สรุปรายละเอียด ประกาศธนาคารกลางแห่งจีน "แบน ปราบปราม เงินดิจิทัล"
ปราบจริง ไม่ใช่เรื่องลวง
.
หลังจากที่มีข่าวออกมาในประเด็น “ธนาคารกลางแห่งประเทศจีน (ธนาคารประชาชนจีน) และหน่วยงานต่างๆในจีน ประกาศแบนและจัดการอย่างเด็ดขาดกับการทำเงินดิจิทัล” ก็มีเสียงจำนวนไม่น้อยเหมือนกัน ที่ระบุว่า มันไม่ใช่เรื่องจริงหรือเปล่า เป็นการดิสเครดิตจีนของสื่อตะวันตกหรือเปล่า เพราะข่าวที่ออกมาเป็นหลัก เป็นข่าวจากสื่อตะวันตก ข่าวภาษาอังกฤษ อ้ายจงเลยขอถือโอกาสเขียนสรุปเกี่ยวกับประกาศจัดการสกุลเงินดิจิทัลที่ทางธนาคารกลางแห่งประเทศจีน ร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆในจีน ประกาศออกมาเป็นทางการและเผยแพร่บนเว็บไซต์ “ธนาคารกลางแห่งประเทศจีน (ธนาคารประชาชนจีน)” http://www.pbc.gov.cn/goutongjiaoliu/113456/113469/4348521/index.html นะครับ
.
โดยส่วนแรกของประกาศฉบับนี้ จีนได้เขียนชัดเจนถึงเหตุผลในการออกประกาศ คือ ระบุว่า “ปัจจุบันกิจกรรมโฆษณาชวนเชื่อในการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลได้เพิ่มขึ้น ขัดขวางระเบียบทางเศรษฐกิจและการเงิน ทำให้เกิดกิจกรรมที่ผิดกฎหมายและอาชญากรรม เช่น การพนัน การระดมทุนอย่างผิดกฎหมาย การฉ้อโกง แชร์ลูกโซ่ การฟอกเงิน ซึ่งเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของทรัพย์สินของผู้คนอย่างร้ายแรง”
.
ดังนั้นเพื่อป้องกันและจัดการกับความเสี่ยงของการเก็งกำไรในการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล และรักษาความมั่นคงของชาติและความมั่นคงทางสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่มีอยู่ในจีน เช่น
.
"กฎหมายธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน" "กฎหมายธนาคารพาณิชย์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน" " กฎหมายหลักทรัพย์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน" "ความมั่นคงเครือข่ายของสาธารณรัฐประชาชนจีน" "กฎหมายของสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยระเบียบโทรคมนาคม" "ระเบียบว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขการระดมทุนที่ผิดกฎหมาย" "ระเบียบว่าด้วยการบริหารตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า" เป็นต้น
.
จึงต้องออกกฎระเบียบมาบังคับใช้ โดยสรุปได้ดังนี้
.
Part 1: ชี้แจงคุณสมบัติที่สำคัญของสกุลเงินดิจิทัลและกิจกรรมทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
(1) สกุลเงินดิจิทัลไม่มีสถานะทางกฎหมายเหมือนกับสกุลเงินตามกฎหมาย
สกุลเงินดิจิทัล เช่น Bitcoin, Ethereum มีลักษณะสำคัญที่ออกโดยหน่วยงานที่ไม่เกี่ยวกับการเงิน โดยใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัสและบัญชีแบบกระจาย หรือเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกัน และมีอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ไม่ถูกกฎหมาย จึงไม่ควรใช้และไม่สามารถใช้เป็นสกุลเงินในตลาดได้
.
(2) กิจกรรมทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินเสมือน ถือว่าเป็นกิจกรรมทางการเงินที่ผิดกฎหมาย เช่น
- การแลกเปลี่ยนสกุลเงินตามกฎหมายกับสกุลเงินเสมือน
- ธุรกิจแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินดิจิทัล
- บริการกำหนดราคาวำหรับธุรกรรมสกุลเงินดิจิท้ล
- การจัดหาเงินทุนสำหรับการออกโทเค็น
- การออกหลักทรัพย์โดยไม่ได้รับอนุญาต
- การซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลแบบสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
กิจกรรมข้างต้นและกิจกรรมทางการเงินอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินดิจิทัลที่ทางการจีนพิจารณาว่าผิดกฎหมาย ถือเป็นสิ่งต้องห้าม ห้ามทำโดยเด็ดขาด
หากการดำเนินกิจกรรมเหล่านี้ ถือเป็นอาชญากรรม มีโทษทางอาญาตามกฎหมายจีน
.
(3) การให้บริการโดยการแลกเปลี่ยนสกุลเงินเสมือนในต่างประเทศแก่ชาวจีนผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Online) ก็เป็นกิจกรรมทางการเงินที่ผิดกฎหมายเช่นกัน
ในประกาศที่ออกมาจากธนาคารกลางแห่งประเทศจีน เขียนระบุไว้ชัดเจนว่า "
"บุคคลใดๆก็ตาม ไม่ว่าบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม หากมีการทำธุรกรรมกับคนหรือหน่วยงานอื่นๆนอกจีนทั้งที่รู้และมีพฤติกรรมที่ชัดแจ้งว่า ควรรับรู้ ถึงการทำธุรกรรมด้วยสกุลเงินดิจิทัล หรือยังให้บริการ ถือว่าผิดกฎหมาย
.
