การเขียนโปรแกรมแบบจินตภาพด้วยบล็อกคำสั่ง: จาก MIT Scratch สู่ Google Blockly
เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ HTML5/CSS/JavaScript และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดรูปแบบการใช้งานซอฟต์แวร์ผ่านเว็บเบราว์เซอร์และอินเทอร์เน็ต อย่างเช่น "Software as a Service" (SaaS), "Coding in the Cloud" เป็นต้น มีการพัฒนาเครื่องมือหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับเขียนหรือสอนการเขียนโปรแกรมตามมาอีกมากมาย โดยทั่วไป ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง
💡 MIT Scratch, Berkeley Snap! และ MIT App Inventor 2 for Android
จากโพสต์คราวที่แล้ว "การเขียนโปรแกรมแบบจินตภาพด้วยบล็อกคำสั่ง: MIT Scratch และ Berkeley Snap! สู่การเชื่อมต่อกับ Arduino" ได้กล่าวถึง MIT Scratch (https://scratch.mit.edu) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ Open Source มีการใช้งานแบบ Desktop App สามารถนำไปสอนเยาวชนในช่วงอายุ 8 - 16 ปี เรียนรู้ Coding เป็นทักษะพื้นฐาน เน้นการสร้างเรื่องราวแบบปฏิสัมพันธ์ สร้างเกมส์ หรือ ภาพเคลื่อนไหว กราฟิก 2 มิติ
นอกจาก Scratch ก็ได้กล่าวถึง Berkeley BYOB/Snap! (https://snap.berkeley.edu) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตัวเลือก (Open Source) สำหรับฝึกเขียนโปรแกรมแบบกราฟิก ซึ่งอันที่จริงแล้ว ในตอนเริ่มต้น Snap! ก็เกิดจากการดัดแปลงโค้ด Scratch แต่ต่อมาได้พัฒนาใหม่ และใช้ภาษา JavaScript
โลกของเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปตลอดเวลา ล่าสุด Scratch เวอร์ชัน 3.0 ก็ใช้งานเป็นแบบ Web App ได้แล้ว โดยใช้ภาษา JavaScript (ใช้ไลบรารี Scratch Blocks) ในการพัฒนา
MIT Scratch และ Berkeley Snap! เป็นสองตัวเลือกที่ได้เลือกมานำเสนอ และใช้สำหรับฝึกเขียนโค้ดได้ด้วยวิธีลากบล็อกมาวาง (Drag & Drop Visual Programming) แต่ไม่ได้ใช้สำหรับเขียนโค้ดภาษาคอมพิวเตอร์โดยตรง (Text-Based Programming) และก็ไม่ได้ใช้สำหรับการสร้างโค้ดแล้วคอมไพล์หรือแปลงให้เป็นแอปพลิเคชันโดยอัตโนมัติ
แต่ถ้าอยากจะสอนเด็ก ๆ ให้ลองสร้าง Android App สำหรับสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ด้วยวิธีการเดียวกับ Scratch และ Snap! และไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ด ก็มีตัวเลือกอย่างเช่น MIT App Inventor 2 for Android (http://appinventor.mit.edu/explore/) โครงการนี้ เริ่มราวปีค.ศ. 2010 โดย Google และพัฒนาต่อโดยทีมงานจาก MIT ในปีค.ศ. 2012 และเผยแพร่เวอร์ชัน "App Inventor 2" ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2013 ... ปัจจุบัน สามารถเข้าใช้งานแบบออนไลน์ได้ที่ http://ai2.appinventor.mit.edu/ ถ้าลองสืบค้นในอินเทอร์เน็ต จะเห็นมีตัวอย่างในหลายเว็บที่สร้าง Android App โดยใช้ MIT App Inventor 2 เพื่อเชื่อมต่อกับบอร์ด Arduino ผ่าน Bluetooth เช่น รับค่าจากเซ็นเซอร์ที่ต่อกับบอร์ด Arduino มาแสดงผลใน App หรือควบคุมหุ่นยนต์ หรือส่งข้อมูลต่อไปยัง Google Firebase เป็นต้น
💡 เมื่อ Scratch ต้องเปลี่ยนมาใช้ Google Blockly
