ประกาศฉบับที่ 2
ตามที่มีกระแสข่าวในสื่อสังคมเรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย ขอยืนยันว่า
1. การคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยภาพรังสีเต้านม (mammography หรือ mammogram) ถือว่าเป็นการตรวจคัดกรองมาตรฐานสำหรับมะเร็งเต้านมที่ทำกันมาอย่างยาวนานและแพร่หลาย มีข้อมูลหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ถึงประโยชน์ และความคุ้มค่า อย่างเพียงพอ และเป็นเครื่องมือตรวจที่ได้รับการพิสูจน์จากผลการวิจัยทั่วโลก ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน โดยสามารถลดอัตราตายจากมะเร็งเต้านมเนื่องจากสามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะก่อนแสดงอาการ ทำให้สามารถเริ่มการรักษาได้อย่างรวดเร็ว ช่วยรักษาชีวิตผู้ป่วย และเพิ่มคุณภาพชีวิตภายหลังการรักษา
2. การตรวจด้วยเครื่องตรวจแมมโมแกรม มีการควบคุมปริมาณรังสีให้ปลอดภัยต่อผู้รับการตรวจตามมาตรฐานทางรังสี ได้รับการยอมรับจากสมาคมรังสีแพทย์แห่งอเมริกาและยุโรปเพื่อในการใช้ตรวจคัดกรองหามะเร็งเต้านมในผู้หญิง ปริมาณรังสีที่ได้รับจากการตรวจแมมโมแกรมมีค่าน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณรังสีทั่วไปที่ได้รับจากสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน โดยพบว่าการตรวจแมมโมแกรมหนึ่งครั้งได้รับปริมาณรังสีโดยเฉลี่ยเพียง 0.4 mSv ซึ่งเท่ากับปริมาณรังสีที่ได้รับจากสิ่งแวดล้อมประมาณ 7 สัปดาห์ (รังสีที่บุคคลทั่วไปได้รับจากธรรมชาติ ประมาณ 3.0 mSv ต่อปี)
3. สำหรับการตรวจ MRI ของเต้านมนั้นไม่แนะนำให้ตรวจเพื่อคัดกรองมะเร็งเต้านมในผู้ป่วยทั่วไปเนื่องจากใช้เวลาในการตรวจนาน พบผลบวกลวงจากการตรวจได้บ่อยและมีข้อจำกัดในการตรวจหามะเร็งเต้านมบางชนิด โดยทั่วไปตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยใช้เครื่อง MRI มักจะใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงเท่านั้น
ตัวอย่างกลุ่มผู้ป่วยที่อาจมีความจำเป็นต้องได้การตรวจ MRI เต้านมในทางคลินิก ได้แก่
3.1 ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยที่มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม หรือตรวจพบยีน BRCA 1/2 (มีความเสี่ยงสูงกว่าบุคคลทั่วไปร้อยละ 15-20) โดยแพทย์จะประเมินจากหลายปัจจัยร่วมกัน จะทำการตรวจปีละ1 ครั้ง เพิ่มเติมจากการคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยภาพรังสีเต้านม (mammography หรือ mammogram) และอัลตราซาวด์
3.2 ตรวจเพื่อวินิจฉัย หรือเพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติม, เพื่อดูความลุกลามของมะเร็งเต้านมกรณีที่สงสัยว่ามีจำนวนหลายก้อนในข้างเดียวกัน หรือในเต้านมอีกข้างหนึ่ง, เพื่อดูการตอบสนองต่อยาเคมีบำบัด หรือ เพื่อช่วยวินิจฉัยหากสงสัยการกลับเป็นซ้ำของโรคหลังผ่าตัดรักษา