(4) หากบุคคลใดๆ ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลทำธุรกรรมทางการเงินด้วยสกุลเงินดิจิทัล จะไม่ได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายจีน หากถูกโกงหรือได้รับความเสียหาย
.
Part 2: ระบุเกี่ยวกับการสร้างและปรับปรุงกลไกการทำงานเพื่อจัดการกับความเสี่ยงของการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล
.
(5) ธนาคารกลางแห่งประเทศจีน ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ได้แก่ สำนักงานบริหารไซเบอร์สเปซแห่งชาติจีน ศาลประชาชนสูงสุด อัยการสูงสุด กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ กระทรวงความมั่นคงสาธารณะ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ของจีน และสำนักงานแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
จัดตั้งกลไกประสานงานการทำงานเพื่อประสานงานในการแก้ไขปัญหา กำกับดูแล ในประเด็นสกุลเงินดิจิทัล
.
(6) มอบอำนาจให้รัฐบาลท้องถิ่นระดับมณฑลมีอำนาจและหน้าที่ในการป้องกันและกำจัดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขาย-ดำเนินธุรกรรมทางการเงินสกุลเงินดิจิทัล โดยทำงานร่วมกับหน่วยกำกับดูแลการเงิน การรักษาความปลอดภัยโลกไซเบอร์ หน่วยงานโทรคมนาคม หน่วยงานความมั่นคงสาธารณะ หน่วยงานกำกับดูแลตลาด เป็นต้น
.
Part 3: เข้มงวดและเสริมความแกร่งกลไกการตรวจตราและแจ้งเตือนความเสี่ยงและการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล
.
(7) ทางจีนจะสร้างกลไกด้วยวิธีการต่างๆรวมถึงวิธีทางเทคโนโลยี มาจัดทำระบบตรวจตราการทำธุรกรรมทางการเงินสกุลดิจิทัลและที่เก็บข้อง โดยจะเป็นในลักษณะของกระจายอำนาจให้แต่ละมณฑลได้ตรวจสอบจัดการในพื้นที่ของตนเอง
.
(8) สร้างกลไกการแบ่งปันข้อมูลและการรับมือจัดการอย่างรวดเร็วระหว่างรัฐบาลท้องถิ่นระดับมณฑลและหน่วยงานกลางของจีน
.
Part 4: สร้างระบบป้องกันและกำจัดความเสี่ยงจากธุรกรรมเงินดิจิทัลทุกมิติ
.
(9) ออกกฎให้ สถาบันการเงิน ทั้งในรูปแบบธนาคารและไม่ใช่ธนาคาร (เช่น การให้บริการกระเป๋าเงินออนไลน์ จรก Alipay ) ต้องไม่ให้บริการสำหรับกิจกรรมทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินดิจิทัล ไม่ว่าจะเปิดบัญชี โอนเงิน การชำระเงิน
และควรรายงานเบาะแสเกี่ยวกับการละเมิดกฎหมายและข้อบังคับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเวลาที่เหมาะสมด้วย
.
(10) ออกกฎควบคุมและจัดการเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเงินดิจิทัล บนโลกออนไลน์
.
(11) ออกกฎควบคุมและจัดการโฆษณา ไม่ให้เกี่ยวข้องกับเงินดิจิทัล
กำหนดให้หน่วยงานทางการตลาดและโฆษณา รวมถึงการจดทะเบียนธุรกิจในจีน "ห้ามอนุญาต" การใช้คำที่เกี่ยวข้องกับเงินดิจิทัล ในการจดทะเบียน และการลงเนื้อหาโฆษณา คำที่เกี่ยวข้องเช่น สกุลเงินดิจิทัล สกุลเงินเสมือน สกุลเงินเข้ารหัส สินทรัพย์เข้ารหัส โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจีนมีอำนาจในการจัดการและตรวจสอบการจดทะเบียนและโฆษณาที่ผิดกฎหมายดังกล่าวโดยทันที
.
(12) กำหนดให้มีการปราบปรามในระดับ “รุนแรง” ต่อกิจกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับเงินดิจิทัลซึ่งถือว่า “ผิดกฎหมาย” หากเจอเบาะแส ให้จัดการและตรวจสอบทันที
.
(13) ปราบปรามอย่างรุนแรงต่อกิจกรรมทางอาญาที่เกี่ยวข้องกับเงินดิจิทัล โดยกระทรวงความมั่นคงสาธารณะ สามารถใช้หน่วยงานรักษาความปลอดภัยสาธารณะทั่วประเทศเพื่อดำเนินการปฏิบัติการพิเศษในการต่อต้านและปราบปรามอาชญากรรมทางการเงิน เช่น “ปฏิบัติการพิเศษเพื่อต่อต้านอาชญากรรมการฟอกเงิน” “ปฏิบัติการพิเศษต่อต้านการพนันข้ามพรมแดน” ซึ่งเกี่ยวข้องกับเงินดิจิทัล
.
(14) กำหนดให้ 3 สมาคมหลักด้านการเงินของจีน ได้แก่ สมาคมการเงินอินเทอร์เน็ตแห่งชาติจีน (National Internet Finance Association of China), สมาคมธนาคารจีน (China Banking Association) และสมาคมด้านการชำระเงินและหักบัญชีจีน (Payment and Clearing Association of China) ต้องดำเนินการประชาสัมพันธ์ สนับสนุน และกระตุ้นให้สมาชิกของสมาคมต้องทำตามกฎระเบียบ ห้ามดำเนินการเกี่ยวข้องกับเงินดิจิทัล ถ้าหากสมาชิกทำผิด ต้องลงโทษโดยและแจ้งเบาะแสไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
.
