เศรษฐีรวยสุดในเอเชีย มีน้องชาย เป็นบุคคลล้มละลาย ได้อย่างไร ? /โดย ลงทุนแมน
หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า Mukesh Ambani เจ้าของ Reliance Industries กลุ่มธุรกิจที่ใหญ่สุดในอินเดียและเป็นมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในเอเชีย มีน้องชายชื่อ Anil Ambani
สำหรับน้องชายของมหาเศรษฐีคนนี้ ก็เป็นเจ้าของธุรกิจที่แยกตัวออกมาจาก Reliance Industries ของพี่ชาย มีชื่อบริษัทว่า Reliance ADA Group
ในปี 2008 Mukesh Ambani มีทรัพย์สิน 1.4 ล้านล้านบาท รวยเป็นอันดับ 5 ของโลก
ในขณะที่ Anil Ambani ตามมาติด ๆ ด้วยทรัพย์สิน 1.37 ล้านล้านบาท และรวยเป็นอันดับ 6 ของโลก
โดยในปีนั้น เศรษฐี 4 อันดับแรกของโลก ได้แก่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ (อเมริกัน), คาร์ลอส สลิม (เม็กซิโก),
บิลล์ เกตส์ (อเมริกัน) และลักษมี นิวาส มิตตัล (อินเดีย)
หลังจากผ่านไป 13 ปี Mukesh Ambani มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้านล้านบาท
กลายมาเป็นมหาเศรษฐีรวยสุดในอินเดียและเอเชีย และรวยเป็นอันดับ 10 ของโลก
แต่ในปี 2019 Ambani คนน้องกลับมีทรัพย์สิน เพียง 5.6 หมื่นล้านบาท
จนล่าสุด มีหลายคนกล่าวว่าความมั่งคั่งตอนนี้ของ Ambani คนน้อง ลดลงจนเกือบเป็นศูนย์
แล้วมันเกิดอะไรขึ้นกับน้องชาย ของคนที่รวยสุดในเอเชีย ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปในปี 1948 หรือเมื่อ 73 ปีก่อน ชายชาวอินเดียวัย 16 ปี
ที่ชื่อ Dhirubhai Ambani ได้ตัดสินใจเดินทางออกจากบ้านเกิดไปทำงานที่ประเทศเยเมน
ผ่านไป 10 ปี Dhirubhai กลับมาที่อินเดียพร้อมกับเงินเก็บ เพื่อมาเริ่มสร้างธุรกิจเอง
Dhirubhai เริ่มจากการนำเข้าเส้นใยสังเคราะห์และส่งออกเครื่องเทศ ก่อนจะเริ่มทำธุรกิจสิ่งทอ ซึ่งก็เติบโตอย่างรวดเร็ว จน Dhirubhai ได้ขยายกิจการไปในอุตสาหกรรมอื่น และเปลี่ยนมาใช้ชื่อบริษัทว่า “Reliance Industries” ในปี 1973
Reliance Industries สามารถ IPO ได้ในปี 1977 ซึ่งหุ้นของบริษัทก็มีชาวอินเดียสนใจลงทุนเป็นจำนวนมาก ถึงขนาดเคยจัดประชุมผู้ถือหุ้นที่สเตเดียม
ตั้งแต่ที่กิจการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว Dhirubhai ก็เริ่มให้ลูกชายทั้ง 2 คนของเขา เข้ามาช่วยบริหารงานที่บริษัท
Mukesh Ambani ลูกชายคนโต เป็นประธาน
Anil Ambani ลูกชายคนรอง เป็นกรรมการผู้จัดการ
แต่แล้วในปี 2002 Dhirubhai ได้เสียชีวิตลงและได้ทิ้งกิจการ Reliance Industries ไว้กับลูกชายทั้ง 2 คน
Dhirubhai ที่จากโลกนี้ไปไม่ได้ทำพินัยกรรมและข้อตกลงแบ่งกิจการให้กับลูกแต่ละคนไว้ ซึ่งเขาก็คงไม่คิดว่า จะเกิดปัญหาตามมา
โดยปัญหาที่ว่านั้นเริ่มเกิดขึ้นเพราะลูกชายทั้ง 2 คน ที่เริ่มเข้าทำงานและมีบทบาทในบริษัทมาพร้อม ๆ กัน
กลับตกลงกันไม่ได้ว่าใครจะเป็นเจ้าของและใครจะดูแลและรับผิดชอบบริษัทไหนบ้าง
สุดท้ายแล้ว ในช่วงปี 2004 ถึง 2005 ผู้เป็นแม่ต้องเข้ามาช่วยแก้ปัญหา
โดยการจ้างบุคคลที่ 3 ให้เข้ามาจัดการเรื่องการแยกบริษัทออกจากกันไปเลย
Mukesh Ambani คนพี่ได้ธุรกิจหลักคือปิโตรเลียม ซึ่งเขามีบทบาทสำคัญในการขยายกิจการในส่วนนี้มาตั้งแต่แรก และยังได้ธุรกิจอื่น ๆ อย่างเช่นปิโตรเคมี ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจยุคเก่า โดยกลุ่มบริษัทของ Mukesh ใช้ชื่อว่า Reliance Industries
Anil Ambani คนน้องได้ธุรกิจหลักคือ Reliance Communications ธุรกิจโทรคมนาคมที่เพิ่งเริ่มกิจการได้ไม่นาน แต่ก็กลายเป็นบริษัทเทเลคอมที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในอินเดีย ซึ่งแม้ว่า Mukesh จะมีบทบาทสำคัญมาตั้งแต่ต้น แต่ Anil ก็อยากได้ธุรกิจนี้เช่นกัน
นอกจากธุรกิจเทเลคอมแล้ว กิจการอื่นที่ Anil Ambani ได้รับไปดูแลอีกก็อย่างเช่น ธุรกิจพลังงาน และบริการทางการเงิน ซึ่งส่วนมากจะเป็นธุรกิจยุคใหม่ โดยกลุ่มธุรกิจของ Anil Ambani ใช้ชื่อว่า “Reliance ADA Group”
หลังจากจบเรื่องการแบ่งธุรกิจแล้ว แต่ละคนก็เริ่มต่อยอดธุรกิจตามเส้นทางของตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น
Mukesh Ambani เริ่มทำธุรกิจค้าปลีกในปี 2006 จน Reliance Retail กลายมาเป็นธุรกิจค้าปลีกที่ใหญ่สุดในอินเดีย
ในขณะที่ Anil Ambani ก็ได้ต่อยอดทำธุรกิจบันเทิง อย่างเช่นในปี 2005 ได้ซื้อบริษัท Adlabs Films ที่เป็นเจ้าของโรงภาพยนตร์ Big Cinemas ซึ่งกลายมาเป็นโรงภาพยนตร์ที่มีสาขามากสุดในอินเดียในอีก 3 ปีถัดมา
ในปี 2008 Reliance Entertainment ของ Anil Ambani ก็ได้เซ็นสัญญากับบริษัทผลิตภาพยนตร์ DreamWorks ของผู้กำกับ Steven Spielberg ซึ่งได้ร่วมผลิตภาพยนตร์ที่ได้รางวัลมากมาย อย่างเช่น The Help และ Lincoln
และปีเดียวกันนี้ Anil Ambani ก็ได้นำบริษัทพลังงานอย่าง Reliance Power จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ด้วยมูลค่าการระดมทุนที่สูงเป็นประวัติการณ์ในขณะนั้น
ผ่านไป 6 ปีหลังจากการเสียชีวิตของ Dhirubhai
ดูเหมือนว่าลูกชายของเขาทั้งคู่ก็ต่อยอดกิจการไปได้อย่างสวยงาม
จนทำให้ในปี 2008 Mukesh มีทรัพย์สิน 1.4 ล้านล้านบาท รวยเป็นอันดับ 5 ของโลก และ Anil มีทรัพย์สิน 1.37 ล้านล้านบาท รวยเป็นอันดับ 6 ของโลก
แต่หลังจากนั้น เส้นทางความมั่งคั่งของพี่น้องคู่นี้ กลับเริ่มมีทิศทางที่สวนทางกัน
คนพี่รวยขึ้น ส่วนคนน้องความมั่งคั่งหายไปเกือบหมด
แล้วมันเกิดอะไรขึ้น ?
