ใครคือผู้ก่อตั้ง TSMC ผู้ผลิตชิป ให้คนครึ่งโลก /โดย ลงทุนแมน
แม้ว่าระบบปฏิบัติการ iOS ของแอปเปิลและ Android ของกูเกิล จะเรียกได้ว่าเป็นคู่ปรับตลอดกาล
แต่รู้หรือไม่ว่า ชิปเซต หรือ สมองของสมาร์ตโฟนที่อยู่บนสมาร์ตโฟน เช่น ชิป A-Series ของแอปเปิล หรือชิป Snapdragon หลายรุ่นบน Android กลับถูกผลิตขึ้นโดยบริษัทเดียวกันที่ชื่อว่า Taiwan Semiconductor Manufacturing Company หรือ TSMC
ซึ่งนอกจากชิปบนสมาร์ตโฟนแล้ว TSMC ยังมีส่วนแบ่งการตลาดชิปเซตทั้งหมดบนโลกมากถึง 55.6% หรือเรียกได้ว่าชิปเกินกว่าครึ่งโลก ถูกผลิตขึ้นจากบริษัทแห่งนี้
ปัจจุบัน TSMC มีมูลค่ามากกว่า 20 ล้านล้านบาท เป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลกและมีมูลค่าเป็นอันดับที่ 2 ในเอเชีย เป็นรองเพียง Saudi Aramco บริษัทน้ำมันแห่งชาติซาอุดีอาระเบีย
แล้ว TSMC มีที่มาอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
สำหรับผู้ก่อตั้งบริษัท TSMC ก็คือ “Morris Chang”
Morris Chang หรือ มอร์ริส จาง เกิดที่เมือง Ningbo
ซึ่งเป็นเมืองทางตะวันออกของประเทศจีน ในปี ค.ศ. 1931
แม้จางจะเรียกได้ว่าเติบโตมาในครอบครัวที่มีฐานะปานกลาง แต่ชีวิตในวัยเด็กของเขากลับไม่ได้สุขสบายมากนัก นั่นก็เพราะว่าเขาต้องเจอกับสงครามถึง 3 ครั้งด้วยกัน ได้แก่
- สงครามกลางเมืองในจีน ช่วงปี ค.ศ. 1927 ถึง 1949
- สงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่นครั้งที่สอง ช่วงปี ค.ศ. 1937 ถึง 1945
- สงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงปี ค.ศ. 1939 ถึง 1945
ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ครอบครัวของเขาต้องทำการย้ายไปมาอยู่บ่อยครั้ง
จนในปี ค.ศ. 1948 ซึ่งเป็นช่วงที่สงครามกลางเมืองในจีน กำลังร้อนระอุ
จางในวัย 17 ปี พร้อมกับครอบครัว จึงได้ตัดสินใจย้ายไปอยู่ ฮ่องกง
แม้ในช่วง 17 ปีแรกของชีวิต จางจะได้รับผลกระทบจากสงครามเป็นอย่างมาก
แต่สิ่งที่เขาได้เรียนรู้จากสงคราม ก็คือ เขาต้องขยันและทำงานหนัก โดยสิ่งหนึ่งที่คุณพ่อของเขาคอยสนับสนุนเขาอย่างเต็มที่ ก็คือ “เรื่องการเรียน” ด้วยเหตุนี้ จางจึงสามารถเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัย Harvard ได้สำเร็จ
หลังจากเข้าเรียนได้เพียง 1 ปี เขาก็ได้ย้ายไปเรียนที่ Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT และเขาก็ได้จบการศึกษาในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท
งานแรกของ มอร์ริส จาง เริ่มต้นขึ้นที่ Sylvania Semiconductor เป็นบริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ให้กับบริษัทแม่ Sylvania Electric Products อีกทีหนึ่ง
แต่หลังจากทำงานได้ 3 ปี เขารู้สึกว่าแนวทางของบริษัทในอนาคต ไม่ได้เป็นแบบที่เขาคิด
แนวทางของบริษัทคือ การผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าหลาย ๆ ชนิด
ซึ่งต่างจากเป้าหมายของจางที่ต้องการโฟกัสไปที่ การพัฒนาตัวเซมิคอนดักเตอร์เป็นหลัก
เรื่องดังกล่าว จึงทำให้จางตัดสินใจออกจากบริษัท Sylvania Semiconductor เพื่อมาเริ่มงานใหม่ที่ Texas Instruments ในปี ค.ศ. 1958 และด้วยความสามารถของเขาทำให้เขาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมของบริษัท ภายในระยะเวลาเพียง 3 ปี
หลังจากนั้น เขาได้ไต่เต้าขึ้นมาเรื่อย ๆ จนได้รับตำแหน่ง รองประธานในการดูแลฝ่ายเซมิคอนดักเตอร์ทั้งหมด แต่แล้วเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น ในช่วงปี ค.ศ. 1980
บริษัท Texas Instruments ต้องการที่จะขยายธุรกิจเข้าไปสู่ลูกค้ารายย่อยมากขึ้น
โดยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะรุ่น TI-99/4
ซึ่งเดิมทีโมเดลธุรกิจหลักของ Texas Instruments คือเป็นซัปพลายเออร์ให้กับบริษัทอื่น
ไม่ได้ทำการค้าขายกับลูกค้ารายย่อยโดยตรง ซึ่งทางบริษัทก็ได้มอบหมายหน้าที่การขายสู่ลูกค้ารายย่อยให้กับจาง
หลังจากใช้เวลาไป 2 ปีครึ่ง ผลงานภายใต้การบริหารของจางกลับไม่ได้เป็นไปตามที่บริษัทคาดหวังเนื่องจากในช่วงนั้นมีผลิตภัณฑ์จากคู่แข่งที่แข็งแกร่งมากมาย เช่น คอมพิวเตอร์ Apple 2 ในยุคของ สตีฟ จอบส์
