ผู้วางรากฐาน สกุลเงินยูโร คือใคร ? /โดย ลงทุนแมน
ย้อนกลับไปเมื่อ 24 ปีก่อน ประเทศไทยได้เผชิญกับวิกฤติต้มยำกุ้ง
เนื่องจากการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ 3 นโยบายพร้อมกัน นั่นก็คือ
นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนคงที่
การอนุญาตให้มีเงินทุนเคลื่อนย้ายแบบเสรี
การกำหนดนโยบายการเงินอย่างอิสระ
การดำเนินนโยบายเหล่านี้ ถือเป็นการขัดกับทฤษฎี Impossible Trinity
หรือ สามเป็นไปไม่ได้ ที่ถูกคิดค้นขึ้นโดยนักเศรษฐศาสตร์ที่ชื่อว่า Robert Mundell
ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์คนนี้ก็ยังได้รับการขนานนามว่า บิดาแห่งสกุลเงิน “ยูโร”
แล้วบทบาทของ Mundell ต่อสกุลเงินยูโร เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Robert Mundell เป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวแคนาดา เจ้าของรางวัลโนเบลในปี 1999
จากผลงาน ทฤษฎี “Optimal Currency Areas” ที่ตีพิมพ์ในปี 1961
และการบุกเบิกทฤษฎีนี้เอง ทำให้เขาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานสกุลเงินยูโร
แล้วการรวมกลุ่มกันของประเทศในยุโรป เริ่มต้นขึ้นเมื่อไร ?
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง ประเทศในยุโรปอยากที่จะปรองดองและลดความขัดแย้งในอดีต
จึงมองหาแนวทางที่เหมาะสม นั่นคือการรวมตัวและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมา ประเทศในยุโรปได้เริ่มให้มีการค้าและการเคลื่อนย้ายแรงงาน
ระหว่างกันอย่างเสรีและมีการใช้ระบบภาษีแบบเดียวกัน
จนในปี 1992 ก็ได้ตั้งกลุ่มอย่างเป็นทางการว่า สหภาพยุโรป หรือ EU และยังพัฒนาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกขั้น ซึ่งต่างจาก ASEAN ที่เป็นเพียงเขตการค้าเสรี
เพราะในปีเดียวกันนั้น สหภาพยุโรปได้เสนอให้ใช้สกุลเงินร่วมกัน
เพื่อลดต้นทุนและความเสี่ยงในด้านอัตราแลกเปลี่ยน
และนี่จึงเป็นจุดกำเนิดของสกุลเงิน “ยูโร”
โดยแนวคิดนี้ ก็มีรากฐานมาจากทฤษฎี Optimal Currency Areas (OCA)
ที่ถูกคิดค้นขึ้นโดย คุณ Robert Mundell
แล้ว OCA คืออะไร ?
OCA หรือ เขตเงินตราที่เหมาะสม อธิบายว่าการรวมกลุ่มของประเทศ ที่มีการใช้สกุลเงินเดียวกันจะเกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูงสุดได้เมื่อเหล่าประเทศสมาชิก ทำตามเงื่อนไข 4 ข้อ ซึ่งมีใจความสำคัญ ได้แก่
1. แรงงานและทรัพยากร ต้องเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี
2. การเคลื่อนย้ายของเงินทุน การตั้งราคาสินค้าและค่าจ้าง ต้องปรับตามกันได้ง่าย
3. ประเทศที่เศรษฐกิจดี มีเงินเยอะ ต้องช่วยเหลือประเทศที่เศรษฐกิจไม่ดีและขาดดุล
4. วัฏจักรทางธุรกิจของแต่ละประเทศ ถ้าเป็นขาขึ้นก็ควรขึ้นไปด้วยกัน ขาลงก็ลงด้วยกัน
