標準太高怎麼辦?那就放寬標準囉!
【PCDIY!科技情報:製程趕不上對手怎麼辦?改名就好啦!Intel重新命名自家製程代號、未來技術規劃】
http://www.pcdiy.com.tw/detail/20935
#Intel #CPU #Roadmap
--------------------------------------
★快來追蹤/加入我們!!!
社團:https://reurl.cc/E27Yna
IG:https://reurl.cc/WEdz1k
intel cpu roadmap 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
“ลิซ่า ซู” ผู้พลิก AMD ให้มูลค่าบริษัทโต 53 เท่า ใน 7 ปี /โดย ลงทุนแมน
หากพูดถึงบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการ์ดจอ
หลายคนคงนึกถึงบริษัท Nvidia ขึ้นมาเป็นอันดับแรก
แต่จริง ๆ แล้ว ยังมีอีกบริษัทที่ทำธุรกิจเดียวกัน
ชื่อว่า Advanced Micro Devices หรือ AMD
ที่ตอนนี้ ก็เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งผู้ผลิตการ์ดจอที่ใหญ่ที่สุดในโลก เช่นกัน
แต่กว่าจะมาเป็นวันนี้ได้ AMD ผ่านอุปสรรคมาเยอะพอสมควร
และเมื่อ 7 ปีก่อนบริษัทแห่งนี้มีมูลค่าเพียง 56,000 ล้านบาท
แต่ภายหลังจาก “ลิซ่า ซู” ขึ้นแท่นมาเป็น CEO ของบริษัท
เธอก็ได้ทำให้ AMD กลับมาเติบโตแบบก้าวกระโดด จนปัจจุบันมีมูลค่ามากถึง 3 ล้านล้านบาท
มูลค่าเพิ่มขึ้น คิดเป็น 53 เท่า ภายในระยะเวลาเพียง 7 ปี
เธอคนนี้ทำได้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ปัจจุบัน Advanced Micro Devices หรือ AMD เป็นบริษัทที่พัฒนาชิปประมวลผล, การ์ดจอ
โดยมีผลิตภัณฑ์ครอบคลุมให้กับนักเล่นเกมไปจนถึงธุรกิจองค์กร
โดยองค์กรที่ว่านี้ ยกตัวอย่างเช่น Google, Amazon, Microsoft, Tencent และ Oracle
แต่หากเราย้อนกลับไปในช่วงปี 2012 ถึง 2015
บริษัท AMD ประสบปัญหารายได้ลดลงและขาดทุนติดต่อกันถึง 4 ปี
นั่นจึงทำให้ในปี 2014 มูลค่าบริษัท AMD เหลือเพียง 56,000 ล้านบาท ซึ่งตอนนั้นหุ้นร่วงลงกว่า 40% ในปีเดียว
ย้อนกลับไป หลายคนก็น่าจะคาดการณ์กันว่า AMD น่าจะกลับเข้ามาแข่งขันได้ยาก
เพราะทั้งไม่เติบโตแถมยังขาดทุนต่อเนื่อง
แต่ ลิซ่า ซู ผู้บริหารที่เข้ามารับไม้ต่อขึ้นแท่น CEO กลับไม่ได้คิดแบบนั้น
แล้วเธอคือใคร ?