Part 5: กระตุ้นให้หน่วยงานและองค์กรในจีนที่เกี่ยวข้องกับนโยบายแบนเงินดิจิทัล ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ
.
(15) กระตุ้นให้ทุกหน่วยงานและองค์กรต้องให้ความสำคัญ “อย่างยิ่ง” ในการจัดการเกี่ยวกับธุรกรรมการเงินดิจิทัลซึ่งผิดกฎหมาย ที่สำคัญคือไม่ละเว้นความพยายามในการรักษาความสงบเรียบร้อยทางเศรษฐกิจและการเงินและความมั่นคงทางสังคม
.
(16) หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ต้องมีการประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ผ่านช่องทางต่างๆอย่างเต็มที่ เพื่อให้ผู้คนได้รับรู้เกี่ยวกับการผิดกฎหมายของเงินดิจิทัล
.
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #ธนาคารกลาง #จีน #ธนาคารประชาชนจีน #Cryptocurrency #คริปโต #สกุลเงินดิจิทัล #เงินดิจิทัล
同時也有17部Youtube影片,追蹤數超過19萬的網紅คุยการเงินกับที,也在其Youtube影片中提到,เรื่องใหญ่ของระบบการเงินโลกจะยกเลิกใช้ดอกเบี้ยอ้างอิงแบบเก่าที่ใช้ทั้งโลกคือ LIBOR จะเกิดอะไรขึ้น จะใช้ดอกเบี้ยอะไรแทน และ THOR ที่ธนาคารกลางประกาศเป็...
「ธนาคารกลาง」的推薦目錄:
- 關於ธนาคารกลาง 在 อ้ายจง Facebook 的最佳貼文
- 關於ธนาคารกลาง 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於ธนาคารกลาง 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於ธนาคารกลาง 在 คุยการเงินกับที Youtube 的最佳貼文
- 關於ธนาคารกลาง 在 คุยการเงินกับที Youtube 的最讚貼文
- 關於ธนาคารกลาง 在 คุยการเงินกับที Youtube 的最佳解答
- 關於ธนาคารกลาง 在 เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ธนาคารกลางยุโรปเดินหน้าสกัดเงินเฟ้อ l ... 的評價
- 關於ธนาคารกลาง 在 กู้เงินยุคใหม่... - ธนาคารแห่งประเทศไทย - Bank of Thailand 的評價
ธนาคารกลาง 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
มองยุคดิจิทัล หลังโควิด เพื่อคว้าโอกาสใหม่ ๆ ผ่านหนังสือ “The Great Remake สู่โลกใหม่” โดย ดร.สันติธาร เสถียรไทย Group Chief Economist ของ Sea Group
Sea x ลงทุนแมน
ถ้าเปรียบ “ภาคธุรกิจการเงิน” เป็นดั่งธุรกิจครอบครัว
ในตอนนี้ คงเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านธุรกิจครั้งสำคัญ จากพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูก เพื่อให้บริหารต่อ
ซึ่งลูก ๆ ในที่นี้ คือ 3 พี่น้อง ที่จะเข้ามาสร้างแรงกระเพื่อม ให้กับวงการการเงินนี้ ได้แก่
- พี่ใหญ่ ชื่อ การเงิน (Finance)
คนนี้เป็นคนที่ทำงานกับพ่อแม่นานที่สุด มากประสบการณ์
งานสำคัญของเขา คือการนำเงินออมของคนอื่น มาปล่อยสินเชื่อ หรือลงทุน
ด้วยความที่เคยทำผิดพลาด และผ่านวิกฤติมาหลายครั้ง ทำให้เขาเป็นคนที่มีความเข้มงวด (ในการปล่อยสินเชื่อ), ช่างระมัดระวัง ไม่ชอบความเสี่ยง และยึดหลักทำงานที่สืบทอดกันมา
- พี่รอง ชื่อ ดิจิทัล
คนนี้จะมีนิสัยต่างจากพี่ใหญ่อย่างสิ้นเชิง โดยเขามักมองข้ามกรอบธรรมเนียมประเพณี ที่เคยทำกันมา และชอบพลิกแพลงหาวิธีใหม่ ๆ ในการทำธุรกิจ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีกว่าของลูกค้า
สำหรับพี่ใหญ่แล้ว การจะลองทำอะไรใหม่ ต้องคิดแล้วคิดอีก ปรับแผนหลายรอบ
ส่วนพี่รอง มักลุยทันที ลองทำไปก่อนแบบเล็ก ๆ แล้วคุยกับลูกค้า หรือนำผลลัพธ์ที่ได้ มาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ไปเรื่อย ๆ (Agile)
ในช่วงที่ผ่านมา หลังจากเรียนจบและเข้ามาช่วยธุรกิจที่บ้านเต็มตัว
บทบาทของพี่รอง ก็มีมากขึ้นในธุรกิจ ซึ่งเขาได้สร้างผลงานไว้มากมาย
อาทิ ระบบอีเพย์เมนต์, การปล่อยสินเชื่อดิจิทัล (Digital Lending), การใช้ AI มาให้คำปรึกษาด้านการลงทุน
ซึ่งตลอดเส้นทางการทำธุรกิจ หลายครั้งความคิดของ พี่ใหญ่และพี่รอง จะขัดแย้งกัน
โดยพี่รอง มองว่าพี่ใหญ่ ไม่ยอมปรับตัว ส่วนพี่ใหญ่ ก็มองว่า น้องรอง ทำอะไรเร็วเกินไป..
