“ลิซ่า ซู” ผู้พลิก AMD ให้มูลค่าบริษัทโต 53 เท่า ใน 7 ปี /โดย ลงทุนแมน
หากพูดถึงบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการ์ดจอ
หลายคนคงนึกถึงบริษัท Nvidia ขึ้นมาเป็นอันดับแรก
แต่จริง ๆ แล้ว ยังมีอีกบริษัทที่ทำธุรกิจเดียวกัน
ชื่อว่า Advanced Micro Devices หรือ AMD
ที่ตอนนี้ ก็เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งผู้ผลิตการ์ดจอที่ใหญ่ที่สุดในโลก เช่นกัน
แต่กว่าจะมาเป็นวันนี้ได้ AMD ผ่านอุปสรรคมาเยอะพอสมควร
และเมื่อ 7 ปีก่อนบริษัทแห่งนี้มีมูลค่าเพียง 56,000 ล้านบาท
แต่ภายหลังจาก “ลิซ่า ซู” ขึ้นแท่นมาเป็น CEO ของบริษัท
เธอก็ได้ทำให้ AMD กลับมาเติบโตแบบก้าวกระโดด จนปัจจุบันมีมูลค่ามากถึง 3 ล้านล้านบาท
มูลค่าเพิ่มขึ้น คิดเป็น 53 เท่า ภายในระยะเวลาเพียง 7 ปี
เธอคนนี้ทำได้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ปัจจุบัน Advanced Micro Devices หรือ AMD เป็นบริษัทที่พัฒนาชิปประมวลผล, การ์ดจอ
โดยมีผลิตภัณฑ์ครอบคลุมให้กับนักเล่นเกมไปจนถึงธุรกิจองค์กร
โดยองค์กรที่ว่านี้ ยกตัวอย่างเช่น Google, Amazon, Microsoft, Tencent และ Oracle
แต่หากเราย้อนกลับไปในช่วงปี 2012 ถึง 2015
บริษัท AMD ประสบปัญหารายได้ลดลงและขาดทุนติดต่อกันถึง 4 ปี
นั่นจึงทำให้ในปี 2014 มูลค่าบริษัท AMD เหลือเพียง 56,000 ล้านบาท ซึ่งตอนนั้นหุ้นร่วงลงกว่า 40% ในปีเดียว
ย้อนกลับไป หลายคนก็น่าจะคาดการณ์กันว่า AMD น่าจะกลับเข้ามาแข่งขันได้ยาก
เพราะทั้งไม่เติบโตแถมยังขาดทุนต่อเนื่อง
แต่ ลิซ่า ซู ผู้บริหารที่เข้ามารับไม้ต่อขึ้นแท่น CEO กลับไม่ได้คิดแบบนั้น
แล้วเธอคือใคร ?
ลิซ่า ซู เป็นชาวอเมริกัน เชื้อสายไต้หวัน
เธอเกิดที่เมืองไถหนาน ประเทศไต้หวัน
แต่ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเธออายุ 51 ปี
เธอจบการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก
ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าจาก Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT
หลังจากจบการศึกษา เธอได้ร่วมงานกับบริษัทยักษ์ใหญ่มากมาย
ไม่ว่าจะเป็น Texas Instruments, IBM, Freescale Semiconductor
แน่นอนว่าทุกงานล้วนเกี่ยวกับชิปเซต
จนกระทั่งในปี 2012 เธอได้เข้ามารับตำแหน่งรองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปของ AMD
แต่พอบริษัทเข้าสู่ยุคตกต่ำ เธอก็ได้รับเลือกขึ้นมารับตำแหน่ง CEO เพื่อพลิกวิกฤติตั้งแต่ปี 2014
แม้ในช่วงแรกผลดำเนินงานของ AMD จะยังคงแย่อยู่ แต่ผ่านไปเพียง 3 ปี หรือในปี 2017
เธอก็ได้ทำให้กระแสเงินสดจากการดำเนินงานกลับมาเป็นบวกได้ครั้งแรกในรอบ 6 ปี
สิ่งที่เธอเข้ามาเปลี่ยนแปลงหลัก ๆ มี 2 อย่าง
- การปรับโครงสร้างทางด้านค่าใช้จ่าย
- การหาจุดโฟกัสใหม่เพื่อสร้างการเติบโต
และในปีเดียวกันนั้นเอง AMD ก็ได้เปิดตัว “Zen Architecture”