แม้ตำแหน่งในบริษัทของเขายังคงเป็นรองประธานก็ตาม
แต่จากผลงานที่ค่อนข้างแย่ เขาจึงถูกทางบริษัทลดตำแหน่งลง
เหตุการณ์นี้เอง ก็ได้สร้างความผิดหวังให้กับจางเป็นอย่างมาก
เพราะที่ผ่านมา เขาได้สร้างผลงานมากมายให้บริษัทเป็นเวลายาวนานกว่า 20 ปี
ในปี ค.ศ. 1983 จางในวัย 52 ปี จึงตัดสินใจลาออกจาก Texas Instruments
ซึ่งทันทีหลังจากที่เขาลาออก ก็ได้มีหลายบริษัทติดต่อเขาให้เข้าไปทำงานมากมาย
หนึ่งในนั้นคือ General Instrument Corporation หรือ GIC
บริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเชี่ยวชาญในด้านเซมิคอนดักเตอร์และเคเบิลทีวี
ซึ่งเขาได้เลือกทำงานในบริษัทนี้ ในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ
ด้วยเหตุผลที่ว่า GIC ก็ถือเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ แม้จะไม่เท่า Texas Instruments
แต่ก็ตรงกับเป้าหมายของเขา ที่อยากเป็น CEO ของบริษัทระดับโลก
แต่หลังจากเข้าทำงานที่ GIC ได้ไม่ถึง 1 ปี เขาพบว่า
GIC เป็นบริษัทที่มีแนวทางการเติบโต จากการควบรวมกิจการอื่น ๆ
ต่างจากแนวทางการเติบโตแบบ Organic Growth ที่เขาตั้งใจไว้
ทำให้ระยะเวลาไม่นาน จางจึงได้ตัดสินใจลาออกอีกครั้ง
และแล้วจุดเปลี่ยนสำคัญก็เกิดขึ้นอีกครั้งในปี ค.ศ. 1985
ในช่วงนั้น รัฐบาลไต้หวันต้องการเสริมสร้างความสามารถในการผลิตสินค้าของประเทศ
ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง โดยเฉพาะสินค้าไอที
และหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ถูกผลักดัน ก็คือ “อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์”
สิ่งที่รัฐบาลไต้หวันทำในตอนนั้นคือ
มีการจัดสรรเงินทุนเพื่อก่อตั้ง “สถาบันเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม”
หรือ Industrial Technology Research Institute (ITRI)
สิ่งที่ยังขาดไปสำหรับ ITRI ของไต้หวัน คือ “ผู้นำ” ที่จะพาให้โครงการนี้ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง
และด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของจาง เขาจึงได้รับข้อเสนอจากทางรัฐบาลไต้หวัน ให้เข้ารับตำแหน่งประธานของ ITRI ด้วยเหตุผลที่ว่า ต้องการความสามารถของเขาในการพัฒนาและสร้างประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรมในประเทศ
หลังจากที่เขาตกลงรับข้อเสนอในครั้งนี้ ทางรัฐบาลไต้หวันได้ให้โจทย์กับเขาว่า
ต้องการยกระดับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของไต้หวัน ผ่านการตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา
จางจึงได้เริ่มวิเคราะห์ โมเดลธุรกิจที่จะทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ
ซึ่งเขาพบว่าไต้หวันในตอนนั้นมีจุดอ่อนเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยและพัฒนา
การออกแบบ และการตลาด ไต้หวันไม่มีความสามารถมากพอ
ที่จะสู้กับทาง Intel หรือ Texas Instruments ซึ่งเป็นเจ้าตลาดอยู่ได้เลย
จุดแข็งเดียวที่พอมี คือ “การผลิต” และจากการวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง
ทำให้คำตอบของโจทย์นี้ออกมาเป็น “จัดตั้งบริษัทรับจ้างผลิตให้กับบริษัทอื่น”
แม้ความคิดนี้จะโดนคัดค้านในตอนแรก เนื่องจากในตอนนั้นยังไม่มีบริษัทที่มีโมเดลแบบ Fabless หรือ ไม่มีโรงงานผลิตเป็นของตัวเอง เช่น Apple หรือ Nvidia ในปัจจุบัน จึงทำให้ไม่มีตลาดรองรับ
แต่จากประสบการณ์ทำงานในวงการมาอย่างยาวนานเกือบ 30 ปี เขาสังเกตเห็นว่า
ทุก ๆ ปี จะมีพนักงานหลายคนของ Texas Instruments หรือ Intel ที่มีความคิด อยากออกมาสร้างธุรกิจเกี่ยวกับ ชิปเซตเป็นของตัวเอง
แต่ทุกครั้งความคิดนี้ต้องล้มเลิกไป เพราะการที่จะสามารถดำเนินธุรกิจ ชิปเซต ได้นั้น จำเป็นต้องมีโรงงานการผลิตเป็นของตัวเอง
ทำให้ยุคนั้นยังไม่มีบริษัทไหนที่ทำโมเดลธุรกิจรับจ้างผลิตเลย เพราะการสร้างโรงงานจำเป็นต้องใช้เงินทุนมหาศาล ซึ่งต้นทุนในการสร้างโรงงานใหม่ถ้าคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันอยู่ที่หลักแสนล้านบาทเลยทีเดียว
