มองยุคดิจิทัล หลังโควิด เพื่อคว้าโอกาสใหม่ ๆ ผ่านหนังสือ “The Great Remake สู่โลกใหม่” โดย ดร.สันติธาร เสถียรไทย Group Chief Economist ของ Sea Group
Sea x ลงทุนแมน
ถ้าเปรียบ “ภาคธุรกิจการเงิน” เป็นดั่งธุรกิจครอบครัว
ในตอนนี้ คงเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านธุรกิจครั้งสำคัญ จากพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูก เพื่อให้บริหารต่อ
ซึ่งลูก ๆ ในที่นี้ คือ 3 พี่น้อง ที่จะเข้ามาสร้างแรงกระเพื่อม ให้กับวงการการเงินนี้ ได้แก่
- พี่ใหญ่ ชื่อ การเงิน (Finance)
คนนี้เป็นคนที่ทำงานกับพ่อแม่นานที่สุด มากประสบการณ์
งานสำคัญของเขา คือการนำเงินออมของคนอื่น มาปล่อยสินเชื่อ หรือลงทุน
ด้วยความที่เคยทำผิดพลาด และผ่านวิกฤติมาหลายครั้ง ทำให้เขาเป็นคนที่มีความเข้มงวด (ในการปล่อยสินเชื่อ), ช่างระมัดระวัง ไม่ชอบความเสี่ยง และยึดหลักทำงานที่สืบทอดกันมา
- พี่รอง ชื่อ ดิจิทัล
คนนี้จะมีนิสัยต่างจากพี่ใหญ่อย่างสิ้นเชิง โดยเขามักมองข้ามกรอบธรรมเนียมประเพณี ที่เคยทำกันมา และชอบพลิกแพลงหาวิธีใหม่ ๆ ในการทำธุรกิจ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีกว่าของลูกค้า
สำหรับพี่ใหญ่แล้ว การจะลองทำอะไรใหม่ ต้องคิดแล้วคิดอีก ปรับแผนหลายรอบ
ส่วนพี่รอง มักลุยทันที ลองทำไปก่อนแบบเล็ก ๆ แล้วคุยกับลูกค้า หรือนำผลลัพธ์ที่ได้ มาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ไปเรื่อย ๆ (Agile)
ในช่วงที่ผ่านมา หลังจากเรียนจบและเข้ามาช่วยธุรกิจที่บ้านเต็มตัว
บทบาทของพี่รอง ก็มีมากขึ้นในธุรกิจ ซึ่งเขาได้สร้างผลงานไว้มากมาย
อาทิ ระบบอีเพย์เมนต์, การปล่อยสินเชื่อดิจิทัล (Digital Lending), การใช้ AI มาให้คำปรึกษาด้านการลงทุน
ซึ่งตลอดเส้นทางการทำธุรกิจ หลายครั้งความคิดของ พี่ใหญ่และพี่รอง จะขัดแย้งกัน
โดยพี่รอง มองว่าพี่ใหญ่ ไม่ยอมปรับตัว ส่วนพี่ใหญ่ ก็มองว่า น้องรอง ทำอะไรเร็วเกินไป..
