ทำไมมีคนบราซิล เชื้อสายญี่ปุ่น เป็นจำนวนมาก / โดย ลงทุนแมน
426,000 คน คือจำนวนประชากรญี่ปุ่น ที่ลดลงไปในปี 2020 ที่ผ่านมา
และรู้หรือไม่ว่า ประชากรญี่ปุ่นลดลง 2,600,000 คนแล้ว จากจุดสูงสุดในปี 2009
ทำให้ล่าสุดประชากรญี่ปุ่นเหลืออยู่ 126 ล้านคน
ด้วยอัตราการเกิดที่ลดลง และสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
องค์กร OECD ได้คาดการณ์ว่า ภายในปี 2030
ประชากรญี่ปุ่นจะลดลง จนเหลือเพียง 121 ล้านคน
ซึ่งเรื่องนี้ จะนำมาซึ่งปัญหาการขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก
หนึ่งในทางออกที่น่าสนใจและเป็นไปได้ ก็คือ การเปิดรับแรงงานผู้อพยพจากต่างประเทศ
ซึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลญี่ปุ่นพยายามแก้ปัญหาดังกล่าว
ทั้งการให้วีซ่าระยะ 5 ปี แก่แรงงานทั่วไป
และการอนุญาตให้อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นได้อย่างถาวรสำหรับแรงงานทักษะสูง
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
สั่งซื้อได้ที่ (รับส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
ในปี 2019 ญี่ปุ่น มีแรงงานต่างชาติอยู่ประมาณ 1.7 ล้านคน ซึ่งประกอบไปด้วย
1. ชาวจีน 418,327 คน
2. ชาวเวียดนาม 401,326 คน
3. ชาวฟิลิปปินส์ 179,685 คน
4. ชาวบราซิล 135,455 คน
อันดับ 1-3 เป็นแรงงานจากประเทศในทวีปเอเชียเหมือนกัน และตั้งอยู่ไม่ไกลจากญี่ปุ่นมากนัก
แต่สำหรับบราซิล ประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ คนละซีกโลกกับญี่ปุ่น
ทำไมถึงมีชาวบราซิลจำนวนมาก มาเป็นแรงงานในประเทศญี่ปุ่น ?
ญี่ปุ่น กับ บราซิล
2 ประเทศนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ในปัจจุบัน ทุกคนทราบกันดีว่า ญี่ปุ่นเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 3 ของโลก
ถึงแม้จะเจอปัญหาเศรษฐกิจมาตลอด 30 ปี นับตั้งแต่ทศวรรษ 1990s
แต่ญี่ปุ่นก็ยังเป็นที่ตั้งของบริษัทระดับโลกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น บริษัทในอุตสาหกรรมยานยนต์
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าแบรนด์ชั้นนำของโลก
แต่หากย้อนกลับไปในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ราวปี ค.ศ. 1900
ประชากรส่วนใหญ่ของญี่ปุ่นยังเป็นเกษตรกรยากจน
และเวลานั้นญี่ปุ่นมีประชากรมากถึง 44 ล้านคน
ด้วยความที่ญี่ปุ่นเป็นหมู่เกาะที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีพื้นที่ทำการเกษตรน้อย
การขาดแคลนอาหารจึงเป็นแรงผลักดันที่ทำให้ชาวญี่ปุ่นบางส่วนเริ่มอพยพไปทำมาหากินยังต่างแดน
โดยจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และฮาวาย
ซึ่งการอพยพในครั้งนั้น ก็ได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลญี่ปุ่น
เพราะนอกจากจะช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนอาหารภายในประเทศแล้ว แรงงานยังสามารถส่งเงินกลับมาพัฒนาความเป็นอยู่ของผู้คนในญี่ปุ่นได้ด้วย
จึงเป็นเหตุให้รัฐบาลญี่ปุ่น มีการทำสนธิสัญญากับราชอาณาจักรฮาวาย เพื่อส่งแรงงานไปทำงานในไร่อ้อยและไร่สับปะรด
จุดเปลี่ยนสำคัญคือหลังสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น (Russo-Japanese War) ที่จบลงในปี ค.ศ. 1905
ทำให้ทหารที่ว่างจากภาวะสงครามบางส่วน ต้องกลับมาแย่งงานประชาชนในญี่ปุ่น
จนทำให้ภาวะว่างงานในญี่ปุ่นยิ่งพุ่งสูงขึ้น
เมื่อบวกกับ การสิ้นสุดลงของสนธิสัญญาส่งแรงงานให้กับฮาวาย ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19
ประกอบกับการจำกัดผู้อพยพเชื้อสายเอเชีย ในสหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย
ก็ทำให้จุดมุ่งหมายของแรงงานอพยพชาวญี่ปุ่น ต้องเริ่มเบนเข็มลงใต้
เปลี่ยนจากฮาวาย ไปยังทวีปกว้างใหญ่ ที่มีที่ดินทำการเกษตรมหาศาลอย่างอเมริกาใต้
โดยประเทศที่น่าสนใจที่สุด ก็คือ “บราซิล”
ในตอนนั้น เศรษฐกิจของบราซิล กำลังรุ่งเรือง
ด้วยการเติบโตของการส่งออกกาแฟ
กาแฟถูกนำเข้ามาปลูกในบราซิลตั้งแต่ศตวรรษที่ 18
เมื่อกาแฟเริ่มเป็นที่นิยมในยุโรป จึงเกิดการขยายตัวของการปลูกกาแฟในบราซิลเพื่อส่งออกไปยังยุโรป ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19
โดยในช่วงแรกๆ บราซิลเน้นการใช้แรงงานทาสจากแอฟริกา
แต่เมื่อการค้าทาสสิ้นสุดลง จึงมีการอพยพของแรงงานจากยุโรปเข้าไปบราซิล โดยเฉพาะอิตาลี
แต่ด้วยชีวิตความเป็นอยู่ที่ย่ำแย่ และการใช้แรงงานหนัก
ทำให้ชาวอิตาลีอพยพมาทำงานในบราซิลน้อยลงเรื่อยๆ
ในปี ค.ศ. 1900 บราซิลที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่กว่าญี่ปุ่น 25 เท่า
และมีความต้องการขยายพื้นที่ปลูกกาแฟอย่างมหาศาล