ในปี ค.ศ. 1987 Taiwan Semiconductor Manufacturing Company หรือ TSMC จึงได้ถูกก่อตั้งขึ้นมา
ซึ่งมีโมเดลการดำเนินธุรกิจ รับจ้างผลิตชิปเซตให้กับบริษัทอื่นโดยไม่มีแบรนด์เป็นของตัวเอง ซึ่งนับเป็นบริษัทแรกของโลกที่มีโมเดลแบบนี้เกิดขึ้น
โดยในช่วง 3 ปีแรก บริษัทมีลูกค้าเพียงไม่กี่ราย ส่วนใหญ่มาจากภายในประเทศ
แต่หลังจากนั้นในช่วงปี ค.ศ. 1991 เป็นต้นมา สิ่งที่จางคิดไว้ในตอนแรกก็เริ่มเป็นจริง
เพราะเริ่มมีบริษัทที่ต้องการชิปเซตเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากแต่ไม่มีทุนสร้างโรงงานผลิต
บริษัทเหล่านี้จึงได้กลายมาเป็นลูกค้าของ TSMC และได้ทำให้บริษัทเติบโตขึ้น
เหตุผลที่ทำให้หลายบริษัทเข้ามาเป็นลูกค้าของ TSMC เพราะบริษัทมีเทคโนโลยีในการผลิตที่มีความซับซ้อนสูง สามารถรองรับความต้องการของลูกค้าได้ ซึ่งเป็นผลจากนโยบายการลงทุนในเรื่องการวิจัยและพัฒนา ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
ในปี ค.ศ. 2020 TSMC มีมูลค่าในการวิจัยและพัฒนาสูงถึง 1.2 แสนล้านบาท คิดเป็น 8.5% เมื่อเทียบกับรายได้ทั้งบริษัท ซึ่งมากกว่า Apple หนึ่งในเจ้าแห่งนวัตกรรมที่มีสัดส่วนดังกล่าวอยู่ที่ 6.8% เสียอีก
โดย TSMC มีลูกค้ารายใหญ่คือ Apple, Nvidia และ Qualcomm และมีส่วนแบ่งการตลาดธุรกิจกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ มากถึง 55.6% เลยทีเดียว
ปัจจุบัน TSMC มีมูลค่าบริษัท สูงถึง 20 ล้านล้านบาท มากกว่า Intel ที่มีมูลค่า 7 ล้านล้านบาท และ AMD ที่มีมูลค่า 4 ล้านล้านบาท ซึ่งนับเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ทั้งหมดทั่วโลกอีกด้วย
จากเรื่องทั้งหมดนี้จึงทำให้ตัวเจ้าของบริษัทอย่าง มอร์ริส จาง มีมูลค่าทรัพย์สินอยู่ที่ 93,000 ล้านบาท ขึ้นแท่นเป็นมหาเศรษฐีอันดับ 15 ของไต้หวัน
ถ้าถามว่าแนวคิดอะไร ที่ทำให้จางประสบความสำเร็จมาจนถึงทุกวันนี้
เราน่าจะสรุปได้เป็น 2 ข้อ
1. มีเป้าหมายที่ชัดเจน
จากเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่า มอร์ริส จาง เป็นคนที่มีเป้าหมายชัดเจนมาก
หากเขารู้สึกว่างานที่เขาทำอยู่ไม่ได้อยู่ในเส้นทางที่เขาต้องการ
เขาก็พร้อมออกมาเพื่อตามหาสิ่งที่ตรงกับเป้าหมายของเขาเสมอ อย่างเช่น ตอนที่เขาออกจาก Sylvania Semiconductor และ GIC เพราะเขาต้องการงานที่โฟกัสไปที่การพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์เป็นหลัก
2. ความไม่ยอมแพ้
แม้หลายคนจะไม่เห็นด้วยกับการก่อตั้ง TSMC ให้เป็นบริษัทรับจ้างผลิตชิป แต่เขาก็ไม่ยอมแพ้และเชื่อมั่นในแนวคิดของตนเอง ก่อนที่จะก่อตั้งบริษัทจนสำเร็จ
จากการมีเป้าหมายที่ชัดเจนบวกกับการไม่ยอมแพ้ของจาง จึงไม่แปลกใจเลยที่ในวันนี้เขาสามารถพา TSMC ให้ประสบความสำเร็จจนมีมูลค่าบริษัท 20 ล้านล้านบาท ขึ้นแท่นเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลกไปแล้ว นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://en.wikipedia.org/wiki/TSMC
-https://en.wikipedia.org/wiki/Morris_Chang
-https://www.longtunman.com/27349
-https://www.longtunman.com/27702
-https://sahilbloom.substack.com/p/the-amazing-story-of-morris-chang
-https://www.yourtechstory.com/2018/08/16/morris-chang-chip-industry-tsmc/
-https://www.semi.org/en/Oral-History-Interview-Morris-Chang
-https://www.forbes.com/profile/morris-chang/?sh=7eb878d45fc4
-https://en.wikipedia.org/wiki/Sylvania_Electric_Products
-https://www.investopedia.com/articles/markets/012716/how-taiwan-semiconductor-manufacturing-makes-money-tsm.asp
-https://en.wikipedia.org/wiki/Semiconductor_fabrication_plant
-https://en.wikipedia.org/wiki/Texas_Instruments
-https://www.counterpointresearch.com/global-smartphone-share/
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過5,140的網紅Ghost Island Media 鬼島之音,也在其Youtube影片中提到,Kent Feng (馮世寬) is a top-gun and twice-appointed Taiwan cabinet minister. He was the Minister of National Defense from 2016-2018 and is currently the ...