ทั้งนี้ก็เพื่อปรับให้พื้นฐานทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ไม่แตกต่างกันมากจนเกินไป
และยังช่วยให้การกำหนดทิศทางของนโยบายการเงิน มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพราะเมื่อใช้สกุลเงินเดียวกันแล้ว สิ่งที่ตามมาก็คือ “การใช้นโยบายการเงินร่วมกัน”
ประเด็นนี้มีความสำคัญมาก เพราะมันหมายความว่าประเทศเหล่านั้นต้องยอมขาดอิสระในการกำหนดนโยบายการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนของตัวเอง
และเรื่องดังกล่าวเราก็ยังสามารถใช้ Impossible Trinity อธิบายได้ด้วย
เพราะเมื่อสหภาพยุโรปอนุญาตให้มีเงินทุนเคลื่อนย้ายแบบเสรี และยังใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ โดยมีการผูกสกุลเงินเดิมของแต่ละประเทศไว้กับยูโร ธนาคารกลางของประเทศนั้น ๆ จึงไม่สามารถกำหนดนโยบายการเงินเองได้ และต้องรับนโยบาย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่อัตราดอกเบี้ย, เงินเฟ้อเป้าหมาย และอัตราแลกเปลี่ยน ที่เหมือนกัน ไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจของตัวเองในตอนนั้นจะเป็นอย่างไร
ซึ่งผู้กำหนดนโยบายการเงินของสกุลเงินยูโร ก็คือ ธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB นั่นเอง
ในช่วงเตรียมแผนการเพื่อเริ่มใช้สกุลเงินเดียวกัน
ประเทศสมาชิกได้ร่วมกันร่างสนธิสัญญา “Maastricht” และร่วมลงนามในปี 1992
ซึ่งก็ได้มีรากฐานสำคัญมาจากทฤษฎีของคุณ Robert Mundell
โดยสนธิสัญญาดังกล่าว เป็นการกำหนดข้อปฏิบัติร่วมกันของทุกประเทศ
ที่จะเปลี่ยนมาใช้เงินยูโร หลัก ๆ มีอยู่ 4 ข้อ
1. ต้องมีวินัยทางการคลัง
โดยงบประมาณรายปีห้ามขาดดุลเกิน 3% ของ GDP
ในขณะที่หนี้ภาครัฐต้องไม่เกิน 60% ของ GDP
2. ต้องคุมเงินเฟ้อให้ไม่สูงจนเกินไป
โดยอัตราเงินเฟ้อต้องไม่สูงกว่า 1.5% เหนือค่าเฉลี่ยของ 3 ประเทศในกลุ่มที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำสุด
เช่น ค่าเฉลี่ยคือ 0.5% ดังนั้นอัตราเงินเฟ้อก็ต้องไม่สูงเกิน 2.0%
3. ต้องผ่านการทดสอบความมีเสถียรภาพของสกุลเงินเดิม ก่อนจะเริ่มเปลี่ยนมาใช้เงินยูโร
โดยต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ หรือผูกค่าเงินสกุลเดิมไว้กับค่าเงินยูโร
และควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนนั้น ให้ขยับขึ้นลงอยู่ภายในกรอบที่กำหนด อย่างน้อย 2 ปี
4. ต้องควบคุมดอกเบี้ยระยะยาวให้ไม่สูงจนเกินไป
โดยอัตราดอกเบี้ยระยะยาวต้องไม่เกิน 2% เหนือค่าเฉลี่ยของ 3 ประเทศในกลุ่มที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำสุด
หลังผ่านกระบวนการเตรียมความพร้อมมาแล้ว
ในที่สุด สกุลเงินยูโร ก็ได้เริ่มใช้จริง ในวันที่ 1 มกราคม ปี 1999
โดยมี 11 ประเทศแรกเริ่ม และต่อมาประเทศอื่น ๆ ก็ทยอยเข้าร่วม