แต่ในตอนนั้นบราซิล มีประชากรเพียง 17 ล้านคน ซึ่งน้อยกว่าญี่ปุ่นเกือบ 3 เท่า
บราซิลจึงกลายเป็นจุดหมายใหม่ของชาวญี่ปุ่นผู้ไม่เกี่ยงงาน และหนักเอาเบาสู้
ในปี ค.ศ. 1908 จึงมีการทำสัญญาส่งแรงงานอย่างเป็นทางการให้กับบราซิล
และชาวญี่ปุ่นกลุ่มแรกเกือบ 1,000 คน ก็ออกเดินทางจากเมืองโกเบ มายัง เมืองเซาเปาลู
หลังจากนั้น ก็มีชาวญี่ปุ่นอพยพมาสู่บราซิลมากขึ้นเรื่อยๆ
จนสูงสุดเกือบ 100,000 คน ในช่วงทศวรรษ 1930s
ต่อมา ชาวญี่ปุ่นกลุ่มนี้ ก็เก็บหอมรอมริบ จากแรงงานในไร่กาแฟ เติบโตมาเป็นเจ้าของไร่
บางส่วนก็ออกมาเป็นพ่อค้า นักธุรกิจ
โดยชาวญี่ปุ่นในบราซิลส่วนใหญ่ จะอาศัยอยู่ในเขตเมืองใหญ่ และเมืองศูนย์กลางธุรกิจทางตอนใต้ของบราซิล เช่น เซาเปาลู รีโอเดจาเนโร และซานโตส
จนในปัจจุบัน ชาวญี่ปุ่นที่เป็นลูกหลานของผู้อพยพ มีจำนวนประมาณ 2,000,000 คน
ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 1% ของประชากรบราซิลทั้งประเทศ
และถือเป็นชุมชนชาวญี่ปุ่นที่ใหญ่ที่สุดในต่างประเทศอีกด้วย
ซึ่งทั้งหมดนี้ ก็คือคำตอบของคำถามที่ว่า ทำไม ถึงมีชาวญี่ปุ่นในบราซิลเป็นจำนวนมาก นั่นเอง..
แต่จุดเปลี่ยนสำคัญของชะตากรรมทั้ง 2 ประเทศ คือหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
บราซิลที่เคยรุ่งเรืองด้วยการส่งออกกาแฟ สินค้าเกษตร และแร่ธาตุต่างๆ ต้องพบเจอกับความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ จนเกิดเป็นวิกฤติเศรษฐกิจหลายครั้ง
ตรงกันข้ามกับญี่ปุ่น ที่แม้จะจบสงครามลงด้วยความพ่ายแพ้และสูญเสีย
แต่ก็พลิกฟื้นขึ้นมาจนกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก
เมื่อชะตากรรมพลิกผัน คราวนี้กลับกลายเป็นชาวบราซิล ที่อพยพเข้ามาทำงานในญี่ปุ่นแทน..
ชาวบราซิลเชื้อสายญี่ปุ่นบางส่วน อพยพกลับมาทำงานยังถิ่นฐานของบรรพบุรุษ
โดยเฉพาะหลังช่วงทศวรรษ 1990s ที่วัยแรงงานของญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะขาลง
แต่ปัญหาของชาวบราซิลที่มีเชื้อสายญี่ปุ่นก็คือ ถึงแม้จะมีรูปร่างหน้าตาเหมือนกับชาวญี่ปุ่น
แต่การเติบโตในประเทศที่มีวัฒนธรรมแตกต่าง ทั้งภาษา ที่ชาวบราซิลเชื้อสายญี่ปุ่นส่วนใหญ่ใช้ภาษาโปรตุเกส ไม่สามารถสื่อสารภาษาญี่ปุ่นได้ ทำให้ชาวบราซิลเชื้อสายญี่ปุ่นเหล่านี้ประสบปัญหาในการทำงานที่ต้องใช้ทักษะที่สูงขึ้น
ในขณะที่สังคมญี่ปุ่นที่มีความเป็นสังคมเชื้อชาติเดียวมาอย่างยาวนาน มีระบบความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและแบ่งแยกชัดเจนระหว่างคนญี่ปุ่นด้วยกันกับคนต่างชาติ
ก็มีความกังวลว่าแรงงานต่างชาติจะนำปัญหามาให้ ทั้งอาชญากรรม ความขัดแย้งทางศาสนา และวัฒนธรรม
แรงงานอพยพเหล่านี้จึงถูกกดดัน ทั้งการเอารัดเอาเปรียบด้านค่าแรง และการยอมรับในสังคม ในขณะที่ลูกหลานของแรงงานก็ถูกข่มเหงรังแกในชั้นเรียน
แต่อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นก็ยังคงต้องการแรงงานจากต่างชาติ เพื่อเข้ามาเติมเต็มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะแรงงานในอุตสาหกรรมการผลิต และงานบริการตามร้านค้าต่างๆ
ก็เป็นที่น่าติดตามว่า ชาวบราซิลเชื้อสายญี่ปุ่น จะช่วยเติมเต็มความต้องการแรงงานได้หรือไม่?
และจะมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงสังคมของญี่ปุ่นในอนาคตอย่างไรบ้าง
และถ้าหันกลับมามองที่ประเทศไทยของเรา
ในปี 2019 ประเทศไทยเป็นประเทศที่พึ่งพาแรงงานต่างชาติถึง 3 ล้านคน
และเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ประชากรวัยแรงงานจะลดลงเรื่อยๆ ในอนาคต
ก็คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า แรงงานต่างชาติในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
และแรงงานเหล่านั้น ก็มีส่วนสำคัญ
ในการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน..
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
สั่งซื้อได้ที่ (รับส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.macrotrends.net/countries/JPN/japan/population-growth-rate
-https://www.nippon.com/en/japan-data/h00676/record-1-66-million-foreign-workers-in-japan-in-2019.html
-https://immigrationtounitedstates.org/599-immigration-convention-of-1886.html
-https://tdri.or.th/2020/02/japan-labor-issues/
同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過19萬的網紅คุยการเงินกับที,也在其Youtube影片中提到,สายพานการผลิตสินค้าไม่ใช่แค่วัคถุ ความรู้ต่างหากที่ทำให้เราผลิตสินค้าได้ สิ่งที่น่าสนใจมากๆอีกอย่างของสงครามการค้า คือ สายพานการผลิตโลก การเปลี่ยนแปล...