- น้องเล็ก ชื่อ DLT (Distributed Ledger Technology)
โดยประเภทของ DLT ที่คนรู้จักกันมากที่สุดคือ เทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของคริปโทเคอร์เรนซี เช่น บิตคอยน์
น้องเล็กคนนี้ เป็นคนที่มีโอกาสปฏิวัติวงการนี้ ได้มากที่สุด
เขามีความสามารถพิเศษสูง และเข้ากับคนง่าย จึงมีหลายฝ่ายพยายามแย่งตัวไปทำงานด้วย
ไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายที่อยากตัดตัวกลางออกไปจากระบบการเงิน เช่น กลุ่มคนที่สร้างคริปโทเคอร์เรนซี และ Decentralized Finance (DeFi)
หรือกลุ่มคนที่เป็นตัวกลาง เช่น รัฐบาล, ธนาคารกลาง แต่เห็นศักยภาพของ DLT
จึงชวนน้องเล็กคนนี้ มาร่วมพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง ที่เรียกกันว่า Central Bank Digital Currency (CBDC) มาต่อกรกับคริปโทเคอร์เรนซี
มาถึงตรงนี้ สังเกตไหมว่า เกือบทุกสถาบันการเงินในปัจจุบัน
มักจะมี 3 พี่น้อง อยู่ร่วมด้วยช่วยกันบริหารธุรกิจ
ซึ่งก็แตกต่างกันไปตามบริษัท ว่าจะให้ใคร มีบทบาทในการเป็นผู้นำ เพื่อกำหนดแนวทางธุรกิจมากกว่ากัน
สำหรับระดับประเทศ ทิศทางของภาคการเงินหลังจากนี้ จะไปทางไหน
ก็ขึ้นอยู่กับพ่อแม่ หรือรัฐบาลและผู้กำหนดนโยบาย ของประเทศนั้น ๆ
ว่าจะรักษาสมดุลระหว่าง การป้องกันความเสี่ยง (พี่ใหญ่) และการสร้างนวัตกรรม (พี่รองและน้องเล็ก)
เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ที่ตอบโจทย์ยุคปัจจุบันและอนาคต
รู้หรือไม่ว่า นิทานเปรียบเปรย ธุรกิจภาคการเงิน ที่เล่าไปนี้
เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งของหนังสือที่ชื่อว่า “The Great Remake สู่โลกใหม่”
ในบท “3 พี่น้อง ผู้ปฏิวัติโลกการเงิน”
ซึ่งเขียนโดย ดร.สันติธาร เสถียรไทย นักเศรษฐศาสตร์ด้าน Digital Economy แนวหน้าของอาเซียน
ที่เคยเขียนหนังสือ “Futuration เปลี่ยนปัจจุบัน ทันอนาคต”
และยังดำรงตำแหน่ง Group Chief Economist และกรรมการผู้จัดการ ของ Sea Group
ผู้พัฒนาและให้บริการเกมออนไลน์ Garena, แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ Shopee และผู้ให้บริการดิจิทัลเพย์เมนต์และการเงินดิจิทัล SeaMoney
โดย ดร.สันติธาร ต้องการถ่ายทอดมุมมองต่อวิกฤติการณ์โควิด
ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมแทบทุกด้าน
ให้นักธุรกิจ, นักลงทุน, รัฐบาล, พนักงานบริษัท และประชาชนทั่วไป
สามารถเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงที่เชื่อมโยงกันเหล่านั้น
และประเมินถึงเศรษฐกิจและสังคมหลังจากนี้ ว่าจะเป็นอย่างไร
ทั้งหมดนี้ ก็เพื่อให้คนไทยทุกคนมองเห็นโอกาส
ท่ามกลางความไม่แน่นอนต่าง ๆ ที่ถูกเร่งด้วยเทคโนโลยี และพฤติกรรมของผู้คนที่เปลี่ยนไป
จนสามารถเตรียมตัวรับมือ, เปลี่ยนแปลงตัวเอง และสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ หรือการใช้ชีวิตได้ในระยะยาว
ผ่านผลงานหนังสือเล่มล่าสุด “The Great Remake สู่โลกใหม่”
ที่น่าสนใจคือ เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ ยังแฝงไปด้วยวิสัยทัศน์ของ Sea Group และผู้บริหาร
ที่ต้องการเห็นและพยายามผลักดันให้ประเทศไทย เป็น Digital Nation โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งผู้บริหารทั้งในประเทศไทยและบริษัทแม่ที่สิงคโปร์ให้ความสำคัญมาก
ต้อง ‘Remake’ คนเพื่ออนาคตอย่างไร ให้ตอบโจทย์ตลาดแรงงานยุคเศรษฐกิจดิจิทัล และการเน่าบูดของความรู้เดิมที่เร็วขึ้นจนน่าใจหาย การศึกษาในโลกอนาคตจะเป็นอย่างไร ทักษะอะไรที่จำเป็น และเราจะสร้างมันได้อย่างไร ล้วนเป็นคำถามที่เชิญชวนให้เข้าไปค้นหาคำตอบในหนังสือ “The Great Remake สู่โลกใหม่”
สามารถ Pre-Order หนังสือ The Great Remake สู่โลกใหม่
ได้ระหว่างวันนี้ - 7 มิถุนายน 2564
ในราคา 272 บาท (จากราคาเต็ม 320 บาท)
พร้อมจัดส่งฟรี! เริ่มจัดส่งวันที่ 15 มิถุนายน 2564
https://bit.ly/3fpQNO7 หรือ www.matichonbook.com
หรือสั่งที่ Shopee : https://bit.ly/3tZeEJZ (คิดค่าส่งตามจริง)
แล้วหนังสือ The Great Remake สู่โลกใหม่ จะเปิดโลกให้เราได้อย่างไร ?