ลิซ่า ซู เป็นชาวอเมริกัน เชื้อสายไต้หวัน
เธอเกิดที่เมืองไถหนาน ประเทศไต้หวัน
แต่ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเธออายุ 51 ปี
เธอจบการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก
ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าจาก Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT
หลังจากจบการศึกษา เธอได้ร่วมงานกับบริษัทยักษ์ใหญ่มากมาย
ไม่ว่าจะเป็น Texas Instruments, IBM, Freescale Semiconductor
แน่นอนว่าทุกงานล้วนเกี่ยวกับชิปเซต
จนกระทั่งในปี 2012 เธอได้เข้ามารับตำแหน่งรองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปของ AMD
แต่พอบริษัทเข้าสู่ยุคตกต่ำ เธอก็ได้รับเลือกขึ้นมารับตำแหน่ง CEO เพื่อพลิกวิกฤติตั้งแต่ปี 2014
แม้ในช่วงแรกผลดำเนินงานของ AMD จะยังคงแย่อยู่ แต่ผ่านไปเพียง 3 ปี หรือในปี 2017
เธอก็ได้ทำให้กระแสเงินสดจากการดำเนินงานกลับมาเป็นบวกได้ครั้งแรกในรอบ 6 ปี
สิ่งที่เธอเข้ามาเปลี่ยนแปลงหลัก ๆ มี 2 อย่าง
- การปรับโครงสร้างทางด้านค่าใช้จ่าย
- การหาจุดโฟกัสใหม่เพื่อสร้างการเติบโต
และในปีเดียวกันนั้นเอง AMD ก็ได้เปิดตัว “Zen Architecture”
ซึ่งถือเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่เรียกได้ว่าคืนชีพบริษัทแห่งนี้ให้กลับเข้ามาแข่งขันได้อีกครั้ง
Zen Architecture เป็นเทคโนโลยีเฉพาะของบริษัท AMD ที่ใส่เข้าไปในชิปประมวลผล
หรือที่ใครหลายคนเรียกกันว่า CPU
เทคโนโลยีดังกล่าวก็ได้ทำให้ตัวชิปประมวลผลของทางบริษัท
มีคุณภาพที่ใกล้เคียงกับชิปของ Intel ซึ่งเป็นคู่แข่งคนสำคัญ
นอกจากนั้น AMD ยังได้พัฒนาชิปประมวลผล EPYC อ่านว่า อี-พิก
ซึ่งถือเป็นชิปเซตเพื่อใช้สำหรับการประมวลผลของเซิร์ฟเวอร์โดยเฉพาะ
และมีกลุ่มลูกค้าหลักเป็นบริษัทที่ให้บริการคลาวด์
ตัวอย่างสินค้าหรือบริการที่เรารู้จักกันดีอย่างเช่น AWS, Google Cloud หรือ Alibaba Cloud เองก็เลือกผลิตภัณฑ์ AMD EPYC ของทางบริษัท เช่นกัน
หรือแม้แต่คู่แข่งตลอดกาลในวงการคอนโซลเกม Playstation 5 และ XBOX series X/S ล้วนแล้วแต่ใช้ทั้งซีพียูและการ์ดจอของ AMD ทั้งคู่
ในขณะที่ฟากธุรกิจการ์ดจอ ทางบริษัทก็มีแบรนด์ Radeon และ Radeon PRO
ที่เป็นคู่แข่งกับ GeForce ของบริษัท Nvidia ที่กำลังอยู่ในเมกะเทรนด์
ทั้งในเชิงของวงการเกมมิงและการนำไปประมวลผลคริปโทเคอร์เรนซี
นอกจากจะเปิดตัวสินค้าตัวใหม่แล้ว อีกสิ่งสำคัญที่เธอทำก็คือ
การประกาศ Roadmap ที่ชัดเจนของตัวสินค้าในอนาคต
เพื่อเรียกความเชื่อมั่นต่อแบรนด์ที่หายไปตั้งแต่ขาดทุนหนัก ให้ฟื้นกลับมาอีกครั้ง
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา AMD ภายใต้การบริหารของลิซ่า ซู
ก็สามารถทำได้ดีตามที่เคยประกาศเอาไว้อย่างไม่มีปัญหา
จนสินค้าของบริษัทก็ได้กลับมาแย่งส่วนแบ่งเจ้าตลาดได้สำเร็จ
จากปี 2014 ที่ส่วนแบ่งธุรกิจ CPU เป็นของ Intel 75% และ AMD 25%
ปัจจุบันกลายมาเป็น Intel 60% และ AMD 40%
ถึงขนาดที่ว่าในปี 2020 ทางบริษัทคู่แข่งอย่าง Intel ถึงกับออกมา
ยอมรับว่าตัว CPU ของทางบริษัทตามหลังคู่แข่งอย่าง AMD เลยทีเดียว
ทีนี้ เราลองมาเปรียบเทียบผลประกอบการระหว่าง
ปีก่อนและหลังจากที่ ลิซ่า ซู เข้ามาดำรงตำแหน่ง CEO
ปี 2014 รายได้ 171,787 ล้านบาท ขาดทุน 12,573 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 304,605 ล้านบาท กำไร 77,688 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่าจากการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจไม่เพียงแต่สร้างการเติบโตเป็นเท่าตัว
ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี แต่ยังทำให้บริษัทพลิกกลับมากำไรมหาศาล
จุดนี้ ก็ได้สะท้อนไปยังมูลค่าบริษัทที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจนสูงถึง 3 ล้านล้านบาท
เพิ่มขึ้นคิดเป็น 53 เท่า ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี
หมายความว่าหากเรานำเงินไปลงทุนกับ AMD ในวันที่ ลิซ่า ซู เข้ามาเป็นผู้บริหาร 10,000 บาท
วันนี้ เงินก้อนนั้นจะมีมูลค่ามากถึง 530,000 บาท เลยทีเดียว
แล้วเรื่องนี้ให้ข้อคิดอะไรกับเรา ?
