[大師冇點你] 真係咪Q講笑,以前我返星展,都應該寫啲咁嘅嘢,仲要冇後面咩每日一圖 Good Read嗰啲。甚至我而家寫得仲好過當年,詳細過當年。仲要我而家係6點鐘已經寫完send 埋,換著以前?下午四五點啦
當然一個關鍵係,我寫完陣間食埋早餐就瞓,星展唔會畀我咁做。但亦證明根本佢哋以為高薪厚職,但啲繁文縟節係完全拖低生產力,又要跟格式呀又要乜柒。我肯定當年啲客寧願我半夜寫完然後瞓覺,好過我返到公司先寫。「最理想梗係你4點起身寫完然後返公司開會添」,係呀可。但,why join the navy when you can be pirate?而家我就有資格講啦!既然根本我自己直接賣畀讀者都得,咁以前啲錢咩人拎走?
==============
2021比別人知得多。subscribe now(https://bityl.co/4Y0h)。Ivan Patreon,港美市場評點,專題號外,每日一圖,好文推介。每星期6篇,月費80,半年已1600人訂! 畀年費仲有85折
==============
勞蘇講完,講正題。萬眾期待聯儲局議息會議。
講到尾,睇你點睇,都係narrative,fit story.我見報紙嘅頭條係:聯儲局2023年加2次息,股市重挫,債息狂升。
但,講真,邊個care 2023年發生嘅事?股市當然炒預期,但我當呢個月股災都好,咁接下嚟2021年下半年你可以做乜?繼續擔心2年之後未必會出現嘅加息?點講都唔合符常識。市場反映嘅「預期」可以幾遠?唔易量化,但目測最多咪一年半年?
Patreon入面,我同你睇返聯儲局嘅 點陣圖。冇錯,2023年加兩次息,3月嗰時冇講。但,上次一樣都有幾條友(圖中一粒粒豆鼓)覺得2023年加息,只係今次開始夠半數,變成共識。非常正路
另外,Patreon我有同你睇晒聯儲局兩次嘅經濟數據預測。個個只係留意2021年佢上調咗,但鬼唔知咩,上半場入咗2球你全場開入球小個賠率當然變晒啦。
個重點係:2022 2023嘅通脹預測,差不多完全冇郁!根本完全符合返聯儲局覺得通脹只係暫時嘅劇本。
仲有,福爾摩斯話齋,唔好睇有乜發生,睇有乜冇發生。局方完全冇討論收水,亦冇打算停買債。
咁你話,跌乜?痴線,即使最深時都不過係400點,1.5%都唔夠。咁又話大跌嘅,返屋企食老少平安啦,股市好危險架!況且,你可以睇下時間,根本係出聲明前跌,出完收復唔少失地。
仲有,你不妨望下個VIX,唔知發生咩事嘅,Patreon入面有講。
債息呢?冇錯係彈升,1.50%彈到1.60%,都算多。但亦不過返返月頭嘅水平。呢下亦都幾合理,因為擺明短期聯儲局唔會做啲乜了,通脹短期會持續。
至於最後一個問題?既然短期通脹會上,咁影唔影響企業盈利?用個好簡單嘅例子答你:人類N咁多年嘅歷史都係通脹,但企業盈利亦係越升越高,企業盈利部份咪嚟自通脹咯!股價係nominal thing嘛。企業盈利都係。
你話:唔係喎,成本會上升喎。成本上升?當然係轉嫁落去消費者身上。你以為你加人工 收支票嘅錢,企業會唔渣乾你?
當然,唔係所有企業有咁嘅能力。但,就係最大嘅公司咪有啲能力,而指數入面就係最大嘅公司。都係嗰句,NetFlix下個月加價10%,你係咪轉睇TVB?
應下景,每日一圖甚至Good Read都係經濟嘢。
第一個圖,見到美國企業負債比率(相對GDP)去到70年新高!咁末日論嘅又會覺得,加息你仲唔仆街?但根本係本末倒置:就係因為你低息我先借咁多錢嘛!做回購又好,買嘢又好,乜都得。成件事係掉轉睇:咁情況下,可以有幾多加息空間?唔好忘記政府嘅情況都係咁!