จนในปัจจุบันมี 19 จาก 27 ประเทศในสหภาพยุโรป ที่ใช้เงินยูโร เรียกรวมว่ากลุ่ม Eurozone
ปัจจุบัน สหภาพยุโรปถือได้ว่าเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด และเชื่อมโยงกันมากที่สุดในโลก โดยมีขนาดเศรษฐกิจรวมกันกว่า 566 ล้านล้านบาท ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก
เป็นรองเพียงสหรัฐอเมริกาที่มีขนาดเศรษฐกิจ 660 ล้านล้านบาท
นอกจากนี้ ยูโรยังเป็นสกุลเงินที่ใช้กันมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในโลกเช่นกัน
คิดเป็น 36.6% ของมูลค่าธุรกรรมการค้าขายทั่วโลก
เป็นรองเพียงดอลลาร์สหรัฐ ที่คิดเป็น 38.3% เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม เหรียญย่อมมี 2 ด้านเสมอ
เพราะการรวมกลุ่มโดยใช้สกุลเงินเดียวกันแบบนี้ ก็มี “จุดอ่อน” ในหลายด้าน
หนึ่งในจุดอ่อนสำคัญ ก็คือการต้องใช้นโยบายการเงินร่วมกันนั่นเอง
ซึ่งปัญหานี้เกิดขึ้นมานานแล้ว และกลับมาเป็นที่ถกเถียงกันเป็นวงกว้างอีกครั้ง ในปี 2010
ที่ผลพวงจากวิกฤติซับไพรม์ในสหรัฐฯ ได้ลามมาเป็นวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรป
ต้นตอของปัญหาก็คือว่า ไม่ใช่ทุกประเทศสมาชิก ที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่มีร่วมกันได้
หลายประเทศ โดยเฉพาะกลุ่ม PIIGS ได้แก่ โปรตุเกส อิตาลี ไอร์แลนด์ กรีซ และสเปน
ขาดวินัยทางการคลัง รัฐบาลก่อหนี้จนเกินกว่าข้อกำหนดไปกว่าเท่าตัว
ลุกลามไปเป็นเงินเฟ้อที่สูงกว่าเกณฑ์ และทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว
ผลตอบแทนพันธบัตรฯ นี้ ก็คือต้นทุนการกู้ยืมของตัวรัฐบาลเอง
กลายเป็นว่า ภาระต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น เป็นผลมาจากการก่อหนี้เกินตัว นั่นเอง
หากเป็นกรณีทั่วไป เครื่องมือในการแก้ปัญหา ก็คือนโยบายการคลังและนโยบายการเงิน
โดยปัญหาการก่อหนี้เกินตัวนี้ หมายถึงว่านโยบายการคลังขาดประสิทธิภาพไปแล้ว
นโยบายการเงินจึงเข้ามามีบทบาทหลักในการแก้ปัญหา
ด้วยการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อและผลตอบแทนพันธบัตรฯ ที่กำลังพุ่งขึ้น
แต่ในกรณีของประเทศเหล่านี้ ไม่สามารถใช้นโยบายการเงินเป็นเครื่องมือช่วยแก้ปัญหาได้
และนโยบายการเงินของยูโร ก็ไม่ได้สอดคล้องกับประเทศที่มีปัญหาเสียทีเดียว
เพราะนโยบายถูกกำหนดโดยดูจากภาพรวมเศรษฐกิจของทั้งกลุ่ม
ซึ่งทั้งกลุ่ม ก็มีทั้งประเทศที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดได้และไม่ได้
นโยบายการคลัง ก็ใช้การแทบไม่ได้ เพราะขาดดุลไปเยอะแล้ว
นโยบายการเงิน ก็กำหนดเองไม่ได้ เพราะใช้สกุลเงินร่วมกับคนอื่น
ทั้งหมดนี้ถือเป็นจุดอ่อนที่สำคัญ และแนวทางการแก้ไข ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจนถึงทุกวันนี้..