Scratch 3.0 เปลี่ยนมาใช้ JavaScript (แทน ActionScript และ Adobe Flash Player) และได้ใช้ไลบรารีที่ชื่อว่า Scratch Blocks (https://github.com/LLK/scratch-blocks) ซึ่งมาจากโปรเจกต์ Blockly (https://developers.google.com/blockly/) พัฒนาโดย Google เริ่มต้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2012 และเป็น Open Source (Apache License 2.0)
Blockly เป็นไลบรารี หรือ API ที่ใช้ JavaScript / HTML5 / CSS สำหรับนำไปใช้พัฒนา Web App สำหรับผู้ที่ต้องการสร้างโปรแกรมด้วยการต่อบล็อก (Scratch-like, Visual Block Programming) และแตกต่างจาก Scratch ซึ่งเป็นแอปพลิเคชัน (Web App)
ถ้าอยากทราบว่า จะใช้ Blockly สร้าง Web App อย่างไรได้บ้าง ลองดูตัวอย่าง ให้ดูเว็บ "Blockly Games" (https://blockly-games.appspot.com/) ที่มีตัวอย่างเกมส์ ผู้ใช้หรือผู้เล่นต้องนำบล็อกที่มีให้เลือก มาวางต่อกันเพื่อแก้ปัญหา
Blockly สามารถแปลงโปรแกรมที่ได้จากการต่อบล็อกต่าง ๆ ให้กลายเป็นโค้ดในภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหลายภาษาให้เลือกเป็นเอาต์พุต เช่น JavaScript, Python เป็นต้น ดังนั้น ผู้เรียนสามารถเปรียบเทียบและเชื่อมโยงระหว่างโปรแกรมที่เกิดจากการต่อบล็อก และโค้ดที่ได้จากโปรแกรมในภาษาคอมพิวเตอร์ตามที่เลือกให้เป็นเอาต์พุต (ตรงนี้ก็ถือว่า สำคัญในการเรียนรู้ Coding)
💡 BBC Micro:bit, Microsoft MakeCode
โครงการ BBC Micro:bit (https://microbit.org/) จากประเทศอังกฤษ ได้พัฒนาบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ Micro:bit เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านคอมพิวเตอร์ให้แก่เยาวชน ผู้เรียนสามารถใช้เขียนโค้ดโดยการนำบล็อกมาต่อกัน ใช้งานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ โดยเข้าไปที่เว็บ Micro:bit's Code Kingdoms (https://www.microbit.co.uk/app/) หรือ Microsoft MakeCode for Micro:bit (https://makecode.microbit.org/)
MakeCode ของ Microsoft ก็ใช้ Google Blockly เป็นพื้นฐาน (a fork of Blockly) ในการสร้าง Web-based Block editor และใช้วิธีแปลงบล็อกเหล่านั้น ให้เป็นโค้ดในภาษา "Static TypeScript (STS) / TypeScript" จากนั้นจึงแปลงให้เป็นไฟล์โปรแกรม (.hex) ที่นำไปใช้ได้กับบอร์ด Micro:bit
ผู้ที่อยากจะใช้ Scratch ร่วมกับบอร์ด Micro:bit ก็มีตัวเลือกอย่างเช่น "Scratch 3.0 micro:bit experimental extension" ซึ่งสามารถเชื่อมต่อโปรแกรม Scratch ผ่าน Bluetooth ไปยังบอร์ด Micro:bit ได้ โดยต้องโปรแกรมไฟล์ scratch-firmware-combined.hex ลงในบอร์ดก่อน
💡 Arduino กับการเขียนโค้ดเชิงกราฟิกแบบออนไลน์ในสไตล์ Blockly
ลองมาดูว่า มีตัวอย่างเว็บที่ใช้ Blockly มาสร้าง Web App สำหรับสร้างโปรแกรมเพื่อนำไปใช้กับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ อย่างเช่น Arduino อะไรบ้าง
◻️ BlocklyDuino (https://github.com/gasolin/BlocklyDuino)
- เป็น Web-based visual programming editor for Arduino
- ได้แรงบันดาลใจมาจาก ( inspired by) "ArduBlock" ซึ่งเป็น Arduino Plug-in สำหรับเขียนโค้ดด้วยบล็อก
- พัฒนาโดย Fred Lin ตั้งแต่ปีค.ศ. 2012
- เป็น Open Source (Apache License 2.0)
- ใช้ Google Blockly สำหรับพัฒนาในส่วนที่เป็น Web App