เรื่องทั้งหมดมีจุดเริ่มต้นมาจากเงินที่บริษัท Reliance Power ของ Anil Ambani ได้มาจากการ IPO มีแผนจะใช้สร้างโรงไฟฟ้าที่ส่วนใหญ่จะผลิตจากก๊าซ
โดยก๊าซที่ Reliance Power ใช้ ก็มาจากบริษัทก๊าซธรรมชาติในเครือ Reliance Industries ของ Mukesh นั่นเอง
ซึ่งในตอนที่แยกบริษัทกัน สองพี่น้องก็ได้เซ็นสัญญาว่าบริษัทก๊าซของ Mukesh Ambani จะขายก๊าซให้โรงไฟฟ้าของน้องชายที่ราคาหนึ่ง
แต่ในวันที่โรงไฟฟ้าสร้างใกล้จะเสร็จและถึงเวลาที่พี่ชายจะขายก๊าซให้กับน้อง ราคาก๊าซในตลาดโลกกลับเพิ่มสูงขึ้นไปเกือบเท่าตัว
Anil Ambani จึงต้องการซื้อก๊าซในราคาที่ตกลงกัน เพื่อที่จะไม่ต้องเผชิญต้นทุนก๊าซที่สูงขึ้น
แต่ทาง Mukesh Ambani ไม่สามารถขายก๊าซตามราคาที่ตกลงกันไว้ได้เพราะบริษัทของเขาจะขาดทุน
แต่แทนที่จะเจรจาตกลงกัน Anil Ambani กลับเลือกที่จะยื่นฟ้องบริษัทพี่ชายในปี 2010 เพื่อให้ซื้อก๊าซได้ในราคาเดิมที่เคยตกลงกัน
แต่ศาลก็ได้มีคำสั่งให้ Anil Ambani ซื้อก๊าซในราคาใกล้เคียงกับราคาตลาดโลก ซึ่งเป็นไปตามนโยบายราคาก๊าซของประเทศ
สุดท้ายแล้ว Anil Ambani ที่ต้องแบกรับต้นทุนก๊าซเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว จึงไม่สามารถจัดหาก๊าซเพื่อไปใช้ผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าที่สร้างรอไว้แล้วได้
Reliance Power จึงกลายเป็นบริษัทที่มีหนี้มหาศาล จนต้องขายทรัพย์สินและกิจการบางส่วนออกไป เพื่อเอามาใช้หนี้ ซึ่งรวมถึงกิจการโรงภาพยนตร์ Big Cinemas ที่ซื้อมาเมื่อปี 2008 ด้วย
แต่ความผิดพลาดทางธุรกิจของ Anil Ambani ยังไม่ได้จบลงแค่นี้ เพราะเรื่องราวที่ร้ายแรงกว่านั้น เกิดขึ้นกับธุรกิจโทรคมนาคมอย่าง Reliance Communications (RCom)
ในปี 2002 ซึ่งเป็นช่วงที่ RCom เพิ่งเริ่มทำธุรกิจ RCom เลือกใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่เรียกว่า CDMA ซึ่งใช้เงินลงทุนน้อยกว่า ขณะที่บริษัทคู่แข่งอย่างเช่น Airtel เลือกใช้เทคโนโลยีที่ชื่อ GSM
แม้เทคโนโลยีทั้ง 2 แบบจะใช้ได้ดีกับ 2G และ 3G เหมือนกัน แต่ปัญหาก็คือ CDMA ที่ RCom เลือกใช้ ไม่สามารถรองรับ 4G และ 5G ได้แบบ GSM ที่เหล่าคู่แข่งเลือกใช้
นั่นจึงทำให้ช่วงเวลาที่ทั่วโลกเปลี่ยนผ่านจาก 3G มาเป็น 4G อย่างรวดเร็ว RCom เลยตามคนอื่นไม่ทัน จน RCom กลายเป็นบริษัทที่เริ่มมีหนี้มากขึ้น
และจุดพลิกผันครั้งใหญ่ของ RCom รวมไปถึงทั้งอุตสาหกรรมเทเลคอมของอินเดีย ก็เกิดขึ้นในปี 2016
เมื่อ Mukesh Ambani ได้ก่อตั้งบริษัทย่อยของ Reliance Industries ในชื่อ “Jio” ซึ่งเป็นบริษัท
ที่เน้นบริการด้านเทคโนโลยี รวมถึงการให้บริการโทรคมนาคมแบบเดียวกับ RCom ด้วย
ด้วยชื่อเสียงของ Reliance Industries ก็ทำให้ Jio มีจำนวนผู้ใช้งานเครือข่ายโทรศัพท์เพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้กำไรของบริษัทที่เป็นหนึ่งในผู้นำตลาดอย่าง Airtel ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และทำให้อีก 2 บริษัทที่มีส่วนแบ่งตลาดรองลงมาอย่าง Vodafone และ Idea ต้องควบรวมกิจการกัน
ในเวลาต่อมาบริษัท Jio ของ Mukesh Ambani ก็กลายมาเป็นบริษัทเทเลคอมที่ใหญ่สุดในอินเดีย ส่วน RCom ของ Anil ที่ย่ำแย่อยู่แล้ว ก็หายไปจากการแข่งขันในตลาดเทเลคอม จนทำให้บริษัทขาดทุนและกลายเป็นหนี้มหาศาล
RCom ต้องยอมขายสินทรัพย์ของกิจการบางส่วนให้กับ Jio เพื่อลดหนี้
แต่นั่นก็ยังไม่ช่วยให้สถานการณ์ของ RCom ดีขึ้น
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2013 RCom ได้ทำข้อตกลงกับ Ericsson โดยจ้างให้ Ericsson มาเป็นผู้บริหารเครือข่ายในบริเวณทางเหนือและตะวันตกของอินเดีย แต่ผลจากการขาดทุนต่อเนื่องก็ทำให้ RCom ไม่มีเงินจ่ายให้ Ericsson ตั้งแต่ปี 2016
RCom ติดหนี้ Ericsson 2.46 พันล้านบาท ซึ่ง RCom ก็ไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ตามกำหนด และขอเลื่อนเวลาการจ่ายหนี้ออกไปเรื่อย ๆ ซึ่งสุดท้ายแล้ว RCom จ่ายหนี้ได้เพียง 528 ล้านบาท นำไปสู่การถูกฟ้องร้องในเวลาต่อมา
ศาลสูงสุดจึงมีคำตัดสินว่า ถ้าภายใน 1 เดือน RCom ยังจ่ายหนี้ให้ Ericsson ไม่ได้ Anil จะต้องถูกจำคุก 3 เดือน
สุดท้ายแล้วพี่ชายของ Anil Ambani อย่าง Mukesh ก็เข้ามาช่วย
โดยการจ่ายหนี้ที่เหลือ มูลค่ากว่า 2 พันล้านบาทให้
ในขณะที่ บริษัท RCom ก็ต้องยื่นล้มละลาย
แต่เรื่องราวยังไม่จบแค่นั้น เพราะ RCom ยังมีหนี้ก้อนใหญ่อีกก้อน ที่กู้ยืมมาจาก 3 ธนาคารขนาดใหญ่ของจีน ทั้ง ICBC, China Development Bank และ EXIM Bank of China เป็นมูลค่า 2.3 หมื่นล้านบาท
ทั้ง 3 ธนาคารจึงยื่นฟ้อง RCom และ Anil Ambani..