The Great Remake ช่วยพัฒนาผู้อ่านให้เป็น “คนใหม่” ในยุคใหม่ได้
ด้วยเนื้อหาทั้งหมด 4 ตอน นั่นคือ
1) Rethink อ่านอนาคตที่เร่งเข้ามา
มี 8 บท เช่น “คลื่น 6D” ที่มาก่อนกำหนด เขย่าอนาคตโลกหลังโควิด, Digital Soft Power โอกาสของประเทศไทยในยุคโควิด
ตอนนี้จะมาชวนมอง และทำความเข้าใจภาพใหญ่ว่า
คลื่นเมกะเทรนด์ต่าง ๆ ที่ถูกเร่งให้มาเร็วและแรงขึ้นในโลกหลังโควิด
อาทิ การเข้าสู่โลกดิจิทัล, ความเหลื่อมล้ำในสังคม, การผงาดขึ้นของเอเชีย, ภาวะหนี้ท่วม, ความกังวลเรื่องสิ่งแวดล้อม, การเสื่อมถอยของโลกาภิวัตน์ นำมาซึ่งความเสี่ยงและโอกาสอะไรบ้าง
โดยเฉพาะหากคลื่นเมกะเทรนด์เหล่านี้ ซัดเข้ามาพร้อม ๆ กัน และผสานกันเป็นคลื่นใหญ่
มันยิ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ต่อเศรษฐกิจและสังคม แบบที่ซับซ้อนและเดาทางได้ยาก
2) Recovery รับมือวิกฤติแห่งยุค
มี 4 บท เช่น “บาซูก้า” (การคลัง) ที่ดีต้องมี 5T และ 3 กระบวนท่า นโยบายการเงินยุคโควิด
ตอนนี้จะอธิบายถึงกลยุทธ์ ที่รัฐบาล, ธุรกิจ และผู้คน สามารถใช้เพื่อรับมือกับวิกฤติโควิดในระยะสั้น กลาง และยาว ซึ่งต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนและตรงจุด
อาทิ “หลัก 3 อยู่ สู้วิกฤติโควิด” ระยะสั้น อยู่รอด ระยะกลาง อยู่เป็น ระยะยาว อยู่ยืน
รวมถึงเรื่องของนโยบายการคลัง และนโยบายการเงินแบบนอกตำรา ที่รัฐบาลต่าง ๆ เลือกใช้เพื่อต่อลมหายใจของเศรษฐกิจ
3) Reimagine คิดใหม่ยุทธศาสตร์อนาคต
มี 5 บท เช่น ดิสรัปชันคือเสียงที่เราไม่ได้ยิน, “สะพาน” และ “รั้ว” ที่ต้องสร้างในยุคดิจิทัล
แม้โควิดจะเป็นดั่งวิกฤติ แต่อีกมุมก็มาพร้อมกับโอกาส ที่ทำให้เราและธุรกิจ ต้องกลับมาทบทวนตัวเอง
“รีเซ็ต” กรอบความคิดแบบเก่า แล้วคิดใหม่
เพื่อกลับมาทำความรู้จักตัวเอง และค้นหาว่า อะไรคือ จุดมุ่งหมายของเรา ในโลกที่เปลี่ยนไป
และเราต้องปรับตัวอะไรบ้าง เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น
4) Remake สร้างคนเพื่ออนาคต
มี 9 บท เช่น ทักษะที่ขาดไม่ได้ในยุคหลังโควิด, Collective Intelligence มนุษย์เราพิเศษอย่างไรในยุค AI, บทบาทมหาวิทยาลัยในโลกที่อาจไม่ต้องมีมหาวิทยาลัย
ตอนนี้ จะเจาะลึกในเรื่องของ “คน” ที่เป็นส่วนสำคัญและมีค่าที่สุดในระบบเศรษฐกิจ
ว่าจะเตรียมคน พัฒนาคน และการศึกษาในยุคหลังโควิดอย่างไร
เพื่อสามารถทำให้กลายเป็นคนที่ทันโลก ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และตอบโจทย์โลกอนาคต
โดยคำว่า Remake ส่วนใหญ่ใช้ในวงการบันเทิง เช่น ละคร, ภาพยนตร์
หมายถึงการนำคอนเทนต์เก่า กลับมาทำใหม่
โดยอาจใช้โครงเรื่องเดิม เป็นจุดเริ่มต้น แต่ปรับเปลี่ยนเรื่องราวและตัวละคร ให้แตกต่างจากเดิม จนแทบจะเป็นละครหรือภาพยนตร์ คนละเรื่อง
หัวใจของการ “Remake คน” จึงเป็นการพยายามสร้างเวอร์ชันใหม่ของตัวเอง ให้ดีกว่าเดิม
แต่ไม่ใช่การ Reset หรือการเริ่มใหม่จากศูนย์ เริ่มจากเป็นกระดาษเปล่า
เพราะทุกคนย่อมมีประสบการณ์ และเรื่องราวชีวิตที่แตกต่าง
ทำให้เส้นทางการพัฒนาและปรับตัว ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
ก็คือ การ Remake เป็นการอัปเกรดตัวเอง ให้เป็นคนใหม่ ที่มีความคิดและทักษะเหมาะกับโลกอนาคต
โดยไม่ยึดติดกับกรอบเดิม ๆ หรือความสำเร็จในอดีต
แต่ในขณะเดียวกัน ก็เข้าใจและไม่ปฏิเสธ สิ่งที่ทำให้เราเป็นตัวตนของตัวเอง หรือเป็นเรา ในวันนี้..
