เรื่องน่ารู้ ที่หลายคนอาจไม่รู้ กับ วิธีการอ่านฉลากอาหาร
ผมเป็นคนหนึ่งที่ก่อนจะเอาอะไรผ่านเข้าปากไปลงกระเพาะอาหาร ถ้าอาหารนั้นมีฉลากโภชนาการอยู่ อย่างน้อยต้องชายตามองสักเล็กน้อยก่อนจะตัดสินใจซื้อมันมาครับ เดี๋ยววันนี้ผมจะมาแนะนำวิธีการอ่านฉลากอาหารแบบเข้าใจง่ายๆกันว่ามันมีประโยชน์ขนาดไหนครับ ยกตัวอย่างจากฉลากอาหารในภาพคือตัวอย่างอาหารชนิดหนึ่งที่ผมคิดว่าเห็นภาพเลย
ส่วนแรก คือ จำนวนหน่วยบริโภคต่อครั้ง และ ขนาดหนึ่งหน่วยบริโภคคือเท่าใด
อย่างในภาพคือ 1 หน่วยบริโภคเท่ากับ 310 ซีซี และ จำนวนหน่วยบริโภคต่อขวด = 1
นั่นแปลว่าฉลากอาหารที่เราจะเห็นในส่วนที่กำลังจะกล่าวถึงต่อไปนั้น สามารถใช้อ้างอิงในการกิน 1 ครั้งจนหมดได้เลย
แต่ถ้าสมมติตัวเลขใหม่ จำนวนหน่วยบริโภคต่อขวด = 2 นั่นแปลว่า ฉลากโภชนาการในส่วนถัดไป ทุกอย่างต้องเอาไป "คูณสอง"ทั้งหมด อันนี้ระวัง tricky นิดนึง เพราะของกินหลายๆอย่างทำเป็นเหมือนจำนวนหน่วยบริโภคนั้นเยอะๆ เพื่อที่จะทำให้ตัวโภชนาการในส่วนต่อไปดูเหมือนเป็นขนมที่ healthy ไป (ทั้งๆที่อาจจะไม่ใช่)
ส่วนที่ 2 คือ พลังงานทั้งหมด ต่อ 1 หน่วยบริโภค
อันนี้ตรงไปตรงมาครับ คือ คำนวณจากสารอาหาร คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และ ไขมัน เอามารวมกันว่ากี่แคลอรี่ โดยจะแยกออกเป็น 2 ส่วนคือ พลังงานรวม และ พลังงานจากไขมัน
พลังงานรวม = คาร์โบไฮเดรต + โปรตีน + ไขมัน
ตัวอย่างในภาพ พลังงานรวม = 240 kcal แต่มีพลังงานจากไขมัน 120 kcal เท่ากับว่า เราจะได้พลังงานจากโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตอีก 120 kcal โดยมีที่มาจากคำนวณ ดังนี้
โดยคาร์โบไฮเดรต 1 กรัมจะให้พลังงาน 4 kcal
โปรตีน 1 กรัมจะให้พลังงาน 4 kcal
ไขมัน 1 กรัมจะให้พลังงาน 9 kcal
แล้วเราก็เอาตัวเลขของสารอาหารต่างๆไป คูณตามจำนวนกรัมที่มีนั่นเอง
ต่อมา ถามว่าทำไมต้องแยกพลังงานจากไขมันออกมาต่างหาก คำตอบก็คือ ค่าตัวเลขในส่วนนี้จะมีความจำเป็นมากสำหรับคนที่ทานอาหารเช่นกลุ่มคีโตจีนิค (ketogenic diet) ที่เน้นพลังงานจากไขมันมากกว่า 80% ของแหล่งอาหารทั้งที่ทานเข้าไป ถ้าเราไม่ได้สายคีโตก็ดูไว้ผ่านๆได้ครับ
ส่วนที่ 3 คือ คุณค่าทางโภชนาการ ส่วนนี้สำคัญที่สุด
จะมีตัวเลขแยก 2 ฝั่ง คือ ฝั่งที่อยู่ติดกับชื่อ สารอาหาร (ฝั่งซ้าย) และ ตัวเลข % ทางฝั่งขวา
ตัวเลขฝั่งซ้าย หน่วยจะเป็น กรัม ที่ได้ ถ้าเราทานสิ่งนั้นเข้าไป 1 หน่วยบริโภค
ตัวเลขฝั่งขวา หน่วยจะเป็น % เพราะเขาจะเอาไปอิงกับสารอาหารนั้นๆที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน โดยเทียบกับมาตรฐาน Thai RDI ที่คำนวณว่าคนไทยควรได้รับพลังงาน 2000 kcal ต่อวัน (โดยมาจาก คาร์โบไฮเดรต ทั้งหมด 300 กรัม / โปรตีน 50 กรัม /ไขมัน 65 กรัม)