「เศรษฐกิจโลก คือ」的推薦目錄:
- 關於เศรษฐกิจโลก คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於เศรษฐกิจโลก คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於เศรษฐกิจโลก คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於เศรษฐกิจโลก คือ 在 คุยการเงินกับที Youtube 的精選貼文
- 關於เศรษฐกิจโลก คือ 在 วรัทภพ รชตนามวงษ์ WARATTAPOB Youtube 的最佳解答
- 關於เศรษฐกิจโลก คือ 在 เศรษฐกิจโลก ในยุค DeGlobalization ใครจะอยู่ ใครจะไป ? - YouTube 的評價
เศรษฐกิจโลก คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
ทำไม สหรัฐอเมริกา จึงเป็นประเทศแห่ง เทคโนโลยีทางการแพทย์ ? / โดย ลงทุนแมน
ปี 2020 เรามีวัคซีนป้องกันโรคระบาดที่ใช้เวลาคิดค้นรวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์
ด้วยเทคโนโลยี mRNA ที่ไม่เคยใช้กับวัคซีนที่วางจำหน่ายตัวไหนมาก่อน
และด้วยเทคโนโลยีเดียวกันนี้เอง กำลังได้รับการพัฒนาให้สามารถนำไปรักษาโรคเรื้อรังอื่นๆ โดยเฉพาะโรคมะเร็ง และโรคหัวใจ
เวลานี้ ความหวังแห่งอนาคตถูกจับจ้องไปยังสิ่งที่เรียกว่า “ไบโอเทคโนโลยี”..
ไบโอเทคโนโลยี หรือ เทคโนโลยีชีวภาพ
คือ เทคโนโลยีที่นำเอาสิ่งมีชีวิต, ชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิต, ผลผลิตของสิ่งมีชีวิต มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร อาหาร เครื่องสำอาง
โดยเฉพาะในทางการแพทย์ ไบโอเทคโนโลยีคือพื้นฐานของการผลิตวัคซีนป้องกันโรค
การใช้ฮอร์โมนในการรักษาโรคเรื้อรัง ไปจนถึงการใช้ยีนในการรักษาโรคทางพันธุกรรม
และสำหรับประเทศที่เป็นผู้นำในด้านนี้ ไม่มีประเทศไหนที่จะโดดเด่นไปกว่า
“สหรัฐอเมริกา” อีกแล้ว
จากประเทศที่เพิ่งก่อตั้งในช่วงปลายศตวรรษที่ 18
สหรัฐอเมริกา ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำโลกแห่งเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้อย่างไร?
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สหรัฐอเมริกา จึงเป็นประเทศแห่ง เทคโนโลยีทางการแพทย์ ?
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
สั่งซื้อได้ที่ (รับส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
คนทั้งโลกรู้ว่าศูนย์กลางของบริษัทเทคโนโลยีในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่ซิลิคอนแวลลีย์
ศูนย์กลางธุรกรรมการเงิน ตั้งอยู่ที่นครนิวยอร์ก
ส่วนศูนย์กลางอุตสาหกรรมภาพยนตร์ และสื่อบันเทิง ตั้งอยู่ที่ลอสแอนเจลิส
แล้วศูนย์กลางของอุตสาหกรรมไบโอเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่ไหน ?
ถึงแม้สหรัฐอเมริกาจะมีบริษัทยา และบริษัทไบโอเทคตั้งอยู่ในเมืองน้อยใหญ่กระจายทั่วประเทศ แต่สำหรับศูนย์กลางที่น่าสนใจที่สุด เวลานี้คงไม่มีที่ไหนจะโดดเด่นไปกว่า
“รัฐแมสซาชูเซตส์” ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ อีกแล้ว
หลายคนอาจจะไม่คุ้นเคยกับชื่อรัฐนี้ แต่หากบอกว่ารัฐแห่งนี้เป็นที่ตั้งของเมืองบอสตัน
และเคมบริดจ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานศึกษาชั้นนำของโลก อย่าง MIT และ Harvard University
ก็คงพอจะเข้าใจได้ไม่ยาก
แต่ก่อนที่จะกล่าวถึงรัฐแมสซาชูเซตส์ ลงทุนแมนขอพาทุกท่านย้อนไปยังจุดเริ่มต้น
ของอุตสาหกรรมยาในสหรัฐอเมริกากันสักนิด
ในปลายศตวรรษที่ 19 สหรัฐอเมริกาเริ่มปฏิวัติอุตสาหกรรมช้ากว่าหลายประเทศในยุโรป แต่สามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในโลกอุตสาหกรรมได้ ด้วยคุณสมบัติสำคัญ คือ การผลิตในปริมาณมาก หรือ Mass Production
ความเชี่ยวชาญในด้านการผลิต ค่อยๆ ถูกต่อยอดมาสู่อุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์
แต่สำหรับอุตสาหกรรมยา สหรัฐอเมริกายังตามหลังประเทศในยุโรปพอสมควร
โดยเฉพาะอังกฤษ และเยอรมนี
จุดเปลี่ยนสำคัญก็คือ ปี ค.ศ. 1941 ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาของสงครามโลกครั้งที่สอง
ในขณะที่ประเทศในยุโรปต่างบอบช้ำจากสงคราม สหรัฐอเมริกาที่อุตสาหกรรมก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ กลับแทบไม่ได้รับความเสียหาย ทั้งยังได้ประโยชน์จากการขายสินค้าให้กับประเทศในยุโรป ที่มัวแต่วุ่นวายอยู่กับสงคราม
และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ นักวิทยาศาสตร์เก่งๆ โดยเฉพาะชาวยิวจากทั่วยุโรป
ที่อพยพหนีการสังหารล้างเผ่าพันธุ์ของนาซี ได้อพยพเข้าไปอาศัยในสหรัฐอเมริกา
และช่วยพัฒนาองค์ความรู้ด้านการแพทย์ เคมี และยาของสหรัฐฯให้แข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ
สหรัฐอเมริกายังมีมูลนิธิที่ให้การสนับสนุนการวิจัยด้านการแพทย์
ซึ่งหนึ่งในมูลนิธิที่ใหญ่ที่สุดก็คือ Rockefeller Foundation