ซึ่งถือเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่เรียกได้ว่าคืนชีพบริษัทแห่งนี้ให้กลับเข้ามาแข่งขันได้อีกครั้ง
Zen Architecture เป็นเทคโนโลยีเฉพาะของบริษัท AMD ที่ใส่เข้าไปในชิปประมวลผล
หรือที่ใครหลายคนเรียกกันว่า CPU
เทคโนโลยีดังกล่าวก็ได้ทำให้ตัวชิปประมวลผลของทางบริษัท
มีคุณภาพที่ใกล้เคียงกับชิปของ Intel ซึ่งเป็นคู่แข่งคนสำคัญ
นอกจากนั้น AMD ยังได้พัฒนาชิปประมวลผล EPYC อ่านว่า อี-พิก
ซึ่งถือเป็นชิปเซตเพื่อใช้สำหรับการประมวลผลของเซิร์ฟเวอร์โดยเฉพาะ
และมีกลุ่มลูกค้าหลักเป็นบริษัทที่ให้บริการคลาวด์
ตัวอย่างสินค้าหรือบริการที่เรารู้จักกันดีอย่างเช่น AWS, Google Cloud หรือ Alibaba Cloud เองก็เลือกผลิตภัณฑ์ AMD EPYC ของทางบริษัท เช่นกัน
หรือแม้แต่คู่แข่งตลอดกาลในวงการคอนโซลเกม Playstation 5 และ XBOX series X/S ล้วนแล้วแต่ใช้ทั้งซีพียูและการ์ดจอของ AMD ทั้งคู่
ในขณะที่ฟากธุรกิจการ์ดจอ ทางบริษัทก็มีแบรนด์ Radeon และ Radeon PRO
ที่เป็นคู่แข่งกับ GeForce ของบริษัท Nvidia ที่กำลังอยู่ในเมกะเทรนด์
ทั้งในเชิงของวงการเกมมิงและการนำไปประมวลผลคริปโทเคอร์เรนซี
นอกจากจะเปิดตัวสินค้าตัวใหม่แล้ว อีกสิ่งสำคัญที่เธอทำก็คือ
การประกาศ Roadmap ที่ชัดเจนของตัวสินค้าในอนาคต
เพื่อเรียกความเชื่อมั่นต่อแบรนด์ที่หายไปตั้งแต่ขาดทุนหนัก ให้ฟื้นกลับมาอีกครั้ง
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา AMD ภายใต้การบริหารของลิซ่า ซู
ก็สามารถทำได้ดีตามที่เคยประกาศเอาไว้อย่างไม่มีปัญหา
จนสินค้าของบริษัทก็ได้กลับมาแย่งส่วนแบ่งเจ้าตลาดได้สำเร็จ
จากปี 2014 ที่ส่วนแบ่งธุรกิจ CPU เป็นของ Intel 75% และ AMD 25%
ปัจจุบันกลายมาเป็น Intel 60% และ AMD 40%
ถึงขนาดที่ว่าในปี 2020 ทางบริษัทคู่แข่งอย่าง Intel ถึงกับออกมา
ยอมรับว่าตัว CPU ของทางบริษัทตามหลังคู่แข่งอย่าง AMD เลยทีเดียว
ทีนี้ เราลองมาเปรียบเทียบผลประกอบการระหว่าง
ปีก่อนและหลังจากที่ ลิซ่า ซู เข้ามาดำรงตำแหน่ง CEO
ปี 2014 รายได้ 171,787 ล้านบาท ขาดทุน 12,573 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 304,605 ล้านบาท กำไร 77,688 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่าจากการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจไม่เพียงแต่สร้างการเติบโตเป็นเท่าตัว
ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี แต่ยังทำให้บริษัทพลิกกลับมากำไรมหาศาล
จุดนี้ ก็ได้สะท้อนไปยังมูลค่าบริษัทที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจนสูงถึง 3 ล้านล้านบาท
เพิ่มขึ้นคิดเป็น 53 เท่า ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี
หมายความว่าหากเรานำเงินไปลงทุนกับ AMD ในวันที่ ลิซ่า ซู เข้ามาเป็นผู้บริหาร 10,000 บาท
วันนี้ เงินก้อนนั้นจะมีมูลค่ามากถึง 530,000 บาท เลยทีเดียว
แล้วเรื่องนี้ให้ข้อคิดอะไรกับเรา ?