- สามารถรันเป็น Web server (เขียนด้วย Python) ในเครื่องของผู้ใช้ได้ และเข้าใช้งานผ่านหน้าเว็บได้ แต่จะต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ Arduino IDE & tools ในเครื่องของผู้ใช้ เพื่อใช้ในการคอมไพล์โค้ดและอัปโหลดไปยังบอร์ด Arduino
- ใช้สำหรับบอร์ด Arduino Uno, Mega, Nano เป็นต้น
- มีการเพิ่มบล็อกให้เลือกใช้สำหรับฮาร์ดแวร์ของ Groove เช่น RC Servo, Motor, Relay, Button, Tilt Switch เป็นต้น และสามารถใช้งานออนไลน์ได้ที่ BlocklyDuino "Grove Edition" https://bit.ly/2mPqDwq
◻️ BlocklyProp (http://blockly.parallax.com/blockly/)
- เผยแพร่ครั้งแรกในเดือนกันยายน ค.ศ. 2016
- พัฒนาโดยบริษัท Parallax Inc. (USA)
- เป็น Open source (Apache License 2.0)
- ได้แรงบันดาลใจมาจาก (inspired by) BlocklyDuino
- ใช้ Google Blockly สำหรับพัฒนาในส่วนที่เป็น Web App
- สามารถรันเป็น Web server (เขียนด้วย Java) ในเครื่องของผู้ใช้ได้ และเข้าใช้งานผ่านหน้าเว็บได้
- ใช้ได้เฉพาะบอร์ด Parallax เท่านั้น เช่น บอร์ด Propeller Multicore(http://www.parallax.com/microcontrollers/propeller)
- เข้าใช้งานแบบออนไลน์ผ่านเว็บได้ที่ http://blockly.parallax.com/blockly/ และผู้ใช้ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ชื่อ "BlocklyProp Client" เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อบอร์ดผ่านทาง USB สำหรับการอัปโหลดโปรแกรม
◻️ ArduBlockly (https://ardublockly.embeddedlog.com/)
- ได้แรงบันดาลใจมาจาก ( inspired by) และพัฒนาต่อยอดจาก BlocklyDuino
- ใช้ Google Blockly สำหรับพัฒนาในส่วนที่เป็น Web App
- เป็น Open source (Apache License 2.0)
◻️ Blockly@rduino (http://www.techmania.fr/BlocklyDuino/)
- พัฒนาต่อยอดจาก BlocklyDuino เริ่มต้นราวปีค.ศ. 2016
- เป็น Open Source (Apache License 2.0)
- ใช้ Google Blockly สำหรับพัฒนาในส่วนที่เป็น Web App
- ใช้สำหรับบอร์ด Arduino Uno, Mega, Nano เป็นต้น
◻️ Webduino Blockly (https://blockly.webduino.io/)
- ใช้สำหรับบอร์ด BPI:bit (ESP32-based) จากบริษัทในประเทศจีน
- เป็น Open Source
🤔 เพิ่มเติม:
- การสร้างระบบซอฟต์แวร์ในทางวิศวกรรมแบบใช้บล็อก ก็มีให้เห็น อย่างเช่น MATLAB / Simulink และ LabView เป็นต้น สามารถจำลองการทำงาน แล้วแปลงเป็นโค้ดคอมไพล์ไปใช้งานสำหรับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ได้ แต่ก็เป็นซอฟต์แวร์ที่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ ไม่ฟรี และไม่ใช่ Open Source
- การเขียนโปรแกรมโดยใช้บล็อกสำหรับไมโครคอนโทรลเลอร์ เช่น Arduino ความสะดวกอยู่ที่การเลือกใช้บล็อกที่มีการเตรียมไว้แล้ว ก็เหมือนกับการสร้างไลบรารีสำหรับ Arduino ไว้ให้เรียกใช้งาน คนอื่นทำไว้ให้ เราก็แค่นำมาใช้งานให้เป็น
- ถ้าชุดของบล็อกเหล่านั้น (หรือเรียกว่า Block Set) มีอย่างจำกัด ก็จะจำกัดความยืดหยุ่นหรือความสามารถในการสร้างโปรแกรมของเราได้ แต่ถ้าบล็อกเซตมีจำนวนมาก เช่น มีจำนวนของบล็อกหลักร้อยหรือหลักพัน ก็ต้องใช้เวลาเรียนรู้ว่า แต่ละบล็อกใช้งานอย่างไร
- บางกรณีมีการสร้าง Custom Block (Blockly-based) ให้ผู้ใช้ เขียนโค้ดเองลงในบล็อกนั้นก็ได้ หรือถ้าสามารถสร้างบล็อกเพิ่มเติมไว้ใช้งานได้เอง ก็น่าสนใจ