ซึ่งก่อตั้งโดยมหาเศรษฐีน้ำมัน John D. Rockefeller
มูลนิธินี้ได้ให้การช่วยเหลืองานวิจัยด้านการแพทย์มากมาย หนึ่งในงานวิจัยที่สำคัญคือ
การพัฒนายา Penicillin ให้สามารถผลิตได้ในระดับอุตสาหกรรม
Penicillin เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียตัวแรกของโลกที่ค้นพบโดยคุณหมอชาวอังกฤษ
แต่ถูกนำมาผลิตในระดับอุตสาหกรรมที่สหรัฐอเมริกา
จากยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ถูกต่อยอดมาเป็นการพัฒนายารักษาโรคต่างๆ
และทำให้อุตสาหกรรมยาของสหรัฐอเมริกาเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
แต่จุดเปลี่ยนสำคัญของงานวิจัยด้านไบโอเทคโนโลยีทางการแพทย์
คือ การค้นพบโครงสร้างของ DNA โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ
DNA คือ สารพันธุกรรม ที่มีหน้าที่เก็บยีน หรือข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต
การศึกษาด้าน DNA สามารถต่อยอดไปสู่การวินิจฉัยโรค การรักษาโรค
การผลิตวัคซีนเพื่อป้องกันโรคต่างๆ
งานวิจัยด้าน DNA ได้รับความสนใจไปทั่วโลก และก็เป็นสหรัฐอเมริกาอีกเช่นกัน
ที่เป็นประเทศแรกๆ ที่ให้การสนับสนุนการวิจัยด้าน DNA และอนุญาตให้มีการทดลองด้าน DNA อย่างจริงจัง ในช่วงทศวรรษ 1970s
โดยหนึ่งในผู้ให้การสนับสนุนที่สำคัญของการทดลองด้าน DNA
คือสภาของเมืองเคมบริดจ์ ในรัฐแมสซาชูเซตส์
ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น เขตเมืองบอสตัน-เคมบริดส์ ในรัฐแมสซาชูเซตส์ เป็นเขตที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษากว่า 122 แห่ง โดยมีมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ทั้ง Harvard University, MIT หรือ Massachusetts Institute of Technology, Boston University, Tufts University และมหาวิทยาลัยระดับโลกอีกมากมาย
การสนับสนุนของสภาเมืองเคมบริดจ์ จึงเป็นเหมือนประตูที่เปิดโอกาสสู่โลกของการวิจัยด้านไบโอเทคโนโลยีทางการแพทย์อย่างจริงจัง
ทำให้เกิดการจัดตั้งบริษัทไบโอเทคที่ต่อยอดจากงานวิจัยในห้องทดลอง มาสู่ภาคธุรกิจจริง
Biogen ก่อตั้งในปี 1978
เป็นบริษัทที่เน้นการวิจัยด้านพันธุวิศวกรรม ต่อยอดมาสู่ยาชีวภาพที่ใช้ในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์หลายชาติ หนึ่งในนั้นคือศาสตราจารย์จาก MIT
Genzyme ก่อตั้งในปี 1985
บริษัทที่เน้นการวิจัยด้านเอนไซม์ ก่อตั้งโดยศาสตราจารย์ด้านเคมีจาก Harvard University และต่อยอดจากงานวิจัยสู่การดัดแปลงเอนไซม์ที่ใช้ในการรักษาโรคผิดปกติทางพันธุกรรม
จากจุดเริ่มต้นในห้องทดลอง พัฒนามาสู่การก่อตั้งเป็นธุรกิจ
เขตเมืองบอสตัน-เคมบริดจ์ ที่หนาแน่นไปด้วยนักวิจัยอยู่แล้ว ก็ยิ่งดึงดูดทั้งนักวิทยาศาสตร์ และนักลงทุน ให้เข้ามามีส่วนร่วมให้การพัฒนางานวิจัยมากขึ้นไปอีก
แต่เนื่องจากการวิจัยและพัฒนาด้านไบโอเทคโนโลยี เป็นงานวิจัยที่ต้องใช้เงินทุนสูงมาก และมีความเสี่ยงมากที่จะขาดทุน ทำให้มีภาคเอกชนน้อยมากที่จะกล้าเสี่ยง
การสนับสนุนจากภาครัฐจึงเป็นกุญแจที่สำคัญ
โดยสหรัฐอเมริกา มีสถาบันสุขภาพแห่งชาติ หรือ National Institute of Health (NIH)
ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลกลาง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการวิจัยทางการแพทย์
ความโดดเด่นของรัฐแมสซาชูเซตส์ ในด้านบุคลากร สถาบันการศึกษา และบริษัทเอกชน
จึงทำให้เป็นรัฐที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก NIH มากที่สุดในสหรัฐอเมริกา ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994 โดยในปี 2018 รัฐแห่งนี้ ก็ได้รับงบประมาณสนับสนุนกว่า 60,000 ล้านบาท
ในขณะที่รัฐบาลของรัฐแมสซาชูเซตส์เอง ก็ได้สนับสนุนให้มีการลงทุนในธุรกิจไบโอเทคโนโลยีอย่างจริงจัง โดยให้งบประมาณสนับสนุนมากถึง 30,000 ล้านบาท ในช่วงตลอดระยะเวลา 10 ปี นับตั้งแต่ปี 2008
และเป็นผู้นำในการจัดตั้งองค์กรเพื่อช่วยเหลือด้านการวิจัยเทคโนโลยีการแพทย์
หรือ Massachusetts Life Sciences Center (MLSC) ที่ทำหน้าที่ให้เงินทุนสนับสนุน ให้เงินทุนกู้ยืม
อบรมบุคลากร ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี และช่วยวางแผนพัฒนาธุรกิจ ให้กับเหล่าบริษัทไบโอเทคที่เพิ่งก่อตั้งใหม่
การที่มีภาครัฐเข้ามาเป็นส่วนร่วมในภาคธุรกิจ เป็นแรงผลักดันสำคัญมากที่ทำให้งานวิจัยด้านไบโอเทคโนโลยีของสถาบันการศึกษา สามารถนำมาต่อยอดเป็นธุรกิจได้ในเวลาอันรวดเร็ว
นำมาสู่การจัดตั้งบริษัทด้านไบโอเทคถึง 430 แห่งในช่วงทศวรรษ 2000s - 2010s
ซึ่งก็ล้วนมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตเมืองบอสตัน และปริมณฑล
และหนึ่งในบริษัทที่น่าสนใจ ก็คือ..