ข้อปิดท้ายด้วยประโยคที่ทรงพลัง และชวนให้เราคิด ในหนังสือ “The Great Remake สู่โลกใหม่”
“เราเลือกที่จะทำอะไรในช่วงวิกฤติ แห่งประวัติศาสตร์ครั้งนี้
จะรอให้มันผ่านไป หรือจะใช้มันเพื่อสร้าง ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ
เราเลือกที่จะกลัวการเปลี่ยนแปลง หรือเราจะเชื่อมั่นในพลังของตัวเอง
เพราะสุดท้าย ประวัติศาสตร์ ย่อมถูกเขียนจากอนาคตที่ เราเลือกเดิน”
#TheGreatRemake #สู่โลกใหม่ #สันติธารเสถียรไทย
#SeaTH #Garena #Shopee #SeaMoney
ธนาคารกลาง 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
สรุปเรื่อง “Govcoins” คริปโทแห่งรัฐ เมื่อทุกคนฝากเงินตรง เข้าแบงก์ชาติ /โดย ลงทุนแมน
คริปโทเคอร์เรนซีกำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในวงการการเงินมากขึ้น
ทั้งจากการเป็นสินทรัพย์ทางเลือกและการเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยลดทั้งต้นทุนและเวลาสำหรับการทำธุรกรรม
ปัจจุบัน คริปโทเคอร์เรนซีที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกก็คือ บิตคอยน์ มีมูลค่า
มากถึง 34 ล้านล้านบาท ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าเป็นอันดับที่ 8 ของโลก
เมื่อไม่นานมานี้ นิตยสาร The Economist ได้ตีพิมพ์บทความ Govcoins: The digital currencies that will transform finance หรือ Govcoins สกุลเงินดิจิทัลที่จะปฏิวัติอุตสาหกรรมการเงิน
ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นแนวคิดเกี่ยวกับสกุลเงินที่ออกโดยรัฐบาล
เพื่อที่นำมาคานอำนาจของตนให้คงอยู่
แล้ว Govcoins คืออะไร ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Govcoins ย่อมาจาก Government หรือรัฐบาล
รวมกับ Coins หรือเหรียญ รวมกันเป็นคริปโทแห่งรัฐ
ซึ่งมีผู้ออกและกำกับดูแลโดยรัฐบาลหรือธนาคารกลางของแต่ละประเทศ
ที่ผ่านมา เราจะได้เห็นการเติบโตของ “Decentralised Finance” หรือ “DeFi”
นวัตกรรมทางการเงินแบบไร้ศูนย์ที่ถูกขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีบล็อกเชน
รวมถึงแพลตฟอร์มทางการเงินทั้งกระเป๋าเงินดิจิทัลและแอปพลิเคชัน
สำหรับรับชำระบนโลกนี้ เช่น PayPal, Ant Group, Grab และ Visa
มีฐานผู้ใช้งานรวมกันกว่า 3 พันล้านคน
คิดเป็นเกินกว่า 1 ใน 3 ของประชากรทั้งโลก
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ได้เข้ามาลดทอนอำนาจในการควบคุมเสถียรภาพ
ทางการเงินของขั้วอำนาจเดิม คือธนาคารกลางไปอย่างสิ้นเชิง
นั่นจึงเป็นที่มาของแนวคิดของ “Govcoins”
Govcoins จะเข้ามาเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ใช้แทนเหรียญและธนบัตรในแต่ละประเทศ
ซึ่งเราก็สามารถนำไปใช้จ่ายในการซื้อของได้ตามปกติ
แต่กลไกที่ต่างกันระหว่าง Govcoins กับระบบเงินตราในปัจจุบัน
ก็คือ แทนที่เราจะต้องมีบัญชีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์
Govcoins จะเป็นบัญชีเงินฝากของเรา ที่ทำกับ “ธนาคารกลาง”
โดยธนาคารกลางจะเป็นผู้เข้ามามีบทบาท
ในการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับรับชำระเงินรวมถึงรับฝากเงิน
ไม่ต่างอะไรไปจากแอปพลิเคชันการเงินที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน
เช่น แอปธนาคารหรือแอปกระเป๋าเงินดิจิทัล
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
คอนเซปต์ของ Govcoins เริ่มมีความเป็นไปได้มากขึ้น
เมื่อรัฐบาลและธนาคารกลางแต่ละประเทศต่างตื่นตัว
เพราะตนเองมีแนวโน้มจะเสียอำนาจควบคุมระบบเงินตราในประเทศ
เพราะตั้งแต่ในอดีต ธนาคารกลางจะคอยควบคุมเศรษฐกิจ
โดยการปรับใช้นโยบายการเงิน ผ่านเหล่าสถาบันการเงิน
เช่น การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยหรือการกำหนดอัตราเงินสด
ที่ต้องสำรองไว้สำหรับธนาคารพาณิชย์
ดังนั้นหากผู้คนย้ายการชำระ การฝากเงิน หรือการกู้ยืมเงินจากธนาคาร
ไปสู่โลกดิจิทัลที่ถูกดำเนินและควบคุมโดยเอกชนหลายราย