ช่วงต้นปี 2020 ที่ผ่านมา ซึ่ง Anil ได้พูดระหว่างพิจารณาคดีออนไลน์กับศาลของประเทศอังกฤษว่า เขาไม่มีเงินใช้หนี้ เพราะความมั่งคั่งของเขาตอนนี้ใกล้จะเป็นศูนย์แล้ว.. ซึ่งจนถึงตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าเขาจะหาเงินจากไหนมาใช้หนี้
จากความขัดแย้งเพื่อแย่งกิจการกันเองในครอบครัว บวกกับการบริหารธุรกิจที่ผิดพลาด การทุ่มเงินลงทุนขนาดใหญ่แต่ได้ผลลัพธ์แย่กว่าที่คาด ทำให้บริษัทก่อหนี้ก้อนโต
ทั้งหมดนี้ก็ได้ส่งผลไปยังทรัพย์สินของผู้ที่เคยรวยติดอันดับ 6 ของโลกอย่าง Anil Ambani ได้หายไปเกือบหมด ในขณะที่พี่ชายที่เติบโตมาพร้อมกัน กลับเดินสวนทางกัน เพราะประสบความสำเร็จในธุรกิจอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นเศรษฐี ที่ร่ำรวยที่สุดในเอเชีย นั่นเอง
ถ้าใครเชื่อว่าชีวิตของเราถูกกำหนดมาแล้วตั้งแต่เกิด
เกิดมาในครอบครัวที่รวย ก็ย่อมมีแรงส่งให้พวกเขารวยขึ้น
ซึ่งมันก็เป็นจริงในหลายกรณี
แต่ในบางกรณี มันก็อาจเป็นตรงกันข้าม
ซึ่งอย่างน้อย มันก็เกิดขึ้นแล้วกับ Anil Ambani น้องชายของ มหาเศรษฐี ที่รวยสุดในเอเชีย นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.businessinsider.in/thelife/personalities/news/anil-ambanis-journey-from-42-billion-net-worth-to-claiming-poverty/articleshow/74028627.cms
-https://www.scmp.com/magazines/style/celebrity/article/3093874/mukesh-vs-anil-why-did-one-ambani-brother-go-bankrupt
-https://economictimes.indiatimes.com/industry/telecom/telecom-news/from-glory-to-dust-an-ambani-brands-journey-to-bankruptcy/articleshow/67837769.cms?from=mdr
-https://www.businesstoday.in/latest/economy-politics/story/anil-ambani-road-to-bankruptcy-how-the-brother-of-indias-richest-man-lost-his-way-271119-2020-08-25
-https://www.moneycontrol.com/news/business/a-timeline-of-reliance-communications-versus-ericsson-case-3661261.html
-https://youtu.be/dBH0E20kc30
-https://www.forbes.com/forbes/2008/0324/080.html?sh=3e185f910f2e
-https://en.wikipedia.org/wiki/Reliance_Industries
-https://en.wikipedia.org/wiki/Reliance_Group
同時也有232部Youtube影片,追蹤數超過1萬的網紅Mei Trố,也在其Youtube影片中提到,Bạn đã biết 10 kênh Youtube nước ngoài cực hữu ích này chưa? | Mei Trố Trong video hôm nay, Trố sẽ kể tên tất tần tật những kênh youtube nước ngoài m...
「business development instagram」的推薦目錄:
- 關於business development instagram 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於business development instagram 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於business development instagram 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於business development instagram 在 Mei Trố Youtube 的最佳解答
- 關於business development instagram 在 Bryson Lew 刘铠翔 Youtube 的最讚貼文
- 關於business development instagram 在 de Mẫn Nhi Youtube 的精選貼文
- 關於business development instagram 在 Instagram Graph API - Instagram Platform - Meta for Developers 的評價
- 關於business development instagram 在 Pin on Business planning - Pinterest 的評價
business development instagram 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ? /โดย ลงทุนแมน
ประเทศเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้มีประชากรเพียงราว ๆ 5.7 ล้านคน
แต่สามารถส่งออกบริการด้านการเงินมากเป็นอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
คิดเป็นมูลค่าถึง 1,210,000 ล้านบาท ในปี 2019
จากการจัดอันดับเมืองศูนย์กลางการเงินโลกของ Long Finance ประจำปี 2021
สิงคโปร์คือศูนย์กลางการเงินอันดับ 5
เป็นรองเพียงนิวยอร์ก กรุงลอนดอน และเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นมหานครหลักของประเทศมหาอำนาจ
กับฮ่องกง ที่เป็นเมืองเชื่อมต่อธุรกิจระหว่างโลกกับจีนแผ่นดินใหญ่
สำหรับประเทศเกาะเล็ก ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งในปี 1965 และแทบไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอะไรเลย
แม้แต่น้ำจืดก็ยังขาดแคลนจนต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
แต่สามารถเติบโตจนแซงหน้ามหานครในหลายประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่า
และก้าวขึ้นมาอยู่ระดับแถวหน้าของโลกได้ภายในเวลาไม่ถึง 50 ปี..
ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ มีเส้นทางเป็นอย่างไร ?
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ?
ถึงแม้ประเทศจะมีขนาดเล็ก ไม่ค่อยเหมาะสมกับการเพาะปลูก และแทบไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
แต่เกาะสิงคโปร์ยังมีความโชคดีอยู่ประการหนึ่ง คือ
“ทำเลที่ตั้งที่อยู่ปลายสุดของคาบสมุทรมลายู”
ทำเลนี้เป็นจุดสำคัญของเส้นทางเดินเรือ ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียตะวันออก กับอินเดียและยุโรป
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 อังกฤษรวบรวมดินแดนแถบนี้และเรียกว่า “อาณานิคมช่องแคบ”
สิงคโปร์จึงถูกวางให้เป็นเมืองท่าสำคัญของบริษัท บริติช อีสต์ อินเดีย ซึ่งเป็นบริษัทที่เดินเรือทำการค้าขายระหว่างยุโรป กับอินเดียและโลกตะวันออก
ต่อมาเมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เกิดอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องที่ได้รับความนิยมสูงในยุโรป แร่ธาตุที่จะนำมาทำกระป๋องก็คือ ดีบุก ซึ่งพบมากแถบคาบสมุทรมลายู เมืองท่าสิงคโปร์จึงถูกพัฒนาให้เป็นตลาดค้าดีบุกที่สำคัญของโลก
นอกจากดีบุกแล้ว การนำยางพาราเข้ามาปลูกในแถบมลายูในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
ก็ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางของตลาดประมูลยางพาราอีกหนึ่งตำแหน่ง
การเป็นทั้งเมืองท่า เป็นศูนย์กลางการค้าดีบุกและยางพารา ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในสิงคโปร์คึกคัก ดึงดูดชาวต่างชาติให้เข้ามาเปิดกิจการธนาคาร
ธนาคารต่างชาติแห่งแรกที่เข้ามาเปิดทำการในสิงคโปร์ คือ The Union Bank of Calcutta
เปิดในปี 1840 มีการจัดตั้งสกุลเงินประจำอาณานิคมช่องแคบ คือ Straits Dollar ในปี 1845
ส่วนธนาคารแห่งแรกที่ก่อตั้งในสิงคโปร์ ก่อตั้งโดยชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพมาจากกวางตุ้ง
ชื่อว่า Kwong Yik Bank ในปี 1903 และหลังจากนั้นก็ตามมาด้วยธนาคารอีกหลายแห่ง
แต่ก็มีธนาคารมากมายที่ล้มหายตายจาก หรือถูกควบรวมกับธนาคารอื่น ๆ
ส่วนธนาคารที่ยังดำเนินการมาจนถึงปัจจุบันก็คือ
OCBC หรือ Oversea-Chinese Banking Corporation Limited ซึ่งเกิดจากการควบรวมธนาคารของชาวจีนฮกเกี้ยน 3 แห่ง ในปี 1932
และอีกธนาคารหนึ่งก็คือ UOB หรือ United Overseas Bank ซึ่งก่อตั้งโดยชาวมาเลย์เชื้อสายจีนในปี 1935
แต่ท่ามกลางการวางรากฐานด้านการเงินการธนาคารของสิงคโปร์
การเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองท่าแห่งนี้ต้องหยุดชะงักลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะถูกยึดครองโดยกองทัพญี่ปุ่น
เมื่อหลังจบสงคราม อาณานิคมช่องแคบได้รับเอกราชจากอังกฤษ และสิงคโปร์ก็ได้ขอรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย ในปี 1963
แต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งด้านเชื้อชาติ และอุดมการณ์ทางการเมือง