Moderna ที่ก่อตั้งในปี 2013
บริษัทที่ก่อตั้งโดยศาสตราจารย์จาก Harvard University เน้นการวิจัยด้าน RNA ซึ่งเป็นเหมือนแบบแปลนของ DNA ที่สามารถถูกนำมาใช้ในการสร้างโปรตีน
งานวิจัยเรื่อง RNA ได้ถูกต่อยอดมาเป็นการใช้ mRNA หรือ messenger RNA ที่มีส่วนสำคัญในการสร้างโปรตีนที่มีโครงสร้างเหมือนกับโปรตีนของโคโรนาไวรัส ที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันตรวจพบ และสามารถผลิต Antibody มาป้องกันโรคได้
นำมาสู่การเป็นผู้ผลิตวัคซีนต้านโควิด 19 จาก mRNA เป็นรายแรกๆ ของโลก
ซึ่งไม่เคยมีวัคซีนตัวไหนในท้องตลาดที่ใช้เทคโนโลยีนี้มาก่อน
นอกจากบริษัทใหม่ๆ ที่ถือกำเนิดขึ้นแล้ว
เขตเมืองบอสตัน-เคมบริดจ์ ยังดึงดูดบริษัทยายักษ์ใหญ่ทั่วโลก ทั้งบริษัทสัญชาติอเมริกันอย่าง Pfizer, Bristol Myers Squibb และบริษัทสัญชาติสวิสอย่าง Novartis
ให้มาตั้งสำนักงานวิจัย และพัฒนาด้านไบโอเทคโนโลยีในเขตนี้
จากจุดเริ่มต้นในทศวรรษ 1970s
ในวันนี้ รัฐแมสซาชูเซตส์คึกคักไปด้วยงานวิจัยด้านไบโอเทคโนโลยีทางการแพทย์
ต่อยอดจากงานวิจัยสู่บริษัทที่ผลิตทั้งวัคซีน ยารักษาโรค
ผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่เปิดความเป็นไปได้ในการวินิจฉัย การเยียวยารักษาโรคอีกมากมาย
และเป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันให้สหรัฐอเมริกา กลายเป็นเบอร์หนึ่งในวงการเทคโนโลยีทางการแพทย์ของโลก
หากไบโอเทคโนโลยีคือความหวังของการแพทย์แห่งโลกอนาคต
หนึ่งในที่ผู้กุมชะตาสำหรับโลกอนาคต ก็คงจะหนีไม่พ้น “สหรัฐอเมริกา”..
อ่านซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ในตอนก่อนหน้าทั้งหมดได้ที่แอป Blockdit blockdit.com/download
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
สั่งซื้อได้ที่ (รับส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References:
-http://www.bio-nica.info/biblioteca/Paugh1997BiotechnologyIndustry.pdf
-https://fivethirtyeight.com/sponsored/massachusetts-biotech/
-https://www.epmscientific.com/blog/2018/05/move-over-california-boston-is-now-the-worlds-no-dot-1-biotech-hub
-https://www.masslifesciences.com/why-ma/
-https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/different-vaccines/mrna.html
เศรษฐกิจโลก คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
ทำไม สเปน จึงเป็นประเทศแห่ง การท่องเที่ยว? /โดย ลงทุนแมน
ทุกหนแห่งในดินแดนนี้ถูกทาบทาด้วยความมีชีวิตชีวา และแสงสว่าง..
หากเทียบกับประเทศอื่นๆ ในยุโรปแล้ว สเปนมีแสงแดดสาดส่องยาวนานเป็นอันดับต้นๆ
มากถึงปีละ 2,500 ชั่วโมง หรือเฉลี่ยวันละ 7 ชั่วโมง และจะยาวนานกว่านี้มากในช่วงฤดูร้อน
นอกจากแสงสว่าง ประเทศในยุโรปใต้แห่งนี้ยังเจิดจ้าไปด้วยมรดกทางวัฒนธรรมทุกยุคทุกสมัย
นับตั้งแต่จักรวรรดิโรมัน อาณาจักรมุสลิมของชาวมัวร์ ไปจนถึงความรุ่งเรืองของยุคแห่งการสำรวจ
สเปนมีรายได้จากการท่องเที่ยวสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก เป็นรองเพียงสหรัฐอเมริกา
ทั้งที่มีพื้นที่เล็กกว่าสหรัฐอเมริกาถึง 18 เท่า
ประเทศที่เราเคยคิดว่าอยากไปท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็น อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี หรือแม้แต่ประเทศไทยเอง ก็มีรายได้จากการท่องเที่ยวไม่เท่า สเปน
ซึ่งในโลกนี้ สเปนเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศ ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยือน
มากกว่าจำนวนประชากรในประเทศที่ 47 ล้านคนเกือบ 2 เท่า
World Economic Forum จัดอันดับให้สเปนเป็นที่ 1 ของโลก ในการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว
สิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจนสร้างรายได้มหาศาลของประเทศนี้
อาจไม่ได้มีแค่ความสว่างไสวทางกายภาพ และวัฒนธรรม
แต่มันเป็นเพราะอะไร มาหาคำตอบกันได้ในบทความนี้
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สเปน จึงเป็นประเทศแห่ง การท่องเที่ยว?