- น้องเล็ก ชื่อ DLT (Distributed Ledger Technology)
โดยประเภทของ DLT ที่คนรู้จักกันมากที่สุดคือ เทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของคริปโทเคอร์เรนซี เช่น บิตคอยน์
น้องเล็กคนนี้ เป็นคนที่มีโอกาสปฏิวัติวงการนี้ ได้มากที่สุด
เขามีความสามารถพิเศษสูง และเข้ากับคนง่าย จึงมีหลายฝ่ายพยายามแย่งตัวไปทำงานด้วย
ไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายที่อยากตัดตัวกลางออกไปจากระบบการเงิน เช่น กลุ่มคนที่สร้างคริปโทเคอร์เรนซี และ Decentralized Finance (DeFi)
หรือกลุ่มคนที่เป็นตัวกลาง เช่น รัฐบาล, ธนาคารกลาง แต่เห็นศักยภาพของ DLT
จึงชวนน้องเล็กคนนี้ มาร่วมพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง ที่เรียกกันว่า Central Bank Digital Currency (CBDC) มาต่อกรกับคริปโทเคอร์เรนซี
มาถึงตรงนี้ สังเกตไหมว่า เกือบทุกสถาบันการเงินในปัจจุบัน
มักจะมี 3 พี่น้อง อยู่ร่วมด้วยช่วยกันบริหารธุรกิจ
ซึ่งก็แตกต่างกันไปตามบริษัท ว่าจะให้ใคร มีบทบาทในการเป็นผู้นำ เพื่อกำหนดแนวทางธุรกิจมากกว่ากัน
สำหรับระดับประเทศ ทิศทางของภาคการเงินหลังจากนี้ จะไปทางไหน
ก็ขึ้นอยู่กับพ่อแม่ หรือรัฐบาลและผู้กำหนดนโยบาย ของประเทศนั้น ๆ
ว่าจะรักษาสมดุลระหว่าง การป้องกันความเสี่ยง (พี่ใหญ่) และการสร้างนวัตกรรม (พี่รองและน้องเล็ก)
เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ที่ตอบโจทย์ยุคปัจจุบันและอนาคต
รู้หรือไม่ว่า นิทานเปรียบเปรย ธุรกิจภาคการเงิน ที่เล่าไปนี้
เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งของหนังสือที่ชื่อว่า “The Great Remake สู่โลกใหม่”
ในบท “3 พี่น้อง ผู้ปฏิวัติโลกการเงิน”
ซึ่งเขียนโดย ดร.สันติธาร เสถียรไทย นักเศรษฐศาสตร์ด้าน Digital Economy แนวหน้าของอาเซียน
ที่เคยเขียนหนังสือ “Futuration เปลี่ยนปัจจุบัน ทันอนาคต”
และยังดำรงตำแหน่ง Group Chief Economist และกรรมการผู้จัดการ ของ Sea Group
ผู้พัฒนาและให้บริการเกมออนไลน์ Garena, แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ Shopee และผู้ให้บริการดิจิทัลเพย์เมนต์และการเงินดิจิทัล SeaMoney
โดย ดร.สันติธาร ต้องการถ่ายทอดมุมมองต่อวิกฤติการณ์โควิด
ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมแทบทุกด้าน
ให้นักธุรกิจ, นักลงทุน, รัฐบาล, พนักงานบริษัท และประชาชนทั่วไป
สามารถเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงที่เชื่อมโยงกันเหล่านั้น
และประเมินถึงเศรษฐกิจและสังคมหลังจากนี้ ว่าจะเป็นอย่างไร
ทั้งหมดนี้ ก็เพื่อให้คนไทยทุกคนมองเห็นโอกาส
ท่ามกลางความไม่แน่นอนต่าง ๆ ที่ถูกเร่งด้วยเทคโนโลยี และพฤติกรรมของผู้คนที่เปลี่ยนไป
จนสามารถเตรียมตัวรับมือ, เปลี่ยนแปลงตัวเอง และสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ หรือการใช้ชีวิตได้ในระยะยาว
ผ่านผลงานหนังสือเล่มล่าสุด “The Great Remake สู่โลกใหม่”
ที่น่าสนใจคือ เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ ยังแฝงไปด้วยวิสัยทัศน์ของ Sea Group และผู้บริหาร
ที่ต้องการเห็นและพยายามผลักดันให้ประเทศไทย เป็น Digital Nation โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งผู้บริหารทั้งในประเทศไทยและบริษัทแม่ที่สิงคโปร์ให้ความสำคัญมาก
ต้อง ‘Remake’ คนเพื่ออนาคตอย่างไร ให้ตอบโจทย์ตลาดแรงงานยุคเศรษฐกิจดิจิทัล และการเน่าบูดของความรู้เดิมที่เร็วขึ้นจนน่าใจหาย การศึกษาในโลกอนาคตจะเป็นอย่างไร ทักษะอะไรที่จำเป็น และเราจะสร้างมันได้อย่างไร ล้วนเป็นคำถามที่เชิญชวนให้เข้าไปค้นหาคำตอบในหนังสือ “The Great Remake สู่โลกใหม่”
สามารถ Pre-Order หนังสือ The Great Remake สู่โลกใหม่
ได้ระหว่างวันนี้ - 7 มิถุนายน 2564
ในราคา 272 บาท (จากราคาเต็ม 320 บาท)
พร้อมจัดส่งฟรี! เริ่มจัดส่งวันที่ 15 มิถุนายน 2564
https://bit.ly/3fpQNO7 หรือ www.matichonbook.com
หรือสั่งที่ Shopee : https://bit.ly/3tZeEJZ (คิดค่าส่งตามจริง)
แล้วหนังสือ The Great Remake สู่โลกใหม่ จะเปิดโลกให้เราได้อย่างไร ?