ท้ายที่สุดสิงคโปร์จึงแยกตัวออกจากมาเลเซีย และก่อตั้งประเทศในปี 1965
พร้อมกับตั้งสกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ของตัวเองในอีก 2 ปีถัดมา
สิงคโปร์ถือกำเนิดประเทศด้วยการไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
และเต็มไปด้วยแรงงานชาวจีนที่หลั่งไหลมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ในช่วงหลังสงครามโลก
ลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) นายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ จึงให้ความสำคัญกับเรื่องสวัสดิภาพความเป็นอยู่ รวมไปถึงการสร้างทักษะให้กับแรงงาน ต่อยอดจากการเป็นเมืองท่าค้าขาย
มีการจัดตั้ง Housing and Development Board เพื่อดูแลในเรื่องที่พักอาศัย
และสร้างนิคมอุตสาหกรรมในเขต Jurong ทางตะวันตกของเกาะ
เพื่อสร้างงานในภาคอุตสาหกรรม
โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ทั้ง 2 โครงการ ต้องใช้เงินลงทุนสูง รัฐบาลสิงคโปร์จึงลงทุนเองบางส่วนในโครงการเหล่านี้ และได้ตั้ง The Development Bank of Singapore Limited หรือ ธนาคาร DBS ในปี 1968 เพื่อรองรับเงินทุน กระตุ้นให้เงินทุนหมุนเวียน และโครงการพัฒนาดำเนินไปอย่างราบรื่น
เมื่อผู้คนมีที่อยู่อาศัย มีงานทำ และค่อย ๆ หลุดพ้นจากความยากจนแล้ว รัฐบาลก็ต้องวางแผนต่อเนื่องเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ประการแรก: พัฒนาการศึกษา
เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดของประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรอย่างสิงคโปร์ ก็คือ “ทรัพยากรมนุษย์”
รัฐบาลสิงคโปร์จึงให้ความสำคัญต่อนโยบายการศึกษาอย่างสูงสุด โดยมีการปฏิรูปคุณภาพของระบบ และมาตรฐานการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
เริ่มจากการมีบุคลากรครูคุณภาพสูง โดยครูทุกคนต้องจบการศึกษาในด้านที่เกี่ยวข้อง หลังจบการศึกษาต้องเข้ารับการฝึกอบรมวิชาชีพครูจากสถาบันการศึกษาแห่งชาติสิงคโปร์ (National Institute of Education หรือ NIE) เป็นเวลา 1 ปี เมื่อปฏิบัติหน้าที่ครูแล้วต้องได้รับการประเมิน และพัฒนาในทุก ๆ ปี
และด้วยความหลากหลายทางเชื้อชาติและภาษาของผู้คนในสิงคโปร์ ที่มีทั้งชาวจีน ชาวมาเลย์ ชาวทมิฬ ซึ่งแต่ละเชื้อชาติต่างก็มีการใช้ภาษาเป็นของตัวเองแตกต่างกันไป
สิ่งที่จะหลอมรวมให้คนทุกเชื้อชาติสามารถอยู่ร่วมกันก็คือ
“ชาวสิงคโปร์ทุกคนจะต้องสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้”
นำมาสู่ระบบการเรียนการสอนสองภาษา ที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก
ส่วนภาษาที่สองก็เป็นภาษาของแต่ละเชื้อชาติ
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้สร้างทางเลือกในการศึกษาระดับมัธยมให้กับประชาชน โดยแบ่งเป็น
หลักสูตรมัธยมศึกษาเชิงวิชาการ สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในมหาวิทยาลัย
และหลักสูตรมัธยมศึกษาโพลีเทคนิค สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในสายอาชีวะ
ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์ก็ผลักดันมาตรฐานในการเรียนสายอาชีวะให้มีคุณภาพสูง
เพราะมองว่านักเรียนแต่ละคนมีความถนัดทางวิชาการไม่เท่ากัน และสายอาชีวะสามารถผลิตบุคลากรเพื่อป้อนตลาดแรงงานในทันที
โดยหนึ่งในสายวิชาชีพ ที่รัฐบาลผลักดันตั้งแต่การก่อตั้งวิทยาลัยอาชีวะแห่งแรก ๆ ก็คือ “นักบัญชี”
สำหรับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย มีการจัดตั้ง National University of Singapore (NUS) ที่เกิดจากการควบรวมมหาวิทยาลัย 2 แห่งในปี 1980 และเริ่มพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ โดยจัดตั้ง NUS Entrepreneurship Centre ในปี 1988
ซึ่งในปีการศึกษา 2022 มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ก็เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
จากการจัดอันดับโดย QS
ต่อมาในปี 1981 มีการจัดตั้ง Nanyang Technological University (NTU)
ซึ่งก็กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 2 ของทวีปเอเชีย
โดยมี Nanyang Business School เป็นสถาบันด้านบริหารธุรกิจอันดับ 1 ของสิงคโปร์
เมื่อสร้างแรงงานที่เป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะในภาคบริหารธุรกิจและการเงิน รวมไปถึงด้านกฎหมาย และแรงงานส่วนใหญ่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี
ปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้สิงคโปร์มีความเป็นเมืองนานาชาติ และมีข้อได้เปรียบดึงดูดบริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะสถาบันการเงิน บริษัทด้านบัญชี และกฎหมาย ให้เลือกมาตั้งสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคในสิงคโปร์
รัฐบาลได้จัดตั้ง ธนาคารกลางแห่งสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore หรือ MAS) ในปี 1971 เพื่อควบคุมสถาบันการเงิน และบริหารจัดการนโยบายทางการเงิน
ด้วยความที่สิงคโปร์เป็นประเทศขนาดเล็กและเป็นเมืองท่าค้าขาย และพึ่งพาการค้าจากต่างประเทศสูงมาก สิงคโปร์จึงอาศัยกลไก “อัตราแลกเปลี่ยน” เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงิน ภายใต้การบริหารจัดการของ MAS
ประการที่ 2: ปฏิรูประบบราชการ
เมื่อวางแผนระบบการศึกษาเพื่อสร้างแรงงานที่มีคุณภาพแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพัฒนาเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติก็คือ “ความโปร่งใส”
ในช่วงหลังการแยกตัวเป็นเอกราช
สิงคโปร์เคยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการคอร์รัปชันสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
รัฐบาลภายใต้การนำของนายก ลี กวน ยู ได้ย้ายสำนักสืบสวนการทุจริตคอร์รัปชัน (Corrupt Practices Investigation Bureau หรือ CPIB)
ซึ่งเป็นองค์กรที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1952 มาอยู่ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี
และทำการปฏิรูปกฎหมายป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชัน ให้ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ
ทั้งการตัดสินลงโทษผู้ต้องหาโดยไม่ต้องมีหลักฐานชัดเจน แค่มีพฤติกรรมโน้มเอียงไปในทางไม่ซื่อสัตย์ก็สามารถตัดสินได้ หากผู้ต้องหาถูกตัดสินว่าผิดจริง ก็จะได้รับโทษอย่างรุนแรง
นอกจากโทษทางกฎหมายแล้ว ยังต้องชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับจำนวนเงินที่ทำการทุจริตด้วย
หลังจากตัวบทกฎหมาย และกระบวนการลงโทษเริ่มเข้าที่เข้าทาง
ขั้นต่อมา คือการเพิ่มผลตอบแทนให้ข้าราชการ โดยเริ่มในปี 1989
เพื่อจูงใจให้คนเก่งเข้ารับราชการ และลดการรับสินบนของเจ้าหน้าที่รัฐ
รัฐบาลสิงคโปร์ใช้เวลาต่อสู้กับการคอร์รัปชันมาเป็นเวลากว่า 50 ปี
จนสิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่มีดัชนีความโปร่งใส (Corruption Perceptions Index)
สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ในปี 2020
เมื่อประเทศมีความโปร่งใส ก็ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ในขณะที่รัฐบาลก็มีเงินมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ทั้งการคมนาคมขนส่ง ไปจนถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้ก่อตั้ง คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development Board หรือ EDB) เพื่อวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ชัดเจน