仲唔信嘅,我嘅理論係好似乒乓波或藍球彈地咁,越彈越冇力。2005一浸加息加到5%,2015上一浸只係加到3%左右。下次呢?你覺得點?
第二個圖,講返有幾多通脹,係嚟自舊年嘅低基數效應。舊年呢個時間,好多價格都跌落去(機票錢,酒店租之類)。所以聯儲局嗰套「只係暫時」似乎合理的。詳情就睇文啦。
Good Read 兩篇。第一篇講 High frequency Indicator,唔係高頻交易,而係經濟指票。實情你去數下有幾多人搭地鐵,有幾多人訂餐廳,咪知個recovery係點咯。我根本唔使等到第二季完晒之後再多一個月,政府出嚟公佈,我先知經濟得唔得。咁呢啲嘢有乜Implication?就文入面講
第二篇,教你如何做sell side economist,十分正點。我特別鍾意講圖嘅一段,搞錄如下:
Mastering Chartism: It is possible to show a relationship between almost any two variables in macroeconomics as long as you can display them on two axes and are willing to spend enough time manipulating the second axis, experimenting with data lags, inversions or various moving averages. If you still can’t make the relationship work, extend your history to cover the Global Financial Crisis; everything looks correlated during the GFC.
係喎,你可以Google返篇文出嚟,貼得出嚟唔怕畀你搵,反正都係免費文。但冇我嘅導讀,「冇我嘅練馬師,你嘥咗隻馬喎」。快啲重金禮聘個練馬師,即係我啦。正如咩聯儲局議息聲明,點陣圖,呢啲全部都公開資料啦。但,冇我嘅導讀,「嘥咗隻馬喎」。
佢冇話你知咩?
==============
2021比別人知得多。subscribe now(https://bityl.co/4Y0h)。Ivan Patreon,港美市場評點,專題號外,每日一圖,好文推介。每星期6篇,月費80,半年已1600人訂! 畀年費仲有85折
==============
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過12萬的網紅prasertcbs,也在其Youtube影片中提到,การสร้างกราฟแท่งจากการนับความถี่ของข้อมูลแบบ categorical (nominal, ordinal) แบบต่าง ๆ ด้วย ggplot2 ดาวน์โหลดไฟล์ตัวอย่างได้ที่ https://goo.gl/eU9yT7 เ...
「nominal data」的推薦目錄:
- 關於nominal data 在 Facebook 的最讚貼文
- 關於nominal data 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於nominal data 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於nominal data 在 prasertcbs Youtube 的最佳解答
- 關於nominal data 在 Types of Data: Nominal, Ordinal, Interval/Ratio - Statistics Help 的評價
- 關於nominal data 在 How to handle the Nominal Data by Weka J48 - Stack Overflow 的評價
- 關於nominal data 在 Is nominal, ordinal, & binary for quantitative data, qualitative ... 的評價
nominal data 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
ทำไม เงินเฟ้อต่ำ ถึงทำให้ เงินบาทแข็ง /โดย ลงทุนแมน
เงินบาทกำลังกลับมาแข็งค่าอีกครั้งหนึ่ง
กำลังเป็นเรื่องที่หลายคนและหลายฝ่ายกำลังจับตามอง
เพราะการที่เงินบาทแข็งค่า คือเท่ากับว่า
สินค้าและบริการของไทย จะแพงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ
ซึ่งอาจส่งผลกระทบกับผู้ส่งออก และการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาไทยในอนาคต
การแข็งค่าของเงินบาทเกิดมาจากหลายปัจจัย
และปัจจัยหนึ่งที่น่าสนใจ คือ อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำมาอย่างต่อเนื่องของประเทศไทย
ทำไมเงินเฟ้อต่ำ ถึงทำให้เงินบาทแข็งค่าได้?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ค่าเงินบาทอยู่ที่ประมาณ 29 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนที่จะอ่อนค่าลงไปประมาณ 33 บาท ในช่วงไตรมาสที่ 2
ที่ช่วงนั้นเงินบาทอ่อนค่าลงก็เนื่องมาจาก ความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งทำให้นักลงทุนต่างชาติขายทั้งหุ้นและตราสารหนี้ในตลาดการเงินของไทยรวมกันกว่า 324,400 ล้านบาท
ซึ่งหลายคนคิดว่าการขายเงินลงทุนของต่างชาติและนำเงินกลับไปประเทศของพวกเขา จะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลง
แต่รู้ไหมว่า ตอนนี้ ค่าเงินบาทกำลังแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 30 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดวิกฤติโควิด 19 ในประเทศไทยแล้ว
หนึ่งในสาเหตุหลักที่นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า ทำให้เงินบาทแข็งค่า แม้ว่าเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในช่วงฟื้นตัวอย่างช้าๆ ก็ตาม นั่นคือ “อัตราเงินเฟ้อของไทยที่ต่ำมาเป็นเวลานาน”
ในทางเศรษฐศาสตร์ เงินเฟ้อ หมายถึง การด้อยค่าลงของเงินสกุลนั้น ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าภายในประเทศ
ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพคือ
ถ้าปีนี้ อัตราเงินเฟ้อเท่ากับ 5% แล้วเราถือเงินเอาไว้เฉยๆ ในมือ 100 บาท
ในปีหน้า เงินที่อยู่ในมือของเรา จาก 100 บาท จะด้อยค่าลงเหลือเพียง 95 บาท
ถ้ามองในมุมมองของนักลงทุน ประเทศไหนที่เงินเฟ้อสูงนักลงทุนจะไม่ค่อยอยากถือครองเงินสกุลนั้น
เพราะเงินจะด้อยค่าลงอย่างมากถ้าหากถือเงินไว้เฉยๆ หรือนำเงินไปลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนไม่มากพอ
ซึ่งพอคนไม่อยากถือเงินประเทศนั้น สุดท้ายค่าเงินของประเทศนั้นก็จะอ่อนค่าลง
ในทางตรงกันข้าม ประเทศไหนที่เงินเฟ้อต่ำ เงินจะด้อยค่าเพียงเล็กน้อยถ้าถือเงินเอาไว้ ซึ่งจะดึงดูดให้นักลงทุนจากต่างประเทศนำเงินมาแลกเป็นสกุลเงินนั้นมากขึ้น และจะทำให้เงินของประเทศนั้นแข็งค่าในที่สุด
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ คือ เวเนซุเอลา ประเทศที่ประสบภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง จนทำให้เงินโบลิวาร์ไม่ต่างจากแผ่นกระดาษที่ไร้ค่าในช่วงที่ผ่านมา
ปี 2016 อัตราเงินเฟ้อในเวเนซุเอลาเท่ากับ 255% ขณะที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 9.9 โบลิวาร์
ปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อในเวเนซุเอลา สูงถึงประมาณ 15,000%
ทำให้ค่าเงินโบลิวาร์อ่อนค่าลงอย่างหนักไปอยู่ที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 915,400 โบลิวาร์
พอเรื่องเป็นแบบนี้ก็ไม่มีใครอยากถือครองเงินสกุลโบลิวาร์
ตัดกลับมาที่ประเทศไทย ที่ในช่วงที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อของประเทศนั้นถือว่าต่ำมาก
ปี 2018 อัตราเงินเฟ้อของไทยเท่ากับ 1.1%
ปี 2019 อัตราเงินเฟ้อของไทยเท่ากับ 0.7%
และในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2563 อัตราเงินเฟ้อของไทยนั้นเท่ากับ -0.9%
โดยปรากฏการณ์เงินเฟ้อติดลบ ในทางเศรษฐศาสตร์เราจะเรียกว่า “ภาวะเงินฝืด”
ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อระดับราคาสินค้าและบริการลดลงอย่างต่อเนื่องนั่นเอง
ในมุมของธนาคารกลาง ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลและควบคุมการไหลเข้าและออกของเงิน
ถ้าธนาคารกลางอยากให้ค่าเงินในประเทศอ่อนค่าลง
ก็จะกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้ลดต่ำลง
เพื่อกดดันให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศลดลง
ซึ่งจะทำให้เกิดเงินทุนไหลออก เพราะนักลงทุนไม่อยากได้ผลตอบแทนจากการลงทุนน้อยลง
ในทางกลับกัน ถ้าธนาคารกลางอยากให้ค่าเงินในประเทศแข็งค่าขึ้น
ก็จะกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้เพิ่มสูงขึ้น
เพื่อดันให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศเพิ่มขึ้น