แล้วคนไทยแต่ละคนต้องการพลังงาน 2000 kcal เท่ากันหรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ใช่แน่ๆครับ ดังนั้นการดู % ในส่วนนี้ก็พอดูเป็นแนวทางได้ แต่ไม่สามารถใช้อ้างอิงได้ครับ คิดให้เห็นภาพง่ายๆ ผู้หญิงตัวเล็กๆ หนัก 45 กก. กับ ผู้ชายหนัก 90 กก. สัดส่วน % ไม่มีทางเท่ากันแน่นอน เพราะความต้องการพลังงานของสองคนนี้อาจจะอยู่ที่ 1800 กับ 2200 kcal ต่อวัน ตามลำดับ ประมาณนี้)
ดังนั้นแล้ว ให้สังเกตที่ตัวเลขทางฝั่งซ้ายนี้เป็นหลักครับ แต่ถ้าอยากรู้ว่าร่างกายเราต้องการพลังงานกี่ kcal ต่อวัน สามารถคำนวณได้จากสูตรที่ผมจะให้ไว้อีกทีครับ (สูตรนี้บอกก่อนว่ามีความไม่นิ่งพอสมควร แต่พอใช้เป็นแนวทางได้)
ต่อเนื่องกับส่วนที่ 3 คราวนี้เราต้องมาไล่ดูกันไปทีละตัวเลยครับ
ตัวแรก : ไขมัน
ไขมัน จะแสดงผลรวม ไขมันทั้งหมด และจะแยกย่อยอีกออกเป็น ไขมันอิ่มตัว (Saturated fat) ไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fat) ไขมันทรานส์ (Trans fat) และ คอเรสเตอรอล (Cholesterol) ผมมีทริคง่ายๆเลยเวลาดูฉลากไขมัน
• ไขมันทรานส์ (Trans fat) ไขมันทรานส์คือพวกของกลุ่มไขมันกลายร่างที่ปัจจุบันเรารู้แล้วว่ากินแล้วจะทำให้ตายด้วยโรคหัวใจเร็วขึ้น อันนี้ควรต้องเป็น 0 g ศูนย์กรัม เท่านั้น ห้ามมีหลงมาอย่างเด็ดขาด
• คอเรสเตอรอล (Cholesterol) อันนี้ทุกคนคงรู้จักกันดีแล้ว ไม่มีไว้ก่อนดีที่สุดครับ คือ ศูนย์
• ไขมันอิ่มตัว (Saturated fat) คือ ไขมันที่แข็งตัวในอุณหภูมิห้อง จะพบได้เยอะในเช่น น้ำมันจากสัตว์ หนังสัตว์ น้ำมันหมู และไขมันอิ่มตัวมักจะมากับอาหารที่คอเลสเตอรอลสูง ดูเผินๆเหมือนจะไม่ดี แต่จริงๆก็ต้องมีข้อยกเว้นไว้บางเช่น ในคนที่ทานน้ำมันมะพร้าวที่มีกรดไขมันอิ่มตัวบางชนิด เช่น กลุ่มของ MCT oil กลุ่มนี้จะเป็นแหล่งพลังงานชั้นดีมากๆสำหรับสายคีโตจีนิก เพราะสมองจะนำไขมันอิ่มตัวชนิดนี้ไปใช้พลังงานได้อย่างรวดเร็ว
แต่ขอย้ำอีกครั้ง ถ้าอาหารนั้นไม่ได้มีคุณสมบัติที่จะไปด้านคีโต ไขมันอิ่มตัวเยอะๆในฉลาก เราควรต้องให้ความระมัดระวังครับว่าอาหารนั้นมันคืออะไร แล้วก็สุดท้าย ไขมันอิ่มตัวจะบอกว่าแย่อีกก็ไม่ได้ เนื่องจากการที่มันทนความร้อนได้สูงมากพวกน้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว หรือ น้ำมันปาล์มจึงเป็นน้ำมันทีเหมาะกับมาทำอาหารผัดๆทอดๆแบบร้อนๆน้ำมันท่วมแบบอาหารไทยแบบนี้ครับ ดังนั้นเวลาดูต้องแยกกันว่า อาหารชนิดนั้นคืออะไร
• ไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fat) คือ ไขมันที่ไม่แข็งตัวในอุณหภูมิห้อง ตรงกันข้ามกับอันเมื่อกี้ เรื่องของกรดไขมันไม่อิ่มตัวเป็นเรื่องใหญ่มาก ขอเล่าสั้นไว้ตรงนี้ก่อนครับ อันนี้ดูเผินๆ ก็เหมือนว่าถ้ามีเยอะก็จะดี เช่น การทานมะกอกจะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ เพราะมะกอกมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงมาก แต่ในขณะเดียวอาหารบางอย่างมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงมาก เช่น กลุ่มของ industrial seed oil กลับอาจจะไม่ดีมากเท่ากับในกรณีแรก เพราะว่ามีความแตกต่างของมันอยู่นั่นเอง เราน่าจะเคยได้ยินคำว่า omega-3 หรือ omega-6 มานานแล้ว นั่นละครับ มันคืออันเดียวกันและมันก็อยู่ในกลุ่มของกรดไขมันไม่อิ่มตัว และในฉลากอาหารส่วนมากจะไม่ได้บอกว่า ไขมันไม่อิ่มตัวในนั้นเป็นชนิดไหน วิธีการที่จะรู้ได้อย่างเดียวคือ ต้องดูว่าอาหารนั้นเป็นอาหารอะไรประกอบด้วยครับ เรื่องนี้ผมขออธิบายละเอียดในคราวหน้า
• ถามว่าสัดส่วนไขมันควรทานวันละกี่กรัม ถ้ายึดตาม Thai RDI คือ ไขมันทั้งหมดต่อวันไม่เกิน 65 กรัม โดยต้องเป็นไขมันไม่อิ่มตัวอย่างน้อย 45 กรัม และ สัดส่วนนี้จะเปลี่ยนไปในกลุ่มของคนที่ทานคีโตครับ แต่คนทั่วไปอาจจะยึดตามแนวทางของ Thai RDI ไว้ก่อน บวกลบ เล็กน้อยตามพลังงานขั้นต่ำของร่างกายครับ ถ้าจะเอาให้เป๊ะขึ้น พลังงานจากไขมันควรเป็น 20 - 35% ของพลังงานรวมทั้งหมด และมีสัดส่วนของ กรดไขมันไม่อิ่มตัว : กรดไขมันอิ่มตัวคือ เท่ากับ 2.2 : 1 โดยคร่าวๆ (เริ่มเครียดเลย ทำไมยากจัง 55)
• ในฉลากส่วนใหญ่จะระบุเฉพาะปริมาณไขมันอิ่มตัว เราก็ต้องเอา ไขมันทั้งหมด - ไขมันอิ่มตัว จะได้เท่ากับปริมาณไขมันไม่อิ่มตัวนั่นเองครับ (อย่าพึ่งงงนะครับ)
ตัวที่สอง : คาร์โบไฮเดรต
คาร์โบไฮเดรต สารอาหารหลักที่พวกเราชอบกัน ไม่ว่าจะเป็น แป้ง น้ำตาล เส้นพาสต้า ล้วนมีพลังงานหลักมาจากส่วนนี้ ในฉลากมักจะแยกออกไว้ 2 อย่าง
• ใยอาหาร หรือ Fiber ขั้นต่ำประมาณ 25 กรัมต่อวัน อาหารที่ไฟเบอร์สูง จะช่วยเรื่องระบบการย่อยอาหารขับถ่าย และ ยังช่วยทำให้เราอิ่มได้นาน
• น้ำตาล (sugar) ต้องดูว่าน้ำตาลอันนั้นคือน้ำตาลตามธรรมชาติที่อยู่ในอาหาร (natural sugar) เช่น น้ำตาลฟลุกโตสในผลไม้ หรือเป็น น้ำตาลที่ใส่เพิ่มเข้าไป (added sugar) เช่น น้ำอัดลม โดยเราจะสนใจหลักๆคือ น้ำตาล added sugar ไม่ควรมีหรือมีให้น้อยที่สุดจะเยี่ยมครับ คนเราไม่ควรได้น้ำตาลเกิน 24 กรัมต่อวันสำหรับผู้ใหญ่ อาหารในธรรมชาติที่มี natural sugar อยู่ ถ้าไม่นับผลไม้แล้วก็น่าจะหาได้ยากมาก
• ส่วนที่เหลือก็คือ แป้งที่เราเข้าใจกันนั่นเอง แต่เขาจะไม่ได้บอกตรงๆก็ต้องเอามาบวกลบกันออกมา