จากเมืองท่าปลอดภาษี ในช่วงทศวรรษ 1970s สิงคโปร์ต่อยอดมาสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี ในทศวรรษ 1980s
และในช่วงทศวรรษ 1990s ประเทศแห่งนี้ก็เปลี่ยนไปเป็นศูนย์กลางบริการทางการเงินของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประการที่ 3: พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดตั้ง The Smart Nation and Digital Government Group หรือ SNDGG รับผิดชอบในการเปลี่ยนแปลงบริการต่าง ๆ ของภาครัฐสู่ระบบดิจิทัล เพื่อเก็บข้อมูล และประยุกต์ใช้ในการวางแผนพัฒนาประเทศ ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์มี Big Data โดยเฉพาะข้อมูลทางการเงิน
รัฐบาลจึงสามารถตรวจสอบเส้นทางทางการเงินได้ ป้องกันการฟอกเงิน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองทำให้สิงคโปร์ได้รับความน่าเชื่อถือ สามารถเป็นศูนย์กลางทางการเงิน
รัฐบาลยังต่อยอดและให้การสนับสนุนเทคโนโลยีทางการเงิน หรือ FinTech โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้สิงคโปร์เป็น The FinTech Nation
ทั้งการเปิดให้บริษัท FinTech จากทั่วโลก ขอใบอนุญาต Digital Banking ได้เต็มรูปแบบ
ไม่ปิดกั้นเฉพาะองค์กรในสิงคโปร์ และให้การสนับสนุนนวัตกรรมทางการเงินหลายรูปแบบ
ทั้งระบบชำระเงิน, บล็อกเชน ไปจนถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
ในขณะที่ธนาคารกลางสิงคโปร์ ก็เป็นผู้ริเริ่มจัดงาน Singapore FinTech Festival ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2016 และจัดขึ้นติดต่อกันมาเป็นประจำทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นมหกรรม FinTech ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ปัจจุบัน ธนาคารสิงคโปร์ที่ใหญ่ที่สุด 3 แห่ง คือ DBS, OCBC และ UOB
ล้วนเป็น 3 ธนาคารที่ใหญ่อันดับต้น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน มีผลิตภัณฑ์การเงินที่หลากหลาย ทั้งประกันภัย ผลิตภัณฑ์การลงทุนต่าง ๆ ไปจนถึงสกุลเงินดิจิทัล
ภาคบริการการเงินคิดเป็นสัดส่วนราว 7.4% ของการส่งออกสินค้าและบริการของสิงคโปร์ ซึ่งบริการขั้นสูงเหล่านี้ มีส่วนสำคัญที่ผลักดัน GDP ต่อหัวของชาวสิงคโปร์ให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ
ในปี 1965 ที่ก่อตั้งประเทศ ชาวสิงคโปร์เคยมี GDP ต่อหัวน้อยกว่า เจ้าอาณานิคมอย่างสหราชอาณาจักร ประเทศแห่งนวัตกรรมอย่างเยอรมนี หรือประเทศมหาอำนาจในเอเชียอย่างญี่ปุ่น
แต่ในปี 2020 GDP ต่อหัวชาวสิงคโปร์แซงหน้าประเทศเหล่านี้ทั้งหมด และมากเป็นเกือบ 1.5 เท่า ของอดีตเจ้าอาณานิคม..
เรื่องทั้งหมดนี้เกิดจากการวางแผนระยะยาว
ทั้งการเตรียมทรัพยากรมนุษย์ให้พร้อมสำหรับงานบริการ
การพัฒนาประเทศให้โปร่งใสและมีความน่าเชื่อถือในระดับสากล
รวมไปถึงการช่วยเหลือของภาครัฐในทุก ๆ ด้าน
จากเมืองท่าศูนย์กลางการค้า สิงคโปร์ก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการเงินของภูมิภาค และกำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีทางการเงินแห่งศตวรรษที่ 21
เรื่องราวของประเทศเกาะมหัศจรรย์แห่งนี้ บอกให้เรารู้ว่า
เมื่อเริ่มเป็นศูนย์กลางอะไรสักอย่าง และสั่งสมประสบการณ์จนมากพอแล้ว
ก็จะง่ายในการดึงดูดสิ่งใหม่ ๆ และกลายเป็นศูนย์กลางด้านอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
และในวันนี้ สิงคโปร์กำลังเตรียมพร้อมทุกอย่าง
สำหรับการเป็นศูนย์กลางอีกหลายด้าน ที่กำลังจะเกิดขึ้นในโลกอนาคต..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-http://prp.trf.or.th/download/2538/
-https://atlas.cid.harvard.edu/explore?country=undefined&product=404&year=2019&productClass=HS&target=Product&partner=undefined&startYear=undefined
-https://remembersingapore.org/2011/10/07/money-never-sleeps-a-brief-history-of-banking-in-sg/
-https://lkyspp.nus.edu.sg/docs/default-source/case-studies/entry-1516-singapores_transformation_into_a_global_financial_hub.pdf
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?locations=SG-GB-JP-DE
-https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/dbs-cryptocurrency-trading-130964?fbclid=IwAR2VVHEH9_n29fpyXSQ6EgSGDm63Lhm3aQF0aj7I8LIQ_B2wgjIXSazIVxU
business development instagram 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
เกาหลีใต้ ผู้ลงทุนรายใหญ่ ในประเทศเวียดนาม /โดย ลงทุนแมน
เศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องไปในอนาคต
นั่นจึงทำให้บริษัทและนักลงทุนจากต่างชาติ ต่างก็สนใจเข้าไปลงทุนในประเทศแห่งนี้
โดยเฉพาะการลงทุนสร้างโรงงาน เพื่อให้เวียดนามกลายเป็นฐานการผลิตหลัก อย่างเช่น รองเท้าของ Nike และสมาร์ตโฟนของ Samsung รวมถึงอีกหลายบริษัทที่กำลังย้ายฐานการผลิตไปที่เวียดนาม เช่น Apple และ Foxconn
แต่รู้หรือไม่ว่าประเทศเวียดนามที่เนื้อหอมในสายตาโลก ผู้ที่ทุ่มเงินลงทุนในประเทศแห่งนี้มากที่สุด คือประเทศ “เกาหลีใต้”
แล้วเกาหลีใต้เข้ามาลงทุนในเวียดนาม อย่างไรบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เงินลงทุนจากต่างชาติ ที่เข้ามาลงทุนโดยตรงในประเทศเวียดนามแบบสะสม (FDI Stock) จนถึงปี ค.ศ. 2019 มีสัดส่วนมากที่สุด 5 อันดับแรก ก็คือ
อันดับ 1 เกาหลีใต้ 18.7%
อันดับ 2 ญี่ปุ่น 16.3%
อันดับ 3 สิงคโปร์ 13.7%
อันดับ 4 ไต้หวัน 8.9%
อันดับ 5 สหภาพยุโรป 7.0%
สำหรับประเทศจีนอยู่ในอันดับ 8 มีสัดส่วน 4.5% ส่วนประเทศไทยอยู่ในอันดับ 10 มีสัดส่วน 3.0%
โดยเกาหลีใต้ คือประเทศที่ลงทุนโดยตรงในประเทศเวียดนามมากที่สุด โดยความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่าง 2 ประเทศนี้ เริ่มแน่นแฟ้นมากขึ้น จากจุดเปลี่ยนที่สำคัญในอดีต 2 ครั้ง
ปี ค.ศ. 2007 ประเทศเวียดนาม เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกหรือ WTO
ปี ค.ศ. 2015 ประเทศเวียดนามและเกาหลีใต้ ทำข้อตกลงการค้าเสรีหรือ FTA ที่ส่งผลให้ เกาหลีใต้ลดภาษีนำเข้าจากเวียดนามลง 95% และเวียดนามลดภาษีนำเข้าจากเกาหลีใต้ลง 89%
นอกจากสิทธิประโยชน์ทางภาษีแล้ว เรื่องโครงสร้างแรงงานในประเทศเวียดนาม ก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ช่วยเติมเต็มสิ่งที่บริษัทเกาหลีใต้ต้องการ
ทั้งเรื่องอายุของคนวัยทำงาน ที่โดยเฉลี่ยอยู่ในช่วงอายุ 30 ปี ต่างจากหลายประเทศ โดยเฉพาะในเกาหลีใต้เอง ที่คนวัยทำงานโดยเฉลี่ยอยู่ในช่วงอายุ 40 ปี
รวมถึงปัจจัยด้านค่าจ้างโดยเฉลี่ย ที่นอกจากค่าจ้างแรงงานในเวียดนามจะคิดเป็นเพียง 1 ใน 8 ของค่าจ้างในเกาหลีใต้แล้ว งานที่ใช้ทักษะสูงขึ้นก็มีค่าจ้างที่ต่ำกว่าอย่างมีนัย เช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่น ตำแหน่งวิศวกร ที่ค่าจ้างในเวียดนามคิดเป็น 1 ใน 5 ของค่าจ้างในเกาหลีใต้
หรือแม้แต่ตำแหน่งผู้จัดการ ที่ค่าจ้างในเวียดนามคิดเป็น 1 ใน 3 ของค่าจ้างในเกาหลีใต้
อีกปัจจัยสำคัญก็คือ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน เพราะประเทศที่เกาหลีใต้ส่งออกไปมากที่สุดตามลำดับก็คือ จีน สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม
แต่เมื่อจีนและสหรัฐอเมริกากีดกันทางการค้ากันมากขึ้น จึงช่วยเร่งให้เกาหลีใต้ตัดสินใจย้ายฐานการผลิตจากจีนมาที่เวียดนามเร็วขึ้น
แล้วเกาหลีใต้ เข้ามาลงทุนอะไรในเวียดนามบ้าง ?