The Great Remake ช่วยพัฒนาผู้อ่านให้เป็น “คนใหม่” ในยุคใหม่ได้
ด้วยเนื้อหาทั้งหมด 4 ตอน นั่นคือ
1) Rethink อ่านอนาคตที่เร่งเข้ามา
มี 8 บท เช่น “คลื่น 6D” ที่มาก่อนกำหนด เขย่าอนาคตโลกหลังโควิด, Digital Soft Power โอกาสของประเทศไทยในยุคโควิด
ตอนนี้จะมาชวนมอง และทำความเข้าใจภาพใหญ่ว่า
คลื่นเมกะเทรนด์ต่าง ๆ ที่ถูกเร่งให้มาเร็วและแรงขึ้นในโลกหลังโควิด
อาทิ การเข้าสู่โลกดิจิทัล, ความเหลื่อมล้ำในสังคม, การผงาดขึ้นของเอเชีย, ภาวะหนี้ท่วม, ความกังวลเรื่องสิ่งแวดล้อม, การเสื่อมถอยของโลกาภิวัตน์ นำมาซึ่งความเสี่ยงและโอกาสอะไรบ้าง
โดยเฉพาะหากคลื่นเมกะเทรนด์เหล่านี้ ซัดเข้ามาพร้อม ๆ กัน และผสานกันเป็นคลื่นใหญ่
มันยิ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ต่อเศรษฐกิจและสังคม แบบที่ซับซ้อนและเดาทางได้ยาก
2) Recovery รับมือวิกฤติแห่งยุค
มี 4 บท เช่น “บาซูก้า” (การคลัง) ที่ดีต้องมี 5T และ 3 กระบวนท่า นโยบายการเงินยุคโควิด
ตอนนี้จะอธิบายถึงกลยุทธ์ ที่รัฐบาล, ธุรกิจ และผู้คน สามารถใช้เพื่อรับมือกับวิกฤติโควิดในระยะสั้น กลาง และยาว ซึ่งต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนและตรงจุด
อาทิ “หลัก 3 อยู่ สู้วิกฤติโควิด” ระยะสั้น อยู่รอด ระยะกลาง อยู่เป็น ระยะยาว อยู่ยืน
รวมถึงเรื่องของนโยบายการคลัง และนโยบายการเงินแบบนอกตำรา ที่รัฐบาลต่าง ๆ เลือกใช้เพื่อต่อลมหายใจของเศรษฐกิจ
3) Reimagine คิดใหม่ยุทธศาสตร์อนาคต
มี 5 บท เช่น ดิสรัปชันคือเสียงที่เราไม่ได้ยิน, “สะพาน” และ “รั้ว” ที่ต้องสร้างในยุคดิจิทัล
แม้โควิดจะเป็นดั่งวิกฤติ แต่อีกมุมก็มาพร้อมกับโอกาส ที่ทำให้เราและธุรกิจ ต้องกลับมาทบทวนตัวเอง
“รีเซ็ต” กรอบความคิดแบบเก่า แล้วคิดใหม่
เพื่อกลับมาทำความรู้จักตัวเอง และค้นหาว่า อะไรคือ จุดมุ่งหมายของเรา ในโลกที่เปลี่ยนไป
และเราต้องปรับตัวอะไรบ้าง เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น
4) Remake สร้างคนเพื่ออนาคต
มี 9 บท เช่น ทักษะที่ขาดไม่ได้ในยุคหลังโควิด, Collective Intelligence มนุษย์เราพิเศษอย่างไรในยุค AI, บทบาทมหาวิทยาลัยในโลกที่อาจไม่ต้องมีมหาวิทยาลัย
ตอนนี้ จะเจาะลึกในเรื่องของ “คน” ที่เป็นส่วนสำคัญและมีค่าที่สุดในระบบเศรษฐกิจ
ว่าจะเตรียมคน พัฒนาคน และการศึกษาในยุคหลังโควิดอย่างไร