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
สั่งซื้อได้ที่ (รับส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปในยุคแห่งการสำรวจ ราวศตวรรษที่ 15
สเปน คือมหาอำนาจผู้นำโลกตะวันตกมาค้นพบกับโลกใหม่
เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นักเดินเรือผู้ทำงานให้ราชสำนักสเปน
เดินทางรอนแรมข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกจนค้นพบทวีปใหม่ในปี ค.ศ. 1492
ไม่นาน กองทัพสเปนก็เข้าบุกยึดอาณาจักรโบราณของชาวพื้นเมือง และครอบครองพื้นที่ทวีปใหม่อันกว้างใหญ่ที่ต่อมาถูกเรียกว่า “อเมริกา” และนำสิ่งของใหม่ๆ มาสู่ยุโรป
มันฝรั่ง ยาสูบ โกโก้ ทองคำ และแร่ธาตุต่างๆ ล้วนหลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสาย จนสเปนกลายเป็นประเทศที่มั่งคั่ง และเต็มไปด้วยสิ่งก่อสร้างตระการตา
แต่สงครามหลายต่อหลายครั้งกับมหาอำนาจอื่นๆ ในยุโรป โดยเฉพาะอังกฤษ และฝรั่งเศส
ก็นำมาสู่หนี้สินอันมหาศาล และพาสเปนเข้าสู่ยุคตกต่ำเป็นเวลาหลายร้อยปี
แล้วความรุ่งเรืองก็จบลงด้วยสงครามกลางเมืองที่นำพาสเปนเข้าสู่ยุคเผด็จการยาวนาน 40 ปี
ของจอมพลฟรานซิสโก ฟรังโก ซึ่งเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1936
สเปนผ่านสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยการดำรงความเป็นกลาง และไม่ให้ความช่วยเหลือฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อสงครามจบลงเรื่องนี้ก็ได้สร้างความไม่พอใจแก่ฝรั่งเศส และอังกฤษผู้ชนะสงคราม
สเปนจึงถูกขัดขวางไม่ให้เข้าร่วมองค์การสหประชาชาติ องค์การนาโต และไม่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อฟื้นฟูยุโรปจากสหรัฐอเมริกา ที่เรียกว่า แผนการมาร์แชล
ท่ามกลางเศรษฐกิจยุโรปที่เฟื่องฟู สเปนถูกทิ้งให้โดดเดี่ยว และจมอยู่กับเศรษฐกิจที่ย่ำแย่
แต่ก็ผ่านมาได้ด้วยความช่วยเหลือจากประธานาธิบดีเปรอนแห่งอาร์เจนตินาที่ส่งอาหาร และเนื้อสัตว์มาให้
อาร์เจนตินาเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดีกับสเปน และคนในประเทศอาร์เจนตินาก็พูดภาษาสเปนกัน
จนเมื่อเข้าสู่ยุคสงครามเย็น ฝ่ายสหรัฐอเมริกา และพันธมิตรเกรงกลัวการขยายอำนาจของฝ่ายคอมมิวนิสต์ จึงลงนามในสนธิสัญญามอบเงินช่วยเหลือให้สเปนแลกกับการตั้งฐานทัพ และยอมรับสเปนเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติในปี ค.ศ. 1955
สเปนจึงเปิดประเทศอีกครั้ง แต่ในเวลานั้น สเปนไม่ได้มีภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่แข็งแกร่งเหมือนประเทศอื่นๆ ในยุโรปตะวันตก หนทางเดียวที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ให้กระเตื้องขึ้นมา
ก็คือ “การท่องเที่ยว”
ด้วยชายหาดริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่อบอุ่นและเต็มไปด้วยแสงแดด ล้วนดึงดูดชาวยุโรปเหนือผู้อยู่กับความหนาวเย็น และท้องฟ้าขมุกขมัวให้มาเยือน
แคมเปญการท่องเที่ยวแรกของสเปนก็คือ “Spain is Different”
ด้วยทำเลที่ไม่ไกล ไม่นานชายหาดสเปนก็เนืองแน่นไปด้วยนักท่องเที่ยวจากทั่วยุโรป
การท่องเที่ยวสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ จนรัฐบาลของจอมพลฟรังโกสามารถนำเงินมาพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ สร้างระบบชลประทาน โรงไฟฟ้าพลังน้ำ และพัฒนาประกันสังคมให้ครอบคลุม เศรษฐกิจของสเปนดีขึ้นเรื่อยๆ แต่สิ่งที่ชาวสเปนยังขาดแคลนก็คือ “เสรีภาพ”
แล้วการถึงแก่อสัญกรรมของจอมพลฟรังโก ในปี ค.ศ. 1975 ก็ทำให้เกิดการปฏิรูปสังคม และการเมืองครั้งสำคัญ ชาวสเปนได้เสรีภาพกลับมาอีกครั้ง การเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1976 เปิดทางให้ระบอบประชาธิปไตยหยั่งรากในสเปน
ภาษาท้องถิ่นที่เคยถูกห้ามใช้ในยุคเผด็จการ เช่น ภาษากาตาลันในแคว้นกาตาลุญญาทางตะวันออก และภาษาบาสก์ในแคว้นบาสก์ทางตอนเหนือ ก็ได้รับอนุญาตอีกครั้ง
วัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่นก็เบ่งบานพร้อมกับเสรีภาพในการพูด และการแสดงออก มีงานแสดงศิลปะ คอนเสิร์ต มากมายในกรุงมาดริด ทำให้นอกจากชายหาดแล้ว การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่รัฐบาลสเปนพยายามผลักดัน ทั้งสถานที่ท่องเที่ยว ประเพณี และอาหารท้องถิ่นที่หลากหลาย
การเติบโตของการท่องเที่ยวทำให้มีการสร้างโรงแรมเกิดขึ้น