the line saudi 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
บริษัทเทคโนโลยี กำลังเจอศึกรอบด้าน /โดย ลงทุนแมน
หลายปีที่ผ่านมา หลายคนคงได้เห็นการดิสรัปต์ของบริษัทเทคโนโลยีรุ่นใหม่
ที่ได้ส่งผลกระทบรุนแรง จนบริษัทยักษ์ใหญ่ดั้งเดิมบางแห่งปรับตัวไม่ทัน
เช่น Netflix บริการดูหนังสตรีมมิง ที่เข้ามาทดแทนการเช่าแผ่นซีดีจากร้าน Blockbuster
หรือ Facebook เครือข่ายสังคมออนไลน์
ที่เข้ามาแย่งส่วนแบ่งเม็ดเงินค่าโฆษณามหาศาล
และสามารถทำรายได้จากค่าโฆษณาระดับ 8 แสนล้านบาทต่อปี
ธุรกิจเหล่านี้ ทำให้หลายบริษัทในอุตสาหกรรมดั้งเดิมอย่างหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์
ได้รับผลกระทบโดยตรง และหลายรายก็ต้องล้มหายตายจากไป
แม้ว่าเมื่อก่อน บริษัทเหล่านี้จะดิสรัปต์ธุรกิจเดิมจนก้าวขึ้นมาเป็นยักษ์ใหญ่ในปัจจุบัน
แต่สถานการณ์ตอนนี้ ดูเหมือนกับว่าบริษัทที่กล่าวมาทั้งหมด
มีขนาดใหญ่จนหลายธุรกิจทับซ้อนกันและกำลังแข่งขันกันเอง
แล้วความท้าทายที่บริษัทเทคโนโลยีต้องเจอ มีอะไรบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ช่วงแรกสำหรับการเติบโตของบริษัทเทคโนโลยี
ส่วนใหญ่จะเป็นการเข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาดภายในอุตสาหกรรมเดิม
ด้วยการหาสินค้าและบริการที่ช่วยแก้ปัญหาให้ผู้บริโภคในส่วนที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข
และด้วยความที่เป็นบริษัทเทคโนโลยี การขยายธุรกิจจึงทำได้อย่างรวดเร็ว
พอถึงจุดหนึ่ง พบว่าตัวเองได้กลายเป็นบริษัทขนาดยักษ์ในอุตสาหกรรมเสียแล้ว
สะท้อนมาจากบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุด 5 อันดับแรกของโลก
อันดับที่ 1 Apple
อันดับที่ 2 Microsoft
อันดับที่ 3 Saudi Aramco
อันดับที่ 4 Amazon
อันดับที่ 5 Alphabet เจ้าของ Google และ YouTube
จะเห็นได้ว่าจาก 4 ใน 5 บริษัทเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทั้งสิ้น
และหากเราไปดูอัตราการเติบโตของบริษัทเหล่านี้ ก็จะเรียกได้ว่าเติบโตแบบก้าวกระโดด
คำถามต่อมาคือ บริษัทควรจะทำอย่างไรต่อ
ในเมื่อธุรกิจเริ่มใหญ่ขึ้น แต่มีทรัพยากรให้ใช้อีกมากมาย
คำตอบที่ได้ จึงเป็นการข้ามไปแข่งขันในอุตสาหกรรมอื่น
โดยการใช้ Ecosystem ของตัวเองให้เป็นประโยชน์ นั่นจึงกลายเป็นที่มาว่า
ทำไมเหล่าบริษัทเทคโนโลยีหลังจากสำเร็จแล้ว ก็จะเริ่มเข้าไปแข่งขันกันเอง
เช่น Facebook ที่เริ่มต้นจากการเป็นแพลตฟอร์มสังคมออนไลน์
ซึ่งเมื่อก่อนนั้นมีรายได้จากค่าโฆษณาที่เป็นรูปภาพและตัวอักษรเท่านั้น
แต่บริษัทเองเห็นว่าโฆษณาแบบเดิมใหญ่มากแล้ว
จึงต้องหาช่องทางรายได้เพิ่มเติม
และพบว่าโฆษณาวิดีโอสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอีกเยอะ
Facebook ขยับมาสู่การสร้าง Ecosystem ให้กับเหล่าผู้ผลิตคอนเทนต์วิดีโอ
โดยมีฐานผู้ใช้งานในมือหลายพันล้านบัญชีอยู่แล้ว
การที่ Facebook เข้ามาทำแบบนี้ ก็ถือเป็นการเข้ามาแย่งส่วนแบ่งและเป็นการแข่งขันกับ YouTube ทันที
และในช่วงไม่กี่ปีมานี้ Facebook ได้เพิ่มฟังก์ชันใหม่ขึ้นมาคือ Marketplace รวมถึง Dating
แสดงให้เห็นว่าทางบริษัทกำลังขยายธุรกิจไปสู่อุตสาหกรรมอื่นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจเลยที่ว่าทำไมสุดท้ายบริษัทเทคโนโลยีต่างต้องแข่งขันกัน
หรืออย่างบริษัท SEA เองที่เริ่มต้นจากการทำธุรกิจ Garena ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเกม
แต่ต่อมาก็ได้รุกเข้าสู่ตลาดอีคอมเมิร์ซ ด้วยแพลตฟอร์ม Shopee
และขณะนี้บริษัทก็เริ่มจริงจังกับธุรกิจการเงินอย่าง AirPay ซึ่งเพิ่งเปลี่ยนชื่อเป็น ShopeePay
Alibaba และ Tencent ในประเทศจีนก็ไม่ต่างกัน
แม้ว่าเริ่มแรกทั้งคู่จะทำธุรกิจไม่เหมือนกัน
Alibaba เริ่มจากการเป็นอีคอมเมิร์ซ
Tencent เน้นเกมออนไลน์และแอปพลิเคชัน WeChat
แต่ภายหลัง Alibaba และ Tencent กำลังเข้ามาแข่งธุรกิจในพื้นที่เดียวกันทั้งทางอ้อมและทางตรง
ในปี 2013 Alibaba มีส่วนแบ่งธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ 62%
แต่ปีที่แล้วกลับลดลงเหลือเพียง 51%
เหตุผลสำคัญก็เพราะว่าการเติบโตของ Pinduoduo และ JD.com
อีคอมเมิร์ซที่ได้รับเงินระดมทุนจาก Tencent กำลังเข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาดอย่างมีนัยสำคัญ
