更多>
lee kuan yew 在 The Man Who Built Singapore: Lee Kuan Yew - YouTube 的推薦與評價
Lee Kuan Yew is renowned to be the founding father of Singapore, the day he was sworn into office was the day Singapore's economics was just ... ... <看更多>