ซึ่งจะทำให้เกิดเงินทุนไหลเข้า เพราะนักลงทุนอยากได้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่มากจากประเทศนั้น
และอัตราดอกเบี้ยที่นักลงทุนมองกันก็คือ “อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real interest rate)”
ซึ่งก็คืออัตราดอกเบี้ยที่ระบุไว้ (Nominal interest rate) ลบด้วย อัตราเงินเฟ้อ
เมื่อมองไปที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ปัจจุบัน อยู่ที่ 0.5% อัตราเงินเฟ้อของไทยนั้นเท่ากับ -0.94% นั่นหมายว่า จริงๆ แล้ว อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริงของประเทศไทยจะอยู่ที่ 1.44%
เมื่อเทียบกับประเทศอื่น อย่างเช่นสหรัฐอเมริกา
10 เดือนแรกของปีนี้ อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาเท่ากับ 1.2%
และปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ อยู่ที่ 0.0% ถึง 0.25%
ดังนั้น จริงแล้วๆ อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริงของสหรัฐอเมริกา จึงอยู่ในช่วง -0.95% ถึง -1.25% ซึ่งต่ำกว่าประเทศไทย
ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่รวมถึงประเทศอื่นๆ ทั่วโลกที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ประมาณ 0%
จริงๆ แล้วมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็ง เช่น ดุลบัญชีเดินสะพัด หรือ รายได้สุทธิที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ที่ได้จากการส่งออกสินค้า และบริการ
แต่เรื่องเงินเฟ้อต่ำ และ ดอกเบี้ยที่แท้จริง จะเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ดึงดูดให้มีเงินลงทุนต่างชาติไหลเข้ามาในประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงสูงกว่า
ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น
ส่งผลทำให้ค่าเงินบาทนั้นแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
และ เราก็คาดเดาได้ยากว่า เหตุการณ์แบบนี้จะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ หรือไม่
ดังนั้นใครที่ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับค่าเงิน เช่น ผู้ส่งออก และผู้นำเข้า คงต้องมาวางแผนปิดความเสี่ยงเรื่องนี้ กันดีๆ..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.bot.or.th/Thai/_layouts/application/exchangerate/ExchangeRateAgo.aspx#
-https://en.wikipedia.org/wiki/Hyperinflation_in_Venezuela
-https://ycharts.com/indicators/us_dollar_to_venezuelan_bolivar_exchange_rate
-https://www.statista.com/statistics/371895/inflation-rate-in-venezuela/
-https://www.bot.or.th/English/Pages/default.aspx#:~:text=%E2%80%8BOn%2018%20November%202020,at%200.50%20percent%2C%20effective%20immediately.&text=%E2%80%8B%E2%80%8B%E2%80%8B-,%E2%80%8BOn%2018%20November%202020%2C%20the%20MPC%20voted%20unanimously%20to,at%200.50%20percent%2C%20effective%20immediately.
-https://fred.stlouisfed.org/graph/?g=i6u6
-http://www.indexpr.moc.go.th/price_present/cpi/data/index_47.asp?list_month=10&list_year=2563&list_region=country
-http://www.thaibma.or.th/EN/Market/NR/NRDaily.aspx
nominal data 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
เศรษฐกิจเวียดนาม จะแซงไทย จริงหรือ? /โดย ลงทุนแมน
“อีกไม่นานเศรษฐกิจเวียดนามจะแซงประเทศไทย”
ประโยคนี้ จะกลายเป็นความจริง จริงหรือไม่?