มาถึงตรงนี้ เราก็น่าจะรู้จักกับต้นกำเนิด “สกุลเงินยูโร” ไม่มากก็น้อย
ซึ่งผู้อยู่เบื้องหลังก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ชื่อว่า Robert Mundell
คนเดียวกับที่คิดค้นทฤษฎี Impossible Trinity
และอีกหลาย ๆ ผลงานที่ถือว่าเป็นรากฐานสำคัญสำหรับเศรษฐศาสตร์และการเงินระหว่างประเทศ
และสาเหตุที่ลงทุนแมนเขียนบทความนี้ขึ้นมาก็เพราะว่า
เมื่อวันที่ 4 เมษายนที่ผ่านมา หรือ 4 วันก่อน
คุณ Robert Mundell เพิ่งเสียชีวิตลงอย่างสงบในวัย 88 ปี
ถึงแม้ว่าตัวเขาจะจากไปแล้ว
แต่ผลงานทั้งหมดที่เขาได้สร้างไว้ ก็น่าจะอยู่กับโลกนี้ และคนรุ่นหลังไปอีกนาน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-04-05/robert-mundell-nobel-prize-winning-economist-dies-at-88
-https://transportgeography.org/contents/chapter7/globalization-international-trade/economic-integration-levels/
-https://www.investopedia.com/terms/o/optimal-currency-area.asp
-https://en.wikipedia.org/wiki/Robert_Mundell
-https://en.wikipedia.org/wiki/European_Union
-https://en.wikipedia.org/wiki/Maastricht_Treaty
-https://en.wikipedia.org/wiki/European_Exchange_Rate_Mechanism
-https://en.wikipedia.org/wiki/History_of_the_euro
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-02-18/yuan-s-popularity-for-cross-border-payments-hits-five-year-high
facebook payments international 在 高虹安 Facebook 的最佳貼文
🤔 臉書刪澳洲好友?台灣應思考的事!🤔
如果有一天一覺醒來,我們打開手機臉書APP想看新聞,卻只看到一片空白⋯⋯?
這是澳洲民眾在Facebook上正經歷的情況。
由於社群平台成為人們吸收新聞資訊的重要來源,平台協助新聞內容更快地傳播,也藉此得到流量。然而新聞媒體卻沒有得到相對應的收益,辛苦生產了文字內容供大眾閱覽,但超過半數的線上廣告收益都落入了 Google、Facebook 等大型社群平台的口袋。
於是,澳洲政府在2020下半年開始擬訂《#新聞媒體議價法》(News Media Bargaining Code),要求像是Google、Facebook等大型社群平台,在刊登新聞內容後,必須要向產出內容的新聞媒體支付費用。
#兩家公司有著截然不同的反應
Facebook在17日發出強烈聲明,#將不再允許澳洲媒體和澳洲臉書用戶分享或查看新聞連結。因Facebook擔憂如果向該法妥協,世界各國恐將紛紛跟進,一發不可收拾。如今點入任何一家澳洲媒體的FB專頁,內容都是一片空白。如此強硬的舉措立即引發澳洲與國際社會譁然。不僅澳洲政府痛批臉書此舉為「錯誤決策」,手段太過粗暴(heavy-handed),更將重挫Facebook聲譽。
Facebook如此「硬碰硬」也帶來一些嚴重的衍生問題,包括部分澳洲政府專頁也連帶受影響,如氣象局的天氣預報、婦女庇護所以及墨爾本皇家兒童醫院的貼文竟都消失,衛生防疫部門與消防單位無法即時公布重大訊息,恐危害澳洲社會運轉與人民安全。Facebook則稱這是失誤,已著手修復。
(而就在今日早上十點半左右,臉書發生 #全球性當機,也引發網友抱怨,更有人懷疑這是臉書封殺澳洲連結的衍生Bug。)
在臉書與澳洲政府衝突升級的同時,反觀Google則在17日宣佈已與新聞集團(News Corp)在內三大澳洲主流媒體 #達成收入分享協議,以便這些媒體可以繼續在Google News Showcase上發布新聞內容。
#為何雙方態度有如此大的差異?
Facebook方面強調兩家公司在使用新聞內容形式上的不同:
Google是直接取用新聞業者產製的新聞放在自家平台;
Facebook上的新聞內容則都是用戶主動分享。
Facebook認為,澳洲政府的法案曲解了Facebook和新聞媒體之間的關係,FB反而幫助媒體獲得更多流量與收益,不應該要求再額外付費給媒體;不過,Google雖與新聞集團達成協議,受益者仍是背後的媒體大亨,而其他新聞業者可能沒有這麼多的籌碼能跟Google談判。
#政府的角色該站在哪裡?