• พลังงานจากคารโบไฮเดรตต่อวัน ค่าเฉลี่ยโดยประมาณคือ 300 กรัมต่อวัน แล้วก็บวกลบเอาตามขนาดตัวครับ ถ้าไม่เคร่งก็ให้เน้นที่พลังงานมาจากแป้ง ที่ไม่ใช่น้ำตาล โดยมีไฟเบอร์เป็นส่วนประกอบ นอกจากนี้จริงๆแล้ว แป้งยังแยกเป็น คารโบไฮเดรตเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวหอมมะลิที่สีมาแล้วอย่างสวยงาม กับ ข้าวกล้องที่ยังไม่ผ่านการขัดสี (Complex carbohydrate) สองอย่างนี้ แคลอรีต่อกรัมเท่ากัน แต่ผลต่อร่างกายไม่เหมือนกัน ดังนั้นต้องดูชนิดของคาร์โบไฮเดรตที่ทานด้วยครับ
ตัวที่สาม : โปรตีน
• ถ้าไม่ได้กินนมชนิดต่างๆแล้ว หรือกลุ่มของเวย์โปรตีน ผมว่าส่วนนี้เราน่าจะไม่เคยสังเกตมันบนฉลากแน่ๆครับ
• คนทั่วไปๆก็ทานโปรตีนประมาณ 0.8 – 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว ถ้าหัก 60 กก. ก็ทาน 60 กรัมโปรตีนนั่นเอง
• ไขขาว 1 ฟอง มีโปรตีนประมาณ 5 กรัม ลองกะดูครับ
• ถ้าคนเล่นกล้ามก็ต้องการมากกว่านี้อีกมาก เช่น 2-3 กรัมต่อน้ำหนักตัว
จากจุดนี้ก็น่าจะพอเข้าใจภาพได้เลยว่า ตัวเลข % อาจจะไม่มีผลอะไรกับการวางแผนอาหารในกลุ่มคนเฉพาะที่ต้องการผลลัพธ์ที่พิเศษ แต่สำหรับคนทั่วไปก็ใช้ตาม % อ้างอิงก็ไม่เสียหายครับ
ส่วนที่ 4 : โซเดียม
ไม่ควรเกิน 2300 มิลลิกรัมต่อวัน เรามักจะเจออาหารที่โซเดียมสูงๆในบรรดาจำพวกซอสและขนมขบเคี้ยวทั้งหมด
เป็นอย่างไรกันบ้างครับเอาแค่ 4 ส่วนนี้ก็ลายตามากแล้วครับ 555+ อันนี้ยังไม่นับถึงพวก วิตามิน เกลือแร่ หรือ ส่วนประกอบของอาหารที่เราต้องมาเพ่งพิจารณากันจริงๆเลยครับ
เอาตรงๆ มันดูเหมือนจะยากมากครับในครั้งแรก ทำไมต้องซีเรียสขนาดนี้ แต่เชื่อผม มันยากแค่ครั้งแรกตอนที่เราหยิบมันขึ้นมา เพราะส่วนใหญ่เราก็กินอะไรไม่ได้ต่างจากเดิมมาหรอกครับในแต่ละวัน อ่านสักครั้งสองครั้งพอจำได้แล้ว เราก็จะหยิบมากินโดยที่ไม่ต้องดู เพราะว่าเราจำคุณค่าทางโภชนาการได้หมดแล้วนั่นเอง และการดูสัดส่วนโภชนาการผมคิดว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญมากชนิดหนึ่งในการดูแลสุขภาพร่างกายของเราเอง
ถ้ามีคำถามใดๆก็ฝากไว้ได้นะครับ ผมจะพยายามมาตอบให้ถ้าสามารถทำได้ครับ ขอบคุณอีกครั้งที่อ่านมาจนจบครับ 😊
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過667萬的網紅Travel Thirsty,也在其Youtube影片中提到,Kobe beef (神戸ビーフ Kōbe bīfu) (KO-BEH) refers to beef from the Tajima strain of Wagyu cattle, raised in Japan's Hyogo Prefecture according to rules as s...
unsaturated fat 在 Facebook 的精選貼文
Video - A spoon of Peanut Butter every night
Tip on weight loss
You heard me right - a spoon of peanut butter with green apple before you hit the sack .
Its healthy unsaturated fat.
It increases metabolism while you sleep.