หลัก ๆ แล้ว กว่า 70% ของการเข้ามาลงทุนในเวียดนามทั้งหมด บริษัทเกาหลีใต้จะเข้ามาสร้าง “โรงงานผลิต” เพื่อหวังเป็นฐานการผลิตหลัก และผู้ลงทุนที่ทรงพลังมากที่สุดก็คือ Samsung
Samsung เริ่มเข้าไปสร้างโรงงานที่เวียดนามในปี ค.ศ. 2008 และเริ่มผลิตโทรศัพท์มือถือเพื่อส่งออกในปีถัดมา ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ Samsung มีโรงงานผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปัจจุบัน Samsung มีโรงงานในเวียดนามสำหรับผลิตสมาร์ตโฟน 2 แห่งและโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน 1 แห่ง
โดยสมาร์ตโฟน Samsung ที่ส่งออกทั่วโลกมากกว่าครึ่งหนึ่ง ผลิตที่เวียดนาม โดยสินค้าจาก Samsung คิดเป็น 1 ใน 5 ของการส่งออกทั้งหมดของเวียดนาม ซึ่งก็เรียกได้ว่าประเทศเวียดนามถือเป็นฐานการผลิตสำคัญของบริษัทไปแล้ว นั่นเอง
นอกจากนี้ สิ่งที่รัฐบาลเวียดนามพยายามทำมาสักพักแล้วก็คือ โน้มน้าวให้ Samsung มาตั้งโรงงานเซมิคอนดักเตอร์ผลิตชิปในประเทศด้วย
เมื่อบริษัทที่ใหญ่สุดในเกาหลีใต้อย่าง Samsung เลือกประเทศเวียดนาม จึงทำให้บริษัทอื่นก็ขยับตาม
เริ่มจากคู่แข่งอย่าง LG ที่เริ่มสร้างโรงงานผลิตที่เวียดนามในปี ค.ศ. 2014 ก่อนที่จะสร้างโรงงานแห่งที่ 2 ตามมา เพื่อเป็นฐานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและชิ้นส่วนรถยนต์ ที่เป็นจอแสดงผลและระบบสร้างความบันเทิง
แต่นอกจากประเทศเวียดนามจะได้เปรียบในเรื่องค่าแรงที่ถูกกว่าเกาหลีใต้แล้ว บุคลากรในตลาดแรงงานของเวียดนามยังมีระดับการศึกษาโดยเฉลี่ยที่สูงกว่าประเทศอาเซียนอื่นที่มีระดับค่าจ้างพอ ๆ กัน อย่างเช่น ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และลาว
นั่นจึงทำให้บริษัทจากเกาหลีใต้ ไม่เพียงสร้างโรงงานการผลิตเท่านั้น แต่ยังลงทุนสร้าง “ศูนย์วิจัยและพัฒนา” หรือ R&D Center ที่ประเทศเวียดนามด้วย
อย่าง Samsung ได้ลงทุนสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาที่เมืองฮานอย ซึ่งตั้งใจว่าจะเป็นหนึ่งในศูนย์หลักของ Samsung ที่ใช้วิจัยและพัฒนาสมาร์ตโฟน รวมถึงนวัตกรรมด้านอื่น โดยคาดว่าจะเปิดในปี ค.ศ. 2022 และจะจ้างวิศวกรท้องถิ่นราว 3,000 คน
ด้าน LG ก็มีศูนย์วิจัยและพัฒนาที่ฮานอยแล้ว และกำลังสร้างอีกศูนย์เพิ่มที่เมืองดานัง โดยเน้นวิจัยด้านชิ้นส่วนรถยนต์เป็นหลัก
ศูนย์วิจัยและพัฒนาเหล่านี้ ทำให้ประเทศเวียดนามไม่ได้เป็นเพียงแค่ฐานการผลิตเพื่อส่งออกเท่านั้น แต่จะทำให้ประเทศเวียดนามมีโอกาสสูงที่จะได้เรียนรู้และถูกถ่ายโอนเทคโนโลยีมาด้วย
และนอกจากการลงทุนไปกับการสร้างโรงงานผลิตหรือศูนย์วิจัยแล้ว บริษัทเกาหลีใต้ยังสนใจลงทุนในเวียดนามผ่านการเป็น “ผู้ถือหุ้น” ในกิจการท้องถิ่นด้วย
อย่างเมื่อปี ค.ศ. 2019 บริษัท Samsung SDS ได้เข้าไปถือหุ้น 30% ในบริษัท CMC ซึ่งเป็นบริษัท IT ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในเวียดนาม
แต่บริษัทที่ทุ่มเงินลงทุนในบริษัทเวียดนามมากที่สุดก็คือ SK กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ของเกาหลีใต้
ที่เป็นรองแค่ Samsung และ Hyundai ยกตัวอย่างเช่น
ปี ค.ศ. 2018 SK เข้าไปถือหุ้น 9.5% ใน Masan Group กลุ่มบริษัทด้านอาหารขนาดใหญ่
ปี ค.ศ. 2019 SK เข้าไปถือหุ้น 6.1% ใน Vingroup กลุ่มบริษัทที่ใหญ่สุดในเวียดนาม
ปี ค.ศ. 2021 SK เข้าไปถือหุ้น 16.3% ใน VinCommerce เชนร้านสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ ที่เพิ่งเปลี่ยนเจ้าของจาก Vingroup ไปเป็น Masan Group เมื่อปี ค.ศ. 2019
ซึ่งการลงทุน 3 ครั้งนี้ คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 62,700 ล้านบาท
การเข้ามาลงทุนของบริษัทเกาหลีใต้ที่นิยมอีกรูปแบบก็คือ การ “เปิดสาขา” ในประเทศเวียดนาม โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าบริโภค ร้านค้าปลีก และบริการต่าง ๆ อย่างเช่นบริการการเงิน ซึ่งก็น่าสนใจว่าบริษัทเหล่านี้แทบจะไม่เคยมีสาขานอกประเทศเกาหลีใต้เลย
เพราะกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางในประเทศเวียดนาม ซึ่งยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว
ถูกประเมินว่าจะเพิ่มขึ้นมากที่สุดและเร็วที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่สำคัญก็คือความนิยมในสื่อบันเทิงและวัฒนธรรมของเกาหลีใต้
ซึ่งมีส่วนช่วยให้ชาวเวียดนามกลุ่มหนึ่งคุ้นเคยกับแบรนด์เหล่านี้อยู่แล้ว
อย่าง Lotte หนึ่งในกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ของเกาหลีใต้ ที่สร้าง Lotte Center ที่เมืองฮานอย โดยเป็นอาคารที่สูงเป็นอันดับ 3 ในเวียดนาม มีทั้งโรงแรม 5 ดาว, ส่วนพักอาศัย, ห้างสรรพสินค้า Lotte, ซูเปอร์มาร์เก็ต Lotte Mart รวมถึงภัตตาคาร สปา และบริการอื่น ๆ คล้ายกับ Lotte Tower ในกรุงโซล
นอกจากนี้ Lotte ยังมีธุรกิจอื่นในเครือที่ประสบความสำเร็จในเวียดนาม อย่างเช่น ร้าน Lotteria ที่เริ่มเปิดสาขาเวียดนามในปี ค.ศ. 1998 จนในปัจจุบันกลายเป็นเชนฟาสต์ฟูด ที่มีสาขามากที่สุดในเวียดนาม