โดยเฉพาะ Pinduoduo ที่สามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด
หากย้อนกลับไปในปี 2018 Pinduoduo มียอดขายคิดเป็นราว 4% ของ Alibaba เท่านั้น
แต่ในปีที่ผ่านมา ยอดขายของ Pinduoduo ขยับมาเป็น 10% ของ Alibaba เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
นอกจากนี้ Alipay กับ WeChat Pay ของ Tencent
ก็ยังแข่งขันกันในธุรกิจกระเป๋าเงินดิจิทัลโดยตรง อีกด้วย
ซึ่งนอกจากการแข่งขันกันในเชิงธุรกิจแล้ว
กฎเกณฑ์ข้อบังคับระหว่างบริษัทก็เริ่มมีการควบคุมที่เพิ่มมากขึ้น
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการป้องกันข้อมูลบัญชีผู้ใช้งาน
ในกรณีของ Apple ก็ได้ให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกได้ว่าจะทำการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลของตนจากแพลตฟอร์มโซเชียลอย่าง Facebook หรือไม่
จุดนี้จะทำให้ประสิทธิภาพของโฆษณาบน Facebook ลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
อีกความท้าทายที่เห็นได้ชัดก็ยังมีเรื่องของ การกลับมาของบริษัทยักษ์ใหญ่เดิม
หลังจากที่เหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่ดั้งเดิม
โดนบริษัทเทคโนโลยีน้องใหม่เข้ามาดิสรัปต์เป็นเวลานาน
บางบริษัทที่สามารถปรับตัวและอยู่รอดได้
ก็เหมือนจะกำลังรุกกลับและปรับตัวให้เข้าแข่งขันได้อีกครั้ง
อย่าง Disney เองหลังจากปล่อยให้ Netflix
นำคอนเทนต์ของทางบริษัทไปให้บริการอยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง
ปัจจุบัน Disney ก็ได้ลุกขึ้นมาพัฒนาธุรกิจสตรีมมิงเป็นของตัวเอง
จนกลายมาเป็นแพลตฟอร์มสตรีมมิงที่เรียกว่า “Disney+”
ที่เติบโตแบบก้าวกระโดด จนตอนนี้มีผู้สมัครใช้บริการ 100 ล้านคนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
สำหรับจุดแข็งของบริษัทเก่าแก่ขนาดใหญ่ ก็คือ ความสามารถในการเข้าถึงเงินทุนและฐานะทางการเงินที่มั่นคง
ในกรณีของ Disney ที่มีหนี้สินระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเพียง 0.5 เท่า
ในขณะที่ Netflix มีหนี้ระยะยาวต่อทุนสูงถึง 1.4 เท่า
สะท้อนให้เห็นว่า Disney ยังมีความสามารถในการจัดหาเงินทุนเพื่อขยายกิจการได้อีกมากในอนาคต
นอกจากนี้ Disney ยังมี Ecosystem ที่ครบวงจรอีกด้วย
เช่น สวนสนุก โรงแรม สื่อต่าง ๆ อย่าง ABC ซึ่งเป็น 1 ใน 6 ช่องฟรีทีวีใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ
รวมถึงลิขสิทธิ์ต่าง ๆ อีกมากมาย ทั้ง Marvel, Star Wars และ Pixar
และสิ่งเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจยิ่งแข็งแกร่งขึ้นไปอีก
จากตรงนี้ ก็ดูเหมือนว่าตอนนี้ Netflix อาจจะเจอกับการตีกลับครั้งใหญ่เข้าให้แล้ว
นอกจากอุตสาหกรรมภาพยนตร์แล้ว
อุตสาหกรรมค้าปลีกและค้าส่งก็เป็นเช่นเดียวกัน
ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้เหล่าค้าปลีกแบบดั้งเดิม
อย่างบริษัทยักษ์ใหญ่ Walmart สามารถเข้ามาตีตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ได้ง่ายขึ้น
ถือเป็นเรื่องน่ากังวลที่เหล่าบริษัทเทคโนโลยีต้องรับมือกับบริษัทยักษ์ใหญ่ดั้งเดิม
ที่มีความได้เปรียบทั้งด้านฐานะการเงินของบริษัทและ Ecosystem เดิมของตน
ศึกรอบด้านของบริษัทเทคโนโลยียังไม่ได้หมดเพียงแค่นี้
เพราะ “กฎหมายของแต่ละประเทศ” ก็เป็นอีกประเด็นที่เริ่มถูกพูดถึงกันมากขึ้น
นั่นก็เพราะว่าบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งใหญ่จนเรียกได้ว่าผูกขาด
อุตสาหกรรมนั้นไปโดยปริยาย ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาหลายประเทศทั่วโลก
ก็เริ่มเข้ามาออกเกณฑ์การควบคุมเพื่อลดปัญหาดังกล่าว
เช่น สหภาพยุโรปกำลังตรวจสอบอำนาจการผูกขาดของเหล่าบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่
ประเทศออสเตรเลียเองก็เพิ่งออกกฎหมายบังคับให้บริษัทเทคโนโลยีต้องจ่ายเงิน
สำหรับการแชร์เนื้อหาข่าวสารต่าง ๆ
ทางฝั่งประเทศจีน รัฐบาลกำลังเข้ามาควบคุมการผูกขาดของบริษัทเทคขนาดใหญ่เช่นกัน
เช่น Alibaba ที่เพิ่งถูกรัฐบาลสั่งปรับเงินครั้งที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์จีน
คิดเป็นมูลค่าความเสียหายราว 8.8 หมื่นล้านบาท