ทุกวันนี้ เศรษฐกิจของเวียดนามกับไทย
ห่างไกล หรือ ใกล้เคียงกัน แค่ไหนกันแน่?
และอะไร คือสัญญาณเตือน ที่ทำให้ช่วงนี้ เราได้ยินกันบ่อยขึ้นว่า
เศรษฐกิจของเวียดนาม กำลังจะแซงไทย
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เริ่มต้นกันที่ เศรษฐกิจของ 2 ประเทศ มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ปี 2019 ประเทศไทยมีขนาดเศรษฐกิจ 16.4 ล้านล้านบาท ใหญ่เป็นอันดับที่ 22 ของโลก ประชากรมีรายได้เฉลี่ยคนละ 236,000 บาทต่อปี อยู่อันดับที่ 82 ของโลก
ขณะที่เวียดนาม ในปี 2019 มีขนาดเศรษฐกิจ 7.9 ล้านล้านบาท อยู่อันดับที่ 44 ของโลก ประชากรมีรายได้เฉลี่ยคนละ 82,000 บาท อยู่อันดับที่ 135 ของโลก
และด้วยรายได้เฉลี่ยต่อหัวของคนไทยในระดับนี้ ทำให้ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง (Upper middle income country)
ขณะที่เวียดนาม ปัจจุบันยังถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับต่ำ (Lower middle income country)
สรุปแล้ว ในตอนนี้เศรษฐกิจไทยยังคงใหญ่กว่าเวียดนาม 2 เท่า
ขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปีของคนไทย ก็มากกว่าของเวียดนามเกือบ 3 เท่า
เห็นแบบนี้แล้ว เราอาจสรุปได้ว่า
เศรษฐกิจของประเทศไทยในตอนนี้
ยังนำหน้าเวียดนามอยู่พอสมควรเลยทีเดียว
แต่รู้ไหมว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม มากกว่าไทยถึง 2 เท่า
ในช่วงปี 2009-2019 เศรษฐกิจไทย เติบโตเฉลี่ยปีละ 3%
ขณะที่เศรษฐกิจของเวียดนามเติบโตเฉลี่ยปีละ 6%
สำหรับปีนี้ การระบาดของโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ไทยและเวียดนาม
หลายฝ่ายคาดการณ์กันว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้ จะติดลบประมาณ 6.4%
ส่วนเศรษฐกิจเวียดนาม จะยังคงเติบโตที่ 2.4%
แต่ถ้าสมมติว่า โรคระบาดนี้ผ่านพ้นไป
ถ้าเราให้เศรษฐกิจทั้ง 2 ประเทศ กลับมาเติบโตด้วยอัตราเฉลี่ยเดิมเหมือนกับช่วงปี 2009-2019
คือไทยเติบโตเฉลี่ยปีละ 3% และเวียดนามเติบโตเฉลี่ยปีละ 6%
หมายความว่า กว่าที่ขนาดเศรษฐกิจเวียดนามจะแซงไทย ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 24 ปี จากวันนี้..