รวมถึงโรงภาพยนตร์ Lotte Cinema ที่เริ่มให้บริการที่เวียดนามในปี ค.ศ. 2008 ซึ่งนอกจาก Lotte แล้ว กลุ่ม CJ บริษัทแม่ของผู้ผลิตสื่อบันเทิงขนาดใหญ่ในเกาหลีใต้ อย่างเช่น Mnet, tvN และ Studio Dragon ก็มาเปิดสาขาโรงภาพยนตร์ CJ CGV ที่เวียดนามตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005
ซึ่งโรงภาพยนตร์จากเกาหลีใต้ ก็กลายเป็นเจ้าตลาดในเวียดนาม โดยกว่า 70% ของจำนวนโรงภาพยนตร์ทั้งหมดในประเทศเวียดนาม เป็นของ CJ CGV และ Lotte Cinema
ในส่วนของบริการทางการเงิน กลุ่มบริษัทการเงิน ธนาคาร รวมถึงบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ก็เลือกมาเปิดสาขาที่เวียดนาม เช่นกัน
อย่างเช่น Shinhan Financial Group กลุ่มการเงินอันดับ 2 ของเกาหลีใต้ เข้ามาเปิดสาขาธนาคาร Shinhan Bank Vietnam ตามเมืองใหญ่ในเวียดนาม รวมถึงบริษัท Shinhan Investment ที่ได้เข้าซื้อกิจการบริษัทหลักทรัพย์ท้องถิ่น
หรือ Hana Bank ธนาคารของกลุ่มการเงินอันดับ 4 ของเกาหลีใต้ ก็เข้ามาถือหุ้น 15% ในธนาคารรัฐวิสาหกิจของเวียดนาม ที่ชื่อ Bank for Investment and Development of Vietnam (BIDV) และมีแผนจะขยายสาขาในเวียดนามผ่านเครือข่ายสาขาของ BIDV
รวมถึงบริษัทการลงทุนขนาดใหญ่อย่าง Mirae Asset Global Investments ซึ่งเป็นบริษัทแรกของเกาหลีใต้ที่ได้เปิดบริษัทจัดการกองทุนในเวียดนาม และเป็นสาขาแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การเข้ามาลงทุนหลากหลายรูปแบบในประเทศเวียดนามของเกาหลีใต้ มีส่วนสำคัญในการเพิ่มการจ้างงานเกือบล้านตำแหน่งในตลาดแรงงานเวียดนาม รวมถึงยังทำให้เวียดนามมีโอกาสได้รับการถ่ายโอนเทคโนโลยีใหม่ ๆ ไปด้วย
ที่สำคัญก็คือเรื่องของการส่งออก ที่ราว 1 ใน 3 ของการส่งออกทั้งหมดของเวียดนาม มาจากการผลิตของโรงงานสัญชาติเกาหลีใต้
นอกจากนี้โครงสร้างการส่งออกของเวียดนาม ก็ปรับมามีสัดส่วนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก
โดยเฉพาะอิเล็กทรอนิกส์คุณภาพสูง จากเมื่อ 20 ปีก่อน ที่แทบไม่มีการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เลย
ถึงตรงนี้ เราก็พอจะสรุปได้ว่าประเทศเกาหลีใต้ คือผู้มีบทบาทสำคัญ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.bloomberg.com/opinion/articles/2019-04-10/south-korea-s-investment-bonanza-in-vietnam-doesn-t-add-up
-https://asia.nikkei.com/Business/Business-trends/South-Korea-s-SK-Group-bets-big-on-Vietnam-s-100m-consumer-market
-https://asia.nikkei.com/Business/Business-deals/SK-Group-takes-16-stake-in-Vietnam-s-top-retailer
-https://asia.nikkei.com/Business/Business-trends/South-Korean-investment-in-Vietnam-grows-amid-U.S.-China-trade-war
-https://m.koreatimes.co.kr/pages/article.asp?newsIdx=280920
-http://www.koreaherald.com/view.php?ud=20181122000128
-https://www.kroll.com/-/media/kroll/pdfs/publications/the-rise-of-korean-investment-in-vietnam.ashx
-http://www.mpi.gov.vn/en/Pages/chuyenmuctin.aspx?idcm=277
-https://www.krungsri.com/en/research/regional-economic/RH/ih-vietnam-2021
-https://advicecenter.kkpfg.com/th/money-lifestyle/money/economic-trend/country-competitiveness
business development instagram 在 Mei Trố Youtube 的最佳解答
Bạn đã biết 10 kênh Youtube nước ngoài cực hữu ích này chưa? | Mei Trố
Trong video hôm nay, Trố sẽ kể tên tất tần tật những kênh youtube nước ngoài mà Trố thường theo dõi, theo các chủ đề và lĩnh vực khác nhau nha. Trố để đường link ở dưới này nè ?:
1. For content creator/ Entrepreneur/ Online business:
Vanessa Lau:
https://www.youtube.com/channel/UCdOPzgbosSnbfwd9-iXP2NA
Think Media:
https://www.youtube.com/user/THiNKmediaTV
2. Fashion:
Emma Hill:
https://www.youtube.com/user/EJSTYLEblog
COCOBEAUTEA:
https://www.youtube.com/user/cocobeautea
Jess Alizzi:
https://www.youtube.com/user/angelaaar101
3. Lifestyle:
Valeria Lipovetsky:
https://www.youtube.com/channel/UCWkDFq1pO7YNzifE3A4UsMA
Sorelle Amore:
https://www.youtube.com/user/SorelleIAm
4. Phát triển bản thân / Self-development:
Lavendaire:
https://www.youtube.com/user/Lavendaire
5. Sắp xếp nhà cửa, không gian sống:
Hamimommy:
https://www.youtube.com/channel/UCy0229ISL-677SAuK_1In_A
Honeyjubu:
https://www.youtube.com/channel/UCg_xrQ9KMN7wL4moBwuxZWw
*Bonus: channel nấu ăn Hàn Quốc - Future Neighbor:
https://www.youtube.com/channel/UC-SmuIHMG2HPDFUOBRu5LnA
0:00 Intro
0:28 Mảng công việc - content creator, online business
0:41 Vanessa Lau
2:07 Think Media
3:10 Mảng trang
3:17 Phong cách thời trang Trố yêu thích
3:50 Emma Hill, COCOBEAUTEA, Jess Alizzi
5:00 Mảng Lifestyle
5:16 Valeria Lipovetsky
6:00 Sorelle Amore
6:58 Mảng Self-growth
7:03 Lavendaire
8:12 Mảng sắp xếp nhà cửa
8:38 Hamimommy, Honeyjubu
9:40 Future Neighbor - Korean cooking recipes
10:21 Vì sao nên xem vlog nước ngoài?