事件發生後,各國政府與數位社群也紛紛跟進討論:如果發生在自己身上該怎麼辦?澳洲政府除了一方面反應對Facebook舉措的憤怒,另一方面卻也自喜立法進程間接影響了Google與澳洲媒體業者的談判,認為這是正面範例。那麼,面臨社群平台與新聞平台的利益衝突,政府該如何因應?
目前的趨勢是,全世界的政府監管機構都開始對科技巨頭設防,他們認為這些科技公司已經變得太大、太強、太賺錢了,甚至可能影響政府的公權力。包括去年推特 Twitter 封鎖川普總統帳號,就曾引起是否傷害言論自由的爭議。而美國的聯邦交易委員會(FTC)及48州也在去年底分別對臉書提出反壟斷訴訟,尋求將WhatApp及IG業務拆分出來,不再讓Facebook獨大。
昨日接受媒體訪問此議題時,虹安提到,#歐盟 已經開始著手修訂與推廣《#數位服務法》、《#數位市場法》等數位社群規範,將2000萬以上用戶的社群平台定義為「巨型科技企業」並施加諸多規範,這將會衝擊到目前的社群市場生態。
虹安認為,包括歐盟及澳洲目前思考監管社群平台的進展,都是我們很好的借鏡。台灣是科技島,人民高度使用與依賴社群平台,但市場不大、制裁力道可能不如其他國家。而新聞媒體業者與社群平台某種程度上共生關係密切,在未釐清雙方定位前貿然立法管制,更可能衝擊消費者使用習慣。現階段恐不宜貿然推動相關立法,否則很容易騎虎難下。
網路世界的監理或治理策略牽一髮動全身,應該先觀察國外政府與外商的抗衡及溝通過程,鼓勵國內的相關利害團體積極對話,進一步思考適合台灣的作法與出路。包括內容產出者的智慧財產權如何保障、收益分配等問題,是否應該立法處理,還是像Google能夠與媒體展開商業談判合作,回歸市場機制處理,都是值得密切觀察的案例發展。
新聞有價,誰來買單?政府是否該適時介入?
這些問題值得政府與台灣社會更多思考 💪🏻
🔗參考資料:
1.一早起來粉專消失!FB禁澳洲分享新聞,為什麼敢這麼強硬?
https://www.businessweekly.com.tw/international/blog/3005561
2.抵制新法 臉書屏蔽澳洲新聞
https://udn.com/news/story/6809/5260096
3.【新聞有價】臉書封殺澳洲新聞鏈結 澳政府痛批:粗暴
https://tw.appledaily.com/international/20210218/AFOCD3YL7JDPRKFFZDDNYRXA7Y/
4.展開強力抵制行動,Facebook 在全球平台封鎖澳洲新聞連結
https://technews.tw/2021/02/18/facebook-cuts-off-news-in-australia-in-fight-over-payments/
5.【新聞有價戰】澳洲政府為媒體付費槓上臉書 朝野立委:台灣不宜貿然跟進
https://tw.appledaily.com/politics/20210218/SJS5ZD6DGNF5LHOI3TB2PD64IY/
6.歐盟史上最兇法案,劍指FB等科技巨頭:若不遵守,最嚴重就是解散你
https://www.businessweekly.com.tw/international/blog/3004891
facebook payments international 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最讚貼文
สถานการณ์ในปีที่ผ่านมาถือเป็นปีที่หนักหนาสาหัสของผู้คนทั่วโลกก็ว่าได้ ถึงแม้ว่าผลกระทบจากโรคระบาดโคโรนาไวรัสนั้นกระจายไปทั่วทุกภาคธุรกิจ แต่ยังมีบางธุรกิจที่ไปได้ดีจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและก็เป็นปีที่บริษัทต่างๆ เข้า IPO หรือเสนอขายหุ้นมากเป็นพิเศษ ส่งผลให้เกิดเหล่ามหาเศรษฐีหน้าใหม่ขึ้นมากมาย วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักเหล่าเศรษฐีพันล้านหน้าใหม่ที่โดดเด่นและมาแรงประจำปี 2020 กันว่าพวกเขาเหล่านี้เป็นใครและทำธุรกิจอะไรกันบ้าง
.