ในมุมของผู้บริหารธุรกิจ
หากเราคิดว่าผลิตภัณฑ์ของเรากำลังจะไม่เป็นที่ต้องการของตลาดแล้ว
ในบางครั้ง เราก็ต้องกล้าตัดสินใจและทำทันที โดยอาจจะเริ่มจากการดูจุดแข็งของเรา
ว่าเรามีอะไร ตลาดต้องการอะไร และลงมือทำ
อย่างในกรณีของ AMD ที่ได้คิดค้น “Zen Architecture” ขึ้นมา
ในเชิงของบริษัท
จะเห็นได้ว่าจริง ๆ แล้ว ลิซ่า ซู เป็นลูกหม้อที่ทำงานในบริษัทอยู่แล้ว
หากบริษัทจำเป็นที่จะต้องเลือกผู้นำในยามวิกฤติ
การมองหาพนักงานที่มีศักยภาพภายในบริษัท
ก็อาจจะเป็นอีกตัวเลือกที่ดี ไม่แพ้การไปว่าจ้างผู้บริหารมืออาชีพจากบริษัทอื่น
ในเชิงของ CEO และมูลค่ากิจการ
จริงอยู่ว่าผู้บริหารสามารถประกาศอะไรต่อสาธารณะก็ได้
ตั้งแต่ Roadmap ที่สวยหรูไปจนถึงการคาดการณ์ผลประกอบการที่โตระเบิด
สิ่งสำคัญที่สุด มันจะไม่ใช่ทั้งคำจินตนาการถึงอนาคตและตัวเลขที่จำลองขึ้นมา
แต่เป็นผลลัพธ์ที่ “ทำได้จริง” ซึ่งมันส่งผลต่อความเชื่อมั่นของทั้งตัวผู้บริโภค รวมถึงนักลงทุน เหมือนอย่างที่ คุณลิซ่า ซู ทำกับ AMD ได้สำเร็จ..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/Advanced_Micro_Devices
-https://en.wikipedia.org/wiki/Lisa_Su
-https://www.cpubenchmark.net/market_share.html
-https://edition.cnn.com/2020/03/27/tech/lisa-su-amd-risk-takers/index.html
-AMD annual report 2012,2014,2020
-https://www.jitta.com/stock/nasdaq:amd/factsheet
「youtube เป็นของ google」的推薦目錄:
youtube เป็นของ google 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
Pinduoduo อีคอมเมิร์ซจีน ที่เจ้าของรวยกว่า แจ็ก หม่า /โดย ลงทุนแมน
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หากพูดถึงมหาเศรษฐีเจ้าของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
เราก็น่าจะนึกถึงชื่อของ นักธุรกิจ 2 คน จากคนละซีกโลก
ซีกตะวันตก เป็นของ Jeff Bezos เจ้าของ Amazon
ซีกตะวันออก เป็นของ แจ็ก หม่า เจ้าของ Alibaba
แต่ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ บัลลังก์มหาเศรษฐีอีคอมเมิร์ซแห่งซีกโลกตะวันออก
ก็ได้ถูกสั่นคลอนจากนักธุรกิจชาวจีนรายหนึ่ง ที่ชื่อว่า “Colin Huang”
เขาคนนี้ได้ก่อตั้งบริษัท “Pinduoduo” อ่านว่า พินตัวตัว
ที่ทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ขึ้นมาได้เพียง 5 ปี
แต่บริษัทแห่งนี้ก็ได้โตระเบิด โดยเฉพาะในปีที่ผ่านมา
ที่มูลค่าบริษัท Pinduoduo เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าภายในปีเดียว
จนทำให้ Colin Huang มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด
จนรวยแรงแซง แจ็ก หม่า