- การสร้างบล็อกสำหรับใช้งานกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ แม้ว่าจะเป็นอุปกรณ์ประเภทเดียวกัน ก็มีความแตกต่างกันได้ เหมือนในกรณีของไลบรารีสำหรับ Arduino จากผู้พัฒนาหลายแหล่งและมีชื่อฟังก์ชันหรือคำสั่งซึ่งแตกต่างกัน
🤔 ข้อคิดเห็น:
- ตัวเลือกซึ่งเป็นซอฟต์แวร์สำหรับการเรียนรู้ ที่ได้นำเสนอมานั้น เป็นแค่บางส่วน (Open Source ทั้งหมด) ยังมีตัวเลือกอื่น ๆ อีกสำหรับการเรียนรู้
- ควรส่งเสริมความหลากหลาย เพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบ พิจารณาความเหมือนความต่าง และความเชื่อมโยง
- มีตัวเลือกให้มากมายและใช้ได้ฟรี แต่ถ้าไม่เริ่มและลงมือจริงจัง ก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์
References / Credit
- MIT Scratch
🔗 https://scratch.mit.edu
- Berkeley Snap!
🔗 https://snap.berkeley.edu
- MIT App Inventor 2 for Android
🔗 http://appinventor.mit.edu/explore/
- MIT App Inventor 2 online editor
🔗 http://ai2.appinventor.mit.edu/
- Google Blockly
🔗 https://developers.google.com/blockly/
- Google Blockly: Sourcecode
🔗 https://github.com/google/blockly
- Scratch Blocks: Sourcecode
🔗 https://github.com/LLK/scratch-blocks
- BBC Micro:bit
🔗 https://microbit.org/
- Micro:bit's Code Kingdoms
🔗 https://www.microbit.co.uk/app/
- MakeCode: Microsoft's JavaScript Blocks editor for Micro:bit
🔗 https://makecode.microbit.org/
- Scratch 3.0 micro:bit experimental extension
🔗 https://llk.github.io/microbit-extension/iste18/
- ArduBlock: Sourcecode
🔗 https://github.com/taweili/ardublock
- BlocklyDuino: Sourcecode
🔗 https://github.com/gasolin/BlocklyDuino
- BlocklyProp
🔗 http://blockly.parallax.com/blockly/
- BlocklyProp Starter Kit, Parallax Inc.
🔗 https://www.parallax.com/educ…/teach-blocklyprop-starter-kit
- BlocklyProp: Sourcecode
🔗 https://github.com/parallaxinc/BlocklyProp
- ArduBlockly
🔗 https://ardublockly.embeddedlog.com/
- ArduBlockly: Sourcecode
🔗 https://github.com/carlosperate/ardublockly/
- BlocklyDuino "Grove Edition"
🔗 https://blocklyduino.github.io/Blockly…/…/apps/blocklyduino/
- Blockly@rduino
🔗 http://www.techmania.fr/BlocklyDuino/
- Blockly@rduino: Sourcecode
🔗 https://github.com/technologiescollege/Blockly-at-rduino
- Webduino: Sourcecode
🔗 https://github.com/webduinoio
#IoT #STEM #VisualProgramming #KruBright
「code matlab」的推薦目錄:
- 關於code matlab 在 โปรแกรมเมอร์ไทย Thai programmer Facebook 的最佳解答
- 關於code matlab 在 國立臺北大學National Taipei University Facebook 的最佳解答
- 關於code matlab 在 紀老師程式教學網 Facebook 的精選貼文
- 關於code matlab 在 How to Write a MATLAB Program - MATLAB Tutorial - YouTube 的評價
- 關於code matlab 在 How to Generate Code from MATLAB - YouTube 的評價
- 關於code matlab 在 Writing a MATLAB Program - R2012b - YouTube 的評價
- 關於code matlab 在 MathWorks - GitHub 的評價
- 關於code matlab 在 How do I run MATLAB (.m) files in VSCode? - Stack Overflow 的評價
code matlab 在 國立臺北大學National Taipei University Facebook 的最佳解答
MATLAB 2日原廠課程 來啦!!!