จากการที่ Alibaba บังคับให้เหล่าร้านค้าในแพลตฟอร์มของตน ไม่สามารถไปขายกับแพลตฟอร์มอื่นได้
ย้อนกลับไปก่อนหน้านั้น ก็ยังมีเรื่องของ Ant Group บริษัท Fintech ในเครือ Alibaba
ที่ถูกรัฐบาลสั่งระงับการ IPO จากการที่รัฐกลัวเสียอำนาจในการควบคุมธุรกิจการเงินในประเทศ
นอกจากนี้ บริษัทเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่กำลังโดนรัฐบาลไล่ตรวจสอบเรื่องการผูกขาด
ก็ยังมี Tencent, ByteDance, JD.com และอื่น ๆ อีกมากมาย รวมแล้วถึง 34 บริษัทเลยทีเดียว
จากเรื่องราวทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าบริษัทเทคโนโลยีในตอนนี้
นอกจากจะต้องแข่งขันกันเองแล้ว ก็ยังต้องมาเผชิญกับธุรกิจดั้งเดิม
ที่สามารถปรับตัวและกลับเข้ามาร่วมแข่งขัน
รวมถึงกฎเกณฑ์จากทางภาครัฐในแต่ละประเทศ เช่นกัน
ก็ดูเหมือนว่า เหตุการณ์เหล่านี้ไม่ใช่เพียงผลกระทบระยะสั้นเหมือนกับโรคระบาดที่มาแล้วก็ไป
แต่อาจจะกลายมาเป็นศึกรอบทิศทางของบริษัทเทคโนโลยี
ที่ยังไม่รู้ว่าจะต้องใช้เวลาเท่าไร กว่าศึกนี้จะจบลง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://backlinko.com/disney-users
-https://www.economist.com/business/2021/02/27/the-new-rules-of-competition-in-the-technology-industry
-https://www.jitta.com/stock/nasdaq:pdd/factsheet
-https://www.jitta.com/stock/nyse:baba/factsheet
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-04-10/china-fines-alibaba-group-2-8-billion-in-monopoly-probe
-https://www.jitta.com/stock/nasdaq:nflx/financial
-https://www.jitta.com/stock/nyse:dis/financial
-https://www.economist.com/business/2021/05/20/how-to-thrive-in-the-shadow-of-giants
the line saudi 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
ทำไม ซาอุดีอาระเบีย ถึงอยากเป็น "The Next Germany" /โดย ลงทุนแมน
ซาอุดีอาระเบียติด Top 10 ประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดในโลก
ทั้งที่มีประชากรเพียง 34 ล้านคน อยู่ในอันดับ 41 ของโลก
ทำให้เมื่อหารเฉลี่ยต่อหัวแล้ว ชาวซาอุดีอาระเบียจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
สูงที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลก มากถึงปีละ 18.5 ตันต่อคน มากกว่าชาวเยอรมันถึง 2 เท่า
การปล่อยก๊าซที่เป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมมาอย่างยาวนาน
ทำให้ประเทศเศรษฐีน้ำมันแห่งนี้ ต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเองครั้งใหญ่
โดยมุ่งหน้าสู่การเป็นผู้ผลิตพลังงานหมุนเวียนชั้นนำของโลก
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ไม่เพียงแต่ต้องการที่จะลดการสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น
แต่เป้าหมายของซาอุดีอาระเบียคือการเป็นผู้ส่งออกพลังงานหมุนเวียน
โดยประเทศที่ซาอุดีอาระเบียอาศัยเป็นต้นแบบด้านพลังงานหมุนเวียนก็คือ ประเทศเยอรมนี
ถึงขนาดผู้นำประเทศประกาศว่า เป้าหมายของซาอุดีอาระเบีย
คือการเป็น “The Next Germany”
เรื่องนี้มีความน่าสนใจอย่างไร ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศที่มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบกว่า 267,026 ล้านบาร์เรล
มากเป็นอันดับ 2 ของโลก ทำให้น้ำมันเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของซาอุดีอาระเบีย
กว่าร้อยละ 80 ของสินค้าส่งออกทั้งหมด
น้ำมันที่มีอยู่อย่างเหลือเฟือยังถูกนำมาใช้ในประเทศ ทั้งการขนส่ง และการผลิตกระแสไฟฟ้า
ซาอุดีอาระเบียผลิตไฟฟ้าจากน้ำมันเป็นสัดส่วนถึง 42% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด
ซึ่งเป็นไม่กี่ประเทศที่ผลิตไฟฟ้าจากน้ำมันในสัดส่วนสูงขนาดนี้
นอกจากน้ำมัน แหล่งพลังงานที่สำคัญในการผลิตไฟฟ้าของประเทศนี้ ก็คือก๊าซธรรมชาติอีกราว ๆ 57.8%
เท่ากับว่า การผลิตไฟฟ้าในประเทศซาอุดีอาระเบีย จะมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเกือบ 100%
ซึ่งแน่นอนว่า เป็นการสร้างปัญหามลภาวะในอากาศ โดยเฉพาะการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาในระหว่างกระบวนการผลิต
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ซาอุดีอาระเบียจึงต้องการเปลี่ยนแปลงมาใช้พลังงานหมุนเวียน
และพลังงานสะอาดเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งยังรวมไปถึงการส่งออกพลังงานดังกล่าวเพื่อสร้างรายได้มาชดเชยรายได้จากการส่งออกน้ำมันที่ในอนาคตมีแนวโน้มที่จะลดลง
และประเทศซึ่งเป็นต้นแบบของพลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาดที่ประสบความสำเร็จ
จนซาอุดีอาระเบียต้องการจะเดินรอยตาม จะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก “เยอรมนี”
เรื่องนี้ถึงขนาดทำให้ เจ้าชายมูฮัมมัด บิน ซัลมาน มกุฎราชกุมารของซาอุดีอาระเบียถึงกับกล่าวว่า “ประเทศเราจะเป็นเหมือนกับเยอรมนี เมื่อพูดถึงการใช้พลังงานหมุนเวียน”
รู้ไหมว่า เยอรมนีเป็นประเทศอันดับต้น ๆ ของโลก ที่เชี่ยวชาญการใช้พลังงานหมุนเวียนหลากหลายประเภทเพื่อการผลิตไฟฟ้า ซึ่งนับเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว ที่สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนของเยอรมนีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ปี 1990 สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียน 3%
ปี 2005 สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียน 10%
ปี 2020 สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียน 45%
ถือได้ว่า พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในเยอรมนีในวันนี้ เกือบครึ่งมาจากพลังงานหมุนเวียน
และยังมาจากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ชีวมวล และโรงไฟฟ้าพลังน้ำ
เยอรมนีเป็นประเทศที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยในปี 2020 มีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์กว่า 51 เทระวัตต์-ชั่วโมง (TWh)
สูงเป็นอันดับ 5 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ในยุโรป
และยังเป็นประเทศที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมสูงถึง 134.5 เทระวัตต์-ชั่วโมง (TWh) สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ในยุโรป
ที่น่าสนใจคือ ภายในปี 2050 รัฐบาลเยอรมันตั้งเป้าไว้ว่า
การผลิตไฟฟ้าภายในประเทศจะมาจากพลังงานหมุนเวียนทั้งหมด 100%
ความสำเร็จของอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนของเยอรมนี ล้วนเกิดจากการวางแผนที่ดี
การสนับสนุนและลงมือทำอย่างจริงจัง รวมไปถึงความร่วมมือกันระหว่างทั้งภาครัฐและเอกชน จนทำให้เยอรมนีได้รับการยอมรับจากหลายประเทศ ว่าเป็นหนึ่งในประเทศต้นแบบในด้านพลังงานหมุนเวียนที่หลายประเทศต้องการเดินรอยตาม ซึ่งรวมไปถึงซาอุดีอาระเบีย
สำหรับซาอุดีอาระเบียปี 2018 นั้น การผลิตไฟฟ้าในประเทศมาจากพลังงานหมุนเวียน
น้อยกว่า 1% ของแหล่งพลังงานทั้งหมด
พอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงทำให้ซาอุดีอาระเบียตั้งเป้าที่จะผลิตไฟฟ้าด้วยการใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนให้ได้ 50% ภายในปี 2030
แต่การเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้ไปถึงสัดส่วนดังกล่าว
นอกจากการศึกษากระบวนการทำงานของประเทศต้นแบบที่ประสบความสำเร็จแล้ว ซาอุดีอาระเบียจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาล
รัฐบาลของซาอุดีอาระเบียตั้งเป้าหมายว่า ในช่วงระหว่างปี 2020-2023
ซาอุดีอาระเบียจะลงทุนในโครงการพลังงานหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านล้านบาท
ปัจจุบันซาอุดีอาระเบียได้ก่อสร้างโครงการพลังงานลมที่ชื่อว่า The Dumat Al Jandal
ซึ่งเป็นโครงการพลังงานลมที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลาง
นอกจากนี้ รัฐบาลของซาอุดีอาระเบียยังวางแผนที่จะพัฒนาโครงการ Green Hydrogen ซึ่งนับเป็นโรงงานผลิตไฮโดรเจนสะอาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งโครงการนี้มีมูลค่าโครงการสูงกว่า 2.1 แสนล้านบาท
Green Hydrogen นั้นเป็นการผลิตไฮโดรเจนโดยการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า ที่ไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา และก๊าซไฮโดรเจนที่ได้จะถูกนำไปผ่านเซลล์เชื้อเพลิงเพื่อเป็นแหล่งพลังงานในการผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป ซึ่งรัฐบาลของซาอุดีอาระเบียวางแผนที่จะส่งออกไฮโดรเจนสะอาดไปขายยังตลาดโลกอีกด้วย
