“10 ธันวา : ความรู้ความเข้าใจรัฐธรรมนูญ”
ประเทศไทยหลังจากการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจาก “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์” มาเป็น “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ”
รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" จากนั้น ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมา 20 ฉบับ ตามลำดับ ดังนี้
1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 (27 มิถุยายน - 10 ธันวาคม 2475)
2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475 (10 ธันวาคม 2475 - 9 พฤษภาคม 2489) ถูกยกเลิกเพราะล้าสมัย
3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (9 พฤษภาคม 2489 - 8 พฤศจิกายน 2490) ถูกยกเลิกโดยการรัฐประหาร
4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม (9 พฤศจิกายน 2490 - 23 มีนาคม 2492)
5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 (23 มีนาคม 2492 - 29 พฤศจิกายน 2494) ถูกยกเลิกการรัฐประหาร
6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 (8 มีนาคม 2495 - 20 ตุลาคม 2501) ถูกยกเลิกโดยการรัฐประหาร
7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 (28 มกราคม 2502 - 20 มิถุนายน 2511)
8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 (20 มิถุนายน 2511 - 17 พฤศจิกายน 2514) ถูกยกเลิกโดยการรัฐประหาร
9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 (25 ธันวาคม 2515 - 7 ตุลาคม 2517)
10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (7 ตุลาคม 2517 - 6 ตุลาคม 2519) ถูกยกเลิกโดยการรัฐประหาร
11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 (22 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520)
12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 (9 พฤศจิกายน 2520 - 22 ธันวาคม 2521)
13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (22 ธันวาคม 2521 - 23 กุมภาพันธ์ 2534) ถูกยกเลิกการรัฐประหาร
14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 (1 มีนาคม - 9 ตุลาคม 2534)
15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (9 ธันวาคม 2534 - 11 ตุลาคม 2540) ถูกยกเลิกหลังตรารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับประชาชน (11 ตุลาคม 2540 - 19 กันยายน 2549) ถูกยกเลิกโดยการรัฐประหาร
17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (1 ตุลาคม 2549 - 24 สิงหาคม 2550)
18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (24 สิงหาคม 2550 - 22 พฤษภาคม 2557) ถูกยกเลิกโดยการรัฐประหาร
19. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 (22 กรกฎาคม 2557 - 6 เมษายน 2560)
20. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (6 เมษายน 2560 - ปัจจุบัน)
ความรู้ความเข้าใจในตัวรัฐธรรมนูญ
ในอดีต มีประชาชนในสมัยพ่อเฒ่า เมื่อ 87 ปี ที่แล้ว พ่อเฒ่าเล่าว่า ประชาชนในสมัยนั้นเข้าใจว่า วันที่ 10 ธันวา ที่มีการเฉลิมฉลองวันรัฐธรรมนูญนั้น คือ การเลี้ยงฉลองวันเกิด ลูกชาย พระยาพหลพยุหเสนา ที่ ชื่อ รัฐธรรมนูญ แสดงให้เห็นถึงการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ให้มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และให้มีรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 2 ฉบับถาวร ประกาศใช้ วันที่ 10 ธันวาคม 2475 ถือ เป็น “วันรัฐธรรมนูญ” ของประเทศไทย นั้นไม่มีความเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตยเลย
และจนมาถึงวันนี้ปัจจุบัน 87 ปี ความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยก็ยังชนบท (ล้าหลัง) อยู่ “รัฐบาลที่เปลี่ยนเสื้อผ่านทางรัฐธรรมนูญ 2560 จาก คสช. มาเป็นรัฐบาลพลเรือน น่าจะรู้ดีครับ”
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過152萬的網紅สองยาม,也在其Youtube影片中提到,ขอบคุณทุกๆท่านที่รับชมครับ ฝากกด Like & Subscribe เพื่อเป็นกำลังใจการทำคลิปด้วยนะครับ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ อยากให้ "สองยาม" เล่าเรื่องอะไร แ...