快來參加報名吧!!
報名網址:https://sea.cc.ntpu.edu.tw/pls/eval/REG_2ORDER.ordform…
課程名稱:MATLAB基礎、進階與分析應用(2日)
課程時間:107/6/28、6/29 0900-1630
課程地點:資訊中心資1F09電腦教室
課程流程:
6/28
0900-1200 MATLAB基礎課程
1330-1630 MATLAB進階課程I
6/29
0900-1200 MATLAB進階課程II
1330-1630 MATLAB資料分析應用
課程簡介:
此課程專門為 MATLAB 初學者設計,希望藉此幫助使用者充分地了解 MATLAB 程式語言,全程實機操作。課程開始將簡介 MATLAB 操作環境、程式語法、支援的資料型態及使用方式等,並舉例說明常用的資料 I/O 指令使用方式讓初學者熟悉 MATLAB。接下來說明 MATLAB 常用的繪圖指令及其功能,程式邏輯法則,運算的方式等,讓初學者能更了解 MATLAB 的使用,並協助使用者學會如何使用建立自己的演算法函式於 MATLAB 中並呼叫引用。進而介紹如何增進 MATLAB 程式碼的執行效能,接著完整地介紹與 Function 相關的操作方法與使用時機,以及如何撰寫含有防呆機制的程式。
最後,介紹MATLAB於資料分析的相關功能,主要目的為闡述如何使用MATLAB補強Excel的不足之處。在課程中將會說明如何使用MATLAB匯入Excel的資料、視覺化分析以及客製化圖形、進行統計分析與數學模型的配飾、自動化流程並產生報表、最後將MATLAB開發出的功能包裝成Excel add-in。
課程大綱:
MATLAB操作介面介紹
•MATLAB繪圖工具之使用說明
•MATLAB各類變數型態之介紹與說明
•MATLAB之程式設計流程簡介
•如何產生及呼叫MATLAB Function.
•如何建構MATLAB Function Code,介紹各種不同類型的Function Type.
•如何撰寫含有防呆機制的程式.
•如何針對程式碼進行除錯及如何提升程式碼的執行效率
•Access data from files and Excel spreadsheets
•Visualize data and customize figures
•Perform statistical analysis and fitting
•Generate reports and automate workflows
•Share analysis tools as standalone applications or Excel add-ins
code matlab 在 紀老師程式教學網 Facebook 的精選貼文
想學網頁程式設計卻不知道該從哪裡著手嗎?國外神人幫你把課程表排好了!
這篇把成為一個「網頁程式設計師」的課程順序排得很好!跟我理想中的順序很接近!特別推薦給大家!