แล้วอีคอมเมิร์ซที่โตระเบิด มีหน้าตาเป็นอย่างไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Colin Huang เป็นชาวจีนที่เกิดขึ้นในครอบครัวแรงงาน เมืองหางโจว
ซึ่งเป็นเมืองเดียวกับที่ แจ็ก หม่า และ Alibaba ถือกำเนิดขึ้น
แม้จะเกิดในครอบครัวแรงงาน แต่ Colin Huang เป็นเด็กเรียนดี
ถึงขนาดที่เคยเข้าแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิก
นั่นจึงเป็นโอกาสที่ทำให้เขาได้เรียนปริญญาตรี ที่มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง
และต่อยอดไปยังปริญญาโทที่ University of Wisconsin-Madison ประเทศสหรัฐอเมริกา
ระหว่างศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัย เขามีโอกาสได้ฝึกงานกับบริษัท Microsoft
และเมื่อจบการศึกษา เขาก็ได้ปฏิเสธที่จะเป็นพนักงานกับบริษัทแห่งนี้
แต่กลับเลือกที่จะเข้าร่วมงานกับ Google
แต่หลังจากร่วมงานกับ Google ได้ไม่นาน
Colin Huang ก็ได้ตัดสินใจออกมาก่อตั้งธุรกิจเป็นของตัวเอง
โดยเขาได้ก่อตั้งบริษัทสตาร์ตอัปมากถึง 4 แห่ง ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี
บริษัทแรก Oukou ทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซสำหรับซื้อขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
บริษัทที่สอง Leqi ทำธุรกิจสนับสนุนแบรนด์ต่างประเทศ ให้เข้ามาเชื่อมต่อกับอีคอมเมิร์ซจีนอย่าง Tmall หรือ JD.com
บริษัทที่สาม Xunmeng ทำธุรกิจสตูดิโอเกม
จนในที่สุดก็มาถึงบริษัทที่สี่ ที่ชื่อว่า Pinduoduo ที่ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2015
ซึ่งเขาได้นำประสบการณ์ในการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และสตูดิโอเกมมารวมกัน
โดย Colin Huang ได้อธิบายอีคอมเมิร์ซของเขาว่าจะมีลักษณะเป็นลูกผสมระหว่าง
Costco ที่ขายของในราคาที่ถูกและ Disneyland ที่ผู้ใช้งานจะสนุก เพลิดเพลินตลอดการซื้อ
แล้วอีคอมเมิร์ซที่ขายของถูก และสนุก เป็นอย่างไร?
Colin Huang ได้พัฒนา Pinduoduo โดยนำคอนเซปต์ของ “Group Buying” หรือ การให้ผู้ใช้งานในชุมชนหรือเพื่อนๆ รวมกันซื้อของผ่านแพลตฟอร์ม และส่งคำสั่งตรงไปยังร้านค้า หรือผู้ผลิตสินค้า
เรื่องนี้จึงทำให้ Pinduoduo เปรียบเสมือนศูนย์รวมของร้านขายส่ง จึงทำให้สินค้าบนแพลตฟอร์มมีราคาถูก
นอกจากคอนเซปต์การรวมกันซื้อแล้ว
Pinduoduo ก็ได้ทำการ “Gamified” หรือพัฒนาให้อีคอมเมิร์ซของเขามีความเป็นเกม
โดยลูกเล่นที่ใส่ลงไปก็มีตั้งแต่การเล่นเกมชิงรางวัลพิเศษ คูปองส่วนลดของแต่ละร้านค้า
ซึ่ง Pinduoduo แห่งนี้เอง ที่เป็นผู้บุกเบิกการนำเกมชิงรางวัลมาไว้บนแพลตฟอร์ม ก่อนที่เราจะได้เห็น Lazada และ Shopee เริ่มนำไอเดียนี้มาใช้ในบ้านเรา
แล้วไอเดียเหล่านี้ เติบโตดีขนาดไหน?