「รัฐธรรมนูญ 2475」的推薦目錄:
- 關於รัฐธรรมนูญ 2475 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於รัฐธรรมนูญ 2475 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於รัฐธรรมนูญ 2475 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於รัฐธรรมนูญ 2475 在 สองยาม Youtube 的最佳解答
- 關於รัฐธรรมนูญ 2475 在 รัฐธรรมนูญฉบับ 2475 เป็นอย่างไร? ทำไมใครๆ ถึงบอกว่าดีที่สุด ... 的評價
- 關於รัฐธรรมนูญ 2475 在 27 มิถุนายน 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับแรก . ... 的評價
รัฐธรรมนูญ 2475 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
“10 ธันวา : ความรู้ความเข้าใจรัฐธรรมนูญ”
ประเทศไทยหลังจากการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจาก “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์” มาเป็น “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ”
รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" จากนั้น ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมา 20 ฉบับ ตามลำดับ ดังนี้
1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 (27 มิถุยายน - 10 ธันวาคม 2475)
2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475 (10 ธันวาคม 2475 - 9 พฤษภาคม 2489) ถูกยกเลิกเพราะล้าสมัย
3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (9 พฤษภาคม 2489 - 8 พฤศจิกายน 2490) ถูกยกเลิกโดยการรัฐประหาร
4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม (9 พฤศจิกายน 2490 - 23 มีนาคม 2492)
5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 (23 มีนาคม 2492 - 29 พฤศจิกายน 2494) ถูกยกเลิกการรัฐประหาร
6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 (8 มีนาคม 2495 - 20 ตุลาคม 2501) ถูกยกเลิกโดยการรัฐประหาร
7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 (28 มกราคม 2502 - 20 มิถุนายน 2511)
8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 (20 มิถุนายน 2511 - 17 พฤศจิกายน 2514) ถูกยกเลิกโดยการรัฐประหาร
9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 (25 ธันวาคม 2515 - 7 ตุลาคม 2517)
10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (7 ตุลาคม 2517 - 6 ตุลาคม 2519) ถูกยกเลิกโดยการรัฐประหาร
11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 (22 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520)
12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 (9 พฤศจิกายน 2520 - 22 ธันวาคม 2521)
13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (22 ธันวาคม 2521 - 23 กุมภาพันธ์ 2534) ถูกยกเลิกการรัฐประหาร
14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 (1 มีนาคม - 9 ตุลาคม 2534)
15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (9 ธันวาคม 2534 - 11 ตุลาคม 2540) ถูกยกเลิกหลังตรารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับประชาชน (11 ตุลาคม 2540 - 19 กันยายน 2549) ถูกยกเลิกโดยการรัฐประหาร
17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (1 ตุลาคม 2549 - 24 สิงหาคม 2550)
18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (24 สิงหาคม 2550 - 22 พฤษภาคม 2557) ถูกยกเลิกโดยการรัฐประหาร
19. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 (22 กรกฎาคม 2557 - 6 เมษายน 2560)
20. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (6 เมษายน 2560 - ปัจจุบัน)
ความรู้ความเข้าใจในตัวรัฐธรรมนูญ
ในอดีต มีประชาชนในสมัยพ่อเฒ่า เมื่อ 87 ปี ที่แล้ว พ่อเฒ่าเล่าว่า ประชาชนในสมัยนั้นเข้าใจว่า วันที่ 10 ธันวา ที่มีการเฉลิมฉลองวันรัฐธรรมนูญนั้น คือ การเลี้ยงฉลองวันเกิด ลูกชาย พระยาพหลพยุหเสนา ที่ ชื่อ รัฐธรรมนูญ แสดงให้เห็นถึงการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ให้มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และให้มีรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 2 ฉบับถาวร ประกาศใช้ วันที่ 10 ธันวาคม 2475 ถือ เป็น “วันรัฐธรรมนูญ” ของประเทศไทย นั้นไม่มีความเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตยเลย และจนมาถึงวันนี้ปัจจุบัน 87 ปี ความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยก็ยังชนบท (ล้าหลัง) อยู่
“รัฐบาลที่เปลี่ยนเสื้อผ่านทางรัฐธรรมนูญ 2560 จาก คสช. มาเป็นรัฐบาลพลเรือน น่าจะรู้ดีครับ”
รัฐธรรมนูญ 2475 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
“โครงสร้างและที่มาของฝ่ายนิติบัญญัติของไทย อดีต-ปัจจุบัน”
เมื่อพิจารณาศึกษาถึง “โครงสร้างและที่มาของฝ่ายนิติบัญญัติ” ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน 20 ฉบับ ได้กำหนดโครงสร้างและที่มาของฝ่ายนิติบัญญัติที่มีทั้งสภาเดียวและสภาคู่ มีข้อพิจารณาอยู่ 2 ประการ ดังนี้
1. โครงสร้างของฝ่ายนิติบัญญัติที่มีทั้งสภาเดียวและสภาคู่ในรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ มีข้อพิจารณา ดังนี้
1) รัฐธรรมนูญที่กำหนดให้มีสภาเดียว ได้แก่ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม ชั่วคราว พุทธศักราช 2475 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ธรรมนูญการปกครอง พุทธศักราช 2515 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
2) รัฐธรรมนูญที่กำหนดให้มี 2 สภา ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2490 (ฉบับชั่วคราว) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