Step 0: 前台語言與相關工具
首先作者推薦學習「HTML > CSS > JavaScript」,也都附上學習資源。
接著作者希望大家去學 Git。其實這個跟「網頁設計」直接關係不大,Git 是一套「程式碼版本控制軟體」。它可以比對前後兩個版本的差異,然後只把差異部分儲存起來。如此一來,你就算寫到後來,發現一個月前那個版本才是對的,也可以要求 Git 倒回特定日子的某個版本。我也強烈推薦學習。不過如果時間不夠,您可以暫時跳過(雖然很可惜),等學完之後回頭再來學也可以。
接著作者建議學 GitHub 之類的網路服務。GitHub 是程式師把原始碼分享出來,與大家交流的地方。GitHub 保有 Git 版本控制的特色,也能指定抓出某日某版。嚴格來說,您可以把 GitHub 看成程式設計界的 Facebook。只不過 Facebook 交流的是照片、打卡,這邊交流的是程式碼。這部分也是急得話可以事後再回頭學。
Step 1: 後台語言
接著作者開始教大家學習後台語言。由於作者是「Ruby 粉」(Ruby Fans),所以他會推薦 Ruby。其實這部分可以換成 PHP,或最近很流行的 Node.js 都可以。
Step 2: 磨練其它技巧(函式庫與框架,以及資料庫)
這邊作者開始要大家去 Code Academy、Coursera...等線上影音教學站,以 HTML/CSS/JavaScript 為基本功,去學習更高深的網頁程式設計學問。學這些東西,是讓你增加生產力。學習對象主要是一些 JavaScript 可使用的函式庫與框架。所謂函式庫與框架,就是人家寫好、可讓你在 JavaScript 直接叫用的一些好用工具。打個比方來說,如果有電鑽(函式庫、框架)讓你用,你想用鑿子(JavaScript)慢慢挖洞嗎?不會吧?
他推薦的框架主要有 Ember.js, Angular.js...等。我個人是很推 Google 做的 Angular.js(其它的也不錯啦~沒有筆戰的意思,自己習慣就好)。如果您沒有心儀的框架,不妨試試看。
本步驟最後,作者推薦學習一些常見的資料庫。如 MySQL、PostreSQL。或是大數據界常用的資料庫 MongoDB...等。
Step 3: 學習額外的網頁程式語言,拓寬領域
這部分我倒是覺得可以先跳過去,不急。他推薦的 Clojure、Go... 能做的事情,都大概能用 JavaScript + 各種框架做出來。所以我個人認為,這部分可以先跳過去。
Step 4: 往手機領域前進
沒錯!網頁程式語言也能做出各種 App!誰說寫 Android 或 iOS App 一定得學 Java 或是 Objective-C/Swift? 網頁程式設計領域有很多軟體,可以輕鬆地把你寫好的網頁程式,轉包成 App 發佈出去(謎之聲:吔...那個效能...就可能不要太挑剔了...笑)
Step 5: 去賺錢吧!
作者在此建議把你的網頁發佈成收費網站,或轉成 App,發佈到 Google Play 或 AppStore 賺錢。更甚者,乾脆去找家公司,過著「善用公司資源,創造優質生活」的日子...(哈哈!)作者準備了一些常見的面試題目,讓你看完後比較有信心面對各家公司奇奇怪怪的各種問題。
原文連結(能看到這裡,辛苦了~~):
http://www.developingandrails.com/2015/01/crash-course-on-modern-web-development.html
<紀老師總結>
其實我個人推薦的順序比他稍短(但也沒短多少)。如下:
1. 前台技術:HTML --> CSS --> JavaScript (基本功)
2. 前台框架技術: --> jQuery --> Node.js --> Angular.js (讓你學會怎麼用電鑽)
----- (可以去應徵「前台工程師」了) -----
3. 後台語言:PHP / Node.js 市場較大,任挑其一。
4. 後台資料庫: MySQL / MariaDB / PostreSQL 三者擇一。想進大數據領域的,加學 MongoDB。
----- (前後台兼修,可以應徵很多「網站程式設計師」的工作了) -----
接下來的路就不太一樣了。有人就這麼停住,找到一輩子可以安身立命的公司。也有人加學「統計」,與 R、MATLAB、Hadoop 等技術,往「大數據(Big Data)」走。也有人把 jQuery 裡的 jQuery Mobile 分支,與 Angular.js 磨得更亮,加上 Titanium、Sencha、PhoneGap 等嫁接「網頁」與「手機 App」專用的框架,去寫手機 App 了。到這裡,就沒有一定的「路」需要去遵循。您屆時的功力,應該也強到不用人建議,就知道接下來該學什麼了。
希望今天這一長篇文章,對大家有用!也感謝大家用力看完!覺得還不錯話,也分享到您的臉書給其他朋友看看吧!
code matlab 在 How to Write a MATLAB Program - MATLAB Tutorial - YouTube 的推薦與評價
... <看更多>