- Chen Zhiping (อายุ 45 ปี)
ทรัพย์สินสุทธิ : 1.53 หมื่นล้านเหรียญ
นักธุรกิจจากจีนแผ่นดินใหญ่ เจ้าของบริษัท Smoore International Holdings ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2009 เป็นผู้จัดจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าแบรนด์ Smoore และเป็นจัดส่งอุปกรณ์ในการผลิตบุหรี่ไฟฟ้าใหญ่ที่สุดในโลกโดยจำหน่ายให้กับผู้ค้ารายใหญ่มากมาย เช่น RELX, Japan Tobacco และ British American Tobacco เป็นต้น ในปี 2020 ที่ผ่านมานี้ Chen ได้นำบริษัทเข้าสู่ตลาดทรัพย์ฮ่องกงและสามารถระดมทุนได้กว่า 900 ล้านเหรียญ นั่นทำให้เขาที่มีหุ้นบริษัทอยู่ 34% ก้าวขึ้นตำแหน่งมหาเศรษฐีหน้าใหม่ของจีนและของโลกด้วยทรัพย์สินกว่า 1.53 หมื่นล้านเหรียญ ซึ่งเผลอๆ อาจจะมากกว่ามหาเศรษฐีท่านอื่นๆ ด้วยซ้ำ
.
- Stephane Bancel (อายุ 48 ปี)
ทรัพย์สินสุทธิ : 3.6 พันล้านเหรียญ
นักธุรกิจแห่งวงการสุขภาพชาวฝรั่งเศสที่มีตำแหน่งเป็น CEO ของบริษัท Moderna บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ ผู้ผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 โดยเมื่อปี 2020 ที่ผ่านมาบริษัทที่ได้รับการอนุมัติจากทางการของสหรัฐฯ ให้สามารถใช้งานวัคซีนโควิดได้เป็นรายที่ 2 ต่อจาก Pfizer-BioNTech ซึ่งนั่นทำให้เขาก้าวขึ้นเป็นมหาเศรษฐีหน้าใหม่อย่างไม่ต้องสงสัย เพราะตอนนี้สิ่งที่คนให้ความสนใจมากที่สุดคือการปลอดภัยจากโรคโควิด-19 เสียที โดยภายหลังเขาได้ขายหุ้นของตนเองที่มีสัดส่วนถือครองอยู่ร้อยละ 6 ตั้งแต่ดำรงตำแหน่ง CEO มา 10 ปี รวมแล้วมูลค่ากว่า 100 ล้านเหรียญ
.
- Austin Russell (อายุ 25 ปี)
ทรัพย์สินสุทธิ : 3.3 พันล้านเหรียญ
ธุรกิจ : AI สำหรับยานยนต์
สัญชาติ : อเมริกัน
หนุ่มชาวอเมริกันที่ลาออกจากมหาวิทยาลัยมาเพื่อก่อตั้ง Luminar บริษัท AI สำหรับยานยนต์ ซึ่งขณะกำลังศึกษาเขาได้รับเงินจากกองทุนสนับสนุนผู้ประกอบการหน้าใหม่ของมหาเศรษฐีอย่าง Peter Thiel ผู้ร่วมก่อตั้ง Paypal ประกอบกับเมื่อเขาตั้งใจผลักดันบริษัทอย่างเต็มสูบก็เป็นเวลาเดียวกันกับบริษัทยานยนต์หลายเจ้าที่กำลังต้องการเทคโนโลยีมาใช้งานกับรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติพอดี จนในวันที่ 3 ธันวาคม 2020 ที่ผ่านมาเขาตัดสินใจนำบริษัทเข้า IPO และได้รับผลตอบรับที่ดี ส่งให้เขาที่มีหุ้นบริษัทอยู่ 35% ก้าวขึ้นแท่น มหาเศรษฐีที่อายุน้อยที่สุดของสหรัฐในปี 2020
.