เชนโรงแรมระดับโลกสัญชาติสเปนถือกำเนิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1950s-1970s หลายแห่ง
เช่น Iberostar Group, Eurostars Hotels, NH Hotel Group และ Meliá Hotels International
รัฐบาลสเปนได้จัดตั้ง El Instituto de Turismo de España หรือ TURESPAÑA ในปี ค.ศ. 1990 เพื่อกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และวางแผนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
สิ่งที่สเปนให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว
ไม่ว่าจะเป็นถนน เครือข่ายระบบราง สนามบิน เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางจากเมืองหลักๆ และเมืองชายหาด สู่ภูมิภาคอื่นๆ ที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกันไป
เครือข่ายรถไฟความเร็วสูง AVE (Alta Velocidad Española) เป็นสิ่งที่รัฐบาลสเปนเร่งพัฒนาในช่วงปลายทศวรรษ 1980s เพื่อให้ทันกับงานมหกรรมระดับโลกที่สเปนได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพในปี 1992 โดยให้กรุงมาดริดที่ตั้งอยู่ใจกลางประเทศเป็นจุดเริ่มต้นของเครือข่าย
งานแรกคืองาน World Expo ที่เซบิยา เมืองใหญ่ทางตอนใต้ ไม่ไกลจากท่าเรือที่โคลัมบัสเริ่มออกเดินทางไปพบโลกใหม่ ด้วยปี 1992 เป็นวาระครบรอบ 500 ปี การเดินทางของโคลัมบัสพอดี งานจึงถูกจัดในธีม “ยุคสมัยแห่งการค้นพบ”
โดยกำหนดปิดงานคือวันที่ 12 ตุลาคม ก็เป็นวันที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ เพราะเป็นวันที่โคลัมบัสเดินทางถึงทวีปอเมริกา
แล้วรถไฟความเร็วสูงสายแรกของสเปนที่เชื่อมระหว่างกรุงมาดริด กับเมืองเซบิยาก็เสร็จทันการจัดงาน World Expo สร้างความสะดวกสบายให้กับนักท่องเที่ยวผู้เข้าร่วมงานจากทั่วโลก
นอกจากงาน World Expo แล้ว อีกงานหนึ่งคือ
มหกรรมโอลิมปิกฤดูร้อน 1992 ที่เมืองบาร์เซโลนา ซึ่งได้มีการขยายสนามบิน สร้างถนนวงแหวนเพื่อรองรับการจราจร ปรับปรุงท่าเรือ และสร้างสนามกีฬาเพื่อรองรับผู้ชมจากทั่วโลก
ปี 1992 จึงเป็นเหมือนปีทองของการแจ้งเกิดของสเปนในเวทีการท่องเที่ยวระดับโลก
ความสำเร็จของทั้ง 2 งาน ทำให้นักท่องเที่ยวมาเยือนสเปนอย่างล้นหลาม
นับตั้งแต่นั้นมา เครือข่ายรถไฟความเร็วสูงของสเปนก็ค่อยๆ ขยายขึ้นเรื่อยๆ
จนปัจจุบัน เครือข่ายนี้ครอบคลุมทั่วประเทศ มีระยะทางกว่า 3,100 กิโลเมตร ยาวเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากประเทศจีน เชื่อมระหว่างเมืองสำคัญในทุกภูมิภาค
จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้รัฐบาลสเปนหันมาให้ความสำคัญกับ
“การพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยเฉพาะความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม
มีกฎหมายควบคุมการบุกรุกพื้นที่ป่าจากกิจกรรมท่องเที่ยวอย่างเข้มงวด
จัดการน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ
ควบคุมการปล่อยมลภาวะในเขตเมืองใหญ่ และให้ความสำคัญกับการกำจัดขยะ
สเปนยังวางแผนระยะยาวด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อลดมลภาวะและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งการเพิ่มสัดส่วนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า และการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ที่สเปนมีอย่างเหลือเฟือ
สเปนได้วางแผนไว้ว่า ภายในปี 2030 การผลิตพลังงานไฟฟ้าจะต้องมาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน มากกว่า ร้อยละ 70 ของพลังงานทั้งหมด..
สเปนเปิดรับนักท่องเที่ยวทั่วโลกมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1950s และผ่านการพัฒนาในหลายๆ ด้านจนกลายเป็นประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวอันดับ 1 ของโลกจาก World Economic Forum
ชาวสเปนเข้าใจเป็นอย่างดีว่าชายหาดที่สวยงาม สถานที่และวัฒนธรรมที่ตื่นตาตื่นใจ จะดึงดูดผู้คนให้มาเยือนเป็นครั้งแรก
แต่การเดินทางที่สะดวกสบาย สาธารณูปโภคที่ครบครัน การบริการที่ดี และสภาพแวดล้อมที่ยังคงสมบูรณ์ จะทำให้นักท่องเที่ยวประทับใจและเลือกที่จะกลับมาเยือนอีกครั้ง
และถึงแม้ว่าโลกเรา จะมีสงคราม การก่อการร้าย หรือโรคระบาด อีกกี่ครั้ง แต่หากจะหาสักประเทศที่เตรียมพร้อมทุกอย่างเพื่อรองรับการท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยวทั่วโลกเองก็อยากกลับไปอีกครั้ง
ประเทศนั้นก็คงเป็น “สเปน”..