ในมุมของผู้บริหารธุรกิจ
หากเราคิดว่าผลิตภัณฑ์ของเรากำลังจะไม่เป็นที่ต้องการของตลาดแล้ว
ในบางครั้ง เราก็ต้องกล้าตัดสินใจและทำทันที โดยอาจจะเริ่มจากการดูจุดแข็งของเรา
ว่าเรามีอะไร ตลาดต้องการอะไร และลงมือทำ
อย่างในกรณีของ AMD ที่ได้คิดค้น “Zen Architecture” ขึ้นมา
ในเชิงของบริษัท
จะเห็นได้ว่าจริง ๆ แล้ว ลิซ่า ซู เป็นลูกหม้อที่ทำงานในบริษัทอยู่แล้ว
หากบริษัทจำเป็นที่จะต้องเลือกผู้นำในยามวิกฤติ
การมองหาพนักงานที่มีศักยภาพภายในบริษัท
ก็อาจจะเป็นอีกตัวเลือกที่ดี ไม่แพ้การไปว่าจ้างผู้บริหารมืออาชีพจากบริษัทอื่น
ในเชิงของ CEO และมูลค่ากิจการ
จริงอยู่ว่าผู้บริหารสามารถประกาศอะไรต่อสาธารณะก็ได้
ตั้งแต่ Roadmap ที่สวยหรูไปจนถึงการคาดการณ์ผลประกอบการที่โตระเบิด
สิ่งสำคัญที่สุด มันจะไม่ใช่ทั้งคำจินตนาการถึงอนาคตและตัวเลขที่จำลองขึ้นมา
แต่เป็นผลลัพธ์ที่ “ทำได้จริง” ซึ่งมันส่งผลต่อความเชื่อมั่นของทั้งตัวผู้บริโภค รวมถึงนักลงทุน เหมือนอย่างที่ คุณลิซ่า ซู ทำกับ AMD ได้สำเร็จ..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/Advanced_Micro_Devices
-https://en.wikipedia.org/wiki/Lisa_Su
-https://www.cpubenchmark.net/market_share.html
-https://edition.cnn.com/2020/03/27/tech/lisa-su-amd-risk-takers/index.html
-AMD annual report 2012,2014,2020
-https://www.jitta.com/stock/nasdaq:amd/factsheet
intel cpu roadmap 在 股魚-不看盤投資 Facebook 的最佳解答
今天不囉嗦,跟你討論三星-火龍888事件對台積電站上千金的影響
.
目前幾大利多湧現:
1. 火龍888,手機變暖爐。高通向台積電求救
2. 三星高階產能不足,客戶訂單釋出
.
ALETHEIA報告解密:
利多點:
1.製程優勢,取得INTEL代工、ARM CPU、5G與車用晶片商機
2.高階產能足夠量超前對手
3.未來三年迎來產能擴張最速潮
.
利空點:
1.評價基準基於技術地圖(technology roadmap)如期開出,持續領先對手的假設,若不如預期評價重新修正
2.大舉資本支出擴張,折舊成長將增長28%
3.無法排除庫存情勢逆轉風險
.
🔥🔥🔥 立即參加訂閱專案,獲得以下優勢:
-剖析:幫你追蹤個股潛力與估值
-省時:專屬Excel工具,快速規劃投資
-監控:雲端即時監控,專案個股績效一覽無遺
立即訂閱: http://bit.ly/39bwSPR
intel cpu roadmap 在 Intel CPU 2018-2021 Roadmap Leaks Out Showing No 10nm ... 的推薦與評價
... <看更多>