- Dmitry Bukhman (อายุ 35 ปี)
ทรัพย์สินสุทธิ : 3.1 พันล้านเหรียญ
ธุรกิจ : เกมออนไลน์
สัญชาติ : รัสเซีย
ชายชาวรัสเซียที่ก่อตั้งธุรกิจเกมออนไลน์ร่วมกันกับพี่ชายของเขาภายใต้ชื่อ Playrix โดยมีเกมที่ได้รับความนิยมอย่าง Fishdom หรือ Homescapes ที่มียอดดาวน์โหลดมากกว่า 10 ล้านครั้ง เขาเริ่มธุรกิจนี้ในตอนที่เขายังอยู่แค่ชั้นมัธยมปลายเท่านั้นและทำรายได้กว่า 1 พันล้านเหรียญโดยปราศจากการช่วยเหลือใดๆ จากนักลงทุนภายนอก ซึ่งนั่นเป็นอะไรที่น่านับถืออย่างมาก ตั้งแต่เริ่มทำธุรกิจกันแค่ 2 พี่น้อง ในปี 2004 จนมาถึงตอนนี้พวกเขามีพนักงานเพิ่มขึ้นมาแล้วกว่า 2,500 คน และมีสาขากระจายอยู่ในอีกหลายประเทศ
.
- Matt Moulding (อายุ 36 ปี)
ทรัพย์สินสุทธิ : 3 พันล้านเหรียญ
นักธุรกิจชาวอังกฤษผู้ก่อตั้ง The Hut Group ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ที่ให้บริการเว็บไซต์กว่า 150 แพลตฟอร์มในการจำหน่ายสินค้าประเภทต่างๆ ทั้ง เสื้อผ้า อาหาร เครื่องสำอาง และอื่นๆ ในกว่า 164 ประเทศทั่วโลก โดยใช้เวลาแค่เพียง 1 วันเท่านั้น ในการจัดส่งสินค้าให้กับผู้ใช้บริการที่อยู่ในสหราชอาณาจักร ซึ่งเมื่อปีที่ผ่านมาเขาได้นำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ ต่อมาได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของหุ้นที่มีมูลค่า 1 พันล้านเหรียญหลังจากที่มูลค่าบริษัทปรับตัวสูงขึ้นถึง 8.6 พันล้านเหรียญฯ ใน 15 วัน!
.
- Tony Xu (อายุ 35 ปี)
ทรัพย์สินสุทธิ : 2.7 พันล้านเหรียญ
Tony เป็นชาวจีนสัญชาติอเมริกันผู้ร่วมก่อตั้ง DoorDash ร่วมกับเพื่อนนักศึกษาจาก Standford ขึ้นในปี 2013 โดยได้แนวคิดมาจากการที่แม่ของเขาทำงาน 3 อย่างเป็นเวลา 12 ปี จึงเกิดเป็นธุรกิจเดลิเวอรีที่ไม่ต้องมีพนักงานส่งอาหารเป็นของตัวเอง จนกระทั่งในเดือนธันวาคม 2020 มูลค่าหุ้นของบริษัทปรับตัวขึ้นมากกว่า 80% ตั้งแต่วันแรกที่เข้าตลาดทรัพย์ จากที่บริษัทขาดทุนอยู่กว่า 149 ล้านเหรียญก็ก้าวกระโดดขึ้นมามีมูลค่าอยู่ที่ 4.5 หมื่นล้านเหรียญ!
.
- Byju Raveendran (อายุ 39 ปี)
ทรัพย์สินสุทธิ : 2.5 พันล้านเหรียญ
อดีตคุณครูวิชาคณิตศาสตร์ชาวอินเดียวัย 39 ปี ผู้ก่อตั้งแอปพลิเคชันทางการศึกษาอย่าง Byju’s ที่ประกอบไปด้วยวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยหลังจากเปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2011 จนถึง 2020 มีผู้ลงทะเบียนเรียนแล้วมากกว่า 35 ล้านคน! บริษัทของเขาได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างมากโดยเฉพาะ Mark ZuckerBerg CEO Facebook รวมไปถึง Tencent Holding โดยในเดือน มิ.ย. ปีที่ผ่านมามูลค่าของบริษัทของเขาได้รับการประเมินสูงถึง 1 หมื่นล้านเหรียญ
.