อ่านซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ในตอนก่อนหน้าทั้งหมดได้ที่แอป Blockdit blockdit.com/download
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
สั่งซื้อได้ที่ (รับส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References:
-https://www.researchgate.net/profile/Tatiana_Iniguez-Berrozpe2/publication/261145071_Sustainability_and_tourist_promotion_The_case_of_SPAIN/links/56a2028908ae27f7de289ee3/Sustainability-and-tourist-promotion-The-case-of-SPAIN.pdf?origin=publication_detail
-https://riuma.uma.es/xmlui/bitstream/handle/10630/7488/Art%EDculo%20Preprint%20Tourism%20Management.pdf;jsessionid=E342478E672A137AE0920AFAB4A922A8?sequence=1
-https://www.oecd-ilibrary.org/sites/8ed5145b-en/index.html?itemId=/content/component/8ed5145b-en
-https://www.econstor.eu/bitstream/10419/138734/1/v07-i11-a14-BF02929667.pdf
-https://fsr.eui.eu/electric-vehicles-and-sustainable-development-in-spain/
-สเปน หน้าต่างสู่โลกกว้าง
เศรษฐกิจโลก คือ 在 คุยการเงินกับที Youtube 的精選貼文
สายพานการผลิตสินค้าไม่ใช่แค่วัคถุ ความรู้ต่างหากที่ทำให้เราผลิตสินค้าได้
สิ่งที่น่าสนใจมากๆอีกอย่างของสงครามการค้า คือ สายพานการผลิตโลก การเปลี่ยนแปลงครังนี้จะทำให้เรามองเห็น และเข้าใจสายพานการผลิตของโลกนี้ชัดเจนยิ่งขึ้มว่ามีความผูกพันธ์สลับซับซ้อนมากเพียงใด จะทำให้เราเห็นถึงความเกี่ยวเนื่องของแต่ละธุรกิจ และอุตสาหกรรมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
LINK
line @ T MONEY คุยกับผมทางนี้นะครับ
http://line.me/ti/p/%40uwh2219z
fb: กลุ่มของพวกเรา 4 คนครับ
https://www.facebook.com/groups/319013512295700/
fb: คุยการเงินกับที
https://www.facebook.com/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5-189662501941804/?modal=admin_todo_tour
เศรษฐกิจโลก คือ 在 วรัทภพ รชตนามวงษ์ WARATTAPOB Youtube 的最佳解答
?แจกหนังสือฟรี?" เงิน มา ง่ายๆ" เขียนโดย อ.วรัทภพ รชตนามวงษ์ มีเนื้อหามากถึง 357 หน้า รับหนังสือฟรี! กดลิงก์นี้ด่วน ของมีจำนวนจำกัด ? https://get.moneyeasybook.com/
สงครามการค้าจีน กับ สหรัฐ ที่เพิ่งเกิดขึ้นนี้
ประธานาธิบดี ทรัมพ์ "ประกาศศึก"
โดยเริ่มจากการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีน
และต่อด้วยการสั่ง Google
เอาโปรแกรมออกจากมือถือ Huawei ของจีน
ทางจีนก็สั่งลดการนำเข้าสินค้าอเมริกา
แล้วคุณจะเห็นการแลกหมัดอย่าง "หนักหน่วง" อย่างนี้ไปเรื่อยๆ
ถ้าเป็นอย่างนี้จะ "กระทบกับประเทศไทยและคนไทย" อย่างไรบ้าง
ผมสรุปให้ในคลิปนี้แล้วครับ ลองชมครับ
? พบกับวิดีโอใหม่ทุกวัน ? ถ้าคุณอยากประสบความสำเร็จและรวย "เร็วขึ้น"
จากประสบการณ์การทำธุรกิจไทย-จีน มาแล้ว 14 ธุรกิจของผม
? คลิกลิงก์แล้วกด “SUBSCRIBE - ติดตาม และกดกระดิ่งแจ้งเตือน ตอนนี้เลย!! ?
https://www.youtube.com/c/warattapobrachatanamwong/list25?sub_confirmation=1
—
// ดูวิดีโอของ "วรัทภพ" ตามเพลย์ลิสต์
วิธีขายของ LAZADA
https://bit.ly/2TUxuRn
วิธีสั่งสินค้าจากจีน
https://bit.ly/2IERdmE
การทำตลาดจีน และส่งออกจีน สำหรับสินค้าไทย
https://bit.ly/2GWdITq
วิธีเริ่มต้นธุรกิจ ในปัจจุบัน
https://bit.ly/2ChCNT7
ความรู้ หาเงิน เพิ่มรายได้ ที่จะทำให้คุณรวยเร็วขึ้น
https://bit.ly/2CR2Jqc
เคล็ดลับ การตลาดและการขาย
https://bit.ly/2M8P7cV
ไอเดียธุรกิจเงินล้าน
https://bit.ly/2TrY2IT
พัฒนาตัวเอง เพื่อความสำเร็จในด้านที่ต้องการ
https://bit.ly/2LTPms2
แรงบันดาลใจและกำลังใจ ในการใช้ชีวิต
https://bit.ly/2TKQAbW
แกะคำคม ข้อคิด นักปราชญ์ และนักธุรกิจ
https://bit.ly/2SDzHjh
WARATTAPOB PODCAST (เสียงจาก วรัทภพ)
https://bit.ly/2SBlrHR
VLOG IN CHINA ชีวิตในจีน กินเที่ยว
https://bit.ly/2AqaFNB
รีวิว ธุรกิจจีนและเศรษฐกิจจีน
https://bit.ly/2M8Phkx
VLOG IN THAILAND ชีวิตในไทย
https://bit.ly/2AUvnWf
// วรัทภพ รชตนามวงษ์ คือ ใคร?
ผม "วรัทภพ รชตนามวงษ์" เป็นคนไทย เกิดที่จังหวัดเชียงใหม่
เป็นผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจมาแล้ว 14 ธุรกิจ
ทั้งในประเทศไทย และ จีน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 จนถึงปัจจุบัน
ผมตั้งใจทำสื่อเพื่อแบ่งปันความรู้และประสบการณ์
ให้คนรุ่นใหม่ที่อยากประสบความสำเร็จในชีวิตและรวย “เร็วขึ้น”
—
// ติดตาม วรัทภพ รชตนามวงษ์ เพิ่มเติมได้ที่
Website : https://www.warattapob.com
SOCIAL
Instagram : https://www.instagram.com/warattapob_rachatanamwong
Facebook : https://fb.me/WarattapobRachatanamwong
YouTube: https://www.youtube.com/c/WarattapobRachatanamwong
Line official : http://line.me/ti/p/~@warattapob
Twitter : https://twitter.com/warattapob
PODCAST
--สำหรับ Android
Soundcloud : https://bit.ly/2QjfVYm
Spotify : https://spoti.fi/2Jcwh6Y
--สำหรับ iOS
Apple Podcast : https://apple.co/2QjW5fM
—
#สงครามการค้าจีนสหรัฐ #เศรษฐกิจโลก #เศรษฐกิจไทย
วิดีโอนี้เกี่ยวกับ สงครามการค้าจีน สหรัฐ 2562 - กระทบกับไทย อะไรบ้าง?
https://youtu.be/fVTBdKObHZs
https://youtu.be/fVTBdKObHZs
เศรษฐกิจโลก คือ 在 เศรษฐกิจโลก ในยุค DeGlobalization ใครจะอยู่ ใครจะไป ? - YouTube 的推薦與評價
เรากำลังอยู่ในยุคของการต่อสู้เชิงภูมิรัฐศาสตร์ อย่างเต็มตัว .. มหาอำนาจของ โลก ต่างหาพวกเพื่อรักษาฐานอำนาจและการเข้าถึงทรัพยากรของตัวเอง . ... <看更多>