มันก็จะทำให้ธนาคารกลางจัดการกับวัฏจักรเศรษฐกิจได้ยากขึ้น
และโลกดิจิทัลที่ไม่มีการควบคุม ก็อาจเป็นช่องว่าง
ให้เกิดการฉ้อโกงรวมถึงการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
อีกเหตุผลหนึ่งที่จะสนับสนุนให้ Govcoins มีความเป็นไปได้มากขึ้น
ก็คือ การรักษาเสถียรภาพในระบบการเงิน
แม้ว่าเงินจะถือเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่กักเก็บความมั่งคั่งของเราเอาไว้ได้ดีที่สุด และยังเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
แต่เมื่อผู้ที่ถือกุมบัญชีของคนทั้งประเทศอยู่ยังคงเป็นธนาคารพาณิชย์ ที่ส่วนใหญ่เป็นบริษัทเอกชน
เวลาบริษัทเหล่านี้ประสบปัญหา เงินที่ควรจะกักเก็บความมั่งคั่งของประชาชนเอาไว้
อาจจะหายไปทั้งหมด เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นกับ Lehman Brothers ที่ได้ล้มละลาย
ในช่วงวิกฤติซับไพรม์ในอดีต
ในขณะเดียวกัน ค่าธุรกรรมทางการเงินภายใต้ Govcoins มีแนวโน้มที่จะถูกลง
เพราะธนาคารกลางไม่จำเป็นต้องสร้างกำไรเหมือนกับเหล่าสถาบันการเงินเอกชน
อีกหนึ่งความได้เปรียบก็คือธนาคารกลางและรัฐบาลร่วมมือกันได้ง่าย
สามารถร่วมมือกับรัฐบาลในการอัดฉีดเงินไปสู่ประชาชนได้ทันที
ซึ่งหาก Govcoins สำเร็จ มีการคาดการณ์กันว่า
จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมการเงินเฉลี่ย 11,000 บาทต่อคนต่อปี
และทำให้ผู้คนที่ยังไม่มีบัญชีเงินฝาก สามารถเข้าถึงได้อีกด้วยประมาณ 1.7 พันล้านคน
จากประโยชน์เหล่านี้ จึงทำให้ธนาคารกลางจาก 50 กว่าประเทศทั่วโลก
กำลังพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลเป็นของตัวเอง เช่น ประเทศจีนเปิดตัว e-yuan
โดยมีผู้ทดลองใช้แล้ว 500,000 คน
แม้แต่สหรัฐอเมริกาที่กำลังสร้าง e-dollar
หรืออังกฤษเองก็เปิดองค์กรสำหรับศึกษาเรื่องนี้โดยเฉพาะ
จากเรื่องราวทั้งหมดนี้ ทำให้เราสรุปได้ว่าแนวคิดของ Govcoins
เป็นหนึ่งในไอเดียที่มีความเป็นไปได้และสามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้ทันที
เพราะนับเป็นการนำความเชื่อมั่นของทั้งประเทศไปผูกเอาไว้กับสกุลเงิน
ทั้งนี้ Govcoins ก็อาจจะถูกนำไปใช้ในเรื่องของการควบคุมความประพฤติ
ของพลเมืองในประเทศในรูปแบบของค่าปรับอิเล็กทรอนิกส์ ได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อแนวคิดนี้ได้ลดทอนความสำคัญของ “ธนาคารพาณิชย์” ลง
มันก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาบางอย่างตามมาได้ในอนาคต เช่นกัน
เพราะหากว่าเรามีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมย้ายเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์ไปยังธนาคารกลางมากขึ้น นั่นหมายความว่าแหล่งของเงินทุนที่ธนาคารเหล่านี้จะนำไปปล่อยกู้ก็จะมีปริมาณที่ลดลง เช่นกัน
และเมื่อการปล่อยเงินกู้สู่ระบบเศรษฐกิจลดลง
การเติบโตของเศรษฐกิจทั้งระบบก็อาจจะได้รับผลกระทบไปด้วย
เท่ากับว่าธนาคารพาณิชย์อาจจะต้องหาแหล่งเงินทุนใหม่เพื่อนำมาปล่อยกู้ให้ได้ตามเดิม
ซึ่งก็เป็นไปได้ว่า แหล่งเงินทุนของธนาคารพาณิชย์ จะเปลี่ยนจากเงินฝากของลูกค้า ไปเป็น การกู้เงินจากธนาคารกลางเป็นหลัก
ก็น่าติดตามกันต่อไปว่าแนวคิดของ Govcoins จะเป็นอย่างไร
ธนาคารกลางจะช่วยรักษาขั้วอำนาจเดิมได้หรือไม่ แล้วธนาคารพาณิชย์จะได้รับผลกระทบขนาดไหน อีกไม่นาน เราก็น่าจะได้รู้ไปพร้อม ๆ กัน
ทั้งหมดนี้เป็นแนวคิดที่ นิตยสาร The Economist บอกถึงสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตกับหลายประเทศ แต่จริง ๆ แล้ว ในตอนนี้ กระเป๋ารับฝากเงินของรัฐ ได้เกิดในประเทศไทยแบบเนียน ๆ ไปเรียบร้อยแล้วแบบที่เราไม่รู้ตัว ลองหยิบสมาร์ตโฟน แล้วกดแอปนั้นขึ้นมา แอปนั้นมีชื่อว่า เป๋าตัง นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.economist.com/finance-and-economics/2021/05/06/will-going-digital-transform-the-yuans-status-at-home-and-abroad