ซึ่งการลงทุนดังกล่าวนั้น นับเป็นหนึ่งในแผนภายใต้ Vision 2030 ที่เป็นนโยบายหนึ่งของการพัฒนาซาอุดีอาระเบียไปสู่ยุคสมัยใหม่ ที่ต้องการลดการพึ่งพาน้ำมัน
เรื่องนี้เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ จากประเทศที่มีรายได้จากการส่งออกน้ำมันในปี 2019
กว่า 6 ล้านล้านบาท เป็นหนึ่งในประเทศที่มั่งคั่งที่สุดของโลก
แต่เมื่อแนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศเริ่มลดลงเรื่อย ๆ
ซาอุดีอาระเบียก็ต้องปรับตัวให้ทันตามกระแสโลก
และที่สำคัญคือ การกระจายความเสี่ยง ไม่ให้พึ่งพาพลังงานใดพลังงานหนึ่งมากเกินไป..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://en.wikipedia.org/wiki/Energy_in_Saudi_Arabia#:~:text=Electricity%20generation%20is%2040%25%20from,to%20120%20GW%20by%202032
-http://www.nst.or.th/powerplant/pp04.html
-https://www.arabnews.com/node/1801291/business-economy
-https://ourworldindata.org/renewable-energy
-https://www.cleanenergywire.org/factsheets/solar-power-germany-output-business-perspectives
-https://en.wikipedia.org/wiki/Solar_power_by_country
-https://www.ucsusa.org/resources/each-countrys-share-co2-emission
-https://energy.economictimes.indiatimes.com/news/renewable/worlds-top-10-countries-in-wind-energy-capacity/68465090#:~:text=China%20has%20a%20installed%20capacity,larger%20than%20its%20nearest%20rival.&text=The%20US%20comes%20second%20with%2096.4%20GW%20of%20installed%20capacity.
-https://sustainabledevelopment.un.org/index.php?page=view&type=99&nr=24&menu=1449#:~:text=Supply%20by%202050-,Germany%20has%20promised%20to%20transform%20its%20electricity%20supply%20to%20100,by%202050%20from%201990%20levels
-https://www.rechargenews.com/energy-transition/we-will-be-pioneering-saudi-arabia-reveals-50-renewables-goal-by-2030-but-is-that-realistic-/2-1-954094
-https://www.greentechmedia.com/articles/read/us-firm-unveils-worlds-largest-green-hydrogen-project#:~:text=Energy-,World%27s%20Largest%20Green%20Hydrogen%20Project%20Unveiled%20in%20Saudi%20Arabia,gigawatts%20of%20Saudi%20renewable%20electricity.&text=Massive%20green%20hydrogen%20facility%20would,Neom%20%22smart%20city%22%20project
-https://www.ammoniaenergy.org/articles/saudi-arabia-to-export-renewable-energy-using-green-ammonia/#:~:text=Last%20week%2C%20Air%20Products%2C%20ACWA,to%20be%20operational%20by%202025.
-https://www.statista.com/statistics/223231/opec-net-oil-export-revenue-streams-by-country/#:~:text=Saudi%20Arabia%20is%20the%20largest,Iraq%27s%2087%20billion%20U.S.%20dollars
the line saudi 在 Ghost Island Media 鬼島之音 Youtube 的最佳貼文
Kent Feng (馮世寬) is a top-gun and twice-appointed Taiwan cabinet minister. He was the Minister of National Defense from 2016-2018 and is currently the Minister of the Veterans Affairs Council. In this holiday special, Feng shares stories of his life and his times. It offers rare insights, in English, from this retired three-star general of the ROC Air Force.
Today’s episode is hosted by J.R. Wu - Chief of the Secretariat for INDSR (Institute for National Defense and Security Research) in Taiwan, where Feng was the inaugural chairman. Wu is a former journalist with nearly two decades of media experience in the US and Asia. She has led news bureaus for Reuters and Dow Jones.
Follow us on Twitter @ghostislandme
Add to our tip jar at Patreon (www.patreon.com/Taiwan)
SHOW CREDIT
Host - J.R. Wu
Producer / Editor - Emily Y. Wu (Twitter @emilyywu)
Researchers - Yu-Chen Lai (Twitter @@aGuavaEmoji) and Sam Robbins (Twitter @helloitissam)
Brand Design - Thomas Lee
Production Company - Ghost Island Media
MB019AZ0IEO3KAX
https://ghostisland.media