อย่างไรก็ตามเครื่องมือแต่ละชนิดทั้งแมมโมแกรม อัลตราซาวด์และ MRI มีคุณสมบัติในการตรวจวินิจฉัยเต้านมที่แตกต่างกันไป การตรวจ MRI ควรเลือกตรวจเฉพาะรายที่จำเป็นเท่านั้น แมมโมแกรมยังถือเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ตรวจคัดกรองและวินิจฉัยมะเร็งเต้านมที่ทำได้ง่าย รวดเร็ว และเหมาะสมที่สุดในปัจจุบัน
ทั้งนี้เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนที่จากกระแสข่าวดังกล่าว ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทยจึงขอยืนยันว่าควรตรวจเต้านมเป็นประจำทุกปีด้วยแมมโมแกรมในสตรีที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ส่วนการตรวจเต้านมด้วย MRI นั้นทำเฉพาะในผู้ที่แพทย์เห็นว่ามีความจำเป็นเท่านั้น
คณะอนุกรรมการ หลักสูตรเพื่อประกาศนียบัตรในวิชาชีพเวชกรรม อนุสาขาด้านภาพวินิจฉัยเต้านม
ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「mammography」的推薦目錄:
mammography 在 Drama-addict Facebook 的最佳解答
การตรวจ Mammogram มีความปลอดภัยครับ ช่วยกันแชร์วนไปครับ ก่อนที่คนจะหลงเชื่อข้อมูลเท็จ ไม่ยอมไปตรวจ แล้วหญิงไทยจะตายจากมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นเป็นเบือ
ประกาศฉบับที่ 2
ตามที่มีกระแสข่าวในสื่อสังคมเรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย ขอยืนยันว่า
1. การคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยภาพรังสีเต้านม (mammography หรือ mammogram) ถือว่าเป็นการตรวจคัดกรองมาตรฐานสำหรับมะเร็งเต้านมที่ทำกันมาอย่างยาวนานและแพร่หลาย มีข้อมูลหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ถึงประโยชน์ และความคุ้มค่า อย่างเพียงพอ และเป็นเครื่องมือตรวจที่ได้รับการพิสูจน์จากผลการวิจัยทั่วโลก ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน โดยสามารถลดอัตราตายจากมะเร็งเต้านมเนื่องจากสามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะก่อนแสดงอาการ ทำให้สามารถเริ่มการรักษาได้อย่างรวดเร็ว ช่วยรักษาชีวิตผู้ป่วย และเพิ่มคุณภาพชีวิตภายหลังการรักษา
2. การตรวจด้วยเครื่องตรวจแมมโมแกรม มีการควบคุมปริมาณรังสีให้ปลอดภัยต่อผู้รับการตรวจตามมาตรฐานทางรังสี ได้รับการยอมรับจากสมาคมรังสีแพทย์แห่งอเมริกาและยุโรปเพื่อในการใช้ตรวจคัดกรองหามะเร็งเต้านมในผู้หญิง ปริมาณรังสีที่ได้รับจากการตรวจแมมโมแกรมมีค่าน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณรังสีทั่วไปที่ได้รับจากสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน โดยพบว่าการตรวจแมมโมแกรมหนึ่งครั้งได้รับปริมาณรังสีโดยเฉลี่ยเพียง 0.4 mSv ซึ่งเท่ากับปริมาณรังสีที่ได้รับจากสิ่งแวดล้อมประมาณ 7 สัปดาห์ (รังสีที่บุคคลทั่วไปได้รับจากธรรมชาติ ประมาณ 3.0 mSv ต่อปี)
3. สำหรับการตรวจ MRI ของเต้านมนั้นไม่แนะนำให้ตรวจเพื่อคัดกรองมะเร็งเต้านมในผู้ป่วยทั่วไปเนื่องจากใช้เวลาในการตรวจนาน พบผลบวกลวงจากการตรวจได้บ่อยและมีข้อจำกัดในการตรวจหามะเร็งเต้านมบางชนิด โดยทั่วไปตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยใช้เครื่อง MRI มักจะใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงเท่านั้น