- Jared Isaacman (อายุ 38 ปี)
ทรัพย์สินสุทธิ : 2.1 พันล้านเหรียญ
อดีตที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยบริษัทรับชำระเงินชาวอเมริกันที่ตัดสินใจลาออกระหว่างศึกษาอยู่ชั่นมัธยมปลาย ก่อนจะมาเปิดบริษัทที่ให้บริการด้านการชำระเงินออนไลน์ภายใต้ชื่อว่า Shift4 Payments นอกจากนี้เขายังมีธุรกิจที่เริ่มมาจากความชอบเล็กๆ ที่มีชื่อว่า Draken International จนสุดท้ายกลายเป็นบริษัทเครื่องบินเอกชนรายใหญ่ที่สุดของโลก ก่อนที่จะตัดสินใจขายกิจการต่อให้กับคนอื่นในมูลค่าสูงถึง 9 หลักในเวลาต่อมา
.
- Geeta Gupta-Fisker (อายุ 46 ปี) และ Henrik Fisker (อายุ 57 ปี)
ทรัพย์สินสุทธิ : 1.2 พันล้านเหรียญ (ต่อคน)
Geeta Gupta-Fisker ศรีภรรยาชาวอังกฤษ ได้ตัดสินใจร่วมกับสามี Henrik Fisker นักออกแบบรถยนต์ระดับตำนานชาวอเมริกัน นำเอาบริษัท Fisker Inc. สตาร์ทอัพยานยนต์ไฟฟ้าแห่งใหม่ เข้า IPO พร้อมจับมือกันขึ้นแท่นเศรษฐีพันล้านหน้าใหม่แห่งปี 2020 ที่ถึงแม้ว่ายังไม่มีการจำหน่ายรถยนต์อย่างเป็นทางการแต่คาดว่าในปี 2022 เราจะได้เห็นผลงานของพวกเขาอย่างแน่นอน
.
- Vlad Tenev (อายุ 34 ปี)
ทรัพย์สินสุทธิ : 1 พันล้านเหรียญ
นักธุรกิจชาวอเมริกันผู้ร่วมก่อตั้ง Robinhood Financial แอปพลิเคชันซื้อขายหุ้น หลังจากที่บริษัทตัดสินใจเข้า IPO ก็สามารถระดมทุนได้มากถึง 800 ล้านเหรียญทำให้บริษัทมีมูลค่ามากกว่า 1.1 หมื่นล้านเหรียญ บวกกับสัดส่วนการถือหุ้นบริษัทที่มีอยู่ร้อยละ 10 ส่งผลให้เขาก้าวขึ้นเป็นเศรษฐีพันล้านหน้าใหม่แห่งปี 2020 โดยปริยาย
.
และนี่ก็คือรายชื่อของเศรษฐีพันล้านหน้าใหม่ที่เพิ่งก้าวขึ้นมารับมงลงตำแหน่งในปี 2020 ซึ่งถึงแม้ว่าสถานการณ์ในปีที่ผ่านมาจะทำให้ผู้คนจำนวนมากได้รับผลกระทบแต่เหล่าเศรษฐีพันล้านกลุ่มนี้ก็สามารถก้าวข้ามผ่านมาได้อาจจะด้วยรูปแบบธุรกิจที่ตอบโจทย์กับยุคหรือเทคนิคการทำธุรกิจที่ทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จรวมถึงปัจจัยอื่นๆ แต่ถึงอย่างนั้นสำหรับใครที่กำลังท้อแท้ในการทำธุรกิจอยากให้พวกเขาเป็นอีกหนึ่งกำลังใจว่าในสถานการณ์ที่แย่ก็ยังมีหนทางรอดได้ เพราะฉะนั้นคุณก็สามารถทำและผ่านมันไปได้เช่นเดียวกัน เพราะในทุกวิกฤต ก็ยังมีโอกาสสำหรับทุกคนเสมอ
.
ที่มา : https://www.forbes.com/
https://forbesthailand.com/world
.
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#business #ธุรกิจ #billionaire #เศรษฐีพันล้าน