เรามาดูการเติบโตของผู้ใช้งาน รายเดือนของ Pinduoduo
ปี 2016 ผู้ใช้งานรายเดือน 15.0 ล้านบัญชี
ปี 2017 ผู้ใช้งานรายเดือน 141.0 ล้านบัญชี
ปี 2018 ผู้ใช้งานรายเดือน 272.6 ล้านบัญชี
ปี 2019 ผู้ใช้งานรายเดือน 481.5 ล้านบัญชี
และไตรมาสที่ 3 ปี 2020 ผู้ใช้งานรายเดือน 643.4 ล้านบัญชี
การเติบโตคิดเป็น 42 เท่า ภายในระยะเวลาเพียง 4 ปี
ส่วนหนึ่งมาจากผู้ให้เงินระดมทุนหลักอย่าง Tencent ที่ได้เชื่อมต่อฐานผู้ใช้งานจาก WeChat ซึ่งเป็นแอปแช็ตหลักของคนจีนเข้ากับ Pinduoduo
ซึ่งทำให้จำนวนผู้ใช้งานต่อเดือนของ Pinduoduo นั้น มากกว่าทั้ง Snapchat, Telegram, Pinterest และ Twitter
ในขณะที่ เวลาในการใช้งานบนระบบของผู้ใช้งาน ก็มากกว่าอีคอมเมิร์ซแบรนด์อื่น
เนื่องจากผู้ใช้งานบนระบบใช้เวลาไปกับการเล่นเกมชิงคูปอง และชิงรางวัล
ทีนี้ เรามาดูผลประกอบการของบริษัท Pinduoduo
ปี 2017 รายได้ 8,093 ล้านบาท ขาดทุน 2,313 ล้านบาท
ปี 2018 รายได้ 60,886 ล้านบาท ขาดทุน 47,763 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 139,881 ล้านบาท ขาดทุน 32,335 ล้านบาท
9 เดือน ปี 2020 รายได้ 153,222 ล้านบาท ขาดทุน 27,157 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่า Pinduoduo มีรายได้เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ในขณะที่ค่าใช้จ่ายทั้งในด้านวิจัย พัฒนาและการตลาด เพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้ จึงทำให้ผลการขาดทุนเริ่มลดลง
ผลประกอบการเติบโตขนาดนี้
แล้วตอนนี้ Pinduoduo มีมูลค่าบริษัทเท่าไร?
ปัจจุบัน Pinduoduo มีมูลค่าบริษัท 6.6 ล้านล้านบาท
เพิ่มขึ้นคิดเป็นเกือบ 10 เท่า เมื่อเทียบกับมูลค่าตอน IPO เมื่อ 2 ปีก่อน
ด้วยมูลค่าการเติบโตระเบิดระดับนี้ จึงทำให้เจ้าของบริษัท
อย่าง Colin Huang ที่ก่อตั้งบริษัท Pinduoduo ได้เพียง 5 ปี
มีทรัพย์สินมากถึง 2 ล้านล้านบาท
แซงหน้า แจ็ก หม่า ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.businessinsider.com/fabulous-life-colin-huang-pinduoduo-2020-7#huang-wants-pinduoduo-to-be-a-mash-up-of-costco-and-disneyland-8
-https://www.ycombinator.com/library/2z-pinduoduo-and-the-rise-of-social-e-commerce
-https://www.statista.com/statistics/272014/global-social-networks-ranked-by-number-of-users/
-https://www.calcalistech.com/ctech/articles/0,7340,L-3773450,00.html
-https://investor.pinduoduo.com/financial-information/quarterly-results
-https://investor.pinduoduo.com/static-files/0d0c22e7-188a-4a4f-9692-a1c0c452c474