_____________________________
?? SANG MẤY CHỖ NÀY CHƠI VỚI TRỐ NỮA NHÁ:
➤ Instagram: https://www.instagram.com/meitro
➤ Facebook: https://www.facebook.com/meitroo
➤ Page: https://www.facebook.com/meitrovlog
? Và, subscribe kênh tại đây: http://bit.do/meitro-subscribe nếu bạn muốn quay lại nhà mình chơi, tâm sự nói chuyện nhé ❤️ Mong các bạn vui!
________________
? Music:
Music by Naomi - Osaka - https://thmatc.co/?l=0C261C13
Music by Reggie San Miguel - Daydream - https://thmatc.co/?l=278089E
Nhấn vào đây để đóng góp subtitles cho kênh, để video của Trố có thể tới được và giúp đỡ nhiều bạn hơn nhé: http://bit.do/meitrosubtitles. Đừng quên nhấn nút "credit" để Trố có thể hiện profile của bạn ?
© 2019 Copyright by Mei Trố. All rights reserved. Do not reup.
business development instagram 在 Bryson Lew 刘铠翔 Youtube 的最讚貼文
欢迎大家来到我的开箱大学系列第一集?
你是不是刚毕业 ? 还没找到适合你的大学? ?
亚太科技大学(APU)有专人为你测试,
在这里你可以体验世界性的多元文化交流,而毕业生的就业率也是相当高的!
在这一流的数码技术大学里,拥有着一流的老师,当然也有一流的课系!
电脑科学/科技/游戏开发/设计/广告/动画/工商/管理/营销/会计/金融等等...
哎 偷偷告诉你...?
还有奖学金、优异奖金待申请哦!?
赶快去他们的网页了解更多 https://www.apu.edu.my/
还想看我开箱哪一所大学吗?
赶快留言在下方!!!
Hi, welcome to my 1st series of “University Unboxing”, (whether I could have the 2nd series, it very much depends on you guys! )
I am 18 this year and just complete my school studies, I am indeed super curious how university life would be!
And now, you can just relax on your home sofa and let me bring you for a university walkabout through my video.
Anyone there just completed secondary school’s studies just like me?
Would you like to continue your studies at your dream university?
Pacific University of Technology & Innovation - APU
For this round of time, the university that I am ready to do “unboxing” for you is the Asia Pacific University of Technology & Innovation (APU)
In this Premier Digital Tech University, professional counsellors can help you with an aptitude test, to gauge what suits you best.
Programmes offered at APU covers: Computer Science/ Technology/ Computer Games Development/ Design/ Advertising / Animation/ Business/ Marketing/ Accounting/ Finance/ Actuarial Studies/ Engineering/ Media/ International Relations/ Psychology
Apart from the variety of programme choices
You may also apply for a Scholarship and Merit Awards
https://www.apu.edu.my/
For more information please click https://www.apu.edu.my/
Hopes that my “University Unboxing” series will help you guys to identify which university suits you best!
Do remember to excel always those who just completed your secondary school's studies, and keep it up!
Oh ya, which is the next university that you’d like me to unbox for you yeah?
Do drop me a message here, I will try my best to hop in there for you!
------------------------------------------------------------------------------
各节重点Timestamp :
00:05 影片介绍
00:20 神秘美女出场
00:55 精彩预告
01:04 开箱揭晓
02:12 参观食堂
03:13 参观XR Studio
03:54 体验VR Games
05:12 参观Robotics Lab
05:46 参观Hackers课室
07:26 电影《三个黑客》
08:36 参观图书馆
09:16 参观讲堂
10:26 2021年 颁奖典礼
11:29 Bryson肺腑之言
------------------------------------------------------------------------------
Contact Me | 若要找小弟业配,请联系??
? brysonlewcollab@gmail.com ?
经纪人? +60122073323 (TEXT.只限信息)
欢迎追踪小弟其他社交平台:
Instagram :
@brysonlew ? https://www.instagram.com/brysonlew/?...
Facebook Page :
@Bryson 刘铠翔 ? https://www.facebook.com/BrysonLKX
business development instagram 在 de Mẫn Nhi Youtube 的精選貼文
Vlog hôm nay hơi đặc biệt vì đây là lần đầu tiên mình đi làm từ khi sang Úc du học tới giờ!!!
Hiện tại thì mình đang là một du học sinh tại trường Macquarie University, làm part-time vị trí business development associate tại PTE Magic, làm YouTube, tham gia hội sinh viên UAVS và có cả dự án riêng nữa! Với lịch trình khá dày như này nên routine dạo gần đây của mình thay đổi khá nhiều ấy! 1 tháng nay, mình đã ngủ sớm hơn nè mà cũng dậy sớm hơn! ^^ kakaa cố gắng sống healthy :D
♡ Instagram: https://www.instagram.com/demannhi/
♡ Facebook Page: https://www.facebook.com/demannhi
♡ Facebook: https://www.facebook.com/mannhiwinnie
♡ SoundCloud: https://soundcloud.com/demannhi
♡ FOR WORK: demannhi@gmail.com
✰ NHỮNG ĐỒ MÌNH SỬ DỤNG ✰
Kính áp tròng (Contact Lens) Siesta The Bling: https://bit.ly/2TBEuar
Son - Lolita 2
Áo khoác - Hương Boutique
Áo trong - MonoTalk: https://bit.ly/2SRxyW1
Quần - Hương Boutique
♫ MUSIC ♫
Music by Jeff Kaale - Strawberry - https://youtu.be/fOXPAYHkW04
Music by Coodysan - Spring Flowers - https://thmatc.co/?l=F406C4E2
Music by Jeff x spencer - Monday - https://youtu.be/J1uH6VDk8yA
Music by Joakim Karud - Love Mode - https://youtu.be/Hz3lG2D6o2A
Music by HOAX - more than you know - https://thmatc.co/?l=09E7BF81
Music by HOAX - Western Medicine - https://thmatc.co/?l=6F680F61
Music by Naomi - Sunset Love - https://thmatc.co/?l=E7E6A7AB
Music by frumhere, kevatta - warm feeling - https://thmatc.co/?l=C0DE8C11
Music by Rytas - Cana Getaway - https://thmatc.co/?l=F309EFE7
Music by Nathanie Ngu - Sunscreen - https://thmatc.co/?l=A5C2115F
Music by Remil - Evening Tea - https://thmatc.co/?l=DC9D3B3F
♡ FAQ ♡
Tên mình là gì? Mẫn Nhi
Instagram của mình? @demannhi
SoundCloud thì sao? @demannhi nha! Mình có chia sẻ trên đó nhiều lắm!
Mình sinh năm bao nhiêu? 2000
Mình cao bao nhiêu? 1m55
Mình đang học ngành gì? Truyền thông tại Macquarie University
Mình đang sống ở đâu? Sydney, Úc
Mình quay phim bằng máy gì? Canon M50
Mình edit bằng phần mềm gì? Final Cut Pro X
♡ Appreciate yourself and honor your soul ♡
FTC: Not sponsored - Video không được tài trợ
#workdayinthelife #demannhi
business development instagram 在 Pin on Business planning - Pinterest 的推薦與評價
Apr 7, 2019 - 417 Likes, 18 Comments - Self & Business Development (@doseofbusiness) on Instagram: “Here are some of the best habits successful people have! ... <看更多>
business development instagram 在 Instagram Graph API - Instagram Platform - Meta for Developers 的推薦與評價
Limitations. The API cannot access Instagram consumer accounts (i.e., non-Business or non-Creator Instagram accounts). If you are building an app ... ... <看更多>