-https://www.economist.com/special-report/2021/05/08/a-future-with-fewer-banks
ธนาคารกลาง 在 คุยการเงินกับที Youtube 的最佳貼文
เรื่องใหญ่ของระบบการเงินโลกจะยกเลิกใช้ดอกเบี้ยอ้างอิงแบบเก่าที่ใช้ทั้งโลกคือ LIBOR จะเกิดอะไรขึ้น จะใช้ดอกเบี้ยอะไรแทน และ THOR ที่ธนาคารกลางประกาศเป็นอย่างไร
มารู้จักดอกเบี้ย LIBOR กันว่าคืออะไร ทำไมถึงใช้อ้างอิงกันทั่วโลก เกิดอะไรขึ้นถึงต้องยกเลิกดอกเบี้ยตัวนี้ จะใช้ดอกเบี้ยอ้างอิงอะไรแทน ต่างจากเดิมแค่ไหน
LINK
line @ T MONEY คุยกับผมทางนี้นะครับ
https://lin.ee/pE0OEWs
fb: คุยการเงินกับที
https://www.facebook.com/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E
0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0
%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5-189662501941804/?modal=admin_todo_tour
podcast: คุยการเงินกับที
https://soundcloud.com/sorathorn-wattanamalachai
fb: กลุ่ม learn&earn ครับ
https://www.facebook.com/groups/319013512295700/
ธนาคารกลาง 在 คุยการเงินกับที Youtube 的最讚貼文
FED ไม่ได้ทำเพื่อทั้งโลกแต่ทำเพื่ออเมริกาประเทศเดียว ดังนั้นเราต้องศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนนโยบายของธนาคารกลาง ว่าจะเป็นผลดี หรือผลเสียอย่างไรบ้าง
โลกปัจจุบันทั้งด้านการค้า การลงทุน ระบบการเงิน เชื่อมต่อกันอย่างมาก การที่ประเทศนึงเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างๆย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อย่างอเมริกา และเงินดอลล่าร์ใช้กันทั่วโลก แค่การเปลี่ยนความสำคัญของนโยบายย่อมส่งผลกระทบเป็นวงกว้างอย่างคาดไม่ถึง
LINK
line @ T MONEY คุยกับผมทางนี้นะครับ
https://lin.ee/pE0OEWs
fb: คุยการเงินกับที
https://www.facebook.com/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E
0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0
%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5-189662501941804/?modal=admin_todo_tour
podcast: คุยการเงินกับที
https://soundcloud.com/sorathorn-wattanamalachai
fb: กลุ่ม learn&earn ครับ
https://www.facebook.com/groups/319013512295700/
ธนาคารกลาง 在 คุยการเงินกับที Youtube 的最佳解答
โลกแห่งทุนนิยมใครๆก็ต้องการเงิน ธุรกิจมีกระแสเงินสดเป็นเหมือนเลือหล่อเลี้ยงหัวใจ แต่ทำไมนักลงทุนระดับโลกกลับบอกว่าเงินคือขยะ
เราจะทำอย่างไรในยุคที่ดอกเบี้ยต่ำ แต่ความเสี่ยงสูงลงทุนอะไรก็ได้ผลตอบแทนที่ต่ำ ขณะที่คนส่วนใหญ่ตอนนี้ต้องการถือเงินสดเพื่อความปลอดภัย หรือแม้แต่รอจังหวะลงทุน มาฟังนัยยะแฝง และเหตุผลของ RAY DALIO กัน
LINK
line @ T MONEY คุยกับผมทางนี้นะครับ
https://lin.ee/pE0OEWs
fb: คุยการเงินกับที
https://www.facebook.com/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E
0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0
%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5-189662501941804/?modal=admin_todo_tour
podcast: คุยการเงินกับที
https://soundcloud.com/sorathorn-wattanamalachai
fb: กลุ่ม learn&earn ครับ
https://www.facebook.com/groups/319013512295700/
ธนาคารกลาง 在 กู้เงินยุคใหม่... - ธนาคารแห่งประเทศไทย - Bank of Thailand 的推薦與評價
กู้เงินยุคใหม่ ไม่ต้องไปธนาคาร️ แล้วเราจะกู้อย่างไรให้ปลอดภัย⁉ ก่อนอื่นมาทำความรู้จักสินเชื่อส่วนบุคคลยุคใหม่ "สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล (Digital Personal. ... <看更多>
ธนาคารกลาง 在 เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ธนาคารกลางยุโรปเดินหน้าสกัดเงินเฟ้อ l ... 的推薦與評價
เงินเฟ้อ #ดอกเบี้ย #ธนาคาร ธนาคารกลาง ยุโรป (ECB) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อีกร้อยละ 0.50 มีผลให้ 20 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร ... ... <看更多>