ตัวอย่างกลุ่มผู้ป่วยที่อาจมีความจำเป็นต้องได้การตรวจ MRI เต้านมในทางคลินิก ได้แก่
3.1 ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยที่มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม หรือตรวจพบยีน BRCA 1/2 (มีความเสี่ยงสูงกว่าบุคคลทั่วไปร้อยละ 15-20) โดยแพทย์จะประเมินจากหลายปัจจัยร่วมกัน จะทำการตรวจปีละ1 ครั้ง เพิ่มเติมจากการคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยภาพรังสีเต้านม (mammography หรือ mammogram) และอัลตราซาวด์
3.2 ตรวจเพื่อวินิจฉัย หรือเพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติม, เพื่อดูความลุกลามของมะเร็งเต้านมกรณีที่สงสัยว่ามีจำนวนหลายก้อนในข้างเดียวกัน หรือในเต้านมอีกข้างหนึ่ง, เพื่อดูการตอบสนองต่อยาเคมีบำบัด หรือ เพื่อช่วยวินิจฉัยหากสงสัยการกลับเป็นซ้ำของโรคหลังผ่าตัดรักษา
อย่างไรก็ตามเครื่องมือแต่ละชนิดทั้งแมมโมแกรม อัลตราซาวด์และ MRI มีคุณสมบัติในการตรวจวินิจฉัยเต้านมที่แตกต่างกันไป การตรวจ MRI ควรเลือกตรวจเฉพาะรายที่จำเป็นเท่านั้น แมมโมแกรมยังถือเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ตรวจคัดกรองและวินิจฉัยมะเร็งเต้านมที่ทำได้ง่าย รวดเร็ว และเหมาะสมที่สุดในปัจจุบัน
ทั้งนี้เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนที่จากกระแสข่าวดังกล่าว ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทยจึงขอยืนยันว่าควรตรวจเต้านมเป็นประจำทุกปีด้วยแมมโมแกรมในสตรีที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ส่วนการตรวจเต้านมด้วย MRI นั้นทำเฉพาะในผู้ที่แพทย์เห็นว่ามีความจำเป็นเท่านั้น
คณะอนุกรรมการ หลักสูตรเพื่อประกาศนียบัตรในวิชาชีพเวชกรรม อนุสาขาด้านภาพวินิจฉัยเต้านม
ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย
mammography 在 ĒSEN 你的醫生朋友 Facebook 的精選貼文
/
十月,國際乳癌防治月。
關於乳癌的防治,你必須知道這些事:
🥛怎麼吃:
1. 多吃海藻類、十字花科植物及含omega3不飽和脂肪酸的食物,對抗自由基
2. 減少動物脂肪攝取,如:肥肉、五花肉、香腸...等等
3. 補充纖維質,如:蔬菜、水果、全穀根莖類
📷怎麼防:
1. 45-69歲女性及40-44歲具乳癌家族病史之女性,每兩年進行一次乳房X光攝影檢查(免費的喔~)
2. 保持規律運動好習慣!減少體內脂肪量。
3. 20歲以上女性可進行自我乳房檢查,有觸摸到腫塊請至醫院做進一步檢查!
4. 多生孩子,或母乳親餵都可以減少乳癌的發生率喔!
粉紅十月,tag一個朋友,一起攜手防治乳癌!
/
-ēSEN
_
.
.
.
#esenfrd #esenfriend #你的醫生朋友 #醫生 #醫療 #健康生活 #生活醫學雜誌 #生活醫學 #乳癌 #國際乳癌防治月 #breastcancer #breastcancerawarenessmonth #mammography #pink #pinkmonth #instadaily #photo #lifestyle #picoftheday #beautiful #photooftheday #photography
mammography 在 Mammography - YouTube 的推薦與評價
A mammography procedure uses low-dose x- rays to view and detect changes in breast tissue. An anatomical overview of a woman's breast and ... ... <看更多>