แต่ถ้าลองมองให้ลึกลงไปที่พื้นฐานเรื่องต่างๆ
ก็จะพบว่า เวียดนามกำลังเติบโตด้วยศักยภาพเพิ่มมากขึ้นทุกที
ปัจจุบัน เวียดนามมีประชากรกว่า 97 ล้านคน
มากเป็นอันดับที่ 15 ของโลก และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 111 ล้านคนในอีก 30 ปีข้างหน้า
ขณะที่ไทย มีประชากรประมาณ 69 ล้านคน
มากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก และคาดว่าประชากรไทยจะไม่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะอยู่ที่ 60-69 ล้านคน ในอีก 30 ปีข้างหน้า
ส่วนอายุเฉลี่ยของคนเวียดนามในวันนี้คือ 32 ปี ขณะที่อายุเฉลี่ยของคนไทยคือ 40 ปี
จำนวนประชากรในอนาคตของเวียดนามที่มากกว่าไทย
และอายุเฉลี่ยของคนเวียดนามที่น้อยกว่าไทย
อาจทำให้เวียดนามได้เปรียบกว่าประเทศไทยในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านแรงงานเพื่อการผลิต
ปี 2020 เวียดนามมีจำนวนแรงงานเท่ากับ 58 ล้านคน
ขณะที่ของประเทศไทยอยู่ที่ 38 ล้านคน
ปริมาณแรงงานที่อายุน้อยและมีจำนวนมาก จึงทำให้ต้นทุนค่าแรงของเวียดนามต่ำกว่า เมื่อเทียบกับประเทศไทย
ค่าแรงขั้นต่ำของเวียดนามอยู่ที่ประมาณ 132-190 บาทต่อวัน
ขณะที่ค่าแรงขั้นต่ำของไทยอยู่ที่ประมาณ 313-336 บาทต่อวัน
ต้นทุนแรงงานที่ต่ำ เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ ที่ดึงดูดให้บริษัทต่างชาติย้ายฐานการผลิตไปลงในเวียดนามหลายรายในช่วงที่ผ่านมา ยกตัวอย่างเช่น
Samsung บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่จากเกาหลีใต้
LG บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่จากเกาหลีใต้
Foxconn บริษัทผู้ผลิตและรับผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้กับ Apple
Panasonic บริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่จากญี่ปุ่น
ซึ่งนอกจากปัจจัยเรื่องค่าแรงแล้ว ยังอาจมีอีกหลายๆ ปัจจัย ที่ทำให้เวียดนามสามารถดึงดูดเงินลงทุนเข้าประเทศได้ เช่น ทักษะแรงงาน และกฎหมาย กฎเกณฑ์ที่เอื้อต่อการย้ายฐานการผลิตเข้ามาลงทุนในประเทศ
ส่วนเรื่องการไหลเข้าของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ หรือ Foreign direct investment (FDI) อย่างเช่นเงินลงทุนสำหรับตั้งโรงงานการผลิต ก็เป็นอีกตัวเลขที่น่าสนใจ
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่ไหลไปยังเวียดนาม
ในปี 2011 อยู่ที่ 222,000 ล้านบาท
ในปี 2019 อยู่ที่ 465,000 ล้านบาท
ขณะที่การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่ไหลเข้ามาประเทศไทย
ในปี 2011 อยู่ที่ 74,100 ล้านบาท
ในปี 2019 อยู่ที่ 189,000 ล้านบาท
ขณะที่ของประเทศไทย หลังจากที่ยอด FDI เคยขึ้นไปสูงสุดที่ 477,000 ล้านบาท ในปี 2013 ก็ยังไม่เคยกลับไปจุดนั้นอีกเลยจนถึงวันนี้
มาถึงตรงนี้ ก็ต้องบอกว่า มีโอกาสไม่น้อยที่เวียดนามจะเติบโตต่อเนื่องอีกนานพอสมควร และยังอาจโตด้วยอัตราเฉลี่ยประมาณ 6% ต่อปี
และถ้าเศรษฐกิจไทยโตด้วยอัตราเฉลี่ยที่น้อยกว่าเดิม
เศรษฐกิจเวียดนาม อาจไล่ตามไทย ได้เร็วมากขึ้น
เช่น จาก 24 ปี เหลือ 20 ปี หรืออาจใช้เวลาน้อยกว่านั้น ถ้าเศรษฐกิจไทยอยู่กับที่..
ซึ่งคำถามที่ว่า เศรษฐกิจเวียดนาม จะแซงไทย จริงหรือ?
คำตอบคือ ถ้าช่วง 5-10 ปีนี้ ก็คงจะยังเป็นเรื่องยาก
แต่ถ้าในระยะยาว 20-30 ปี ข้างหน้า ก็ต้องยอมรับว่า “มีความเป็นได้” เหมือนกัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_GDP_(nominal)
-https://data.worldbank.org/country
-https://en.wikipedia.org/wiki/Developing_country
-GDP growth (annual %) | Data (worldbank.org)
-https://e.vnexpress.net/news/business/economy/vietnam-gdp-growth-to-be-among-world-s-highest-in-2020-imf-4194065.html#:~:text=The%20International%20Monetary%20Fund%20has,percentage%20points%20to%202.4%20percent.