It's yummy too .
Try it out ...
Just sharing some healthy tips
Good Night Everyone
Love As Always
' Sihat Nikmat Terindah '
unsaturated fat 在 Fedtri Yahya Facebook 的精選貼文
Dari sudut nutrisi pemakanan, badan kita memerlukan lemak sihat setiap hari. Apa, biar betul? Kan selama ini kita diberitahu untuk kurangkan makanan berminyak. Ha, itulah... sebenarnya dah banyak kajian yang membuktikan bahawa khasiat minyak zaitun banyak memberi kesan positif kepada kesihatan.
Harus kita fahami bahawa lemak yang dimaksudkan adalah bukan dari jenis ‘trans-fat’. Sebaliknya mestilah majoritinya dari jenis ‘unsaturated fats’ (lemak tidak tepu). Lemak tidak tepu banyak terdapat dalam tumbuh-tumbuhan seperti minyak zaitun.
Istimewanya minyak zaitun ia mengandungi antioksidan (hidroxytyrosol, dll) yang mencegah dari oksidasi yang akan membawa kepada pelbagai jenis penyakit. Ianya juga mampu menghalang dari sesuatu penyakit menjadi lebih teruk. Jadi samada orang sihat ataupun orang sakit, ianya menjadi satu makanan keperluan untuk diamalkan setiap hari. Maka tidak hairanlah bahawa oleh kerana menyedari akan kandungan khasiat miyak zaitun yang begitu tinggi, ianya menjadi makanan wajib dalam diet Mediteraranean.
unsaturated fat 在 Travel Thirsty Youtube 的最佳解答
Kobe beef (神戸ビーフ Kōbe bīfu) (KO-BEH) refers to beef from the Tajima strain of Wagyu cattle, raised in Japan's Hyogo Prefecture according to rules as set out by the Kobe Beef Marketing and Distribution Promotion Association. The meat is a delicacy renowned for its flavor, tenderness, and fatty, well-marbled texture. Kobe beef can be prepared as steak, sukiyaki, shabu shabu, sashimi, and teppanyaki. Kobe beef is generally considered one of the three top brands (known as Sandai Wagyuu, "the three big beefs"), along with Matsusaka beef and Ōmi beef or Yonezawa beef.
Kobe beef is also called Kobe niku (神戸肉, "Kobe meat"), Kobe-gyu (神戸牛) or Kobe-ushi (神戸牛, "Kobe cattle") in Japanese.
Wagyu (和牛 Wagyū, "Japanese cow") is any of four Japanese breeds of beef cattle, the most desired of which is genetically predisposed to intense marbling and to producing a high percentage of oleaginous unsaturated fat. The meat from such wagyu cattle is known for its quality, and commands a high price. In several areas of Japan, wagyu beef is shipped carrying area names. Some examples are Matsusaka beef, Kobe beef, Yonezawa beef, Mishima beef, Omi beef and Sanda beef.
There are four breeds of wagyu: Japanese Black (黒毛和種 Kuroge Washu), Japanese Brown (赤毛和種 Akage Washu or Akaushi), Japanese Polled (無角和種 Mukaku Washu), and Japanese Shorthorn (日本短角和種 Nihon Tankaku Washu). Wagyu cattle's genetic predisposition yields a beef that contains a higher percentage of omega-3 and omega-6 fatty acids than typical beef. The increased marbling also increases the ratio of monounsaturated fats to saturated fats.
Japanese Black makes up 90% of all fattened cattle in Japan. Strains of Japanese Black include Tottori, Tajima, Shimane and Okayama. Japanese Brown, also known as Japanese Red, is the other main breed; strains include Kochi and Kumamoto. Japanese Shorthorn makes up less than one percent of all cattle in Japan.
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/ZfMfX7NnKVg/hqdefault.jpg)
unsaturated fat 在 Saturated vs. unsaturated fats: Which is more healthful? 的相關結果
The general consensus between dietitians, nutritionists, and other experts is that saturated fat is less healthful than unsaturated fat. ... <看更多>
unsaturated fat 在 unsaturated fat | chemical compound | Britannica 的相關結果
unsaturated fat, a fatty acid in which the hydrocarbon molecules have two carbons that share double or triple bond(s) and are therefore not ... ... <看更多>
unsaturated fat 在 Saturated vs. Unsaturated Fat: Know the Facts - Healthline 的相關結果
Fats that are tightly packed with no double bonds between the fatty acids are called saturated fats. There are some exceptions, but most are ... ... <看更多>