เพื่อสามารถทำให้กลายเป็นคนที่ทันโลก ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และตอบโจทย์โลกอนาคต
โดยคำว่า Remake ส่วนใหญ่ใช้ในวงการบันเทิง เช่น ละคร, ภาพยนตร์
หมายถึงการนำคอนเทนต์เก่า กลับมาทำใหม่
โดยอาจใช้โครงเรื่องเดิม เป็นจุดเริ่มต้น แต่ปรับเปลี่ยนเรื่องราวและตัวละคร ให้แตกต่างจากเดิม จนแทบจะเป็นละครหรือภาพยนตร์ คนละเรื่อง
หัวใจของการ “Remake คน” จึงเป็นการพยายามสร้างเวอร์ชันใหม่ของตัวเอง ให้ดีกว่าเดิม
แต่ไม่ใช่การ Reset หรือการเริ่มใหม่จากศูนย์ เริ่มจากเป็นกระดาษเปล่า
เพราะทุกคนย่อมมีประสบการณ์ และเรื่องราวชีวิตที่แตกต่าง
ทำให้เส้นทางการพัฒนาและปรับตัว ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
ก็คือ การ Remake เป็นการอัปเกรดตัวเอง ให้เป็นคนใหม่ ที่มีความคิดและทักษะเหมาะกับโลกอนาคต
โดยไม่ยึดติดกับกรอบเดิม ๆ หรือความสำเร็จในอดีต
แต่ในขณะเดียวกัน ก็เข้าใจและไม่ปฏิเสธ สิ่งที่ทำให้เราเป็นตัวตนของตัวเอง หรือเป็นเรา ในวันนี้..
ข้อปิดท้ายด้วยประโยคที่ทรงพลัง และชวนให้เราคิด ในหนังสือ “The Great Remake สู่โลกใหม่”
“เราเลือกที่จะทำอะไรในช่วงวิกฤติ แห่งประวัติศาสตร์ครั้งนี้
จะรอให้มันผ่านไป หรือจะใช้มันเพื่อสร้าง ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ
เราเลือกที่จะกลัวการเปลี่ยนแปลง หรือเราจะเชื่อมั่นในพลังของตัวเอง
เพราะสุดท้าย ประวัติศาสตร์ ย่อมถูกเขียนจากอนาคตที่ เราเลือกเดิน”
#TheGreatRemake #สู่โลกใหม่ #สันติธารเสถียรไทย
#SeaTH #Garena #Shopee #SeaMoney
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「thegreatremake」的推薦目錄:
thegreatremake 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最佳貼文
thegreatremake 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
thegreatremake 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
thegreatremake 在 Fortnite Renegade emote - YouTube 的推薦與評價
TheGreatremake. TheGreatremake. 1 subscriber. Subscribe. Try YouTube Kids. Learn more. Show less Show more ... ... <看更多>
thegreatremake 在 #thegreatremake - Explore | Facebook 的推薦與評價
#TheGreatRemake · Matichon Book - สำนักพิมพ์มติชน · สรุปให้ shared a post to the group: หนังสือควรอ่าน ก่อนอายุ 30. ... <看更多>