-https://www.thailand-business-news.com/economics/81636-thai-bank-revised-up-2020-gdp-forecasts-to-6-4-and-projected-2021-growth-at-3-3.html
-https://www.worldometers.info/world-population/population-by-country/
-https://www.statista.com/statistics/444584/average-age-of-the-population-in-vietnam/#:~:text=The%20median%20age%20in%20Vietnam,to%2041%20years%20by%202050.
-https://tradingeconomics.com/vietnam/labor-force-total-wb-data.html#:~:text=Labor%20force%2C%20total%20in%20Vietnam,compiled%20from%20officially%20recognized%20sources.
- https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=638&language=eng
-https://www.vietnam-briefing.com/news/vietnams-competitive-minimum-wages-how-fares-with-regional-peers.html/#:~:text=This%20year%20Vietnam%20increased%20its,%24190%20depending%20on%20the%20region.
-https://vietnamtimes.org.vn/more-foreign-manufacturers-move-to-vietnam-amid-covid-19-pandemic-19842.html#:~:text=Specifically%2C%20multinational%20companies%20such%20as,Vietnam%20rather%20than%20in%20China.
-https://www.reuters.com/article/uk-foxconn-vietnam-apple-exclusive/exclusive-foxconn-to-shift-some-apple-production-to-vietnam-to-minimise-china-risk-idUKKBN2860XN
-https://data.worldbank.org/indicator/BX.KLT.DINV.CD.WD?locations=VN
-https://data.worldbank.org/indicator/BX.KLT.DINV.CD.WD?locations=TH
nominal data 在 prasertcbs Youtube 的最佳解答
การสร้างกราฟแท่งจากการนับความถี่ของข้อมูลแบบ categorical (nominal, ordinal) แบบต่าง ๆ ด้วย ggplot2
ดาวน์โหลดไฟล์ตัวอย่างได้ที่ https://goo.gl/eU9yT7
เชิญสมัครเป็นสมาชิกของช่องนี้ได้ที่ ► https://www.youtube.com/subscription_center?add_user=prasertcbs
การสร้างกราฟด้วย ggplot2 ► https://www.youtube.com/playlist?list=PLoTScYm9O0GFEu7flht1Fv_gsT2mizgPW
สอนการสร้างกราฟด้วยโปรแกรม R เบื้องต้น ► https://www.youtube.com/playlist?list=PLoTScYm9O0GEvw9bN_Q8nRdDUPyaSymqM
วิเคราะห์ข้อมูลด้วย R ► https://www.youtube.com/playlist?list=PLoTScYm9O0GFYFj7oWadDNklkveS6tFIo
สอนการใช้โปรแกรม R เบื้องต้น ► https://www.youtube.com/playlist?list=PLoTScYm9O0GGSiUGzdWbjxIkZqEO-O6qZ
สอนการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา R เบื้องต้น ► https://www.youtube.com/playlist?list=PLoTScYm9O0GF6qjrRuZFSHdnBXD2KVICp
สอน R สำหรับ Data Science ► https://www.youtube.com/playlist?list=PLoTScYm9O0GGat89RT9NMjW7sqFz84XSk
สอนการใช้ dplyr package ► https://www.youtube.com/playlist?list=PLoTScYm9O0GEsJv4E4QmrBkdyax2IgRQG
สอนการใช้ tidyr package ► https://www.youtube.com/playlist?list=PLoTScYm9O0GFL9f4LpDa0zrh-rqzF3xdN
#prasertcbs #prasertcbs_R #prasertcbs_DataScience #prasertcbs_ggplot

nominal data 在 Is nominal, ordinal, & binary for quantitative data, qualitative ... 的推薦與評價
These typologies can easily confuse as much as they explain. For example, binary data, as introduced in many introductory texts or courses, certainly sound ... ... <看更多>
nominal data 在 Types of Data: Nominal, Ordinal, Interval/Ratio - Statistics Help 的推薦與評價
... <看更多>