2. ที่มาของฝ่ายนิติบัญญัติที่มีสมาชิกรัฐสภาในรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับมีข้อพิจารณาได้ ดังนี้
1) สภาเดียว มีสมาชิกประเภทเดียว แต่งตั้งทั้งหมด ได้แก่ รัฐสภาตาม ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งกำหนดรูปรัฐสภาเป็นแบบสภาเดียวประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากแต่งตั้งทั้งหมด โดยรัฐธรรมนูญกำหนดให้ผู้นำกลุ่มบุคคลผู้กุมอำนาจในขณะนั้นซึ่งอาจเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ รัฐประหารหรือนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรายชื่อบุคคลขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา
ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร แต่ละฉบับอาจเรียกองค์กรนิติบัญญัติแตกต่างกัน เช่น ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 เรียกว่า “ สภาผู้แทนราษฎร” ธรรมนูญกการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 เรียกว่า “สภาร่างรัฐธรรมนูญ” ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 และธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช2520 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2549 (ฉบับชั่วคราว) เรียกว่า “สภานิติบัญญัติแห่งชาติ” ส่วนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 เรียกว่า “สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน” ซึ่งไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม ก็ต้องถือว่าเป็นรัฐสภาทั้งสิ้น เพราะทำหน้าที่นิติบัญญัติเช่นเดียวกัน
2) สภาเดียว มีสมาชิก 2 ประเภท เลือกตั้งและแต่งตั้ง รูปรัฐสภาแบบนี้ประกอบด้วยสมาชิกสองประเภท ประเภทหนึ่งมาจากการเลือกตั้งและอีกประเภทหนึ่งมาจากการแต่งตั้ง สมาชิกทั้งสองประเภทมีสิทธิและหน้าที่เท่ากันทุกประการ สมาชิกประเภทแต่งตั้งหรือ ส.ส.ประเภทสองได้รับการเสนอชื่อแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี ได้แก่ รัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 เป็นต้น
3) 2 สภา สภาหนึ่งมาจากการเลือกตั้งอีกสภาหนึ่งมาจากการแต่งตั้ง สภาที่มีสมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนโดยตรงเรียกว่า “สภาผู้แทนราษฎร” ส่วนสภาที่มิสมาชิกมาจากการแต่งตั้งเรียกว่า “วุฒิสภา” ยกเว้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 เรียกว่า “พฤฒิสภา” แต่ละสภาจะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนด บางฉบับกำหนดให้มีอำนาจเท่ากันบางฉบับให้สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจมากกว่ารัฐสภา แบบนี้ได้แก่ รัฐสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 รัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 รัฐธรรมนูญธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 รัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญแห่งราอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 และ รัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญแห่งราอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในระยะ 5 ปีแรก เป็นต้น
4) 2 สภา สภาหนึ่งมาจากการเลือกตั้งอีกสภาหนึ่งมาจากการแต่งตั้งและเลือกตั้ง สภาที่มีสมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนโดยตรงเรียกว่า “สภาผู้แทนราษฎร” ส่วนสภาที่มิสมาชิกมาจากการแต่งตั้งและเลือกตั้ง เรียกว่า “วุฒิสภา” ซึ่งก็ได้รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550
5) 2 สภา สมาชิกมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กำหนดให้ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
(อ้างใน สิทธิกร ศักดิ์แสง “วิเคราะห์เปรียบเทียบโครงสร้างและการเข้าสู่ตำแหน่งของสมาชิกรัฐสภาตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญในการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย” วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 กรกฎาคม-ธันวาคม 2557 หน้า 130-140)
รัฐธรรมนูญ 2475 在 สองยาม Youtube 的最佳解答
ขอบคุณทุกๆท่านที่รับชมครับ ฝากกด Like & Subscribe เพื่อเป็นกำลังใจการทำคลิปด้วยนะครับ
▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬
อยากให้ "สองยาม" เล่าเรื่องอะไร แนะนำได้ที่ link นี้ครับ
http://goo.gl/forms/S83vOA5vFtjXDuQn2
▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬
เรื่องเล่าของ อ.ไพฑูรย์ พันธุ์เชื้องาม https://www.youtube.com/playlist?list=PLNAnCJkO_8YDv0gvPj6AFZpi3S2oQ24WV
ติดตามสองยามได้ที่
http://www.facebook.com/Songyams
https://www.youtube.com/channel/UCQbVt5dy_MAsMDbGpI5y6Mg
songyams@gmail.com
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/M3gQnHmAIbM/hqdefault.jpg?sqp=-oaymwEbCKgBEF5IVfKriqkDDggBFQAAiEIYAXABwAEG&rs=AOn4CLBv3LQbBS0IQyMGSLSOmVV7r7i8Qg)
รัฐธรรมนูญ 2475 在 27 มิถุนายน 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับแรก . ... 的推薦與評價
2475 จึงมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ลงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 . อ้างอิง: ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, หนังสือชุดประวัติศาสตร์ร่วมสมัย 3 ประวัติการเมืองไทย พ.ศ. ... <看更多>
รัฐธรรมนูญ 2475 在 รัฐธรรมนูญฉบับ 2475 เป็นอย่างไร? ทำไมใครๆ ถึงบอกว่าดีที่สุด ... 的推薦與評價
PDF รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/ 2475 /A/529.PDF คณะราษฎรและปฏิวัติสยาม 2475 ... ... <看更多>